Sunday, 28 April 2024
VIDEO

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 25 พฤษภาคม 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 กับประเด็น 'จีน-รัสเซีย' จับมือ การทูตวัคซีน เปลี่ยนมือมหาอำนาจ

สัมภาษณ์สด ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
.

.

คุณโอ่ง ณัฐชา ปัทมพงศ์ | THE STUDY TIMES STORY EP.26

บทสัมภาษณ์ คุณโอ่ง ณัฐชา ปัทมพงศ์ ปริญญาตรี Bachelor of Humanities and Arts in International Relations and Music Technology, Carnegie Mellon University, สหรัฐอเมริกา
ทำในสิ่งที่รักและมี Passion จะทำให้มีแรงขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายในทุกวัน

คุณโอ่ง นักร้องนำวง Mellow Motif ปัจจุบันรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร ปริญญาโทนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่องานบันเทิง (Entertainment Innovation Center หรือ EIC) 

ย้อนกลับไปคุณโอ่งเกิดที่อเมริกา แต่กลับมาโตที่เมืองไทย เข้าเรียนโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงชั้นม.3 และไปเรียนต่อไฮสคูลที่อเมริกา หลังจากนั้นได้เข้าเรียนปริญญาตรี Bachelor of Humanities and Arts in International Relations and Music Technology, Carnegie Mellon University สหรัฐอเมริกา

คุณโอ่งเล่าว่า การศึกษาที่อเมริกาส่งเสริมให้คิดนอกกรอบ ให้ลองผสมผสานสิ่งต่างๆ ไม่มีอะไรผิด และการที่ได้เรียนรู้อะไรที่หลากหลาย ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งตอนที่เรียนอยู่ยังไม่รู้ว่าจะเอาความรู้ตรงนั้นไปทำอะไร แต่สิ่งที่เขาพยายามส่งเสริมให้ทำ คือการตามหา Passion อะไรที่ชอบ อะไรที่ทำได้ดี เมื่อออกมาทำงานจริงจะรู้ได้ว่าความรู้ที่สั่งสมมา แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ทำให้การแก้ปัญหา หรือหาทางออกทำได้ไม่เหมือนคนอื่น ด้วยความที่เห็นมามากกว่า หรือทำมามากกว่า 

ความจริงแล้วคุณโอ่งไม่ได้อยากเป็นนักร้อง เข้ามหาวิทยาลัยตั้งเป้าที่จะเรียน Fine Art แต่พอขึ้นชั้นปีที่ 2 เกิดอุบัติเหตุตกบันได เส้นประสาทอักเสบ แขนขวาใช้งานไม่ได้ไปประมาณปีกว่า ซึ่งทำงาน Art ไม่ได้ แต่ไม่อยากทิ้งสิ่งที่เรียนมา และด้วยความที่ไม่อยากจบช้า จึงไปตามหาเมเจอร์ใหม่ จากศิลปินที่ไม่สามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ จึงต้องหันไปทางดนตรีด้วยการเรียนร้องเพลง และเริ่มเรียนคลาสแจ๊สที่มหาวิทยาลัย เรียนจนเกิดความรัก กระทั่งได้มาเป็นนักร้องนำวง Mellow Motif 

คุณโอ่งใช้ชีวิตที่อเมริกานานกว่า 10 ปี ก่อนจะกลับมาทำงานที่ประเทศไทย พบความแตกต่างในด้านการทำงาน ด้วยความที่ปักหมุดไว้กับอาชีพศิลปิน การทำงานในช่วงแรกจะเป็นการทำงานกับวง นักดนตรี ทีมงานคนไทย ซึ่งจากสภาพแวดล้อมที่อเมริกาส่งเสริมให้พูด ทำให้พูดคุณโอ่งเป็นคนเปิดเผย ตรงไปตรงมา แต่สภาพสังคมไทยจะไม่ค่อยคุยกันตรงๆ จึงต้องหาวิธีปรับตัวทางด้านการสื่อสาร

การเป็นนักร้องนำวง Mellow Motif วงแจ๊ซ/บอซซ่าแนวหน้าของเมืองไทย คุณโอ่งได้ใช้ทักษะที่เรียนมาจากอเมริกาแทบทั้งหมด เพราะนอกจากการเป็นนักร้องนำแล้ว คุณโอ่งยังดีลงานภายในวงเอง คุณโอ่งคิดว่าสิ่งที่ทำให้วง Mellow Motif ไปได้ไกล อาจไม่ใช่เรื่องของสกิล แต่เป็นเพราะดนตรีไม่เหมือนใคร มีความพิเศษและเอกลักษณ์เฉพาะตัว

การเป็นนักร้องทำให้ได้เดินทางไปแสดงในหลายๆ ประเทศ คุณโอ่งได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดคือการไปแสดงที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ศึกษาและให้ความสำคัญกับศาสตร์นั้นๆ อย่างมาก ทำให้เวลาทัวร์มีความสุข เพราะคนที่นั่นจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรานำเสนอ คนฟังจะเงียบ ฟังเป็น และศึกษามา

ปัจจุบันคุณโอ่งเป็นผู้อำนวยการหลักสูตร ปริญญาโทนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่องานบันเทิง (Entertainment Innovation Center หรือ EIC) ที่มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ที่เกิดจากความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ด้วยความพยายามที่จะทำให้เป็นผู้นำการศึกษาด้านเทคโนโลยี

คุณโอ่งเป็นคนที่รักมหาวิทยาลัยที่จบมาอย่าง Carnegie Mellon University มาก มีความเชื่อและมี Passion ที่อยากให้คนสัมผัสถึงระบบการศึกษาและวัฒนธรรม และด้วยความที่อยู่ในอุตสาหกรรมดนตรีมาอย่างยาวนานทำให้มีคอนเนคชั่น และอยากให้มีโปรแกรมรูปแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นที่มาของบทบาทผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่องานบันเทิง (Entertainment Innovation Center หรือ EIC)

สิ่งที่ช่วยให้คุณโอ่งไม่ละทิ้ง Passion ของตัวเอง โดยที่ไม่ท้อหรือไม่หมดไฟไปก่อน เนื่องจากมีการวางแผนระยะยาว แต่ในภาพใหญ่จะมีเป้าหมายระยะสั้นที่สามารถทำให้สำเร็จได้ สิ่งที่เกิดขึ้นอาจได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่เมื่อผลออกมาแล้วจะต้องหาทางทำให้ผลนั้นเอื้อต่อเป้าหมายต่อไป คุณโอ่งกล่าวว่า บางทีที่เราเดินทางตรงไม่ได้ เพราะทางตัน แต่อย่างน้อยเรารู้ว่าเราต้องไปตรงนี้ เราก็จะยังหาทางไปได้ ถ้าเห็นเป้าหมาย เราจะไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เพราะรู้สึกว่ามันไม่ได้ไกลเกินเอื้อม 


.

.

.

 

THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์ที่หก พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม - วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม

⏰ทุกวัน เวลา 2 ทุ่มตรง

พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????EP.26 วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม

คุณโอ่ง ณัฐชา ปัทมพงศ์ ปริญญาตรี Bachelor of Humanities and Arts in International Relations and Music Technology, Carnegie Mellon University, สหรัฐอเมริกา

????EP.27 วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม

คุณเสกฬ์ ดร. ศตเนติ เนติภัทรชูโชติ ปริญญาเอก Ph.D in International Law (Criminal & Human Rights Laws), University of Groningen, เนเธอร์แลนด์

????EP.28 วันพุธที่ 26 พฤษภาคม

คุณแพรวา กัลยรัตน์ ธุระกิจเสรี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ประเทศจีน

????EP.29 วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม

คุณตอง ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ปริญญาโท International Journalism (เกียรตินิยมอันดับ 1), Cardiff University, แคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร

????EP.30 วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม

คุณนุ่น สุภาวดี สิริฤกษ์วิภาส ได้รับทุนพัชรกิติยาภาเพื่อการศึกษากฎหมาย Cornell University - LL.M, สหรัฐอเมริกา

✅ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Head of Content Editor THE STUDY TIMES

????ช่องทางรับชม

Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES / THE STATES TIMES

Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/1 ตอน หยุดผลักดันผู้ลี้ภัย คนทุกคนควรได้รับการดูแลตามหลักมนุษยธรรม

หยุดผลักดันผู้ลี้ภัย คนทุกคนควรได้รับการดูแลตามหลักมนุษยธรรม

หลักมนุษยธรรม คือ หลักสากลที่จะต้องช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ในยามหนีตายจากภาวะสงคราม แต่รัฐบาลไทยกลับผลักดันให้ผู้ลี้ภัยจากเมียนมาร์กลับประเทศ จิตใจทำด้วยอะไร ?

พบกับ มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Host & Content Creator THE STATES TIMES

.

.

คุณแพรว สุพิชญา สุนทรจิตตานนท์ | THE STUDY TIMES STORY EP.25

บทสัมภาษณ์ คุณแพรว สุพิชญา สุนทรจิตตานนท์ ปริญญาตรีเกียรตินิยมเกรด 4.00 และปริญญาโทเกรด 3.95  Portland State University, สหรัฐอเมริกา
เรียนดี กิจกรรมเด่น เกียรตินิยม 4.00 จาก Portland State University, สหรัฐอเมริกา

ช่วงมัธยมคุณแพรวเรียนอยู่ที่สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี เรียนห้อง Gifted ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ช่วง ม.1-ม.3 เพราะชอบเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก เมื่อขึ้นชั้น ม.4 ได้เข้าเรียนในสายวิทย์-คณิต จากนั้นมีโครงการของ AFS มาแนะแนว จึงได้ลองสมัครสอบเลือกไปอเมริกา ซึ่งคุณแพรวเคยสมัครครั้งแรกไปตั้งแต่ ม.3 แต่ยังไม่ได้ ปีต่อมาก็ยังไม่ยอมแพ้ลองสอบอีกรอบ จนได้เป็นตัวจริง ไปอยู่ที่ Portland กับโฮสแฟมิลี่ 1 ปี หลังจากนั้นกลับมาเข้าเรียนต่อชั้นม.6 จนจบ หลงรักและมีความประทับใจในเมือง Portland เป็นจุดเริ่มต้นให้กลับไปเรียนต่อปริญญาตรีที่ Portland State University

ครั้งแรกที่ไป คุณแพรวเลือกเรียนในสายวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ที่ Portland State University ถ้าเข้าไปเรียนแล้วยังไม่ชอบก็สามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งคุณแพรวรู้สึกว่ายังไม่ชอบมากขนาดนั้น ครั้งที่สองเลยเปลี่ยนไปสายเคมี แต่ก็ยังไม่ใช่ จนสุดท้ายไปลงตัวเรียนด้านคณิตศาสตร์ จนสามารถคว้าปริญญาตรี BACHELOR OF SCIENCE IN MATHEMATICS, GPA 4.0 เกียรตินิยมมาครองได้

เทคนิคการเรียนของคุณแพรวคือการมีทัศนคติที่ดี ต้องมีความสุขกับการเรียน ทำอะไรต้องมีความสุขกับมัน ไม่คิดต่อต้าน หาจุดที่ดีและแฮปปี้ ที่สำคัญคุณแพรวเป็นคนที่ตั้งใจเรียนในห้อง ฟังอาจารย์ จดเลคเชอร์ มีข้อสงสัยก็ถามอาจารย์ในห้อง ทำให้นอกเวลาเรียนไม่ต้องอ่านหนังสือเยอะ สามารถมีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้

เมื่อเรียนจบปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์แล้ว คุณแพรวรู้สึกว่าคณิตศาสตร์เน้นทฤษฎีเยอะมาก ปริญญาโทเลยอยากเรียนในด้านปฏิบัติที่สามารถนำมาปรับใช้ได้จริง จึงเลือกเรียนต่อปริญญาโทในสาขา INTERNATIONAL BUSINESS MANAGEMENT ที่ Portland State University GPA 3.95

การใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา
คุณแพรวอยู่ใจกลางเมือง Portland ชีวิตค่อนข้างสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เวลาอยากไปไหนจะใช้รถไฟที่เรียกว่า แม็กซ์ คล้ายกับรถไฟฟ้าบ้านเรา แต่อยู่บนถนน ผู้คนในเมือง Portland มีอัธยาศัยดีมาก ยิ้มแย้ม เฟรนด์ลี่ 

ความแตกต่างด้านการศึกษาไทยและอเมริกา
การศึกษามีข้อดีข้อเสียทั้งสองระบบ ของไทยจะมุ่งเน้นทฤษฎีมาก นักเรียนนั่งเรียนในห้องเป็นหลัก พอไปเรียนที่อเมริกา เราจึงมีความแม่นในเรื่องของทฤษฎี แต่ที่อเมริกาจะมุ่งเน้นให้ได้ปฏิบัติจริง คลาสแล็บ 50-60% ได้ปฏิบัติเยอะกว่า ทำให้เห็นภาพได้เยอะขึ้น และจำได้ดีกว่า

เทคนิคการฝึกภาษา (TOEIC Score: 965) (HSK Level 3) 
คุณแพรวเป็นคนชอบเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก เทคนิคคือเป็นคนชอบปฏิบัติ กล้าที่จะพูด กล้าที่จะเจอผู้คนที่หลากหลาย ตอนอยู่อเมริกาจะออกไปข้างนอก ไปคุยกับผู้คน ได้คำศัพท์ใหม่ๆ และเป็นคนชอบความบันเทิง เรียนจากการฟังเพลง ดูหนัง ทำให้จำได้ บางครั้งไปเจอคำศัพท์เดียวกันใน TOEIC อีกทั้งสิ่งนี้ยังทำให้มีความรู้รอบตัวมากขึ้น และข้อสำคัญคือคุณแพรวเป็นคนใฝ่รู้ ชอบเรียนรู้หลายๆ อย่าง เมื่อมีเวลาว่างแล้วสนใจสิ่งไหนก็จะไปลงเรียนเพิ่มเติม

ส่วนจุดเริ่มต้นในการเรียนภาษาจีนคือ คุณแพรวเคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนโปรแกรมสั้นๆ ที่สิงคโปร์ เจอเพื่อนสิงคโปร์ที่สามารถพูดภาษาจีนได้ แล้วอยากพูดได้บ้าง ทั้งยังชอบดาราจีนคนหนึ่ง อยากเรียนเพื่อเวลาดูซีรีย์จะได้เข้าใจ คุณแพรวมีความคิดว่าการได้ภาษาจีนเป็นจุดเด่น ไปได้หลายประเทศ และทำให้สื่อสารกับคนได้มากขึ้น ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้อยากเรียนต่อไปเรื่อยๆ 

ช่วงที่อยู่อเมริกาคุณแพรวทำกิจกรรมหลายอย่าง วันแรกของการไปเรียน มีชมรมมาเปิด แต่คุณแพรวไม่พบชมรมนักเรียนไทย Advisor จึงให้คำแนะนำว่าลองตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากนักเรียนเพียง 4 คน มีคุณแพรวเป็นคนไทยคนเดียว จากนั้นกลุ่มคนที่มีความสนใจในความเป็นไทยก็มารวมตัวกันเป็นกลุ่มชมรมที่ใหญ่ขึ้น

ปัจจุบันคุณแพรวทำงานเกี่ยวกับ International Trading การค้าระหว่างประเทศ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ติดต่อกับคู่ค้าในหลายๆ ประเทศ ใช้สิ่งที่เรียนมาทางด้าน Business นำสกิลหลายๆ อย่างจากการเรียนและการทำกิจกรรมมาปรับใช้ในการทำงานจริงได้

สิ่งที่อยากผลักดันด้านการศึกษาในประเทศไทย
สิ่งที่คุณแพรวอยากผลักดันในการศึกษาไทย อย่างแรกคือ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เห็นได้ว่าคนที่มีฐานะดีจะได้รับอภิสิทธิ์ในการเรียนโรงเรียนที่ดี ได้รับการศึกษาที่ดีกว่า แต่คนที่บ้านไม่มีเงิน ก็จะไม่มีโอกาสได้เรียนขนาดนั้น ขณะที่อเมริกาการศึกษาให้โอกาสกับทุกคน โรงเรียนมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ต่อมาคือเรื่องระบบการศึกษา ควรมีทางเลือกมากขึ้น มีการปฏิบัติมากขึ้น ให้เด็กไทยมีความกล้าที่จะถาม มีคลาสที่เปิดให้ Discuss ผลักดันให้เด็กกล้าพูด ไม่วิจารณ์สิ่งที่เด็กพูดว่าถูกหรือผิด เปิดกว้างด้านความคิด

คุณแพรวทิ้งท้ายสำหรับคนที่อยากไปเรียนต่อต่างประเทศว่า หากเรามีความพยายาม มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีความคิดที่เป็น Positive สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้

.

.

.

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 กับประเด็นอัพเดทสถานการณ์โควิด-19 และจับตา ศบค. ประกาศขยาย พระราชกำหนดฉุกเฉิน ครั้งที่ 12

สัมภาษณ์สด นายธนนันท์ วงศ์วศวัฒน์ ผู้สื่อข่าวอาชญากรรม 7 HD

.

.

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 กับ ประเด็น 'เรื่องเล่าจากคนบางแค หลังได้รับการฉีดวัคซีนที่แรกในกรุงเทพมหานคร'

สัมภาษณ์สด ดร.ตั้น กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

.

.

คุณเบล ศุภนุช ชือรัตนกุล | THE STUDY TIMES STORY EP.24

บทสัมภาษณ์ คุณเบล ศุภนุช ชือรัตนกุล ประถมศึกษา โรงเรียน Tampines Secondary School, สิงคโปร์ 
ปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาชีววิทยา Mahidol University International College (MUIC)
ปริญญาโทที่สถาบัน Asian Institute of Technology (AIT)
เพราะความประทับใจระบบการศึกษาวัยเด็ก สานฝันแนะแนวเด็กไทยเรียนสิงคโปร์

ครูเบลได้ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์ ตั้งแต่ช่วงชั้นประถม แรกเริ่มเข้า ป.4 จนกระทั่งจบชั้นม. 4 การเรียนการสอนที่สิงคโปร์จะมีเรียนเพียงครึ่งวัน อีกครึ่งวันจะมีกิจกรรมให้เลือกทำ เลิกเรียนก็จะกลับบ้านมาอยู่กับโฮสแฟมิลี่ ที่สิงคโปร์มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทย แต่บุคลิกอาจแตกต่างกันบ้าง เช่น คนสิงคโปร์เป็นคนทำอะไรรวดเร็ว ทั้งการเดินและการพูด 

ที่สิงคโปร์จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก บางครั้งมีการผสมภาษาจีนเข้ามาในการสื่อสารด้วย ตอนไปครั้งแรกครูเบลยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนได้เลย ช่วงสามเดือนแรกครูเบลแทบไม่คุยกับใคร เพราะพูดไม่รู้เรื่อง ไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ กลัวเขาฟังไม่เข้าใจ ถึงขนาดไม่กล้าสั่งข้าวในโรงเรียน หลังจากนั้นสภาพแวดล้อมและสถานการณ์บังคับให้ฟังออกและพูดได้ 

ครูเบลเล่าว่า ช่วงป.4 ผลการเรียนถือว่าแย่มาก เป็นช่วงแห่งการปรับตัวและเริ่มเรียนภาษาจีนอย่างจริงจัง กระทั่งช่วงปิดเทอมม.1 กลับมาที่ไทย คุณแม่ได้ส่งไปเข้าค่ายยุวพุทธ 3 วัน 2 คืน ฝึกนั่งสมาธิ ฝึกการโฟกัส สอนให้มีสติกับสิ่งที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้นำตรงนั้นมาใช้หลังกลับมาเรียนที่สิงคโปร์ จนสามารถทำผลการเรียนเป็นอันดับ 1 ของชั้นติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ที่โรงเรียน Tampines Secondary School 

ครูเบลเล่าว่า การเรียนที่สิงคโปร์จะสอนว่าทุกอย่างที่เรียนจะนำมาใช้ได้อย่างไร เน้นที่การประยุกต์ใช้เป็นหลัก เมื่อกลับมาเรียนที่เมืองไทยเลยค่อนข้างง่าย เพราะถูกสอนมาอย่างดี

หลังจากจบการศึกษาที่สิงค์โปร์ ครูเบลได้กลับมาศึกษาระดับปริญญาตรีที่ Mahidol University International College (MUIC) สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผลการเรียนเกียรตินิยมอันดับ 1 และได้รับทุนรัฐบาลไทยให้ศึกษาต่อปริญญาโทที่สถาบัน Asian Institute of Technology (AIT) เรียนเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางทะเล โดยมีความสนใจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นทุนเดิม

ครูติวสอบการเรียนต่อประเทศสิงคโปร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย
เนื่องจากช่วงที่ครูเบลกลับมาจากสิงคโปร์ เป็น TA ช่วยสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นมีรุ่นน้องที่อยู่สิงคโปร์มาขอให้ช่วยติวข้อสอบ เป็นจุดเริ่มต้นการสอนมาตั้งแต่สมัยเรียน จนถึงปัจจุบัน

การสอบ AEIS
Admission Examination for International Students (AEIS) คือ ข้อสอบสำหรับนักเรียนทุกคนที่ต้องการสอบเข้าโรงเรียนรัฐบาลสิงคโปร์

ครูเบลเล่าว่า สมัยก่อนการไปเรียนสิงคโปร์ยังไม่ได้รับความนิยมขนาดนี้ จนกระทั่งจีนเปิดประเทศมากขึ้น คนจึงอยากส่งลูกเข้าไปเรียนที่สิงคโปร์ ทำให้การเรียนของสิงคโปร์ดรอปลง จึงยกระดับการศึกษาด้วยการจัดสอบ AEIS สำหรับเด็กต่างชาติโดยเฉพาะ ความยากคือต้องแข่งขันกับเด็กต่างชาติทั่วทุกมุมโลก

การสอบ AEIS สามารสอบได้ตั้งแต่ระดับป.2 จนถึง ม.3 จะสอบไม่ได้ช่วงป.6 และ ม.4 เพราะเป็นช่วงที่มีข้อสอบใหญ่ ยิ่งระดับโตขึ้นการสอบจะยิ่งยากขึ้น 

ครูเบลกล่าวว่า ผู้ปกครองส่งเด็กไทยไปเรียนสิงคโปร์กันเยอะ มีเหตุผลอยู่ 4 ข้อ คือ 
1.) ใกล้ 
2.) ระบบการศึกษาดี 
3.) ปลอดภัย และ
4.) ได้ภาษาจีน ที่สำคัญสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาเหมาะกับเด็กเล็ก

สำหรับเด็กที่อยากไปเรียนต่อประเทศสิงคโปร์ คุณเบลแนะนำว่า ต้องฝึกวิชาภาษาอังกฤษและเลข เพราะวิชาที่ต้องสอบมีเพียงสองวิชานี้ ให้เตรียมตัวในระบบของสิงคโปร์ ติวข้อสอบของสิงคโปร์ไว้ได้เลย


.

.

.

คุณป๊อป ณัฐพงศ์ นำศิริกุล | THE STUDY TIMES STORY EP.23

บทสัมภาษณ์ คุณป๊อป ณัฐพงศ์ นำศิริกุล ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท หลักสูตร MBA บริหารธุรกิจ ภาค International สาธารณรัฐประชาชนจีน
ครูสอนภาษาจีนเพื่อใช้ได้จริง และอุทิศตนเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน

คุณป๊อปหรือครูพี่ป๊อป เรียนจบมาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ เน้นภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ตอนนั้น ช่วงเข้ามหาวิทยาลัยเลือกเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะมีความใฝ่ฝันและชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังไว้ว่าสายวิทย์มีทางเลือกมากกว่า ครูป๊อปมองว่าคณะสถาปัตย์เป็นสิ่งที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสายวิทย์และสายศิลป์ คือใช้วิทย์-คณิตในการสอบเข้า และต้องมีทักษะการวาดรูปด้วย เมื่อได้เข้าไปเรียนถือเป็นคณะที่ตอบโจทย์ครูป๊อปทุกอย่าง

เพราะครูป๊อปมีความชอบหลายอย่าง ทั้งวาดรูป ฟังเพลง กีฬา ภาษา เมื่อเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังคงฟังเพลงเพื่อชีวิต ดูหนังฝรั่ง ฟังเพลงฝรั่ง แต่ครูป๊อปพยายามมองหาอะไรที่แตกต่างจากคนอื่น จึงเลือกไปเรียนต่อที่ประเทศจีน

ย้อนกลับไป 15 ปีก่อน ประเทศจีนไม่ได้เป็นที่นิยมเรียนต่อมากขนาดนี้ คุณป๊อบตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาโท หลักสูตร MBA บริหารธุรกิจ ภาค International ประเทศจีน โดยเรียนเป็นภาคภาษาอังกฤษ 100% เนื่องจากไม่มีทักษะภาษาจีนมาก่อน แต่ข้างนอกห้องเรียนจะพูดคุยกันเป็นภาษาจีนทั้งหมด จึงเป็นสิ่งที่บีบให้ครูป๊อปได้ใช้ทั้งสองภาษาโดยอัตโนมัติ 

หลังเรียนจบ เมื่อมีทักษะภาษาจีน และได้ภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิม ครูป๊อปเลือกเป็นสถาปนิก ทำงานต่อ ณ ประเทศจีน โดยเจ้านายคนแรกเป็นชาวบรูไน พบเจอกันจากการไปเดินชมย่านเมืองเก่าในประเทศจีน เจ้านายนำวัดเก่ามารีโนเวทให้เป็นออฟฟิศสถาปนิก มีพนักงานเป็นคนจีนทั้งหมด ถือว่าเป็นพื้นที่ในฝันของครูป๊อป จึงได้เข้าไปพูดคุย ด้วยความที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ และเจ้านายเป็นคนต่างชาติที่ทำงานในประเทศจีน เกิดความถูกใจรับเข้าทำงาน 

เคล็ดลับในการฝึกภาษาจีนของครูป๊อป คือ ช่วงที่เรียนอยู่ประเทศจีน หากได้ยินคำไหนที่ไม่รู้จะจดไว้เป็นภาษาคาราโอเกะทันที ได้ยินยังไงก็พิมพ์ไปแบบนั้น แล้วนำมาถามเพื่อนคนจีน เทคนิคสำคัญขอเพียงแค่กล้าพูดและนำมาแก้ไข

ครูสอนภาษาจีน แห่งสถาบัน Chinese Pop-up 
เมื่อครูป๊อปเดินทางกลับมาประเทศไทย เริ่มเป็นพิธีกรภาคภาษาจีนและรู้สึกว่าตัวเองสามารถสอนได้ ได้เริ่มสอนที่โรงเรียนสีตบุตรบำรุง เป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากนั้นอยากเปิดหลักสูตรเป็นของตัวเอง จึงได้เปิดสถาบัน Chinese Pop-up ขึ้นมา ใช้ชื่อหลักสูตรว่า ‘จีนจำเป็น’ จะสอนเฉพาะสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้ยังได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เพราะสิ่งที่ครูป๊อปสอนมีความลัด สั้น ตรง และใช้ได้จริง

บทบาทที่หลากหลาย (อาจารย์พิเศษ, พิธีกร / ผู้ประกาศ / นักจัดรายการโทรทัศน์และวิทยุ)
นอกจากจะเป็นติวเตอร์สอนภาษาจีนแล้ว ครูป๊อปยังเป็นทั้งพิธีกร อาจารย์พิเศษ และนักจัดรายการโทรทัศน์และวิทยุ ทุกวันนี้การสอนเป็นพาร์ทที่เล็กมากสำหรับครูป๊อป เนื่องจากหันมาผลิตรายการที่เป็นภาษาจีนซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะเล็งเห็นจุดอ่อนของสังคมไทยที่หาพิธีกรพูดภาษาจีนไม่ได้เลย อีกทั้งการฟังภาษาจีนรู้เรื่องทั้งหมด ทำให้สามารถสร้างมูลค่าได้ทั้งงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

ความฝันของครูป๊อป คือ อยากเป็นสะพานพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น ผลักดันให้สองประเทศมีความสัมพันธ์อันดียิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยภาษา พยายามสร้างให้คนไทยได้ภาษาจีน และให้คนจีนรู้เรื่องเมืองไทย มีทัศนคติที่ดีระหว่างกัน

สิ่งที่อยากผลักดันด้านการศึกษาในประเทศไทย
ในด้านการศึกษาในประเทศไทย ครูป๊อปมองว่า ต้องขุดไปแก้เยอะมาก หลายสิ่งที่อยากทำไม่สามารถทำให้เป็นรูปธรรมได้ เราอยู่ในสังคมที่มีกรอบเยอะ เราเปลี่ยนอะไรในประเทศนี้ยาก ขณะที่โลกทั้งใบการศึกษากำลังเปลี่ยนไป คนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยลดลงทั่วโลก เพราะเขารู้สึกว่าไม่จำเป็น  ระบบการศึกษาไทยต้องมีความครีเอทีฟมากกว่านี้ ถ้ามีระบบการศึกษาที่ดี เฉียบขาด เด็กไทยจะไม่อยากย้ายประเทศมากขนาดนี้

.

.

.

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 กับ ประเด็น 'เปิดใจราชทัณฑ์' บริหารจัดการสถานการณ์โควิค-19 ภายในเรือนจำอย่างไร? และสัมภาษณ์ผู้รับได้รับวัคซีนโควิค-19

สัมภาษณ์สด นายแพทย์วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์

และสัมภาษณ์ ผศ.ดร.เอราวัณ ทับพลี ผู้รับได้รับวัคซีนโควิค-19

.

.

คุณครีม ณัชชารีย์ สมศิริมงคล | THE STUDY TIMES STORY EP.22

บทสัมภาษณ์ คุณครีม ณัชชารีย์ สมศิริมงคล คณะ Business English- IBM, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 
เรียนภาษาจีน University of International Business and Economics, ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
จากคนที่ไม่เคยเรียนต่อต่างประเทศ ฝึกภาษาอังกฤษเอง คว้าตำแหน่งแฮร์โอสเตสสายการบินเอมิเรตส์

คุณครีม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) คณะ Business English- IBM และยังไม่เคยไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองนอกมาก่อน แต่สามารถพูดได้ตามมาตรฐานผ่านการฝึกของตัวเอง 

หลังจบการศึกษาจาก ABAC คุณครีมมีโอกาสได้ไปทำงานเป็น Promoter กับ Qatar Airways หลังจากนั้นรู้สึกว่าภาษาจีนมีความสำคัญ จึงตัดสินใจไปเรียนภาษาจีนที่ University of International Business and Economics ( 对外经贸大学, Beijing, China) ระยะเวลาหนึ่งปี

การฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ
คุณครีมแนะนำว่า หากจะฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ ต้องฝึกจากการฟัง พยายามพูดตาม การดูหนัง ฟังเพลง ฟังข่าวภาษาอังกฤษ จะทำให้ซึมซับไปในตัว สำหรับคุณครีมถ้าอยากได้สำเนียงแบบไหน จะเลียนแบบและฟังการพูดแบบนั้นทุกวัน อย่างน้อยวันละ 15 นาที 

จุดเริ่มต้นอาชีพ แอร์โฮสเตส
สำหรับคุณครีม อาชีพแอร์โฮสเตสจุดประกายมาจากการทำงานที่ Qatar Airways เพราะความฝันที่จะได้เที่ยวรอบโลก เปิดโลกกว้าง เงินเดือนเยอะ ได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ดูยูนิฟอร์มของแอร์เอมิเรตส์แล้วเกิดความชื่นชอบ ตั้งเป้าไว้ว่าวันหนึ่งต้องได้ใส่ชุดนี้ 

คุณครีมเล่าว่า ขั้นตอนการคัดเลือกแอร์เอมิเรตส์มีประมาณ 6 ด่าน ด่านแรก pre-screen ดูความพร้อมตั้งแต่ การแต่งตัว หน้าผม บุคลิก ภาษา บางคนแต่งหน้าทำผมอย่างดี ยื่นเรซูเม่ไม่ถึงห้าวินาที ได้กลับบ้านก็มี การเป็นแอร์แต่ละสายการบินจะมีจุดแข็งจุดดีแตกต่างกัน การเตรียมตัวพร้อมยังไงก็ดีกว่าการไม่เตรียมตัวเลย

การจะเป็นแอร์โฮสเตสของสายตะวันออกกลาง ต้องสอบภาษาอังกฤษของสายการบินด้วย แต่ถ้าสายในไทยจะใช้ TOEIC นอกจากนี้ยังมีการทดสอบพูด Public Speaking ต่อหน้ากรรมการ โดยที่ไม่มีโจทย์มาให้ก่อน 

คุณครีมคิดว่า สิ่งที่ทำให้คุณครีมได้รับการคัดเลือก น่าจะเป็นเพราะเรื่องของทีมเวิร์ค การตอบคำถาม การแก้ปัญหา ซึ่งทุกด่านใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด

ประสบการณ์เป็นแอร์เอมิเรตส์ กว่า 5 ปีที่ผ่านมา คุณครีมเล่าว่า ได้ครบทุกรสชาติ สิ่งที่ดีที่สุด มีทั้งการได้เป็น Dubai influencer ได้ทำหน้าที่รีวิวตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะไม่ใช่แอร์ทุกคนจะได้รับโอกาสนี้ ดูไบมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำให้เจออย่างน้อย 6 สัญชาติต่อวัน ฉะนั้นที่ดูไบจะต้องการ influencer ที่หลากหลาย การเป็นแอร์เอมิเรตส์  มีข้อดีคือเป็นแบรนด์ที่ทุกคนรู้จักกันทั่วโลก นอกจากนี้คุณครีมยังเคยเป็นล่าม ช่วยโปรโมทการท่องเที่ยวไทยในดูไบ 

ถึงวันหนึ่งที่ต้องมีการคัดคนออก เนื่องจากวิกฤติโควิด-19 คุณครีมเป็นล็อตสุดท้ายที่โดนจ้างออก และเที่ยวสุดท้ายที่ได้บินมีผู้โดยสารติดโควิด ถือว่าเป็นจุดที่ทำให้รู้สึกแย่อยู่บ้าง

Flywithcream Academy สอนภาษาอังกฤษและพัฒนาบุคลิกภาพ  
หลังจากช่วงที่โดนจ้างออก คุณครีมได้ไปลงเรียนเพื่อรับใบรับรองการสอนภาษาอังกฤษ Cambridge Certificate in teaching English (CELTA) เป็นโปรแกรมอบรมการสอน 2 เดือนเต็มทางออนไลน์ 

สืบเนื่องจากตอนที่อยู่ดูไบ คุณครีมได้ทำทั้ง YouTube Instagram Facebook TikTok  มีฐานผู้ติดตามกว่าสองแสนคน ที่สนใจในเรื่องของการเป็นแอร์โฮสเตส และการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ จึงเป็นจุดต่อยอดในการเปิด Flywithcream Academy สอนภาษาอังกฤษและพัฒนาบุคลิกภาพ  

ตัวอย่างเทคนิคในการสอนภาษาอังกฤษ เช่น ทักษะภาษาอังกฤษประกอบด้วย การฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ไม่จำเป็นต้องสอนทั้ง 4 ทักษะในคลาสเดียว ให้ทำเป็นการจับคู่แทน เช่น Listening คู่กับ Specking  ต้องฟังก่อน ค่อยฝึกพูดตาม หรือ Reading คู่กับ Writing ซึ่งในเรื่องของการเขียนต้องได้แกรมม่า

สำหรับผู้ที่สนใจ อยากติดตามรีวิวสาระน่ารู้ เกี่ยวกับอาชีพแอร์โฮสเตส สจ๊วต การบิน เครื่องบิน รวมทั้งสอดแทรกการสอนภาษาอังกฤษ สามารถติดตามได้ทาง Youtuber, Facebook fanpage : flywithcream 

สำหรับคนที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส คุณครีมแนะนำว่า ตอนนี้สายการบินเริ่มกลับมาบินเยอะแล้ว เอมิเรตส์เองได้นำ Airbus A380 เครื่องบินลำใหญ่ที่สุดในโลกกลับมาใช้ ตอนนี้ใครที่อยากเป็นแอร์โฮสเตสหรือสจ๊วตให้เตรียมตัว เพราะมีการคัดลูกเรือออกไปเยอะ ตอนที่รับก็อาจจะรับเข้ามาเยอะเช่นกัน

.


.

.

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 กับ ประเด็นความขัดแย้ง อิสราเอล & ปาเลสไตน์ ภาพต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น ? และเสียงสะท้อนจากผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน

สัมภาษณ์สด อ.ศาสตรา โตอ่อน รุ่งแสง นักวิชาการอิสระ ประเด็น ความขัดแย้งอิสราเอล & ปาเลสไตน์ ภาพต่อไปยังไงต่อ?

และเสียงสะท้อนจาก คุณภาณุรุจ รุ่งวัฒนโสภณ ผู้ได้รับวัคซีนครบแล้ว 2 โดส

.

.

คุณกวาง อรอนงค์ วงษ์ประเสริฐ | THE STUDY TIMES STORY EP.21

บทสัมภาษณ์ คุณกวาง อรอนงค์ วงษ์ประเสริฐ Inclusive Educator (นักการศึกษาด้านการศึกษาพิเศษแนวร่วม) ในโรงเรียนเอกชนนานาชาติ
นักการศึกษาด้านการศึกษาพิเศษแนวร่วม ค้นพบจิตวิญญาณของความเป็นครู จากการอยู่กับตัวเอง

ปัจจุบันครูกวางทำงานอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งใจกลางทองหล่อ ในตำแหน่ง Inclusive Educator มุ่งเน้นที่ Self-Regulation ช่วยให้เด็กเรียนร่วมกับผู้อื่นได้ 

ครูกวางเป็นคนที่พยายามศึกษาตัวเองตั้งแต่ชั้นมัธยม ที่ผ่านมาเลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ และสิ่งที่ทำได้ดี แต่สิ่งที่ทำให้มีความสุขกลับได้ค้นพบหลังจากนั้น 

งานที่ครูกวางทำอยู่ในปัจจุบัน ให้ความรู้สึกว่า ในทุก ๆ เช้าที่ตื่นขึ้นมาอยากไปทำงาน มีความหมายที่จะได้ไปโรงเรียน ไปเจอนักเรียน ความสำเร็จของครูกวางไม่ใช่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ ที่สำเร็จทุกวัน

ย้อนกลับไป ครูกวางเลือกเรียน ปริญญาตรีมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทย (วิชาโท วาทการ) มศว. (ประสานมิตร) ด้วยความตั้งใจครั้งแรกอยากเป็นผู้ประกาศข่าว แต่เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วมีความรู้สึกว่าไม่อยากพูดในสิ่งที่รู้ไม่จริง เลยฉีกไปเป็น พูดในสิ่งที่รู้ รู้ในสิ่งที่พูด ทำให้ตัดสินใจเลือกเอกภาษาไทย กระทั่งได้รับโอกาสเป็นครูภาษาไทยในเอกชนนานาชาติ จนมีจุดหนึ่งที่รู้สึกว่าความพยายามไม่พอ ความสามารถไม่พอ และความถนัดไม่พอ หลังจากนั้นยอมรับความจริงว่าตัวเองยังไม่พอ จึงเลือกไปเรียนต่อ 

การเตรียมตัวด้านภาษา ก่อนเริ่มเรียนปริญญาโท ครูกวางเลือกไปฝึกภาษาอยู่โซนต่างจังหวัดของอังกฤษ เพราะอยากเห็นวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนอังกฤษ หลังจากนั้นได้มาฝึกภาษาอังกฤษที่ลอนดอน มุ่งไปที่ IELTS จริงจังมากขึ้น จนเข้าปีที่สามก็ยังเน้นเรื่องภาษาอยู่ 

เพราะคุยกับตัวเองไว้ว่าจะไม่ทิ้งการสอน ในขณะที่ทำงานในร้านอาหาร ช่วงกลางวันหลังเรียนภาษา คุณกวางก็จะไปสอนภาษาไทยให้กับชาวต่างชาติที่สถาบัน เช่น นักธุรกิจ เจ้าหน้าที่รัฐ  

กระทั่งศึกษาต่อปริญญาโท ด้านการศึกษา ที่ Goldsmiths, University of London เรียนเกี่ยวกับ “อัตลักษณ์” (Identity) เมื่อเรียนจบมาทำให้มองคอนเซ็ปต์ของ “อัตลักษณ์” (Identity) เปลี่ยนไป เกิดความคิดขึ้นมาว่า ในฐานะของผู้สอนและความเป็นครู เราควรสอนให้เด็กเบ่งบานที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเติบโตและเบ่งบาน

หลังเรียนจบ ครูกวางยังอยู่ทำงานที่ประเทศอังกฤษต่ออีกสองปี รวมอยู่อังกฤษนานถึง 6 ปี 7 เดือน สิ่งที่ชื่นชอบคือเรื่องของทางเท้า เพราะเป็นคนชอบเดิน รัฐบาลที่นั่นให้ความสำคัญกับการสร้างสาธารณูปโภคเบื้องต้น อีกสิ่งที่ชื่นชอบคือ ลอนดอนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ถ้าอยากจะเห็นความเป็นอังกฤษจริง ๆ ครูกวางแนะนำว่าต้องไปในโซนต่างจังหวัด

เหตุผลที่ครูกวางอยู่อังกฤษนาน เพราะให้ความสำคัญกับพื้นฐาน ทักษะ และการรู้จักตัวเอง โดยเป็นคนที่ทำงานหนักมากและทำงานที่หลากหลาย มีคอนเซ็ปต์ในการใช้ชีวิต คือ ให้โอกาส อย่างน้อยให้โอกาสตัวเองได้ลองทำ จะรู้ว่าสิ่งไหนชอบ สิ่งไหนยังต้องเรียนรู้อยู่

สิ่งที่ทำให้ครูกวางประทับใจในการศึกษาที่อังกฤษ คือ ความเป็นครูผู้ผลักดัน ครูที่ต้องการดันเพดานของเด็ก ด้วยความที่เห็นตัวอย่างสิ่งนี้จาก Professor ของตัวเอง ครูกวางจึงได้ถ่ายทอดสิ่งนี้ส่งต่อไปยังเด็ก ๆ ที่อยู่ในมือ โดยดึงศักยภาพของพวกเขาออกมา สิ่งที่ให้ไปคือเครื่องมือ โดยหวังว่าวันหนึ่งเขาจะนำเครื่องมือไปต่อยอดเอง หรือทำอะไรได้มากกว่านี้

บทบาทการสอน ณ ปัจจุบัน ครูกวางเป็น Inclusive Educator (นักการศึกษาด้านการศึกษาพิเศษแนวร่วม) ในโรงเรียนเอกชนนานาชาติ มีจุดเริ่มต้นมาจากช่วงที่ครูกวางยื่นสมัครงาน มีที่หนึ่งเรียกไปสัมภาษณ์ โดยผู้ใหญ่แจ้งเหตุผลที่เลือกครูกวางไว้ว่า เพราะใน CV ระบุว่าชอบวิ่ง เนื่องจากงานที่ทำต้องมีการวิ่งเล่นกับเด็ก มีความสุขในการขยับตัว งานนี้น่าจะเหมาะ 

สิ่งที่ครูกวางต้องทำในแต่ละวันคือ เด็กจะต้องรู้ Routine ของตัวเอง และการใช้สายตา ต้องมีการวางแผนว่าเด็กแต่ละคนต้องการความช่วยเหลือด้านใด บางคนต้องการความช่วยเหลือด้านพฤติกรรม ด้านภาวะอารมณ์ ด้านพัฒนาการ แต่ในบริบทของการทำงานในห้องเรียนสิ่งที่ต้องทำให้แม่นที่สุด คือ Routine ของเด็ก ๆ เช่น ถ้าเด็กเสียงดัง เราจะสอนเขายังไงให้ใช้เสียงระดับเบาลงมา การทำงานแบบนี้จะทำงานเป็นทีม มีนักบำบัดหลายท่าน ตัวงานต้องใช้ไหวพริบและปฏิภาณเพื่อที่จะอธิบาย

สำหรับครูกวาง เป้าหมายของการทำงานร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ วันใดที่เขาไม่ต้องการเราแล้ว นั่นคือความสำเร็จ จุดมุ่งหมาย คือ สร้างพื้นฐานให้เด็กแต่ละคน เพื่อที่จะให้เขาไปต่อ

ในปัจจุบัน จากคำว่า เด็กพิเศษ หรือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ถูกเปลี่ยนเป็น เด็กผู้มีสิทธิพิเศษในการเรียนรู้ ครูกวางปรารถนาให้ Inclusive Education เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น แม้ว่าเด็กจะมีความแตกต่าง แต่เขาสามารถเรียนร่วมกับคนอื่นได้ เด็กสามารถเรียนรู้ผ่านเพื่อนและมิตรภาพ

สุดท้ายครูกวางฝากไว้ว่า ไม่มีใครตอบได้นอกจากตัวเรา ว่าเราถนัดอะไร ชอบอะไร มีความสนใจอะไร โอกาสที่เปิด ณ ตอนนี้คืออะไร สิ่งเหล่านี้แต่ละคนใช้เวลาในการเรียนรู้ได้ แต่อีกมุมหนึ่ง ให้ลองใช้เวลาเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองบ้าง โดยที่ไม่ได้เปิดรับสารอะไรเข้ามา และให้ความจริงบางอย่างที่อยู่ในใจของเราได้คลี่คลาย

.

.

THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์ที่ห้า พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม - วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม

⏰ทุกวัน เวลา 2 ทุ่มตรง

พบกับเรื่องราวชีวิตคนไทยในต่างแดน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????EP.21 วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม

คุณกวาง อรอนงค์ วงษ์ประเสริฐ Inclusive Educator (นักการศึกษาด้านการศึกษาพิเศษแนวร่วม) ในโรงเรียนเอกชนนานาชาติ

????EP.22 วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม

คุณครีม ณัชชารีย์ สมศิริมงคล คณะ Business English- IBM, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

เรียนภาษาจีน University of International Business and Economics, ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน

????EP.23 วันพุธที่ 19 พฤษภาคม

คุณป๊อป ณัฐพงศ์ นำศิริกุล ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาโท หลักสูตร MBA บริหารธุรกิจ ภาค International สาธารณรัฐประชาชนจีน

????EP.24 วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม

คุณเบล ศุภนุช ชือรัตนกุล ประถมศึกษา โรงเรียน Tampines Secondary School, สิงคโปร์

ปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาชีววิทยา Mahidol University International College (MUIC)

ปริญญาโทที่สถาบัน Asian Institute of Technology (AIT)

????EP.25 วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม

คุณแพรว สุพิชญา สุนทรจิตตานนท์ ปริญญาตรีเกียรตินิยมเกรด 4.00 และปริญญาโทเกรด 3.95 Portland State University, สหรัฐอเมริกา

✅ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Head of Content Editor THE STUDY TIMES

????ช่องทางรับชม

Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES / THE STATES TIMES

คุณพัด ธนพัต รัตนศิริวิไล | THE STUDY TIMES STORY EP.20

บทสัมภาษณ์ คุณพัด ธนพัต รัตนศิริวิไล Master of Business Administration, Cornell University, สหรัฐอเมริกา 
เพราะการเขียน Essay เข้ามหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลก ต้องเขียนอย่างมี Critical Thinking

เทคนิคการเรียน BBA จุฬาฯ อินเตอร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง 
คุณพัดเรียนจบปริญญาตรี BBA คณะบัญชี ภาคอินเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ในการเรียนที่จุฬาฯ สำหรับคุณพัดนั้นรู้สึกว่าไม่ยากมาก เพียงแค่เข้าห้องเรียน ตั้งใจฟังครูสอน ฟังเลคเชอร์ กลับมาอ่านทบทวนที่บ้าน มีอะไรไม่เข้าใจก็สามารถไปถามครูเพิ่มเติม การเรียน ณ ตอนนั้นรู้สึกว่าค่อนข้างง่าย

ได้รับเชิญพูดในงาน EdTex (Education Technology) ในหัวข้อการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย 
คุณพัดเคยได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาธิการให้ไปพูดในงาน EdTex (Education Technology) ในหัวข้อการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หัวข้อหลัก ๆ ที่พูด คือ เรื่องลำดับชั้นของความคิด โดยความคิดจะเริ่มตั้งแต่ระดับ Remember, Understand, Apply, Analyze, Evaluate และ Create พบว่าระบบการศึกษาของไทยมีการ สอนถึงแค่ขั้น Remember การท่องจำเท่านั้น เป็นพีระมิดฐานล่าง จึงต้องหาวิธีที่จะทำยังไงเพื่อยกระดับความคิดจากขั้น Remember ให้ไปถึงขั้นอื่นได้ อย่างข้อสอบ SAT วัดสกิลอยู่ที่ระดับ Analyze และ Evaluate  เด็กไทยที่ไม่ได้รับการเทรนด์มา อยู่ ๆ จะให้ไปสอบ ก็ทำไม่ได้

คุณพัดสังเกต 3 Skills ที่เด็กไทยขาด คือ 
1.) สกิลภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษที่ไม่ดีทำให้จำกัดความรู้ เพราะความรู้ทุกอย่างในโลกเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
2.) Critical Thinking การฝึกต้องมีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-Learning Skill) เด็กไทยชินกับการถูกป้อน มุ่งทำคะแนน ไม่ได้โฟกัสที่การเรียนรู้ ทำให้เด็กไม่สามารถคิดเองได้ เด็กที่ขาด Critical Thinking เพราะไม่ได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่ต้น การจะมี Critical Thinking ต้องสามารถตั้งคำถามได้ 
3.) Self-Learning Skill ทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ประสบการณ์การเรียนที่ MBA Cornell University 
เพราะได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง จากจุฬาฯ คุณพัดจึงไม่ได้คิดว่าการเรียนที่ Cornell จะยาก แต่พอไปถึง พบว่าเทอมแรกยากมาก เลเวลคนละระดับ จุฬาฯ เหมือรวมเด็กเก่งจากประเทศไทย แต่ Cornell เป็นการรวมคนเก่งจากทั่วโลก และมีวิธีการเรียนที่คุณพัดไม่ถนัด ทั้งการใช้ Critical Thinking การทำรายงาน Big project และ Discussion ในคลาส ไม่เหมือนการเรียนเมืองไทยที่เน้นในเรื่องการสอบ และการท่องจำ แต่ละวิชาที่ Cornell ต้องอ่านหนังสือมาก่อนเข้าเรียน เพื่อเอาเนื้อหาที่อ่านมา Apply กับสิ่งที่เรียนในห้อง คุณพัดจึงเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนมาตลอดทำไมใช้ไม่ได้ ซึ่งทำให้รู้สึกเฟลอยู่บ้าง แต่คุณพัดเชื่อว่า เราสามารถพัฒนาตัวเองได้ ด้วยการเรียนรู้จากคนที่เก่งกว่า แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน 

เทคนิคการฝึกภาษา จนสามารถใช้ได้เหมือนเจ้าของภาษา
คุณพัดเรียนโรงเรียนไทยมา วิชาที่ถนัดคือภาษาไทย ไม่ได้ตั้งใจฝึกฝนภาษา จนกระทั่งย้ายไปโรงเรียนนานาชาติ ตอนเกรด 10-11 เพราะเป็นคนที่ทำอะไรแล้วอยากทำให้ดีที่สุด คุณพัดจึงมีความจริงจังในการเรียนภาษาอังกฤษมาก หลังเลิกเรียนจะไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม 

เทคนิคในการฝึกภาษาอังกฤษของคุณพัด คือการเตรียมสมุดเล็ก ๆ ไว้จดคำศัพท์ที่ไม่รู้ สิ่งที่อยากรู้ แกรมม่า แล้วนำสมุดเล่มนี้ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อที่เวลาว่างจะหยิบขึ้นมาดู เป็นการทวนไปในตัว 

คุณพัดกล่าวว่า ไม่ใช่แค่เราต้องเหมือนเจ้าของภาษา แต่เราต้องเก่งกว่าเจ้าของภาษา ยิ่งเราเป็นคนเอเชีย เรายิ่งต้องทำให้เขามั่นใจว่าเรามีความสามารถและเก่งกว่าฝรั่ง 

แนะแนววิธีเขียน Essay ในการสมัครเข้า U Top 
เด็กและผู้ปกครองหลายคน จะมีความคิดว่าคะแนนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ทำให้โฟกัสที่คะแนน แต่จริง ๆ ไม่ใช่แบบนั้น ครูพัดกล่าวว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่ Essay และการสัมภาษณ์ เพราะสุดท้าย Essay เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของเรา ว่าทำไมเขาต้องเลือกเรา เรามีอะไรที่โดดเด่น เป็นส่วนที่เราแสดงความเป็นตัวตนของเราออกมาได้ บอกเขาได้ว่าเรามีไอเดีย มีค่านิยมอย่างไร ต้องสื่อสารอย่างชัดเจน ตรงประเด็น มีไอเดียที่ดี แตกต่างจากคนอื่น เพราะผู้ตัดสินมีเวลาเพียง  50 วินาที จะทำยังไงให้ใน 50 วินาที เขาสนใจเรา ทำให้เขารู้สึกว่าคนนี้ไม่เลือกไม่ได้

โรงเรียนนานาชาติ THE IVY SCHOOL
เริ่มแรกคุณพัดเปิด Ivy Prep สถาบันสอนภาษาอังกฤษ เนื่องมาจากการย้ายจากจุฬาฯ มาเรียนที่ Cornell คุณพัดพบวิธีการเรียนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งมองว่า Critical Thinking เป็นสกิลที่สำคัญมาก ที่ผ่านมาพบว่าเด็กไทยมีปัญหาเรื่อง Critical Thinking ทำให้ไม่สามารถทำข้อสอบในสถาบันของต่างประเทศได้ เป้าหมายคืออยากให้เด็กที่เรียนที่นี่ พอไปเมืองนอกแล้วเรียนได้โดดเด่น เก่งกว่าเจ้าของภาษา

ต่อมาเพราะรู้ว่าโรงเรียน ณ ปัจจุบันไม่ใช่ที่ที่จะเตรียมตัวเด็กให้พร้อมต่อศตวรรษที่ 21 หรือเข้ากับงานในอนาคต เพราะยังเป็นระบบที่ล้าสมัย จึงได้ดำเนินการเปิด โรงเรียนนานาชาติ THE IVY SCHOOL ที่เป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ เทคโนโลยีการศึกษาจะส่งผลต่ออนาคตของเด็ก ต้องการให้เด็กเรียนรู้ทฤษฎีเพื่อจะสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้ ซึ่ง THE IVY SCHOOL จะเปิดในเดือนกรกฎาคม ระดับเกรด 1 ถึง เกรด 12 ผู้ปกครองที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไลน์ @TheIvySchool หรือติดต่อที่เบอร์คุณพัด 062 798 2200

.

.

.
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top