Thursday, 10 July 2025
WEEKEND NEWS

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ ที่ 14 สิงหาคม 2565 : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คำว่า ‘แม่’ เป็นที่ซาบซึ้งแก่ทุกจิตใจ
ยิ่งกว่าคำใดอื่นทั้งนั้น
และแทบทุกคนจะพูดคำว่า ‘แม่’
ได้เป็นคำแรกของการหัดพูด
จะกล่าวว่าเป็นสัญชาตญาณก็ไม่ผิด
คือ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของทุกคนว่า ‘แม่’
ดังนั้น พอเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาได้
ก็จะเปล่งออกมาเป็น ‘แม่’ ทันที

นิด้าโพล เผยผลสำรวจความเห็นประชาชน ชี้ ส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่ามีดีลลับ ‘พลังประชารัฐ-เพื่อไทย’ ดันล้มสูตรหาร 500 หวังชู ‘บิ๊กป้อม’ เป็นนายกฯ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข้อตกลงทางการเมืองพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อตกลงทางการเมืองระหว่างพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข้อตกลงทางการเมืองระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยในการเปลี่ยนสูตร การคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จากหาร 500 เป็น หาร 100 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.32 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 21.80 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 17.91 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 9.38 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 10.59 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข้อตกลงทางการเมืองระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยในการสนับสนุน พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.76 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 17.45 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 13.87 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 7.47 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.45 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ทรงปิดทองหลังพระ ย้อนอดีต 'ในหลวง ร.9 - สมเด็จพระพันปีหลวง' นำพาไทยพ้นวิกฤติหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(13 ส.ค. 65) ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สมเกียรติ โอสถสภา ระบุว่า...

ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ นำไทยพ้นวิกฤตสงครามโลกครั้งที่ 2 

เมื่อนักข่าวต่างชาติถามในหลวงว่า ทำไมจึงไม่ค่อยยิ้ม ทรงชี้ไปที่สมเด็จพระนางเจ้า แล้วบอกว่า 'That is my Smile'

สงครามโลกครั้งที่สองจบลง

หลังจากนั้นก็เป็นเวลาซ่อมเศรษฐกิจ และจ่ายหนี้มหาศาลของคนไทย
หนี้สงครามเยอะมาก ต้องจ่ายข้าวให้อังกฤษ 3 ล้านตัน
มีสัญญาห้ามขุดคอคอดกระด้วย
ค่าเงินก็อ่อน ไม่มีรายได้ ญี่ปุ่นมาพิมพ์เงินฟรีไปมาก สมัย ร.4 หนึ่งบาทเท่ากับหนึ่งปอนด์เชียวนาครับ หลังสงครามค่าเงินปอนด์หนึ่งปอนด์เท่ากับ 80 บาท ค่าเงินบาทตกไป 20 เท่า คิดเป็นเงินเฟ้อกี่ % หรือ
เอาว่าก่อนปี 2500 ประเทศไทยจนมาก แร้นแค้น ไม่มีถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โรงพยาบาล หมอ พยาบาล โรงเรียน คือมีบ้าง เป็นบางที่ คนส่วนใหญ่อาศัยกระต็อบหลังคามุงจาก
มีปัญหาว่าข้าวจะไม่พอกิน ไก่ หมูเป็นของหายาก ใช้หนี้กันยาวนาน

พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ในปี 2489 ในสถานการณ์ที่อันตรายมาก
อันตรายจากคนในรัฐบาล บ้างก็แนวฮิตเลอร์ บ้างก็แนวบอลเชวิก
ทรัพย์สิน เช่น ที่ดินของพระมหากษัตริย์แถวรอบวังสวนจิตร สามเสน ศาลาแดง สีลม ถูกเอาไปขายแบ่งกัน
สถิติปี 2503 ที่ฝรั่งมาสำรวจให้ UN Escap ไทยมีรายได้ต่อหัวต่ำสุดในเอเชีย ต่ำกว่ามาเลย์ 4 เท่า ต่ำกว่าเวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า อินเดีย ฟิลิปปินส์ แค่ 2000 บาทต่อคนต่อปี
ต่ำกว่าญี่ปุ่น 8 เท่า ญี่ปุ่นสร้างเครื่องบิน เรือรบ เหล็ก เป็นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว

>> รัชกาลที่ 9 ในหลวงของเรา ทรงพลิกฟื้นสถานะไทยกับต่างประเทศ

สถานการณ์ยุคนั้นคือ

ไทยต้องการมิตรประเทศเพื่อมาป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามรอบบ้าน
ไทยต้องการเงินเพื่อมาลงทุนสร้างถนน น้ำ ไฟฟ้า เขื่อนกันน้ำท่วม การศึกษา โรงพยาบาล
ไทยต้องการให้มีการลงทุนสร้างอุตสาหกรรม และบริการ ขยายการเกษตร สร้างงานให้คน
ไทยต้องการการยอมรับนับถือจากต่างชาติ ให้คนลืมสงครามโลกครั้งที่สอง
ไทยต้องการพัฒนาให้เท่าเทียมประเทศเพื่อนบ้าน
ในหลวงเสด็จประพาสประเทศในตะวันตก 14 ประเทศ หกเดือนเต็ม พร้อมพระราชินี มีมรว คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นแม่กองจัดการ ท่านผู้นี้เป็นแม่กองจัดการเสด็จต่างจังหวัดด้วย
โชคดีของคนไทย

พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ตรัสได้หลายภาษา อย่างดีมาก ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เข้าใจขนบ วัฒนธรรม และทรง witty แบบฝรั่ง ทั้งความสง่างาม ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แพ้ใครในโลก

ทรงน่าเกรงขาม แต่นุ่มนวล และเป็นมิตร ไม่มีคนไทยคนไหนทำได้ขนาดนั้น

การที่ทรงศึกษาที่สวิสนั้น คนยุโรปและอเมริกาถือว่าสุดยอดแห่งอารยธรรม เป็นสังคมที่สร้างคนที่เข้าใจอารยธรรมหลากหลาย

ทั้งสองพระองค์มีพระบุคลิกภาพที่เป็นที่ชื่นชมของคนในทุกประเทศ สมเด็จพระนางเจ้านั้น ได้ชื่อว่าเป็นพระราชินีที่สวยที่สุดในโลก รูปถ่ายลงปกหนังสือพิมพ์ ออกทีวีกันมากมาย ตอนนั้นผมเป็นเด็ก ภูมิใจมาก

ทั้งสองพระองค์นั้นทรงเป็นนักการต่างประเทศ และนักการทูตที่ยอดเยี่ยมมากที่สุด ประสบการณ์นะครับ
ทรงมีพระ nobility มาก การเสด็จเยือนจึงได้ความเคารพนับถือจากประมุขประเทศ หัวหน้ารัฐบาล รัฐบาล ต่างประเทศ
และที่สำคัญประชาชนของประเทศนั้นๆ ออกมารอรับกันเนืองแน่น ต้อนรับใหญ่โตมากๆ ข่าวกระจายจากที่หนื่งไปอีกที่หนื่ง
ในยุคนั้นสถาบันกษัตริย์ในยุโรปสูงส่งมาก นี่เป็นคุณต่อประเทศไทยที่มีสถาบันกษัตริย์

จากการเสด็จเยือนของทั้งสองพระองค์ ต่อมาประมุข และหัวหน้ารัฐบาลเหล่านั้นก็มาเยือนประเทศไทยอีก ชื่อประเทศไทยปักสง่างามบนแผนที่โลก

ต่อมา ทรงเสด็จเยือนประเทศในเอเชีย เมื่อทรงได้รับมาตรฐานระดับสูงลิ่วนั่น แถวเอเชียก็ต้อนรับยิ่งใหญ่มาก เชิงแข่งนิดๆ

คนไทยภูมิใจกันสุดๆ นี่คือการทูตที่ดีที่สุดของไทย

ยุคโลกสองขั้ว พระองค์ท่านช่วยให้ประเทศไทยยืนถูกข้าง ไม่ล้ม
สมัยพวกผมเรียนมหาวิทยาลัย ประธานาธิบดี กษัตริย์ หัวหน้ารัฐบาลต่างๆ จะมาเมืองไทยกันถี่ยิบ สมเด็จพระนางเจ้าจะทรงตรัสในหอประชุมว่า ข้าพเจ้าจะมีแขกมาเยือน ช่วยกันหน่อยนะ
พวกผมก็ได้ทำประโยชน์เช่นไปยืนเข้าแถวรับบ้าง แปรอักษรบ้าง นั่งปรบมือในหอประชุมบ้าง ใครมากล่าวหาพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านแบบไม่รู้เรื่อง คนไทยโกรธ เพราะพวกเราถือว่าเป็นงานของเราคนไทยทั้งชาติ ที่ช่วยกันทำ

>> ประเทศไทยได้อะไร

ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เรื่องไทยเป็นประเทศแพ้สงครามโลกครั้งที่สองร่วมกับญี่ปุ่น เยอรมัน อิตาลี หายไป
มีเงินช่วยเหลือหลั่งไหลเข้ามา พร้อมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เขื่อนเจ้าพระยายุคนั้น 3500 ล้านเอง ทุนเรียนนอกเยอะมาก
ตลาดสินค้าเปิด มีการลงทุนเข้ามามาก ตั้งแต่นั้น
การท่องเที่ยวก็เริ่มจากราว 1 ล้านคนมาจนปัจจุบัน
เป็นยุคของการฟื้นฟูอารยธรรม วัฒนธรรม อวดแขกเมือง แพร่ไปทั่วโลก
เป็นยุคที่ประมุขต่างประเทศเสด็จเยือนต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ จนกลายเป็นเมืองระดับโลก
เป็นจุดเริ่มต้นของการมาทำข่าวประเทศไทยไปทั่วโลกครับ

คนรุ่นผมเรียนรู้จากการช่วยงานพระองค์ท่านกันทั้งประเทศ
เราจึงภูมิใจมาก ที่พระประมุขของเราทรงฉลาด เยี่ยมยอด เปี่ยมความสามารถ
วันนี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเป็นพระราชินีผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของโลกนะครับ

'ก้าวไกล' ลงพื้นที่ฟังปัญหาที่ดินปชช. จ.ขอนแก่น 'โรม' ลั่น!! ถ้าเป็นรบ. จะแก้ปัญหาที่ดินทั่วประเทศ

พรรคก้าวไกล นำโดยรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรค, อภิชาติ ศิริสุนทร ประธาน กมธ. ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมด้วย ส.ส.และทีมโฆษกพรรคก้าวไกล เข้าไปรับฟังปัญหาชาวบ้านชุมชนมิตรภาพ ริมทางรถไฟ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พบคุณภาพชีวิตประชาชนถูกทอดทิ้ง อนาคตในที่อยู่อาศัยยังไม่แน่นอนจากการไล่รื้อก่อสร้างรถไฟทางคู่ เตรียมนำเรื่องแก้ปัญหาผ่านกรรมาธิการที่ดิน

ตัวแทนประชาชนชุมชนมิตรภาพได้กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนว่า ชุมชนมิตรภาพริมทางรถไฟ จ.ขอนแก่น เป็นชุมชนยาว มีประมาณ 160 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 500 คน ชาวบ้านอยู่บนที่ดินการรถไฟมาแล้ว 30-40 ปี แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นแรงงานนอกระบบในเมือง

“ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ที่ชาวบ้านต้องเจอมีมากมายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมซ้ำซากจากการอยู่ในที่ดินริมคลองประตูระบายน้ำ การตกงานและขาดรายได้ในช่วงโควิด ต้องจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟแพงกว่าที่ควรจะเป็นเพราะต้องต่อหม้อแปลงข้างนอกเข้ามา และในตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนในสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากความเสี่ยงถูกไล่รื้อเพื่อนำที่ดินไปก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง”

“ปัญหาสิทธิเหนือที่ดินคือหัวใจสำคัญที่จุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตประชาชนในด้านอื่นๆ เราต้องเลิกมองว่าประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวที่ดินรถไฟเป็นผู้บุกรุก แต่ควรพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันให้ชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มที่ยากจนที่สุดที่ถ้าโดนไล่รื้อจะเสี่ยงเป็นคนไร้บ้านให้มีทางออกที่เหมาะสม” อภิชาติ กล่าว

'สื่ออาวุโส' เชื่อ!! หากวันใดที่ 'วันแม่' ไม่ใช่ 12 สิงหาคม 'วันนั้น-ปีนั้น' จะไม่มีพลังบวกมากมายเหมือนในวันนี้

เถกิง สมทรัพย์ สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'วันแม่ 12 สิงหา' กับสังคมไทยในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ระบุว่า...

นับว่าเป็น 'วัน' ที่ส่งกระแสพลังบวกให้กับคนไทยในสังคมอย่างมีคุณค่ามากที่สุดวันหนึ่ง

เพราะประเทศส่วนใหญ่ในโลกล้วนมี 'วันแม่' ให้เชื่อมสัมพันธ์กันระหว่างครอบครัวกันแทบทั้งนั้น

แม้กระทั่งในสมัยโบราณที่นับเอาเทพี หรือ ราชินี มาเป็นองค์สำคัญในการสร้างความสำคัญให้กับ 'แม่ลูก' ก็เพื่อแสดงความนับถือต่อผู้ให้กำเนิด

ประเทศไทยเริ่มมีวันแม่ในปี 2493 สมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม กำหนดให้วันที่ 15 เมษายน ของทุกปีเป็นวันแม่

จากนั้นมีกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม เป็น 'วันแม่' ตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา

'วันแม่' ของเมืองไทยจะคึกคักมากกว่าวันแม่ในหลายๆ ประเทศ เพราะวันแม่ของเรามีความเชื่อมโยงต่อสถาบันอันเป็นที่รักของคนไทย

และการที่สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกพื้นที่ในแผ่นดิน ทรงใกล้ชิดราษฎรมาโดยตลอด ยิ่งทำให้พระองค์ท่านเป็นแบบอย่างที่มีพลังบวกต่อประชาชนในการระลึกถึงความเป็นแม่

'วันแม่' ในเมืองไทยเป็นวันกระชับความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ดีที่สุดวันหนึ่งในบรรดาวันพบญาติทั้งหมดของไทย

ไม่ใช่แค่วันพบปะสังสรรค์กันในครอบครัวแบบปีใหม่ สงกรานต์หรืองานบวช งานแต่ง
 

เตือนสติ 'สังคมโชว์เหนือ' ปล่อยความเห็นทะลุกลางปล้อง ความต่ำตมของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้ความเป็นคนไม่เป็น

นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจฟาร์มปลาสวยงามและอดีตนักเรียนในเกาหลีใต้ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เตือนใจผู้คนในสังคมยุคปัจจุบัน ที่ชอบแสดงความคิดเห็นย้อนแย้งกับฉันทามติในสังคม เพียงให้ตัวเองดูดี ดูเหนือชั้น ไว้ว่า...

ผมเป็นคนไม่ชอบกินเค้ก แต่ก็ไม่เคยตะโกน เวลาคนเขากำลังจะเป่าเค้กวันเกิดว่า ทำไม ไม่เป่าห่อหมก หรือ ขนมกุ้ยช่าย

ผมไม่ได้คิดว่า วันอีสเตอร์ หรือวันคริสตมาส ต้องเป็นวันสำคัญที่สุดทางศาสนา แต่ก็ไม่บ้าขนาดจะไปยืนแหกปากหน้าต้นสนบ้านใคร ว่า ทำไมต้องให้ความสำคัญกับวันนั้นเป็นพิเศษ

และแม้ผมจะตระหนักดีว่า ความรักความผูกพัน และความกตัญญู ที่มีต่อพ่อแม่ หรือครูบาอาจารย์นั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในสามัญสำนึกที่จะประพฤติปฏิบัติทุกๆ วัน กันทุกๆ คน

'ปิยบุตร' ผุดแคมเปญให้ ส.ส. เป็นได้ 1-2 วาระ เพื่อหยุดการส่งต่ออำนาจ ทลายสมบัติประจำตระกูล 

(13 ส.ค. 65) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กกล่าวถึงการทำหน้าที่ของส.ส. และระบบการเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

หน้าที่ ส.ส. / การทำพื้นที่ / การเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ ผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หลายประการ

ประการแรก เสนอ พิจารณา และลงมติให้ความเห็นชอบ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และอนุมัติพระราชกำหนด

ประการที่สอง ลงมติเลือกบุคคลไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ประการที่สาม ตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านกลไกต่างๆ ของรัฐสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญ

ประการที่สี่ เป็นผู้แทนของประชาชน นำปัญหาของประชาชนมาอภิปรายในสภา ผลักดันเป็นกฎหมาย หรือเสนอแนะฝ่ายบริหาร

ประการที่ห้า อำนาจหน้าที่อื่นๆ ที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นกำหนดให้กระทำในนามของสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา เช่น รับทราบรายงานประจำปีขององค์กรต่างๆ ให้ความเห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่ง ประกาศสงคราม รับทราบการขึ้นครองราชย์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ในระบบรัฐสภาแล้วบทบาทของ ส.ส. คือ งานเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหาร

เมื่อพิจารณาบทบาทและภารกิจของ ส.ส.เช่นนี้แล้ว การตัดสินใจเลือก ส.ส. ก็น่าจะพิจารณาเลือกคนไปเป็น 'ผู้แทน' ในการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหาร เป็นสำคัญ

เช่นเดียวกัน ผู้สมัคร ส.ส. และพรรคการเมืองต้นสังกัด ก็ควรรณรงค์และนำเสนอแนวนโยบายของตนและพรรคเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การเลือกนายกรัฐมนตรี และการตรวจสอบฝ่ายบริหาร แต่เหตุใดการเมืองไทย ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนจึงเลือก 'ผู้แทนราษฎร' โดยพิจารณาจากการดูแลประชาชนในพื้นที่เขตเลือกตั้ง? เหตุใดประชาชนจึงเรียกร้องหรือขอการช่วยเหลือสนับสนุนจาก ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตนหรือผู้สมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตน?

ทั้งๆ ที่การดูแลประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข คือ อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ของรัฐมนตรี ข้าราชการ และนายกฯ ท้องถิ่น พวกเขาเหล่านี้มีทั้งอำนาจตามกฎหมาย มีทั้งบุคลากร มีทั้งงบประมาณ ในขณะที่ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย สั่งการข้าราชการก็ไม่ได้ งบประมาณก็ไม่มี

ยิ่งไปกว่านั้น หาก ส.ส.คนใดเข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ ก็อาจต้องรับโทษตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อีกด้วย เช่นเดียวกัน เหตุใด ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส.ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ต่างก็แข่งขันกันสร้างผลงานช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเอาการเอางาน ทั้งๆ ที่ตนเองไม่มีงบประมาณ ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย? แล้วในการแข่งขันเช่นว่านี้ มีบ้างหรือไม่ที่ช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว โดนไม่คาดหวังว่าประชาชนจะเลือกตนเป็น ส.ส.? มีใครที่พร้อมเป็น 'นักบุญ' ช่วยเหลือประชาชน โดยไม่ได้ต้องการการตอบแทนเป็น 'คะแนนเสียง' ?

ปัญหาดังกล่าว สืบเนื่องมาจากเหตุต้นตอ 2 ประการ

ประการแรก รัฐบาลไม่สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนได้ถ้วนทั่ว การเรียกร้องเอากับรัฐบาล รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ข้าราชการประจำ เป็นเรื่องยากลำบาก มีอุปสรรค และพวกนี้อยู่ไกลประชาชน ทำให้ประชาชนเรียกหาคนที่ใกล้เขาที่สุด นั่นคือ ส.ส.ในเขตเลือกตั้งตนเอง

ประการที่สอง การไม่กระจายอำนาจ/งบ ให้กับท้องถิ่นมากเพียงพอต่อการจัดการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันให้กับประชาชน ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของประชาชนได้ดีเพียงพอ ประชาชนจำต้องพึ่งพิงและเรียกร้องเอากับ ส.ส. ที่เป็น 'ผู้แทน' ของเขาในเขตพื้นที่

เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้แล้ว ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส.ปฏิเสธไม่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้งตนได้หรือไม่?

แน่นอนว่า ไม่มีกฎหมายที่ไหนมาบังคับให้ ส.ส.ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง (เพราะอำนาจหน้าที่ งบประมาณ และบุคลากรเป็นของรัฐบาล) แต่คงไม่มี ส.ส.หรือผู้สมัคร ส.ส.คนใดกล้าปฏิเสธไม่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง เพราะ หากไม่ช่วยเหลือ ก็เสี่ยงที่จะ 'สอบตก' ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ในขณะที่ประชาชนก็รู้สึกว่านี่คือ 'ผู้แทน' ที่พวกเขาเลือกมา นี่คือ 'ผู้แทน' ในพื้นที่บ้านของพวกเขา และใกล้ชิดกับพวกเขามากที่สุด ก็ต้องเรียกหาเรียกใช้ได้ นี่จึงเป็นที่มาที่ ส.ส.และผู้สมัคร ส.ส. ต้องทำในสิ่งที่แวดวงการเมืองการเลือกตั้งเรียกกันว่า 'การทำพื้นที่'

ปัญหาที่ต้องขบคิดกันต่อไป ก็คือ 'การทำพื้นที่' ต้องใช้เงิน ใช้ทรัพยากร เพื่อเป็น 'เครื่องมือ' ในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ในการหาโอกาสเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดประชาชน เริ่มตั้งแต่ ทำบุญใส่ซองในงานบวช งานแต่ง งานศพ จัดหาน้ำดื่ม อาหาร โต๊ะ เก้าอี้ หลังคาผ้าใบ เต๊นท์ ในงานประเพณีต่างๆ

ฉีดยาฆ่ายุงลาย ทำหมันหมา ตัดผมฟรี ตัดแว่นฟรี ตรวจโควิดฟรี หาช่องทางให้ได้วัคซีน หารถพยาบาลนำส่ง ถุงยังชีพ ในยามประสบภัยพิบัติ ฝากลูกเข้าโรงเรียน / ฝากเพื่อนสนิทมิตรสหายในเครือข่ายการเมืองในพื้นที่เลือกตั้งได้เลื่อนขั้น วิ่งเต้น (เรียกให้ดูดี คือ ประสานงาน) กับรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เอางบประมาณ เอาโครงการ มาในพื้นที่เลือกตั้งของตน ไม่มีสนามบิน ก็เอาสนามบินมาลง ไม่มีถนน ก็เอาถนนมาลง เป็นต้น ฯลฯ

แล้ว ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส.จะหางบประมาณมาช่วยจากไหน? เอาเงินจากไหนมาซื้อของแจกหรือจัดทำบริการฟรีให้ประชาชน? เอาเงินจากไหนมาจ่ายค่าน้ำมันรถ? เอาเงินจากไหนมาจ่ายให้ทีมงานที่รับหน้าที่ดูแลประชาชน?

ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส.จะ 'วิ่งเต้น' กับรัฐมนตรีอย่างไร เพื่อให้รัฐมนตรีนำงบประมาณและโครงการมาลงในพื้นที่? หาก ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส. สังกัดพรรคฝ่ายค้านล่ะ จะทำอย่างไรถึงจะ 'วิ่งเตัน' กับรัฐมนตรีได้?

ทั้งหมดนี้ นำมาซึ่งการก่อสร้างการเมืองเครือข่ายอุปถัมภ์

ที่เรียกกันว่า 'บ้านใหญ่ประจำจังหวัด' หรือ 'ตระกูลการเมือง' ก็มีต้นกำเนิดมาจากเรื่องเหล่านี้

เมื่อ ส.ส. หรือ ผู้สมัคร ส.ส. ต้องการเงินและทรัพยากรใน 'การทำพื้นที่' แต่ละเดือนๆ เงินเดือน ส.ส.ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้แน่นอน แล้วจะทำอย่างไร? ถ้าผู้สมัคร ส.ส.หรือ ส.ส.คนนั้น มีสถานะทางเศรษฐกิจดี มีธุรกิจ มีมรดกตกทอด มาจากครอบครัวเศรษฐี ก็สามารควักเงินตนเองได้ แต่ถ้าไม่มีล่ะ?

ผู้มีทุนผู้มั่งมีก็จะเข้ามา เสนอซื้อ เสนอให้ ลงทุนให้ จ่ายรายเดือนให้แก่ ส.ส.หรือผู้สมัคร ส.ส. ไม่ก็ ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส.ก็วิ่งเร่ขาย หา 'มุ้ง' สังกัด โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี การลงทุนฟรีๆ ไม่มี ก็ต้องแลกเปลี่ยนกับการที่ ส.ส.ผู้สมัคร ส.ส.นั้นๆ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของเขา หรือที่เรียกกันว่า 'มุ้ง'

ผู้มีทุนผู้มั่งมีสร้าง 'มุ้ง' กักตุนจำนวน ส.ส.ในสังกัด เมื่อครบจำนวน ก็นำไปแลกเป็นรัฐมนตรี มุ้งตนเองได้ ส.ส.มากเท่าไร ก็มีพวกของตนไปเป็นรัฐมนตรีมากเท่านั้น มุ่งตนเองได้ ส.ส.มากเท่าไร ก็แลกเอากระทรวงเกรดเอที่มีงบประมาณมหาศาลได้มากเท่านั้น

เมื่อ 'ผู้ลงทุน' 'หัวหน้ามุ้ง' 'ลูกพี่' ได้ไปเป็นรัฐมนตรี ก็ตามมาด้วยการหาเงินคืนทุนที่จ่ายไป ทุจริตคอร์รัปชัน หัวคิว/เงินทอนจากโครงการต่างๆ จึงเกิดขึ้น ให้สัมปทานโครงการต่างๆ แก่บริษัทพรรคพวกของตนเอง ถ้าสัญญาใกล้หมด ก็ต่อสัญญาให้ชนิดที่รัฐเสียเปรียบ นอกจากนั้น ก็ยังออกนโยบายเอาโครงการประเภท 'สร้าง/ซ่อม/ขุด/กลบ' ไปไว้ยังพื้นที่ของตน

'นายกฯ' ชื่นชมวิสาหกิจสตรี 'บาราโหม' ปัตตานี ใช้ Soft Power สร้างรายได้-ชูเอกลักษณ์ท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 13 ส.ค. รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดันนโยบายส่งเสริมบทบาทสตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มรายได้ครัวเรือน และพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ว่า จากการลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนหลายแห่ง เห็นได้ชัดเจนว่าผู้หญิงคือกำลังหลัก และมีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการได้อย่างทัดเทียมผู้ชาย ภาครัฐจึงพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อต่อยอดดำเนินกิจการให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

น.ส.รัชดา กล่าวว่า จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนกลุ่มวิสหากิจชุมชนบาราโหม พลาซ่า ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้นำความห่วงใยของนายกรัฐมนตรี ไปบอกต่อประชาชนรับทราบ โดยกลุ่มสตรีฝากเสื้อเชิ้ตผ้าบาติกตัดเย็บสวยงาม ย้อมสีด้วยกาบมะพร้าวเพื่อมอบให้นายกรัฐมนตรี 

ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ เป็นหนึ่งตัวอย่างของความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยพลังผู้หญิงคนรุ่นใหม่ เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ครบวงจร และใช้ศักยภาพพื้นที่อย่างเต็มที่ ครอบคลุมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่หลายร้อยปี สมัยเจ้าเมืองปัตตานีพระองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม และสถาปนาเมืองปัตตานีเป็น นครปาตานีดารุสลาม ศึกษาวิถีชาวพุทธ-มุสลิม ที่อยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ได้ท่องเที่ยวธรรมชาติ นั่งเรือชมป่าโกงกางและดูวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน มีร้านอาหารรสชาติท้องถิ่นดั้งเดิม สร้างรายได้ที่ดี จากที่เคยไปทำงานร้านต้มยำกุ้งฝั่งมาเลเซีย ไม่คิดจะกลับไปอีกแล้ว นอกจากนั้นยังมีร้านขายสินค้าผ้าบาติก ของที่ระลึกที่มีอัตลักษณ์บาราโหม ทั้งนี้รายได้จากการขายอาหารและสินค้าทุกชิ้น จะจัดสรรเพื่อการกุศลช่วยเหลือเด็กกำพร้าในพื้นที่

'อนุทิน' โต้กลับ!! ไม่เคยด้อยค่า 'จุรินทร์' ลั่น!! สอนลูกพรรคเสมอให้ทำเพื่อปชช.

เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 13 ส.ค. ที่จ.กระบี่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวกรณีพรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุอย่าด้อยค่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า...ไม่มี เราไม่เคยด้อยค่าใครอยู่แล้ว พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคที่ถูกกระทำมาโดยตลอด เราไม่เคยไปฟ้องร้องหรือทำอะไร หรือให้ร้ายกับคู่แข่งเลย มีแต่เราถูกคู่แข่งให้ร้ายว่ากล่าว และถูกฟ้องร้องตกเป็นจำเลยด้วยซ้ำ มาวันนี้ยังถูกกล่าวหาว่าขนอสม.มา ทั้งที่ไม่มีความจริงแม้แต่น้อย เรามาทำงาน มาเสนอนโยบาย ให้กับประเทศชาติ ไม่เคยไปท้าตีท้าต่อยกับใครอยู่แล้ว 

‘สมชัย’ ยก 8 ข้อ ชำแหละ ‘พปชร.-พท.’ เหตุใดถึงหนุนปาร์ตี้ลิสต์สูตรหาร 100

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่...) พ.ศ....โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

มีคำถามที่นักวิเคราะห์การเมืองคิดไม่ตก คือ ทำไม พปชร. และเศรษฐกิจไทย ที่อยู่อีกซีกฝั่งทางการเมืองจึงหนุนหารร้อยทั้งๆ ที่ คือการป้อนชัยชนะในการเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ให้กับเพื่อไทย

นี่คือมุมมอง ที่เก็บตกจากการวิเคราะห์ของหลายๆ คนที่ปรากฏตามสื่อ อาจใช่หรือไม่ใช่ทั้งหมด

1.) พปชร. ยังมีมุมการวิเคราะห์ว่า เขายังคงเป็นพรรคใหญ่ มีความได้เปรียบในฐานะรัฐบาล เชื่อว่าชื่อพลเอกประยุทธ์ยังขายได้ ดังนั้น แนวทางหารร้อยจึงยังเป็นแนวทางที่พรรคได้ประโยชน์ เรียกง่ายๆว่า หลงตัวเองว่า จะชนะเลือกตั้ง

2.) อาจมีดีลระหว่าง พปชร. กับ เพื่อไทย ในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมในอนาคต โดยไม่เอาพลเอกประยุทธ์ เป็นนายก ซึ่งเพื่อไทยรับได้ และ ลุงในป่าก็อยากได้ คนชื่อ พ. ไป คุยกับคนชื่อ ท. เรียบร้อย แต่เชื่อเหอะ ท. รอบจัดกว่าเยอะ

3.) นักการเมืองใน พปชร. จำนวนไม่น้อยมีรากมาจากเพื่อไทย วันนี้ร่วมยุทธการกับเพื่อไทยเป็นไมตรี วันหน้า หาก พปชร. ไม่รุ่ง เพื่อไทยคือที่พักใหม่ที่จองผ่านอโกด้าและจ่ายมัดจำไว้เรียบร้อยแล้ว

4.) ผู้มีอำนาจเบื่อเหนื่อยกับการแจกกล้วยพรรคเล็ก ที่ผ่านมาหมดไปหลายสวน หากหารห้าร้อยเกรงว่า กล้วยจะหมดโกดัง ถึงเวลาฆ่าลิง

5.) ทั้ง เพื่อไทยและ พปชร. หวั่นไหวต่อพรรคการเมืองรุ่นใหม่ที่กระแสมาแรงแล้วจะมาแทนที่ หารร้อยคือการทำให้พรรคใหม่ไม่โตเร็วเกินไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top