Saturday, 10 May 2025
ค้นหา พบ 47993 ที่เกี่ยวข้อง

‘ภูมิธรรม’ แจงชัดนโยบาย ‘ฟรีวีซ่า’ ไม่ใช่ช่องโหว่อาชญากรรม ปัดข่าวไทยปล่อยปละละเลย ชี้นักท่องเที่ยวทำผิดเป็นเพียงส่วนน้อย

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังประชุมสภากลาโหม ถึงกรณีที่นโยบายฟรีวีซ่าถูกโยงกับอาชญากรรมในไทยว่า ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นผลจากความไม่ปลอดภัยในประเทศ แต่เป็นการกระทำของบุคคลเฉพาะกลุ่ม ยืนยันว่าไทยยังคงดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด

กรณีชายแต่งตัวคล้ายสารวัตรทหารร่วมงานจีน นายภูมิธรรมเผยว่า ทราบเรื่องแล้ว และได้สั่งการให้ตรวจสอบ พบว่าเหตุเกิดตั้งแต่ ธ.ค. 2567 แต่เพิ่งถูกเผยแพร่ทางสื่อสังคม ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวกระทำในนามส่วนตัวหรือไม่ เพราะหากไม่มีคำสั่งทางราชการถือว่าผิดระเบียบ และหากเป็นการเลียนแบบเครื่องแบบทหาร ก็ผิดกฎหมายอาญา

เมื่อถูกตั้งข้อสังเกตว่าไทยอาจปล่อยให้กลุ่มจีนใช้เป็นฐานดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น หลอกขายตรงหรือแฝงตัวในรูปเจ้าหน้าที่ นายภูมิธรรมยืนยันว่า ทางการไม่ได้ละเลย แต่เพิ่งทราบเมื่อมีการเผยแพร่ในโซเชียล และเมื่อรับรู้ก็มีการดำเนินการอย่างจริงจังทันที

ในประเด็นที่ฟรีวีซ่าอาจเป็นช่องโหว่ให้บุคคลไม่หวังดีเข้ามา นายภูมิธรรมระบุว่า ฟรีวีซ่าเป็นมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจที่จำเป็น ยอมรับว่าทุกนโยบายมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่เมื่อมีคดีเกิดขึ้น ก็จัดการตามกฎหมายอย่างไม่ละเว้น พร้อมย้ำว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวที่กระทำผิดมีเพียงส่วนน้อย

สุดท้าย นายภูมิธรรมกล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยต่อปัญหา พร้อมดำเนินการแก้ไขอย่างเต็มที่ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในหลายประเทศ ส่วนข้อเสนอให้ลดระยะเวลาฟรีวีซ่าจาก 60 วันนั้น จะนำไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 วันแห่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่การสถาปนากษัตริย์ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็นวันที่มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ตามโบราณราชประเพณีของราชวงศ์จักรี

พระราชพิธีครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่พระองค์เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 หลังสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การบรมราชาภิเษกถือเป็นการประกาศพระราชอำนาจในการครองราชย์อย่างเป็นทางการต่อประชาชนและนานาประเทศ

ในพระราชพิธี พระองค์ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งกลายเป็นหลักการสำคัญในการทรงงานตลอดรัชสมัยที่ยาวนานกว่า 70 ปี และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพสกนิกรไทย

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนั้นยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจนานัปการที่พระองค์ทรงริเริ่ม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย ทั้งในด้านเกษตรกรรม น้ำ การศึกษา และเศรษฐกิจพอเพียง

อีกหนึ่งเครื่องมือกำกับดูแลค่าไฟฟ้าให้มีความเป็นธรรม เงินที่ ‘กกพ.’ เรียกคืนจาก 3 การไฟฟ้า ใช้เยียวยาดูแล ปชช.

(30 เม.ย. 68) อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า บทบาทสำคัญของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.  คือ การกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าให้เป็นธรรมกับผู้ใช้ไฟฟ้า แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่ทราบว่า กกพ. ดำเนินการอย่างไรและใช้เครื่องมืออะไรบ้าง ในการกำกับดูแลค่าไฟฟ้าให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้ไฟ โดยเฉพาะในภาวะที่เกิดวิกฤตต่างๆ และประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากค่าไฟฟ้าแพง

สำหรับเครื่องมือหนึ่งที่ กกพ. นำมาใช้ในกรณีที่เกิดผลกระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย นั่นคือ “เงิน Claw Back” ที่สามารถนำมาใช้อุดหนุนต้นทุนค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน

Claw Back เป็นเงินที่ กกพ. เรียกคืนมาจาก 3 การไฟฟ้า ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. ) ในส่วนที่ไม่ได้ใช้ลงทุนตามแผนที่เสนอให้ กกพ. พิจารณา ในช่วงที่มีการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า โดยคิดตามอัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ (Self-Financial Ratio: SFR) ในอัตราร้อยละ 25 และค่าเสียโอกาสทางการเงินของผู้ใช้ไฟฟ้าในอัตราไม่น้อยกว่า MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ 5 ลำดับแรกของประเทศไทย บวกสอง

อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ ปกติรายได้จากการขายไฟฟ้าที่ทั้ง 3 การไฟฟ้าได้รับ จะมีการบวกรวมต้นทุนโครงการลงทุนต่างๆ และผลตอบแทนการลงทุนตามแผนที่ได้แจ้งกับทาง กกพ. ไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าไปแล้ว แต่ในกรณีที่เมื่อถึงเวลาตามที่แจ้งในแผน ทั้ง 3 การไฟฟ้า ยังไม่ได้ลงทุนในโครงการนั้นๆ หรือโครงการนั้นๆ ถูกชะลอออกไป กกพ. ก็จะสามารถเรียกเงินส่วนที่คิดคำนวณไว้เกิน ซึ่งรวมอยู่ในค่าไฟฟ้าตามต้นทุนที่ประเมินการลงทุนต่างๆ ไปด้วยแล้วดังที่กล่าว กลับคืนมา พร้อมอัตราดอกเบี้ย ซึ่งคือเงิน แ นั่นเอง

ตัวอย่างของการนำเงิน Claw Back มาใช้เมื่อครั้งเกิดการระบาดของโควิด – 19 โดยทาง กกพ. เห็นชอบใช้เงินที่ส่งคืนจากการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามแผน หรือ นี้ จาก กฟผ. กฟน. และ กฟภ. บวกเงินค่าปรับที่เกิดขึ้นจากการบริหารสัญญาของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ในช่วงปี 2557-2562 รวมทั้งเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97 (1) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน มาใช้เยียวยาผลกระทบจาก “โควิด-19” ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย รวม 22 ล้านครัวเรือน ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน ที่ให้ กกพ. หาแนวทางเยียวยาลดค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชนจากสถานการณ์ดังกล่าว

ที่ผ่านมา กกพ. จะพิจารณากำกับดูแลและเรียกคืนเงิน Claw Back เป็นรายปี เพื่อนำมาบริหารจัดการบรรเทาผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าหากค่าไฟฟ้าปรับขึ้นตามต้นทุน โดย กกพ. มักจะนำเงินส่วนนี้มาใช้ในการพยุงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงที่ราคาค่าเชื้อเพลิง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ปรับตัวสูงขึ้น โดยเงิน Claw Back ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ที่รวมอยู่ในกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97(1) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ปัจจุบันมีสะสมอยู่ตามมาตรา 97 (1) ประมาณ 20,000 ล้านบาท

Claw Back จึงเป็นเหมือนเครื่องมือสำคัญ สำหรับเติมเต็มบทบาทและภารกิจของ กกพ. ในการดูแลอัตราค่าไฟฟ้า ให้เกิดความเป็นธรรมสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า

และจากการประกาศลดค่าไฟ งวด พ.ค. - ส.ค. 68 จากเดิมที่ กกพ. กำหนดไว้ 4.15 บาทต่อหน่วย เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วยนั้น ส่วนสำคัญคือการนำเงิน Claw Back จำนวน 12,200 ล้านบาทออกมาอุดหนุนนั่นเอง 

บางกอกมีนไทม์: พระอัจฉริยะของรัชกาลที่ ๔ กับการสร้างเวลามาตรฐานสยาม | THE STATES TIMES EP.163

เคยสงสัยไหมว่า…
เวลาของประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นอย่างไร?

ย้อนไปในยุครัชกาลที่ ๔ พระองค์ไม่เพียงแค่คำนวณสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่ยังวางรากฐาน "บางกอกมีนไทม์" (Bangkok Mean Time) เวลามาตรฐานแห่งสยาม ด้วยความรู้ด้านดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ล้ำยุค

ตั้งแต่ "นาฬิเก" ที่ลอยน้ำ...
สู่การตั้งหอนาฬิกาหลวงกลางพระบรมมหาราชวัง...
จนกลายเป็นเส้นเวลาของชาติ ก่อนที่โลกจะมี GMT อย่างเป็นทางการถึง 16 ปี!

เรื่องเล่าเบาๆ ที่จะทำให้คุณภูมิใจในพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทยมากยิ่งขึ้น 

‘คอลัมนิสต์ดัง’ ชี้ทางออกถ้าถูกสหรัฐฯแซงก์ชันกรณี ‘พอล แชมเบอร์ส’ แนะตามรอยรัสเซีย ‘พึ่งพาจีน – มุ่งสู่ BRICS - หันหามิตรนอกตะวันตก’

เมื่อวันที่ (30 เม.ย. 68) นายนิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย คอลัมนิสต์ชื่อดัง ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีการดำเนินคดีกับ ดร. พอล แชมเบอร์ส เกี่ยวกับมาตรา 112 ว่า ...

ถาม อาจารย์หมูครับ การจับ ดร.พอล แชมเบอร์ส จะถูกนำเข้าไปในสภาคองเกรสไหมครับ เราจะโดนแซงก์ชันไหมครับ ถ้าโดนแล้วจะเป็นยังไง?

ก่อนตอบคำถาม ผมขอบอกก่อนครับว่า พ่อสอนผมกราบพื้น 5 ครั้งทุกวัน กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ครูอาจารย์ และเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ 

ผมเป็นบุคคลที่ถวายความเชื่อมั่นในพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ รวมทั้งพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

คุณจะได้ทราบว่า จิตใจและสิ่งที่อยู่ใต้ความคิดของผมว่าเป็นอย่างไร

เอาละที่นี้มาดูคำตอบ…
ผมคิดว่าเรื่อง ดร. แชมเบอร์ส ไม่น่าจะแรงขนาดเข้าสภาคองเกรส ไม่มั่นใจว่าจะไปไกลถึงขนาดนั้น 

ยกเว้น สหรัฐฯ จะบ้าพิจารณาว่า ดร.แชมเบอร์ส เป็น 1.นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน หรือ 2.มีสถานะทางด้านความมั่นคง

ถ้าพิจารณาแบบอยากหาเรื่อง ก็อาจจะมีคนเอาเข้าสภาคองเกรส สหรัฐฯ และอาจออกมาตรการแซงก์ชันไทย

ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้น
ขึ้นอยู่กับการแซงก์ชันว่าอยู่ระดับใด

ถ้าเป็น Targeted Sanctions หรือแซงก์ชันแบบจำกัดบุคคล กระทบน้อย แต่ส่งสัญญาณทางการเมืองแรง อาจจะมีการแช่แข็งทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ไทยบางรายในสหรัฐฯ จำกัดการเดินทางหรือห้ามเข้าสหรัฐฯ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมยังจำกัด แต่จะกระทบภาพลักษณ์ไทยในสายตาตะวันตกมากกว่า นักลงทุนบางกลุ่มอาจชะลอการลงทุน

แย่ขึ้นมานิดก็เป็น Secondary Sanctions คือเป็นแซงก์ชันทางการค้าและการเงินระดับกลาง อันนี้นี่แหละครับ ที่อาจจะเริ่มกระทบเศรษฐกิจจริงจัง อาจมีผลต่อสถาบันการเงินของไทย ธุรกิจส่งออกที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ อาจถูกตรวจสอบเข้มงวดหรือชะลอ ความกังวลของนักลงทุนจะกระทบตลาดหุ้นไทย เงินบาทอาจอ่อนค่าชั่วคราว 

แต่ถ้าสหรัฐฯ สติแตกมากๆ ก็อาจจะออก Comprehensive Sanctions ผมหมายถึง แซงก์ชันทางเศรษฐกิจแบบกว้าง สิ่งที่จะค่อยๆ ตามมาคือ สิทธิพิเศษทางภาษี หรือ GSP ที่สหรัฐฯ ยังให้เราบางส่วนอาจจะถูกระงับ ถ้าโดนแรงแบบที่รัสเซียโดน สหรัฐฯ อาจจะบล็อกการเข้าถึงระบบการเงินสหรัฐ เช่น SWIFT หรือการโอนเงินดอลลาร์ เราส่งสินค้าไปขายที่สหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 15 อันนี้อาจจะส่งไปขายไม่ได้ กระทบต่อ FDI การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และตลาดหุ้น ที่ตามมาก็คือ พวกคอหอยลูกกระเดือกของสหรัฐฯ อย่างสหภาพยุโรป อาจจะเล่นงานไทยตามสหรัฐฯ ความสัมพันธ์กรอบการค้าเสรีอย่าง CPTPP หรือ IPEF อาจถูกทบทวน

ท่านจะพบว่า…

ตั้งแต่ ค.ศ.2014-2025 รัสเซียโดนแซงก์ชั่นแรงทั้ง  Targeted Sanctions, Secondary Sanctions และ Comprehensive Sanctions รัสเซียแก้ไขโดย…
1.พึ่งพาจีนมากขึ้น
2.ทุ่มเทกับ BRICS
3.หันไปหาพันธมิตรนอกตะวันตก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top