Wednesday, 24 April 2024
VIDEO

คุณปอนด์ สุทธินันท์ ดวงภุมเมศร์ | THE STUDY TIMES STORY EP.6

บทสัมภาษณ์ คุณปอนด์ สุทธินันท์ ดวงภุมเมศร์ นักเรียนทุนรัฐบาล UIS ปริญญาโท Master of Public Administration, Cornell University, สหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากความรู้ การเรียนต่างประเทศให้วิธีคิดที่กว้างและประสบการณ์ชีวิตที่หาที่ไหนไม่ได้

ปัจจุบัน คุณปอนด์ เรียนปริญญาโทอยู่ที่ Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาการจัดการภาครัฐและองค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร ในภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยได้รับทุน UiS ซึ่งเป็นทุนของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ช่วงสมัยเรียนปริญญาตรี กระทั่งเรียนจบได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง ปฏิบัติการปลัดอำเภอ ในกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

คุณปอนด์อธิบายว่า ทุนนี้ไม่ได้มีเฉพาะกรมการปกครอง ยังมีอีกหลากหลายหน่วยงานของรัฐบาล แต่จะเปิดในช่วงปีการศึกษาที่ 2 ของการเรียนปี 3 เพื่อให้เด็กมีโอกาสในการรับทุน จบมหาวิทยาลัยช่วงปริญญาตรี จะได้มีโอกาสในการเข้าไปฝึกงานหรือทำงานในภาครัฐ ก่อนที่จะตัดสินใจรับทุนต่อเพื่อไปเรียนต่างประเทศ หรือหากไปทำงานจริงแล้วเกิดไม่ชอบในระบบราชการก็สามารถลาออกก่อนจะรับทุนในช่วงที่ 2 ของการไปเรียนต่อต่างประเทศ ได้

ในช่วงการคัดเลือกทุน คุณปอนด์เล่าว่า รอบแรกเป็นข้อเขียน สอบวิชาภาษาอังกฤษ วิชาความรู้ทั่วไป หลังจากนั้นจะคัด และมีวิชาสัมภาษณ์ และข้อเขียนรอบ 2 โดยในรอบสองจะเป็นวิชาการแปล การเขียน Essay ส่วนรอบสัมภาษณ์จะมีทั้งสัมภาษณ์เดี่ยว และกลุ่ม

แลกเปลี่ยน AFS
คุณปอนด์เล่าว่า เริ่มต้นช่วงป.6 ได้คุยกับแม่ว่าอยากไปเที่ยวอเมริกา แต่ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้ไม่ได้ไป ช่วงมัธยมตัวเองชอบพูดภาษาอังกฤษ สนุกที่ได้เรียนภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ พอมีเวลาช่วงม.4 ได้ลองสอบ AFS ดู ปรากฎว่าสอบผ่าน จึงได้ไปอเมริกาครั้งแรก 

การไปต่างประเทศถือเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตทั้งวิธีการคิด การเรียนรู้ เปลี่ยนทุกอย่างที่เคยประสบมาทั้งการเรียนและการใช้ชีวิต เพราะปกติคุณปอนด์เป็นเด็กที่อยู่ในกรอบ ไม่เคยขึ้นรถเมล์ ไม่เคยไปเที่ยวบ้านเพื่อน ไม่เคยออกไปไหน การไปอเมริกานับเป็นการออกจากบ้านครั้งแรกในชีวิต ไปอยู่สัปดาห์แรก ต้องกินข้าวในห้องน้ำ เพราะไม่มีเพื่อน อาย มีอุปสรรคในเรื่องภาษา กระทั่งมาคิดได้ว่าการมาแบบนี้ไม่ช่วยอะไร เลยฝ่าความกลัวของตัวเองออกไปลองผิดลองถูก สุดท้ายสิ่งที่ได้ไม่ใช่แค่เรื่องของภาษา แต่เป็นการกล้าลองทำทุก ๆ อย่าง   

สาเหตุที่คุณปอนด์เลือกเรียนในอเมริกานั้น เพราะเคยมีประสบการณ์อยู่มาแล้ว ทำให้สามารถหันไปโฟกัสที่การเรียนได้มากกว่าการปรับตัว ต่อมาคือเรื่องของความหลากหลายในอเมริกา ทั้งเชื้อชาติ อายุ อุดมการณ์ทางการเมือง ภาษาและวัฒนธรรม ความหลากหลายนี้ทำให้คุณปอนด์มองว่าการเรียนนโยบายสาธารณะที่สหรัฐอเมริกา จะทำให้สามารถนำกลับไปใช้ในเรื่องของการออกนโยบายสาธารณะในประเทศไทยได้

สิ่งที่ได้นอกเหนือจากความรู้ในการมาเรียนที่อเมริกาของคุณปอน คือ ประสบการณ์ และกระบวนการความคิด มุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม

ช่วงที่ไปอเมริกาครั้งแรกในการแลกเปลี่ยน AFS คุณปอนด์ได้พบกับ Culture shock หลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น ความตรงไปตรงมาของทุกคน สิ่งนั้นสอนให้ต้องตรงไปตรงมาในการพูด และอีกสิ่งคือลักษณะการยืนเพื่อตนเอง ต่อสู้เพื่อตัวเองในสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง การยืนกรานในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ ไม่เช่นนั้นเราจะถูกเอาเปรียบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของคนอเมริกัน ให้รู้ว่าสิทธิไหนเป็นสิทธิส่วนบุคคล และสิทธิไหนที่เราต้องต่อสู้

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งไหนที่เห็นว่าดีในอเมริกา อาจไม่สามารถนำไปใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในไทยได้ทั้งหมด เพราะบางครั้งโมเดลที่มีไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง การนำไปปรับใช้ต้องเลือกให้ดี โดยสิ่งที่คุณปอนด์คิดว่าควรมีในระบบการศึกษาไทย คือ กระบวนการคิด ที่มากกว่าการสอนให้เด็กรู้ การฝึกให้เด็กตั้งคำถาม วัฒนธรรมการตั้งคำถามโดยที่ไม่ให้เด็กรู้สึกอาย 

นอกจากเรียนและทำกิจกรรมแล้ว คุณปอนด์ยังได้แบ่งเวลามาทำงาน Part time โดยคุณปอนด์เล่าว่าเพราะมีช่วงที่เรียนหนักและเครียดมาก คุณปอนด์เลยหาช่วงที่จะได้พักผ่อน จากการใช้สมองอย่างหนัก จึงหางาน Part time ทำที่คลินิกในมหาลัย มีหน้าที่รับคนไข้ที่มาติดต่อ นำคนไข้ไปตรวจยังจุดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำงานในส่วนที่นำผู้ป่วยหรือนักเรียนที่สงสัยว่าเป็นโควิดไปเข้าตรวจ ส่วนตัวมองว่าการทำงานคือการได้พักผ่อนสมองจากเรื่องการเรียน และยังได้เงิน นอกจากนี้ยังได้รับการฉีดวัคซีนโควิดก่อน 

เรื่องของสังคมคนไทย กลุ่มเด็กไทยทุนรัฐบาล ที่ Cornell คุณปอนด์ได้มีบทบาทในการร่วมกิจกรรมมากมาย เล่าให้ฟังว่าด้วยความที่ Cornell ตั้งอยู่ค่อนข้างไกลจากเมือง ไม่ค่อยมีอะไรให้ทำเยอะ กลุ่มเด็กไทยที่อยู่จึงมีเวลาออกไปเที่ยว ไปเดินป่าด้วยกัน พบปะสังสรรค์ช่วงก่อนโควิด ทำกิจกรรม แลกเปลี่ยนความคิดความรู้ มีทั้งจากระดับปริญญาตรีและโท มีกรุ๊ปที่ชื่อว่า CTA ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มคนไทย ใครที่มาใหม่อยากจะให้พาทัวร์ พาไปซื้อของ มีเพื่อนๆ พี่ๆ คนไทยคอยช่วยซัพพอร์ต 

Cornell ถือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกและของอเมริกา ในแต่ละสายวิชาจะมีความถนัดแตกต่างกันไป เช่น Cornell มีความถนัดในเรื่องของสัตวแพทย์ การโรงแรม นอกเหนือจากนั้นต้องยอมรับว่า Cornell มีแคมปัสสวยเป็นอันดับต้น ๆ ของสหรัฐอเมริกา มีวิวที่สวยงาม มีครบทั้ง 4 ฤดู 

ในส่วนของการเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศนั้น คุณปอนด์แนะนำว่า เรื่องภาษาอังกฤษก็สำคัญ แต่ไม่ใช่ประเด็นเดียว คุณปอนด์เองได้มีการเลือกมหาวิทยาลัยไว้ 3 แบบ คือ 1.มหาวิทยาลัยที่อยากเรียน 2.มหาวิทยาลัยที่มีลุ้น 3.มหาวิทยาลัยที่คิดว่าติดแน่ๆ จากนั้นควรไปสอบวัดภาษาอย่างน้อยสองครั้ง เพื่อครั้งแรกไปลองข้อสอบ ครั้งที่สองดูข้อสอบและใช้ทริคที่ได้จากการสอบรอบแรก แต่ถึงแม้จะมีคะแนนภาษาอังกฤษน้อย ให้ลองแนบกิจกรรม เรซูเม่ เข้าไปด้วย สิ่งเหล่านี้จะสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนในที่นั้น ๆ ได้

คุณปอนด์ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า อยากให้เยาวชนรุ่นใหม่ของไทยทุกคนกล้าคิด กล้าลอง กล้าพูด กล้าทำ อย่าไปกลัว เพราะอุปสรรคเป็นเรื่องของอนาคต ถ้าไม่ลองเราจะไม่รู้ ประสบการณ์จะเป็นสิ่งที่ช่วยสอนเรา ว่าสิ่งไหนสมควร สิ่งไหนไม่สมควร ดังนั้นกล้าคิด กล้าลอง แล้วเราจะเป็นคนที่ไม่ได้เก่งเฉพาะความรู้เท่านั้น แต่จะเก่งในเรื่องความคิดและการแก้ปัญหา


.

.

.

Click on Clear THE TOPIC จับประเด็นเน้นความรู้ EP.1/2 ตอน การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ คือการต่อสู้ทั้งชีวิต

การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ คือการต่อสู้ทั้งชีวิต

พบกับ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Host & Content Creator THE STATES TIMES
.

.

คุณแอล ทักษ์ดนัย นิลกำแหง | THE STUDY TIMES STORY EP.4

บทสัมภาษณ์ คุณแอล ทักษ์ดนัย นิลกำแหง ปริญญาตรี Portland States University สหรัฐอเมริกา 
ติวเตอร์ภาษาอังกฤษ ผลักดันเด็กไทย ให้กล้าพูดภาษาอังกฤษ

คุณแอลไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะได้รับทุนจากคุณแม่ที่อาศัยอยู่อเมริกา เมื่อจบม.4 ที่เทพศิรินทร์ร่มเกล้า จึงได้มีโอกาสไปเรียนต่อเกรด 11 ที่อเมริกา ช่วงแรกมีการเกิด Culture Shock ที่ต้องพยายามสื่อสารกับเพื่อนและครูให้ได้ ตอนนั้นคุณแอลใช้วิธีดูข่าวต่างประเทศ สื่อ CNN BBC ระยะเวลาหนึ่งปี จนพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง 

คุณแอลแนะนำสำหรับคนที่อยากฝึกภาษาอังกฤษ ให้ฟังสถานีวิทยุข่าว VOA ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยในเนื้อหาจะมีช่วงหนึ่งเป็นช่วง Learning English มีการสอนทักษะ ฟัง พูด อ่านเขียน ภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกัน แบบฟรี ๆ 

หลังจากจบไฮสคูล คุณแอลใฝ่ฝันอยากเป็นนักการเมือง นักการทูต จึงตัดสินใจเรียนต่อคณะรัฐศาสตร์ สาขาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ  ที่ Portland State University ที่มีเรื่องของการพัฒนาความยั่งยืนอยู่ด้วย โดยเรียนทั้งหมดที่เป็นองค์รวมของสาขารัฐศาสตร์ในยุคนั้น 

คุณแอลอยู่อเมริกาเกือบ 6 ปี พบว่าเมือง Portland มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม สังคมและผู้คนในเมือง Portland ยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทายกันเหมือนเมืองไทย คุณแอลเคยปั่นจักรยานจากบ้านไปพื้นที่ชนบทของ Portland พบวัฒนธรรมอีกแบบ เป็นออริกอนดั้งเดิม พื้นที่ Portland ล้อมรอบด้วยต้นไม้ ภูเขา ป่าสีเขียว แม่น้ำลำธารจะเย็นทั้งปี ถ้าชอบสายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน คุณแอลขอแนะนำเมือง Portland เลย

หลังจากเรียนจบได้ 1 เดือน คุณแอลสามารถผ่านเข้ารอบโครงการที่มีชื่อว่า ผู้นำไทย-อเมริกา เป็นโครงการที่ให้เยาวชนไทยในสหรัฐฯ ตั้งแต่ระดับไฮสคูลถึงปริญญาตรี มีโอกาสเข้าไปศึกษารูปแบบการทูตแบบไทย โดยโครงการนี้จะเปิดทุกปี เป็นรูปแบบการทูตระดับตัวน้อย เฟ้นหาเด็กและเยาวชนไทยในสหรัฐฯ ที่มีความสนใจสังคม วัฒนธรรมไทย เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการทูตของประเทศไทย 

หลังจากกลับมาเมืองไทย คุณแอลยังคงสนใจในเรื่องของการขับเคลื่อนสังคม การพัฒนาประเทศ  และถึงแม้เป็นติวเตอร์ แต่ความเป็นการเมืองยังติดตัวอยู่ โดยมุ่งเน้นไปยังนโยบายที่สร้างสรรค์ และส่งเสริมความยั่งยืนให้กับประทศ ตามด้านที่เรียนจบมาโดยตรง 

หากให้เปรียบเทียบมุมมองต่อระบบการศึกษาไทยและอเมริกา คุณแอลมองว่า ระบบการศึกษาแต่ละประเทศมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ไม่ได้มีแต่ปัญหาเสมอไป ยอมรับว่าของไทย มีจุดเด่น ในเรื่องของการสอนให้เด็กรู้จักเรื่องของความดี คุณธรรม จิตสำนึกในการทำเพื่อส่วนรวม ความรักเพื่อน การเสียสละและแบ่งปัน รวมทั้งเรื่องของการออมเงิน ขณะที่สหรัฐอเมริกามุ่งเน้นความรักชาติ การสร้างความคิดสร้างสรรค์ในระดับเยาวชน การเปิดใจซึ่งกันและกัน 

โดยครูแอลในฐานะติวเตอร์ได้นำหลักการประนีประนอมระหว่างครูกับนักเรียนมาใช้ รวมทั้งบาลานซ์การเรียนวิชาการและการเรียนที่เรียกว่า Play&Learn เข้าด้วยกัน 

ด้านปัญหาการพูดภาษาอังกฤษของเด็กไทยส่วนใหญ่ จากประสบการณ์ที่พบ ครูแอลมองเห็นว่า เกิดจากการไม่กล้า อาย กลัวที่จะสื่อสาร ไม่กล้าถามครูผู้สอน โดยครูแอลก็มีแนวทางที่จะให้เด็กกล้าถามได้ 

ครูแอลมีวิธีการสอนแบบขั้นบันได ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป มีการนำสื่อ การ์ดเกม เข้ามาใช้ แต่มีข้อตกลงระหว่างกัน ว่าเล่นได้แต่ก็ต้องทำงานของตัวเองด้วย จะได้มีความรู้ทุกมิติ 

คำแนะนำสำหรับครูไทยที่สอนภาษาอังกฤษ ครูแอลมองว่า สำหรับเด็กเล็ก การเรียนภาษาอังกฤษควรเริ่มจากการฝึกพูด การออกเสียง ตัวสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจ  สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ และสามารถนำไปใช้ในขีวิตประจำวันได้ โดยตรงจุดนี้หากทางกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง สามารถปรับหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับเด็กเล็ก ให้เป็นในเรื่องของ conversation หรือ communication สิ่งนี้จะทำให้การเรียนภาษาอังกฤษของเด็กไทยไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

.

.

.

คุณยีนส์ อรุณรัตน์ เปรมสิริอำไพ | THE STUDY TIMES STORY EP.3

บทสัมภาษณ์ คุณยีนส์ อรุณรัตน์ เปรมสิริอำไพ คอลัมนิสต์อิสระ, นักแปล เรียนต่อออสเตรเลียและจีน (The University of Queensland,  Shanghai Normal University) 
แนะเคล็ดลับ บริหารเงินอย่างคุ้มค่า เรียนต่อออสเตรเลียและจีน

คุณยีนส์เรียนจบปริญญาตรีและโทที่ประเทศไทย ก่อนหน้าที่คุณยีนส์จะเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศ ได้ทำงานหน้าที่แนะแนว ให้คำปรึกษา ทำวีซ่าให้กับนักเรียนที่ต้องการไปเรียนต่อ คุณยีนส์ตัดสินใจไปเรียนต่อเพราะต้องการประสบการณ์เพื่อกลับมาทำงานและแชร์ประสบการณ์ให้กับนักเรียนไทยที่สนใจ

ครั้งแรกที่ไป เนื่องจากคุณยีนส์จบด้านภาษาอังกฤษมา เลยอยากจะได้วุฒิที่เกี่ยวข้องกับด้านการสอนภาษาอังกฤษ จึงตัดสินใจลง Graduate Certificate in TESSOL University of Queensland-Australia ที่เกี่ยวกับวิชาด้านการสอนภาษาอังกฤษ จากนั้นได้ลงเรียนด้านวิชาบริหารธุรกิจเพิ่ม เพื่อจะนำมาต่อยอด ซึ่งก็คือ Graduate Diploma in Business เท่ากับไปอยู่ออสเตรเลียรวม 2 ปี 

วิธีบริหารจัดการงบประมาณเรียนต่อต่างประเทศ
เรื่องของการบริหารจัดการงบประมาณในการไปเรียนต่อต่างประเทศ คุณยีนส์แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ค่าเล่าเรียน ที่เป็นงบตายตัว เปลี่ยนไม่ได้ เป็นงบส่วนที่ผู้ปกครองหรือนักเรียนต้องแบ่งไว้ ส่วนที่สอง คือ ค่ากินอยู่ ควรเตรียมเป็นงบขวัญถุงไว้ประมาณ 2-3 เดือน เมื่อไปถึงทางออสเตรเลียจะให้สิทธิในการทำงานพิเศษได้ ช่วงที่คุณยีนส์ไป ตามวีซ่าสามารถทำงานพิเศษได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นักเรียนหลายคนต่างก็มีวิธีที่จะไปหางานพิเศษทำเพื่อช่วยในการลดค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะทำงานตามร้านอาหารไทย ร้านกาแฟ ช่วยงานมหาวิทยาลัย ช่วยอาจารย์ งานห้องสมุด 

ต่อมาคือค่าที่พัก หากทางผู้ปกครองมีงบประมาณพอ อาจจะให้อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง บางคนก็อาจจะแยกมาอยู่เอง เช่าอพาร์ทเม้นกับเพื่อน ซึ่งส่วนนี้ต้องดูตามความเหมาะสม หากนำงบประมาณเป็นที่ตั้ง อยากได้ที่พักราคาถูก ก็อาจต้องไปอยู่ที่พักโซนที่ไกลมาก เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เสียเวลาเพิ่มขึ้น 

ค่าเรียนของคุณยีนส์ที่จ่ายไป 2 ปีประมาณ 5-6 แสน ค่ากินอยู่ เดือนแรกประมาณ 30,000 แต่หลังจากได้งานพิเศษก็ตัดเงินส่วนนี้อออก ทำงานหาเงินมาดูแลตัวเอง   

ตอนเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศครั้งแรก คุณยีนส์เล่าว่า มีเรื่องที่ทำให้กังวลใจอยู่บ้าง ในเรื่องตารางรถเมล์ที่มาชั่วโมงละคัน ทำให้ไปเข้าเรียนไม่ทัน และช่วงแรกที่ยังไม่มีงานพิเศษทำ ต้องตีราคาของทุกอย่างเป็นค่าเงินไทย ความเครียดที่เกิดเป็นธรรมดาของนักเรียนไทยที่ไปเรียนต่อ การอยู่เมืองนอกคือการที่ต้องปรับตัวไปอีกระดับหนึ่ง ต้องคิด วางแผนล่วงหน้า แบ่งเวลาทำงานและเรียน 

หลังจากผ่านไป 1 เดือน คุณยีนส์ได้เจอเพื่อนคนไทย เพื่อนต่างชาติ เพื่อนออสเตรเลีย นัดปรึกษาอาจารย์ถึงปัญหาการเรียน กล้าเปิดใจ และปรับวิถีชีวิตตัวเอง จัดตารางเวลาชีวิตใหม่ เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เมื่อปรับตัวได้หลังจากนั้นเริ่มสนุก

เมื่อไปถึงออสเตรเลียครั้งแรก สิ่งที่ควรทำ คุณยีนส์แนะนำว่า ทางเจ้าหน้าที่แนะแนวจะแนะนำมาก่อนว่าช่วงเดือนแรกให้อยู่กับโฮมสเตย์ครอบครัวชาวออสเตรเลียไปก่อน เพื่อปรับตัว ให้พวกเขาช่วยแนะนำเรื่องการใช้ชีวิต การขึ้นรถเดินทาง สำหรับเด็กเล็กจะมีครูพี่เลี้ยง รุ่นพี่ที่เป็นนักเรียนไทยที่อยู่มาก่อน จะมาช่วยแนะนำเรื่องสถานที่ซื้อของใช้ เรื่องทั่วไปต่างๆ ถ้าเป็นเด็กมหาวิทยาลัยจะมี Student Union หรือสโมสรนิสิต ซึ่งในช่วงการเปิดภาคเรียน ส่วนใหญ่จะมีกิจกรรมปฐมนิเทศ นำเสนอชมรม จะมีชมรมนักเรียนไทย ชมรมวัฒนธรรม ให้ได้เข้าไปทำความรู้จัก การเรียนในระดับปริญญาตรี-โท เรียนคนเดียวไม่ได้ ต้องเรียนเป็นทีม 

คุณยีนส์เล่าให้ฟังว่า คอนเซปต์ในการเรียนที่ออสเตรเลียจะไม่เหมือนของไทย ของไทยจะมีอาจารย์ป้อนข้อมูลความรู้เข้ามาให้ ขณะที่ทางออสเตรเลียคุณจะต้องเตรียมความรู้มาก่อน เมื่อเข้าชั้นเรียนต้องมีองค์ความรู้พร้อมที่จะไปแชร์กับคนอื่น โดยอาจารย์จะให้แค่โครงตามหลักทฤษฎีที่ถูกต้อง หรือประสบการณ์ที่อาจารย์เคยทำงานมา สุดท้ายทำให้เกิดการพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ 

หากให้เปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่องการศึกษาของไทยและออสเตรเลีย คุณยีนส์มองว่า การศึกษาของไทยที่เกริ่นว่า ครูเป็นผู้ให้ นักเรียนเป็นผู้รับ เหมาะกับการปูพื้นฐานในเรื่องของการเรียนรู้ เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ส่วนในเรื่องของวิชาการ องค์ความรู้ คุณยีนส์มองว่าไม่ได้ต่างกันมาก แต่จะต่างกันที่วิธีคิด เพราะของต่างประเทศจะเน้นที่การให้ทุกคนเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาองค์ความรู้ การเรียนต่างประเทศจึงทำให้เรามีรูปแบบการคิดที่หลากหลายขึ้น 

คนออสเตรเลียในมุมมองของคุณยีนส์ คือ เป็นคนสบายๆ ไม่ได้มีพิธีรีตองมาก อาจารย์เฟรนด์ลี่มาก คิดอะไรพูดเลย แต่ในเรื่องของกฎเกณฑ์ การรักษาเวลา เดดไลน์การส่งงานเป๊ะ ไม่มีการต่อรอง   

บรรยากาศการเรียน หลักสูตรอบรมภาษาจีนระยะสั้น Shanghai Normal University คุณยีนส์เผยว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ที่ไปจะติดขัดในเรื่องของภาษา ต้องไปเรียนเพิ่ม และด้วยความที่จีนต้องการเปิดรับให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียน ทำให้เรื่องของหอพัก อุปกรณ์การเรียนเตรียมพร้อมไว้อย่างดี คนจีนมีความตรงเวลา บรรยากาศการเรียนก็สบายๆ มีกิจกรรมเยอะมากสำหรับการไปเรียนภาษาที่จีน เน้นเรื่องการใช้ภาษาควบคู่กับวัฒนธรรม

สำหรับคนที่อยากไปเรียนต่อ คุณยีนส์แนะนำว่าสิ่งที่ควรทำ อันดับแรกคือต้องไปดูเรื่องของสังคม ไปดูในสิ่งที่บ้านเรายังไม่มี มีจุดไหนที่พัฒนาแล้วดีกว่าบ้านเรา เพื่อนำจุดนั้นกลับมาพัฒนาประเทศ ใช้ในการพัฒนาตัวเราและโอกาสในชีวิต หลังจากที่เรากลับมาที่เมืองไทย 

นอกจากนี้การได้เพื่อนต่างชาติก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะได้มุมมองที่กว้างขึ้น เราจะเป็นคนที่ทำงานที่ใดก็ได้ในโลกใบนี้ หากมีทัศนคติหรือไอเดียที่เปิดกว้าง และการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง 

.


.

.

.

คุณมี่ โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ | THE STUDY TIMES STORY EP.2

บทสัมภาษณ์ คุณมี่ โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ และ ผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
เพราะนิสัยรักการอ่าน คือคลังความรู้ที่ประเมินค่าไม่ได้

โดยพื้นฐานแล้ว คุณมี่เป็นคนคลุกคลีหนังสือ หรือตัวอักษรมาตั้งแต่เกิด เพราะคุณพ่อทำสำนักพิมพ์มายาวนานกว่า 40 ปี เรียกได้ว่าวิ่งเล่นอยู่กับกองหนังสือ มีโอกาสได้ใกล้ชิดนักเขียน สัมผัสและอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก

“การอ่านทำให้การพูดและการเขียนเป็นระบบ สวยงาม ใช้ประโยชน์จากวงศัพท์ได้ เป็นประโยชน์ต่อชีวิตในด้านการทำงานอย่างสูง”

คุณมี่เปรียบเทียบให้ฟังว่า หนังสืออยู่กับเราตั้งแต่ก่อนเกิด ไปจนกระทั่งเราหมดลมหายใจ นึกภาพก่อนเราเกิด ในคุณพ่อคุณแม่ที่ใส่ใจเลี้ยงดูบุตรหลาน ก็จะอ่านหนังสือให้ลูกฟังระหว่างที่ตั้งครรภ์ เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างลูกและพ่อแม่ เมื่อลูกเกิดมา คุณพ่อคุณแม่ก็จะยังเล่านิทาน มีการวิจัยว่า การที่พูดกับลูกในครรภ์ หรือเมื่อลูกเกิดมา แล้วมีการพูดคุย เล่านิทานให้ลูกฟัง จะทำให้การสื่อประสาทของเด็กไวขึ้น การพูดและการใช้ชีวิตของเด็กในช่วง 5 ขวบ การใช้สื่อที่สัมผัสได้ ที่ไม่ใช่เฉพาะดิจิทัล จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม 

ตัวอย่างจากยุโรป อย่างนอร์เวย์และสวีเดน พยายามที่จะปลี่ยนห้องเรียนให้กลายเป็น E-Classroom แต่ปรากฎว่าใช้ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ด้วยการใช้หนังสือที่เป็นเล่มประกอบกับคอนเท้นต์ที่เป็นดิจิทัลร่วมกัน ถึงจะได้ผลสำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ อาจจะใช้หนังสือในการอ่าน ค้นคว้า ประกอบกันการอ่านออนไลน์ ใช้มัลติมีเดียเรียนรู้เรื่องเซลล์ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดมากขึ้น การอ่านหนังสือจะทำให้การจดจำของเด็กแม่นยำขึ้น และช่วยให้สารสื่อประสาทเชื่อมโยงกันได้มากขึ้น

งานวิจัยที่ทาง TDRI ได้นำมาพูดคุยกับคนในวงการหนังสือ เผยว่า การเปิดหนังสือสักเล่มแล้วพลิกไปพลิกมา จะทำให้เราเห็นถึงการพลิกหน้าหนังสือ การอ่านแล้วจดจำจากความหนาของหนังสือ เรื่องราวประมาณไหน เป็นบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ซึ่งดีต่อการพัฒนาของสมอง 

ส่วนในช่วงวัยทำงาน ตัวหนังสือก็มีความจำเป็น อย่างตอนที่เราต้องการพัฒนาตัวเอง หรือต้องการพลิกวิกฤติช่วงเศรษฐกิจตก เช่น ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 40 ที่เศรษฐกิจมีความผันผวน แต่แวดวงของหนังสือกลับยอดโตขึ้น คุณมี่เผยว่า เพราะเป็นช่วงที่คนแสวงหาข้อมูลความรู้ใส่ตัวเอง ไม่ว่าจะมีสื่อเกิดขึ้นมากมายแค่ไหน แต่หนังสือก็ยังเป็นตัวเรื่องต้นทาง 

หรือแม้แต่วัยผู้สูงอายุเอง การมีเพื่อนเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะจากการอ่าน หรือ Audio Book หนังสือเสียง ก็มีโอกาสที่จะเรียนรู้และมีความสุขกับมันได้

แม้กระทั่งในแง่ของการจัดงานอภิธรรมที่วัด ก็พบว่าของชำร่วยมักมาในรูปแบบของหนังสือ ถือเป็นการมอบปัญญาให้แก่กัน จะเห็นได้ว่าหนังสืออยู่กับเราทั้งชีวิต เป็นเพื่อนกับเรา เวลาเกิดเหตุอะไรก็ตาม หลายคนอยากจะผ่อนคลาย พลิกอะไรบางอย่าง ไม่หาเพื่อนคุย ก็มักจะหาหนังสือคุยกับตัวเอง และทั้งหมดนี้ก็พอจะตอบได้ว่าหนังสือมีประโยชน์ต่อชีวิตของเราอย่างมหาศาล นิสัยรักการอ่าน จึงเปรียบเสมือนคลังความรู้ที่ประเมินค่าไม่ได้

.


.

.

.

THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์ที่สอง พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 26 เมษายน - วันศุกร์ที่ 30 เมษายน

⏰ทุกวัน เวลา 2 ทุ่มตรง

พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????EP.6 วันจันทร์ที่ 26 เมษายน

คุณปอนด์ สุทธินันท์ ดวงภุมเมศร์ นักเรียนทุนรัฐบาล UIS ปริญญาโท Master of Public Administration, Cornell University, สหรัฐอเมริกา

????EP.7 วันอังคารที่ 27 เมษายน

คุณชาร์ต สืบศิษฏ์ ศานติศาสน์ ประถมศึกษา Hughes School, ออสเตรเลีย

ปริญญาโททุน JASSO รัฐบาลญี่ปุ่น The University of Tokyo, ญี่ปุ่น

????EP.8 วันพุธที่ 28 เมษายน

คุณตาล วัณย์ทิศากร พิณแพทย์ ตำแหน่ง Client form publishing generalist, Privat bank Julius baer, เมืองซูริค, สวิตเซอร์แลนด์

????EP.9 วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน

คุณชัช สิรวิชญ์ ทีวะกุล ปริญญาโท European Public Law Organization , กรีซ

กำลังศึกษาปริญญาเอก Université Toulouse Capitale , ฝรั่งเศส

????EP.10 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน

คุณก้อย ดร. วรวสา ชัยวรกุล นักวิจัย Post-Doctoral Associate, University of Minnesota, สหรัฐอเมริกา

✅ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Head of Content Editor THE STUDY TIMES

????ช่องทางรับชม

Facebook: THE STUDY TIMES / THE STATES TIMES

YouTube: THE STATES TIMES

Click on Clear THE TOPIC จับประเด็นเน้นความรู้ EP.1/1 ตอน สังคมไทยบ่มเพาะอคติทางเพศ

สังคมไทยบ่มเพาะอคติทางเพศ

พบกับ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Host & Content Creator THE STATES TIMES

.

.

น้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี | THE STUDY TIMES Story EP.1

บทสัมภาษณ์ น้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
สาวน้อยนักเรียนทุน มุ่งมั่นพัฒนาวิทยาศาสตร์ ด้วยฟิสิกส์ผสมผสานดาราศาสตร์

ปัจจุบันน้ำหวานอยู่ในช่วง Prep school ที่ New Hampton School สหรัฐอเมริกา เข้าอาทิตย์ที่สี่เริ่มปรับตัวได้แล้ว Prep school คือโรงเรียนเพื่อเตรียมตัว ปรับตัวรับกับวัฒนธรรมอเมริกา เตรียมพร้อมเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย เสริมภาษาอังกฤษ ให้มีมาตรฐานที่ดีในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย เป็นเงื่อนไขของเด็กทุน 

เนื่องจากน้ำหวานเคยมีประสบการณ์ในการไปดูงาน ทัศนศึกษาต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง มีการเตรียมตัวมาแล้ว ทำให้ปรับตัวได้ไม่ยากนัก

ที่โรงเรียนมีกิจกรรม Project week เป็นกิจกรรมที่นักเรียนสามารถเลือกทำได้ตามความสนใจ ไม่เฉพาะเชิงวิชาการเท่านั้น เช่น ออกไปปีนเขา ทำเส้นทางเดินเขา งาน Art การทำอาหาร โดยน้ำหวานเลือกไปทำอาสาสมัครเกี่ยวกับการศึกษาของยูกันดา ศึกษาวัฒนธรรม การเมือง ว่าส่งผลต่อยูกันดาอย่างไร พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ มุมมองความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 

ในมุมมองความเสมอภาคทางการศึกษา น้ำหวานมองว่า เพราะตัวเองอาจไม่ได้มาจากครอบครัวที่มีฐานะดีมาก แต่เพราะอยู่ในสังคมที่มีโอกาสเข้าถึง น้ำหวานมองว่าโอกาสเหล่านี้คือโชค เพราะไม่ใช่ทุกคนจะได้รับ แต่น้ำหวานโชคดีที่ดันได้รับโอกาสนั้นมา แต่การศึกษาไม่ควรเป็นเรื่องของโชค การศึกษาเป็นพื้นฐานของทุก ๆ อย่าง ปัญหาใดๆ จะแก้ได้ ต้องเริ่มด้วยการศึกษา น้ำหวานเลยอยากให้การศึกษามีความเท่าเทียมกัน 

ก่อนเดินทางมาอเมริกา น้ำหวานย้ายจากกทม. ไปอยู่เชียงใหม่คนเดียว ไปเป็นจิตอาสาพาน้องเดินป่าที่เชียงดาว ที่นั่นน้ำหวานได้พบคำถามและคำตอบสุดเซอร์ไพรส์ของเด็กน้อยในค่ายอาสา เด็กคนหนึ่งมาถามน้ำหวานว่า “ถ้าเราไปดาวอังคาร เราจะหายใจยังไง” น้ำหวานให้ข้อมูลน้องไปว่า “นั่นน่ะสิ บนดาวอังคารมีแต่คาร์บอนไดออกไซด์เต็มไปหมด” ด้วยความคุ้นเคยกับป่าไม้ น้องๆ เลยตอบกลับมาว่า “ปลูกต้นไม้สิ ต้นไม้จะได้เปลี่ยนจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน” สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้น้ำหวานต่อยอดซื้อกล้องโทรทรรศน์ให้กับน้อง ๆ ที่บ้านเด็กกำพร้า พร้อมทั้งได้สอนดาราศาสตร์เพิ่มเติมให้กับน้อง ๆ อีกด้วย 

น้ำหวานเป็นผู้ที่ได้รับทุนพสวท. ตั้งแต่ระดับม.ปลาย ไปจนถึงระดับปริญญาเอก โดย พสวท. คือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

น้ำหวานแนะนำการเตรียมตัวสอบเข้าพสวท. ไว้ว่า ข้อสอบมีทั้งแบบอัตนัย และปรนัย สามารถเตรียมตัวจากหนังสือสสวท.ได้เลย หมั่นทำโจทย์ แต่สิ่งที่มากกว่าการทำโจทย์ หรือการอ่านหนังสือ คือนิสัยช่างสังเกต กระบวนการคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สิ่งนี้จะทำให้เข้าใจโจทย์ สามารถตอบตรงใจกรรมการได้มากขึ้น เพราะนอกจากข้อสอบอัตนัยปรนัย ยังมีข้อสอบเชิงความคิดสร้างสรรค์ ที่คะแนนจะขึ้นอยู่ที่การตอบด้วยความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ 

ความสนใจในฟิสิกส์ของน้ำหวานนั้น เริ่มมาจากการขี่จักรยานกับเพื่อนในซอยตอนเด็กๆ ตั้งแต่บ่ายแก่ๆ ยันค่ำ ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสีของท้องฟ้า จากฟ้า เป็นส้ม บางวันก็ออกแดง ชมพู ตอนนั้นตนก็สงสัยว่าทุกเย็นมีใครต่อท่อส่งลาวาขึ้นไปบนฟ้ารึเปล่า บางวันฝนตกก็ได้เห็นสายรุ้ง ช่วงค่ำเวลาเดิมของแต่ละเดือน เกิดคำถามตามมาว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง จินตนาการ และความสนใจ ทำให้มุ่งหน้าสู่วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ 

น้ำหวานอธิบายว่า ฟิสิกส์ เป็นศาสตร์ที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ในจักรวาลของเรา ไม่ใช่ฉพาะเรื่องของสูตรการคำนวณ 

นอกจากนี้ น้ำหวานเล่าให้ฟังว่า ได้รับการตอบรับจาก University of California Santa Cruz หรือ UCSC แล้ว โดยเหตุผลที่เลือก UCSC เนื่องจากน้ำหวานให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตที่สุดและมีความสุขกับการอยู่ในป่าเขา UCSC มีความเป็นธรรมชาติสูง และมีโอกาสในการทำวิจัย 

ตัวน้ำหวานสนใจงานวิจัยเรื่อง Optics ทัศนศาสตร์ การมองเห็น  เรื่องของแสงสี และ UCSC อยู่ใกล้หอดูดาว ตอบโจทย์การพัฒนาในด้านดาราศาสตร์ที่สนใจ 

ในเรื่องโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในไทย น้ำหวานมองว่า ยังมีเรื่องของความเหลื่อมล้ำ โรงเรียนดีกระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ คนที่อยู่ต่างจังหวัดไม่สามารถได้รับการศึกษาที่เท่าเทียม อยากให้การศึกษากระจายตัว ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาดีๆ ใกล้บ้าน ไม่ต้องห่างไกลครอบครัว ไม่ต้องเผชิญอยู่ในสังคมที่ต้องแข่งขัน จนไม่มีเวลาสำรวจตัวเองว่าสนใจด้านไหนจริงๆ 

ส่วนในเรื่องของระบบการศึกษา น้ำหวานมองว่า ไม่อยากให้ครูเป็นเพียง Teacher แต่อยากให้ครูเป็น Facilitator สิ่งที่ทำให้มนุษย์มีตัวตน คือความคิด ความสนใจของเรา เพราะฉะนั้นเด็กทุกคนมีแก่นที่แตกต่างกันไป อยากให้มีครูที่เป็น Facilitator ที่สามารถดึงศักยภาพนักเรียนและช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาด้านที่ตัวเองสนใจจริง ๆ ออกมาได้

.

.

.

.

THE STUDY TIMES STORY เปิดตัวสัปดาห์แรก พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????THE STUDY TIMES STORY เปิดตัวสัปดาห์แรก 

????วันจันทร์ที่ 19 เมษายน - วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 

⏰ทุกวัน เวลา 2 ทุ่มตรง 

พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????EP.1 วันจันทร์ที่ 19 เมษายน
คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา

????EP.2 วันอังคารที่ 20 เมษายน
คุณมี่ โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และ ผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

????EP.3 วันพุธที่ 21 เมษายน
คุณยีนส์ อรุณรัตน์ เปรมสิริอำไพ คอลัมนิสต์อิสระ, นักแปล เรียนต่อออสเตรเลียและจีน 
The University of Queensland 
Shanghai Normal University 

????EP.4 วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน
คุณแอล ทักษ์ดนัย นิลกำแหง
ปริญญาตรี Portland States University สหรัฐอเมริกา

????EP.5 วันศุกร์ที่ 23 เมษายน
คุณเจน ณัฐภา กมลเศวตกุญ
นักธุรกิจด้านแฟชั่น เรียนต่อออสเตรเลียและอิตาลี
Melrose high school, Canberra Australia
Istituto Marangoni, Milan Italy

✅ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Head of Content Editor THE STUDY TIMES

????ช่องทางรับชม 
Facebook: THE STUDY TIMES / THE STATES TIMES
YouTube: THE STATES TIMES

คติประจำใจจาก "Marilyn Vos Savant" (หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด มีไอคิวสูงที่สุดในโลก)

"To acquire knowledge, one must study; but to acquire wisdom, one must observe."

"ผู้ใดต้องการหาความรู้ เขาจะต้องศึกษา แต่หากผู้ใดอยากมีปัญญา เขาผู้นั้นจะต้องคอยสังเกตการณ์”


Marilyn Vos Savant (หญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด มีไอคิวสูงที่สุดในโลก)

Priority จัดลำดับความสำคัญงาน | Click on Clear The Word EP.6

งานขยาย การจัดลำดับความสำคัญงานก็ต้องเข้ามาช่วยจัดการ แนะเคล็ดลับวิธีการจัดลำดับความสำคัญงานของ Stephen Covey นักเขียนชื่อดังหนังสือพัฒนาตัวเองขายดีตลอดกาล “7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง”

.

.

เรียนรู้โลกวิถีใหม่ ตามแบบ ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ กับ ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย | Contributor EP.14

‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นคำที่คุ้นชิน สำหรับคนไทยมานาน เพราะเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2517 แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจแนวคิด ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ อย่างถ่องแท้ กล่าวกันว่า หากจะหาคนที่เข้าใจหลักคิด ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ และ ‘ศาสตร์พระราชา’ อย่างแตกฉาน และ ถ่ายทอดได้อย่างลึกซึ้ง หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อ ‘ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย’ อย่างแน่นอน

Contributor EP.14 นี้ THE STATES TIMES มีโอกาสได้สนทนาเกี่ยวกับ ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ผ่านมุมมองของ ดร.ดนัย ที่ย้ำชัด เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่ ‘วาทะกรรม’ แต่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิต โดยเฉพาะในโลกยุค ‘ชีวิตวิถีใหม่’ ที่เผชิญทั้งภาวะเศรษฐกิจและโรคร้าย

ไม่ว่าประเทศไทย จะเผชิญวิกฤติหนักหนาเพียงใดก็ตาม แต่เราจะผ่านไปได้ ด้วย ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ ซึ่งเป็น วัคซีนเศรษฐกิจ ที่ดีที่สุด สำหรับคนไทย…..

.

.

.

"Productive" 8 ข้อ ทำงานอย่างมีประสิทธิผล | Click on Clear The Word EP.5

เผยเคล็ดลับ 8 ข้อสำหรับวัยทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการปรับชีวิตประจำวันให้ Productive

.

.


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

กลมกลืน ชีวิต การงานและสัญญาณ WiFi | Click on Clear The Word EP.4

โลกที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามากลมกลืนในชีวิตประจำวัน อย่างแยกไม่ออก ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับไป Work life harmony จึงอาจเป็นนิยามใหม่ในการใช้ชีวิตในยุคนี้

.

 

.

 

"ติ้ก ชีโร่" กับชื่อเสียงในวัย 60 ปี งานเพลงคืองานศิลปะ | Click on Clear Exclusive EP.7

บทสัมภาษณ์ สุด Exclusive 35 ปี กับการเป็นติ๊ก ชิโร่ ในวันที่ก้าวสู่วัย 60 ปี งานเพลง ที่ถือเป็นงานศิลปะ ที่ชิ้นต่อไปต้องดีกว่าชิ้นแรกเสมอ และชื่อเสียงคือสิ่งมีค่าที่มีเพื่อทำประโยชน์เพื่อสังคม

.

 

รายการ :  "ติ้ก ชีโร่" กับชื่อเสียงในวัย 60 ปี งานเพลงคืองานศิลปะ | Click on Clear Exclusive EP.7

 

.

 

.

บทบาทที่เด่นชัดที่สุดของ ติ๊ก ชิโร่

เพราะบทบาทที่หลากหลายของ ติ๊ก ชิโร่ จึงเปิดประเด็นแรกมาด้วยคำถามว่า แท้จริงบทบาทไหนคือบทบาทที่เด่นชัดที่สุด  โดยพี่ติ๊กเล่าว่า ส่วนตัวที่รู้สึกมีความสุขในการทำ คือเรื่องของ CSR ในการให้ความช่วยเหลือคนอื่น เมื่อช่วงน้ำท่วมปี 54 ตนได้ออกปฏิบัติการณ์ช่วยเหลือเป็นครั้งแรก ในตอนที่พนังกั้นน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยาพังทลาย ทำให้น้ำทะลักเข้าสู่โรงเรียนอนุบาล ตนได้ไปอุ้มเด็กอนุบาลทีละคน เป็นความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น และในตอนที่แผ่นดินสไลด์ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ตัดสินใจทำโครงการชื่อว่า ปั่นเดี่ยวเยียวยา เพราะไม่อยากทำให้คนอื่นเดือดร้อน เลยนั่งคุยกับทีมงานว่าจะปั่นจักรยานไปช่วยพวกเขา ก่อนจะควักเงินสองหมื่นบาทของตัวเองฝากธนาคารไว้ และหากใครอยากช่วยบริจาคก็ให้นำมาฝาก

ปั่นจักรยานกว่า 700 กิโลเมตร 7 วัน 7 คืน

จากโครงการปั่นเดี่ยวเยียวยา กลับกลายเป็นว่าปั่นหมู่ เพราะทุกคนมาช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทีมของจักรยานล้อเดียว นักปั่นจักรยานทั่วไปในกทม. จากสระบุรีมารับไปส่งถึงโคราช ขี่ต่อไปที่บุรีรัมย์ ไปสุรินทร์ จนกระทั่งเข้าสู่อุบลราชธานี พบบ้านเรือนที่เสียหายจากภัยธรรมชาติ จากเงินสองหมื่นบาทในวันนั้น สามารถนำไปช่วยเหลือคนอื่นได้ประมาณ 1,006,213 บาท 38 สตางค์ เป็นสิ่งที่ตนรู้สึกอิ่มใจมาก

ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้าพเจ้าจะเห็นการช่วยเหลือเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำ”

ประโยคด้านบนเป็นแนวคิดของศิลปินที่ชื่อว่า ติ๊ก ชิโร่  วิธีคิดแบบนี้พี่ติ๊กได้มาจากมุมมองว่า ตัวเราเองก็มีศิลปินที่ชื่นชอบ เพราะฉะนั้นคนอื่น ๆ ที่ชื่นชอบเราในฐานะศิลปิน เราก็น่าจะให้โอกาสเขา ในแนวทางเดียวกัน ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะเขารัก เขาชื่นชมเรา เราก็น่าจะต้องมอบบางสิ่งบางอย่างตอบแทนกลับไปให้เขา สิ่งนี้เป็นพื้นฐานในหัวใจว่า เราจะช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่เราจะทำได้

พี่ติ๊กมองว่า ความมีชื่อเสียงสามารถสร้างประโยชน์ให้ได้มากกว่าแค่ตัวเองกับครอบครัว ความสุขของแฟนคลับ เช่น การเข้ามาขอถ่ายรูป ทักทาย หรือพูดคุย ถือเป็นความสุขของเขาที่เราสามารถตอบแทนให้ได้ โดยที่ไม่ต้องมากังวลอะไร เป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับว่า เราเป็นคนของสาธารณะ

แต่ถึงอย่างไรระหว่างศิลปินและแฟนคลับต้องมีการเคารพกันทั้งสองฝั่ง กฎ กติกา มารยาท เป็นสิ่งที่ต้องมี สำหรับศิลปินบางคนที่มีความเป็นปัจเจกจริง ๆ พวกเขาก็มีสิทธิ์ที่อาจจะบอกว่า “คุณไปดูผมบนเวทีนะ แต่ถ้าหมดจากเวทีขอไม่ถ่ายรูป”  แบบนี้ถือว่าทำงานบนเวที ความรับผิดชอบในส่วนนั้นหมดลงแล้ว พอลงมาขอเป็นตัวของตัวเอง นั่นก็เป็นสิทธิ์ที่เขาจะทำได้ พี่ติ๊กกล่าว

มุมมองต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนไปในยุคของโซเชียลมีเดีย

พี่ติ๊กเล่าว่า คนเราบางครั้งที่ประสบความสำเร็จแล้ว จะมีความหลงลืม เพ้อฝัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิ์ที่ทุกคนสามารถเป็นได้ ในยุคปัจจุบันความเร็วของโซเชียลมีเดีย โลกออนไลน์ สามารถที่เอ่ยจะชื่นชม ทำลาย ดราม่า บางทีเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อจะอยู่กับมัน อีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่าในยุคนี้ที่มีโซเชียล ศิลปินและแฟนคลับมีความใกล้ชิดผูกพันกันมากกว่าสมัยก่อน สามารถเจอกันได้แทบจะทุกเวลา อัปเดตชีวิตได้ตลอด

เพจเฟซบุ๊ก ‘Tik Shiro’

หากใครติดตามเพจเฟซบุ๊กของ ติ๊ก ชิโร่ จะพบกับกิจกรรมไลฟ์ทำอาหาร ไลฟ์สไตล์ และกิจกรรมอื่น ๆ มากมาย พี่ติ๊กเล่าว่าความหมายที่เป็นเหตุผลเดียวในการเปิดเพจ เกิดจากการที่อยากจะทำกับข้าวให้ลูกสาวทาน ทุกเมนูเป็นเมนูแรกในชีวิต โดยเมนูที่ลูกทั้งสองชอบมากคือ ข้าวผัด ส่วนเมนูที่ฮือฮามากที่สุดคือ ไข่ตุ๋นเด้งดึ๋ง  พร้อมทั้งเผยสูตรลับ ไข่ 1 ส่วน น้ำ 2 ส่วน พี่ติ๊กรับประกันว่าออกมาเด้งดึ๋ง ๆ แน่นอน

ฉันไม่ผิด’ เพลงทันสมัย ลายเส้นเดิม

เพลง ฉันไม่ผิด กับยอดวิวที่พุ่งไปถึงล้านสอง ผลงานของติ๊ก ชิโร่ ที่มีความแปลกใหม่ เอ็มวีมีเนื้อหาภาพ รวมถึงตัวละครพระเอกนางเอกที่ทันสมัยเข้ากับยุคปัจจุบัน แต่รูปแบบการร้องยังคงเป็นลายเส้นเดิมของพี่ติ๊ก  

พี่ติ๊ก กล่าวว่า เพราะเรายังมีพลังในการทำงานอยู่  ในฐานะที่เป็นนักแต่งเพลง ก็สามารถแต่งเพลงได้ตลอด อย่างเมื่อคืนแม้ว่าจะนั่งสังสรรค์ก็แต่งเพลงออกมาได้อีก 1 เพลง รับรองว่าต้องร้อยล้านวิวแน่นอน ให้คอยติดตามทางโซเชียลมีเดีย

ตายทั้งเป็น’ ติ๊ก ชิโร่ Cover -แจ้ ดนุพล

เมื่อเดือนที่แล้ว ติ๊ก ชิโร่ ได้ปล่อยเพลง Cover ตายทั้งเป็นของ พี่แจ้ ดนุพล ออกมาให้แฟน ๆ ได้รับฟังกัน โดยที่มานั้น พี่ติ๊กเล่าว่า ในยุคสมัยนี้คนที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม คือ Influencer Youtuber อย่างเช่น พิมรี่พาย ที่ตนเพิ่งมาทราบว่าร้องเพลงเพราะมาก พิมรี่พายได้ให้ฟักกลิ้ง ฮีโร่ โทรมาให้พี่ติ๊กเป็นสะพานเชื่อมโยงกับพี่แจ้ให้ เพื่อจะซื้อลิขสิทธิ์เอามาทำโคฟเวอร์  เช่นเดียวกับตนที่ซื้อลิขสิทธิ์มาทำเหมือนกัน ตายทั้งเป็น คำดูเหมือนว่าอย่างไรก็จะต้องเป็นเพลงช้า พี่ติ๊กเลยได้มีการลด Tempo และ Beat ลงมา จนกลายเป็นเพลงช้าที่รู้สึกว่าสามารถนอนฟังทั้งคืนได้

พี่ติ๊กนิยามรูปแบบเพลงโคฟเวอร์ครั้งนี้ไว้ว่า เป็นการย้อนเวลากลับไปสู่ยุค 90 หากสังเกตดี ๆ จะพบว่าเพลงนี้เป็นเพลงช้าที่มีท่อนที่แต่งขึ้นมาใหม่ อย่างเช่น ‘ตายทั้งที่ยังมีลมหายใจ’

เพลงที่ชอบมากที่สุด

เพลงที่ชอบมาก เรียกได้ว่าสามารถฟังได้ทั้งวันทั้งคืน ติ๊ก ชิโร่ ยกให้เพลง ชัดเจน เพราะมีความตั้งใจไว้ว่าเพลงนี้จะถ่ายทอดความรักที่สมบูรณ์แบบ ความรักที่อยู่ในมุมบวก คาดหวังว่าเพลงนี้จะกลายเป็นเพลงสำหรับการแต่งงาน

พร้อมทั้งเล่าว่า เวลาที่จะแต่งเพลงอะไรที่เคยประสบความสำเร็จมา อย่างเช่น ออกมาเต้น เพลงต่อไปต้องทำให้เทียบเท่าหรือดีกว่า จากออกมาเต้น จึงเกิดเป็นเพลง มาจอยกัน

บทบาทนักแต่งเพลงและนักดนตรีของ ติ๊ก ชิโร่

จากคำบอกเล่าของเจ้าตัวพบว่า การแต่งเพลงส่วนใหญ่ของติ๊ก ชิโร่ เกิดมาจากการสังเกตเห็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ แล้วจึงนำมาแต่งเป็นบทเพลง การแต่งเพลงในยุคใหม่นี้ พี่ติ๊กเผยว่า ในทางศิลปกรรม เรียกว่าเป็น ลัทธิ หากจะให้นิยามการแต่งเพลงของตัวเองว่าเป็นรูปแบบไหนนั้น จากเพลง รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง พี่ติ๊กให้เป็นรูปแบบของ contemporary หรือ ร่วมสมัย อย่างคำว่า สลากยังมีกินแบ่ง หลายคนก็ถามว่ามาแต่งเป็นเพลงได้ยังไง สิ่งนี้เองที่จะทำให้นักแต่งเพลงรุ่นใหม่กล้าคิด กล้าทำ กล้านำเสนอ โดย 2 สิ่งสำคัญสำหรับนักแต่งเพลงที่จะสร้างผลงาน คือ 1. หลักของความเป็นจริงในชีวิต และ 2. จินตนาการ

หากติดขัดในการแต่งเพลง เทคนิคที่ติ๊ก ชิโร่ไม่เคยบอกใคร คือ ให้หยิบหนังสืออะไรก็ได้ขึ้นมา หรือดูแป้นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ ไล่ดูตัวอักษรที่ลอยขึ้นมา สักพักจะทำให้เราสามารถแต่งเพลงต่อได้

วิกฤตโควิด—19 ต่อวงการดนตรี

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมถึงในแวดวงคนดนตรี พี่ติ๊กเล่าว่า การเข้าไปทำงานตามร้านอาหาร ผับ บาร์ไม่ได้ของศิลปิน นักร้อง นักดนตรี ทำให้ตนมีความห่วงใยในฐานะ CSR และนักดนตรีรุ่นพี่ จึงได้นำเงินของตัวเองจำนวน 2 แสนบาทมาตั้งเป็นโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ปล่อยข่าวไปในกลุ่มนักดนตรี จากนั้นจะมีนักดนตรีเดินทางมาเล่นดนตรี จบแล้วจะมีการมอบเงินให้ วงละ 5,000 บาท สิ่งสำคัญคืออยากให้นักดนตรีของไทยมีเพลงที่เป็นของตัวเอง ใครที่เดินทางมาก็จะขอให้เล่นเพลงของตัวเองก่อน  โครงการครั้งนี้ช่วยได้ถึง 300 วง

ชีวิตจริงเป็นคนโรแมนติกไหม?

จากเพลงรักหวานซึ้งมากมายที่ถูกถ่ายทอด ทำให้มีคำถามว่าในชีวิตจริงนั้น ติ๊ก ชิโร่เป็นคนโรแมนติกไหม โดยพี่ติ๊กได้ตอบว่า ตัวเองถือว่าเป็นคนโรแมนติก อิงจากเนื้อเพลงชัดเจนในท่อนที่ร้องว่า ที่ไม่ใช่เป็นความรักที่แปลกๆ
เหินๆ ห่างๆ อยากใกล้กัน อยากชิดกัน อยากพูดทุกวัน ฉันรักเธอ นี่แหละคือคำว่าชัดเจน รักในแบบฉบับติ๊ก ชิโร่

พี่ติ๊กให้ข้อคิดที่น่าสนใจในเรื่องของความรักไว้ว่า ถึงแม้จะครบรอบการแต่งงานมา 30 ปีแล้ว แต่บางครั้งความรักไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์แบบอย่างเดียว มันมีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นตัวแปร เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความเป็นจริง ที่เราต้องยอมรับให้ได้

แผนในวัย 60 ปีของ ติ๊ก ชิโร่

พี่ติ๊กเล่าว่าในวัย 60 ขึ้นไปก็จะยังคงร้องเพลง แต่งเพลง และทำงานศิลปะอยู่ ถ้าถามว่าสนใจอะไรบ้างในอายุ  60 ไปแล้วนั้น เจ้าตัวตอบว่าอยากจะ Cool down ลงมา ทำใจสบาย ๆ อยู่กับธรรมชาติ วาดรูป ทำงานศิลปะไปเรื่อย ๆ  แถมยังเผยอีกว่าจะมีคอนเสิร์ตของติ๊ก ชิโร่ มาในชื่อ คอนเสิร์ตแซยิด และจะมีผลงานเพลงออกมาเรื่อย ๆ ทั้ง 300 เพลงที่ถือลิขสิทธิ์อยู่ อาจจะมีศิลปินต่าง ๆ มาร่วมร้อง ละยังอาจจะมีโปรเจคที่สร้างเพื่อคนรุ่นใหม่อีกด้วย

ติ๊ก ชิโร่ ทิ้งท้ายไว้ว่า การที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จได้นั้น มีอยู่ไม่กี่อย่าง อย่างหนึ่งคือใจรัก มุ่งมั่น อย่างที่สองคือ ต้องมีวินัย และวันนึงโอกาสจะเป็นของเรา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top