Saturday, 12 July 2025
ค้นหา พบ 49357 ที่เกี่ยวข้อง

'อลงกรณ์' เปิดเวทีสุดยอดภูมิอากาศเอเชีย (Asia Climate Summit 2025) ระดมความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมผนึกตลาดหลักทรัพย์จับมือสภาอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy)

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงาน การประชุมสุดยอดภูมิอากาศเอเชีย 2025 (Asia Climate Summit 2025)ภายใต้ธีม “การขยายแนวทางตลาดคาร์บอน : เสริมสร้างความก้าวหน้าและการเติบโต” (Scaling Market Solutions: Powering Progress and Growth)พร้อมประกาศความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านตลาดคาร์บอนของภูมิภาคอาเซียน

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า "ประเทศไทยตระหนักถึงภัยคุกคามและความเร่งด่วนของวิกฤตสภาพภูมิอากาศถือเป็นวาระแห่งชาติ เรายืนยันพันธสัญญาอันแข็งแกร่งในการแก้ไขปัญหานี้ตามพันธกรณีความตกลงปารีสโดยมุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ประเทศไทยยังคงขยายตลาดคาร์บอนที่สมัครใจในประเทศผ่านนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น มาตรฐานการรับรองเครดิตคาร์บอน Premium T-VER นอกจากนี้ เรายังมีเป้าหมายที่จะเร่งพัฒนาความมีมาตรฐานสูงและความสามารถในการทำงานร่วมกันของตลาดคาร์บอนในอาเซียน โดยดึงเอาประสบการณ์และการขับเคลื่อนมาตรฐานคาร์บอนของ Premium T-VERขยายสู่อาเซียน“

ทั้งนี้นายอลงกรณ์ยังกล่าวถึง 4 ยุทธศาสตร์สำคัญของไทย 
1. เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกชัดเจน
1.1ลด CO2e 222 ล้านตัน ภายในปี 2030 (ตาม NDC)
1.2ยกระดับสู่ NDC 3.0 ตั้งเป้าลด CO2e 109.2 ล้านตัน ภายในปี 2035

2. ขับเคลื่อนกลไกคาร์บอนเครดิตระดับโลก
2.1มุ่งใช้ความร่วมมือภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีสโดยเฉพาะข้อ 6.2 เพื่อเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน
2.2เน้นสร้าง "การลดเพิ่มเติม" (Additionality) นอกเหนือจาก
มาตรการอื่นๆภายในประเทศ
2.4สนับสนุนเทคโนโลยีและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก

3. ยกระดับตลาดคาร์บอนภายในประเทศและอาเซียน
3.1ขยายตลาดคาร์บอนสมัครใจผ่านนวัตกรรม "T-VER พรีเมียม"
3.2เร่งพัฒนาตลาดคาร์บอนอาเซียนให้มีความน่าเชื่อถือสูงและทำงานร่วมกันได้ (High-Integrity & Interoperability)
3.3 ยินดีต้เปิดกว้างต้อนรับมาตรฐานสากลเช่น VERRA หรือ Gold Standard เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถหาช่องทางในการพัฒนาซื้อขายคาร์บอนเครดิตและพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

4.  มาตรการเชิงรุกแบบครบวงจร
4.1 ตราพ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นรากฐานทางกฎหมายจัดตั้งกองทุนภูมิอากาศ ,ส่งเสริมมาตรการครอบคลุม: ETS ภาคบังคับ, ภาษีคาร์บอน, ตลาด T-VER, มาตรการจูงใจทางการเงิน
4.2สนับสนุนการลงทุนสีเขียว(Green Investment)ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใต้แนวทางESGและการส่งเสริมพลังงานสะอาดลดโลกร้อนกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและภาคีภาคส่วนต่างๆ
4.3 เดินหน้าโครงการคาร์บอนสีน้ำเงิน (Blue Carbon) และคาร์บอนสีเขียว (Green Carbon)ทั้งในทะเล ชายฝั่งทะเลและบนบก "ยุทธศาสตร์การซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบบูรณาการของไทยจะทำให้เราไม่เพียงบรรลุ NDC 2030 แต่จะก้าวขึ้นเป็น ผู้นำตลาดคาร์บอนระดับภูมิภาคภายในปี 2035โดยสนับสนุนการลงทุนที่ยั่งยืน(Sustainable Investment)และการเปลี่ยนผ่าน(Transformation)สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญสำหรับผู้เข้าร่วมในการอัปเดตแนวโน้มกฎระเบียบล่าสุด การเสริมสร้างความเชี่ยวชาญด้านตลาดคาร์บอนและสำรวจนวัตกรรมกลไกการเงินภูมิอากาศ

โดยผลลัพธ์จากการประชุมคาดว่าจะส่งผลอย่างมากก่อนการประชุม COP30 ที่บราซิลในปีนี้ ถ้อยแถลงเปิดงานโดยนายอลงกรณ์ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ สะท้อนวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นแกนนำขับเคลื่อนการแก้ไขวิกฤตภูมิอากาศผ่านกลไกตลาด และยกระดับความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียอย่างเป็นรูปธรรม

การประชุมสุดยอดภูมิอากาศเอเชีย 2025 (ACS 2025) จัดโดยสมาคมการค้าคาร์บอนระหว่างประเทศ (IETA)โดยการสนับสนุนของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE)เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพมหานครมีผู้เข้าร่วมงานกว่า200คนจากทั่วโลกรวมทั้ง นายเดิร์ก ฟอร์ริสเตอร์ ประธานและซีอีโอสมาคมการค้าคาร์บอนระหว่างประเทศ (IETA) ,ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE) ,คุณอัสสเดช คงสิริ ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และนายอาทิตย์ เวชกิจ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ด้านอนุรักษ์พลังงาน และ Grid Modernization สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร นายสมหมาย เอี่ยมสอาด รศ.ดร. ไพบูลย์ กวินเลิศวัฒนา ที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมฯลฯ.....

จับสัญญาณ ‘เครื่องบินรบสหรัฐฯ’ ในตะวันออกกลาง พบเคลื่อนไหวผิดปกติ คาดมาช่วยอิสราเอลโจมตีเยเมน

(10 ก.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘เจาะลึกตะวันออกกลาง’ โพสต์ข้อความว่า มีความเคลื่อนไหวของกองทัพมะกันผิดปกติในตะวันออกกลางและมหาสมุทรอินเดีย คาดว่ามะกันน่าจะมาช่วยอิสราเอลโจมตีเยเมนในอีกไม่ช้า

อิสราเอลไม่เคยรบกับใครแบบเดี่ยว ๆ จะต้องมีมะกันและยุโรปพ่วงด้วยเสมอ เหมือนคราวรบกับอิหร่าน ถ้ามะกันไม่เข้ามาขวาง คลังจรวดป้องกันมิสไซล์ของอิสราเอลเกลี้ยงแน่นอน ฐานทัพก็น่าจะโดนกวาดจนเกลี้ยง

และรอบนี้ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น หลายวันก่อนอิสราเอลถล่มท่าเรือเยเมน เยเมนสวนกลับทันควัน แถมยังจมเรือสินค้าที่จะลำเลียงข้าวของให้อิสราเอลไปถึง 2 ลำ

เนมันยาฮู ซึ่งยังอยู่ที่มะกันในขณะนี้ คงจะขอให้มะกันช่วยถล่มเยเมนอีกรอบ แล้วค่อยหาทางเปิดศึกรอบ 2 กับอิหร่าน เพราะรอบที่แล้วเนทันยาฮูพลาดท่า ถ้าไม่ได้แก้มือคงอายยันลูกบวช

ข่าวว่าผู้ดี MI6 (อังกฤษ) ก็จะมาแจมด้วย

ขณะที่ ดร.เลอพงษ์ ซาร์ยีด นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลาง โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเคลื่อนไหวของเครื่องบินรบสหรัฐในตะวันออกกลาง มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐอาจจะเตรียมพร้อมที่จะโจมตีอันศอรุลลอฮ์แห่งเยเมน หลังจากเรืออิสราเอลถูกจมสองลำ

พร้อมระบุด้วยว่า อิหร่านเตรียมความพร้อมขั้นสูงสุดหลังจากมีความเคลื่อนไหวของเครื่องบินรบสหรัฐ อังกฤษและอิสราเอล

‘ดร.อักษรศรี’ ชี้เหตุผล เวียดนาม ไม่กลัวภาษีทรัมป์ เพราะรู้ว่า ตัวเองมีเสน่ห์อะไร พร้อมทั้งกล้าตั้งเป้า GDP ปีนี้โตถึง 8%

(10 ก.ค. 68) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Aksornsri Phanishsarn ว่า  เวียดนาม ไม่กลัวภาษีทรัมป์ + รู้ว่า ตัวเองมีเสน่ห์อะไร นายกฯ ฟ่าม ยังเดินหน้ากล้าตั้งเป้า GDP ปีนี้โต 8 % ส่วนแถวนี้ ยังลุ้นระทึกจะโต 1% ได้ไหวมั้ย”

พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า ส่วนแถวนี้ รอลุ้นอย่างสิ้นหวังค่ะ ไทยแลนด์ไร้เสน่ห์ ในสายตาทรัมป์ เดี๋ยว 1 ส.ค. ภาษีทรัมป์เริ่มถล่มเศรษฐกิจไทย น่าจะน่วมหนัก หลายสำนักคาดการณ์ GDP ไทยจะโตไม่ถึง 1% (บางค่ายบอกว่า อาจจะติดลบ) ไทยโตต่ำสุดในอาเซียน !!

ส่วนทาง เวียดนาม ไม่กลัวภาษีทรัมป์ + รู้ว่า ตัวเองมีเสน่ห์อะไร นายกฯ ฟ่ามยังเดินหน้ากล้าตั้งเป้าโตปีนี้ 8 % นะคะ

ทั้งนี้ สองไตรมาสแรกของปี 2025 นี้ ในยุคทรัมป์ป่วนโลก เวียดนามก็โตต่อไป ตัวเลขครึ่งแรกของปีนี้ ยังโตได้ 7.52% !!

'เจริญชัย - ERDI-CMU - KMUTT' นำนวัตกรรม NIA หม้อแปลง AI Low Carbon ลดโลกร้อนลดค่าไฟจริง 20% เพิ่มปริมาณกำลังการผลิตโซลาร์ 6-8% คืนทุน 1 ปี

กลุ่มพันธมิตรพร้อมสนับสนุนการลุงทุน 0 บาท และคืนกำไร 100% AI Transformer Management Platform for Green Electricity Integration with battery พร้อม Workshop (Use Case)

เมื่อวันที่ (4 ก.ค.68) สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ERDI-CMU) จัดสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “เสริมแกร่งอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ลดค่าไฟ สู่การลดอุณหภูมิโลก นวัตกรรม NIA แห่งอนาคต จากวิกฤติ สู่ทางรอด ด้วยพลังงาน AI แห่งอนาคต AI Transformer Management Platform for Green Electricity Integration with battery พร้อม Workshop (Use Case) ” ณ ห้องประชุมประเสริฐฤกษ์เกรียงไกร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่แนวทางการจัดการพลังงานยุคใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานประกอบการทุกระดับ โดยไม่ต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้น

กลุ่มพันธมิตรบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี , บริษัท บ้านปู เน็กซ์ อีโคเสิร์ฟ จำกัด และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทุกองค์กรได้ให้ความรู้กับผู้ประกอบการที่เข้ารับฟังสัมมนาครั้งนี้ ผู้ประกอบการมีความสนใจด้านการลดคาร์บอนเป็นจำนวนมาก ตอบโจทย์ผู้ประกอบการทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งช่องทางการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถดำเนินการได้ การจัดหาแหล่งเงินทุน การสนับสนุนต่างๆ จากภาครัฐ การอนุรักษ์พลังงานอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น และเป็นการสนับสนุนแนวนโยบายของกระทรวงพลังงาน ในการรองรับความต้องการใช้พลังงานของไทยที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการคำนึกถึงการลดภาวะโลกร้อน และพลังงานคาร์บอนต่ำซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ที่หลายบริษัทชั้นนำระดับโลกมุ่งหาพลังงานสะอาด

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ กรรมการบริหาร (นวัตกรรม) บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าว ขอขอบคุณกลุ่มพันธมิตรทุกหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด ซึ้งทางบริษัทฯ ได้ร่วมบรรยายพร้อมยกตัวอย่าง  Use Case ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน ให้ทางผู้ประกอบการได้เห็นเป็น Case กรณีศึกษา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน ทำการติดตั้งหม้อแปลง AI Transformer (หม้อแปลง Low Carbon) ขนาด 2000 kVA. โดยบริษัทฯ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมวิเคราะห์พร้อมวิจัย Platform บริหารจัดการพลังงานสะอาดสูงสุด (Platform AI บริหารจัดการ Solar กับ Energy Storage  ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ AI Net Zero Go To Near Zero, AI Cut Peak Demand, AI Saving, AI Sustainability, AI Increase old Solar 6-8% จากการวิเคราะห์หลังติดตั้งหม้อแปลง AI พบว่าสามารถลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 20.28% และการเพิ่มผลผลิตโซลาร์เก่า 6-8% โดยมีระยะเวลาคืนทุนราว 11 เดือน ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนในเชิงกราฟและข้อมูลอื่นๆ เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพื่อให้การวิเคราะห์ในเชิงวิชาการมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

ภายในงาน ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี  ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและผู้แทนพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน และเปิดเวทีด้วยวิสัยทัศน์ด้านพลังงานสะอาดที่สถาบันฯ ได้พัฒนาและขับเคลื่อนมาโดยตลอด ต่อจากนั้น นายบัณฑิต ตั้งโภคานนท์ พลังงานจังหวัดลาพูน กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยเน้นย้ำถึงความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการผลักดันเป้าหมายสู่ Net Zero อย่างจริงจังและยั่งยืน และในงานสัมมนามีการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภาคส่วน อาทิ ผศ.ดร.อนวัช แสงสว่าง  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภกิตติ์ โชติโก  หัวหน้าภาคประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึง “การปรับปรุงเพิ่มศักยภาพและความมั่นคงระบบไฟฟ้าการจ่ายพลังงาน ไฟฟ้าพลังงานสะอาดและ Solar (Saving Energy And Sustainable Energy) ด้วยหม้อแปลง AI Transformer Management Platform” , คุณวิศรุต จันทน์สุคนธ์ จากบริษัท บ้านปู เน็กซ์ อีโคเสิร์ฟ จำกัด ที่สนับสนุนโครงการลงทุน 0 บาท, คุณสถาปนา พรหมบุญ จาก BOI ภาคเหนือที่นำเสนอนโยบายสนับสนุนการลงทุนสูงถึง 50% และคุณประจักษ์  กิตติรัตนวิวัฒน์ กรรมการบริหาร (นวัตกรรม) บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าวถึง “นวัตกรรม NIA หม้อแปลง AI จากวิกฤติ สู่ทางรอด ด้วยพลังงาน AI แห่งอนาคต AI Transformer Management Platform for Green Electricity Integration with battery” 

'เศรษฐา' เชื่อมือ ‘ทีมไทยแลนด์’ เจรจาภาษีทรัมป์ หวังสหรัฐฯ เคาะภาษีได้ 20% เท่าเวียดนาม

‘เศรษฐา’ เชื่อมือทีมไทยแลนด์ เจรจาภาษีทรัมป์ หวังลดอัตราภาษี 20% เท่าเวียดนาม ชี้หน่วยงานรัฐต้องจับมือเดินไปทิศทางเดียวกัน มั่นใจไทยมีระบบดูแลนักลงทุนอย่างเป็นธรรม

(10 ก.ค.68) เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีสหรัฐอเมริกาขยายเวลาเจรจาภาษีครั้งสุดท้ายเป็นวันที่ 1 ส.ค.นี้ ไทยจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 36% หรือไม่ว่า ขณะนี้ไทยมีเวลาถึง 1 ส.ค. ส่วนตัวเชื่อว่านายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง พร้อมทีมไทยแลนด์ จะต้องมีการหารือกันอย่างขะมักเขม้น เพื่อให้ไทยได้อัตราภาษีที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนตัวได้มีการพบเจอกับปลัดกระทรวงพาณิชย์ และได้รับคำยืนยันว่าสู้อย่างเต็มที่

นายเศรษฐา กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเชื่อว่ายังมีความหวัง เพราะไทยยังมีหลายอย่างที่ต้องให้กับทางสหรัฐฯ ได้อยู่ สิ่งที่ไทยมีแต้มต่อในการต่อรองลดภาษีนั้น จะต้องดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง จำนวนสินค้าในหมวดต่างๆ ตรงไหนที่ให้สหรัฐฯ แล้วไม่ต้องเสียภาษีที่มากมาย แต่สำคัญที่สุดทีมงานทุกกระทรวงไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI จะต้องมานั่งพูดคุยกัน มีสิ่งไหนที่เกี่ยวข้อง เสียงจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่าให้เสียงแตกเพื่อให้สหรัฐฯ พอใจ 

นายเศรษฐา กล่าวว่า รวมทั้งยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น นอนคาร์ริค (การหลีกเลี่ยงภาษี) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคาร์ริค (การเสียภาษีเงินได้) ขั้นตอนของศุลกากรที่ยังคงมีปัญหา การสวมสิทธิ์ต่างๆ เป็นเรื่องที่ไทยต้องให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐฯ ยังคงจัดเก็บภาษีไทยอยู่ที่ร้อยละ 36 สิ่งที่จะกระทบตามมาก็คือกลุ่มเป้าหมาย ที่อย่างน้อยอาจหารเข้าเวียดนามอย่างน้อยร้อยละ 20 และสหรัฐฯ จัดเก็บในอัตราที่สูงย่อมจะส่งปัญหา เพราะหลายอุตสาหกรรมที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย ก็หวังว่าไทยจะไม่เสียเปรียบเพื่อนบ้าน แต่แน่นอนว่าไทยยังมีข้อได้เปรียบอีกหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่ปลอดภัยและต้นทุนต่ำ หรือ low cost save living มีระบบภาษีที่ชัดเจนกว่า และมีระบบราชการที่ดูแลนักลงทุนอย่างเป็นธรรม ดังนั้นส่วนตัวเชื่อว่ามีหลายประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเลข แต่แน่นอนว่าตัวเลขต้องใกล้เคียงกันถึงจะมาพูดคุยกันได้ 

เมื่อถามว่าต้องมีการส่งเสริมกลุ่ม SME ซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีของทรัมป์โดยตรงใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ หากนโยบายภาษีของทรัมป์ถ้าไม่ได้รับการผ่อนปรน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องมีการช่วยเหลือกัน เชื่อว่าทีมงานจะศึกษาและดูแลเรื่องนี้อยู่ แต่สิ่งสำคัญคือตัวภาษี ที่จะต้องมีการลดให้เทียบเท่ากับเวียดนามเสียก่อน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าไทยจะมีมาตรการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อพิเศษดอกเบี้ยต่ำ 

เมื่อถามว่าหลายฝ่ายวิจารณ์ว่าการรับมือของรัฐบาลเกิดความล่าช้า นายเศรษฐา กล่าวว่า วันนี้ต้องรวมใจกันและเจรจาในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ให้มีการลดภาษีลงให้ได้ อย่างน้อยให้ลดเหลือร้อยละ 20 เทียบเท่าเวียดนาม ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นประเด็นที่อยู่ในใจทุกๆคนอยู่ ส่วนแผนงานรองรับอื่นๆ ก็ต้องตามมา อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้หากการเจรจาเป็นไปในเชิงบวก จะเป็นประเด็นที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ หากไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ จะต้องมีการทำโรดโชว์ต่างๆ นำข้อดีของประเทศไทยไปเสนอต่างชาติ ช่วงที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปพบปะกับผู้ประกอบการ SME ซึ่งส่วนมากก็จะสะท้อนเรื่องของนักท่องเที่ยว แน่นอนว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ตกลงไป ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัย และนักท่องเที่ยวจะต้องได้รับการดูแลและความเป็นธรรม ส่วนมาตรการกระตุ้นถือเป็นขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำให้ดีขึ้น 

เมื่อถามถึงข้อมูลที่ระบุว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะของจีนที่ลดลงไปมากนั้น นายเศรษฐา กล่าวว่า ก็ต้องเอาไปเปรียบเทียบกับเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ก็ยังยืนยันว่าใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเปรียบเทียบกับช่วงไฮซีซั่น ยอมรับว่าก็ตกลงไปพอสมควร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top