Tuesday, 8 July 2025
ค้นหา พบ 49261 ที่เกี่ยวข้อง

‘ชัชชาติ’ เร่งหาทางแก้ปัญหาราคา รฟฟ. สายสีเขียว หลังประชาชนโอดหนัก ‘ค่าโดยสารแพง’

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) หรือที่พวกเราเรียกสั้น ๆ ว่า รถไฟฟ้า BTS เป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ และ จ.ปทุมธานี โดยเปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ในช่วงแรกได้เปิดให้บริการช่วงสถานีอ่อนนุช - สถานีหมอชิต และช่วงสถานีสะพานตากสิน - สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ 

ต่อมารถไฟฟ้า BTS มีการก่อสร้างส่วนต่อขยายออกไปเพิ่มเติมอีก 5 ระยะ แบ่งเป็น
ระยะที่ 1 จากสถานีสะพานตากสิน - สถานีวงเวียนใหญ่
ระยะที่ 2 จากสถานีวงเวียนใหญ่ - สถานีบางหว้า
ระยะที่ 3 จากสถานีแบริ่ง - สถานีเคหะฯ
ระยะที่ 4 จากสถานีหมอชิต - สถานีคูคต
ระยะที่ 5 จากสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

โดยการหาเสียงเลือกตั้งของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กทม. รอบที่ผ่านมา ได้มีการหาเสียงในประเด็นเรื่องรถไฟฟ้า BTS โดยมี Key message คือ ‘ไม่ต่อสัญญา BTS เปิดเผยสัญญา เข้า พ.ร.บ ร่วมทุน ค่าโดยสาร 25-30 บาท’ 

นอกจากนี้ นายชัชชาติ ยังให้คำมั่นว่าจะขอใช้เวลา 1 เดือน ตรวจสอบรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะขอดูสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกฉบับแล้วจะให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เบื้องต้นมีเรื่องต้องสะสาง 3 ส่วน ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลโอนให้กทม. กระบวนการรับหนี้ถูกต้องหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ เบื้องต้นเห็นว่ารัฐบาลควรต้องรับผิดชอบเพราะได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าทุกสาย

ซึ่งนโยบายของนายชัชชาติกับรถไฟฟ้า BTS มี 5 ข้อ ได้แก่
1. ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 อย่างแน่นอน และไม่ผ่านกระบวนการตาม พ.ร.บ ร่วมทุน ที่มีกระบวนการเรื่องความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล การขอต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 เป็นเรื่องของ ม.44 ที่เห็นว่ากรรมการพิจารณาไม่กี่คน ประชุมกัน 10 ครั้ง สามารถชี้ชีวิตของคนกทม. 1 รุ่นเลย ถ้ามีคนจบใหม่วันนี้ ต้องทนกับค่าโดยสาร BTS ไปจนถึงเกษียณอายุ 60 ปี เปลี่ยนอะไรไม่ได้ โดยหากจะทำ ต้องทำตาม พรบ. ร่วมทุน

2. กทม. ต้องเจรจากับเรื่องนี้ เพราะมีส่วนขยาย 2 ที่ ทางรฟม. โยนหนี้มาให้ กทม. ราว 60,000 ล้านบาท และมีค่าอื่น ๆ รวมหนี้เป็น 100,000 ล้านบาท ซึ่งเรื่องหนี้ผมคิดว่า เป็นการใช้เงื่อนไขในการขยายสัมปทานให้ โดยอ้างว่า กทม. ไม่มีเงินจ่ายหนี้ ดังนั้นต้องเจรจาเรื่องหนี้ไปก่อนเลย โดยให้รัฐรับผิดชอบในเรื่องการโยธาไป

3. ปัจจุบันเราให้วิ่งส่วนต่อขยายฟรีมาเกือบ 3 ปี ทำให้หนี้มันยิ่งพอกพูนขึ้นมาก มันเหมือนเป็นหนี้ที่รัดเราให้แน่นขึ้น ดังนั้นต้องรีบคุยเรื่องการเก็บค่าโดยสารส่วนนี้ เพราะสุดท้าย ผู้โดยสารส่วนขยาย 2 มันช่วยไปเติมให้ผู้โดยสารส่วนกลาง ซึ่งเป็นรายได้หลักของ BTS อยู่ จึงต้องอาศัยตรงนี้เป็นตัวต่อรอง และคิดราคาที่เหมาะสม แล้วเก็บค่าโดยสารเพิ่ม เพื่อลดหนี้ให้น้อยลง

4. ต้องเปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถจนถึง 2585 ว่าต้นทุนเป็นเท่าไหร่ โดยหลังปี 2572 เป็นต้นไป กทม. จะคิดค่าโดยสารเท่าไหร่ก็ได้ เพราะถ้ายังไม่ต่อสัญญาสัมปทาน รายได้ทั้งหมดเป็นของ กทม. อยู่แล้ว แต่ต้องรู้ว่า ต้นทุนที่ต้องจ่ายให้ BTS เป็นเท่าไหร่ เนื่องจาก กทม. ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนได้ และยังมีเรื่องที่ไปร้องเรียน ป.ป.ช. อยู่ด้วย

5. ต้องหา ‘รายได้อื่น’ มาประกอบ คือระบบการเดินทาง จะมีรายได้ 2 ส่วน คือรายได้จากค่าโดยสารที่ปัจจุบันอยู่ที่ 44+15 = 59 และตัวใหม่จะอยู่ที่ราคา 65 บาท สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีการโฆษณา มีพื้นที่ให้เช่าที่เป็นรายได้ทั้งนั้น และหลังปี 2572 ไปแล้ว รายได้ส่วนนี้ทั้งหมด ควรจะเข้ารัฐด้วย ซึ่งหลังปี 2572 รายได้จากค่าโฆษณา ค่าเช่าที่ต่างๆ ควรจะเข้า กทม. เต็มเม็ดเต็มหน่วย หากดูงบประมาณทางเอกชน รายได้ส่วนนี้อยู่ที่ปีละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งนำมาจุนเจือค่าโดยสารได้

ผบ.ตร.ติวเข้ม ความพร้อมเอเปค เผยรัฐบาลให้ความสำคัญด้านปลอดภัย คุมเข้มเส้นทาง รับมือตอบโต้ภัยคุกคาม วอนประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตา เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย 

วันนี้ (31 ต.ค. 65) เวลา 14.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กต. สธ. กทม. ฯลฯ เข้าร่วมประชุมพิจารณาแผนการปฏิบัติใน "การจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ.2565" โดยละเอียด ตรวจสอบทุกๆ การปฏิบัติ เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยและการจราจรและพิธีการเข้าเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับ การจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคฯ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจร ฯ  โดยมี พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มอบหมายให้ ตร. เป็นหลักในการขับเคลื่อน โดยในวันนี้ ตร. ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือในด้านมาตรการการรักษาความปลอดภัยเส้นทางและสถานที่ต่างๆ ตามข้อห่วงใยของ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร ฯ​ รวมถึงการข่าวที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการประชุม การเตรียมแผนการปฏิบัติหลัก แผนรอง แผนฉุกเฉินหรือแผนเผชิญเหตุ 

โดยก่อนหน้า ครม.อนุมัติ 16-18 พ.ย.65 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะพื้นที่ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ  และคาดว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมให้ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เป็นวันหยุดด้วย ส่วนในวันนี้ที่ประชุมของ ตร. ได้มีมติให้ปิดการจราจรถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และจะมีการ "ปิดใช้บริการสถานี MRT ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์" ในวันที่ 16-19 พ.ย.65 โดยจะมีการจัดรถบัส รับ-ส่ง (shuttle bus) จำนวน 6 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่อาศัยหรือทำงานอยู่บริเวณใกล้เคียง  ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยอย่างสูงสุดสำหรับสถานที่จัดการประชุม จึงอยากประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน 

ส่วนกำหนดการซักซ้อมการปฏิบัติรูปขบวนรถและเส้นทางการเดินทาง ตลอดจนแผนเผชิญเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในห้วงวันที่ 6 – 12 พ.ย.65 จะได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบในภายหลัง ทั้งนี้ ได้กำชับการปฏิบัติของหน่วยงาน ตร. และหน่วยงานต่างๆ ให้ตรวจสอบ"ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซักซ้อมการปฏิบัติแผนที่รับผิดชอบและแผนการปฏิบัติภาพรวมทุกแผน พิจารณาปรับปรุงแผน และการปฏิบัติให้ครอบคลุมทุกสถานการณ์ ทุกพื้นที่    

ผบ.ตร. กล่าวอีกว่า รัฐบาล และ ตร. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนในการแจ้งเบาะแส ข้อมูลหรือสิ่งผิดปกติให้กับ ตร. ได้ตลอดเวลา ที่สายด่วน 191 หรือ 1599 ทั้งนี้ หากการแจ้งเบาะแส ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนสอบสวนและนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องหา โดยจะพิจารณามอบรางวัลนำจับให้กับผู้แจ้งเบาะแส หรือ ในการให้ข้อมูลตามแต่ละกรณี

เลอะเลือนขั้นสุด!! 'โจ ไบเดน' เรียกชื่อนายกฯ ใหม่อังกฤษผิด | THE STATES TIMES Y WORLD EP.14

เลอะเลือนขั้นสุด!!

'โจ ไบเดน' เรียกชื่อนายกฯ ใหม่อังกฤษผิด

จาก 'ริชี ซูนัค' เป็น 'ราชี ซานุก'

.

ไปรับชมความอ๊องได้ใน THE STATES TIMES Y World 

‘นิด้าโพล’ เผย Top 5 นายกฯ ของคนกรุงเทพฯ ‘กรณ์’ ติดโผ โปรไฟล์ ‘ศก.-การเมืองรุ่นใหม่’ พาเบียด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคน กทม.’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-27 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคน กทม. การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า…

อันดับ 1 ร้อยละ 20.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนมีความมุ่งมั่น มีความรู้ความสามารถ เป็นคนรุ่นใหม่ และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล 

อันดับ 2 ร้อยละ 15.20 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนมีความซื่อสัตย์ ชื่นชอบผลงาน ทำให้บ้านเมืองสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง 

อันดับ 3 ร้อยละ 14.10 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ และต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ 

‘PMOC’ แจงอีกครั้งปมให้ต่างด้าวถือครองที่ดิน ชี้ กฎหมายมีมาตั้งแต่ปี 2497 เพียงปรับให้เข้ากับยุคสมัย

เพจเฟซบุ๊ก ‘ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC’ ได้โพสต์ข้อความชี้แจงถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ต่างชาติสามารถซื้อที่ดินได้ 1 ไร่ โดยระบุว่า ..

จากความกังวลของสังคมเกี่ยวกับกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา เนื่องด้วยกฎหมายฉบับดังกล่าว เกี่ยวข้องกับที่ดิน และชาวต่างชาติ อันเกี่ยวพันกับความรู้สึกด้านความมั่นคงของพี่น้องประชาชนชาวไทย

ในข้อเท็จจริงแล้ว ประเทศไทย ออกกฎหมายอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 แล้ว แต่กฎหมายฉบับก่อนนี้ มีความเข้มงวดมากกว่า ในขณะที่กฎหมายที่ดินในยุคหลัง ผ่อนคลายมากกว่า ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป

นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ มีศักดิ์ทางกฎหมายเป็น 'กฎกระทรวง' ซึ่งเป็นกฎหมายลูก จะต้องคล้อยตาม ไม่ขัดแย้งกับ 'ประมวลกฎหมายที่ดิน' ซึ่งมีศักดิ์เป็น 'พระราชบัญญัติ' เป็นกฎหมายแม่ 

กฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นการออกตามกรอบที่ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 ทวิ (ปรับปรุงล่าสุด พ.ศ. 2542) กำหนดไว้ ซึ่งมาตราดังกล่าวกำหนดให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

- ต้องเป็นผู้ลงทุนในประเทศไทย โดยมีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท

- การลงทุนข้างต้น ต้องเป็นการลงทุนที่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

- ชาวต่างชาติผู้ลงทุน ต้องลงทุนในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ปี

- ชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top