Tuesday, 14 May 2024
INFO

ย้อน 12 ผลงานเด่น ในยุค ‘รัฐบาล คสช.’

ภายหลังจาก ‘คณะรักษาความสงบแห่งชาติ’ หรือ คสช. อันมี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เป็นหัวหน้าคณะ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ในระยะเวลาต่อเนื่องกว่า 5 ปีก่อนจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2562 รัฐบาล คสช. ได้บริหารประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งสร้างความ ‘มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน’ โดยพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่มีพรรคฝ่ายค้านในสภา และสามารถออกคำสั่งตามมาตรา 44 ได้ ทำให้รัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายต่าง ๆ ออกมาได้มาก 

วันนี้ THE STATES TIMES จะพาย้อนดู 12 ผลงานรัฐบาล คสช. ที่เป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เช่น

1.จัดการปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และขาดการควบคุม (IUU) 
รัฐบาล คสช. สามารถแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วตามแรงกดดันของสหภาพยุโรป ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าประมงไปสหภาพยุโรปได้ต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงความมุ่งมั่นในการป้องกันและแก้ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ ปรับปรุงภาพลักษณ์ภาคการประมงของไทยให้ดียิ่งขึ้น

2.ทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ โดยในปี 2559 สามารถทวงคืนผืนป่าจากนายทุนได้ 1.4 แสนไร่ และถือเป็นพันธกิจที่ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ประชาชนด้วย

3.ประกาศแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร ตั้งแต่เจ้าหนี้และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้นอกระบบจัดตั้งเป็นธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์)

4.ขจัดปัญหามาเฟีย ปราบปรามผู้มีอิทธิพลใช้อำนาจในทางผิดกฎหมาย กวาดล้างอาวุธสงคราม ปืน ระเบิด รวมถึงจับตาเครือข่ายและผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง

5.ผลักดันระบบ ‘พร้อมเพย์’ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการชำระเงินและโอนเงินของประชาชน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

6.เดินหน้าจัดระเบียบสังคม จัดการหาบเร่แผงลอยผิดกฎหมาย ร้านค้าริมถนน ขึ้นทะเบียนวินจักรยานยนต์ และจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ

7.แก้ปัญหาข้าวค้างสต็อกจากโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้วิธีประมูลอย่างโปร่งใส ซึ่งช่วยลดภาระการขาดทุน และลดแรงกดดันราคาข้าวไทยให้อยู่ในระดับต่ำ

8.ปลดธงแดง ICAO ได้เป็นผลสำเร็จ ถอดชื่อประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านการบินพลเรือน

9.ประกาศปราบปรามการทุจริต-คอร์รัปชันในระบบราชการทุกระดับชั้น รัฐบาล คสช. รับโครงการสร้างมาตรฐานความโปร่งใสในระดับสากลอย่างน้อย 4 โครงการ มาใช้ในประเทศไทย  ซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและการตรวจสอบโดยประชาชน ได้แก่

- โครงการ ‘ข้อตกลงคุณธรรม’ (Integrity Pact) ซึ่งผลักดันโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดยถูกบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ และถูกนำไปใช้กับโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ประมูลและทำสัญญา

-โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)

-โครงการรัฐบาลโปร่งใส (Open Government Partnership)

-โครงการความโปร่งใสในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (EITI)

10.ออกมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจน ช่วยเหลือทั้งการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้

11.ลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง ส่งเสริมการพัฒนา และดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve industries)

12.สานสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เดินทางเยือนสหราชอาณาจักร พบ ‘เทเรซา เมย์’ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้น 

9 เรื่องดีๆ เกิดได้!! ภายใต้ 9 ปี 'รัฐบาลพลเอกประยุทธ์'

ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย เป็นช่วงเวลา 9 ปีที่ได้ทำงานเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน เป็น 9 ปีที่ได้ใช้สติปัญญา ทุ่มเททุกศักยภาพและกำลังความสามารถ สานพลังจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งเชิดชูสถาบันอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย และเป็น 9 ปีของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีความเจริญก้าวหน้าในหลายด้านทัดเทียมนานาอารยประเทศ และพร้อมยกระดับไปสู่ประเทศชั้นนำของโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุผลสำคัญได้แก่

1. เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมี ‘ยุทธศาสตร์ชาติ’ ระยะยาว 20 ปี เพื่อเป็นเข็มทิศนำทางและกรอบแนวคิดในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ให้เกิดความต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน ขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ 

2. มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ ในทุกระบบ ทั้งทางถนน ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต ยกบทบาทของประเทศจากความโดดเด่นทางภูมิรัฐศาสตร์ ให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ด้านการบิน ด้านการขนส่งสินค้า ด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ

3. มีความพร้อมเรื่อง ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ และ ‘เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม’ โดยมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล และ 5G ที่โดดเด่นในภูมิภาค เป็นที่ดึงดูดการลงทุนบริษัทชั้นนำของโลกหลายราย ซึ่งจะส่งเสริมบทบาทให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน 5G - Data center - Cloud services ที่สำคัญในภูมิภาค มีการใช้ประโยชน์ของประชาชนในชีวิตประจำวัน การศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนและสร้างรายได้ที่สูงขึ้นของคนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ  

4. มีการกำหนด 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมทั้งมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อกิจการพิเศษ ทั้งด้านการแพทย์ ด้านนวัตกรรม ด้านดิจิทัล เป็นต้น ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะแรงงานทักษะสูง-แรงงานแห่งอนาคต รวมถึงเกษตรอัจฉริยะ เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในอนาคต และการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21

5. สร้างกลไกในการบริการจัดการทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ได้แก่ ‘น้ำ’ ออกกฎหมายน้ำฉบับแรกของประเทศ มีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการหน่วยงานน้ำในทุกระดับ ‘ดิน’ ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และจัดทำแผนที่ One Map เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนมาหลายสิบปี รวมทั้งจัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ยากไร้-เกษตรกร ‘ป่า’ ออกกฎหมายป่าชุมชน ไม้มีค่า และตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น ส่งเสริมสวัสดิการกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ ส่งเสริมบทบาทกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กองทุนยุติธรรม และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา รองรับความท้าทายใหม่ๆ ของโลกในอนาคต

7. ปฏิรูปกฎหมายไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถแก้ไขวิกฤตชาติได้ในหลายเรื่อง เช่น ปลดธงแดง ICAO และแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทยในเวทีโลก 

8. ประยุกต์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบราชการไทย เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนและเอกชน ที่เข้าถึงง่าย - สะดวก - โปร่งใส เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ช่วยให้การจ่ายเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตรงเป้าหมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตรวจสอบได้ และ UCEP สายด่วน 1669 บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ฟรีทุกสิทธิ์ ทุกโรงพยาบาล เป็นต้น

9. สร้างความสัมพันธ์ทั่วโลก ทั้งในรูปแบบทวิภาคี-พหุภาคี และเขตการค้าเสรี (FTA) รวมทั้งรื้อฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย เพื่อขยายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตลาดการค้าระหว่างกัน 

ทั้งนี้ การเดินทางของประเทศไทยในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ราบรื่น หรือง่ายดาย ยังคงมีวิกฤตโควิด วิกฤตความขัดแย้งในโลก ที่ส่งผลกระทบด้านราคาพลังงาน ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อจนถึงในปัจจุบัน แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ช่วยให้เราฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ และฟื้นตัวมาได้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ยังคงผันผวน

ต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคน เพื่อนข้าราชการ และทุกภาคส่วน ที่ได้เสียสละและอดทนในทุกสถานการณ์ที่ผ่านมา เพื่อให้ส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง ทั้งนี้ประเทศไทยนับจากวันนี้เป็นต้นไป จะไม่ได้เริ่มนับที่ 1 อีกต่อไป หากทุกอย่างที่พลเอกประยุทธ์ ได้สร้างมานั้นได้รับการต่อยอด ก็จะทำให้ประเทศไทยเดินทางเข้าสู่ ‘เส้นชัย’ ได้เร็ววันยิ่งขึ้น

เฉิดฉายในเวทีโลก!! สรุปสุดยอดภารกิจระดับนานาชาติ ใต้ปีก 'รัฐบาลประยุทธ์' เจริญสัมพันธ์ราบรื่น สานเศรษฐกิจยั่งยืน พาไทยฟื้นสถานะสุดแกร่ง

ต้องยอมรับว่า ช่วงสมัยรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในซีซัน 2 ระหว่างปี 2562 ถึงปัจจุบันนั้น...ประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมและเป็นแขกสำคัญของนานาประเทศ ในการผูกเชื่อมสัมพันธ์ การพูดคุยเจรจาด้านเศรษฐกิจ และการหารือวาระสำคัญระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกงานที่ร่วม ล้วนแล้วแต่ได้รับผลตอบรับ และสานต่อพันธกิจของชาติได้อย่างน่าชื่นชม

โอกาสนี้ THE STATES TIMES เลยขอเปิดไทม์ไลน์ 17 ภารกิจงานประชุมใหญ่ระดับนานาชาติ และการเยือนต่างประเทศของรัฐบาลไทย ภายใต้ 'พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ให้คนไทยทุกคนได้ย้อนรำลึกไปด้วยกัน เริ่มด้วย...

1. การประชุมระดับประเทศ ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21-27 กันยายน 2562

2. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ณ สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2562

3. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 ทางออนไลน์

4. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 เมื่อวันที่ 12-15 พฤศจิกายน 2563 ทางออนไลน์

5. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ทางออนไลน์

6. การประชุม ACMECS ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ทางออนไลน์

7. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ทางออนไลน์

8. ประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ทางออนไลน์

9. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 เมื่อวันที่ 26-28 ตุลาคม 2564 ทางออนไลน์

10. การประชุม COP26 เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2564 

11. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2564 ทางออนไลน์

12. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เดินทางเยือน ซาอุฯ เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2565 เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีของรัฐบาลไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน

13. ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11-15 พฤษภาคม 2565

14. การประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565)

15. การประชุมเอเปค ณ ประเทศไทย ครั้งยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2565

16. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565

17. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ณ ประเทศเบลเยียม (12-15 ธันวาคม 2565)

เรียกได้ว่า ทุกภารกิจด้านการต่างประเทศของไทย ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ระหว่างปี 2562-ปัจจุบันนั้น ได้สร้างผลลัพธ์อันดีต่อประเทศไทยสามารถลุล่วงภารกิจหลากมิติ ทั้งด้านความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า ความมั่นคง วิชาการ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ระหว่างไทยกับนานาชาติได้อย่างน่าชื่นชม

4 ปัจฉิมบท 'นายกรัฐมนตรีไทย' ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระยาวนานที่สุด

ทุกจุดเริ่มต้นของหนังทุกเรื่อง ซีรีส์ทุกภาค ย่อมต้องมีฉากจบ ส่วนจะจบสวยงาม หรือจบแบบให้ตั้งคำถามต่อก็อยู่ที่แต่ละแพลตเรื่อง

...แต่ฉากทัศน์การเมืองไทยมากกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีฉากจบที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะกับตัวละครอย่าง ‘นายกรัฐมนตรี’ ของไทย ที่ฉากจบสุดท้ายมักจะลงเอยจากการกระทำของตน ซึ่งจะกำหนดทิศทางอนาคตหลังพ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีให้เดินต่อไปแบบใด

...และนี่คือ 4 นายกรัฐมนตรีไทยที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ภายใต้ฉากจบที่แตกต่างกันไป ที่ THE STATES TIMES อยากนำมาบอกเล่า ส่วนจะมีใครบ้าง และแต่ละท่านมีซีนจบแตกต่างกันอย่างไร ไปรับชมกัน!!

ส่องผลงานแบงก์พาณิชย์ไทย ไตรมาส 2/66 สินเชื่อหดตัว 0.4%

🔎ผลงานธนาคารพาณิชย์ไทยครึ่งปีแรกยังแข็งแกร่ง!!

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี 2566 พบว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ขณะที่สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.4 จากการทยอยชำระคืนหนี้ของภาคธุรกิจ รวมถึงภาครัฐ หลังมีการขยายตัวต่อเนื่องเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะการชำระคืนสินเชื่อ SMEs และ Soft loan วงเงิน 138,000 ล้านบาท 

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์บริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่องด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (non-performing (oan: NPL หรือ stage 3) ไตรมาส 2 ปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 492,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 2.67


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top