Saturday, 12 July 2025
ค้นหา พบ 49357 ที่เกี่ยวข้อง

‘เสรีพิศุทธ์’ รื้อผลงานเก่า โชว์ฝีมือจับพนันกลางสภา สอนเชิง ‘นายกฯ’ นำไปแก้ปัญหา เจอฝ่ายรัฐบาลลุกประท้วงวุ่น

ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย อภิปรายว่า การที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีร้อยนายกฯ ก็แก้ปัญหาบ่อนไม่ได้ เป็นการดูถูกอดีตนายกฯ ทำไมการพนันถึงอยู่ยั่งยืนยง เพราะเป็นการขอจับ

ซึ่งเป็นข้อตกลงกับเจ้าหน้าที่ของรัฐกับบ่อนการพนัน จับเฉพาะนักการพนัน แต่เจ้าของบ่อนไม่ถูกจับ แล้วก็มีการจัดฉาก บ่อนประตูน้ำอยู่มา 30 ปีไม่เคยถูกจับ แต่สมัยตนสามารถทำได้ แค่เป็นนายพันยังทำได้ แต่ทำไมระดับนายพลถึงทำไม่ได้ สิ่งที่ตนพูดเพื่อให้นายกฯ ไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ อภิปรายเกี่ยวกับบ่อนการพนัน ได้มี ส.ส.จากพรรคพลังประชารัฐ อาทิ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม.ประท้วงว่าพูดวกวนซ้ำซาก น่าเบื่อหน่าย ไม่ต้องเอาอดีตมาอวดอ้าง ทำเก่ง ใครก็รู้ทำไมถึงปราบเฉพาะบ่อนประตูน้ำ แต่ไม่ปราบบ่อนกิ่งเพชร เพราะอะไรใครก็ทราบ เพราะเป็นเพื่อนภรรยาท่านหรือไม่ รวมทั้ง นส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ อภิปรายไม่ตรงประเด็น และขอให้พูดเลยว่านายกฯ ทำผิดอะไร

ขณะเดียวกันส.ส.ฝ่ายค้าน อาทิ พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย นายวิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายเรวัต วิศรุตเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ประท้วงว่าสิ่งที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เป็นการชี้ให้เห็นว่าว่าการแก้ไขปัญหาบ่อนควรทำอย่างไร เพื่อสอนให้นายกฯ ดู จะได้แก้ไขปัญหาได้ถูก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้เปิดคลิปการจับกุมบ่อนประตูน้ำ และบ่อนลอยฟ้า จึงทำให้ถูกประท้วงจาก ส.ส.รัฐบาล และประธานในการประชุม ตักเตือนหลายรอบให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เข้าประเด็นว่านายกฯ ทำผิดอะไร และเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ไม่เกี่ยวกับนายกฯ แต่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยังยืนยันที่จะพูด โดยอ้างว่านายกฯ ไม่มีความรู้ความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้

หลังจากนั้น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็ให้นายวิรัตน์ นำเอกสารไปให้นายกฯ ไปศึกษาวิธีปราบบ่อนควรจะทำอย่างไร ต่อมาพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้เปิดคลิปเกี่ยวกับการจับบ่อนการพนันที่พระราม 3 ทั้งจากการแถลงข่าวของนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และภาพข่าว รวมทั้งการให้สัมภาษณ์ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกฯ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า ขอบคุณ ส.ส.ยุทธพงศ์ที่เปิดโปง แต่ตำรวจก็เป็นใหญ่เป็นโตและยังเสวยสุขอยู่


ที่มา: https://siamrath.co.th/n/220508

ย้อนเวลากลับไปในวันนี้เมื่อ 33 ปีก่อน มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อมีข่าวประกาศอย่างเป็นทางการ ‘เรื่องการยุติการปะทะกันของไทย - ลาว ณ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า’ เป็นผลให้เกิดความสงบสุขกลับคืนมา ระหว่างพี่น้องสองฝั่งโขง

กล่าวถึง ‘สมรภูมิบ้านร่วมเกล้า’ เป็นการรบระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ณ บริเวณบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เหตุที่มาของการรบกันครั้งนี้ เกิดจากกรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างไทยกับลาว เนื่องจากยึดถือพรมแดนจากแผนที่คนละฉบับ ซึ่งสืบย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อครั้งไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส

เมื่อเวลาผ่านมา หลังจากฝรั่งเศสคืนเอกราชให้ประเทศลาว พื้นที่บริเวณนี้ (บ้านร่มเกล้า) จึงกลายเป็นพรมแดนที่มีความทับซ้อนกันระหว่างไทยและลาว จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันเรื่อยมา

กระทั่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ประกาศผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบ เป็นที่มาของ ‘ยุทธการบ้านร่มเกล้า’ ทหารฝ่ายไทยและฝ่ายลาวเกิดการปะทะกันอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดความสูญเสียเป็นอย่างมาก

การรบสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หลังจากฝ่ายไทยได้ใช้กองทัพอากาศโจมตีเข้าไปในดินแดนลาว 30–40 กิโลเมตร และฝ่ายลาวโดยนายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น ได้เจรจาขอหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และเสนอให้ถอนกำลังของทั้งสองฝ่ายออกจากกันเป็นระยะ 3 กิโลเมตร

ในเวลาต่อมา ประเทศไทยและประเทศลาว ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - ลาว (JBC) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เพื่อปักปันพรมแดนซึ่งมีความยาว 1,810 กิโลเมตร นับถึงวันนี้ ยังคงมีการจัดการประชุม JBC ไทย - ลาว กันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อพูดคุย หารือ และร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนทั้งสองประเทศเป็นที่ตั้ง


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki

คนไทยรู้จักขุนนางผู้กล้า ‘พระยาพิชัยดาบหัก’ กันเป็นอย่างดี โดยอนุสาวรีย์ที่ประดิษฐานของท่านนั้น ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งวันนี้เป็นวันครบรอบ 52 ปี ที่มีการเปิด ‘อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก’ ขึ้น เพื่อเป็นที่สักการะและระลึกถึงเกียรติยศของขุนนางผู้นี้

ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ พระยาพิชัยดาบหัก เป็นขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีชื่อเสียงในชั้นเชิงการต่อสู้ ทั้งมือเปล่าแบบมวยไทย และอาวุธแบบกระบี่ กระบอง เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2288 โดยศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ทองดี

ต่อมานายทองดีเข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น ‘หลวงพิชัยอาสา’ ก่อนจะมีบรรดาศักดิ์ที่สูงขึ้น โดยเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และตำแหน่งสูงสุดคือ เป็น ‘พระยาพิชัย’ ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย

ครั้งหนึ่งข้าศึกยกทัพมาตีเมืองพิชัย 2 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 2 พระยาพิชัยถือดาบสองมือออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ จึงเป็นที่มาของสมญานาม ‘พระยาพิชัยดาบหัก’

พระยาพิชัยดาบหัก เป็นตัวอย่างของบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ รวมถึงความรักและหวงแหนในแผ่นดิน ด้วยเกียรติยศเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของอนุสาวรีย์ของท่าน ที่ตั้งประดิษฐานไว้ที่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงคุณงามความดี ซึ่งไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี คุณความดีก็จะยังคงอยู่สืบไป


ที่มา: http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/19524

การนับวัน เดือน ปี โดยลงท้ายด้วย ‘พุทธศักราช’ ถือเป็นความคุ้นเคยของคนไทยตลอดมา แต่หากถามว่า จุดเริ่มต้นที่มีการใช้การกำหนดปีด้วย ‘พุทธศักราช’ หรือ ‘พ.ศ.’ นั้น มีความเป็นมากว่า 109 ปีแล้ว

โดยก่อนหน้าที่จะมีการใช้พุทธศักราช ประเทศไทยใช้รัตนโกสินทร์ศก หรือ รัตนโกสินทร์ศักราช (ร.ศ.) มากว่า 24 ปี (พ.ศ. 2432 – 2455) ทั้งนี้ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ถูกกำหนดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มนับจากปีที่มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง คือ พ.ศ. 2325 ให้นับเป็นรัตนโกสินทร์ศก 1 หรือ ร.ศ. 1

จวบจนเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่าง ๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ. 2455) ให้ใช้ ‘พระพุทธศักราช’ ในราชการทั่วไป โดยถือเอาวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นวันเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้การนับปีแบบพุทธศักราชอยู่หลายประเทศ อาทิ ประเทศไทย กัมพูชา และ สปป.ลาว โดยใช้หลักเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี ต่างจากประเทศศรีลังกาและเมียนมา ที่เริ่มนับปีพุทธศักราช ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน จึงทำให้พุทธศักราชของศรีลังกาและเมียนมา เร็วกว่าของประเทศไทย 1 ปี

นับจากอดีตสู่ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโครงการสร้างเขื่อนต่าง ๆ อยู่มากมาย และในวันนี้เมื่อ 35 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเปิด ‘เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล’ จังหวัดเชียงใหม่

ที่มาของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อทำการชลประทานให้แก่พื้นที่เพาะปลูกบริเวณที่ราบเชิงเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำ รวมทั้งยังช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำปิง สามารถบรรเทาน้ำหลากเข้าท่วมเมืองเชียงใหม่ มากไปกว่านั้น ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ สร้างประโยชน์แก่ชาวประมงน้ำจืดด้วยอีกทาง

และเนื่องจากเป็นเขื่อนที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุดถึง 26.5 ล้านลูกบาสก์เมตร และมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ 24.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ใช้เวลาในการก่อสร้างกว่า 8 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2528 กระทั่งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดเขื่อนอย่างเป็นทางการ และนับถึงวันนี้ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ยังคงสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกร และรวมถึงประชาชนที่สามารถเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจยังเขื่อนแห่งนี้ เนื่องจากถูกประยุกต์ให้มีที่พัก และมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top