'บ้านผู้การ' อยุธยา ร้านอาหารเรียบง่ายรางวัลมิชลิน!! อาหารไทยรสชาติเยี่ยมอาหารทะเลสดใหม่
ร้านอาหารตั้งอยู่ในบ้านของเจ้าของร้าน เปิดร้านนั่งกลางแจ้ง แนะนำให้จองโต๊ะก่อนไปด้วยนะ เปิดเวลา 09:30-16:30

ร้านอาหารตั้งอยู่ในบ้านของเจ้าของร้าน เปิดร้านนั่งกลางแจ้ง แนะนำให้จองโต๊ะก่อนไปด้วยนะ เปิดเวลา 09:30-16:30
กฎระเบียบการเลี้ยงสัตว์จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป
ซุปใหม่! สุกี้ตี๋น้อย ลองหรือยัง? เผ็ดร้อนกลมกล่อม เข้มข้นถึงรสเครื่องเทศ บุฟเฟต์ 219 บาท ราคาเดียว ทานได้ทุกอย่าง (ยังไม่รวมค่าเครื่องดื่มรีฟิลและภาษีมูลค่าเพิ่ม)
(3 พ.ค. 68) นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก แสดงความเห็นว่า …
ผมเห็นข่าวคุณภูมิธรรมสั่งทหารไทยให้ถอยร่นออกจากปราสาทตาเมือนธม แล้วก็หวั่นใจว่าการกระทำเช่นนี้อาจเข้าข่ายเป็นการจงใจสละการครอบครองดินแดนซึ่งไทยมีอำนาจอธิปไตยอย่างชัดแจ้งตามสนธิสัญญา ไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงทำกับฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนกัมพูชาในช่วงปี พ.ศ. 2447-2450 ซึ่งกำหนดให้ใช้สันปันน้ำเป็นเขตแดน และชัดเจนว่า หากใช้สันปันน้ำเป็นเขตแดน ปราสาทตาเมือนธมก็อยู่ในเขตแดนอธิปไตยของไทย ส่วนเขตแดนตาม Google map นั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับให้ใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศได้
นอกจากนี้ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ การจะมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนใดดินแดนหนึ่งโดยการครอบครองต้องประกอบด้วยหลัก 2 ประการ คือ
1. จะต้องมีการควบคุมดินแดนอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง จะต้องควบคุมดินแดนนั้นอย่างเปิดเผยและมีความต่อเนื่องโดยมีเจตนาที่จะมีอำนาจอธิปไตย และมีการกระทำในลักษณะของการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้น และ
2. จะต้องมีเจตจำนงที่จะใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นด้วย กล่าวคือ การครอบครองดินแดนของรัฐจะต้องเป็นไปเพื่อมีอำนาจอธิปไตย และใช้อำนาจอธิปไตยนั้นหรือดินแดนที่ครอบครอง โดยอาจจะพิจารณาที่การแสดงความเป็นเจ้าของดินแดนนั้นนั่นเอง
พูดง่าย ๆ ก็คือ แม้ยึดตามหลักสันปันน้ำแล้ว ปราสาทตาเมือนธมอยู่ในเขตแดนใดแน่นอน แต่หากรัฐไทยไม่ได้ทำการควบคุมพื้นที่บริเวณดังกล่าวโดยแสดงความเป็นเจ้าของอย่างจริงจัง แล้วมีทหารหรือแม้แต่พลเรือนกัมพูชามาทำการแสดงสัญลักษณ์ เช่น การร้องเพลงชาติกัมพูชา หรือถือธงกัมพูชาบ่อย ๆ พอวันเวลาผ่านไป นานวันเข้า กัมพูชาอาจได้ดินแดนมาโดยการครอบครองปรปักษ์ (Acquisitive Prescription) ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ จะต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1. จะต้องเป็นการครอบครองโดยสงบ ต่อเนื่องกัน 2. จะต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของอธิปไตยเหนือดินแดนนั้น 3. จะต้องเป็นการครอบครองที่เปิดเผยต่อสาธารณะ 4. จะต้องเป็นการครอบครองที่คงทนในระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรที่จะเห็นได้ว่ามีการครอบครองปรปักษ์มาอย่างต่อเนื่องคงทน
ดังนั้นสิ่งที่ไทยต้องทำโดยด่วนคือส่งกองกำลังทหารเข้าไปตรึงพื้นที่บริเวณปราสาทตาเมือนธมทั้งหมด เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ และมีอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าวโดยสมบูรณ์ มิเช่นนั้น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอาจต้องโทษถึงประหารชีวิต ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119 ฐานทำให้ไทยเสียดินแดนครับ ด้วยความปรารถนาดี
(3 พ.ค. 68) ในค่ำคืนที่ไฟฟ้าทั้งระบบดับลงพร้อมกันทั่วกรุงมาดริดและหลายเมืองใหญ่ในสเปนและโปรตุเกส—ไม่มีแสง ไม่มีสัญญาณ ไม่มีอินเทอร์เน็ต—สิ่งที่กลับถูกถามหามากที่สุดไม่ใช่โทรศัพท์รุ่นใหม่ ไม่ใช่แท็บเล็ต แต่คือ วิทยุ
“ยังมีวิทยุเหลือไหม?” เป็นคำถามที่ร้านขายของชำเล็ก ๆ ในมาดริดได้ยินถี่ที่สุดในช่วงไฟดับ ผู้คนพากันต่อคิวถามหาไฟฉาย แบตเตอรี่ เทียนไข และวิทยุทรานซิสเตอร์ ราวกับย้อนเวลากลับไปในยุคก่อนสมาร์ตโฟน
เรเยส พาแตร์นา แม่ลูกสองที่กำลังพาลูกกลับบ้านบอกว่า “ไม่มีอะไรใช้ได้เลย โทรศัพท์ก็เงียบ เรายังมีของใช้เด็กนิดหน่อย แต่ไม่รู้จะหาข่าวจากไหน เรามีเตาแคมป์ก็จริง แต่ไม่แน่ใจว่ากระป๋องแก๊สจะยังเหลือไหม”
บนถนนสายหนึ่งในย่านชุมชน คนขับรถจอดรถ เปิดกระจกรถ แล้วเปิดวิทยุดัง ๆ ให้คนอื่นมารวมตัวฟังข่าวด้วยกัน บางคนเอาเก้าอี้มานั่งฟัง สร้าง 'ชุมชนคลื่นเสียง' ขึ้นท่ามกลางความมืดมิด
มาเรีย รามิเรซ นักข่าวจาก elDiario.es ซึ่งรายงานเหตุการณ์นี้ กล่าวว่า “สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดไม่ใช่แค่การฟื้นฟูไฟฟ้าใน 12 ชั่วโมง แต่คือความสงบและสามัญสำนึกของประชาชน—กับวิทยุเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่ออีกครั้ง”
แต่ไม่ใช่ทุกคนจะอยู่ในภาวะสงบนิ่งเช่นนั้น แท็กซี่ตะโกนว่า “รับเฉพาะเงินสด!” และมีคนบางกลุ่มแซงคิวหญิงตั้งครรภ์ขึ้นรถ บ่งชี้ว่าเมื่อระบบล่ม ความเป็นระเบียบก็อาจล่มสลายตาม
มานูเอล ปาสเตอร์ วัย 72 ปี ส่ายหัวพลางลากรถเข็นใส่อาหารกระป๋องกลับบ้าน “เราหวังว่าทุกอย่างจะกลับมาภายในวันสองวัน ถ้าเกินกว่านั้นคนจะเริ่มตื่นตระหนก แล้วจะเกิดเรื่องเหมือนตอนโควิดอีก”
เหตุการณ์นี้ตอกย้ำข้อเท็จจริงอันเจ็บปวดว่า แม้ในโลกที่ก้าวหน้าที่สุด หากไร้ไฟฟ้าเพียงไม่กี่ชั่วโมง ทุกสิ่งอาจหยุดชะงัก และสิ่งที่คนเคยหัวเราะเยาะว่า "ล้าสมัย" อย่างวิทยุ กลับกลายเป็นของมีค่าเหนือเทคโนโลยีใด ๆ
มันไม่ใช่แค่เครื่องส่งสัญญาณเสียง แต่มันคือสื่อกลางของความหวัง ความมั่นใจ และการเชื่อมโยงมนุษย์ในยามที่โลกดิจิทัลพังลง
ถึงเวลาหรือยังที่เราจะกลับไปมองสิ่งพื้นฐานด้วยความเคารพ ไม่ใช่เหยียดว่า “เชย”
เพราะในวันที่โลกไร้แสง สิ่งเดียวที่อาจยังพาเรากลับมาหากันได้ คือเสียงจากวิทยุเครื่องเก่า