Monday, 28 April 2025
ค้นหา พบ 47718 ที่เกี่ยวข้อง

นครพนม-รองเลขาธิการ ปปส. ตรวจเยี่ยมกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน  ปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Seal Stop Safe ในพื้นที่รับผิดชอบของ นบ.ยส.24

เมื่อวันที่ (3 เม.ย.68) เวลา 0930 น. ที่ห้องประชุมพระยอด กองบังคับการมณฑลทหารบกที่ 210 ค่ายพระยอดเมืองขวาง ตำบลกุรุคุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พันเอกศิวดล  ยาคล้าย ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ หน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้การต้อนรับ  นายศิริสุข ยืนหาญ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พร้อมคณะ ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน  ปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Seal Stop Safe ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน งบประมาณ 2568 ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นบ.ยส.24) โดยมี โดย ผู้แทนสำนักยุทธศาสตร์, สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4 พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ จังหวัดนครพนม เข้าร่วมประชุม และวันที่ 2 เมษายน 2568 คณะผู้แทนสำนักยุทธศาสตร์ได้ลงพื้นที่ บ้านแสนพันท่า หมู่ที่ 4 ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน กองร้อยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 2109 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21 บริเวณวัดศรีสะอาด บ้านเหล่านนาด ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ตรวจเยี่ยมและรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานในหมู่บ้าน/ชุมชน พื้นที่ชายแดน ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม 

โดยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” ที่ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน เพื่อมอบนโยบายในการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และสามารถเร่งรัดการดำเนินงานสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดนให้เห็นผลเป็นรูปธรรม​ ซึ่งหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการปฏิบัติที่สำคัญแต่ละมาตรการตั้งแต่ 1 ต.ค 67 ถึง ปัจจุบัน ประกอบไปด้วย มาตรการสกัดกั้น มาตรการปราบปราม มาตรการป้องกัน  มาตรการบำบัดรักษา มาตรการบูรณาการ มาตรการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย ตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” ผนึกกำลัง 51​ อำเภอชายแดน (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) หน่วยมีผลการปฏิบัติตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปราม ตามแนวชายแดน/ โดยทำการซุ่มเฝ้าตรวจ 6,540 ครั้ง, ลาดตระเวนทางน้ำ 64 ครั้ง, ลาดตระเวนทางบก 5,383 ครั้ง,จัดตั้งจุดตรวจด่านตรวจ 1,530 ครั้ง ทำการปิดล้อมตรวจค้น 47 ครั้ง /ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สิน คดียาเสพติด จำนวน 28 คดี รวมผลการตรวจยึดจับกุมตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) มีการตรวจยึดจับกุมจำนวน 216 ครั้ง/ ผู้ต้องหา 272 รายของกลาง ยาบ้า 26,970,802 เม็ด,ไอซ์ 1,216.336 กิโลกรัม, และอื่นๆ

‘ยูเน็กซ์ อีวี’ ทุ่ม 12,000 ล้านบาท ผุด!! ‘สถานีสับเปลี่ยนพลังงาน’ ในไทย เดินหน้า!! เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัจฉริยะ วาดฝัน!! เข้าตลาดหุ้น NASDAQ

เมื่อวานนี้ (4 เม.ย. 68) นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ยูเน็กซ์ อีวี จำกัด (UNEX EV) ได้เปิดเผยว่า บริษัทได้นำเสนอแพลตฟอร์มสลับแบตเตอรี่ (battery swap) รายแรกในประเทศไทย  โดยเล็งเห็นถึงโอกาสการเติบโตในอนาคต เนื่องจากความนิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% หรือ อีวี ในประเทศไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก

ทั้งนี้บริษัทได้ลงทุนมูล 12,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี จากนี้เพื่อนำเสนอแพลตฟอร์ม และสร้างอีโคซิสเต็ม การเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับอีวีสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ

ยูเน็กซ์ อีวี จะเข้ามาช่วย แก้ปัญหาและจุดอ่อนสำคัญ (pain point) ของการใช้ยานยนต์อีวีให้ความสะดวกในการใช้งานโดยเฉพาะการใช้งานเชิงพาณิชย์ ที่ต้องใช้รถเป็นเวลานาน และระยะทางไกลในแต่ละวัน  แต่ต้องเสียเวลาในการชาร์จไฟ

ทั้งนี้บริษัทมีแผนที่จะนำ ยูเน็กซ์ อีวี เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของอเมริกา ภายในระยะเวลา 2 ปีจากนี้ด้วย ควบคู่ไปกับการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก

ล่าสุดบริษัทลงนามกับพันธมิตรหลายส่วนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของระบบนิเวศ และการขยายการบริการอย่างยั่งยืนได้แก่ ทั้ง ผู้ผลิตรถยนต์โดยเริ่มจาก  บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรองรับแพลตฟอร์มสับเปลี่ยนอัจฉริยะ และระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ กับรถยนต์ 2 รุ่นแรกพร้อมจำหน่ายได้แก่ MG EP และ MG MAXUS 7

สถานีสับเปลี่ยนพลังงาน โดยเตรียมขยายเครือข่ายการให้บริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยเริ่มจากซัคโก้ ก่อนโดยจะเป็นการลงทุน 15-20 ล้านบาทต่อสถานี และแต่ละสถานีรองรับรถได้ 100 คัน/วัน โดยหากใช้บริการเต็มจะใช้เวลาคืนทุน ประมาณ 3 ปี – 3 ปีครึ่ง โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปี จะมีไม่น้อยกว่า 1,000  สถานี

ส่วนสถาบันการเงิน อย่าง ซูมิโตโม ลิสซิ่ง เข้ามาสนับสนุนทางการเงิน เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น สำหรับลูกค้า MG EP ลูกค้าสามารถเลือกเริ่มต้นผ่อนได้เพียง 550 บาท/วัน และวางเงินดาวน์ 0%

สำหรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของยูเน็กซ์ อีวี นั้น นายพิทักษ์ กล่าวว่า  ตั้งเป้าว่ายังมีแผนเตรียมเข้าไปนำเสนอและเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ อีวี และส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และเรือขนาดเล็กภายใน 3 ปีนี้ เพื่อขยายเครือข่ายอัจฉริยะของสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยให้ได้มากกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ

โดยจะเข้าไปทำตลาดเพื่อเจาะกลุ่มรถยนต์อีวีเชิงพาณิชย์ ในจ. ภูเก็ตก่อน จากนั้นจะขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

เปิด 2 เรื่องที่น่ากลัวกว่าเกิด ‘แผ่นดินไหว’ ไทย-เมียนมา เฟกนิวส์-มิจฉาชีพระบาด พอๆ กับความเกลียดชังที่ไร้เหตุผล

เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกการเป็นเขตธรณีพิบัติภัยแล้วยกเว้นแค่จุดอาคารถล่มเพียงเท่านั้น และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากกรณีธรณีพิบัติภัยครั้งนี้ที่เอย่ามองว่า นี่มันช่างน่ากลัวเสียยิ่งกว่าแผ่นดินไหว วันนี้เอย่าจะหยิบยกมาให้รู้กัน

1. เฟกนิวส์และมิจฉาชีพที่มาในรูป AI ตามที่เราเห็นตามสื่อสังคมออนไลน์ตอนนี้ที่ยังพบได้คือภาพ VDO เฟกนิวส์ที่อ้างว่าเป็นภาพธรณีพิบัติภัยในเมียนมาและประเทศไทยสร้างภาพความเสียหายที่ดูรุนแรงจนเข้าใจผิด แต่ที่หนักกว่านั้นที่เอย่าพบตอนนี้คือการพบว่ามีการนำวิดีโอที่สร้างจาก AI มาใช้เรียกร้องขอเงินบริจาคของพวกกลุ่มมิจฉาชีพและสแกมเมอร์แล้ว

2. ความเกลียดชังที่ไร้เหตุผล จากเหตุธรณีพิบัติภัยครั้งนี้เราจะเห็นได้ถึงน้ำใจของเหล่าประเทศที่ส่งทีมกู้ภัยเข้าไปช่วยเมียนมาในวิกฤตครั้งนี้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่ตั้งธงทำร้ายเมียนมามาตลอดอย่างสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่ตั้งโต๊ะแถลงคว่ำบาตรอย่างเกาหลีใต้ก็ยังบริจาคเงิน 2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐช่วยเหตุการณ์นี้ 

และเช่นกัน เราก็ได้เห็นบางประเทศอ้างว่ายกเลิกส่งทีมช่วยเหลือไปเพราะเมียนมาไม่ปลอดภัย ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้มีประกาศยุติสงครามทั่วประเทศเพราะความเดือดร้อนของประชาชนต้องมาก่อนและดูเหมือนกลุ่มติดอาวุธก็ยอมปฏิบัติตามข้อเสนอนี้เสียด้วย

อย่างไรก็ดีก็มีคนบางกลุ่มและสื่อบางสื่อพยายามอ้างว่าการที่ผู้นำทหารเมียนมาได้เข้าร่วมประชุม BIMSTEC เป็นการที่ไทยฟอกขาวให้เขา ทั้งที่อีกมุมที่หลายคนไม่รู้คือ หลังเหตุการณ์รัฐประหารไทยแทบจะปิดประตูความช่วยเหลือให้แก่เมียนมา 

ยังไม่พอ ไทยคือฐานนอกประเทศของกลุ่มก่อความไม่สงบไม่เมียนมา อีกทั้งการที่เมียนมาเริ่มตีตัวออกห่างจากไทย นั่นก็เพราะหลายครั้งที่ไทยละเลยคำขอของเพื่อนบ้าน หลายคนคงไม่ทราบว่า ทางการไทยพยายามร้องขอการปล่อยตัวของลูกเรือ 4 คนมาตลอด จนล่าสุดที่ ‘ลุงป้อม’ ไปขอผ่านเจ้ายอดศึกให้คุยกับนายพล มินอ่องหล่ายให้ เขาก็ยอมปล่อยตัวออกมา ทางรัฐบาลเมียนมาขอน้ำมันวันละ 5,000 ลิตรเพื่อมาใช้ปั่นไฟในโรงพยาบาลในเมืองเมียวดี เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากกลุ่มจีนเทา ไทยกลับเพิกเฉย 

ดังนั้นเอย่าถามว่าการประชุม BIMSTEC ครั้งนี้เป็นการฟอกขาวหรือการกลับมาสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศอีกครั้งกันแน่

กลุ่มผู้อพยพผิดกฎหมายในไทยพยายามอ้างตลอดว่า เขาหนีเข้าไทยเพราะรัฐประหารในเมียนมา แต่ทุกคนควรทราบก่อนว่า เหตุผลใหญ่ในตอนนั้นที่กองทัพต้องทำรัฐประหารนอกจากเรื่องการตรวจสอบการเลือกตั้งไม่ได้แล้ว ยังมีเรื่องการยกหมู่เกาะโคโต่ให้เป็นฐานนอกประเทศของอเมริกาด้วย ซึ่งนั่นหากมีการเกิดสงครามจริง อเมริกาสามารถยิงขีปนาวุธเข้ามาที่เมืองย่างกุ้งหรือเนปิดอว์ได้เลย โดยใช้หมู่เกาะโคโต่เป็นฐาน

และการที่ประชาชนในประเทศเขาหนีส่วนใหญ่ เพราะไปเชื่อตามข่าวลือของกลุ่มต่อต้านที่ปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังและอีกส่วนคือหนีสงครามที่เริ่มต้นโดยกลุ่มชาติพันธุ์นั่นเอง 

ส่วนในไทยสิ่งที่น่ากลัวคือการที่คนไทยผู้มีอำนาจเพิกเฉยและให้คนเหล่านี้เข้ามามีสิทธิ์มีเสียงในสังคมต่างหาก นั่นแหละที่เรียกว่าฟอกขาวที่แท้จริง

‘พีระพันธุ์’ บรรยายหลักสูตร ‘มินิ วปอ.’ คลี่ผลประโยชน์บนพลังงานชาติ ชี้!! ต้องเดินหน้าทลายทุนผูกขาด กลับสู่หลักการ ‘พลังงานเพื่อประชาชน’

เมื่อวานนี้ (4 เม.ย.68) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้บรรยายในหัวข้อ ‘ความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านพลังงานในอนาคต’ แก่ผู้อบรมในหลักสูตร วปอ.บอ.2 

โดยในลำดับแรกนายพีระพันธุ์ ได้เริ่มต้นการบรรยายว่า เรื่องของพลังงานนั้นเกี่ยวข้องกับตนตั้งแต่สมัยยังเด็กเนื่องจากคุณพ่อเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเชื้อเพลิง ซึ่งสิ่งที่ตนเคยได้รับฟังตั้งแต่เด็กคือเรื่องพลังงานคือเรื่องความมั่นคง 

สำหรับพื้นฐานเรื่องพลังงานน้ำมันในประเทศไทย เริ่มต้นในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เริ่มมีแนวคิดในการพัฒนาแหล่งพลังงานในประเทศเพื่อความมั่นคงของประเทศ ต่อมาจึงมีการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตามข้อมูลที่ว่ามีการกลั่นน้ำมันไว้ใช้เองได้ จึงเป็นที่มาของการกลั่นน้ำมันครั้งแรกในประเทศไทยที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 

น้ำมันที่ได้นั้นแต่เดิมมีแนวคิดว่าจะเป็นการนำมาใช้ในกองทัพเพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากปริมาณที่จำนวนมาก และแบ่งเบาภาระของประชาชนจึงมีการเปิดปั๊มน้ำมันสามทหารซึ่งจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้แก่ประชาชนคนไทย 

ดังนั้นเรื่องของพลังงานของประเทศไทยจึงเริ่มต้นมาจากความมั่นคง เริ่มต้นจากกองทัพ ก่อนที่จะเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ จึงมีการจัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. และได้มีการโอนทรัพย์สินของ องค์การเชื้อเพลิง มาเป็นของ ปตท. 

ป้ายสามทหารตามปั๊มน้ำมันถูกปลดถูกเปลี่ยนถ่ายเป็นป้ายของ ปตท. และมีการแปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

“หลังจากยุคองค์การเชื้อเพลิงมิติความมั่นคงในด้านพลังงานถูกมองข้ามไปตลอด และมองในมิติธุรกิจการค้าด้านพลังงานตลอดจนถึงทุกวันนี้ จึงเป็นโจทย์ว่า จะทำอย่างไรให้เรื่องของน้ำมันมายึดถือผลประโยชน์ของชาติประชาชนเหมือนดังแต่ก่อน ซึ่งเป็นเรื่องยากแต่ต้องทำ” นายพีระพันธุ์กล่าว 

สำหรับสถานการณ์น้ำมันในทุกวันนี้ที่ราคาน้ำมันในประเทศสูงมาก สาเหตุที่แท้จริงมาจากโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทยมีลักษณะพิเศษจากประเทศอื่น คือ มีภาษีหลายส่วน จากราคาเนื้อน้ำมันประมาณ 18 บาท ราคาน้ำมันที่ขายให้กับประชาชนอยู่ที่ 42 บาทต่อลิตร ซึ่งมีโครงสร้างจากภาษีน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่ม การจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และการจ่ายค่าการตลาด จึงเป็นเหตุผลที่ในภูมิภาคราคาน้ำมันไทยถึงแพงมาก

ซึ่งหากคิดจากโจทย์ที่ว่าจะต้องเอาหลักการเรื่องความมั่นคง หลักการดูแลประชาชนกลับมาในการดูแลเรื่องของน้ำมัน ทำให้ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีน้ำมันสำหรับผู้มีรายได้น้อย มีน้ำมันเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ มีน้ำมันสำหรับพี่น้องชาวประมง ที่ทุกวันนี้ใช้น้ำมันมาตรฐาน EURO5 ในอุปกรณ์ทางการเกษตรและจ่ายค่าน้ำมันในราคาเดียวกันกับรถ Super Car

จึงเป็นเหตุผลที่จะต้องออกกฎหมายใหม่ให้ยึดผลประโยชน์ของชาติและประชาชน มีมิติด้านความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

สำหรับมิติพลังงานเพื่อความมั่นคงคือหลักการยึดผลประโยชน์ของประชาชน แต่สำหรับความมั่นคงด้านพลังงาน สิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีคือ น้ำมันสำรองที่เป็นของรัฐ ที่จะตอบโจทย์ทั้งน้ำมันเพื่อความมั่นคงและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นยิ่งตอกย้ำความจำเป็นในข้อนี้ และน้ำมันที่จะสำรองต้องเป็นน้ำมันที่เป็นของรัฐ ไม่ใช่น้ำมันสำรองของเอกชน

ปัจจุบันในทุก ๆ วันมีการใช้น้ำมันประมาณ 120 ล้านลิตร หรือประมาณ 1 ล้านบาร์เรล แต่ที่ผลิตได้มีเพียง 7 หมื่นบาร์เรลต่อวันเท่านั้น การมีน้ำมันสำรองจึงเป็นทางออกในการรองรับทุก ๆ สถานการณ์ด้านพลังงาน

คลังน้ำมันสำรอง หรือ Strategic Petroleum Reserve(SPR) เป็นแนวคิดที่มีจุดเริ่มต้นจากสงครามอ่าวในตะวันออกกลางที่ทำให้ราคาของน้ำมันพุ่งสูงขึ้น และมีการร่วมกันก่อตั้ง International Energy Agency หรือ IEA ภายใต้แนวคิดจะต้องมีการสต็อกน้ำมันเพื่อดูแลประเทศสมาชิกในช่วงที่เกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้น เป็นการใช้ปัญหาน้ำมันมาแก้ปัญหาน้ำมัน โดยการเก็บน้ำมันในช่วงราคาถูก และเอาออกมาใช้ในช่วงที่ราคาแพง โดยมีมาตรฐานที่จะต้องเก็บไว้ 90 ของปริมาณความต้องการในแต่ละวัน 

จากหลักการที่ตนกล่าวข้างต้นประเทศไทยจะต้องมีการเก็บน้ำมันประมาณ 10,000 ล้านลิตร ซึ่งหากมีการริเริ่มทยอยเก็บมาเรื่อย ๆ สิ่งนี้สามารถเป็นจริงได้ 

หลายคนปรามาสว่าประเทศจะหางบประมาณจากไหนเพื่อจัดทำระบบ SPR ซึ่งสำหรับผมเราไม่สามารถใช้เรื่องของเงินมาแก้ปัญหาน้ำมันได้ เราจะต้องใช้เรื่องของน้ำมันมาแก้ไขปัญหาของน้ำมันโดยการเปลี่ยนจากเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันมาเป็นการเก็บน้ำมันเข้ากองทุนน้ำมันแทน ซึ่งนอกจากจะได้ความมั่นคงด้านพลังงานแล้วสิ่งหนึ่งที่ทำได้ทันทีคือ การลดราคาน้ำมันจากเงินที่จัดเก็บเข้ากองทุนน้ำมันที่หายไปทันที

นายพีระพันธุ์กล่าวต่อว่า “แม้จะมีการท้วงติงว่าถ้าทำเช่นนี้ผู้ประกอบการจะอยู่ไม่ได้ แต่เราต้องนึกไว้เสมอว่าไม่มีผู้ประกอบการประชาชนอยู่ได้ แต่ไม่มีประชาชนผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ ดังนั้นการแก้ปัญหาเราต้องประชาชนมาก่อน”

เนื่องจากเรื่องของพลังงานคือ น้ำมัน-ไฟฟ้า-แก็ส ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของพี่น้องประชาชน เราต้องเปลี่ยนจากที่คิดบนหลักพื้นฐานของธุรกิจการค้ามาเป็นประชาชนเป็นหลักแทน วันนี้เราต้องวางหลักการให้ชัดว่าพลังงานเป็นไปเพื่อความมั่นคงไม่ใช่เพื่อธุรกิจการค้า ซึ่งทั้งหมดกำลังทำผ่านกฎหมายหลาย ๆ ฉบับ 

สิ่งแรกที่ทำคือ ทุกวันนี้ที่ทราบว่าราคาเนื้อน้ำมันมีราคา 18 บาทนั้น ตัวเลขที่มีการรายงานมาถูกต้องหรือไม่ ผู้ประกอบกิจการทุกรายไม่ต้องรายงานเพราะที่ผ่านมาถือว่าเป็นความลับทางการค้า จึงเป็นที่มาว่าในการดำเนินการใด ๆ จึงมีการอ้างอิงราคาน้ำมันที่สิงคโปร์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นที่มาที่ตนต้องออกประกาศเป็นครั้งแรกให้มีการแจ้งต้นทุนราคาน้ำมัน ซึ่งกลายเป็นว่าราคาน้ำมันของไทยแพงกว่าตลาดโลก เนื่องจากมีการตั้งบริษัทลูกหลายบริษัทและขายต่อเป็นทอด ๆ ทำให้ราคาสูงกว่าตลาดทั่วไป

แต่สิ่งนี้มาจากแนวคิดที่ผ่านมาที่เราไม่เคยกำกับ ไม่เคยควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะเราไม่ได้ยึดว่าเรื่องของพลังงานต้องเอาความมั่นคงมาเป็นตัวตั้ง สิ่งหนึ่งที่ผมใช้อธิบายตลอด คือ การขอขึ้นราคามาม่าต้องมีการขออนุญาตกระทรวงพาณิชย์ ต้องชี้แจงต้นทุน แต่น้ำมันผู้ประกอบการสามารถกำหนดราคาได้ด้วยตนเอง

เรื่องของไฟฟ้าและเรื่องของแก๊สเป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงกันค่อนข้างมาก ในอดีตไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นส่วนมากใช้น้ำมันเตาและถ่านหินในการผลิต แต่เนื่องด้วยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทำให้มีการปรับตัวและเข้าสู่แก๊สธรรมชาติที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด และกำลังเดินหน้าสู่ยุคพลังงานสะอาด 

ปัจจุบันแหล่งแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทยเรามีกำลังการผลิตประมาณ 2,500 ล้าน ลบ.ฟุต ต่อวัน แต่มีความต้องการในการใช้ 5,000 ล้าน ลบ.ฟุต ซึ่งส่วนที่ขาดมีทั้งการนำเข้าจากแหล่งแก๊สในพม่า และนำเข้าจากต่างประเทศในรูปแบบ LNG ที่มีต้นทุนสูงจากการเปลี่ยนสถานะและมีความผันผวนตามราคาตลาดโลก 

จากระบบปัจจุบันที่แก๊สมีราคาเดียวทั้งโรงไฟฟ้า พี่น้องประชาชน และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้แก๊สในการเดินเครื่องจักรที่มีประมาณ 1,000 โรงงาน มาเป็นสองราคา โรงงานอุตสาหกรรมไม่ควรใช้ราคาเดียวกับพี่น้องประชาชน ไม่ควรมีการแบกราคาของโรงงานอุตสาหกรรมไว้บนบ่าของพี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งชาติ

แต่ในเรื่องนี้เมื่อมีการสอบถามทางโรงงานแล้วปรากฏว่ามีเอกชนที่ส่งแก๊สมาขายยังโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดราคาขายตามตลาดโลก ทำให้มี 2 บริษัทในประเทศที่กอบโกยผลประโยชน์ของประเทศไปเปล่าถึงปีละ 20,000 ล้านบาท 

เรื่องของไฟฟ้านั้นปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตประมาณ 50,700 MW ซึ่งตามกฎหมายหน้าที่ส่วนนี้ควรเป็นของ กฟผ. แต่ปัจจุบัน กฟผ. ผลิต 16,261.02 MW เอกชนรายใหญ่ผลิต 18,973.50 MW และในเอกชนรายใหญ่เพียงบริษัทเดียวผลิตถึง 16,000 ?” 

สำหรับผู้ผลิตรายเล็ก 9,254.68 ส่วนใหญ่เป็นการผลิตโดยใช้พลังงานสะอาด และเหล่ารายเล็กประสบปัญหาจากการเซ็นสัญญาไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้วที่ต้นทุนสูง จึงมีการจ่ายค่า ADDER หรือให้กำไรฟรี ๆ ซึ่งแทนที่จะให้สัญญาปีต่อปี ก็การแก้จนกลายเป็นสัญญาชั่วนิรันดร์ เนื่องจากเอกชนบอกว่าหาคนปล่อยกู้ยาก และเซ็นกันมาตั้งแต่ปี 50 และที่ร้ายกาจคือไม่มีการหมดอายุ คือพอครบวาระจะต่อสัญญาโดยทันที และรัฐไม่สามารถยกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวได้ ซึ่งสัญญาที่มีค่า ADDER เรามีมากกว่า 500 สัญญา 

ในปีที่ผ่านมาไฟฟ้าคนใช้เยอะที่สุด 36,000 MW ค่าเฉลี่ย 25,100 MW แต่เรามีกำลังการผลิตประมาณ50,000 MW เรามีไฟสำรองเกินกว่า 25,600 MW ทำให้มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ต้องเดินเครื่องจักร 

แต่ตอนทำสัญญาเอกชนอ้างว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 1,000 MW ต้องลงทุนสร้างสูงแต่เมื่อเดินเครื่องไม่เต็มกำลังการผลิตจะทำให้การชำระเงินกู้ลำบาก รัฐจึงต้องมีการจ่ายค่าพร้อมจ่ายให้เต็มกำลังการผลิต เป็นการจ่ายทั้งหมดเหมือนเดินเครื่องจักรปกติ ซึ่งทั้งหมดนี้ประชาชนเป็นผู้แบกภาระ 

และนี่คือเหตุผลที่ผู้ผลิตไฟฟ้าถึงร่ำรวยมหาศาลในระยะเวลาไม่กี่ปี  โดยกฎหมายของ กฟผ. มีมาตั้งแต่ปี 2511 สภาพการผลิตไฟฟ้า การค้า และเศรษฐกิจแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ให้ทุกวันนี้ กฟผ. ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องของการผลิตไฟฟ้าเพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับ กกพ. ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ผู้ที่เซ็นสัญญาไม่มีอำนาจในการเจรจากำลังการผลิต

หัวข้อต่อไปคือการเปลี่ยนผ่านพลังงานเรื่องของน้ำมัน และแก๊ส เป็นทรัพยากรธรรมชาติไม่สามารถเปลี่ยนผ่านได้ แต่พลังงานไฟฟ้ากำลังสู่การเปลี่ยนผ่าน โดยเป็นการเปลี่ยนผ่านกรรมวิธีการผลิตไฟฟ้าจากตอนนี้ที่ใช้แก๊สธรรมชาติไปเพิ่มพลังงานหมุนเวียน หรือที่เรียกว่า RE คือพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมด ทั้งแสงแดด ลม น้ำ ชีวมวล 

ซึ่งเป้าหมายของการเปลี่ยนผ่านมีการกำหนดร่วมกันว่าในปี ค.ศ. 2050 เราจะต้องมีการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด และในปี ค.ศ.2070 เราจะมีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ดังนั้นก่อน 2070 เราจะต้องเปลี่ยนการใช้แก๊ส น้ำมัน ถ่านหิน ในการผลิตไฟฟ้าเป็น RE ทั้งหมด ซึ่งเคยมีปัญหาว่าจะต้องมีการจัดเก็บในช่วง RE ไม่สามารถผลิตได้ เทคโนโลยีที่สำคัญคือเรื่องของแบตเตอรี่ 

และเรื่องของ RE ที่มีความสำคัญคือการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เนื่องจากทั้งพลังงานลมและพลังงานน้ำที่มีความไม่แน่นอนสูง 

“เราทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ มีส่วนได้เสียด้านพลังงาน ตนเป็นนักการเมือง มาแล้วก็ไป แต่ช่วงที่มาทำงานต้องทำให้ดี วางแผนยังไงให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการคิดถึงแต่เรื่องของธุรกิจการค้า การเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียน ไม่มีประโยชน์ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาการผูกขาดด้านพลังงานได้ ทุกคนต้องช่วยผลักดันให้เรื่องพลังงานหลุดพ้นจากธุรกิจการค้ากลับมาเป็นเรื่องความมั่นคง เหมือนที่กองทัพได้ริเริ่มจัดทำไว้ผ่านองค์การเชื้อเพลิง” นายพีระพันธุ์กล่าวในตอนท้าย

‘ดร.อักษรศรี’ ชี้ ‘เวียดนาม’ อยู่เป็น ในภาวะสหรัฐฯ เก็บภาษีอ่วม ต่อสายตรงเจรจา ‘ทรัมป์’ พร้อมเสนอลดภาษีสหรัฐฯ เหลือศูนย์

(5 เม.ย. 68) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Aksornsri Phanishsarn ว่า…

#เวียดนาม 🇻🇳 เทหมดหน้าตัก #จำใจยอม ถอยสุดซอย เพราะพึ่งพาการส่งออกไปตลาดสหรัฐในสัดส่วนสูงมากกกกก #โตเลิม 🇻🇳 ผู้นำเบอร์หนึ่งเวียดนามต่อสายโทรคุยกับ #ทรัมป์ 🇺🇸 เสนอว่าจะ #ลดภาษีเหลือศูนย์ ให้สหรัฐฯ ถ้ามีข้อตกลงกันได้!! สัญญาณเหมือนจะดี ทรัมป์พอใจและบอกว่า “a very  productive call” และครอบครัวทรัมป์โดย Trump Organization ก็มีผลประโยชน์ทางธุรกิจในเวียดนาม มีโครงการสร้างสนามกอล์ฟและรีสอร์ตแถวเมืองบ้านเกิดโตเลิม มูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ 🤔เรื่องนี้จะจบอย่างไร ติดตามกันนะคะ #ภาวะผู้นำ ในยามวิกฤตสำคัญยิ่งยวด 🇻🇳 #เวียดนามอยู่เป็น

รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี อธิบายเพิ่มเติมว่า #ผลประโยชน์ส่วนตัวของทรัมป์ในเวียดนาม 🤔 ครอบครัวทรัมป์ โดย Trump Organization และพันธมิตรในเวียดนาม คือ กลุ่ม Kinh Bac Urban Development Corporation (KBC) มีโครงการลงทุนกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสนามกอล์ฟ โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม

ตามรายงานจาก Reuters โดยอ้างคำพูดของโฆษกของ Trump Organization ระบุว่า “โครงการนี้จะลงทุนมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในจังหวัดฮึงเอียน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเลขาธิการใหญ่โต เลิม คาดว่า จะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคมปีนี้”

แหล่งข่าวอ้างว่า “โครงการที่ร่วมมือกับ KBC ที่จังหวัดฮึงเอียนจะประกอบด้วยสนามกอล์ฟ 18 หลุม รวม 3 สนาม รวมทั้ง Resort Complex ที่จะเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกของ Trump Organization”

ในวันที่ 18 มีนาคม 2025 ตัวแทนของ Trump Organization ได้พบกับนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ โดยมีตัวแทนจากบริษัทระดับบิ๊กของสหรัฐฯ และสภาธุรกิจ U.S. ASEAN Business Council อื่นๆ ร่วมเข้าพบด้วย เช่น Boeing, Apple, Intel, Coca-Cola, Nike และ Amazon

#จุดแข็งเวียดนาม 🇻🇳 เวียดนามมีศักยภาพสูง เพราะมี 2 ปัจจัยหลักที่จะทำให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง คือ

(1) #ผู้นำดีมีชัย !! ผู้นำเวียดนามมองไกล มีวิสัยทัศน์ และกล้าลงมือทำ (ไม่ดีแต่พูด) มีความเฉียบขาดในการ regulate จัดการปัญหา/ขจัดจุดอ่อน และมีเป้าหมายที่แน่วแน่ long term strategy (ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา)

(2) #คุณภาพคนในชาติ !! คนเวียดนามขยันมากกก กระหายความสำเร็จ (ไม่งอมืองอเท้ารอคอยแต่โชคชะตาฟ้าลิขิต)

แถมอีกเรื่อง คือ คนในชาติเวียดนาม #ไม่แตกแยกกันเอง และทุกคน #รักชาติยิ่งชีพ ด้วยค่ะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top