Wednesday, 9 July 2025
ค้นหา พบ 49314 ที่เกี่ยวข้อง

รวบผู้ต้องหาต่างด้าวหนีคดีฉ้อโกงประชาชน มูลค่าความเสียหายร่วม 600 ล้านบาท

ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พิจารณาดำเนินการกับนายจง (นามสมมติ) คนต่างด้าวซึ่งเป็นบุคคลที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับและต้องการตัวไปดำเนินคดี ในความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชน โดยมีพฤติการณ์กระทำผิด คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา นายจง ได้ร่วมกับเพื่อนเปิดบริษัทและจ้างพนักงานมาทำหน้าที่โทรศัพท์หาลูกค้าเพื่อหลอกให้มาร่วมลงทุน โดยอ้างว่าบริษัทเป็นบริษัทที่สามารถทำบัตรเครดิตได้จำนวนมาก มีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อกว่า 500 ราย มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 600 ล้านบาท และนายจงได้หลบหนีมายังประเทศไทย กก.1 บก.สส.สตม. ได้สืบสวนและตรวจสอบข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตม. พบว่า 

นายจง ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ทางด่าน ตม.ทอ.สุวรรณภูมิ บก.ตม.2 เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2562 ได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว 60 วัน และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปถึงวันที่ 20 ก.ย. 2566 จึงได้เสนอขอเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของนายจง

ผบ.ตร. ชื่นชม ตำรวจสายตรวจ สภ.บางบัวทอง กระโดดน้ำช่วยชีวิตหญิงสาวคิดสั้นฆ่าตัวตาย ก่อนช่วยปฐมพยาบาลทำCPR จนปลอดภัย พร้อมมอบรางวัลทำดี

วันนี้ (9 ม.ค.66) เวลา 15.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้มอบรางวัลโครงการ 'ทำดี มีรางวัล' แก่ตำรวจสายตรวจ สภ.บางบัวทอง จว.นนทบุรี ที่ช่วยหญิงคิดสั้นกระโดดน้ำ

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ กล่าวว่า จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2566 เวลาประมาณ 02.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งเหตุ มีหญิงสาวลักษณะคล้ายจะคิดสั้นด้วยการกระโดดน้ำฆ่าตัวตายที่บริเวณคลองประปา ทาง ส.ต.อ.วิษณุ พันวอ และ ส.ต.ต.ณัฐพล คลิ้งขาว ผบ.หมู่(ป.) สภ.บางบัวทอง เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุทันที บริเวณคลองประปา พื้นที่ ต.บางคูรัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี พบหญิงคนดังกล่าวอยู่กลางคลองประปาแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 2 นายจึงตัดสินกระโดดน้ำลงไปช่วยเหลือหญิงสาวที่กำลังจะหมดแรงจมน้ำ ได้สำเร็จ จากนั้นจึงช่วยกันปฐมพยาบาลในเบื้องต้น ด้วยการทำ CPR จนปลอดภัย ซึ่งตนได้สอบถามตำรวจสายตรวจทั้งสองนายทราบว่า มีการฝึกทบทวนยุทธวิธีและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ สภ. เกือบทุกวันพุธของสัปดาห์ ส่วนสาเหตุที่หญิงคนดังกล่าวคิดสั้นนั้น เพราะเกิดจากความเครียดจากปัญหาส่วนตัวกับคนในครอบครัว จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดต่อญาติให้มารับตัวกลับที่พัก คลิปวีดีโอการช่วยเหลือของตำรวจ ถูกส่งต่อแพร่หลายในสังคมออนไลน์ ซึ่งสร้างความประทับใจและได้รับความชื่นชมจากสังคมเป็นอย่างมาก

รองต่อศักดิ์ฯ ส่งตำรวจทางหลวง จิตอาสา มอบความสุข เด็กนักเรียนถิ่นทุรกันดาร ขนรถจักรยาน ขนม ตุ๊กตา จัดกิจกรรมปีใหม่ พ่วงวันเด็ก ล่วงหน้า

วันที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 13.00 น.ที่โรงเรียนบ้านน้ำซับ ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ พ.ต.ท.จิระพันธ์ มณีรัตน์ สารวัตรตำรวจทางหลวงนครราชสีมา ร่วมกับ นายพงษ์เทพ มาลาชาสิงห์ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอวังน้ำเขียว จิตอาสา 904 ตำรวจจิตอาสาทางหลวงนครราชสีมา และชมรมฮักเขาใหญ่

ร่วมกันจัดกิจกรรม วันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ล่วงหน้า รวมถึงงานปีใหม่ พร้อมมอบ เสื้อกันหนาว ขนม น้ำผลไม้ น้ำดื่ม รถจักรยาน ตุ๊กตา ไปมอบให้เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำซับ ที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ สร้างความสุขให้เด็กๆ นักเรียน พร้อมยาสามัญประจำบ้าน ช่วยสร้างความอบอุ่นในช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว ช่วงกลางคืนจะมีอากาศหนาวเย็นอุณหภูมิลดเหลือ 16-17 องศา

'รมว.ยุติธรรม' มอบเงินเยียวยาผู้เสียหายและทายาท เหยื่อ Mountain B จำนวน 12 ราย เฉียดล้านบาท

ที่ ว่าการอำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานมอบเงินเยียวยา จากคดีอาญา ตามพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา คดีไฟไหม้ผับ Mountain B 12 ราย เป็นเงิน 954,104.75 บาท โดยมี นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ผู้เสียหายและทายาท เข้าร่วม

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สำหรับลงพื้นที่เพื่อมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาให้กับประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เพลิงไหม้สถานบันเทิง Mountain B เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ซึ่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จำนวนมากถึง 57 ราย ด้วยเหตุนี้ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จึงได้นำเงินเยียวยามามอบให้แก่ผู้เสียหาย โดยลงพื้นที่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 มอบเงินเยียวยาให้แก่ผู้เสียชีวิตจำนวน 19 ราย รวมเป็นเงิน 2,176,899 บาท (สองล้านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยเก้าสิบเก้าบาทถ้วน) และต่อมากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้โอนเงินเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายอีก 25 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 6 ราย และบาดเจ็บ 19 รายรวมเป็นเงิน 1,922,179 บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนสองหมื่นสองพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบเก้าบาทถ้วน)

องค์การสวนสัตว์ ส่งนกกาฮัง (นกกก) กลับบ้าน ณ ดอยหลวงเชียงดาว ครั้งแรกของ จ.เชียงใหม่ ในรอบ 20 ปี

องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการศึกษาวิจัยที่เป็นการกอบกู้วิกฤติการณ์การสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าตามธรรมชาติ ด้วยการนำสัตว์ป่าหายากกลับคืนสู่ธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของการฟื้นฟูทรัพยากรและการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย  โดยการนำ 'นกกาฮัง' หนึ่งในนกเงือกขนาดใหญ่ที่สุดของไทยปล่อยคืนสู่พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของจังหวัดเชียงใหม่ 'นกกาฮัง' หรือ 'นกกก' คู่แรกของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นนกกาฮังคู่ที่สองที่ทำการทดลองปล่อยคืนสู่ธรรมชาติภาคเหนือ ภายหลังจากการสูญหายไปจากผืนป่าภาคเหนือของประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี                                                   

วันที่ 9 มกราคม 2566 ณ สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย นายวุฒิชัยม่วงมัน ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ นายกฤตภาส ขันทะธงสกุลดี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ นายสงัด บูรณภัทรโชติ นายอำเภอเชียงดาว นายณัฐกุล ขันทะสอน หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว คณะผู้บริหารองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ดร.วรพัฒน์ อรรถยุกติ ประธานมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ภาคเหนือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ผู้นำโรงเรียน ตัวแทนชาวบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันเปิดโครงการ “การทดลองปล่อยนกกาฮังคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในเขตพื้นที่ภาคเหนือ” ณ สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด 'นกกาฮังปิ๊กบ้าน' โดยการ นำนกกาฮังที่ได้รับการฟื้นฟูพฤติกรรมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของกระบวนการในการฟื้นฟูประชากรนกเงือกขนาดใหญ่ขึ้นใหม่อีกครั้ง ภายหลังการสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ภาคเหนือมานานนับ 20 ปี                                                    

จากความสำเร็จขั้นต้นของการนำนกกาฮังคู่แรก ที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ภาคเหนือ ณ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จ. ลำปาง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งนกที่ทำการทดลองปล่อยยังคงสามารถอาศัยอยู่ได้ในพื้นที่ป่าธรรมชาติ คณะผู้วิจัยของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าในพื้นที่ภาคเหนือกว่า 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัย การทดลองปล่อยนกกาฮังคืนสู่ธรรมชาติฯ เป็นครั้งที่ 2 ณ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของสถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว (พื้นที่บริเวณดอยหลวงเชียงดาว) ขึ้น ซึ่งถือเป็นนกกาฮังคู่แรก ที่ทำการทดลองปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างเป็นทางการในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top