‘Freeze/Stop and don't move’ คำสั่งเรียบง่ายแต่เด็ดขาด ของตำรวจสหรัฐฯ

จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองเชียงใหม่ ได้เดินทางไปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ได้พบเห็นนักท่องเที่ยวชายชาวญี่ปุ่นกำลังจะปล่อยโคมซึ่งอาจลอยไปตกใส่บ้านเรือนอาคารร้านค้าทำให้เกิดเพลิงไหม้สร้างความเดือดร้อนได้ จึงได้เข้าไปพูดคุยห้ามปราม แต่นักท่องเที่ยวคนดังกล่าวไม่ยอมฟังและโต้เถียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนกระทั่งมีการดึงคอเสื้อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกลายเป็นคลิปเผยแพร่ไปทั่ว (https://www.facebook.com/reel/1000054821913998) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนายดังกล่าวไม่ได้ติดใจเอาความแต่อย่างใดจึงไม่ได้ดำเนินคดี เพราะไม่ต้องการให้เป็นภาพจำที่ไม่ประทับใจของนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ในเทศกาลปีใหม่ 

สมมติว่า กรณีนี้เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวชาวไทยไปกระทำการเช่นนี้ในประเทศญี่ปุ่นแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ตำรวจญี่ปุ่นจะยอมรับคำขอโทษ เลิกแล้วต่อกันและไม่ดำเนินคดีกับนักท่องเที่ยวชาวไทยรายนั้นหรือไม่? เช่นเดียวกับหากกรณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่แล้วนักท่องเที่ยวรายนี้เป็นชาวไทยแล้วจะได้รับการเว้นโทษ ไม่ได้ติดใจเอาความและไม่ดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ในหมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน (มาตรา 136 - 146) มาตราใดมาตราหนึ่งหรือไม่? เหตุการณ์นี้ชวนให้นึกถึงคำว่า ‘Freeze/Stop and don't move’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘หยุด...อย่าขยับ’ ปรากฏทั้งในภาพยนตร์และชีวิตจริงโดยเป็นคำสั่งของตำรวจอเมริกันให้ผู้ต้องสงสัยต้องหยุดอยู่นิ่งระหว่างการตรวจค้นหรือจับกุม 

คำว่า ‘Freeze’ นอกจากจะเป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ผู้ต้องสงสัยหยุดนิ่งแล้ว อีกความหมายหนึ่งที่ใช้ในแวดวงของกฎหมายคือ การยึดอายัดทรัพย์สินต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย ทุกประเทศบนโลกใบนี้ถือว่า การขัดขืนการจับกุมหรือแม้แต่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นคำว่า ‘Freeze/Stop and don't move’ หรือ ‘หยุด...อย่าขยับ’ จึงเป็นคำสั่งที่ชัดเจน เรียบง่าย และเข้าใจได้ง่าย บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐฯ มีการใช้อาวุธปืนกับผู้ต้องสงสัยเมื่อสั่งให้ผู้ต้องสงสัยหยุดแล้วไม่ปฏิบัติตาม แม้ว่าผู้ต้องสงสัยรายนั้นจะไม่มีอาวุธปืนก็ตาม  เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงผู้ต้องสงสัยรายนั้นจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ยิงจะไม่มีความผิดแต่อย่างใด โดยถือเป็นการป้องกันตัวที่สมควรแก่เหตุ 

ดังนั้นคำว่า "ตำรวจ! หยุด อย่าขยับ!" (Police! ‘Freeze/Stop and don't move’) จึงเป็นคำสั่งที่ประชาชนพลเมืองอเมริกันต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แม้บางคนจะปฏิบัติตาม หรือบางคนไม่ยอมปฏิบัติตาม แต่เป็นที่รู้โดยทั่วไปว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจอเมริกันได้รับอนุญาตและได้รับการฝึกอบรมให้ใช้กำลังทุกรูปแบบที่จำเป็นเพื่อบังคับให้ผู้ต้องสงสัยทุกคนปฏิบัติตามคำสั่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจเองหรือประชาชนพลเมืองคนอื่น ๆ รวมถึงการใช้กำลังถึงชีวิต (ซึ่งคนอเมริกันบางส่วนไม่ได้ตระหนักถึง) 

ดังนั้น วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดของสุจริตชนอเมริกันคือ การปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเคร่งครัดในทันที โดยปิดปากเงียบ ไม่โต้เถียง หรือขัดขืน และเชื่อฟังทันที หากให้ความร่วมมือ และถามคำถามหลังจากที่เจ้าหน้าที่พูดจบแล้ว ต้องยึดหลักที่ว่า "ปฏิบัติตามตอนนี้ เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง"  ปิดปากและเชื่อฟังทันที หากคุณให้ความร่วมมือ อย่าขัดขืน และถามคำถามหลังจากที่เจ้าหน้าที่พูดจบแล้วแม้จะมีช่องว่างมากมายที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพูดคุยเจรจาได้ “จงอย่าได้ชนะคดีในศาล แต่เป็นเพียงคนที่ตายไปแล้ว”

อันที่จริงแล้วกระบวนการยุติธรรมของบ้านเรานั้นมีปัญหาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่กรมราชทัณฑ์สามารถลดโทษระยะเวลาการจำคุกนักโทษเด็ดขาดที่ศาลตัดสินแล้วลงได้อย่างมากมาย หรือกรณีอาชญากรต่างชาติที่หลบหนีมาบ้านเราแล้วทางการประเทศนั้น ๆ ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยจับกุมตัว ซึ่งเมื่อจับกุมตัวได้แล้วสำนักงานตำรวจแห่งชาติมักจะใช้วิธีการยกเลิกวีซ่าแล้วผลักดัน/เนรเทศบุคคลผู้นั้นออกไปนอกราชอาณาจักรภายใต้การควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศที่ร้องขอทันที ไม่ต้องผ่านการพิจารณาของศาลไทยว่าเข้าเงื่อนไขการส่งผู้ร้ามข้ามแดนตามข้อตกลงกับประเทศนั้น ๆ หรือไม่ ในขณะที่อาชญากรที่กระทำความผิดในไทยแล้วหลบหนีไปยังต่างประเทศแล้ว มักไม่ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติเช่นการปฏิบัติของฝ่ายไทยเลย

ดังเช่นกรณีของนายราเกซ สักเสนา ซึ่งถูกดำเนินคดีข้อหายักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ เป็นเงิน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2539 แล้วหลบหนีไปอาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา แม้ว่าทางการไทยจะออกหมายจับตั้งแต่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และนายราเกรซถูกจับกุมโดยกองตำรวจม้าหลวงแห่งแคนาดา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 แต่กว่าที่นายราเกรซจะถูกศาลแคนาดาตัดสินให้ส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนต้องใช้เวลาถึง 12 ปี จึงได้ตัวนายราเกรซมาดำเนินคดี กรณีเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องนำมาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม ยุติธรรม และเท่าเทียม ในการบังคับใช้กฎหมายโดยเร็ว


เรื่อง: ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล 

👍 ติดตามผลงาน อาจารย์ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/author/ดร.ปุณกฤษ%20ลลิตธนมงคล