Thursday, 22 May 2025
ค้นหา พบ 48283 ที่เกี่ยวข้อง

เปิดปูม ‘Cynthia Maung’ ผู้ได้รับรางวัล The People Award 2023 หมอแห่ง ‘แม่ตาวคลินิก’ คลินิกฟรีนอกสารบบแพทยสภา

ในงาน The People Award 2023 คงมีแต่คนที่จับจ้อง ‘แบม’ กับ ‘ตะวัน’ ที่ได้รับรางวัล แต่ใครจะรู้ว่าในวันนั้นมีอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

วันนี้เอย่าขอนำเสนอเรื่องราวของแพทย์หญิง Cynthia Maung (ซินเทีย หม่อง) คุณหมอแห่ง ‘แม่ตาวคลินิก’ ซึ่งเป็นคลินิกที่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก...ลองมาดูเรื่องราวของแพทย์หญิงและคลินิกแห่งนี้กัน

เรื่องราวของแพทย์หญิง Cynthia Maung เธอเป็นชาวเมียนมาที่เกิดจากบิดาที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและมารดาที่เป็นชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในย่างกุ้ง เธอเติบโตขึ้นในเมืองเมาะละแหม่งกับพี่น้องรวมกัน 6 คน และเธอได้จบจากโรงเรียนแพทย์ที่ย่างกุ้งและน่าจะมีชีวิตที่ดีหลังจากเรียนจบแพทย์  

>> แต่ด้วยความใฝ่ประชาธิปไตยของเธอ : เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2531 กองทัพพม่าในขณะนั้นเข้ายึดอำนาจ อันเป็นเรื่องราวการปฎิวัติที่คนเมียนมารู้จักกันในนาม ปฏิวัติ 8888 นั้น เธอและเพื่อน ๆ ได้ตัดสินใจหนีเข้าป่าและหนีมากบดานในประเทศไทยและเธอได้เริ่มเป็นหมอรักษา โดยเริ่มจากเป็นหมออาสาในค่ายผู้ลี้ภัยจนสุดท้ายได้มาทำงานในแม่ตาวคลินิก ซึ่งเป็นฟรีคลินิกที่ช่วยรักษาชนกลุ่มน้อย จนทำให้คุณหมอได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น...

Jonathan Mann Award ในปี 1999 รางวัลแมกไซไซ ในปี 2002 ได้ Times’s Asian Heroes ในปี 2003, รางวัล Sydney Peace Prize ในปี 2013 และ UNDP's N-Peace Award ในปี 2018 และรางวัลล่าสุด The People Award ในปี 2023 ซึ่งดู ๆ ไปแล้ว คุณหมอท่านนี้น่าจะเป็นคนทรงคุณค่าท่านหนึ่งเลยทีเดียว

กลับมาที่แม่ตาวคลินิกกันสักนิด หากมาดูว่าคลินิกนี้เป็นของใคร เมื่อเข้าไปดูในเว็บไซต์ ก็พบชื่อมูลนิธิแห่งหนึ่ง ที่ชื่อว่า ‘มูลนิธิสุวรรณนิมิต’ ซึ่งในเว็บไซต์ระบุว่า...

“มูลนิธิสุวรรณนิมิต จดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศล ให้การสนับสนุนแม่ตาวคลินิกในด้านการคุ้มครองทางกฎหมาย การเสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงาน ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทย มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการผลักดันด้านนโยบายด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติและการคุ้มครองเด็กเคลื่อนย้าย”  

นั่นแสดงว่ามูลนิธินี้ น่าจะเป็นมูลนิธิที่ช่วยก่อตั้งแม่ตาวคลินิกหรือไม่? และเมื่อหาข้อมูลต่อไป เอย่าก็พบว่ามูลนิธินี้คือ มูลนิธิอะไร?...

มูลนิธิสุวรรณนิมิตร เป็นมูลนิธิของไทยที่ทำงานผ่านการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรในการให้บริการที่จำเป็นแก่ชุมชนชายขอบที่อาศัยอยู่ตามชายแดนไทย (จังหวัดตาก) – เมียนมา เอย่าจึงคิดขึ้นมาทันทีว่าหากเป็นมูลนิธิที่ถูกต้องจริง จะต้องมีการจดมูลนิธิให้เป็นไปตามการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะถูกคุ้มครองโดยกฎหมายไทย

แต่เมื่อเอย่าเช็กในรายชื่อมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กลับไม่พบชื่อของ ‘มูลนิธิสุวรรณนิมิต’ 

เอาละสิ!! เมื่อเป็นเช่นนั้น เอย่าจึงเริ่มหาข้อมูลเพิ่มขึ้นโดยเข้าไปค้นหาชื่อของแม่ตาวคลินิกในฐานข้อมูลสถานพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขกลับพบว่า ไม่มีชื่อ ‘แม่ตาวคลินิก’ ในฐานข้อมูลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งเมื่อได้เช็กข้อมูลคลินิกจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่มีชื่อของแม่ตาวคลินิก หรือ คลินิกแม่ตาว ทำให้เอย่าคิดได้ว่า อ้าว!!….ถ้าเป็นแบบนี้คลินิกแม่ตาวก็คือ ‘คลินิกเถื่อน’ น่ะสิ!!

ทั้งนี้หากมาดูที่ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้มีการระบุไว้ในมาตรา 16 ว่า ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และสุดท้ายเมื่อตรวจสอบรายชื่อจากแพทยสภาแล้ว ไม่พบชื่อ แพทย์หญิง Cynthia Maung ในรายชื่อของแพทยสภาในประเทศไทยด้วย

9 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน ‘กองทัพอากาศ’ ยกฐานะกรมทหารอากาศขึ้นเป็นกองทัพอากาศ

วันนี้ เมื่อ 102 ปีก่อน กระทรวงกลาโหม ได้ยกฐานะ ‘กรมทหารอากาศ’ ขึ้นเป็น ‘กองทัพอากาศ’ จึงถือเอาวันที่ 9 เมษายน ของทุกปี เป็นวันกองทัพอากาศ

ในปี พ.ศ.2464 กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้าน ยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก กรมอากาศยานทหารบกเป็น 'กรมอากาศยาน' และเป็น 'กรมทหารอากาศ' ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลง เครื่องแบบจากสีเขียว มาเป็นสีเทา ดังเช่นในปัจจุบัน

'เฉลิมชัย'มอบฟรุ้ทบอร์ดเร่งเดินหน้า 23 มาตรการเชิงรุกภายใต้แผนบริหารจัดการผลไม้ฤดูกาลผลิตปี 2566 'อลงกรณ์' ย้ำนโยบายรักษาคุณภาพมาตรฐานมุ่งสร้างแบรนด์ยกระดับราคาผลไม้ไทย กำชับใช้มาตรการเด็ดขาดป้องกันปัญหาทุเรียนอ่อนทุเรียนสวมสิทธิ์

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)ว่า ได้มอบนโยบายต่อที่ประชุมดังนี้

1. การรักษามาตรฐานคุณภาพการผลิต การแปรรูป การส่งออกผลไม้ ตามมาตรฐาน GAP GMP และCovid Freeรวมทั้งต้องป้องกันและปราบปรามการ สวมสิทธิทุเรียน และทุเรียนอ่อนอย่างเด็ดขาด(2) สร้างแบรนด์ผลไม้ โดยมอบหมายกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนการสร้างแบรนด์ทั้ง Product Brand และ Farm Brand เพื่อส่งเสริมมูลค่าการค้าและการตลาด (3) สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตผลไม้เศรษฐกิจของไทย มอบหมายผู้แทนกระทรวงอุตสากรรม นำเสนอแผนการแปรรูปผลผลิตทางเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ แก่คณะกรรมการ Fruit Board ในการประชุมคราวหน้า (4) การพัฒนาและการบริหารโลจิสติกส์ เพื่อการส่งออกผลไม้ และ (5) มอบหมายฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ Fruit Board ประสานคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน จัดการประชุมติดตามสถานณ์การผลิตผลไม้ เพื่อรองรับสถานการณ์ผลิตผลไม้ ในฤดูปีผลิต 2566 โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ ทั้งนี้ ได้มอบหมายคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการ Fruit Board ประชุมร่วมกับคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด และให้คณะอนุกรรมการ ฯ นำเสนอผลงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ต่อคณะกรรมการ Fruit Board ในการประชุมครั้งต่อไป

ในการนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ ใน 4 แผนงานดังนี้ 1) “แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2566” ตามแผนการบริหารจัดการผลไม้ แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2565 - 2570 และในเชิงปริมาณโดยจัดสมดุลอุปสงค์ อุปทาน สรุปได้ดังนี้ 1.1) การบริหารจัดการเพื่อบริหารจัดการผลผลิต -ทุเรียน 758,438 ตัน -มังคุด 170,046ตัน -เงาะ 194,915ตัน -ลองกอง 16,981ตัน ให้เป็นไปตามกลไกตลาดปกติ รวมทั้งสิ้น 1,140,380 ตัน และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ปรับสัดส่วนข้อมูลแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 อีกครั้ง หลังการจากการประชุมจัดทำข้อมูลเอกภาพ ครั้งที่ 3 ในวันที่ 31 มีนาคม 2566 และแจ้งเวียนคณะกรรมการทราบอีกครั้ง 1.2) เสนอให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ ปี 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย  1.3) กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดาเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

2) “แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2566” ประกอบด้วย 2.1) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2566 จำนวน 34,620 ตัน 2.2) มอบหมายให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ ปี 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และ 2.3) กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

3) คณะกรรมการ ได้มีมติรับทราบ ผลการดำเนินมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2565 จำนวน 18 มาตรการ ของกระทรวงพาณิชย์ และมีมติเห็นชอบ “โครงการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2566”โดย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ใช้งบประมาณจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร วงเงิน 895.56 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก และ 10 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 : เสริมสร้างประสิทธิภาพการรวบรวมรับซื้อผลไม้จากเกษตรกร กิจกรรมที่ 2 : เชื่อมโยงกระจายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิตและเพิ่มช่องทางการจาหน่ายผลไม้ กิจกรรมที่ 3 : ส่งเสริมการจาหน่ายผลไม้ กิจกรรมที่ 4 : ส่งเสริมการแปรรูปเพื่อการส่งออก กิจกรรมที่ 5 : ประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นผลไม้ไทยปลอดภัยจากโควิด-19 

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2566 มีเป้าหมาย เป็นสินค้าผลไม้เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลาไย ลิ้นจี่ ลองกอง มะม่วง สับปะรด ฯลฯ และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการค้าผลไม้ ผู้รวบรวม ผู้แปรรูป และผู้ส่งออก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้รับมอบหมาย กรมการค้าภายใน ได้จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาคราชการ เอกชน และเกษตรกร เพื่อประเมินแนวโน้มสถานการณ์ด้านการผลิตการตลาดผลไม้ฤดูกาลผลิต ปี 2566 รวมถึงสภาพปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในฤดูการผลิตผลไม้ ปี 2566 และได้ร่วมกันกำหนดมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2566 
รวม 4 ด้าน 22 มาตรการ ได้แก่ (1) ด้านการผลิต (2) ด้านตลาดในประเทศ (3) ด้านตลาดต่างประเทศ และ (4) ด้านกฎหมาย ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำ และปลายน้ำ 

4) ฝ่ายเลขานุการ ได้ขอเพิ่มวาระพิจารณา แนวทางการกระจายผลไม้สถาบันเกษตรกร นำเสนอโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ “โครงการสนับสนุนการกระจายผลไม้เพื่อยกระดับราคาของสถาบันเกษตรกร” มีสหกรณ์จำนวน 49 แห่ง ประกอบด้วยสหกรณ์ผู้กระจายสินค้าจำนวน 500 แห่ง สหกรณ์ระดับอำเภอ เครือข่ายสหกรณ์นอกภาคการเกษตรคู่ค้าทั่วไปทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สมาชิกสหกรณ์จำนวน 87,536 ราย เป้าหมายกระจายสินค้า 2,100 ตัน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นชอบเป็นมาตรการที่ 23 และมอบหมายกรมส่งเสริมสหกรณ์นำเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ 6.594 ล้าน จากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

'กรมการขนส่งทางบก - ปตท.' ลงนามความร่วมมือ โครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV ยกระดับมาตรฐานการตรวจ-ทดสอบที่สถานีบริการ ปตท. ทั่วไทย

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม อาคาร 10 ชั้น 3 กรมการขนส่งทางบก 
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และ นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมขนส่งทางบกและ ปตท. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV 

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกมุ่งมั่นในการรณรงค์และเสริมสร้างทัศนคติการตระหนักถึงความปลอดภัย รวมถึงยกระดับมาตรฐานในการตรวจสอบการใช้งานรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (NGV) เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ตามนโยบายของ รัฐบาล กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบกได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในโครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV กับ ปตท. เพื่อบูรณาการร่วมกันในการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (NGV) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และข้อมูลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมการขนส่งทางบก โดยการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบรถ NGV ที่เข้ามารับบริการเติมก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV ของ ปตท. ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ใช้รถก๊าซ NGV


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top