Saturday, 5 July 2025
ค้นหา พบ 49206 ที่เกี่ยวข้อง

‘รทสช.’ ปลื้มเรตติ้ง ‘พีระพันธุ์ - พรรค’ พุ่ง ยันสืบทอด DNA ลุงตู่ ยึดมั่น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

(2 ม.ค. 68) โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ขอบคุณแรงเชียร์ ชี้โพลล่าสุดทะลุเกิน 10 %  ผสานกำลัง รมต.และ สส. มุ่งมั่นทำงานเพื่อคนไทย ย้ำนโยบาย 'รื้อ ลด ปลด สร้าง' พลังงานไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง ยันสืบทอด DNA ลุงตู่ ยึดมั่น ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 

วันที่ 2 มกราคม 2568 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี เขต 4 และโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เปิดเผยว่า ขอขอบคุณทุกการสนับสนุนและความไว้วางใจจากพ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกคนในปีที่ผ่านมา ที่ให้การสนับสนุนและให้ความไว้วางใจพรรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเห็นได้จากคะแนนความนิยมทางการเมืองล่าสุดของผลสำรวจนิด้าโพลที่คะแนนความนิยมของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พุ่งขึ้นเป็น 10.25% ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ก็เพิ่มขึ้นเป็น 10.6% ได้รับคะแนนนิยมเกิน 10% ทั้งสองส่วน

ส่วนในปี 2568 ยืนยันว่า พรรคจะยังมุ่งมั่นเดินหน้าทำงานเพื่อประโยชน์ของชาติและพี่น้องชาวไทยทุกคนอย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยในส่วนของกระทรวงพลังงาน ภายใต้การนำของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน จะเดินหน้า 'รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง' พลังงานไทย เพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานอย่างเป็นธรรม เป็นนโยบายเป้าหมายหลักที่สำคัญของนายพีระพันธุ์ 

ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะรมว.อุตสาหกรรม ก็จะเดินหน้าตามแผนงาน 'สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย' และจัดการกับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำผิดกฎหมายด้วยชุดปฏิบัติการทีมสุดซอยของทีมรัฐมนตรีเอกนัฏ อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งการเร่งส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในยุคอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อพาอุตสาหกรรมไทยเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เช่นเดียวกับอีก 2 รัฐมนตรี คือ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ที่จะเดินหน้าตั้งใจทำงานตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถเพื่อพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน

นายอัครเดช ย้ำในส่วนบทบาทของ สส. พรรครวมไทยสร้างชาติ ในปี 2568 นี้ ทุกคนก็จะมุ่งมั่นทำงานในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและคนไทยทุกคนควบคู่ไปกับการลงพื้นที่ดูแลพี่น้องประชาชน เพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาให้พ่อแม่พี่น้องประชาชน ตามสโลแกนของพรรคที่ว่า 'สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกที่' รวมถึงการสืบทอด DNA ของลุงตู่ คือ การยึดมั่นและสืบทอด 3 สถาบันหลักของชาติ อันประกอบด้วย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างมั่นคง

"พรรครวมไทยสร้างชาติ ทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ขอยืนยันว่าจะเดินหน้าทำงานในหน้าที่อย่างดีที่สุดเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา เพื่อผลประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีนี้พรรคจะได้รับการสนับสนุนและความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนด้วยดีและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขอขอบคุณทุกกำลังใจที่เชื่อมั่นพรรครวมไทยสร้างชาติเสมอมา" นายอัครเดช กล่าว

ป.ป.ช. ชี้มูลผิดอาญา – จริยธรรม ‘ณัฏฐ์ชนน’ สส. ภูมิใจไทย หลังพบเรียกรับทรัพย์แลกตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สส.

ป.ป.ช.มีมติ ‘ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ’ สส. ภูมิใจไทย กระทำผิดกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ และผิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง กรณีรับเงินค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นราว 1 ล้านบาท แลกกับการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สส.ช่วงปี 62 

วันที่ 2 มกราคม 2568 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิด นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สส.เขต 7 จังหวัดสงขลา พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เรียกรับทรัพย์สินแลกตำแหน่ง โดยให้รายงานสำนวนการไต่สวน เอกสาร พยานหลักฐาน และความเห็นพร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และให้เสนอเรื่องกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยตามฐานความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 76 และมาตรา 87 ประกอบระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง พ.ศ.2561 แล้วแต่กรณีต่อไป

นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. เปิดเผยว่า ข้อเท็จจริงจากการไต่สวนพบว่านายณัฏฐ์ชนน ได้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลพญาไท 2 ระหว่างวันที่ 19-21 ก.ย.62 และวันที่ 23 ก.ย.-18 ต.ค.62 มีค่ารักษาพยาบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,449,223 บาท แต่ยอมให้บุคคลอื่นชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลแทน 1,335,778 บาท

จากนั้นได้นำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาไปเบิกเงินจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ 495,409.50 บาท มีส่วนที่เกินสิทธิไม่สามารถเบิกได้ 953,813.50 บาท ต่อมานายณัฏฐ์ชนนได้เสนอให้มีการแต่งตั้งบุคคล 1 ใน 3 รายที่ชำระค่ารักษาพยาบาลแทนตนเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ตามคำสั่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ 2455/2563 ลงวันที่ 1 ต.ค.63

การกระทำของนายณัฏฐ์ชนนจึงเป็นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากผู้ใด นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

“การกระทำของนายณัฏฐ์ชนนมีมูลความผิดทางอาญาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 128 ประกอบมาตรา 169 และมีมูลความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 17 ประกอบข้อ 3 และข้อ 27”

อย่างไรก็ดี การชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่สิ้นสุด นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ยังมีสิทธิ์ต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลได้อีก

3 มกราคม พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 ทรงวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ‘จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย’ ในปัจจุบัน

วันนี้ครบรอบ 110 ปี พระราชพิธีก่อพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปัจจุบันคืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์) โดยต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

ในวันนั้นพระราชดำรัสตอบของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ ผู้ที่มาชุมนุมอยู่ในงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ ในวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พระพุทธศักราช 2458 ความว่า

“วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังการให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้ว ในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีเหตุติดขัด"

"ซึ่งการยังจะดำเนินไปไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึงรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ โดยรู้ว่าเมื่อได้ทำสำเร็จแล้วจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์ เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเราเป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์ อันใหญ่และถาวรเช่นนี้”

“ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราจะได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่แลเห็นความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้ส่วนการที่ดำเนินไปได้จนเป็นรูปถึงเพียงนี้แล้ว ก็ต้องอาศัยความอุตสาหะของกรรมการผู้ได้รับมอบเป็นหน้าที่ผู้อำนวยการ ประกอบกับความอุตสาหะแห่งบรรดาผู้มีหน้าที่เป็นครู อาจารย์สั่งสอนในโรงเรียนนี้ ของกรรมการที่ได้รับมอบหน้าที่ไปจากเราให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจงได้รับความขอบใจของเราแล้ว"

"และขอให้แสดงความขอบใจของเรานี้แก่ครู อาจารย์ทั้งหลายที่พยายามทำการตามหน้าที่อย่างสามารถด้วย ขอจงมีความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลทั่วกัน ความมุ่งหมายและกิจการซึ่งต่างก็ตั้งหน้าพยายาม เพื่อจะให้เป็นความดีความงามแก่มหาวิทยาลัยในเบื้องหน้านั้น ก็ขอให้ได้ผลสำเร็จ สมปรารถนาโดยเร็วเทอญฯ”

อนึ่ง สำหรับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ในปัจจุบันคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2459 พร้อมกับโอนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการในวันเดียวกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหาวิทยาลัยขึ้นอีกกรมหนึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการ มีตำแหน่งหัวหน้าเป็นชั้นอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นกับกรมนี้

โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นพระองค์แรก และมีพระยาอนุกิจวิทูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก (ต่อมาตำแหน่งนี้เปลี่ยนไปเรียกเป็นอธิการบดี ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา)

ต่อมาตึกนี้ใช้เป็นสถานที่เรียนของคณะอักษรศาสตร์ คือ ตึกอักษรศาสตร์ 1 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

4 มกราคม ของทุกปี ‘วันทหารม้า’ น้อมสดุดีวีรกรรม ‘พระเจ้าตาก’ ทำการรบบนหลังม้าต่อสู้กับทหารพม่าจนได้ชัยชนะ

วันทหารม้าถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 4 มกราคมของทุกปี เป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้นำกำลังทหารตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่ทหารพม่ารวบรวมกำลังไล่ติดตามมาถึง ณ บ้านพรานนก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยทหารเอกคู่พระทัยจำนวน 4 นาย ได้ทำการรบบนหลังม้าต่อสู้กับทหารพม่าจำนวน 30 นายจนได้รับชัยชนะ

โดยตลอดการรบในครั้งนั้นชาวบ้านได้จัดส่งข้าวเม่าให้เป็นเสบียงและส่งธนูให้แก่ทหารใช้เป็นอาวุธ กองทหารได้ปะทะกับพม่าที่คลองแห่งหนึ่ง จนเมื่อพระยาตากตีทหารพม่าแตกพ่าย จึงตั้งชื่อคลองว่า 'คลองชนะ' ฝ่ายทหารพม่าได้ติดตามไปอย่างกระชั้นชิดตลอดระยะทางที่หนีออกจากกรุงศรีอยุธยา พระยาตากต้องต่อสู้กับพม่าถึง 4 ครั้ง แต่กองทหารพม่าก็ไม่ยอมลดละ และไล่ตามไปทันที่บ้านโพธิ์สังหาร ซึ่งมีหญิงสาวชาวบ้านชื่อนางโพ ได้ช่วยรบกับพม่าจนเสียชีวิต โดยภายหลังจากพระยาตากกู้ชาติได้แล้วจึงได้ระลึกถึงกลับมาตั้งชื่อหมู่บ้านโพธิ์สังหาร เป็นหมู่บ้านโพสาวหาญและยังใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ 

อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งคือ 'พรานนก' หรือเฒ่าคำ ซึ่งเป็นผู้ช่วยจัดเสบียงอาหารให้กับกองทหารพระยาตากในระหว่างสงคราม โดยในปัจจุบันมีรูปปั้นให้ประชาชนเคารพที่หมู่บ้านพรานนก อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้ จากการสู้รบในครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงการใช้คุณลักษณะของทหารม้าในการรบ คือความคล่องแคล่วและรวดเร็วในการเคลื่อนที่ จึงยกย่องพระองค์เป็นบูรพาจารย์แห่งการรบบนหลังม้า และเป็นพระบิดาของเหล่าทหารม้า และได้ถือเอาวันที่พระองค์สร้างวีรกรรมในครั้งนั้นคือวันที่ 4 มกราคม ของทุกปีเป็น 'วันทหารม้า'

มัสก์บอกกระบะ 'ไซเบอร์ทรัก' กันระเบิดได้ บึ้มหน้าโรงแรมทรัมป์จึงเสียหายไม่มาก

(2 ม.ค. 67) จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ตามเวลาสหรัฐฯ เมื่อรถกระบะไฟฟ้าไซเบอร์ทรักของเทสลาระเบิดบริเวณด้านนอกโรงแรมทรัมป์ อินเตอร์เนชันแนล โฮเทล (Trump International Hotel) ในเมืองลาสเวกัส รัฐเนวาดา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และได้รับบาดเจ็บหลายคน

เจ้าหน้าที่ตำรวจนครลาสเวกัสเปิดเผยว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดระบุว่าแสงจากการระเบิดมีลักษณะคล้ายกับการระเบิดของพลุดอกไม้ไฟที่ใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งทำให้เชื่อว่าไม่ใช่การระเบิดจากระเบิดแสวงเครื่องที่มักใช้ในเหตุการณ์ก่อการร้าย อีกทั้งยังไม่พบความผิดปกติของตัวรถที่อาจทำให้เกิดการระเบิด

นายอีลอน มัสก์ เจ้าของบริษัทเทสลา ได้กล่าวผ่าน X ว่า "พวกหัวรั้นเลือกยานพาหนะผิดคันในการโจมตี รถกระบะ Cybertruck จริงๆ สามารถกักเก็บการระเบิดจากด้านข้างและส่งแรงระเบิดออกทางด้านบน ทำให้แม้แต่ประตูกระจกของล็อบบี้โรงแรมก็ไม่แตก"

มัสก์ยังกล่าวว่า ทีมระดับสูงของ Tesla กำลังสืบสวนเหตุการณ์นี้ โดยจากการสืบสวนพบว่า การระเบิดเกิดจาก "ดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ที่เก็บไว้ในรถคันดังกล่าว ไม่ใช่ความผิดปกติของตัวรถที่ทำให้เกิดการระเบิด"

คำกล่าวของมัสก์สอดคล้องกับรายงานของตำรวจลาสเวกัส ที่พบถังแก๊สและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ในท้ายรถ Tesla Cybertruck ที่ระเบิดใกล้กับโรงแรม Trump International ในลาสเวกัส นายอำเภอเควิน แม็กมาฮิล ได้กล่าวในภายหลังและขอบคุณมัสก์และทีมงานสำหรับข้อมูลที่ให้มา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top