Saturday, 10 May 2025
ECONBIZ

กลุ่ม อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จัดสัมมนา Total Cabling & Networking Solution ให้กับกลุ่มลูกค้าจากภาคกลาง

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธาน กลุ่ม อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จัดสัมมนา Total Cabling & Networking Solution ให้กับกลุ่มลูกค้าจากภาคกลางกว่า 80 คน พร้อมนำทีมวิทยากรชั้นนำมา Update Solution สายสัญญาณและอุปกรณ์การเชื่อมต่อที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดไอเดียให้เกิดธุรกิจใหม่แก่ลูกค้าภาคกลางโดยเฉพาะ จากสนง.ใหญ่ อินเตอร์ลิ้งค์ กรุงเทพฯ

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/3 ตอน คอขวด SMEs ‘แหล่งทุนฝืด - เข้าถึงเงินยาก - องค์ความรู้น้อย - โกออนไลน์อ่อน’ ส่วนเสี้ยวแห่งปัญหา ที่ต้องหาทางแก้ผ่าน ‘สภาเอสเอ็มอี’

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/3 ตอน คอขวด SMEs ‘แหล่งทุนฝืด - เข้าถึงเงินยาก - องค์ความรู้น้อย - โกออนไลน์อ่อน’ ส่วนเสี้ยวแห่งปัญหา ที่ต้องหาทางแก้ผ่าน ‘สภาเอสเอ็มอี’

รู้จัก ‘หมู-วรวุฒิ อุ่นใจ’ รองหัวหน้าพรรคกล้า ขุนพลเศรษฐกิจสาย SMEs 
ผู้กล้าทิ้งธุรกิจพันล้าน (B2S-OfficeMate) ทะยานสู่รั้วการเมือง 
กับความตั้งใจที่จะขอนำประสบการณ์ที่มี ช่วยเหลือ SMEs ไทย ให้ไปรอด!!

ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES 

.


.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม ขานรับนโยบายรัฐ ชูนโยบายเร่งด่วน ฟื้นฟูวิสาหกิจชุมชนหลังพิษโควิด-19 จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ระหว่างวันที่ 11-15 มิ.ย.นี้

นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในวงกว้าง และเพื่อเป็นการขานรับนโยบายรัฐในการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากเศรษฐกิจฐานราก สร้างศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ดีพร้อมจึงมีนโยบายเร่งด่วน เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนในสถานการณ์เร่งด่วน ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับชุมชนในการนำความรู้และทรัพยากรในพื้นที่มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถกระจายรายได้สู่ชุมชน สนับสนุนสินค้าชุมชน และยกระดับวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

พร้อมพัฒนาและขยายช่องทางการตลาด เชื่อมโยงกับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ผ่านกิจกรรมพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ภายใต้ โครงการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถวิสาหกิจชุมชนคลื่นลูกใหม่ เพื่อการแข่งขันในตลาด New Normal ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมเชื่อมโยงธุรกิจ กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำ และกิจกรรมทดสอบตลาด โดยจะมุ่งเน้นการอบรมให้ความรู้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การนำแผนงานไปทดลองและปรับปรุงสินค้า รวมถึงการนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงแล้วได้มาตรฐานมีคุณภาพไปทดสอบตลาดทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ ตลอดจนการนำผลการทดสอบตลาดนั้นมาทำแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังให้การส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ การสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้งในกระบวนการผลิต การนำเสนอสินค้า การบริการและการตลาด เพื่อสร้างผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนคลื่นลูกใหม่ให้มีองค์ความรู้สามารถวิเคราะห์ธุรกิจตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาธุรกิจของตนเองได้เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมของตนเองในสถานการณ์ปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน ดีพร้อม ได้เร่งดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในการขยายช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมทดสอบตลาด Market Survey ซึ่งในยุค New Normal ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การตลาดแบบออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทและมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมาก ดีพร้อมจึงเร่งผลักดันและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ให้มีขีดความสามารถในการเข้าสู่ตลาดออนไลน์ อันจะทำให้ผู้ประกอบการเกิดทักษะประสบการณ์

และสามารถเชื่อมโยงเพื่อการแข่งขันในระดับสากลได้อย่างแท้จริง โดยความน่าสนใจของกิจกรรมทดสอบตลาด Market Survey ในครั้งนี้เป็นการจัดงานในรูปแบบ Virtual Event ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานมหกรรมแสดงสินค้าในรูปแบบโลกเสมือนจริงในระบบออนไลน์ที่ดีพร้อมจัดขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในยุคนี้มาใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการในสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งภายในงานได้รวบรวมสินค้าดีมีคุณภาพจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศกว่า 140 ราย อาทิ เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย ของใช้ ของตกแต่งบ้าน ของที่ระลึก สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อาหารและเครื่องดื่ม ถือว่าครบจบในงานเดียว

นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดสัมมนาโดยมีวิทยากรชื่อดังระดับประเทศ ทางด้าน e-Commerce เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมได้ฟรี อาทิ การทดสอบตลาด Market Survey พื้นฐานการสำรวจ และการทำตลาดด้วย Facebook การทำตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง (DIY e-Commerce) การดีลกับโรงงานเพื่อสร้างสินค้านวัตกรรม อัปเดตหลังโควิด ภูมิศาสตร์ e-Commerce ของประเทศไทย และพื้นฐานของการขายออนไลน์ ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน 2564 รวมระยะเวลา 5 วัน โดยผู้ร่วมงานสามารถเข้าร่วมงานได้อย่างต่อเนื่องทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง และคาดว่าจะมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้เป็นจำนวนมากตลอดระยะเวลาของการจัดงาน นายภาสกร กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมงานได้ทุกวัน ตั้งแต่ วันที่ 11-15 มิถุนายน 2564 ผ่าน www.dcivirtualevent2021.com


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'เฉลิมชัย'​ เดินหน้าโครงการ 'แบ่งปันน้ำใจ เกษตรไทยสู้ภัย COVID-19'​ ช่วยเพชรบุรี​ ด้าน 'อลงกรณ์'​ เผยรัฐบาลจัดสรรวัคซีนเพิ่มให้เพชรบุรีเริ่มฉีดมิถุนายนนี้ พร้อมเปิดตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์สัปดาห์หน้าภายใต้ยุทธศาสตร์ '1ปิด1เปิด'​

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานในพิธีมอบข้าวสารและผลผลิตทางการเกษตรภายใต้โครงการ 'แบ่งปันน้ำใจ เกษตรไทยสู้ภัย COVID-19'​ ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อบรรเทาปัญหาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ น้ำพริก, เครื่องแกง, พริกสด, มะเขือ, แฟง, ฟักทอง, สับปะรดดอนขุนห้วยป ไข่ไก่, มะนาว, กล้วยน้ำว้า, กล้วยหอมทอง และภาชนะใส่อาหาร

โดยนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี, นายไพโรจน์ พ่วงทอง สมาชิกวุฒิสภา, นายชาญณรงค์ พวงสั้น เกษตรจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี, นายกเทศมนตรีเทศบาลเขาย้อย, นายกอบต.ตำบลหนองชุมพลเหนือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ และเยี่ยมให้กำลังใจแก่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ที่ประกอบอาหารภายในวัดศีลคุณาราม ตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

ทั้งนี้​ นายภัคพงศ์ ได้กล่าวขอบคุณ​เจ้ากระทรวงเกษตร และคณะที่ช่วยเหลือจังหวัดเพชรบุรีและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19​ ในขณะนี้

ด้าน นายอลงกรณ์ พลบุตร, นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยพาณิชย์, ดร.กัมพล สุภาแแพ่ง, นายอรรถพร พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขและส่วนราชการกระทรวงเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี​ ได้ร่วมสมทบเงินช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่งมอบผ่านพระครูศรีวัชราภรณ์เจ้าคณะอำเภอเขาย้อยให้กับครัวกลางวัดศีลคุณาราม

โดยก่อนหน้านี้กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัยได้มอบเงิน​ 2​ แสนบาท​ สนับสนุนจังหวัดเพชรบุรีสู้ภัยโควิดโดยมอบผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

นอกจากนี้​ นายอลงกรณ์​ ยังได้กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบว่า จากการประสานงานล่าสุดนายอรรถพร พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขได้รับการยืนยันจาก​ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขว่า รัฐบาลได้จัดสรรวัคซีนเพิ่มให้เพชรบุรีล็อตที่​ 2​ อีก​ 49,000 โดส​ รวมทั้งวัคซีนที่จะฉีดให้กับผู้ลงทะเบียน​ 'หมอพร้อม'​ โดยจะเริ่มฉีดตามกำหนดในเดือนมิถุนายนนี้ และหวังว่ารัฐบาลจะจัดสรรวัคซีนให้เพียงพอต่อการฉีดให้ชาวเพชรบุรีไม่น้อยกว่า 70% ให้ทันวันที่​ 1​ ตุลาคมซึ่งเป็นวันที่ชาวเพชรบุรีจะเปิดเมืองของเราภายใต้ยุทธศาสตร์ '1ปิด1เปิด'​

หลังจากเสร็จพิธี ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรพร้อมด้วยนางสาวศิริวรรณ เครือเล็กเกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายชาญ พวงสั้น เกษตรจังหวัด, นายธีรวุฒิ คล้ายเคลื่อนพาณิชย์จังหวัดและคณะได้เดินทางไปประชุมหารือกับนายหยัน เยื่อใย ประธานสหกรณ์การเกษตรท่ายางและผู้จัดการตลาดเกษตรเพื่อเตรียมความพร้อมของการเปิดโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์ที่ตลาดกลางสินค้าเกษตรหนองบ้วยและบ้านลาด​ ซึ่งจะเปิดการขายแบบซอล์ฟโอเพนนิ่งก์ (Soft Opening) ในสัปดาห์ภายใต้เพชรบุรีโมเดล '1ปิด1เปิด'​ คือระดมพลคนเพชรฯ​ ปิดโควิดให้เร็วที่สุดและเปิดเศรษฐกิจเร็วที่สุดไปพร้อมๆ​ กัน


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

คืบ! ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ลงเข็มเริ่มก่อสร้างแล้ว ส่งมอบพื้นที่แล้ว 86% คาดส่งมอบพื้นที่ 170 กม. ครบเดือนก.ย.นี้ พร้อมเปิดให้บริการปี 2568

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว โดยพร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมด ภายในเดือนก.ย.นี้

ทั้งนี้ ปัจจุบันเอกชนได้เข้าพื้นที่ และเริ่มออกแบบเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่สำหรับเตรียมก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวเพื่อลำเลียงวัสดุ งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน โรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง งานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและการจัดจราจร โดยการก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี และจะเปิดให้บริการช่วงพญาไท สุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ในปี 68 ส่วนการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ พร้อมส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญา โดยยืนยันว่า ผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ระหว่างการถ่ายโอนกิจการ โดยเฉพาะเรื่องบัตรโดยสาร ที่สามารถใช้บัตรรายเดือนได้ตามเดิม

ส่วนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา โดยเฉพาะการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 กองทัพเรือ ได้ออกแบบทางวิ่งและทางขับที่ 2 งานทางขับเชื่อมระหว่างทางวิ่ง พร้อมลานจอดศูนย์ซ่อมอากาศยานเสร็จแล้ว คือ ทางวิ่งความยาว 3,505 เมตร ทางขับที่เกี่ยวข้อง 6 เส้นทาง อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่ง และงานระบบที่เกี่ยวข้อง ขณะที่การเตรียมส่งมอบพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้จัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติงานในพื้นที่เขตส่งเสริม สำหรับช่วงการก่อสร้างเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงดูแลรักษาความปลอดภัยพื้นที่ เช่นเดียวกับงานก่อสร้างระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“บิ๊กตู่” เข้าทำเนียบฯ เตรียมประชุม ศูนย์บริการเศรษฐกิจ บ่ายนี้ จับตาเคาะมาตรการ เปิดเมืองภูเก็ต (Phuket Sandbox) รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1 ก.ค.นี้ นำร่องก่อนเปิดรับอีก 9 จังหวัด

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ว่า วันเดียวกันนี้นายกรัฐมนตรี เข้าทำเนียบรัฐบาล ช้ากว่าปกติ เมื่อเวลา 10.00 น.และเตรียมเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2/2564  หรือ ศบศ.ในเวลา 13.30 น. โดยมีวาระที่น่าสนใจ คือการรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดและความคืบหน้ามาตรการด้านเศรษฐกิจที่ดำเนินการไปแล้ว ทั้งโครงการเราชนะ ม.33 เรารักกัน รวมถึงมาตรการสนับสนุนให้สินเชื่อผู้ประกอบธุรกิจ 

นอกจากนี้จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นการซื้อการลงทุนด้านอสังหาฯของชาวต่างชาติซึ่งต้องเป็นสมาชิกบัตรไทยแลนด์ Elite Card ภายใต้โครงการ Elite Flexible Program ขณะเดียวกันจะปรับปรุงระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและดึงดูดการลงทุน ที่สำคัญ ที่ประชุมจะพิจารณาแผนการเปิดพื้นที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นำร่อง 10 จังหวัด ในไตรมาสที่ 3และ 4 โดยนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาและรับทราบแผนที่การการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะเปิดเมืองภูเก็ต (Phuket Sandbox) เพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป  ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วรวมถึง เช่น ไม่กักตัวนักท่องเที่ยวหากฉีดวัคซีนครบโดส โดยแสดงหลักฐานใบรับรองการรับวัคซีน โดยหมายกลุ่มแรกที่จะเดินทาง เข้ามาท่องเที่ยว คือ กลุ่มยุโรป อเมริกา เป็นหลัก ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ถึง 129,000 คน  ส่วนนักท่องเที่ยวในประเทศใกล้เคียงต้องจับตาดูนโยบายของแต่ละประเทศ ซึ่ง ททท.จะประเมินสถานการณ์ในทุกๆ เดือน 

ส่วนอีก 9 จังหวัด แหล่งท่องเที่ยว สมุย กระบี่ พังงา พัทยา เชียงใหม่ หัวหิน ชะอำ บุรีรัมย์ และ กทม. ที่กำลังจะเปิดรับนักท่องเที่ยวก็ต้อง ดู ภูเก็ตโมเดล ก่อน  พร้อมกันนี้ ททท. จะรายงาน แผนการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ทั้งโครงการเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 ทัวร์เที่ยวไทย ที่จะเริ่มในกลางเดือน ก.ค.นี้

จับตา ศบศ. ออกมาตรการประคองการจ้างงานใหม่

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมศูนย์บริหารเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) วันที่ 4 มิ.ย.นี้ ที่ประชุมเตรียมพิจารณามาตรการเพื่อรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบ ซึ่งเป็นมาตรการที่ต้องทำอย่างรวดเร็วหลังจากมีผู้ประกอบการจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดในระลอกล่าสุด และมีผู้ประกอบการที่รอความช่วยเหลือของมาตรการนี้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อได้มากขึ้น

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า รัฐบาลกำลังพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม โดยใช้เงินจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งจะนำมาใช้ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอาจเป็นผู้ประกอบการระดับกลาง ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยได้รับประโยชน์จากมาตรการของภาครัฐ ขณะที่การเข้าถึงสินเชื่อทำได้ยาก และกลุ่มนี้ต้องได้รับมาตรการในการช่วยเหลือที่แตกต่างไปจากเดิม  

ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้มีการหารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) แล้วได้ข้อสรุปในแนวทางร่วมกันว่ามาตรการที่จะออกมาจะเป็นลักษณะของการช่วยอุดหนุนค่าจ้างแรงงานหรือการช่วยจ่ายเงินเดือน ซึ่งล่าสุดทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาว่า จะช่วยเหลือในสัดส่วนเท่าใดของเงินเดือน รวมทั้งระยะเวลาการจ่ายด้วย  

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในกลุ่มนี้มีหลักการที่สำคัญคือ เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้องและยังคงประกอบกิจการอยู่ เป็นกิจการและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือไม่ได้มีปัญหามาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดการระบาด และเป็นกิจการหรือธุรกิจที่เมื่อได้รับความช่วยเหลือแล้วจะสามารถปรับตัวให้อยู่รอดและไปต่อได้หลังจากที่สถานการณ์โควิดคลี่คลายลง

บอร์ด สมอ. ไฟเขียวให้ทำลายสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า กระจกนิรภัยรถยนต์ หมวกกันน็อค และของเล่น มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท พร้อมกำชับให้ สมอ. ดำเนินการทำลายตามกฎหมายโรงงานอย่างเคร่งครัด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด สมอ. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยถือเป็นภารกิจสำคัญนอกเหนือจากการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ดำเนินการควบคุมและกำกับติดตามการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดอย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพื่อมิให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนที่กำลังอยู่ในภาวะเดือดร้อน และได้กำชับบอร์ด สมอ. ให้เร่งรัดดำเนินการด้านมาตรฐานโดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชน

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมบอร์ด สมอ. เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ สมอ. ควบคุมสินค้า 2 รายการ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และคุ้มครองเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ เหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนสำหรับงานโครงสร้างเครื่องจักรกล และเตารีดไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เนื่องจาก สมอ. ได้มีการทบทวนแก้ไขมาตรฐานให้มีความทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตในปัจจุบัน ประกอบกับในรอบปี 2561-2563 มีการนำเข้าเหล็กชนิดนี้เข้ามาในประเทศไทยเป็นมูลค่ากว่า 87,000 ล้านบาท และนำเข้าเตารีดไฟฟ้าเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาจำหน่าย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในประเทศ สมอ. จึงขอความเห็นชอบบอร์ดควบคุมสินค้าดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บอร์ด สมอ. ยังเห็นชอบให้จัดทำมาตรฐาน ทั้งที่เป็นมาตรฐานใหม่ และมาตรฐานเดิมที่นำมาทบทวนแก้ไขปรับปรุง รวมทั้งสิ้น 34 มาตรฐาน ได้แก่ คอนกรีตแห้งสำเร็จรูป, คอนกรีตแห้งสำหรับสภาพแวดล้อมทางทะเล, เสื้อชูชีพ, เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับทำความสะอาดพื้นผิว, กระทะไฟฟ้าที่ใช้ในร้านอาหาร, หม้อทอดไฟฟ้า, เครื่องเลเซอร์กำจัดขน, เครื่องตัดผม (ปัตตาเลี่ยน), ดวงโคมไฟฟ้า, ภาชนะเหล็กหล้าไร้สนิมสำหรับอาหาร, เลื่อยไฟฟ้า และเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคม เป็นต้น และเห็นชอบในการทุบ ทำลายสินค้าไม่ได้มาตรฐานของผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย ที่คดีถึงที่สุดแล้ว เป็นมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องทำความสะอาดผิวหน้า, เครื่องเล่นแผ่นดิสก์, บัลลาสต์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์, ชุดสายพ่วง, หม้อต้มแว็กซ์, กล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี, ของเล่น, หมวกกันน็อค และกระจกนิรภัยรถยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ สมอ. ได้ส่งให้ผู้รับกำจัดซากที่ได้รับอนุญาตตาม พรบ.โรงงานฯ ดำเนินการทำลายสินค้าดังกล่าว เลขาธิการ สมอ. กล่าวทิ้งท้าย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

‘เฉลิมชัย’ เดินหน้าพัฒนาทะเลสะอาดอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ ‘ทะเลปลอดอวน-ขยะคืนฝั่ง’ กรมประมง ผนึกกำลัง ประมงพื้นบ้าน-ประมงพาณิชย์ แปลงขยะทะเลเป็นทุนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG) เพื่อสร้างรายได้ชุมชนประมง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทย แถลงวันนี้ (2 มิ.ย.) ว่า หลายปีที่ผ่านมาทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการ ป้องกันและจัดการปัญหาขยะทะเล โดยประเทศไทย ติดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีการทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานในประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญและได้มีการกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณขยะ สอดคล้องกับวาระแห่งชาติภายใต้แผนแม่บทการจัดการขยะแห่งชาติฉบับที่ 2559-2564 ว่าด้วยการต่อต้าน ขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน ตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ในการร่วมมือมุ่งมั่นฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานสู่มิติใหม่ ภายใต้ ‘5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย’ คือ

1.) ยุทธศาสตร์ตลาดนาการผลิต

2.) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0

3.) ยุทธศาสตร์ ‘3’s’ (Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน)

4.) ยุทธศาสตร์การบริหาร เชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล ‘เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย’ และ

5.) ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา ซึ่งสอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เห็นชอบในโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเกิดการนำขยะมารีไซเคิลหมุนเวียนให้เกิดรายได้ใช้พัฒนาชุมชน ภายใต้ ‘โครงการทะเล ปลอดอวน’ และ ‘โครงการขยะคืนฝั่ง’ โดยมีกรมประมงในฐานะหน่วยงานที่ดูแลด้านประมง ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดีในปี 2562 โดยทางกรมประมง ได้ร่วมกับพี่น้องชาวประมงทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลโดยตรง ริเริ่มนำแนวคิดการไม่สร้างขยะในท้องทะเล และการเก็บขยะในท้องทะเล มาแปลงเป็นทุน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ภายใต้การบริหารจัดการของชุมชนประมง สร้างรายได้นำไปพัฒนาชุมชน

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า “สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะในทะเลนั้น ได้ดำเนินงานภายใต้นโยบายของ เจ้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้เน้นย้ำในเรื่องของ การมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม โดยกรมประมง ผู้ประกอบการและชาวประมง บูรณาการงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ช่วยลดโอกาสในการ ปนเปื้อนของมลพิษในสัตว์น้ำ ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยเริ่มต้นจากชาวประมงพาณิชย์ขยายผลไปสู่ ชาวประมงทุกกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินโครงการในการกำจัดขยะทะเล ภายใต้การขับเคลื่อนของ อธิบดีกรมประมง มาแล้ว จำนวน 2 โครงการ คือ…

1.) โครงการ Net Free Seas หรือเรียกว่า โครงการทะเลปลอดอวน ซึ่งกรมประมงได้ร่วมกับมูลนิธิความ ยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) ในการพยายามจัดการและแก้ไขปัญหาขยะที่ เกิดจากเศษอวนประมง โดยการนำเศษอวนเอ็นจากเรือประมงพื้นบ้าน กลับมารีไซเคิลแปรสภาพใช้ประโยชน์และสร้าง รายได้ให้แก่ชุมชน โดยปัจจุบันได้มีการนำร่องจัดทำโครงการ Net Free Seas ในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเลในจังหวัด ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และพังงา โดยมีชุมชนประมง พื้นบ้านที่จัดตั้งเป็นองค์กรประมงท้องถิ่น ทั้งหมด 47 ชุมชน มีชาวประมงเข้าร่วมโครงการกว่า 700 คน

โดยชุมชนประมงท้องถิ่นในพื้นที่สามารถรวบรวมนำเศษอวนที่กลายเป็นขยะในพื้นที่แล้ว ส่งขายให้กับโรงงาน ในราคา 10 บาท/กิโลกรัม เพื่อนำมารีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติก และแปลงไปเป็นของใช้ต่างๆ ได้มากกว่า 12 รายการ เช่น ที่เปิดขวด ที่รองแก้ว ที่กดลิฟท์ ส่วนประกอบของกระดานโต้คลื่น พรมปูพื้น ฯลฯ ซึ่งถูกนำไปจำหน่ายทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศแล้วกว่า 100,000 ชิ้น สามารถลดขยะที่เกิดจากเศษอวนไปได้มากถึง 14,000 กิโลกรัม ซึ่งชุมชนจะมี รายได้ตอบแทน โดยการดำเนินโครงการจะถูกปรับให้เหมาะสมกับวิถีชุมชน แต่ละชุมชนมีส่วนร่วมและมีสิทธิ์ในการให้ คำแนะนำและตัดสินใจในรูปแบบการบริหารจัดการรายได้ที่ได้รับจากการขายเศษอวนผ่านโครงการและระบบการ จัดการ รีไซเคิลขยะจากอวนที่ไม่ซับซ้อนชาวบ้านสามารถดาเนินการเองได้ เอื้อให้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนได้ในระยะยาว

โครงการดังกล่าว นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาขยะจากเศษอวนประมงเพื่อเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางทะเลและ ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลในระยะยาวแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากขยะ ช่วยสร้างช่องทางการเพิ่ม รายได้ให้แก่ชุมชนชาวประมง และเป็นการริเริ่มการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้แก้ปัญหาและเพิ่มคุณภาพ ชีวิตในชุมชนให้ดีขึ้น ที่สำคัญยังช่วยสนับสนุนความพยายามของชุมชนในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลผ่านการ อนุรักษ์อย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านโครงการเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์และปลูกฝังพฤติกรรมการแก้ปัญหาขยะทะเลและการรีไซเคิลให้เป็นวิถีชุมชนที่ยั่งยืน และในอนาคตมีแผนจะขยายผลไปยังชุมชน ในจังหวัดใกล้เคียงในฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งปัจจุบันมีชุมชนประมงในพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนชุมชนประมงท้องถิ่นชายฝั่งกับ กรมประมงทั้งหมดแล้ว จำนวน 751 ชุมชน

2.) โครงการ ‘ขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา’ โดยกรมประมงร่วมกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รณรงค์ให้ชาวประมงดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่เขตทะเลและชายฝั่งให้สะอาด นำขยะ ทะเลคืนฝั่ง ภายใต้กรอบแนวคิด ‘รับรู้ต้นตอปัญหา เกิดจิตสำนึกตระหนัก ให้ความเห็นร่วม สมัครเข้าทำกิจกรรม สร้าง สัมพันธ์ ให้ความร่วมมือ ยึดปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง’ ซึ่งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) ของกรมประมง จำนวน 30 แห่ง ทั่วประเทศ เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ดังกล่าว ปัจจุบันมีชาวประมงเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4,328 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564) มีขั้นตอนการดำเนินการโดยผู้ควบคุมเรือประมงทุกลำที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ จะต้องจดบันทึกรายงานขยะที่เก็บมาแต่ละครั้ง แนบพร้อมการส่งสมุดบันทึกการทำประมง (LB) เพื่อให้ศูนย์ PIPO ตรวจสอบและบันทึกปริมาณขยะลงในระบบ

นอกจากนี้ยังได้ประสานงานไปยังท่าเทียบเรือทุกแห่งที่จดทะเบียนกับ กรมประมง ให้จัดจุดรวบรวม คัดแยกขยะจากทะเล และประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงที่ออกเรือ ลดการใช้ภาชนะหรือ บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ยาก ไม่เทเศษสิ่งของเหลือใช้ หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ ของใช้ในเรือประมงลงสู่ทะเล ซึ่งจาก ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้มีการสรุปรายงานผลปริมาณขยะ คืนฝั่งที่เก็บมาได้ปัจจุบันทั้งหมด จานวน 182,876 กิโลกรัม (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564) แบ่งเป็นขยะที่เก็บในเรือประมงจานวน 139,682 กิโลกรัม ขยะจากทะเล 43,194 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทขยะที่พบมากที่สุดคือ เศษอวน รองลงมาเป็นขวด พลาสติก ขวดแก้ว และขยะอื่นๆ ทั้งนี้ขยะที่รวบรวมไว้จะมีการส่งต่อไปสู่กระบวนการนากลับมาใช้ซ้ำเพื่อให้คุ้มค่าที่สุด หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หรือกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง

“จากการดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมประมงได้มุ่งผลักดันกิจกรรมฯ ดังกล่าว ในด้านการดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง จนประสบความสำเร็จเห็นผลเชิงประจักษ์ โดยล่าสุดกรมประมงได้ส่งผลงาน กิจกรรมฯ ดังกล่าว เข้าร่วมชิงรางวัลเลิศรัฐประจำปี 2564 ประเภทรางวัล การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เพื่อแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาครัฐ และพี่น้องชาวประมง ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและ สิ่งแวดล้อม ท้ายนี้ กรมประมงขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงในความตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อม และช่วยกันเก็บขยะจาก ทะเลคืนฝั่ง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบและขยายผลไปสู่ชาวประมงทุกกลุ่มให้ปรับเปลี่ยน วิถีการทำประมงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเนื่องในโอกาสวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก กรมประมง และพี่น้องชาวประมง ขอแสดงเจตจำนงว่าพวกเราพร้อมที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้คืนความอุดมสมบูรณ์ ดังเดิม” อธิบดีกรมประมง กล่าว


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ประกันชีวิตโตรับโควิดระบาด 4 เดือนฟันเกือบ 2 แสนล.

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิต 4 เดือนแรก ปี 2564 (ม.ค.-เม.ย.) มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 195,544 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3.25% โดยแยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 56,227 ล้านบาท เติบโต 10.38% และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 139,316.51 ล้านบาท เติบโต 0.63% อัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ 81%

“การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และโรคร้ายแรงยังอยู่รอบตัวเรา ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ภาคธุรกิจจึงได้มีการปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้สอดรับกับสถานการณ์มากขึ้น ทั้งในรูปแบบเหมาจ่ายหรือเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมรอบด้าน ตลอดจนบริการเสริมในด้านต่างๆ ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับความคุ้มครองอย่างดีที่สุดตามเงื่อนไขกรมธรรม์ไม่ว่าจะป่วยด้วยโควิด หรือโรคร้ายอื่นๆ ก็ตาม”

ทั้งนี้พบว่าช่องทางตัวแทนประกันชีวิตยังคงเป็นช่องทางหลัก ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม 91,040 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 0.94% มีสัดส่วน 46.56% รองลงมาเป็นการขายผ่านธนาคาร เบี้ยประกันภัยรับรวม 83,587 ล้านบาท เติบโตขึ้น 6.71% มีสัดส่วน 42.75% ตามด้วยช่องทางนายหน้าประกันชีวิต เบี้ยประกันภัยรับรวม 10,355 ล้านบาท ลดลง 1.56% มีสัดส่วน 5.30% 

ช่องทางอื่นๆ เบี้ยประกันภัยรับรวม 5,565 ล้านบาท ลดลง 0.92% มีสัดส่วน 2.85 ช่องทางโทรศัพท์ เบี้ยประกันภัยรับรวม 4,778 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 6.41% มีสัดส่วน 2.44 ช่องทางดิจิทัล เบี้ยประกันภัยรับรวม 202 ล้านบาท ลดลง 3.59% มีสัดส่วน 0.10% และ ช่องทางไปรษณีย์ เบี้ยประกันภัยรับรวม 13 ล้านบาท ลดลง 15.22% มีสัดส่วน 0.01%

คลังทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้พิโกไฟแนนซ์ ช่วยรายย่อย

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ออกหนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้กับลูกหนี้ตามความเหมาะสมและตามสมควรที่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์แต่ละรายจะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของตนเองได้

สำหรับแนวทางการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ แบ่งเป็น

1.) ลดค่างวดหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้

2.) เปลี่ยนประเภทหนี้จากระยะสั้นเป็นระยะยาว

3.) พักชำระค่างวดหรือพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน หรือพักเงินหรือพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย หรือวิธีการอื่นใดที่จะสามารถช่วยบรรเทาภาระหนี้กับลูกหนี้ได้ นอกจากนี้ ยังได้ขยายระยะเวลาการส่งรายงานงบการเงินสำหรับรอบปีบัญชี พ.ศ. 2563 ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2564

ทั้งนี้ หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้ของกลุ่มธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบให้กับประชาชนได้ เพราะที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มกลับมาแพร่ระบาดตั้งแต่เดือนธ.ค. 2563 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังไม่บรรเทาเบาบางลง รวมทั้งยังได้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ การจ้างงาน และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทยในวงกว้าง 

ประเมินตลาดที่อยู่อาศัยครึ่งหลังปีนี้ยังซม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 พบว่า กิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 อาจมีโอกาสขยับเพิ่มขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรก หลังจากยอดจองซื้อที่อยู่อาศัยที่หดตัวถึง 24.2% หรือมีจำนวนเหลือเพียง 2.1 หมื่นหน่วย ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี และการเปิดโครงการใหม่ของผู้ประกอบการก็มีเพียง 2 หมื่นหน่วย หดตัว 35% โดยกลุ่มที่มีกำลังซื้อและมองหาที่อยู่อาศัยน่าจะกลับมาได้บ้าง และผู้ประกอบการน่าจะกลับมาทำกิจกรรมการตลาดกระตุ้นการขายได้มากขึ้น แต่ยังนับว่าต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยภาพรวมยังไม่ฟื้น โดยเฉพาะกลุ่มระดับล่าง-กลางล่าง ที่เป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มหลัก 

“ตลาดอาจจะฟื้นตัวในระดับต่ำ จากปัจจัยหลายอย่างที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 และการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ประเมินว่า หากประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโควิดได้ในช่วงเดือนก.ค. พร้อมๆ กับการฉีดวัคซีนเป็นไปตามแผน เช่นเดียวกับการออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในประเทศได้”

ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทั้งปี 64 จะมีเพียง 1.76-1.82 แสนหน่วย หรือติดลบ 10.5- 7.4% ต่อเนื่องจากปี 63 ส่วนการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในช่วงครึ่งหลังของปี 64 ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยยังคงเจอโจทย์ท้าทาย เพราะนอกจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังอ่อนแอแล้ว ยังมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้ง ความท้าทายในการระบายสินค้าคงเหลือ ทำให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันกันทำตลาดเพื่อชิงกลุ่มผู้บริโภคที่มีจำนวนจำกัดด้วย

แบงก์ชาติเปิดผลสำรวจโควิดระลอกใหม่ทำธุรกิจไทยทรุด

ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย ในเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า ในเดือนพฤษภาคม 2564 ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ซึ่งถูกกดดันจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ และผลของการแพร่ระบาดของโควิดระลอกเดือนเมษายนที่ขยายวงกว้าง ขณะที่ภาคก่อสร้างเริ่มได้รับผลจากการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในแคมป์คนงาน แต่อย่างไรก็ดีภาคการผลิตยังสามารถฟื้นตัวได้ตามคำสั่งซื้อที่ทยอยกลับมา

ทั้งนี้แต่ละธุรกิจมีมุมมองต่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกเดือนเมษายนแตกต่างกัน โดยภาคท่องเที่ยว คาดว่า จะถูกกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการค้า ขณะที่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด สอดคล้องกับการปรับตัวที่ทำได้มากกว่าธุรกิจอื่น โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในไทยที่มีแนวโน้มกลับมารุนแรงขึ้น ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่มีการใช้นโยบายสลับกันมาทำงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนธุรกิจในภาคที่ไม่ใช่การผลิตมีการใช้นโยบายอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ ลดชั่วโมงทำงาน และ หยุดงานชั่วคราวโดยไม่รับเงินเดือน รวมถึงปลดคนงานเพิ่มในบางธุรกิจ

ขณะเดียวกันจากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (RSI) เดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งจัดทำร่วมกับสมาคมผู้ค้าปลีกไทย พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกปรับลดลงต่อเนื่อง ตามการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังเชื่อมั่นว่าสถานการณ์จะปรับดีขึ้นในอีก 3 เดือน จากผลของการเร่งกระจายวัคซีน

สำหรับประเด็นพิเศษในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคแย่ลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมาก จากการระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อที่ส่งผลต่อทั้งรายได้ และความกังวลของผู้บริโภค รวมถึงมาตรการสาธารณสุขที่เข้มงวดในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ 41% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ได้ปรับลดการจ้างงานลงและมีแนวโน้มที่รายได้ลดลงตามชั่วโมงการทำงานและค่าธรรมเนียมขายลดลง และ 39% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีสภาพคล่องไม่เกิน 6 เดือน

ดีพร้อม (DIPROM) ออกนโยบายเร่งด่วนสนับสนุนผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ รับมือวิกฤติสุขภาพและแนวโน้มความต้องการในไทยที่สูงขึ้น

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระยะยาวของทางกระทรวงที่ต้องการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครื่องมือและการให้บริการทางการแพทย์ให้เทียบเท่ากับระดับสากล โดยเน้นการยกระดับการแพทย์ สร้างศูนย์ทดสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกในการตรวจและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของไทยให้กับผู้ประกอบการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ในราคาที่เป็นธรรมเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ในประเทศไทยในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์ มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญและเร่งการสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ในการพัฒนาและผลักดันให้พร้อมรับมือวิกฤติสุขภาพได้อย่างมีสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอวที่จะช่วยประเทศไทยผ่านวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ไปให้ได้

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อม (DIPROM) เร่งดำเนินการปรับแผนและรูปแบบการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของงบประมาณประจำปี 2564 เพื่อให้สอดรับนโยบายทางกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยหนึ่งในนั้นคือการเร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์อย่างครอบคลุมในหลายมิติให้มีความสอดคล้องสถานการณ์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างความพร้อมในการเป็นรากฐานที่สำคัญรองรับต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการผลักดันให้เกิดความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ผ่าน 4 มาตรการเร่งด่วน ดังนี้

1.) การส่งเสริมด้านบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้มีความพร้อมและองค์ความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม รวมไปถึงสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎระเบียบและข้อบังคับของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

2.) การส่งเสริมด้านการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI และ IoT รวมถึงในกลุ่มของการบำบัดฟื้นฟู วินิจฉัย และการรักษา

โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์ร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมนั้น จะครอบคลุมทั้งในด้านของการรองรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ ชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า (PAPR) เครื่องทวนสอบเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Tester) ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล ระบบ AI ในการวิเคราะห์โรคปอด และเครื่องดูดละอองฝอยน้ำลาย (เครื่องมือทันตกรรม)

ทั้งนี้ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ดำเนินการโดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ภาคการศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงสถาบันฯ และสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.) การส่งเสริมสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ การปรับปรุง และพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถที่จะลดต้นทุน ลดของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต รวมถึงสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งส่งเสริมในเรื่องการวางแผนการตลาด เพิ่มมูลค่า และยอดขายอีกครั้ง

4.) การส่งเสริมการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้รวมถึงวิสัยทัศน์ร่วมกัน การสร้างและรวบข้อมูลเครือข่ายหน่วยทดสอบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ให้เกิดความพร้อมทุกมิติ อีกทั้งยังร่วมกันพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

นอกจากนี้ ดีพร้อม ได้ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการวิจัยและนวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงหน่วยงานอื่นๆ อาทิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อีกทั้ง ยังช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่บัญชีนวัตกรรมไทยและบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งในการสร้างความน่าเชื่อถือและสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอีกด้วย

ทั้งนี้ ดีพร้อม ตั้งเป้าว่าภายในปี 2564 ต้องสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์ได้กว่า 100 ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 – 2563 ดีพร้อม สามารถยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์กว่า 400 ราย อาทิ การพัฒนาชุดอุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่องสำหรับหน้ากากชนิดครอบเต็มใบหน้า บริษัท ทีเอ็มดีดี จำกัด โดยทางดีพร้อมได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านวัสดุในการผลิต ระบบในการปรับอัตราการไหลของอากาศ แบตเตอรี่ในการใช้งาน และการใช้งานร่วมกับชุดกรองเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ฯลฯ นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

THE STATES TIMES เปิดตัวไลน์แอด @THESHOPSTIMES เอาใจสาย Click...ปั้นธุรกิจ Digital Media Commerce ในคอนเซ็ปต์ โปรเด็ด ถูกคุ้ม แอดเลย แอดไลน์ @ THESHOPSTIMES ส่งดีลดีดี โปรโมชั่นเด็ด สินค้า ประเดิมเริ่มกลุ่ม ‘รถยนต์-อสังหาฯ’

สำนักข่าวออนไลน์ สำหรับคนรุ่นใหม่ THE STATES TIMES ขยายพอร์ตธุรกิจ ปั้นแนวคิดช้อปปิ้งออนไลน์คอนเทนต์ ด้วยการผสมผสานคอนเทนต์และช้อปปิ้งออนไลน์ไว้ด้วยกัน ภายใต้ชื่อ ‘THE SHOPS TIMES’

โดยตกผลึกไอเดียด้วยความเชี่ยวชาญของ THE STATES TIMES ที่มีทั้งทีมผลิตคอนเทนต์หลากสาย จนเกิดเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้า/บริการต่างๆ มาถ่ายทอดให้กระชับ เข้าใจง่าย รวมถึงการอัดไฮไลต์โดนๆ เช่น โปรโมชั่นและดีลสุดคุ้มที่มีการพูดคุยกับเจ้าของสินค้า/บริการจำนวนมาก มานำเสนอต่อผู้ติดตามทั้งในแพลตฟอร์มของ THE STATES TIMES และ สำนักข่าวการศึกษา THE STUDY TIMES

สำหรับ THE SHOPS TIMES ได้มีการพัฒนาการซื้อการขายผ่าน ไลน์แอด @THESHOPSTIMES ภายใต้ไอเดีย Click on Goods โปรเด็ด ถูกคุ้ม ซึ่งใน ไลน์แอด ดังกล่าวจะมีการคัดเลือกสินค้าและบริการคุณภาพ, จากเทรนด์สินค้ากระแสในปัจจุบัน, ความต้องการของตลาด ภายใต้ความคุ้มค่าที่ต้องจ่ายไปอย่างสมเหตุสมผลให้มากที่สุด

ทั้งนี้ในช่วงแรกนี้ THE SHOPS TIMES ได้ดีลกับกลุ่มสินค้าในฝันของใครหลายๆ คน อาทิ เช่น ‘กลุ่มรถยนต์’ กับ Autogallary ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ชั้นนำของประเทศไทย นำเสนอโปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอเมร่า

‘กลุุ่มอสังหาริมทรัพย์’ กับ True Marketing Property ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ นำเสนอ 2 คอนโดน่าซื้อ ย่านดอนเมือง และ สุขุมวิท 34 ในราคาเริ่มต้น 3 ล้านปลายๆ

ผู้สนใจ โปรเด็ด ถูกคุ้ม อย่างสมเหตุสมผล พร้อมรีวิวจากทีมคอนเท้น จาก THE STATES TIMES ที่จะมีสินค้า/บริการมาอัปเดตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสามารถแอดไลน์สั่งซื้อได้ทันทีที่ Line@THESHOPSTIMES


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top