Friday, 26 April 2024
INFO

‘กรุงเทพ’ ยืนหนึ่ง!! เมืองดีที่สุดในเอเชีย 2024

‘ประเทศไทย’ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024) ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก ตามมาด้วยกรุงโตเกียว สิงคโปร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ฮ่องกง กรุงโซล นครซิดนีย์ นครเซี่ยงไฮ้ ไทเป และนครโฮจิมินห์ (https://destinasian.com/readers-choice-awards/2024-winners/best-cities)

การจัดอันดับครั้งนี้ เป็นผลมาจากการคัดเลือกของผู้อ่าน ของนิตยสาร DestinAsian ซึ่งได้ประกาศพร้อมจัดอันดับหมวดหมู่ต่าง ๆ ทั้งจุดหมายปลายทางประเภทเมือง เกาะ โรงแรมและรีสอร์ต สายการบิน สนามบิน และการเดินเรือ ที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นประจำทุกปี ซึ่งในประเภทเกาะที่ดีที่สุด เกาะของไทยก็ได้รับความนิยมในอันดับ 3 คือ ภูเก็ต ตามมาด้วย เกาะสมุย ในอันดับที่ 4 รองจากที่ 1 เกาะบาหลี และที่ 2 เกาะมัลดีฟส์

นอกจากนี้ ในประเภทสนามบิน สนามบินสุวรรณภูมิ ได้อันดับที่ 2 สนามบินที่ดีที่สุด รองจากสนามบินชางงีของสิงคโปร์ ที่ได้อันดับที่ 1 ส่วน อันดับ 3 คือ สนามบินนานาชาติฮ่องกง 

ทางด้านการจัดอันดับประเภทสายการบินที่ดีที่สุด ‘การบินไทย’ ได้อันดับที่ 3 รองจาก สิงคโปร์ แอร์ไลน์ และเอมิเรตส์ ในอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ 

ส่วนประเภทสายการบิน Low-cost ที่ดีที่สุด สายการบิน บางกอก แอร์เวย์ส ได้อันดับที่ 2 รองจาก แอร์เอเชีย

🔎10 ชาติในเอเชียที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มากกว่าไทย

‘ภาษีมูลค่าเพิ่ม’ หรือ value-added tax (VAT) เป็นภาษีที่เก็บบนมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการในแต่ละขั้นของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย เก็บ VAT อยู่ที่ 7% ถือว่าน้อยกว่าประเทศในเอเชียหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย เก็บอยู่ที่ 18% รองลงมาคือซาอุดีอาระเบียเก็บอยู่ที่ 15%

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมรายชื่อ 10 ประเทศในเอเชียที่เก็บ VAT มากกว่าไทย จะมีประเทศไหนบ้าง มาดูกัน!!

ส่อง 'คนรวย' ใน 8 ประเทศ เริ่มเฟดตัวไปโกยทรัพย์ใน 'ต่างแดน'

รายงานจาก Ranking Royals เผยว่า ในปี 2023 จีนเป็นประเทศที่มีการย้ายออกสุทธิ (ส่วนต่างของการย้ายออกและย้ายเข้า) ของเศรษฐีระดับ HNWI (High Net Worth Individual) หรือบุคคลมั่งคั่งสูงที่มีการลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวน 13,500 ราย ตามมาด้วยอินเดียที่มีการย้ายออกสุทธิ 6,500 ราย และสหราชอาณาจักร มีการย้ายออกสุทธิ 3,200 ราย

สำหรับเหตุผลดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ จีน จะพบว่า...

การใช้นโยบาย 'เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน' (common prosperity) ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ของจีน กำลังบั่นทอนความมั่งคั่งของเหล่าเศรษฐีลง เป็นปัจจัยขับดันให้ผู้ลงทุนในจีนแห่ออกไปประเทศที่เป็นมิตรต่อการลงทุนมากกว่า เช่น สิงคโปร์ หรือมีการวางแผนสำรองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ข้อจำกัดเรื่องโควิด-19 ที่ยืดเยื้อก็เป็นเหตุผลเพิ่มเติมที่คนเหล่าคนร่ำรวยจะเลือกออกไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ 

ส่วน อินเดีย แม้ว่าการย้ายออกสุทธิปี 2023 จะอยู่อันดับที่ 2 แต่ถือว่าจำนวนน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีการย้ายออกสุทธิ 7,500 ราย โดยเหตุผลของการย้ายออกจากอินเดียมาจาก 'กฎหมายภาษีต้องห้าม' ประกอบกับกฎที่ซับซ้อนและซับซ้อนเกี่ยวกับการโอนเงินขาออกที่เปิดให้ตีความผิดและใช้ในทางที่ผิด เป็นเพียงประเด็นเล็กน้อยที่กระตุ้นให้เกิดกระแสการโยกย้ายการลงทุนจากอินเดียด้าน การอพยพย้ายถิ่นฐานของเหล่า HNWI ในสหราชอาณาจักร เหตุผลสำคัญ คือ Brexit และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อยกเลิกสถานะผู้เสียภาษีที่ไม่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร โดยสถิติชี้ชัดว่าการลงทุนขาเข้าในสหราชอาณาจักรลดลงนับตั้งแต่ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสได้รับประโยชน์ไปแทน

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน (18 มี.ค. 67)

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 15 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

เปิด 20 อันดับ 'ชาติเอเชีย' ที่มีรายได้น้อยที่สุด

📍 เช็กลิสต์ 20 อันดับประเทศในเอเชียที่มีรายได้ต่ำที่สุด โดยอ้างอิงตามรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัว PPP (ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ)

ส่องราคาน้ำมันเฉลี่ยในประเทศอาเซียน (11 มี.ค. 67)

รายงานราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 67 โดยราคาขายน้ำมันแต่ละประเทศ มีปัจจัยทางด้านราคา ดังนี้

1.แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

2.ในหลายประเทศเพื่อนบ้านยังมีการอุดหนุนราคากันอยู่

3.ประเทศไทยสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ให้การอุดหนุนราคาโดยกองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซิน

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน (อัตรากลาง) ณ วันที่ 8 มี.ค. 67 และประเทศไทย อ้างอิงราคาจาก ปตท. และ บางจาก และเป็นราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95E10 ซึ่งมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด

ทั้งนี้สามารถดูราคาย้อนหลังได้ที่ EPPO - Energy Data Visualization หรือคลิกที่ https://public.tableau.com/app/profile/epposite/viz/EPPO_Inter_OilPrice/SUMMARYOILPRICING 

ส่องระดับรายได้ 11 ชาติอาเซียน ประเทศไทยอยู่กลุ่มไหน?

สิงคโปร์มี GNI (Gross National Income) หรือ รายได้ประชาชาติ โดยมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุด และมีรายได้สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!

ทั้งนี้ ธนาคารโลก ได้จัดหมวดหมู่เศรษฐกิจโลกออกเป็นสี่กลุ่มรายได้ ได้แก่ ต่ำ, กลางล่าง, กลางบน และสูง ซึ่งอัปเดตทุกปีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยอิงตาม GNI ต่อหัวของปีก่อน คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการจัดประเภทรายได้ของธนาคารโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนระดับการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัย GNI ต่อหัวเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

จากผลการจัดประเภทรอบนี้ สิงคโปร์ และ บรูไน เป็นสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรายได้สูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะถูกจัดในกลุ่มรายได้ปานกลางตอนล่าง

สรุปสาระสำคัญ ประกาศกระทรวงพลังงาน ‘การแจ้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง’

น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชน และเป็นต้นทุนหลักของภาคธุรกิจในการประกอบกิจการ หากน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายภายในประเทศมีการค้ากำไรเกินสมควร มีปริมาณการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ หรือไม่ได้คุณภาพแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ 

รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายด้านการพลังงานให้เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันให้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาจำหน่ายที่ยุติธรรม มีปริมาณเพียงพอ และได้คุณภาพ แต่การที่รัฐจะสามารถกำหนดและดำเนินนโยบายด้านการพลังงานได้อย่างเหมาะสมนั้น จำเป็นที่รัฐจะต้องได้มาซึ่งข้อมูลราคาและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง 

กระทรวงพลังงานจึงจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการกำหนดนโยบายด้านการพลังงานของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศด้านเศรษฐกิจและความผาสุกของประชาชน

วันนี้ THE STATES TIMES ได้สรุปสาระสำคัญ ประกาศกระทรวงพลังงาน ‘การแจ้งข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง’ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 หวังสะท้อนต้นทุนแท้จริง และ ราคาที่ยุติธรรม จะมีข้อกำหนดอะไรบ้าง มาดูกัน…

ส่อง 10 ชาติเอเชีย ที่มี 'ทองคำ' สำรองมากที่สุด ประจำปี 2024

ในขณะที่ทองคำโลกราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สถานะการคลังของประเทศไทยก็ใช่ย่อย เพราะมีทองตุนไว้ มากกว่า 200 ตัน เพื่อเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top