Thursday, 9 May 2024
Special News Team

2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีพระชันษาครบ 66 ปี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดา ก่อนจะทรงเข้าศึกษาต่อในระดับอุมดมศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาทรงสำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญามหาบัณฑิตจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2529

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์และดนตรีไทย พระองค์ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า ‘เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย’ และ ‘วิศิษฏศิลปิน’ ซึ่งต่อมา คณะรัฐมนตรียังมีมติให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็น ‘วันอนุรักษ์มรดกของชาติ’ เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยทรงมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายหลากโครงการ อาทิ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2523 ที่โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดน ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ก่อนจะขยายออกไปยัง 44 จังหวัดในพื้นที่ทุรกันดาร

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้น ในวาระวันคล้ายวันพระราชสมภพ ประชาชนชาวไทยจึงขอน้อมถวายพระพร ขอทรงมีพลานามัยแข็งแรงยิ่งยืนนาน ทรงพระเจริญ


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า_กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ_สยามบรมราชกุมารี

หลวงพ่อพัฒน์ (ปุญญกาโม) บริจาคเงินจำนวน 8,000,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และ รถพยาบาลVIP จำนวน 1 คัน มอบให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

วันนี้ 12.30 น.  หลวงพ่อพัฒน์ (ปุญญกาโม) และดร.เสมอ งิ้วงาม (ป๋อง สุพรรณ) บริจาคเงินจำนวน 8,000,000 บาท(แปดล้านบาทถ้วน) เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ และรถพยาบาลVIP จำนวน 1 คัน มอบให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โดยมีนายแพทย์โชติ ภาวศุทธิกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์รับมอบ ในพิธีมหาพุทธามังคลาภิเษกวัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ (ปุญฺญกาโม) รุ่น พยัคฆ์แสนล้านและรุ่น ราชาพยัคฆ์ ณ วัดธารทหาร (ห้วยด้วน) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

ท่านที่ประสงค์จะทำบุญในโอกาสพิเศษต่างๆ ติดต่อได้ที่ ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลฯ 056-001555 และ 089-8584102 หรือโอนเงินธนาคารกรุงไทย เลขที่ 633-0-41531-5 ส่งหลักฐานที่ inbox เพจ Facebook โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


ภาพ/ข่าว  ตอริก (ปัตตานี)

วันนี้เมื่อ 40 ปีก่อน มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นการพยายามก่อการรัฐประหาร รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ก่อการเป็นนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7

หรือมีชื่อเรียกรุ่นว่า ‘ยังเติร์ก’ จนเป็นที่มาของชื่อการก่อการในครั้งนี้ว่า ‘กบฏยังเติร์ก’

‘กบฏยังเติร์ก’ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ‘กบฏเมษาฮาวาย’ เป็นการก่อรัฐประหารระหว่างวันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2524 โดยผู้ก่อการเป็นนายทหาร จปร. รุ่น 7 ได้แก่ พันเอก มนูญกฤต รูปขจร, พันเอก ชูพงศ์ มัทวพันธุ์, พันเอก ประจักษ์ สว่างจิตร, พันโท พัลลภ ปิ่นมณี, พันเอก ชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล, พันเอก แสงศักดิ์ มงคละสิริ, พันเอก บวร งามเกษม, พันเอก สาคร กิจวิริยะ โดยมีพลเอก สัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ

โดยสาเหตุของการก่อกบฏครั้งนี้ เกิดจากความไม่พอใจของพลเอกสัณห์ ที่มีต่อพลเอกเปรม นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น เนื่องจากทางกองทัพบกมีการต่ออายุราชการให้กับพลเอกเปรม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ออกไปอีก 1 ปี ทำให้พลเอกสัณห์ในฐานะรองผู้บัญชาการทหารบก หมดสิทธิ์ที่จะขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก จึงได้รวบรวมนายทหารสาย จปร.7 ก่อการรัฐประหาร

ทางฝ่ายรัฐบาล นำโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ตั้งกองบัญชาการขึ้นมาตอบโต้ และใช้อำนาจปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร พร้อมส่งเครื่องบินเอฟ-5 อี ออกบินสังเกตการณ์ จนในที่สุดก็เคลื่อนกำลังพลเข้าปะทะกัน การกบฏยุติลงอย่างรวดเร็วในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 เมื่อฝ่ายก่อการเข้ามอบตัวกับทางรัฐบาลรวม 155 คน นับเวลาของการทำรัฐประการครั้งนี้รวมแล้วทั้งสิน 55 ชั่วโมง

‘กบฏยังเติร์ก’ ถือเป็นการก่อการรัฐประหารที่มีจำนวนกำลังทหารเข้าร่วมมากถึง 42 กองพัน มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาภายหลัง แกนนำฝ่ายก่อการได้หลบหนีออกนอกประเทศ จนเมื่อเวลาผ่านไป นายทหารผู้ร่วมก่อการหลายคนก็ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ รวมทั้งมีหลายคนที่นำธูปเทียนไปขอขมาพลเอกเปรม ณ บ้านสี่เสาเทเวศน์ ซึ่งเป็นบ้านพักของนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

.

ที่มา:

https://th.wikipedia.org/wiki/กบฏยังเติร์ก,

https://www.thairath.co.th/news/politic/1501676


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

'กบร่อน' พา 'น้องโนฟ' เลือกซื้อรถทัวร์เที่ยววัดและทานกุ้งที่อยุธยา' | กบร่อน EP.12

กบร่อนพาน้องโนฟไปซื้อรถสวย ๆ ที่ Nissan Auto Gallery - อยุธยา พาเที่ยววัดเสริมสิริมงคล ต่อด้วย อิ่มท้องไปกับกุ้งแม่น้ำเผายั่ว ๆ บรรยากาศจะเป็นอย่างไรนั้น ไปร่อนกันได้เลยจ้า

Nissan Auto Gallery - อยุธยา โชว์รูมขายและศูนย์บริการนิสสัน เปิดใหม่ครบวงจรใหญ่ที่สุดในอยุธยา รถสวยถูกใจ บริการดีเยี่ยม

Facebook : Nissan Auto Gallery - อยุธยา โทรศัพท์

???? : 035-782888

ติดตามพิธีกรและแขกรับเชิญ กบ IG : @kobjr007 โน้ฟ ไอศุลี กายวกุล FB : Nove Aisulee IG : noveaisulee

.

.

เสียชีวิตเพิ่ม โลมาอิรวดีเกยชายหาดบ้านเจ๊กลัก คลองใหญ่ จ.ตราด ยาวกว่า 2 เมตร

เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 29 มี.ค. 64 นายเสาร์ พรมรอด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านเจ๊กลัก ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ได้รับแจ้งจาก นายสําลอง สุขเจริญ ลงวัย 72 ปีว่าพบซากโลมาตายเกยตื้นที่ชายหาดบ้านเจ๊กลัก หมู่ 1 ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ขอให้มาตรวจสอบด้วย หลังรับแจ้งจึงแจ้งสมาคมสว่างบุญช่วยเหลือธรรมสถานตราดเขตอำเภอคลองใหญ่ รุดตรวจสอบ

ไปถึงที่เกิดเหตุชายหาดบ้านเจ๊กลักพบซากโลมาอิรวดีความยาว 2 เมตรเกยชายหาด อยู่ในสภาพเน่าเปื่อยส่งกลิ่นเหม็น จากการตรวจสอบพบว่าตายมาแล้วไม่ตํ่า 7 วัน เป็นโลมาเพศผู้ เจ้าหน้าที่จึงทําการผ่าพิสูจน์ไม่พบอาหารในกระเพาะและลําใส้ หลังจากนั้นจึงทำการตัดเก็บเนื้อเยื่อส่งพิสูจน์ที่ศูนย์วิจัยจังหวัดระยองเพื่อหาสาเหตุการตายต่อไป

นายสําลอง สุขเจริญ ลงวัย 72 ปี บอกว่ามาเดินเล่นชายหาดช่วงบ่ายที่ผ่านมา พบซากโลมาตัวดังกล่าวถูกคลื่นซัดมาเกยชยหาด จึงโทรศัพท์แจ้งนายเสาร์ พรหมรอด ผู้ใหญ่บ้านให้มาตรวจสอบดังกล่าว ซึ่งโลมาอยทะเลมาเกยชายหาดที่อำเภอคลองใหญ่หลายครั้งแล้ว บางครั้งไม่มีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ต้องปล่อยให้เน่าคาชายหาดก็มี เนื่องจากหน่วยงานที่จะช่วยเก็บซากโลมามีเพียงอาสาสมัครสมาคมสว่างบุญช่วยเหลือธรรมสถานตราดหน่วยงานเดียวเท่านั้น ที่ต้องทำหน้าที่เก็บเนื้อเยื่อ ส่งทางราชการ และทำการกลบฝังซากโลมาดังกล่าว


ภาพ/ข่าว  วิเชียร ม่วงสี  (ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด)

จ.อุบลฯ และ กฟผ. ร่วมฟื้นฟูท่องเที่ยว หนุนเศรษฐกิจ ดันโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียน และเป็น Landmark แห่งใหม่ของจังหวัด

จังหวัดอุบลราชธานี และ กฟผ. ร่วมฟื้นฟูท่องเที่ยว ดันโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียน และจุดเช็คอินแห่งใหม่ของจังหวัด สร้างรายได้และอาชีพให้ชุมชน หนุนเศรษฐกิจจังหวัดในภาพรวม

วันที่ 29 มีนาคม 2564 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร  ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร (Hydro-floating Solar Hybrid) หรือโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ จ.อุบลราชธานี โดยมีส่วนราชการท้องถิ่น สื่อมวลชน ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เข้าร่วมงาน ณ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี

นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์ของการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี คือ ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว เพราะจังหวัดอุบลฯ มีแหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทำให้การท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับเขื่อนสิรินธรของ กฟผ. นอกจากจะอำนวยประโยชน์ด้านชลประทาน การประปา การคมนาคมทางน้ำและการผลิตกระแสไฟฟ้าให้คนอุบลฯและประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมไม่ขาดสาย

โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อนสิรินธร จึงเป็นการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาชมความสวยงามของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ลอยน้ำไฮบริดแห่งแรกในไทย สอดรับกับแนวทางการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอาชีพและรายได้ มีความสุขอย่างยั่งยืน

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนมาผลิตไฟฟ้าเนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยพัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร ขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ เป็นแห่งแรกที่สามารถผลิตไฟฟ้าผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเข้าด้วยกัน โดยนำนวัตกรรมระบบบริหารจัดการพลังงาน หรือ Energy Management System (EMS) มาช่วยประเมินผลและสั่งการให้โรงไฟฟ้าทั้งสองประเภทผลิตไฟฟ้าสอดคล้องกับช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องยาวนานขึ้น ช่วยลดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน และช่วยเสริมระบบผลิตไฟฟ้าให้มีความมั่นคงมากขึ้น ถือเป็นการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำแรกของไทยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คาดว่าจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ได้ในเดือนมิถุนายน 2564

นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้เตรียมพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป พร้อมสร้างเส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) เพื่อเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แห่งใหม่ เตรียมเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ประมาณปลายปี 2564 นี้ โดย กฟผ. จัดเตรียมจุดจำหน่ายสินค้าชุมชน ร้านขายของที่ระลึก ร้านเช่าจักรยาน จุดบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยว บริเวณจอดแพท่องเที่ยว เป็นต้น คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

พีค of the week EP.12

แบน! แบน! แบน! สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวการแบนร้านอาหารชื่อดัง งานนี้กลายเป็น Talk of the town ให้พูดถึง ทั้งในโลกออฟไลน์ ออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีคดีดัง ๆ ที่ศาลต้องฟันฉับลงมา ทั้งการหยุดปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. หญิงคนดัง และการสั่งจำคุกของร็อกเกอร์เบอร์ใหญ่ของประเทศ

แต่ที่ดูจะร้อนแรงและดราม่ากันทั้งสัปดาห์ ต้องยกให้ ดราม่าศิลปะคณะวิจิตรศิลป์ มช. กลายเป็นที่โจษจัน แบ่งมุมมองกันไป บ้างว่าเป็นงานศิลปะ บ้างว่าเป็นงานขยะ เวลานี้ พี่น้องชาวไทยคงต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมกันให้เยอะ ๆ อากาศก็ร้อน โปรดใจเย็น ๆ กันนะคร้าบ! ว่าแล้วก็ไปเก็บตกกับข่าวมันส์ ๆ ใน พีค of the week EP.12 กันได้เลย Let’s go go go!

.


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

รู้กันหมด ‘อนาคต’ รถยนต์ไฟฟ้าไทย แล้วจะถามกันไปทำไมว่า ‘พร้อม - ไม่พร้อม’

...ตาของเรา จะไม่ได้เห็นควันดำ

...จมูกของเรา จะไม่ได้สูดควันพิษ

...หูของเรา จะไม่ได้ฟังเสียงดังจากเครื่องยนต์

เสียงเรียกหา ‘รถยนต์ไฟฟ้า' หรือ EV (Electric Vehicle) โดยเฉพาะที่เป็นระบบรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% ยิ่งนานวันก็ยิ่งดังขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดคำถามซ้ำซากว่า รถยนต์ไฟฟ้าไทย ‘พร้อม - ไม่พร้อม’? คำตอบอยู่ไหน...เออ !! นั่นดิคำตอบอยู่ไหน

รู้อยู่ว่าความต้องการของประชาชนตอนนี้เริ่มชัดเจน อยากใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเต็มแก่ พร้อมเปลี่ยนรถยนต์สันดาป (เครื่องยนต์น้ำมัน) แบบทันทีทันใด หากแต่ติดอยู่แค่ว่า เมื่อไรรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ในราคาที่เอื้อมได้ และสถานีชาร์จไฟฟ้าจะทั่วถึง

นี่ไงก็รู้คำตอบนิ!!

แต่รู้ทั้งรู้คำตอบเบื้องต้นแล้ว หลาย ๆ คน ก็ยังคงพยายามหยิบยกภาพตลาดต่างแดน ที่วิ่งแล่น ๆ กันเกร่อถนน แต่ไทยเราล้าหลังไม่คิดจะทำให้เหมือนเขาสักที !!

พูดมันง่าย แต่ในบริบทจริงมันไม่ได้ง่ายตามเสียงเรียกร้อง

หากลองเทียบรถยนต์ไฟฟ้ากับโทรศัพท์มือถือแบบทัชโฟน (รูดปื๊ดๆ) และสมาร์ทโฟน โดยย้อนไปได้ราว ๆ ช่วง 10 กว่าปีเห็นจะได้ เราจะพบว่า จากจุดนั้นกว่าที่คนหันมาเปลี่ยนจากโทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกดมาเป็นทัชโฟนหรือสมาร์ทโฟนแบบทั่วถึง ก็ยังต้องใช้เวลาอีกร่วม ๆ 5 - 7 ปีต่อจากจุดเริ่มต้น จึงจะเข้าสู่ชีวิตประจำวันของผู้คนได้เช่นวันนี้

โดยระยะเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง มาจากผู้บริโภคเริ่มกล้าใช้ ตัวสินค้าเริ่มมีประสิทธิภาพชัด ผู้ผลิตมีตัวเลือกให้เพียบ ราคาแตะต้องได้จากเริ่มต้นหลักหลายหมื่นมาสู่หลักพัน ศูนย์บริการตอบสนอง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์สมาร์ทโฟนปรับไลน์การผลิตรับของใหม่กันหมด

ภาพของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเข้ามาครอบคลุมประเทศไทย ก็คงจะคล้ายคลึงกัน เพียงแต่จะเร็วกว่าหรือช้ากว่า อันนี้ต้องดูปัจจัยประกอบของประเทศนั้น ๆ...

มันไม่ผิดที่เราอาจจะไปมองต่างประเทศ ซึ่งเขาเปลี่ยนกันไว แล้วพอหันมาดูว่าไทยเรา ‘ล่าช้า’ มันช่างดูล้าหลัง ซึ่งอาจจะไม่ถูกเท่าไร เพราะประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา, ยุโรป หรือจีน ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ EV ในบ้านตัวเองและเริ่มส่งออกกันแล้วนั้น ก็เพราะเขาอยู่ในฐานะ ‘ประเทศต้นขั้วสำเนาของเทคโนโลยี’ ส่วนประเทศไทยเราก็เป็นสำเนาที่รอการเมกชัวร์ !!

อันนี้อาจจะเป็นจุดเสีย? ที่พอให้บ่นกันได้ แต่มันก็คือความเป็นจริง !!

ทีนี้มามองปัจจัยประกอบที่แตะทิ้งไว้ตะกี้กันนิด ว่าเหตุใดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ถึงเดินเครื่องได้ไม่ทันใจผู้บริโภคที่เริ่มบอกว่าพร้อม ๆๆ

ในแง่ของความพร้อม จริง ๆ อธิบายได้สั้นมาก เพราะมันมีตัวแปรของการช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้หลายเท่าตัว ช่วยรักษ์โลก (อันนี้ดูดี) แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 กันทุกปี

แต่กลับกันในความพร้อมใช้ มันก็มีความ ‘ไม่พร้อม’ ซ่อนอยู่ในระบบนิเวศน์นี้ ซึ่งตัวแปรหลักก็มีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่...

ประชาชนผู้ใช้รถยนต์

ผู้ผลิตรถยนต์ - ผู้ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า

และภาครัฐ

...ในแง่ของประชาชน

สรุปแบบง่าย ๆ เรา ๆ ท่าน ๆ ถ้าคิดจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า มันก็มีตัวแปรในการตัดสินใจหลักอย่าง ‘ราคา’ และ ‘สถานีชาร์จ’ (จริง ๆ ยังมีเรื่องการบริการซ่อมบำรุง แต่เอาเหอะ Skip ไป)

ตอนนี้ราคารถยนต์ที่ทำออกมาขายในตลาดเมืองไทย ถ้าเป็นเล็กแบบจิ๊ดจิ๋ว และมีแฟนคลับแบบกระจุกตัว ก็จะเป็น FOMM ONE ที่มีราคาร่วม 6 แสนบาท แล้วก็มีโปรโมชั่นลดราคาลงมาถึง 4 แสนบาทในบางช่วง ส่วนระดับกลางอย่าง MG ZS EV ของเครือเจ้าสัวซีพี ก็มีราคาแตะล้านนิด ๆ ด้านนิสสันก็มี Leaf ที่ปล่อยออกมาในราคาเหยียบ 2 ล้าน ส่วนค่ายยุโรปนี่ก็ไปไกลเลย อัพเกิน 2 ล้าน (ฝันหวานไปยาว ๆ)

ดูจากจุดนี้ มันมีคำตอบที่ชัดมาก คือ ราคายังสูง แต่รุ่นที่ราคาไม่สูง ก็ยากจะบรรยาย (คนไทยเรื่องเยอะ รถต้องคันใหญ่ เครื่องต้องใหญ่ ชาร์จทีนึงต้องวิ่งได้กรุงเทพฯ ยัน เชียงใหม่) คนก็เลยยังคิดหนัก และนั่นก็ทำให้คนเริ่มถามว่าจะให้รักษ์โลก จะให้ประหยัดพลังงาน แต่ทำไมทำรถที่ควรใช้ได้ในราคาเกินเอื้อมฟระ

อันที่จริง ต้นทุนหลักของรถยนต์ไฟฟ้ามันอยู่ที่ ‘แบตเตอรี่’ (ลิเทียม - ไออน) ที่มีราคาสูงมาก เฉพาะรวมราคาระบบแบตเตอรี่ทั้งหมดก็แตะหลัก 5 - 6 แสนบาทต่อคันเข้าไปแล้ว ทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้า ที่แม้จะเปิดตัวในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นฝั่งญี่ปุ่น ในยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา ล้วนมีราคาเริ่มต้นระดับ 1 ล้านบาทขึ้นไปแทบทั้งสิ้น

แต่แนวโน้มก็น่าดีใจเพราะเริ่มลดลง เช่น ในปี 2015 แบตเตอรี่ขนาดกลางในอเมริกาอยู่ที่ 57% ของราคารถทั้งคัน และก็ค่อยๆ ขยับลดลงมาอยู่ 33% ในปี 2019

อ้าว !! แบบนี้ในปี 2021 มันก็น่าจะเห็นแววรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกในไทยแล้วดิ

คิดแบบผิวปาก มันก็ใช่ แต่ย้อนกลับไปด้านบนที่ว่า เราไม่ใช่ประเทศต้นสำเนา และส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการนำเข้า แม้รัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันให้ปั้นโรงงานผลิตรถ EV แต่ก็ยังตั้งไข่ รวมถึงลดอัตราภาษีนำเข้า EV แต่ยังมีภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมแล้วไม่น้อย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รถไฟฟ้ายังมีราคาแพงอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อราคายังหนัก คนส่วนใหญ่ก็เลยคิดว่าการใช้เครื่องสันดาป (น้ำมัน) ต่อไป

ขณะเดียวกัน ในแง่ของสถานีชาร์จที่ยังไม่ครอบคลุม ก็คือ คำถามตัวใหญ่ของคนที่อยากใช้ (แต่ยังไม่กล้าซื้อ) แม้จะมีบริษัทพัฒนาแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นมากมายทั้งจากภาครัฐและเอกชนแล้วก็ตาม

...ในแง่ของผู้ผลิตรถยนต์-ผู้ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า

หากดูข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงานระบุว่า ช่วงไตรมาส 2/2560 มีสถานีบริการน้ำมันรวมทั้งสิ้น 2.5 หมื่นแห่งทั่วประเทศ ขณะเดียวกันหากเทียบกับสถานีชาร์จที่มีอยู่ทั่วประเทศไทยตอนนี้ ตัวเลขจะอยู่ที่ราวๆ 600 กว่าแห่ง ซึ่งยังไม่ได้นับสถานีชาร์จตามศูนย์รถยนต์ และบ้านเรือนประชาชน แถมการชาร์จต่อครั้งก็มีระยะเวลาอย่างเก่งสุดของเทคโนโลยีการชาร์จก็ประมาณ 15-20 นาที ซึ่งมันไม่ทันใจคนไทยอะเนอะ

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มันเดินหน้าอยู่แล้ว ทั้งการเพิ่มสถานีชาร์จและความเร็วในการชาร์จ แต่จะพอดีจังหวะให้ใช้งานครอบคลุมอีกกี่ปี อันนี้ยังพูดยาก แต่แรงขับเคลื่อนน่ะมีแน่ เช่น ผู้ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้ารายใหญ่ในตอนนี้ อย่าง อีเอ เอนีแวร์ (EA Anywhere) ของ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ที่ตลอด 3 ปีเริ่มดำเนินการติดตั้งระบบชาร์จไฟฟ้า ทั้งระบบ AC (กระแสไฟฟ้าสลับ) และ DC (กระแสไฟฟ้าตรง) จนถึงปัจจุบัน มีสถานีชาร์จไฟฟ้า 405

แห่ง 1,611 หัวจ่าย และก็มีแผนจะขยายหัวชาร์จอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทางภาครัฐ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงยังมี ปตท. ที่เริ่มขยับตัว

ขณะเดียวกัน การคิดแผนสำรองการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศเพื่อกรณีรถไฟฟ้าครอบคลุม มันก็ยังไม่เคลียร์ เพราะถ้าทุกคนใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันหมด ไฟฟ้าในประเทศคงไม่เพียงพอ มันต้องมีการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าเองในชุมชน ซึ่งไฟฟ้านั้นอาจจะมาจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานน้ำ ดันสังคมให้เปลี่ยนมาเป็นสังคมไฟฟ้าเต็มตัวก่อน โดยไม่ต้องพึ่งไฟฟ้าส่วนกลางควบคู่กัน ซึ่งดูภาพรวมแล้วยังอีกไกล

ฉะนั้นในส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ หากยังไม่พร้อม มันก็ยังยากจะปล่อยให้คนถอยรถมาใช้อย่างสบายใจเฉิบ

...สุดท้ายในแง่ของภาครัฐ หรือภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย

หลัก ๆ เลย คือ ปริมาณการผลิตรถยนต์ในบ้านเราต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ล้านกว่าคัน 1 ล้านคันขายส่งออก อีก 1 ล้านคันขายในประเทศ หากทุก 1 ล้านคันมีการปรับเป็นรถยนต์ไฟฟ้าสัก 3 แสนคัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นในเชิงผลกระทบทางเศรษฐกิจมันจะมี และมันไม่ใช่เรื่องที่แค่อยากเปลี่ยน ก็เปลี่ยนกันได้ง่าย ๆ

บางคนอาจจะมองว่ามันก็เป็นเรื่องของทางภาครัฐ แต่เราก็ต้องคิดมุมกลับเหมือนกับตลาดทัชโฟน/สมาร์ทโฟน ที่มันจะมีขั้นบันไดของมันให้ทั้งระบบพร้อมกันเปลี่ยนหมด ไม่ใช่เปลี่ยนอย่างฉาบฉวย ไม่งั้นระบบนิเวศน์นี้อาจล้มเร็ว คนตกงาน กระทบเป็นโดมิโน่

อย่างกลุ่มผู้ผลิตค่ายรถยนต์ในประเทศ รวมถึงซัพพลายเออร์ในประเทศไทยที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หรือเครื่องยนต์ต่าง ๆ เท่าที่ทราบเขาก็รู้ดีว่าจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการผลิตของพวกเขาในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้าแน่นอน เพราะทางกระทรวงอุตสาหกรรมเขาก็มีการส่งสัญญาณมาพักใหญ่แล้ว

ฉะนั้นหากจะสรุปความสำคัญของความพร้อมไม่พร้อม ‘ผลักดัน’ และ ‘ใช้’ รถยนต์ไฟฟ้าไทยแล้ว ภาครัฐคงเป็นตัวเอกของเรื่องนี้ไม่เปลี่ยน เพียงแต่จะเขย่าทั้งระบบให้พร้อมรบในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้เร็ว โดยมีการขยายฐานสถานีชาร์จแบบคู่ขนานและเร่งเกียร์ไปถึงจังหวะที่รถยนต์ไฟฟ้าจับต้องได้ง่ายเหมือนสมาร์ทโฟนเมื่อไร นั่นแหละคือ ‘ความพร้อม’ ซึ่งส่วนตัวแล้วก็คงสอดคล้องกับสัญญาณที่ภาครัฐและเอกชนมองต่อจากนี้ว่าน่าจะไม่เกิน 5 ปี

เอาล่ะ!! พักภาพความพร้อมไม่พร้อมของรถยนต์ไฟฟ้าในแบบบิ๊ก ๆ แล้วลองไปคลิกดูภาพย่อย ๆ จาก THE STATES TIMES ที่ได้ลงไปสำรวจความคิดเห็นคนไทยบางกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนทำงานย่านใจกลางเมือง เช่น สีลม, ช่องนนทรี, สยาม และอโศก กันเล็กน้อย

โดยคำตอบของคนส่วนใหญ่ที่ ‘พร้อมเปิดใจใช้รถยนต์ไฟฟ้า’ ก็ไม่ได้แตกต่างจากที่เล่ามาข้างต้นนัก เช่น...

ช่วยเรื่องลดมลพิษ เพราะรถยนต์โดยทั่วไป ก็มักจะใช้น้ำมันซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ

เชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะมาพร้อมกับรถยนต์ไฟฟ้า จะช่วยทำให้ชีวิตคนสะดวกสบายมากขึ้น อย่างรถบางค่ายก็มีระบบ Auto pilot กันแล้ว

ไฟฟ้าถูกกว่าการเติมน้ำมัน

แต่ในส่วนของ ‘ปัญหา’ หรือความไม่พร้อม เช่น…

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายังน้อย ไม่ค่อยมั่นใจแม้ว่าบางรุ่นจะให้กำลังวิ่งได้นานแบบข้ามจังหวัด

สถานที่อยู่อาศัยของแต่ละคนเนี่ย ก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

การจราจรในเมืองไทยค่อนข้างแออัด รถติด ก็กลัวรถยนต์ไฟฟ้าจะแบตเตอรี่หมดกลางทาง

ส่วนข้อสุดท้าย คือ ราคารถยนต์ไฟฟ้าในตอนนี้ค่อนข้างสูง และราคาที่พวกเขารับไหวจะอยู่ในหลัก 3 ถึง 4 แสนบาท (ฝันไปเหอะ)

สุดท้ายแล้ว ย้อนกลับมามองมุมประชาชนตาดำ ๆ ไอ้คำว่าพร้อมหรือไม่พร้อมกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น มันก็คงไม่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญเท่ากับ ‘ใช้ได้อย่างสบายใจ’ แค่ไหน ?

เพราะในแง่เทคนิคความซับซ้อนของอะไหล่ที่ลดลงจากเครื่องยนต์สันดาป หายไปเป็นหมื่นชิ้นส่วน อันนี้อะดี >> พร้อม

ส่วนการกินไฟของรถพลังไฟฟ้า (รถ EV) ซึ่งมีการคำนวณออกมาเป็น กิโลเมตร ต่อ กิโลวัตต์ชั่วโมง (km/kWh) แล้วมันถูกกว่าการเติมน้ำมันร่วม ๆ 4 - 5 เท่าตัว อันนี้ก็ดี >> พร้อม

แล้วถ้าราคามันเอื้อมไหว ซึ่งนั่นก็คงหมายถึงวันที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าต้นทุนต่ำลงมาใบบัญญัติไตรยางค์แบบเดียวกับสมาร์ทโฟน อันนี้ใคร ๆ ก็ไม่ปฏิเสธชัวร์ >> พร้อม

รวม ๆ แล้วรถยนต์ไฟฟ้ามันจะเกิด หรือมันจะพร้อม หรือจะน่าใช้ และจะเป็นอนาคตของไทยหรือไม่นั้น ? คำคอบก็คงจะประมาณนี้แหละกระมัง...


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

นับถอยหลัง EV ไทย!! ‘บอร์ดอีวี’ ตั้งเป้าอีก 14 ปี EV เต็มถนน เชื่อยานยนต์ไฟฟ้าปั้นเศรษฐกิจใหม่ให้ประเทศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ หรือ ‘Electric Vehicle: EV) คือ เทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกอย่างแท้จริง หลังจากหลายประเทศทั่วโลกได้กำหนดเป้าหมายก้าวไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยมลพิษในอากาศอย่างถ้วนหน้า

เมื่อมองนโยบายด้านพลังงานของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จะเห็นว่า ทุกประเทศจะมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน EV แทบทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น อังกฤษ ที่ได้วางเป้าหมายส่งเสริมการผลิตรถ EV 100% ในปี 2035

ขณะที่สหรัฐอเมริกา ตั้งเป้าเพิ่มจำนวน EV บนถนน 4 ล้านคัน พร้อมพัฒนา EV Charging Station สาธารณะ 500,000 แห่งทั่วประเทศในปี 2030 พร้อมทั้งกำหนดให้เปลี่ยนรถสันดาป (ICE) ของรัฐบาลกลางเป็นรถ EV จำนวน 645,000 คัน โดยจะผลิตและใช้แรงงานในประเทศเป็นหลัก

ส่วนจีน เป็นหนึ่งประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของ EV ค่อนข้างสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะผลักดันให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 0% ภายในปี 2060 โดยไม่สนับสนุนโรงงานผลิตรถยนต์สันดาปอีกต่อไป พร้อมกับประกาศว่า จะเปลี่ยนรถยนต์สันดาปเป็น EV ทั่วประเทศในปี 2040 คู่ขนานไปกับการพัฒนา EV Charging Station 4.8 ล้านหัวจ่าย ทั่วประเทศ

จากนโยบายที่ว่ามาของประเทศต่างๆ ได้ส่งผลให้ EV เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงตั้งแต่ปี 2014 - 2019 มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 60% ต่อปี โดยเมื่อสิ้นปี 2019 มี EV ทั่วโลกสะสมอยู่ราว 7.2 ล้านคัน และมีการประเมินว่าส่วนแบ่งตลาดรถ EV จะเท่ากับรถ ICE ในปี 2037 (พ.ศ.2580)

ทีนี้หากขยับมาดูนโยบายด้าน EV ของประเทศเพื่อนบ้านไทยในกลุ่มอาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งของไทยในการผลิตรถยนต์ ต่างก็พยายามผลักดันการผลิต EV เป็นนโยบายหลัก โดยอินโดนีเซีย ตั้งเป้าหมายผลิต EV 20% ในปี 2025 ส่วนมาเลเซีย ตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ในภูมิภาคในปี 2022 พร้อมกำหนดรถยนต์ส่วนบุคคล ต้องเป็นรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง (Energy Efficient Vehicles : EEVs) จำนวน 1 แสนคัน ในปี 2030 และเวียดนาม ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนและร่วมทุนผลิต เทคโนโลยีระดับสูง ด้าน EV อันดับ 1 ของอาเซียน เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า ประเทศที่เป็นฐานการผลิตรถยนต์ในอาเซียน ต่างตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำด้านการผลิต EV ทั้งสิ้น เพราะประเทศเหล่านี้ต่างหมายมั่นที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แข่งกับไทยนั่นเอง

เอาล่ะ!! ทีนี้มามองดูไทย ที่ถือเป็นประเทศฐานการผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอาเซียนมายาวนานหลายทศวรรษ จนได้รับฉายาว่า ‘ดีทรอยต์แห่งเอเชีย’ จากการเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดอันดับที่ 12 ของโลก และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน กับยอดการผลิตราว 2 ล้านคันต่อปี เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1 ล้านคัน และบริโภคภายในประเทศอีก 1 ล้านคัน

แต่นั่น คือ ภาพของผู้นำการผลิตรถยนต์เครื่องสันดาป!!

ฉะนั้นเมื่อ EV กำลังก้าวขึ้นมาเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ และถ้าประเทศไทยไม่อยากเสียแชมป์ด้านการผลิตในอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็คงอยู่เฉยปล่อยให้คู่แข่งแซงหน้าไม่ได้ เพราะต้องยอมรับว่าประเทศไทยผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกราว 1 ล้านคันต่อปี แต่ในขณะที่ประเทศคู่ค้าที่นำเข้ารถยนต์จากไทยหลายประเทศ เริ่มประกาศนโยบายลดการใช้งานรถยนต์เครื่องสันดาปแล้ว หากไทยไม่เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแบบจริงจัง ก็อาจจะสูญเสียตลาดส่งออกรถยนต์ให้กับคู่แข่งเป็นแน่แท้

อย่างไรก็ดี การจะเปลี่ยนเทคโนโลยีจากรถยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดปุ๊บแล้วทำได้ปั๊บ เพราะไม่ว่าจะด้านการผลิต การใช้งาน โครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังเป็นตัวแปรสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ปัจจุบันไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพอสมควร

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ทางรัฐบาล จึงได้แต่งตั้ง ‘คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ’ หรือ ‘บอร์ดอีวี’ ขึ้นมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งกรอบที่ทางบอร์ดอีวีได้วางไว้ในการประชุมครั้งแรก นั่นคือ เร่งให้เกิดการผลิต ยานยนต์ไฟฟ้า BEV (Battery Electric Vehicle: รถยนต์ที่พึ่งพิงกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว) ในประเทศไทยภายใน 5 ปี

ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ร่วมประชุมบอร์ดอีวี โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ด้วยการลดการใช้รถยนต์ที่่ใช้เครื่องยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างเป็นรูปธรรม

โดยในที่ประชุมได้ร่วมกำหนดแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผ่านมาผลิตเครื่องยนต์สันดาปซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จึงได้วางเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ทางบอร์ดอีวี ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันพิจารณาส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย รถยนต์ จักรยานยนต์ และรถบัสสาธารณะ

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นเจ้าภาพในการเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของอุปทาน (ผู้ผลิต) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องในยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพื่อเร่งให้เกิดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโดยเร็ว

ขณะเดียวกัน ทางบอร์ดอีวี ยังได้กำหนดเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมทุกประเภทในปี 2568 รวมจำนวนทั้งสิ้น1,055,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน

และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 15,580,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 6,400,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 8,750,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 430,000 คัน

ส่วนเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 400,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 620,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน

และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 18,413,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 8,625,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 9,330,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 458,000 คัน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้วางนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าด้วยมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะ 1-5 ปี ประกอบด้วย...

มาตรการเร่งด่วน...

1.) มาตรการกระตุ้น การใช้รถ สองล้อ สาม ล้อ และสี่ล้อไฟฟ้า

2.) มาตรฐาน และ ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ -แผนพลังงาน และ การจัดตั้งสถานีอัด ประจุสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์

3.) ขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐจัดซื้อ/เช่ารถยนต์ไฟฟ้า

4.) จัดให้มีโครงการเช่ารถเมล์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้า 2,511 คัน

ส่วนมาตรการในระยะ 1 - 5 ปี มีดังนี้...

1.) ด้านมาตรการแรงจูงใจ (Demand)

- ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต (เริ่มพ.ศ. 2569 หรือ ค.ศ.2026) เพื่อส่งเสริมการใช้ ZEV

- ปรับปรุงภาษีรถยนต์ประจำปี ตามหลักสากล “รถยิ่งเก่า ยิ่งต้องจ่าย แพง”

2.) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

- สนับสนุนให้มีสถานีชาร์จสาธารณะสำาหรับรถ BEV และ สถานี SWAP สำหรับ รถจักรยานยนต์ BEV ให้เพียงพอ

- มาตรการทางภาษี กองทุนเพื่อการบริหารจัดการแบตเตอรี่ในรถยนต์

- การบริหารจัดการซากรถยนต์ แบตเตอรี่และ Solar cell ใช้แล้วอย่างยั่งยืน

- การพัฒนาบุคลากร Upskill / Reskill ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสำหรับ ZEV รวมทั้งมาตรการรองรับบุคลากรจากอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไปสู่ S-Curve

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น ได้แก่

1.) คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน

2.) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและแบตเตอรี่เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า

3.) คณะอนุกรรมการประเมินผลกระทบด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซเรือนกระจกจากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า

4.) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

สำหรับคณะอนุกรรมการทั้ง 4 ชุด ตั้งขึ้นเพื่อให้การส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าดำเนินนโยบายไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การนำประเทศก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกนั่นเอง


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

จาก โจ ไบเดน ถึง ประชาชนของลุงตู่...เมื่อไรเราจะได้ใช้รถไฟฟ้ากันจริงจังเสียที

ยังจำกันได้ไหมครับ ? เมื่อต้นปี หลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของนายโจ ไบเดน ข่าวแรก ๆ ที่พอจะส่งแรงสะเทือนไปได้ทั่วโลก คือข่าวอะไร ?

ใช่แล้ว, นายโจ ไบเดน ประกาศจะยกเลิกการใช้รถที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปด้วยน้ำมัน ของรัฐบาลกลางทั้งหมด แล้วเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100 เปอร์เซนต์ ข่าวนี้ถือว่าส่งแรงสั่นสะเทือนในตลาดผู้ผลิตรถยนต์ในอเมริกา และรวมถึงส่งแรงกระเพื่อมมายังตลาดรถยนต์ทั่วโลกอีกด้วย

อย่างที่หลายคนทราบกันดี โจ ไบเดน ชูนโยบายรักษ์โลกในการเลือกตั้งมาโดยตลอด แต่สิ่งที่ประธานาธิบดีคนล่าสุดของอเมริกาประกาศออกมานั้น ไม่ได้ทำเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงทั้งหมดหรอก เหตุผลส่วนหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เลย นั่นคือ ไบเดนกำลังสร้างความคูล หรือภาษาไทยเรียกว่า สร้างความเท่ ๆ ที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างภาพลักษณ์ ‘ผู้นำโลกยุคใหม่’ โดยเฉพาะกับเรื่องราวเทคโนโลยีอันเป็นวิถีใหม่ของผู้คนวันนี้ นัยว่า ผมอายุเยอะ แต่ผมไม่เชยนะคร้าบ !

พูดตามหลักยุทธศาสตร์ ไบเดนเห็นวิถีของผู้คนยุคหน้า ที่ต้องพึ่งพารถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่พลังงานทดแทนอีกสารพัด นั่นคือ สิ่งที่มันกำลังจะเป็นไปในเร็ววัน และไม่ใช่แค่ โจ ไบเดน คนเดียวหรอกที่ ‘เล็งเห็น’ ภาพอนาคตอะไรทำนองนี้ ปัจจุบัน ชาติมหาอำนาจทางพาหนะขับเคลื่อน อาทิ เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และที่มาแรงสุด ๆ ตอนนี้คือ จีน ประเทศเหล่านี้ ต่างเปิดฉากความจริงจังเรื่องรถยนต์ไฟฟ้ากันแล้วทั้งสิ้น

สงครามโลกครั้งที่ 3 จะเกิดขึ้นเมื่อไร อย่างไร ไม่รู้ แต่ที่รู้ ๆ ‘สงครามรถยนต์ไฟฟ้า’ เตรียมจุดชนวนแน่นอน

ข้ามน้ำทะเลมาที่ประเทศไทย เมื่อไม่กี่วันก่อน คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ มีการประชุมและพิจารณา การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า หลักใหญ่ใจความชูประเด็นที่ว่า ‘ประเทศไทยจะยกเลิกขาย ยานยนต์ เครื่องยนต์ ภายในปี พ.ศ. 2578’

ขยายความต่อมาอีกนิด ภายในปี พ.ศ. 2578 ผู้ขับขี่ยานยนต์ต้องจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ ที่เป็นยานยนต์ไร้มลพิษ ZEV 100% พูดให้ง่ายกว่านั้น อีกราว ๆ 14 ปี ประเทศไทยจะต้องใช้รถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น

ถามว่า ทำได้ไหม เรียกว่า มันต้องทำจะดีกว่า เพราะนานาประเทศในเวลานี้ ต่างขานรับกับเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าของรถยนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งระยะเวลา 14 ปี ไม่นานเลย ยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ วงรอบการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีไปเร็วมากกว่าในอดีตหลายเท่าตัวนัก ดังนั้น 14 ปี หรือสั้นกว่านั้น เรา ๆ ท่าน ๆ ได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งเกลื่อนถนนเมืองไทย และในโลกนี้อย่างแน่นอน

แต่กลับมาที่ความจริงในปัจจุบันวันนี้ แม้ภาพรวมของรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย จะเริ่มมาดีขึ้นเป็นลำดับ ปีนี้ เปิดหัวต้นปีที่งานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ก็พยายามชูเซกเม้นท์ไฮไลท์ที่ รถยนต์อีวี หรือยานยนต์ไฟฟ้า ที่เข้มข้นมากกว่าที่เคย

เพราะทุกค่าย ทุกฝ่าย ต่างรู้ดีว่า วิถีของโลกกำลังจะต้องดำเนินไปแบบนั้น แว่วว่า บางค่ายรถยนต์ เตรียมแผนงานสิ้นสุดสายพานงานผลิตรถสันดาปน้ำมันกันเรียบร้อย รวมไปถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้ากันไปอีกหลายสเต็ป เพียงแค่ยังไม่เปิดเผยกันในสงครามครั้งล่าสุดนี้เท่านั้นเอง

ภาพใหญ่ไปอย่างนั้น แต่กลับมาที่ภาพผู้ใช้ในเมืองไทยในเวลานี้ ข่าวสารเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าถูกเสิร์ฟกันออกมามากมาย เหมือนไฟที่กำลังสปาร์ค แต่หากส่องกันให้จริง ๆ จัง ๆ มันก็ยัง ‘จุดไม่ติด’ เสียทีเดียว ด้วยปัจจัยนานาสารพัน เอาที่เห็นกันชัด ๆ มี 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ

1.) ราคา

2.) ตัวเลือกน้อย

3.) ยังไม่คูล

เจอปัจจัยแรก เรื่องราคา ก็แทบจะเลิกพูดเรื่องต่อ ๆ ไป ซื้อของแพงเพื่อรักษ์โลก มันก็แลดูย้อนแย้งไปสักหน่อย ถูกไหม แต่ในอนาคตอันใกล้ เมื่อเทคโนโลยีมีความเสถียรมากขึ้น การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ก็จะมีความเสถียรและมีมาตรฐานตามขึ้นมา เมื่อนั้น การคำนวนต้นทุนต่าง ๆ จะชัดเจนขึ้น

และเมื่อมาบวกรวมกับดีมานด์ (Demand) หรือความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้น ตลาดจะทำราคาให้ ‘กว้าง’ และหลากหลายมากขึ้นเอง ซึ่งจะส่งผลไปสู่ทางออกของปัจจัยปัญหาข้อที่สอง นั่นคือ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีหลายเกรด และมีทางเลือกของรถที่มากขึ้น

พูดง่าย ๆ เราจะไม่ต้องมาขับรถหน้าตาเหมือน ๆ กันทั้งถนน แถมยังเป็นรถยนต์หน้าตาแปลก ๆ แบรนด์ไม่คุ้นเคย ซึ่งเชื่อมโยงมาสู่ปัญหาข้อที่สาม นั่นคือ ‘มันไม่คูล’

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่านิยมของการใช้รถยนต์บ้านเรา ยังบ่งบอกถึงวิทยฐานะ รสนิยม รวมถึงภาพลักษณ์ สมมติตั้งคำถามว่า หากต้องเลือกรถยนต์ที่สะท้อนถึง ‘การเป็นคนรักษ์โลก’ กับ ‘การเป็นคนมีอันจะกิน’ เดาได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังตัดสินใจเลือกใช้รถในเหตุผลแบบหลังกันอยู่

แต่ว่าเมื่อไรก็ตาม ที่คนหมู่มากเริ่มใช้ หรือเริ่มฮิต จนกลายเป็นเทรนด์หลักขึ้นมาได้ เมื่อนั้น รถยนต์ไฟฟ้าจะขายได้ทันที เหมือนเห็นคนข้างบ้านใช้ เห็นคนหน้าปากซอยบ้านใช้ คนที่ทำงานก็ใช้ ลูกน้องเงินเดือนน้อยกว่าฉันยังใช้ ดังนั้น เดี๋ยวฉันก็คงต้องใช้เช่นกัน

คาดการณ์กันว่า อีกไม่เกิน 3 ปี ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์อีวี (Electric Vehicle) จะโตขึ้นอีกหลายเท่าในเมืองไทย และหลายฝ่ายต่างตั้งความหวังกันว่า ในอนาคตจะกลายเป็น ‘รถยนต์คันหลักของบ้าน’ ที่ต่างจากในเวลานี้ที่ยังเป็นรถคันที่สอง สาม สี่ ของบ้านอยู่ มากไปกว่านั้น คือการตระหนักรู้ถึงคุณประโยชน์ที่ใช้จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อไม่มีควันจากท่อไอเสีย ก็ไม่มีก๊าซพิษ และไม่มีฝุ่น คุณภาพอากาศก็จะดีขึ้น และคุณภาพชีวิตของเรา ก็จะดีตามมาเป็นลำดับ

เขียนถึงตรงนี้ สรุปว่า รถยนต์ไฟฟ้า มา ! และต้องมาในเร็ววัน แต่อะไรที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ของใหม่’ ก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่จะต้องเรียนรู้และปรับตัว จนเมื่อเวลาผ่านไป ก็จะกลายเป็น ‘ของที่คุ้นเคย’ ไปในที่สุด โลกนี้ไม่ได้มีของที่ล้ำที่สุดคือ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ เราๆ ท่าน ๆ เตรียมตื่นตาตื่นใจกับอะไร ๆ อีกมากมายไว้ได้เลย

ความรื่นรมย์ส่วนหนึ่งในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ คือการมองเห็นความเปลี่ยนแปลงไปของโลกนี่เอง...

เขียนมาถึงตรงนี้ (อีกครั้ง) เราขึ้นต้นถึง ‘โจ ไบเดน และประชาชนของลุงตู่’ จะไม่เขียนเอ่ยถึง ‘ลุงตู่ของคนไทย’ ก็กระไรอยู่ เอาเป็นว่า อยากฝากถึงลุงตู่สั้น ๆ ปิดท้าย...

ถ้า โจ ไบเดน จะเปลี่ยนรถที่ใช้ของรัฐบาลกลาง เป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด ลุงตู่ก็ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอกครับ (ประเดี๋ยวทัวร์จะลงเรื่องเอาภาษีข้อยคืนมา!) แค่เปลี่ยนรถประจำแหน่งที่ใช้ ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ก็พอ

‘เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย’ ลุงตู่ใช้รถไฟฟ้าเมื่อไร ประชาชนก็น่าจะจริงจังตาม...ว่าไหมล่ะครับ


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top