Sunday, 18 May 2025
ค้นหา พบ 48168 ที่เกี่ยวข้อง

โซเชียลจวกเละ ลูกค้าเรื่องเยอะ อ้าง “เราเป็นคนจ่ายเงิน” ด้าน ‘ไรเดอร์’ สุดทนพฤติกรรม!! ร่ายยาว “นี่คน ไม่ใช่ทาส”

(25 ก.พ.67) กลายเป็นโพสต์ไวรัลแห่วิจารณ์สนั่น เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งประกอบอาชีพเป็น พนักงานบริการส่งอาหาร หรือ ไรเดอร์ ซึ่งเป็นอาชีพยอดฮิตในปัจจุบัน ออกมาแชร์ประสบการณ์ เจอลูกค้าเรื่องเยอะ งานนี้ชาวเน็ตแห่จวกแรง “โตมาแบบไหน ทำไมไม่มีมารยาท”

โดยเจ้าของโพสต์ระบุข้อความว่า “หัวจะปวดกับลูกค้าแบบนี้ ขอบคุณร้านที่ยกให้ครับ ร้านก็ไม่เอาเหมือนกัน55 ไม่ต้องกินครับขนาดนี้ ทำกินเองก็ได้55”

พร้อมแนบแชทข้อความสนทนากับลูกค้า เผยให้เห็นข้อความจากลูกค้าระบุว่า “พี่อย่าลืมให้ไม่ขาดที่ระบุไว้ด้วยนะคะ เพราะว่าหนูไม่ชอบกินเห็ดเข็มทองกับเห็ดชิตาเกะ ให้ใส่แต่เห็ดที่ใส่แกงลาวได้เท่านั้น แล้วไม่ใส่น้ำย่านาง ของที่เป็นผัก เอาเฉพาะใบแมงลักเท่านั้น ไม่เอาบวบ ไม่เอาฟักทอง อยากกินเห็ดล้วนๆ”

โดยทางไรเดอร์ตอบกลับไปว่า “โทรหาร้านเลยครับ”

ก่อนที่ทางลูกค้าจะตอบกลับว่า “เราลงข้อความบอกเขาตอนสั่งของแล้วค่ะ เราจะวานให้คุณบอกเขาอีกทีไม่ได้หรือไงคะ คุณก็มีรายได้จากการที่เราสั่งของอยู่”

พร้อมเสริมอีกว่า “คุณก็ช่วยบอกหน่อยค่ะ เราใช้หมดแหละ ใช้ได้ทั้งคุณ ใช้ได้ทั้งแม่ค้านั่นแหละ เพราะเราจ่ายเงิน”

ซึ่งทางไรเดอร์ตอบกลับไปว่า “ผมยังไม่ถึงร้านครับ”

เมื่อโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่น ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็น จวกเละพฤติกรรมของลูกค้า อาทิ

- พูดเหมือนตรูเป็นคนใช้
- ลูกค้าไม่ได้จ่ายเงินเรานะ บริษัทจ่ายให้เรา ลูกค้าเป็นคนสั่ง เราเป็นคนส่ง ไม่ใช่คนปรุงอาหาร
คนส่งอาหารครับ ไม่ใช่คนรับใช้
- แม่ค้าก็คน ไรเดอร์ก็คน แม้แต่คนรับใช้ก็คน มีความเป็นคนเท่าเทียมกัน ตรรกะแบบนี้ บ้งมากค่ะ
- ทำไมไม่โทรไปบอกร้าน
- หน้าที่เราคือไปรับของแล้วส่งของ ไม่มีหน้าที่ต้องมาคอยบอกร้านค้า ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า

‘โรงเชือด-เกษตรกร’ จี้รัฐ!! ช่วยลืมตาดูความจริง สรุป!! “วัวโลละร้อย จะขายได้กี่โมง ขายที่ไหน?”

ช่วงแรกของการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ประชาชนต่างคาดหวังว่ารัฐบาลนายเศรษฐาจะเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเกษตรกรรากหญ้า ที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ถูกตำหนิว่า ‘มือไม่ถึง’ เพราะพรรคเพื่อไทยโปรโมตตัวเองว่า เป็นมือแก้เศรษฐกิจ

แต่ความหวังของประชาชนกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลเศรษฐา จากความคาดหวังสูงสุด ต้องยอมรับว่า วันนี้เริ่มถดถอย เพราะนโยบายหลายอย่างที่ประกาศไว้ไม่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องพูดถึงนโยบายเงินดิจิตัล ที่เวลานี้ยังหาข้อสรุปกันไม่จบ ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทอยู่ที่ไหน ปริญญาตรี 25,000 บาท ยังไม่ขยับ ราคาผลผลิตการเกษตรไม่เห็นหน้าเห็นหลัง

ปัญหาภาคเกษตร ในห้วงแรก รัฐบาลมีท่าทีขึงขัง เอาจริงเอาจริง จะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น 3 เท่า อย่างปัญหาการลักลอบการนำเข้าเนื้อสัตว์ ทั้งหมู เนื้อเถื่อน ตีนไก่เถื่อน ยางพาราเถื่อน แรกๆ ข้าราชการหลายคนหนาวๆ ร้อนๆ เดินสายตรวจค้นโกดัง ข้าราชการโดนเด้ง แต่ผ่านมา 4-5 เดือนแล้ว เรื่องนี้ก็เหมือนจะจับมือใครดม เอาผิดไม่ได้ 

นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมที่เป็นตัวหลักสำคัญในการออกมาเคลื่อนไหวแฉเรื่องนี้ ออกมา ยอมรับว่า “คดีหมูเถื่อนตีนไก่สวมสิทธิ์ ถูกแทรกแซงคดีเงียบ ก็เป็นมวยล้มต้มคนดู รัฐบาลก็ทอดทิ้งเกษตรกร”

เมื่อครั้งประกาศโชว์ผลงาน 60 วันแรก เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ พลิกโฉมประเทศไทย นายเศรษฐา แถลงว่า ประเทศจีนและองค์กรทางด้านรัฐวิสาหกิจที่ลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร ปศุสัตว์ และเกษตรกรรม ที่ซาอุดีอาระเบียถึงความต้องการเนื้อวัวจากประเทศไทย ระบุว่า ทั้ง 2 ประเทศมีความต้องการเนื้อวัวที่ชำแหละแล้วเป็นจำนวนมาก แต่ไทยมีโรงเชือดที่ใหญ่ที่สุดคือที่จังหวัดชุมพร เชือดได้วันละ 200 ตัวเท่านั้น ในขณะที่บราซิลมีกำลังการผลิตในการเชือดวัวสูงถึง 45,000 ตัวต่อวัน รัฐบาลก็กำลังพิจารณาสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ในการเชือด พร้อมทั้งคำนึงถึงหลักศาสนาอาหารฮาลาล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น 3 เท่าตามนโยบายที่ประกาศไปก่อนหน้านี้

ครบ 6 เดือน (180 วัน) ก็ยังโชว์ลีลาแสดงวิสัยทัศน์ 8 ด้าน อย่างไร้ความหวัง ไม่กล้าโชว์ผลงาน มีแต่บอกเรื่องจะทำในอนาคต

วันนี้โรงเชือดที่ชุมพร ก็ยังมีปัญหาสภาพคล่องไม่มีเงินไปซื้อวัวมาเชือด ได้ยินข่าวมาว่า ทำเรื่องขอสินเชื่อจากแบงก์รัฐ ก็ไม่ได้ อ้างเงื่อนไขติดปัญหาสารพัด ทั้งๆ ที่เป็นนโยบายรัฐ แต่ดูเหมือนกลไกราชการไม่ยอมตอบสนอง

นายหัวไทรไปเยี่ยมชมโรงเชือดชุมพรมาแล้ว ถือว่าเป็นโรงเชือดที่ได้มาตรฐาน แต่ยังมีปัญหาสภาพคล่องอย่างที่ว่า วัวเข้าโรงเชือดต่อวันยังไม่เพียงพอกับศักยภาพในการเชือดต่อวันถึง 200 ตัว

ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งเหมือนกันว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเนื้อบ้านเราก็ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นมาตรฐาน ยังต้องยกระดับขึ้นไปอีก อย่างโครงการโคบาลชายแดนใต้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโคบาลชายแดนใต้งบประมาณกว่า 1,566 ล้านบาท โดยเฉพาะในระยะนำร่อง เริ่มกังวล อาจจะเป็นหนี้ในอนาคต เพราะกู้รัฐมาทำโครงการ

แม่พันธุ์วัวขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง ผลัดตกโคลนและไม่สามารถลุกเองได้ และแม้สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโคทาชิมะ ตำบลกระเสาะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จะช่วยมันขึ้นมา แต่ความอ่อนแอของมัน จึงไม่อาจขุนให้เป็นแม่พันธ์ที่สมบูรณ์ได้แล้ว จึงต้องขายเพื่อรอเชือดในราคา 6,000 บาท ทำให้ขาดทุนทันที 11,000 บาท เนื่องจากกลุ่มเกษตรที่เข้าร่วมโครงการโคบาลชายแดนใต้ งบประมาณ 1,566 ล้านบาท จำเป็นต้องซื้อแม่พันธุ์วัวมาในราคาตัวละ 17,000 ตามสัญญาในโครงการ

ในฐานะเคยไปเห็นปัญหาขออนุญาตนำเสนอ คือ ถ้าโรงเชือดที่ชุมพร ซึ่งถือว่า มีความพร้อมที่สุดแล้วยังทำไม่ได้ตามศักยภาพ ก็อย่าไปคิดว่า จะมีนโยบายสร้างโรงเชือดที่นู้นที่นี่อีก เพราะงบลงทุนหลักเป็นพันล้านต่อโรง จะกลายเป็นเรื่องหวานคอแร้ง

วันนี้ราคาโคเนื้อมีชีวิตขายได้กิโลกรัมละ 75 บาท ขณะที่ต้นทุนกิโลกรัมละ 80 บาท ถ้ารัฐบาลมัวดีแต่พูด อีกไม่นานเกษตรกรจะจนลงอีก 3 เท่า ไม่ใช่รวย 3 เท่า

ทางออกเรื่องนี้ #นายหัวไทร แนะต้องทำคู่ขนานหลายเรื่อง คือ...

1.) ต้องทำให้โรงเชือดเดินหน้าสายการผลิตได้ เพราะโรงเชือดซื้อโคเนื้อเข้าไปเชือดกิโลกรัมละ 100 บาท

2.) การลดต้นทุนค่าอาหารเลี้ยงโคเนื้อไม่เกิน 70 บาท แต่ให้คุณภาพคงเดิม ภาครัฐต้องเร่งรัดให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

3.) เกษตรกรหรือฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการต้องไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง โดยกรมปศุสัตว์เข้าไปตรวจรับรอง

4.) สมาคม-สหกรณ์ผู้โคเนื้อรวบรวมโคเนื้อปลอดสารเร่งเนื้อแดงจากฟาร์มที่ผ่านการรับรองโดยกรมปศุสัตว์ ส่งโรงฆ่าสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการ

5.) โรงฆ่าสัตว์ต้องตัดแต่งซากโคให้เป็นชิ้นส่วนตามมาตรฐานสากลพร้อมจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก (ถ้าตลาดมีรองรับจริงตามที่รัฐบาล กล่าวอ้าง)

6.) กรมปศุสัตว์ทำความตกลงกับผู้ขออนุญาตนำเข้าเนื้อโคที่ยกเว้นภาษีภายใต้ FTA ขอให้ช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศด้วยการซื้อชิ้นเนื้อโคของเกษตรกรแทนการนำเข้า

7.) กรมปศุสัตว์ขอยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 100 ล้านบาท ให้โรงฆ่าสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการยืมใช้เป็นเงินหมุนเวียน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2% (สถาบันการเงินของรัฐเรื่องมาก ไม่ยอมปล่อย)

ข้อเสนออันนี้ไม่ใช่เรื่องของการอุ้ม ไม่ใช่การทุ่มงบประมาณแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่เป็นมาตรการช่วยเหลือเพื่อให้วงจรการผลิตเดินไปได้ ที่เหลือกลไกตลาด และภาคเอกชน เขาเดินกันไปได้เอง

วันนี้นายหัวไทรเดินตามไปคอกวัวขุน เจอแต่คำถามว่า “วัวโลละร้อย จะส่งขายได้กี่โมง ส่งขายที่ไหน”

ต้องยอมรับความจริงว่า เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงวัวเนื้อประสบปัญหาด้านการตลาด ทั้งไม่มีที่ระบาย ต้องค่อยๆ ขายทีละตัวสองตัว เมื่อมีงานศพ งานแต่ง รังแต่จะแบกรับต้นทุน และท้ายที่สุดคือ 'ขาดทุน' โรงเชือดก็ขาดเงินหมุนเวียนซื้อวัวเข้าโรงเชือด

อยากเรียกร้องให้รัฐบาล ลืมหูลืมตา ดูข้อเท็จจริง รับฟังปัญหาจากผู้รู้จริง จะได้แก้ไขปัญหาถูกจุด และเป็นระบบ

‘โรงเชือด-เกษตรกร’ จี้รัฐ!! ช่วยลืมตาดูความจริง สรุป!! “วัวโลละร้อย จะขายได้กี่โมง ขายที่ไหน?”

ช่วงแรกของการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ประชาชนต่างคาดหวังว่ารัฐบาลนายเศรษฐาจะเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเกษตรกรรากหญ้า ที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ถูกตำหนิว่า ‘มือไม่ถึง’ เพราะพรรคเพื่อไทยโปรโมตตัวเองว่า เป็นมือแก้เศรษฐกิจ

แต่ความหวังของประชาชนกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลเศรษฐา จากความคาดหวังสูงสุด ต้องยอมรับว่า วันนี้เริ่มถดถอย เพราะนโยบายหลายอย่างที่ประกาศไว้ไม่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องพูดถึงนโยบายเงินดิจิตัล ที่เวลานี้ยังหาข้อสรุปกันไม่จบ ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทอยู่ที่ไหน ปริญญาตรี 25,000 บาท ยังไม่ขยับ ราคาผลผลิตการเกษตรไม่เห็นหน้าเห็นหลัง

ปัญหาภาคเกษตร ในห้วงแรก รัฐบาลมีท่าทีขึงขัง เอาจริงเอาจริง จะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น 3 เท่า อย่างปัญหาการลักลอบการนำเข้าเนื้อสัตว์ ทั้งหมู เนื้อเถื่อน ตีนไก่เถื่อน ยางพาราเถื่อน แรกๆ ข้าราชการหลายคนหนาวๆ ร้อนๆ เดินสายตรวจค้นโกดัง ข้าราชการโดนเด้ง แต่ผ่านมา 4-5 เดือนแล้ว เรื่องนี้ก็เหมือนจะจับมือใครดม เอาผิดไม่ได้ 

นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมที่เป็นตัวหลักสำคัญในการออกมาเคลื่อนไหวแฉเรื่องนี้ ออกมา ยอมรับว่า “คดีหมูเถื่อนตีนไก่สวมสิทธิ์ ถูกแทรกแซงคดีเงียบ ก็เป็นมวยล้มต้มคนดู รัฐบาลก็ทอดทิ้งเกษตรกร”

เมื่อครั้งประกาศโชว์ผลงาน 60 วันแรก เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ พลิกโฉมประเทศไทย นายเศรษฐา แถลงว่า ประเทศจีนและองค์กรทางด้านรัฐวิสาหกิจที่ลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร ปศุสัตว์ และเกษตรกรรม ที่ซาอุดีอาระเบียถึงความต้องการเนื้อวัวจากประเทศไทย ระบุว่า ทั้ง 2 ประเทศมีความต้องการเนื้อวัวที่ชำแหละแล้วเป็นจำนวนมาก แต่ไทยมีโรงเชือดที่ใหญ่ที่สุดคือที่จังหวัดชุมพร เชือดได้วันละ 200 ตัวเท่านั้น ในขณะที่บราซิลมีกำลังการผลิตในการเชือดวัวสูงถึง 45,000 ตัวต่อวัน รัฐบาลก็กำลังพิจารณาสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ในการเชือด พร้อมทั้งคำนึงถึงหลักศาสนาอาหารฮาลาล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น 3 เท่าตามนโยบายที่ประกาศไปก่อนหน้านี้

ครบ 6 เดือน (180 วัน) ก็ยังโชว์ลีลาแสดงวิสัยทัศน์ 8 ด้าน อย่างไร้ความหวัง ไม่กล้าโชว์ผลงาน มีแต่บอกเรื่องจะทำในอนาคต

วันนี้โรงเชือดที่ชุมพร ก็ยังมีปัญหาสภาพคล่องไม่มีเงินไปซื้อวัวมาเชือด ได้ยินข่าวมาว่า ทำเรื่องขอสินเชื่อจากแบงก์รัฐ ก็ไม่ได้ อ้างเงื่อนไขติดปัญหาสารพัด ทั้งๆ ที่เป็นนโยบายรัฐ แต่ดูเหมือนกลไกราชการไม่ยอมตอบสนอง

นายหัวไทรไปเยี่ยมชมโรงเชือดชุมพรมาแล้ว ถือว่าเป็นโรงเชือดที่ได้มาตรฐาน แต่ยังมีปัญหาสภาพคล่องอย่างที่ว่า วัวเข้าโรงเชือดต่อวันยังไม่เพียงพอกับศักยภาพในการเชือดต่อวันถึง 200 ตัว

ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งเหมือนกันว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเนื้อบ้านเราก็ยังพัฒนาไปไม่ถึงขั้นมาตรฐาน ยังต้องยกระดับขึ้นไปอีก อย่างโครงการโคบาลชายแดนใต้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโคบาลชายแดนใต้งบประมาณกว่า 1,566 ล้านบาท โดยเฉพาะในระยะนำร่อง เริ่มกังวล อาจจะเป็นหนี้ในอนาคต เพราะกู้รัฐมาทำโครงการ

แม่พันธุ์วัวขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง ผลัดตกโคลนและไม่สามารถลุกเองได้ และแม้สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโคทาชิมะ ตำบลกระเสาะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จะช่วยมันขึ้นมา แต่ความอ่อนแอของมัน จึงไม่อาจขุนให้เป็นแม่พันธ์ที่สมบูรณ์ได้แล้ว จึงต้องขายเพื่อรอเชือดในราคา 6,000 บาท ทำให้ขาดทุนทันที 11,000 บาท เนื่องจากกลุ่มเกษตรที่เข้าร่วมโครงการโคบาลชายแดนใต้ งบประมาณ 1,566 ล้านบาท จำเป็นต้องซื้อแม่พันธุ์วัวมาในราคาตัวละ 17,000 ตามสัญญาในโครงการ

ในฐานะเคยไปเห็นปัญหาขออนุญาตนำเสนอ คือ ถ้าโรงเชือดที่ชุมพร ซึ่งถือว่า มีความพร้อมที่สุดแล้วยังทำไม่ได้ตามศักยภาพ ก็อย่าไปคิดว่า จะมีนโยบายสร้างโรงเชือดที่นู้นที่นี่อีก เพราะงบลงทุนหลักเป็นพันล้านต่อโรง จะกลายเป็นเรื่องหวานคอแร้ง

วันนี้ราคาโคเนื้อมีชีวิตขายได้กิโลกรัมละ 75 บาท ขณะที่ต้นทุนกิโลกรัมละ 80 บาท ถ้ารัฐบาลมัวดีแต่พูด อีกไม่นานเกษตรกรจะจนลงอีก 3 เท่า ไม่ใช่รวย 3 เท่า

ทางออกเรื่องนี้ #นายหัวไทร แนะต้องทำคู่ขนานหลายเรื่อง คือ...

1.) ต้องทำให้โรงเชือดเดินหน้าสายการผลิตได้ เพราะโรงเชือดซื้อโคเนื้อเข้าไปเชือดกิโลกรัมละ 100 บาท

2.) การลดต้นทุนค่าอาหารเลี้ยงโคเนื้อไม่เกิน 70 บาท แต่ให้คุณภาพคงเดิม ภาครัฐต้องเร่งรัดให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

3.) เกษตรกรหรือฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการต้องไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง โดยกรมปศุสัตว์เข้าไปตรวจรับรอง

4.) สมาคม-สหกรณ์ผู้โคเนื้อรวบรวมโคเนื้อปลอดสารเร่งเนื้อแดงจากฟาร์มที่ผ่านการรับรองโดยกรมปศุสัตว์ ส่งโรงฆ่าสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการ

5.) โรงฆ่าสัตว์ต้องตัดแต่งซากโคให้เป็นชิ้นส่วนตามมาตรฐานสากลพร้อมจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก (ถ้าตลาดมีรองรับจริงตามที่รัฐบาล กล่าวอ้าง)

6.) กรมปศุสัตว์ทำความตกลงกับผู้ขออนุญาตนำเข้าเนื้อโคที่ยกเว้นภาษีภายใต้ FTA ขอให้ช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศด้วยการซื้อชิ้นเนื้อโคของเกษตรกรแทนการนำเข้า

7.) กรมปศุสัตว์ขอยืมเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 100 ล้านบาท ให้โรงฆ่าสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการยืมใช้เป็นเงินหมุนเวียน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2% (สถาบันการเงินของรัฐเรื่องมาก ไม่ยอมปล่อย)

ข้อเสนออันนี้ไม่ใช่เรื่องของการอุ้ม ไม่ใช่การทุ่มงบประมาณแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่เป็นมาตรการช่วยเหลือเพื่อให้วงจรการผลิตเดินไปได้ ที่เหลือกลไกตลาด และภาคเอกชน เขาเดินกันไปได้เอง

วันนี้นายหัวไทรเดินตามไปคอกวัวขุน เจอแต่คำถามว่า “วัวโลละร้อย จะส่งขายได้กี่โมง ส่งขายที่ไหน”

ต้องยอมรับความจริงว่า เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงวัวเนื้อประสบปัญหาด้านการตลาด ทั้งไม่มีที่ระบาย ต้องค่อยๆ ขายทีละตัวสองตัว เมื่อมีงานศพ งานแต่ง รังแต่จะแบกรับต้นทุน และท้ายที่สุดคือ 'ขาดทุน' โรงเชือดก็ขาดเงินหมุนเวียนซื้อวัวเข้าโรงเชือด

อยากเรียกร้องให้รัฐบาล ลืมหูลืมตา ดูข้อเท็จจริง รับฟังปัญหาจากผู้รู้จริง จะได้แก้ไขปัญหาถูกจุด และเป็นระบบ

‘จนท.พิทักษ์ป่าหินช้างสี’ พบร่องรอยคล้าย ‘ภาพเขียนสีโบราณ’ เร่งประสานสำนักศิลปากรขอนแก่น เข้าตรวจสอบอย่างละเอียด

(25 ก.พ.67) เพจเฟซบุ๊ก ‘หน่วยพิทักษ์ หินช้างสี’ อุทยานแห่งชาติน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โพสต์ภาพ พร้อมข้อความระบุว่า…

“ข่าวดี!! เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าดับไฟป่า หยุดพักใต้เพิงหิน พบภาพเขียนสีโบราณในป่า

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นพ.4 (หินช้างสี) เดินเท้าเข้าไปดับไฟป่าที่บริเวณน้ำตกคำเมย ซึ่งอยู่ห่างจากหน่วยฯประมาณ 4 กม. หลังจากที่ดับไฟป่าสำเร็จ และได้หยุดพักใต้เพิงหินทราย จึงได้สังเกตพบร่องรอยภาพวาด และดูคล้ายกับ ‘ภาพเขียนสีโบราณ’ เพราะลักษณะหรือรูปทรงแตกต่างจากร่องรอย หรือสีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังอยู่ห่างจากจุดที่สำรวจไปครั้งล่าสุด (แหล่งที่ 14 เพิงหินอ่างชาด) เพียง 700 เมตร เท่านั้น

เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บรวบรวมภาพเบื้องต้น และแจ้งให้เจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากร ที่ 8 (ขอนแก่น) ทราบและดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อทำการสำรวจต่อไป”

‘วราวุธ’ นำทีม พม.ผนึก ‘AIS’ เดินหน้าเสริมสร้างพลเมืองดิจิทัล หนุนคนไทยท่องโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย-รู้ทันภัยไซเบอร์

(25 ก.พ.67) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์ถือเป็นภัยคุกคาม ที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชนอย่างมาก ทุกฝ่ายจึงจำเป็นต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้กับคนไทย พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการส่งเสริมความรู้และทักษะที่จำเป็น ต่อการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนใช้งานโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย

โดยครั้งนี้เป็นความร่วมมือกับ AIS ในการนำหลักสูตร ‘อุ่นใจไซเบอร์’ ให้บุคลากรของเรากว่า 11,000 คน ได้เรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะทางดิจิทัล ตลอดจนการขยายผลองค์ความรู้ไปยังประชาชนคนทุกช่วงวัย อาทิ ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ สตรี และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในโลกออนไลน์

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า AIS ในฐานะผู้ให้บริการด้านดิจิทัลเราไม่เพียงเดินหน้าเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อคนไทยเพียงเท่านั้น แต่เรายังให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านการยกระดับทักษะดิจิทัลของคนไทยที่เราเชื่อว่าการเสริมสร้างองค์ความรู้คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านภัยไซเบอร์ได้อย่างยั่งยืน

ซึ่งทำให้ที่ผ่านมาเราได้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัลอย่าง หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาแกนหลักสำคัญที่ถูกแบ่งออกเป็น 4P / 4ป ประกอบไปด้วย Practice ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม, Personality ปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์, Protection เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์ และ Participation รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม ซึ่งหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ถูกขยายผลไปยังบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผ่านความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่วันนี้ได้เรียนรู้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์นี้แล้วกว่า 320,000 คน”

“โดยครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือครั้งสำคัญกับหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชนอย่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ที่ครอบคลุมทุกทักษะในโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง เข้าไปให้บุคลากรของกระทรวงฯ ได้ศึกษาเรียนรู้ และส่งต่อไปยังประชาชนคนไทยทุกช่วงวัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงฯ ได้เสริมทักษะดิจิทัล รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ สามารถใช้งานออนไลน์ได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและสร้างสรรค์” นายสมชัย กล่าวทิ้งท้าย

โดยการทำงานร่วมกันครั้งนี้ได้ปรับเนื้อหาของหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ให้สอดคล้องกับทักษะที่มีความจำเป็นต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่มให้มีความเหมาะสม เช่น การเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานในองค์กร เป็นต้น

โดยสามารถเข้าไปเรียนรู้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ได้ที่ www.learndiaunjaicyber.ais.co.th, แอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER, www.m-society.go.th, www.dop.go.th และแอปพลิเคชัน Gold by DOP


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top