Wednesday, 2 July 2025
ค้นหา พบ 49159 ที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' ตอบคำถามโควิด บนเวที World Economic Forum ชี้!! ไทยไม่เลือกปฏิบัติรับ นทท. หลังมีแผนพร้อมรับมือโควิดรัดกุม

'อนุทิน' ขึ้นเวที World Economic Forum โชว์วิสัยทัศน์ ยกบทบาทอาเซียนพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของประชาคมโลก เผย ศักยภาพไทยบริหารโควิด19 หนุนประเทศเปิดรับนักท่องเที่ยวทุกชาติแบบไม่เลือกปฏิบัติ

(18 ม.ค. 66) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 66 ที่เมืองดาวอส-คลอสเตอร์ สมาพันธรัฐสวิส นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้นำคณะเข้าร่วมการประชุมในหัวข้อที่หลากหลายภายในการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) และได้รับเชิญให้ขึ้นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ความสำเร็จทางนโยบายของประเทศไทย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า โดยนายอนุทิน ได้รับเชิญให้ร่วมเวทีแสดงมุมมองรัฐบาลไทยในการประชุมหัวข้อ 'The Pulling Power of ASEAN' โดยมีผู้ร่วมเวทีจากทั้งภาครัฐและเอกชนภายในและนอกอาเซียน ได้แก่ นาง Merit Janow ประธานกรรมการอิสระ มาสเตอร์การ์ด, นาย Luhut B. Pandjaitan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานกิจการทางทะเลและการลงทุน อินโดนีเซีย และ นาง Teresita Sy-Coson รองประธานกรรมการ  SM Investment Corporation, ฟิลิปปินส์

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายอนุทินได้กล่าวท่ามกลางความสนใจของที่ประชุมต่อภูมิภาคอาเซียนว่า ทุกประเทศในภูมิภาคนี้มีจุดแข็งของตัวเองและมีจุดร่วมสำคัญความสามารถในการปรับตัว อาเซียนเคยเป็นและจะยังคงเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจ ทั้งไทยและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนมีที่ตั้งอยู่ในเส้นทางยุทธศาสตร์ของจีน และนโยบายอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ แม้จะมีความตึงเครียดในภูมิภาคแต่ความสามารถในการปรับตัว และนโยบายที่ไม่แทรกแซงระหว่างกัน จะส่งผลดีต่อเสถียรภาพและประโยชน์ทางเศรษฐกิจของอาเซียน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รองนายกรัฐมนตรียังได้ชี้ให้ที่ประชุมเห็นถึงความร่วมมือที่แนบแน่นของอาเซียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด19 จนเป็นภูมิภาคที่ฟื้นตัวจากโควิด19 ได้เร็ว และได้มีการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ (ACHPEED) ขึ้นที่ประเทศไทย ด้วยตระหนักว่าหากในภูมิภาครับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพได้ดีเท่าไร เศรษฐกิจก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้นเท่านั้น เพราะไทยและอีกหลายประเทศในอาเซียนคือ ฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลก และขณะนี้อาเซียนกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ BCG Model ตามที่ได้กล่าวไว้ที่ประชุม APEC ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนพ.ย. 65 ที่ผ่านมานั่นคือ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งเสริมให้อาเซียนคงเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับประชาคมโลก

รอลุ้น ‘พปชร.’ ปรับบัตรประชารัฐเป็น 700 หากผลเลือกตั้ง ดันเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

หลังพรรคพลังประชารัฐได้ออกมาประกาศนโยบายสำหรับบัตรประชารัฐ ว่าจะเดินหน้าการจัดทำนโยบายบัตรประชารัฐ 700 บาทต่อเดือน ก็เรียกเสียงฮือฮาให้กับประชาชนที่มีบัตรประชารัฐอย่างมาก ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่า 700 บาทต่อเดือนมันไม่พอ บางคนก็อาจจะบอกว่าพอ

วันนี้ทีมข่าว THE STATES TIMES จึงลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ตลาดประชานิเวศน์ 3 เพื่อสอบถามประชาชนถึงประเด็นดังกล่าว ว่าการเพิ่มเงินเป็น 700 บาทต่อเดือน จะเพียงพอสำหรับประชาชนหรือไม่?

โดยแม่ค้าขายหมูปิ้งตลาดประชานิเวศน์ 3 นนทบุรี ที่มีบัตรประชารัฐอยู่ กล่าวว่า ในเดือนนี้มีการเพิ่มเงินในบัตรให้ 200 บาท จากเดิมที่ได้ 200 บาท ก็ได้เพิ่มเป็น 400 บาท ตนเองมองว่าการเพิ่มเงินในเดือนนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะทุกวันนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แล้วค่าครองชีพก็ขึ้นสูงมาก ของแพงทุกอย่างการใช้จ่ายก็เลยไม่พอ แล้วที่ได้เงินเพิ่มมาเป็น 400 บาท ตนเองคิดว่าก็ยังไม่พออยู่ดี หากพรรคพลังประชารัฐให้เพิ่มเป็น 700 บาท ก็คงจะดีขึ้นกว่านี้

วัยรุ่นเลือกตั้งครั้งแรก ต้องทำยังไงนะ? | THE STATES TIMES Y WORLD EP.55

เพิ่งจะได้อายุ18ปีเป็นครั้งแรกก็ได้เลือกตั้งซะแล้ว ต้องเตรียมตัวอย่างไรหรือต้องรู้อะไรบ้าง ไปชมกันเลย....
.
ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World x ELECTION TIME
และสามารถรับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PLvNTQ_fOAFugvfiWfiUXJ8JJYho1ADnG8
.
#THESTATESTIMES
#THESTATESTIMESYWORLDxELECTIONTIME
#เลือกตั้ง
#เข้าคูหา
#วิธีไปเลือกตั้ง

19 มกราคม พ.ศ. 2545 ในหลวง ร. 9 ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันนี้ เมื่อ 21 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสาร และอาคารเทียบเครื่องบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ทั้งนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ว่า 'ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ' ซึ่งมีความหมายว่า 'แผ่นดินทอง'

สำหรับแนวคิดในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง 'สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ' ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เช่นเดียวกับการศึกษาของบริษัทลิตช์ฟีลด์และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร

รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้างก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา จนสัมปทานถูกยกเลิก ต่อมา รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่า หนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด

เมื่อถึง พ.ศ. 2534 รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ณ บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการ

ต่อมาในรัฐบาล ชวน หลีกภัย ได้อนุมัติงบประมาณ 120,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการ และให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ไม่ต้องนำเงินกำไร 50% ส่งเข้าคลังเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่เวนคืน

สมาคม - ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและบริการ ขอบคุณรัฐบาล เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานตรงจุด

วันที่ 18 มกราคม 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและบริการประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วนั้น ซึ่งในเรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ความสำคัญและสั่งการให้กระทรวงแรงงานเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและฟื้นฟูประเทศรองรับนักท่องเที่ยวภายหลังโควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งในส่วนของกระทรวงแรงงาน ผมได้ให้หน่วยงานในสังกัดทุกจังหวัดลงพื้นที่สอบถามความต้องการแรงงานจากผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยวและบริการ ขณะเดียวกัน ผมได้มอบหมายให้ นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน หารือร่วมกับสมาคม ชมรม ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวและบริการจากหลายแห่ง เพื่อหารือรับทราบความต้องการแรงงานรวมทั้งบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคการท่องเที่ยวบริการร่วมกัน

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการที่กระทรวงแรงงานได้ให้สำนักงานแรงงานทุกจังหวัดลงพื้นที่สอบถามความต้องการแรงงานจากผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยวและบริการ ขณะนี้มีรายงานจากสำนักงานแรงงานจังหวัด 60 จังหวัด ผลปรากฏว่า มีสถานประกอบกิจการประเภทโรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร ร้านค้า จำนวน 32,359 แห่ง ลูกจ้าง 297,824 คน สถานประกอบกิจการที่มีความต้องการแรงงาน จำนวน 1,817 แห่ง ลูกจ้าง 9,763 คน สถานประกอบกิจการต้องการแรงงานคิดเป็นร้อยละ 5.61 และมีความต้องการแรงงานร้อยละ 3.28 ส่วนจังหวัดที่มีความต้องการแรงงานในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ภูเก็ต จำนวน 3,648 คน 2) เชียงใหม่ จำนวน 858 คน 3) ชลบุรี จำนวน 594 คน 4) พังงา จำนวน 410 คน และ 5) สุราษฎร์ธานี จำนวน 349 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,859 คน ส่วนตำแหน่งงานที่สถานประกอบกิจการในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) พนักงานต้อนรับ (รีเซฟชัน ยกกระเป๋า ฯลฯ) 2) พนักงานเสิร์ฟ 3) พนักงานทำความสะอาด แม่บ้าน 4) เชฟ ผู้ช่วยเชฟ พ่อครัว แม่ครัว ผู้ช่วยงานในครัว และ 5) พนักงานเก็บเงิน พนักงานบัญชี 

นายบุญชอบ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงแรงงานนั้น ในส่วนของกรมการจัดหางาน ในระยะเร่งด่วนจะสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ได้ทำงานแบบพาร์ทไทม์ เพื่อให้มีทักษะ มีรายได้ระหว่างเรียน โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอม พร้อมกับช่วยให้สถานประกอบการมีแรงงานเพียงพอสามารถขับเคลื่อนกิจการต่อไปได้  และเมื่อได้ข้อมูลความต้องการที่แท้จริงจากผู้ประกอบการแล้วจะจัดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบจากจังหวัดที่มีกำลังแรงงานไปสู่จังหวัดที่ขาดแคลน เร่งประสานสถานศึกษาเอกชนปรับเวลาส่งนักเรียน นักศึกษา สาขาการท่องเที่ยวและโรงแรมเข้าฝึกอบรมในระบบทวิภาคี ในโรงแรมที่มีความต้องการแรงงานในช่วงไฮซีซัน ซึ่งปกติจะฝึกในช่วงโลซีซัน และเจรจาเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่นักเรียน นักศึกษา ที่เหมาะสม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top