Friday, 4 July 2025
ค้นหา พบ 49191 ที่เกี่ยวข้อง

‘นายกฯ ผู้ดี’ โชว์พาว!! เซ็นข้อตกลง พร้อมส่งทหาร ปกป้องสวีเดน ฟินแลนด์ หากถูกรัสเซียรุกราน

หลังจาก ‘สวีเดน’ และ ‘ฟินแลนด์’ จ่อเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ ‘นาโต’ (NATO) ด้าน บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็ได้เดินทางไปพบนาง แม็กดาเลนา แอนเดอร์สัน ผู้นำหญิงคนล่าสุดของสวีเดน เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อเซ็นข้อตกลงด้านความมั่นคงร่วมกัน โดยสาระสำคัญอยู่ที่ ความพร้อมในการยกกองทัพมาช่วยสวีเดนทันที หากโดนรัสเซียรุกราน

บอริส จอห์นสัน กล่าวว่า ข้อตกลงนี้จะเป็นการเสริมกำลังให้กับชาติในยุโรปเหนือจากภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ และยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรายังคงอยู่ตลอดไป

ผู้นำอังกฤษ ยังกล่าวย้ำอีกว่า นี่ไม่ใช่ข้อตกลงแค่ชั่วคราว แต่จะเป็นความผูกพันด้านการทหารที่ยาวนาน และเมื่อใดก็ตามที่พันธมิตรของเราประสบภัยพิบัติ หรือถูกรุกรานโจมตี ขอเพียงแค่บอกมา อังกฤษพร้อมส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือทันที

และไม่ใช่เพียงแค่สวีเดนเท่านั้น บอริส จอห์นสัน ยังเดินทางไปเยือนฟินแลนด์ และเซ็นข้อตกลงเช่นเดียวกันนี้กับฟินแลนด์ด้วย

ข้อตกลงร่วมนี้ เกิดขึ้นขณะที่ 2 ชาติในกลุ่มนอร์ดิกกำลังกังวลใจกับการรุกรานของรัสเซียในยูเครน และเคยได้กล่าวว่าอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO หรือไม่ 

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ รับเยี่ยมคำนับจาก เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ พร้อมคณะฯ ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย

(12 พ.ค.65) พลเรือเอกสุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ รับเยี่ยมคำนับ พลเรือตรี Seah Poh Yeen เจ้ากรมยุทธการทหารเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ พร้อมคณะ ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2565 เพื่อเข้าร่วมประชุม RSN-RTN Navy to Navy Staff Talks (NTNST) ระหว่างกองทัพเรือ – กองทัพเรือสิงคโปร์ ครั้งที่ 4 โดยขอเข้าเยี่ยมคำนับ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เพื่อแนะนำตัว ณ กองบัญชาการกองเรือยุทธการ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี การนี้ ทั้งสองฝ่ายยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ซึ่งเห็นว่าการฝึกผสม SINGSIAM ที่ได้ร่วมการฝึกมามากกว่า 40 ปี เป็นเครื่องหมายยืนยันความเป็นพันธมิตรที่มั่นคงและยั่งยืนของทั้งสองประเทศ 

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สร้างการรับรู้ ยับยั้งและรู้เท่าทันข่าวปลอม (Stop Fake,Spread Facts)

(12 พ.ค.65) สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดกิจกรรมเชิงวิชาการประชุม ระดมความคิดเห็น  ร่วมกับผู้แทนภาคสื่อมวลชน และผู้แทนภาคประชาชน ทุกเจนเนอเรชั่น ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี

นับเป็นกิจกรรมแรก ในการสร้างเครือข่ายและร่วมกันหาแนวทาง การรณรงค์ต้านข่าวปลอม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย ด้วยทีมนักวิชาการ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์ หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์ และอาจารย์สุดถนอม รอดสว่าง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้แทนทุกภาคส่วนใน จังหวัดชลบุรี เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้สังคมได้ตระหนักรู้ในปัญหาข่าวปลอม ที่เป็น Soft Crisis ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบความคิด (Mindset) และพฤติกรรมการแสดงออกเชิงลบและที่สำคัญ เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ในการรณรงค์กับภาคสื่อมวลชนและภาคประชาชน ทั่วประเทศ โดยใช้กลยุทธ์ ประสานความร่วมมือ (Collaborative Strategy) กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมสื่อสารและแพร่กระจายข่าวสาร ข้อเท็จจริงเชิงสร้างสรรค์ ลดข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ โดยเริ่มจากการวิจัยวิเคราะห์สภาพปัญหาทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการจัดประชุมระดมความคิดเห็นศึกษาแนวทาง ในการกำกับดูแลกลไก การขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม

จากนั้น ได้นำผลการศึกษามาสังเคราะห์เป็นคู่มือ สำหรับภาคสื่อมวลชนและภาคประชาชน ด้วยการนำแนวคิดที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารควบคู่กับกิจกรรมการรณรงค์ ที่ใช้ชื่องานว่า “Fact-Story Festival” ที่จะจัดให้กับสื่อมวลชนและประชาชน ผู้รับข่าวสารในจังหวัด ที่เป็นตัวแทนของทุกภูมิภาค

นายกฯ พบภาคเอกชนสหรัฐฯ ผลักดัน 3R พา 'ศก.อาเซียน-สหรัฐฯ' ก้าวหน้ายุค Next Normal

'บิ๊กตู่' เผย ไทยเดินหน้า ผลักดัน ความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน เศรษฐกิจดิจิทัล การเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับ การรักษาสิ่งแวดล้อม

(13 พ.ค. 65) ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2565 เวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ณ โรงแรม Willard InterContinental กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมผู้นำและผู้แทนชาติสมาชิกอาเซียนพบปะผู้นำภาคเอกชนสหรัฐอเมริกา โดยมี นางจีน่า เรมอนโด (Gina M. Raimondo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา และนางแคทเธอรีน ไท่ (Katherine Tai) ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมด้วย 

นายธนกร สรุปคำกล่าวของนายกรัฐมนตรี ไว้ดังนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้มาพบหารือ ซึ่งที่ผ่านมามีโอกาสพบปะและพูดคุยกับสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน (USABC) ในหลายโอกาส พร้อมชื่นชมภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่สนับสนุน และมีส่วนร่วมที่แข็งขันในการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน จึงทำให้ต้องกลับมาทบทวนเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง โดยไทยให้ความสำคัญกับการสร้าง “พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต” เพื่อให้ภูมิภาคมีการเติบโตที่เข้มแข็งและยั่งยืนในยุค Next Normal ต่อไป ซึ่งประเด็นหลักที่อาเซียนกับสหรัฐฯ สามารถร่วมกันผลักดันมี 3 เรื่อง หรือ “3R” ได้แก่

“Reconnect” ส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งภาคเอกชนสหรัฐฯ สามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเชื่อมโยงนี้ ผ่านการลงทุนขยายฐานการผลิตในภูมิภาค โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่อาเซียนมีศักยภาพและทรัพยากรรองรับ ซึ่งไทยมีพื้นที่ EEC ที่พร้อมเปิดโอกาส ให้ภาคเอกชนสหรัฐฯ เข้ามาร่วมลงทุน เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่ห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯ รวมถึงจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคในไทยเพื่อใช้เป็นฐานในการเชื่อมโยงธุรกิจกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค โดยสาขาอุตสาหกรรมที่สามารถร่วมมือกันได้ คือ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และบริการทางการแพทย์ โลจิสติกส์อัจฉริยะ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

สำหรับสาขาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมกลางน้ำ และปลายน้ำที่แข็งแกร่ง และมีบริษัทเอกชนสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนแล้วหลายราย จึงขอเชิญชวนให้ภาคเอกชนสหรัฐฯ พิจารณาลงทุนเพิ่มเติมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทาน อาทิ ต้นน้ำของเซมิคอนดัคเตอร์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งไทยมีนโยบายมุ่งสู่การเป็นฐานการผลิต EV ระดับโลก โดยการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ผลิต EV และผู้พัฒนาระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง อาทิ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนสำคัญ และสถานีชาร์จ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านและสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐฯ ได้ด้วย

R ที่สอง คือ “Rebuild” ในยุค 4IR ควรมุ่งพัฒนาและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค ซึ่งมีศักยภาพในการขยายตัวได้ถึงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2030 พร้อมกล่าวเชิญชวนภาคเอกชนสหรัฐฯ ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอาเซียน เช่น โครงข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีคลาวด์ในอุตสาหกรรมการผลิต ดาต้าเซ็นเตอร์ และการให้บริการคอนเทนต์ ตลอดจนการสนับสนุนการพัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจดิจิทัลสตาร์ตอัป ทั้งนี้ ไทยมีไทยแลนด์ดิจิทัลวัลเลย์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ EECi ที่ภาคเอกชนสหรัฐฯ สามารถเข้ามาร่วมพัฒนาธุรกิจดิจิทัล และขยายไปสู่ภูมิภาคได้

“พม.” ร่วม “สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต” จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 19

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมศักยภาพองค์กรเครือข่ายการเชื่อมโยงการทำงานช่วงสถานการณ์ การเกิดโรคระบาด และประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2564 พร้อมมอบโล่รางวัลเพื่อแสดงว่า บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นรายการสื่อดีเด่นที่ช่วยเหลือสังคมในภาวะยากลำบาก

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ที่ห้องประชุมชลพฤษ์ รีสอร์ท ตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้รับเกียรติจาก ท่านณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิด ประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมศักยภาพองค์กรเครือข่ายและการเชื่อมโยงการทำงานช่วงสถานการณ์การเกิดโรคระบาด และการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2564  


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top