Saturday, 10 May 2025
ค้นหา พบ 47985 ที่เกี่ยวข้อง

‘เซเลนสกี้’ ยอมแล้ว!! หลังจากทะเลาะกันให้โลกดู คาด!! ยอม ‘Rare Earth’ ให้สหรัฐอเมริกา ใช้หนี้

(1 พ.ค. 68) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีใจความว่า...

ก้าวแรกสู่การสงบศึก Russia-Ukraine !!
เซเลนสกี้ ยอมแล้ว!!
หลังจากทะเลาะกันให้โลกดูเมื่อเดือนที่แล้ว
จะนำไปสู่การฟื้นฟู Ukraine จากสงคราม 
รวมถึงการปลดพันธนาการพึ่งพา Rare Earth จากจีน
ซึ่ง Rare Earth เหล่านี้ จะนับเป็นการคืนเงินที่สหรัฐช่วยสู้ศึกในช่วงที่ผ่านมา 

สมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา ออกแถลงการณ์!! แสดงความกังวล กรณี ‘พอล แชมเบอร์ส’ ถูกจับในข้อหา ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’

(1 พ.ค. 68) สมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา (APSA) ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการจับกุมและควบคุมตัว ดร.พอล แชมเบอร์ส นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2025 ภายใต้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของไทย

แม้ว่าปัจจุบัน ดร.แชมเบอร์สจะได้รับการประกันตัวแล้ว แต่เขายังคงถูกเพิกถอนวีซ่า ถูกยึดพาสปอร์ต และถูกยึดคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ซึ่งสมาคมฯ เห็นว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำงานด้านวิชาการอย่างรุนแรง

สมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพทางวิชาการตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไทย รวมถึงพันธกรณีระหว่างประเทศ พร้อมทั้งขอให้มีการยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อ ดร.แชมเบอร์ส เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของไทยในการสนับสนุนเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสวงหาความรู้

จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ถูกส่งถึง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้แก่ ทอม โคล, แฟรงค์ ลูคัส, เควิน เฮิร์น, สเตฟานี ไบซ์ และจอช เบรคีน รวมถึงวุฒิสมาชิก เจมส์ แลงค์ฟอร์ด และ มาร์ควีน มัลลิน รวมทั้ง เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเด็ก และอัยการสูงสุดของไทย คุณไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ

สำหรับสมาคมรัฐศาสตร์แห่งอเมริกา (APSA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1903 ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 11,000 คนจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยมีบทบาทสำคัญในการจัดประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ตีพิมพ์วารสารวิชาการชั้นนำ ส่งเสริมการวิจัยและการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของนักวิชาการที่ถูกคุกคามจากรัฐ

สื่อจีน ยกย่อง!! พระอัจฉริยภาพ ‘ในหลวง - พระราชินี’ ทรงขับเครื่องบิน เสด็จเยือนภูฏาน ด้วยพระองค์เอง

(1 พ.ค. 68) สื่อ Shanghai Daily ของจีนรายงานผ่านแพลตฟอร์ม X ว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ได้เสด็จเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 4 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2568 นับเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาลนี้

ที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์คือ ทั้งสองพระองค์ ทรงขับเครื่องบินพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำหน้าที่นักบิน และสมเด็จพระราชินีทรงเป็นผู้ช่วยนักบิน ในการนำเครื่องลงจอดที่สนามบินนานาชาติปาโร ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสนามบินที่มีความยากที่สุดในโลก

การเสด็จเยือนครั้งนี้มีขึ้นตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และ สมเด็จพระราชินีเจตซุน เปมา แห่งภูฏาน โดยมีพิธีต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประชาชน พร้อมการแสดงวัฒนธรรมและพิธีกรรมทางศาสนา

นอกจากนี้ทั้งสองพระองค์ยังได้ เสด็จไปยัง พระพุทธรูปโดร์เดนมา (Buddha Dordenma) เพื่อทรงร่วมพิธีสวดมนต์ถวายพระพร โดยมีพระสงฆ์ไทยและภูฏานจำนวน 74 รูปร่วมพิธี

นอกจากนี้ ยังเสด็จเยือน โครงการหลวงที่เมืองเดเชนโชลิง เพื่อทอดพระเนตรความร่วมมือระหว่างโครงการหลวงของไทยกับหน่วยงานในภูฏาน รวมถึงเยี่ยมชม ตลาดกลางในกรุงทิมพู และทรงร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมต่าง ๆ กับประชาชน

การเสด็จเยือนครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างราชอาณาจักรไทยและภูฏาน ซึ่งมีรากฐานร่วมกันทางวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา

ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับประเทศไทยในวันที่ 28 เมษายน โดยทรงขับเครื่องบินพระที่นั่งกลับด้วยพระองค์เองอีกครั้ง

เว็บไซต์นอร์เวย์ เปิดบันทึกพระราชหัตถเลขา ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเขียนถึง พระธิดา ทรงทำนายตั้งแต่ปี 1907 ไว้ว่า ‘ในอนาคตจะมีโทรศัพท์แบบพกพา ที่เล็กเท่านาฬิกาพก’

(1 พ.ค. 68) พอดีไปเจอบทความต่างประเทศฉบับหนึ่งเข้าโดยบังเอิญ เป็นเรื่องราวจากเว็บไซต์นอร์เวย์ชื่อ Mykles.com ที่เล่าเหตุการณ์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) และได้เสด็จถึงประเทศนอร์เวย์ ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นดินแดนแห่งเทคโนโลยีพลังน้ำที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ว่ากันว่า พระองค์ทรงเดินทางไปยังเมืองโนโทดเดิน (Notodden) เพื่อศึกษาดูงานด้านไฟฟ้า และได้พบกับวิศวกรผู้มีชื่อเสียงคือ แซม ไอเด (Sam Eyde) ผู้ก่อตั้งบริษัท Norsk Hydro ซึ่งเป็นผู้ผลิตปุ๋ยจากไนโตรเจนด้วยกระแสไฟฟ้า

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ — ในบันทึกพระราชหัตถเลขาที่พระองค์ทรงเขียนถึงพระธิดา (เจ้าหญิงน้อย) ที่กรุงเทพฯ พระองค์ได้เล่าถึงบทสนทนาในค่ำคืนหนึ่งว่า:
> “คงไม่เกินเลยนักหากจะทำนายว่าในอนาคตจะมีโทรศัพท์แบบพกพาที่เล็กเท่านาฬิกาพก เมื่อคุณต้องการสนทนา เพียงพูดกับนาฬิกา แล้วแนบหูฟังเสียงจากอีกฝ่าย...”

หลายคนที่ได้อ่านตรงนี้อาจจะตกใจ เพราะนี่มันคือภาพของ 'สมาร์ตวอทช์' อย่างแท้จริง — แต่ถูกจินตนาการไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907!!

บทความนั้นเล่าอีกว่า พระองค์ทรงเสด็จแบบ 'in cognito' หรือไม่ได้เปิดเผยสถานะความเป็นพระมหากษัตริย์ ทำให้สามารถสังเกตสังคมนอร์เวย์ในเวลานั้นได้อย่างลึกซึ้ง — ทั้งความยากจน ความตั้งใจของผู้คน และความมุมานะในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์

นอกจากเรื่องโทรศัพท์พกพาแล้ว พระองค์ยังสนทนากับนักวิทยาศาสตร์นามว่า คริสเตียน บีร์เคอลันด์ (Kristian Birkeland) ถึงเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า ปืนไฟฟ้า การทำฝนเทียม และการสื่อสารแบบไร้สายด้วยพลังน้ำฟ้า — ซึ่งก็ล้ำยุคไม่แพ้กัน

บทความนี้ทำให้เรากลับมาทบทวนอีกครั้งว่า พระมหากษัตริย์ไทยในอดีต มิได้ทรงเป็นเพียง 'ผู้อุปถัมภ์' เท่านั้น หากยังทรงเป็น 'นักวิทยาศาสตร์' และ 'นักพยากรณ์เทคโนโลยี' ผู้เห็นไกลเกินยุคสมัย

ในวันที่พวกเราสวมสมาร์ตวอทช์ไว้ที่ข้อมือ และคุยโทรศัพท์ผ่านนาฬิกาได้จริง ๆ นั้น... ก็ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่กษัตริย์ไทยเคยจินตนาการไว้เมื่อ 100 ปีก่อน

'ทราย สก็อต' ยกพระราชดำรัส ร.9 เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อสังคม

ยึดมั่นในคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 ‘ทราย สก๊อต’ หนุ่มนักอนุรักษ์!! ผู้รักท้องทะเลยิ่งชีพ ได้ให้สัมภาษณ์ช่อง News 1 เกี่ยวกับแนวทาง คำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top