Monday, 7 July 2025
ค้นหา พบ 49241 ที่เกี่ยวข้อง

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา เสด็จฯ เปิดตัวหนังสือ 'แนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 3' THAI TEXTILES TREND BOOK SPRING/SUMMER 2023 

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานเปิดตัว หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 3 (Thai Textiles Trend Book Spring / Summer 2023) และ การเสวนาวิชาการ 'การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2565' พร้อมจัดแสดงนิทรรศการแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย ระหว่างวันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2565 ณ ICON Art and Cultural Space ชั้น 8 ไอคอนสยาม โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทรงเป็นองค์ประธานในงานเปิดตัวหนังสือ และการเสวนาวิชาการฯ โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมผู้บริหารวธ. เฝ้ารับเสด็จฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2565   

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงตั้งพระทัยที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้สามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตนเองและคนในครอบครัว ควบคู่ไปกับการถนอมรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ โดยเฉพาะศิลปหัตถกรรมผ้าทอในแต่ละท้องถิ่น จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดทำ THAI TEXTILES TREND BOOK Spring / Summer 2022 เล่มแรกขึ้น โดยทรงรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการบริหาร (Editor in Chief) ด้วยพระองค์เอง ต่อเนื่องมาถึงเล่มล่าสุด THAI TEXTILES TREND BOOK Spring/Summer 2023 เป็นเล่มที่ 3    

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดทำหนังสือ Thai Textiles Trend Book เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานผ้าไทยและเทรนด์แฟชั่นระดับโลก เพื่อเสนอแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักออกแบบ ช่างทอผ้า ชุมชน และผู้ประกอบอาชีพทุกสาขา โดยหนังสือ Thai Textiles Trend Book Spring / Summer 2023 เล่มล่าสุด นำเสนอแนวคิด 'วัฒนธรรมอันเคลื่อนคล้อย' (Moving Culture) การเคลื่อนที่ทางวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนเอกลักษณ์ ของแต่ละถิ่นฐานบนผืนผ้า ซึ่งได้แรงบันดาลใจของบรรยากาศฤดูร้อนของไทย 

โดยทำการศึกษาควบคู่ไปกับงานภูมิปัญญา และงานหัตถศิลป์ สะท้อนแนวคิด ผ้าไทยหลายชนิด ที่มีที่มาจากวัฒนธรรมอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของวัฒนธรรมที่ไม่ตายตัว แต่มีการปรับตัวและแลกเปลี่ยนของอัตลักษณประจำถิ่นเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง โดยมีผ้าไทยประจำฤดูกาลนี้อย่าง 'ผ้าขาวม้า' และ 'ผ้าบาติก' เป็นตัวอย่างของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

วธ.เชิญประชาชน-นักท่องเที่ยว ร่วมงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช ๒๕๖๕ 'ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสาน ประเพณีไทย สู่ความยั่งยืน'

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับเครือข่ายทางวัฒนธรรม จัดงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช ๒๕๖๕ 'ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสาน ประเพณีไทย สู่ความยั่งยืน' เน้นคุณค่า สาระ เพื่อแพร่ความงดงามของประเพณีสู่สายตานักท่องเที่ยว คุมเข้มงานปลอดโควิด ๑๙ รักษามาตรการความปลอดภัยทางบก-ทางน้ำ ชวนรักษาสิ่งแวดล้อม ลดขยะ มาด้วยกันใช้กระทงร่วมกัน งดจำหน่าย-งดดื่มของมึนเมา งดเล่นประทัดพลุดอกไม้เพลิง ชวนนุ่งผ้าไทย-ผ้าท้องถิ่น เชิญประชาชนนักท่องเที่ยวร่วมงานในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กทม. 

(๓ พ.ย. ๖๕ โถงชั้น ๑ วธ.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญของคนไทยในฤดูน้ำหลาก เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะสายน้ำที่ใช้ในการดำรงชีวิต เช่น แม่น้ำลำคลอง ประเพณีนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยอันงดงาม ที่ปรากฏในรูปแบบของพิธีกรรม การประดิษฐ์กระทง การประดับประทีปโคมไฟในยามค่ำคืน การแสดงมหรสพ และการละเล่นรื่นเริงต่าง ๆ ในปี ๒๕๖๕ นี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติในงานลอยกระทง พุทธศักราช ๒๕๖๕ ภายใต้แนวคิด 'ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสาน ประเพณีไทย สู่ความยั่งยืน' 

ดังนี้ ขอความร่วมมือองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ จัดกิจกรรมตามแบบประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น ให้ใช้กระทงที่ย่อยสลายง่ายเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม รณรงค์ให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสะอาด สบู่เหลว ก่อนหรือหลังทำกิจกรรม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด ๑๙ 

นายอิทธิพล กล่าวต่อว่า ในด้านสถานที่จัดงานควรปรับพื้นที่ให้เหมาะสม กว้างขวาง ไม่แออัด รักษามาตรการเรื่องความปลอดภัย ทั้งการจราจรทางบกและทางน้ำ ดูแลบริเวณท่าน้ำให้มีความมั่นคง สะดวก และปลอดภัย ควรงดการจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มมึนเมา และห้ามการดื่มกินในบริเวณงานหรือใกล้เคียง งดการเล่นดอกไม้ไฟ พลุ หรือวัสดุที่ก่อให้เกิดอันตรายในที่สาธารณะหรือชุมชน ในส่วนมหรสพความรื่นเริง จัดการแสดงต่าง ๆ ทำได้ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะการจัดแสดงวัฒนธรรมของท้องถิ่น การแสดงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน ที่จะทำให้เด็ก เยาวชน ประชาชนได้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาของไทย เพื่อเป็นการสร้างรายได้สู่ชุมชน และขอเชิญชวนให้ประชาชน 'แต่งไทย ไปลอยกระทง' เพื่อร่วมกันส่งเสริมการใช้ผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์การแต่งกายของแต่ละท้องถิ่น อันจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อีกด้วย

และขอเชิญชวนให้พี่น้องประชาชน รวมถึงทักท่องเที่ยว เข้าร่วมงานประเพณีลอยกระทง ที่กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ลอยกระทงวิถีใหม่ สืบสาน ประเพณีไทย สู่ความยั่งยืน” ตลาดวัฒนธรรมงานวัดย้อนยุค ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ในวันอังคารที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การแสดงทางวัฒนธรรม การประกวดกระทงประเภทสวยงามและสร้างสรรค์(รางวัลรวม ๑๕๐,๐๐๐ บาท) การสาธิตอาหารคาวหวาน การออกร้านสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม การจัดแสดงนิทรรศการข้อมูลองค์ความรู้คุณค่าสาระของประเพณีลอยกระทง และร่วมลอยกระทงอย่างปลอดภัยผ่านสไรเดอร์บริเวณท่าน้ำวัดอรุณฯ  

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 3 ปี 2565

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ที่ ห้องปัญญาวิจิตรธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท.สภอ.) ริมบึงแก่นนครเขตเทศบาลนครขอนแก่น นายศรัณย์  ธำรงรัตน์  ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประธานการแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 3 ปี 2565 โดยมีโดยมี นางรวิวรรณ์  ศิริเกษมทรัพย์  ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,นายนพดล  บูรณะธนัง รองผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,นายสุวัฒน์  วิเชียรศิริ รองผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,นายวิศลย์  ปรีชา รองผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,นางกาญจนา  ภาพพิมาย ผู้จัดการศูนย์ ศูนย์จัดการธนบัตรขอนแก่น และสื่อมวลชนทุกแขนงร่วมให้ความสนใจการแถลงข่าวในครั้งนี้

นายศรัณย์ ธำรงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล่าวว่าเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 3 ปรับดีขึ้นจาก ไตรมาสก่อน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและรายได้เกษตรที่ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การผลิตหดตัวมากขึ้น จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ (supply disruption) ที่ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ค่าครองชีพที่อยู่ใน ระดับสูงยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน 1.การอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง ตามการใช้จ่ายในหมวดบริการ สินค้าคงทน และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ 2.การลงทุนภาคเอกชน หดตัวเล็กน้อยตามการลงทุนด้านการก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่อง และการลงทุนด้านเครื่องจักรที่ชะลอตัวลง 3.การใข้จ่ายภาครัฐ หดตัวต่อเนื่อง ตามรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน
4.การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัวน้อยลงทั้งการส่งออกและนำเข้าจากจีนเป็นสำคัญ5.รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง จากด้านราคาเป็นสำคัญ ตามราคาปศุสัตว์และมันสำปะหลัง ขณะที่ผลผลิตชะลอลง 6.ภาคอุตสาหกรรม หดตัวมากขึ้น ตามการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงจากปัญหา Supply Disruption ในจีนที่เพิ่มขึ้น 7. การจ้างงานเพิ่มขึ้น ตามจำนวนผู้มีงานทำในระบบที่เพิ่มขึ้น (ม.33) และจำนวนผู้ว่างงานใหม่ในระบบที่ลดลง (ม.38) 8.อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 6.89 ตามราคาอาหารสด ได้แก่ เนื้อสัตว์ และผักสดเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาพลังงานชะลง 9. ภาคการเงิน ฝากเงินชะลอตัว ทั้งเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน ส่วนสินเชื่อขยายตัวเล็กน้อย ตามความต้องการเงินทุนของธุรกิจที่เริ่มฟื้นตัว หลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย

ทำความเข้าใจ 'ต่างด้าวซื้อที่ดิน' ขายชาติจริงหรือ…?

เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกรณีที่รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงที่อนุญาตให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ได้ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดมากมาย แต่มีคนบางกลุ่มออกมาต่อว่า วิจารณ์รัฐบาลว่าเป็นการขายชาติ

เรื่องนี้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๘๖ ว่า คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดย อาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์ได้และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย

ตามบทบัญญัติดังกล่าวการให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้เป็นตามสนธิสัญญา คือพลเมืองของประเทศที่มีสนธิสัญญาต่อกันให้พลเมืองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศที่มีสนธิสัญญาต่อกันได้

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินเรื่องให้คนต่างด้วยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยมีการบัญญัติเพิ่มไว้ในมาตรา ๙๖ ทวิ โดยมาตรา ๙๖ ทวิ บัญญัติว่า บทบัญญัติว่าด้วยคนต่างด้าว จะได้มาซึ่งที่ดินโดยอาศัยบทสนธิสัญญาตามมาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคนต่างด้าวซึ่งได้นําเงินมาลงทุนตามจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวงซึ่งต้องไม่ตํ่ากว่าสี่สิบล้านบาท โดยให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี

การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงอย่างน้อย ต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้...

.....(๑) ประเภทของธุรกิจที่คนต่างด้าวลงทุน ซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ หรือเป็นกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนได้
.....(๒) ระยะเวลาการดํารงการลงทุนต้องไม่น้อยกว่าสามปี
.....(๓) บริเวณที่ดินที่อนุญาตให้คนต่างด้าวได้มา ต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณที่กําหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง

.....ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลที่มีนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎกระทรวง เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การได้มาของคนต่างด้าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ ทวิ และยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันซึ่งคนต่างด้าวก็สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้อยู่แล้ว

.....ตามกฎหมายมาตรา ๙๖ ทวิ และกฎกระทรวงที่ออกในปี ๒๕๔๕ มีหลักเกณฑ์สำคัญคือคนต่างด้าวต้องนำเงินมาลงทุนไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านบาท ก็อนุญาตให้ซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ไม่เกิน ๑ ไร่ และมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีก

.....สรุปว่าการให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้มีมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ต่อมามีการแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินในปี ๒๕๔๒ และได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในปี ๒๕๔๕ ปัจจุบันคนต่างด้าวจึงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยไม่เกิน ๑ ไร่ ได้อยู่แล้วโดยรัฐบาลปัจจุบันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย

รัฐบาลปัจจุบันเพียงต้องการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงปี ๒๕๔๕ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการที่จะให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อประเทศชาติจะได้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่านั้น แต่ก็ต้องให้เป็นไปตามที่มาตรา ๙๖ ทวิ กำหนดไว้จะผิดไปจากนี้ไม่ได้ และยังอยู่ในระหว่างดำเนินการแก้ไข โดยร่างกฎกระทรวงได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ยังมีการปรับปรุงแก้ไขได้ ยังไม่ได้ประกาศใช้เลย

ถ้ารัฐบาลปัจจุบันเพียงแต่ต้องการจะแก้ไขกฎกระทรวงที่มีอยู่แล้วและต้องเป็นไปตามที่มาตรา ๙๖ ทวิ กำหนดไว้ ถูกประนามว่าเป็นการขายชาติ 

รัฐบาลที่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินในปี ๒๔๙๗ รัฐบาลที่แก้ไขประมวลกฎหมายที่ดินโดยการเพิ่มมาตรา ๙๖ ทวิ ในปี ๒๕๔๒ และรัฐบาลที่ออกกฎกระทรวงในปี ๒๕๔๕ ไม่ต้องถูกประนามว่าเป็นการขายชาติยิ่งกว่ารัฐบาลปัจจุบันหรือ ?

กลุ่มคนที่ออกมาด่ารัฐบาลว่า การให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินเป็นการขายชาติ ควรต้องศึกษาหาความรู้บ้างว่าเรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร จะได้ไม่สื่อสารออกไปในทางที่ผิด บิดเบือน ใส่ร้ายคนอื่นให้ได้รับความเสียหาย

Programme Yarrow ปฏิบัติการลับที่ไม่ลับ หากอังกฤษต้องเผชิญวิกฤติ ไฟดับยกประเทศ

นับเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ร่ำรวยโค้ดปฏิบัติการลับจริงๆ สำหรับแดนผู้ดีอย่างอังกฤษ เจ้าแห่งพิธีรีตอง ที่แม้แต่เมื่อยามสิ้นสมาชิกประมุขแห่งรัฐ ยังต้องกำหนดโค้ดปฏิบัติการลับแยกเป็นรายกรณีไว้เลย เพื่อไม่ให้สับสนเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง 

และล่าสุด รัฐบาลอังกฤษออกโค้ดปฏิบัติการพิเศษออกมาอีกแล้ว โดยใช้ชื่อว่า สถานการณ์ ‘Programme Yarrow’ ว่าด้วยเรื่องระเบียบขั้นตอนหากประเทศต้องเจอสถานการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศนานกว่า 1 สัปดาห์ในช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ 

Programme Yarrow นี้มีการส่งต่อกันในรัฐมนตรีทุกกระทรวงของอังกฤษ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในแผนที่จะรับมือสถานการณ์ขั้นวิกฤติเสมือนยุคสงคราม หากอังกฤษต้องเผชิญปัญหาไฟฟ้าดับนาน 1 สัปดาห์ ที่จะส่งผลถึงความโกลาหลจากการขาดแคลนอาหาร ระบบคมนาคมล้มเหลว การจ่ายกระแสไฟฟ้าและพลังงานล่าช้า ในช่วงฤดูหนาวอันโหดร้ายของอังกฤษ 

นับเป็นสถานการณ์ขั้นเลวร้ายที่สุด และมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสียด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน และน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ กลายเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง และเศรษฐกิจถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ชาวอังกฤษต้องเจอปัญหาค่าไฟพุ่งกระฉูดรับฤดูหน้าหนาวปีนี้ 

อันที่จริงแผนปฏิบัติการ Programme Yarrow มีการวางแผนกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (2021) ก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครนเสียอีก เป็นระเบียบขั้นตอนที่ร่างขึ้นคร่าว ๆ หากโรงไฟฟ้าอังกฤษเกิดผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ทันช่วงหน้าหนาว รัฐบาลควรมีแผนการรับมือปัญหานี้อย่างมีขั้นตอน 

แต่พอสถานการณ์ในยูเครนยืดเยื้อ ที่ยื้อกันจนถึงฤดูหนาว รัฐบาลอังกฤษจึงดึงแผน Programme Yarrow กลับมาซักซ้อมความเข้าใจกันอย่างจริงจังอีกครั้งโดยมีการส่งเป็นพิมพ์เขียวไปยังกระทรวงต่าง ๆ แต่สุดท้ายเอกสารที่ว่าลับก็ไม่สามารถเล็ดลอดผ่านสายตาผู้สื่อข่าวสายทำเนียบของอังกฤษไปได้ 

โดยสื่อแรกที่ถือเป็นเซียนแฉในวงการก็คือ The Guardian อ้างว่าเห็นเอกสารลับดังกล่าว ซึ่งจั่วหัวว่า ‘เป็นเอกสารลับ’ พร้อมแผนการเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุดังกล่าว โดยทุกกระทรวงจำเป็นต้องเตรียมความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม ที่พักฉุกเฉิน ให้แก่เด็ก คนชรา และ ผู้พิการ เป็นอันดับแรก ๆ และรูปแบบการปฏิบัติงานช่วยเหลือตามลำดับขั้น รวมถึงการทำงาน และสื่อสารกันเองระหว่างกระทรวง 

แน่นอนว่า การเตรียมพร้อมล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ดี แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง เอ็ด มิลิแบนด์ เลขาธิการด้านสภาพอากาศกลับมองว่า เรื่องที่รัฐบาลวางแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่หากเอาความจริงมาพูดกันตรง ๆ ก็คือ อังกฤษกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอ และเปราะบางในปัญหาด้านพลังงานมานานนับสิบปีจากนโยบายการบริหารจัดการพลังงานที่ล้มเหลว

รัฐบาลอังกฤษไม่สนับสนุนการผลิตพลังงานลมบก ตัดงบด้านการลงทุนในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ระงับแผนพลังงานนิวเคลียร์ ลดคลังพลังงาน แต่กลับพาประเทศไปพึ่งพาพลังงานนำเข้า ถึงโดนปูตินมันบีบเช้า บีบเย็นอยู่นี่ไง 

แทนที่จะระดมกำลังรัฐมนตรีทุกกระทรวงมาหาวิธีจัดการปัญหาพลังงานทางเลือก เพื่อรับมือช่วงฤดูหนาวที่มีความต้องการสูง แต่กลับมาร่างแผนรับมือเอาตอนเกิดปัญหาพลังงานขาดแคลน มันปลายเหตุเกินไปไหม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top