(18 มี.ค. 67) รองศาสตราจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ 'สมมติเทพ' ระบุว่า...
สถาบันกษัตริย์ในภูมิภาคนี้ ผูกพันกับพระวิษณุนารายณ์ (มหาเทพผู้ปกป้อง) และบูชาพระวิษณุนารายณ์
ในตำนาน พระวิษณุนารายณ์ อวตารลงมาเป็นพระรามเพื่อปราบอธรรมใน 'รามเกียรติ์' ซึ่งเป็นวรรณคดีประจำชาติ...พระรามเป็นกษัตริย์
พระวิษณุนารายณ์ยังอวตารลงมาเป็น พระกฤษณะเพื่อปราบอธรรม ใน 'มหาภารตะยุทธ' ...ซึ่งเป็นวรรณคดีประจำชาติของอินเดีย...พระกฤษณะก็เป็นกษัตริย์
'สมมติเทพ' คือคติความเชื่อเรื่องกษัตริย์ทรงเป็นเทพลงมาจุติเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อประกอบคุณความดี (ทศพิธราชธรรม) และสะสมบารมี เมื่อเสด็จสวรรคตก็กลับขึ้นสรวงสวรรค์
เมืองไทยได้รับคติพราหมณ์นี้มาจากขอม โดยที่ขอมก็รับมาจากอินเดียใต้อีกทอดหนึ่ง คติความเชื่อนี้แยกไม่ออกจากโลกทัศน์แบบไตรภูมิ ซึ่งเป็นโลกทัศน์ของพุทธศาสนาด้วย
ในพระไตรปิฎกคำว่า 'เทพ' มี 3 อย่างคือ...
(1) อุบัติเทพ : เทพโดยกำเนิด ได้แก่เทวดาที่อยู่ในสวรรค์
(2) สมมติเทพ : เทพโดยสมมติ คือบุคคลที่เป็นเทวดาเดินดินโดยการยอมรับหรือตกลงร่วมกันของมนุษย์ในเชิงสถาบัน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ (ถ้าในประเทศญี่ปุ่น คือพระจักรพรรดิที่ถือเป็นสมมติเทพของญี่ปุ่น)
(3) วิสุทธิเทพ : เทพโดยความบริสุทธิ์ของจิต ได้แก่ พระอรหันต์
จะเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่บนคติและรากฐานความเชื่อแต่โบราณของสองศาสนาผสมผสานกัน คือ พราหมณ์ กับ พุทธ
โดยที่พราหมณ์จะเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ เป็นอวตารปางหนึ่งที่ลงมาดับทุกข์เข็ญให้ประชาชนของพระองค์ ส่วนพุทธก็จะเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ ทรงมีภาระบำเพ็ญบารมีเพื่อจะได้เข้าสู่พุทธภูมิในกาลข้างหน้า
พระครูสมุห์ วิษุวัตร วรกิจจฺโจ
เจ้าอาวาสวัดฝายหิน
“เขาเป็นสมมติเทพ ชาวบ้านในประเทศไทยเคารพนับถือแต่ไหนแต่ไรมา อาตมาเสียดาย ติดตามข่าวทำไมถึงไป คิดถึงขั้นนั้น แล้วถ้าโยมไม่คิด บริวารเขาคิด"