Tuesday, 20 May 2025
ค้นหา พบ 48213 ที่เกี่ยวข้อง

'ผู้เชี่ยวชาญ' แนะ!! จังหวะตลาดหุ้นไทย 'ร่วงแรง'  ช่วงเวลาน่าสนใจ ซื้อ RMF/SSF เก็บเข้าพอร์ต

(15 มี.ค.66) จากเฟซบุ๊ก 'Invest Like A Pro' ได้โพสต์ข้อความหลังเมื่อวานตลาดหุ้นไทยร่วงแรงแบบผิดคาด ว่า...

ปัญหาเกิดที่แบงก์ในสหรัฐฯ แต่ที่ตกใจกลัวที่สุด คือ ตลาดหุ้นไทย 
ต้องยอมรับว่า ที่ SET ร่วงแรงแบบนี้ ผิดคาดมาก เคยคิดว่า 1580 เอาอยู่ นี่เลยมาจนเกือบจะถึงแนวรับถัดไปที่ 1520 แล้ว

พยายามคิดทบทวนอยู่หลายรอบว่า ปัญหา SVB และแบงก์อื่นๆ ในสหรัฐฯ กระทบธนาคารไทยไหม ก็คิดว่า น่าจะไม่กระทบ … SET ที่ลงมาแรงช่วงนี้ จึงน่าจะเกิดจาก Sentiment ‘ความกลัว’ เป็นหลัก มีหลายท่านถามว่า ควรซื้อไหม ขอแนะนำเบื้องต้นว่า ถ้าใครกำลังรอจังหวะซื้อ RMF/SSF ผมว่าจุดนี้ น่าสนใจครับ ส่วนคนที่อยากซื้อเพื่อลุ้นเด้งกลับ ก็ลองดูแนวรับที่ 1520 ครับ 

'กรณ์' ออกโรงสร้างความมั่นใจ หลัง 2 แบงก์อเมริกาล้ม ชี้!! กระทบไทยน้อย ยันธนาคารไทยแข็งแกร่ง

จากกรณี 2 ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐ อย่างธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB และ Signature Bank ล้มกะทันหัน สร้างความตื่นตระหนกต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยเองก็มีความกังวลว่าจะกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินของเราหรือไม่ 

(15 มี.ค. 66) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ที่สามารถฝ่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จนทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้เมื่อปี 2553 กล่าวถึงประเด็นปัญหาดังกล่าวว่า...

ปรากฎการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน คือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่จากบทเรียนในอดีตทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการวางแผนรองรับไว้อย่างดี ส่งผลให้สถาบันการเงินของไทยแข็งแกร่งที่สุดในโลก จึงอยากให้มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อลูกค้าของสถาบันการเงินอย่างแน่นอน 

นายกรณ์ วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาต่อการล่มสลายของธนาคาร SVB ว่า SVB ก่อตั้งมาเกือบ 40 ปี แต่มาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤตโควิด เนื่องจากฐานลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจสายเทคถึง 30,000 ราย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มลูกค้ากระจุกตัวอย่างมาก ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2019  จากเดิมที่มีฐานเงินฝากอยู่ที่ 50,000 ล้านเหรียญ ณ ช่วงต้นปี 2022 ฐานเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 190,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 300% ซึ่งเร็วกว่าคนสถาบันการเงินอื่นที่เพิ่มขึ้นเพียง 30% เท่านั้น เหตุผลเกิดจากช่วงโควิดมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีการระดมทุนของบริษัทสายเทคบูมมาก มีเงินไหลเข้า SVB มาก จนปล่อยกู้ไม่ทัน จึงนำเงินฝากไปลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งในอดีตสามารถทำได้ แต่โดยปกติธนาคารต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินฝากกับเงินลงทุน และส่วนใหญ่จะลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น แต่เนื่องจากช่วงนั้นอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก SVB จึงนำเงิน 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปลงทุนในพันธบัตรระยะยาว 10 ปี  เพื่อหวังผลของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น พอลงทุนไป ก็เกิดปรากฏการณ์หลายเรื่องพร้อมกัน จนนำไปสู่การล้มละลายในที่สุด 

อดีต รมว.คลัง กล่าวต่อว่า พอช่วงโควิดผ่านไป ราคาหุ้นของลูกค้า SVB เริ่มปรับลดลง และเริ่มมีการถอนเงินฝากในปริมาณที่สูงกว่าที่ธนาคารคาดไว้ ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จึงมีนโยบายออกมาต่อสู้ โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพื่อลดอุปสงค์ของเงิน แต่อัตราการปรับเพิ่มขั้นดอกเบี้ยถึง 4% ส่งผลกระทบต่อการลงทุนพันธบัตรที่ธนาคารไปลงทุนไว้ ทางการเงินเรียกว่าขาดทุนทางบัญชี เนื่องจากยังไม่ได้ขาย เพราะหากฝากไว้ครบ 10 ปี ก็จะยังได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่ แต่ SVB จำเป็นต้องขายพันธบัตรเนื่องจากขาดสภาพคล่อง จึงทำให้เกิดภาวะขาดทุนจริงถึง 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงมาก และเป็นสาเหตุต้องพยายามเพิ่มทุน 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่ออุดช่องโหว่ ทำให้ลูกค้าธนาคารเริ่มเกิดความกังวลจนแห่ไปถอนเงิน จนเงินหมด ทำให้เฟดต้องเข้ามาจัดการโดยการปิดกิจการ SVB ในที่สุด

'กรณ์' ออกโรงสร้างความมั่นใจ หลัง 2 แบงก์อเมริกาล้ม  ชี้!! กระทบไทยน้อย ยันธนาคารไทยแข็งแกร่ง

จากกรณี 2 ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐ อย่างธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB และ Signature Bank ล้มกะทันหัน สร้างความตื่นตระหนกต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยเองก็มีความกังวลว่าจะกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินของเราหรือไม่ 

(15 มี.ค.66) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ที่สามารถฝ่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จนทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้เมื่อปี 2553 กล่าวถึงประเด็นปัญหาดังกล่าวว่า...

ปรากฎการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน คือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่จากบทเรียนในอดีตทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการวางแผนรองรับไว้อย่างดี ส่งผลให้สถาบันการเงินของไทยแข็งแกร่งที่สุดในโลก จึงอยากให้มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อลูกค้าของสถาบันการเงินอย่างแน่นอน 

นายกรณ์ วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาต่อการล่มสลายของธนาคาร SVB ว่า SVB ก่อตั้งมาเกือบ 40 ปี แต่มาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤตโควิด เนื่องจากฐานลูกค้าเป็นกลุ่มธุรกิจสายเทคถึง 30,000 ราย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มลูกค้ากระจุกตัวอย่างมาก ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2019  จากเดิมที่มีฐานเงินฝากอยู่ที่ 50,000 ล้านเหรียญ ณ ช่วงต้นปี 2022 ฐานเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 190,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 300% ซึ่งเร็วกว่าคนสถาบันการเงินอื่นที่เพิ่มขึ้นเพียง 30% เท่านั้น เหตุผลเกิดจากช่วงโควิดมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีการระดมทุนของบริษัทสายเทคบูมมาก มีเงินไหลเข้า SVB มาก จนปล่อยกู้ไม่ทัน จึงนำเงินฝากไปลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งในอดีตสามารถทำได้ แต่โดยปกติธนาคารต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินฝากกับเงินลงทุน และส่วนใหญ่จะลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น แต่เนื่องจากช่วงนั้นอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก SVB จึงนำเงิน 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปลงทุนในพันธบัตรระยะยาว 10 ปี  เพื่อหวังผลของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น พอลงทุนไป ก็เกิดปรากฏการณ์หลายเรื่องพร้อมกัน จนนำไปสู่การล้มละลายในที่สุด 

อดีต รมว.คลัง กล่าวต่อว่า พอช่วงโควิดผ่านไป ราคาหุ้นของลูกค้า SVB เริ่มปรับลดลง และเริ่มมีการถอนเงินฝากในปริมาณที่สูงกว่าที่ธนาคารคาดไว้ ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จึงมีนโยบายออกมาต่อสู้ โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพื่อลดอุปสงค์ของเงิน แต่อัตราการปรับเพิ่มขั้นดอกเบี้ยถึง 4% ส่งผลกระทบต่อการลงทุนพันธบัตรที่ธนาคารไปลงทุนไว้ ทางการเงินเรียกว่าขาดทุนทางบัญชี เนื่องจากยังไม่ได้ขาย เพราะหากฝากไว้ครบ 10 ปี ก็จะยังได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่ แต่ SVB จำเป็นต้องขายพันธบัตรเนื่องจากขาดสภาพคล่อง จึงทำให้เกิดภาวะขาดทุนจริงถึง 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงมาก และเป็นสาเหตุต้องพยายามเพิ่มทุน 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่ออุดช่องโหว่ ทำให้ลูกค้าธนาคารเริ่มเกิดความกังวลจนแห่ไปถอนเงิน จนเงินหมด ทำให้เฟดต้องเข้ามาจัดการโดยการปิดกิจการ SVB ในที่สุด 

นายกรณ์ กล่าวว่า ประธานาธิบดีสหรัฐ นายโจ ไบเดน ออกมาย้ำเพื่อความมั่นใจว่า รัฐบาลจะคุ้มครองเงินฝาก 100% ประชาชนไม่ต้องกังวลว่าจะถอนเงินได้หรือไม่ เพราะหากถอนไม่ได้ ผลข้างเคียงจะส่งผลต่อผู้ประกอบกิจการซึ่งส่วนใหญ่เป็นสตาร์ทอัพ ไม่สามารถจ่ายเงินเดือน และชำระหนี้สินได้ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและอาจกระทบจนถึงขั้นปิดกิจการได้ และอาจจะลามไปถึงการแห่ถอนเงินจากสถาบันการเงินอื่น ๆ สร้างปัญหาเป็นวงกว้างทั้งระบบ  อย่างไรก็ตามสิ่งที่นายไบเดนพูด รัฐบาลค้ำประกันเฉพาะผู้ฝาก แต่ไม่ค้ำประกันผู้ถือหุ้น เจ้าของพันธบัตรหรือเจ้าหนี้ของตัวธนาคาร และเป็นการใช้เงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากเท่านั้น ไม่กระทบต่อภาษีประชาชนแต่อย่างใด เป็นการส่งสัญญาณเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเหมือนในอดีต ส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นช่วงที่ใกล้เลือกตั้งที่ส่งผลต่อคะแนนนิยม แต่ทั้งนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากก็มีเงินเพียง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าทุกคนยังแห่ถอนเงินก็ไม่เพียงพอ เวลานี้จึงต้องรอดูว่าจะมีใครมาซื้อกิจการของ SVB ของสหรัฐ เหมือนที่ HSBC ซื้อกิจการ SVB ในอังกฤษไปแล้วในราคา 1 ปอนด์ 

นายกรณ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในบริเวณ ซิลิคอนวัลเลย์สูง เนื่องจากสตาร์ทอัพเกือบทุกรายใช้บริการ SVB ที่เป็นเหมือนเพื่อนคู่คิดที่เข้าใจมายาวนาน วันนี้ต้องไปคุยกับสถาบันการเงินอื่นที่เข้าใจน้อยกว่า ทำให้ความได้เปรียบการเข้าถึงแหล่งทุน เมื่อเทียบกับที่อื่นในโลกลดลง ยกเว้นว่าจะมีใครไปซื้อและดำเนินการทำธุรกิจในวัฒนธรรมเดิมกับกลุ่มลูกค้าเดิม ก็อาจไม่ส่งผลมากนัก แต่หากไม่มี หรือมีชุดความคิดที่แตกต่าง ก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของสตาร์ทอัพ ที่ซิลิคอนวัลเลย์เริ่มหมดเสน่ห์ หรือขีดความสามารถในการแข่งขันที่เคยได้เปรียบก็จะลดลง 

'สุริยะ' สั่ง 'กรมโรงงาน' จับตา 8 กลุ่มอุตฯ เกิดเพลิงไหม้บ่อย เข้มผู้ประกอบกิจการเฝ้าระวัง หวั่น!! อัคคีภัยช่วงฤดูร้อน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมห่วงใยโรงงาน เน้น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม เพลิงไหม้สูงปีที่ผ่านมา ให้เฝ้าระวังอัคคีภัยช่วงฤดูร้อน สั่งการกรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมรับมือ โดยกำหนดข้อปฏิบัติในการป้องกันอัคคีภัยในโรงงานช่วงฤดูแล้ง แบบตรวจสอบและประเมินตนเองด้านอัคคีภัย (Self Checklist) พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการ เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์

(15 มี.ค.66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่อากาศแห้ง ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย จึงขอให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกประเภท โดยเฉพาะใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งมีสถิติเกิดเหตุเพลิงไหม้สูงในปีที่ผ่านมา ระมัดระวัง ตรวจสอบ ตรวจตราอุปกรณ์เครื่องจักรให้พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดไฟได้ง่าย ต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ หากเกิดเหตุขึ้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรมและประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เตรียมมาตรการรองรับการเกิดอัคคีภัย โดยการจัดทำข้อปฏิบัติในการป้องกันอัคคีภัยในโรงงานช่วงฤดูแล้ง และแบบตรวจสอบและประเมินตนเองด้านอัคคีภัย (Self Checklist) รวมถึงรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในช่วงฤดูร้อน ให้โรงงานได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของโรงงาน ลดผลกระทบต่อชุมชน ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ตามนโยบาย MIND ที่เน้นสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของอุตสาหกรรม

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการจากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงถึง 40 - 43 องศาเซลเซียส เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัย โดยจากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุปี 2565 พบว่าอุบัติเหตุในโรงงานใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม กว่า 76% เป็นการเกิดเพลิงไหม้ 81 ครั้ง มากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม และเกิดมากสุดในอุตสาหกรรมพลาสติก โฟม กระดาษ ยาง 26% อุตสาหกรรมสิ่งทอและเส้นใย 14% อุตสาหกรรมโกดังและคลังสินค้า 14% อุตสาหกรรมอาหาร 8% อุตสาหกรรมกากหรือขยะ 6% อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ 6% อุตสาหกรรมสี ไวไฟ 4% และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี สารเคมี 3% ตามลำดับ

ครม. เคาะ! เพิ่มเงินช่วย ‘ค่าก๊าซหุงต้ม’ ผ่านบัตรสวัสดิฯ  เพิ่มเป็น 100 บาท/เดือน เริ่ม เม.ย.- มิ.ย. นี้

(14 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เห็นชอบโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม สำหรับผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ อีก 20 บาท/คน/3เดือน ในช่วงเดือนเม.ย.- มิ.ย. 2566 สำหรับผู้ใช้สิทธิ 7.5 ล้านราย รวมเงิน 150 ล้านบาท


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top