Tuesday, 29 April 2025
ค้นหา พบ 47725 ที่เกี่ยวข้อง

๙ คำที่พ่อสอน

9​ คำที่พ่อสอน
.
พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต

7 ธันวาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

วันนี้ถือเป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทยอีกวันหนึ่ง โดยเป็นวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ซึ่งปีนี้ทรงเจริญพระชันษา 42 ปี

 

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในหลากหลายด้าน ทางด้านกฎหมาย ทรงส่งเสริมหลักการยุติธรรมในสังคม โดยเฉพาะสตรีและผู้ต้องขังหญิง อีกทั้งส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมในระดับนานาชาติ โดยทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญา สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ

 

อีกหนึ่งพระราชกรณียกิจอันเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทย โดยทรงเป็นองค์ประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ด้วยวัตถุประสงค์ในการบรรเทาความเดือดร้อน ตลอดจนช่วยเหลือประชาชนคนไทย ทั้งในยามประสบภัยพิบัติ และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

 

เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันประสูติ ขอพระองค์ทรงมีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของประชาชนคนไทยสืบไป ทรงพระเจริญ

 

อ้างอิง: https://th.wikipedia.org/ , http://friendsofpa.or.th/TH/home

 

 

ถูก ‘บูลลี่’ ควรแก้ยังไง?

ใครเคยถูก ‘บูลลี่’ ยกมือขึ้น?

 

ถามแบบนี้ เชื่อเถอะว่า ยกมือกันพรึ่บ ไล่ไปตั้งแต่เด็กประถมไปยันนายกรัฐมนตรี ยุคสมัยนี้เขาเรียกการโดนล้อว่า ถูกบูลลี่ (Bully) แต่ถ้าเป็นยุคก่อนๆ มันก็คือ การถูกล้อ ถูกแซว นั่นแหละ

 

การถูกบูลลี่ หรือการล้อ การแซว เป็นเรื่องทางจิตวิทยาของมนุษย์มาแต่โบร่ำโบราณแล้วล่ะ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม พอมารวมกลุ่มกันเข้า เมื่อเห็นว่าสิ่งใดที่มันดู ‘แตกต่าง’ ไปจากผู้คนปกติในกลุ่ม ก็มักจะมีการออกความเห็น เป็นธรรมดา

 

เช่น ‘ทำไมคนนี้ถึงดำ’ ‘ทำไมคนนั้นถึงเตี้ย?’ แต่ปัญหาต่อมาก็คือ เมื่อมีคนพูด (หรือตั้งประเด็นขึ้นมา) คนอื่นๆ ในกลุ่มก็จะพลอยสนใจ จากที่มีคนสีผิวต่าง หรือส่วนสูงต่างอยู่ในกลุ่มตั้งนานสองนาน พอมีคนตั้งข้อสังเกตปุ๊บ กลายเป็นจุดสนใจขึ้นมาทันที

 

ที่มันเลยเถิดไปกว่านั้น เมื่อสนใจในความแตกต่าง กลับกลายเป็นการไปย้ำความต่างนั้นๆ อยู่เรื่อยๆ เหมือนอะไรเอ่ยไม่เข้าพวก ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ถ้าไม่มีใครทัก ใครพูด มันก็จะไม่กลายเป็นประเด็น

 

ยังมีอีกหลายกรณี เช่น คนนี้อ้วนกว่าใครในกลุ่ม คนนี้ผอมแห้งกว่าใครในแก๊ง คนนี้สิวเยอะ คนนั้นพูดไม่ชัด คนโน้นผมหยิก กระทั่งพัฒนามาสู่ยุคนี้ ที่มีโซเชี่ยลมีเดียเป็นตัวกระจายอำนาจการบูลลี่ กล่าวคือ ใครที่มีความต่าง หรือมีพฤติกรรมไม่เข้าพวก หรือแม้แต่ทำอะไรน่าเกลียดๆ แล้วโดนถ่ายภาพเก็บไว้ ทั้งหมดนี้จะถูกกระจายกำลังกันโดนบูลลี่ไปในโลกกว้างทันที

 

 

เรื่องเหล่านี้ ใครไม่เจอกับตัวเอง ก็คงไม่รู้ซึ้งว่า ‘มันเจ็บปวดเพียงใด’

 

อย่างที่ถามไป มีใครเคยถูกบูลลี่บ้าง น้อยคนนั่นแหละที่จะไม่เคย เอาเรื่องเบสิกสุดๆ ประเภทล้อชื่อพ่อชื่อแม่ ยิ่งชื่อพ่อแม่เป็นชื่อเชยๆ แปลกๆ งานนี้โดนล้อกันจนแก่จนเฒ่า นี่ก็เป็นมิติหนึ่งของการบูลลี่เหมือนกัน ถามต่อมาว่า แล้วจะทำยังไงไม่ให้ถูกบูลลี่? ตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า ‘ยาก!’ เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมมีความแตกต่าง หรือแม้แต่ทำอะไร ‘พลาดๆ’ กันได้หมด

 

แต่ตัวการปัญหาจริงๆ มันอยู่ที่ ‘คนบูลลี่’ นั่นต่างหาก

 

ยกสมการง่ายๆ ว่า ‘ถ้าไม่มีคนบูลลี่ มันก็จะไม่มีการถูกบูลลี่’ ถูกไหม? เพราะฉะนั้น สิ่งที่ ‘ทุกคน’ ควรทำ หรือต้องทำ คือ ฉุกคิดสักนิด ก่อนจะพูด ก่อนจะเล่า ก่อนจะแซว ก่อนจะล้อ ก่อนจะให้ความเห็น หรือก่อนจะคอมเม้น

 

ทั้งหมดมันเกิดจากตัวเรานี่ล่ะ บางครั้งไม่ตั้งใจ แต่เผลอตัวพูดออกไปด้วยความสนุก(ปาก) ด้วยความคึกคะนอง คิดว่าขำๆ ล้อกันเล่นๆ แต่ใจเขาใจเรา อะไรที่มากเกินพอดี ผลลัพธ์ที่ออกก็มักจะเกินงามไปด้วยเช่นกัน

 

 

เราไม่ได้บอกให้ใครต้องทำตัวโลกสวย ต้องพูดเพราะๆ แต่ก่อนพูด ขอให้มีสติ ฉุกคิดสักนิดกับคำพูดของเรา อะไรที่ประเมินว่าสุ่มเสี่ยง ก็ข้ามๆ ไปบ้าง ไม่ต้องพูดทุกอย่างที่คิดก็ได้

 

สรุปคาถาง่ายๆ ป้องกันการถูกบูลลี่ นั่นคือ ‘การไม่ไปบูลลี่คนอื่นก่อน’ ก็เท่านั้นเอง...

ทางออกธุรกิจเพื่อสังคม!! กู้ที่ไหนไม่ได้...ให้มาออมสิน

แม้ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) จะเป็นแนวคิดของการทำธุรกิจที่ดีต่อการแก้ไขปัญหาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งในแนวทางการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ

แต่ปัญหาสำคัญที่จะเรียกว่าปัญหาใหญ่เลยก็ว่าได้ของธุรกิจเพื่อสังคม คือ ความยากในการเข้าถึง "แหล่งเงินทุน" ที่จะนำมาใช้ต่อยอดและหมุนเวียนระบบธุรกิจ

เพราะด้วยเป้าหมายของการสร้างธุรกิจ SE โดยธรรมชาติ จะไม่ได้มองในเรื่องผลกำไรมาเป็นอันดับแรก ทางสถาบันการเงินส่วนใหญ่ จึงปล่อยกู้ให้ยาก แล้วเมื่อเป็นเช่นนั้น โอกาสที่จะได้เห็นธุรกิจแนวนี้เติบโตในระยะยาว จึงเป็นเรื่องยากด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็มี ธนาคารออมสิน ที่กำลังออกมาอุดช่องโหว่ตรงนี้ ตามนโยบายที่ต้องการเพิ่มบทบาทการเป็นธนาคารเพื่อสังคมอย่างแท้จริงตามยุทธศาสตร์ขององค์กร

ล่าสุดธนาคารออมสิน ได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับโครงการโดยเฉพาะได้แก่ "สินเชื่อธุรกิจ ออมสินขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง หรือเพื่อต่อเติมซ่อมแซมสถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกิจการ" ออกมา

.

โดยสินเชื่อดังกล่าวตอบโจทย์ธุรกิจ SE ดังนี้

  • ให้วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย มีทั้งเงินกู้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก 2.99% ต่อปี ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MOR ต่อปี (ปัจจุบัน MOR ของธนาคารฯ = 5.995%)
  • ขณะที่เงินกู้ระยะยาวให้กู้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี ปีแรกไม่ต้องชำระเงินต้น คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก 2.99% ต่อปี ส่วนปีที่ 3-10 คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ของธนาคารฯ = 6.150%)

.

เงื่อนไข

  • วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท ใช้บุคคลค้ำประกันร่วมกับ บสย.
  • วงเงินกู้ 3-10 ล้านบาท ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันได้

.

วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า "ปัจจุบันทางออมสินได้มีการอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมไปแล้วรวมกว่า 17 ล้านบาท และนอกเหนือจากนั้น ทางธนาคารยังได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย (Social Enterprise Thailand Association: SE Thailand) เพื่อช่วยสนับสนุนบริษัทสมาชิก ทั้งด้านการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ และช่วยสร้างองค์ความรู้เพื่อยกระดับกิจการให้สามารถช่วยเหลือชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top