Wednesday, 15 January 2025
Special News Team

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือน 5 ภัยออนไลน์ วายร้ายทำลายเด็ก ที่ผู้ปกครองต้องตรวจสอบก่อนจะสายเกินไป 

(9 ม.ค. 68) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ประกอบกับวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568 ที่จะถึงนี้ เป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ซึ่งเป็นวันเด็กแห่งชาติ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงขอเตือนภัยพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในความดูแล ให้หมั่นตรวจสอบ และระมัดระวังบุตรหลานของท่าน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยออนไลน์ที่มีเป้าหมายหลักเป็นเด็กและเยาวชน ดังต่อไปนี้

1. การล่อลวงออนไลน์ - คนร้ายสร้างความไว้วางใจกับเด็ก ผ่านเกมหรือสื่อสังคมออนไลน์ แล้วพยายามนัดพบตัวจริง เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ

2. การหลอกถ่ายคลิปลามก - คนร้ายหลอกล่อเด็กให้ถ่ายภาพหรือคลิปลามกส่งให้กับคนร้าย จากนั้นนำภาพหรือคลิปลามกไปขาย หรือนำมาแบล็กเมล์ เรียกเอาเงินจากผู้ปกครอง

3. การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ - การที่เด็กถูกกลั่นแกล้งในสื่อสังคมออนไลน์ จากการโพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ทำให้เสียหาย

4. การหลอกลวงซื้อขายสินค้า - คนร้ายหลอกลวงให้เด็กโอนเงินซื้อสินค้า ผ่านเกมหรือสื่อสังคมออนไลน์ แล้วไม่ส่งของให้

5. การเข้าถึงเนื้อหาไม่เหมาะสม - การที่เด็กเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เช่น ความรุนแรง ภาพลามก การพนันออนไลน์ ซึ่งมักจะเกิดจากการคลิกโฆษณา หรือการค้นหาโดยไม่ตั้งใจ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติขอให้พ่อแม่และผู้ปกครอง ติดตามพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของบุตรหลานของท่านอยู่เสมอ และเปิดใช้งานเครื่องมือในการกรองเนื้อหาสำหรับเด็กในแอปพลิเคชันหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย รวมไปถึงการให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ เพื่อให้รู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่อ

หากบุตรหลานของท่านตกเป็นเหยื่อ หรือได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ หรือแจ้งความออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือ สายด่วน 1441 ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง

🔍ส่องประเทศที่มาเหล่า ‘แอปพลิเคชัน’ ชื่อดัง

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ‘แอปพลิเคชัน’ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันนั้น มีต้นกำเนิดมาจากประเทศใด หากเป็น Facebook / Youtube หรือ Instagram เราก็รู้อยู่แล้วว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ TikTok แอปฯ ดูวิดีโอสั้นชื่อดังนั้นก็มาจากประเทศจีน แต่เชื่อหรือไม่ว่า มีแอปฯ อีกมากมายที่บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไหน แต่ก็ยังโหลดและใช้กันอย่างคุ้นเคย

วันนี้ THE STATES TIMES จะพาทุกท่านไปส่องประเทศต้นกำเนิดของเหล่าแอปฯ ชื่อดัง จะมีแอปฯ ไหนบ้าง ไปดูกัน!!

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2567 : ทำไม? ต้องปลงหรือปล่อยวาง

จากช่องติ๊กต็อก @dhamma_tv ได้เผยแพร่คำสอนเรื่อง ‘ทำไม? ต้องปลงหรือปล่อยวาง’ จากรายการ ‘ธรรมะทำไม’ โดย ‘พระครูศรีปริยัติวิสุทธิ์ (หลวงพ่อโกวิท)’ รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เจ้าอาวาสวัดด่านใน

🎤: ปลงหรือปล่อยวางมีความหมายที่แท้จริงว่าอะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร?

💛พระครูศรีปริยัติวิสุทธิ์ (หลวงพ่อโกวิท): ‘ปลง’ เป็นภาษาไทยที่สื่อว่าตรงข้ามกับ ‘ยึดมั่นถือมั่น’ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ‘ยอมรับความจริง’ 

‘ปล่อยวาง’ ก็คือไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ตรงหลักคําสอนพระพุทธเจ้าโดยตรง ฉะนั้นคําว่าปลง คําว่าปล่อยวาง คือให้อยู่กับความจริง ถ้าชีวิตจะมีความสุข ต้องอยู่กับความเป็นจริง มองทุกสิ่งเป็นบวก หูหนวกบางโอกาส ฉลาดคัดสรร แบ่งปันสังคม อันนี้คืออยู่กับความเป็นจริง เราต้องอยู่กับความเป็นจริงว่าความเป็นจริงนั้น มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย นี่คือความจริง เราต้องไม่ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ เราต้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้ให้ได้

🎤: บางครั้งเห็นสิ่งที่น่าเศร้า แล้วก็จมดิ่งกับความเศร้า?

💛พระครูศรีปริยัติวิสุทธิ์ (หลวงพ่อโกวิท): ก็ไม่แปลก เป็นสิ่งที่ถูกแล้ว ถ้าหากเห็นของเศร้าแล้วใจเบิกบาน แฮปปี้ อันนี้ผิดปกติ แต่เมื่อเห็นแล้ว ก็สามารถใช้คำว่าปลงได้ ต้องคิดไว้เลยว่า สักวันหนึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นกับเรา กับครอบครัวเรา หรือกับญาติพี่น้องของเรา หรือเห็นบางสิ่งบางอย่างที่เคยดีมาแล้ว สักพักมันก็ไม่ดี ก็ต้องคิดได้ว่ามันเป็นความไม่แน่นอน มันคือความจริง ต้องยอมรับความจริง นี่คือกิริยาของการปลง

อย่าไปยึด ต้องหัดวางบ้าง หัดวางทีละนิด ๆ แม้แต่ของรักขนาดไหน เราไม่พลาดจากสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็จะพลาดจากเราไปเอง เป็นธรรมดา

'อ.พงษ์ภาณุ' ชี้!! 3 ตัวแปร ที่ทำให้ 'แบงก์ชาติ' ยังไม่ยอมลดดอกเบี้ย 'เข้าใจบทบาทตนเองผิด-เกรงใจสถาบันการเงิน-กฎหมายล้าหลัง'

(3 มี.ค.67) อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ได้กล่าวถึงประเด็นที่แบงก์ชาติยังไม่ลดดอกเบี้ย ไว้ว่า...

หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมแบงก์ชาติจึงดื้อรั้นไม่ยอมลดดอกเบี้ย ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีเงินฝืด (Deflation) ติดต่อกันมา 5 เดือน และเศรษฐกิจไทยอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ในไม่ช้า 

ประเด็นนี้ได้ลุกลามใหญ่โตเป็นวิวาทะทางการเมืองระดับชาติระหว่างรัฐบาล ซึ่งรับผิดชอบนโยบายการคลัง กับธนาคารแห่งประเทศไทยและลิ่วล้อที่ทำหน้าที่เป็นองครักษ์พิทักษ์แบงก์ชาติ 

วิวาทะหรือความขัดแย้งเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเลย และน่าจะมีข้อยุติได้หากเราเข้าใจธรรมชาติของธนาคารกลางและบทบาทที่ควรจะเป็น

ในโลกปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับว่าธนาคารกลางมีหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพของระดับราคา (Price Stability) แต่บางทีรัฐบาลบางประเทศก็มอบหน้าที่รองให้ ซึ่งรวมถึง การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของสถาบันการเงิน การสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาระดับการจ้างงาน เป็นต้น

ประเทศที่พัฒนาแล้วยึดถือเป็นหลักการว่าธนาคารกลางต้องมีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยึดหลัก Inflation Targeting ซึ่งมีความเป็นอิสระในเชิงเครื่องมือ (Instrumental Independence) แต่ต้องอยู่ในกรอบอัตราเงินเฟ้อที่ตกลงกับรัฐบาล หากเงินเฟ้อจริงเบี่ยงเบนไปจากกรอบนี้ ต้องถือว่าความเป็นอิสระนั้นจบลง

ส่วนบทบาทอื่น โดยเฉพาะการกำกับดูแลและพัฒนาสถาบันการเงินนั้น หลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และญี่ปุ่น มีหน่วยงานเฉพาะรับผิดชอบ และอยู่นอกบทบาทหลักตามกฎหมายของธนาคารกลาง 

ดังนั้นความเป็นอิสระของธนาคารกลาง จึงจำกัดอยู่ที่การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้ช่วยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ (Conflict of Interest) และป้องกันความขัดแย้งกับนโยบายการคลังได้เป็นอย่างดี

ฉะนั้น จึงสามารถตอบคำถามว่าทำไมแบงก์ชาติไม่ลดดอกเบี้ยได้ด้วยเหตุผล 3 ประการ...

ประการแรก แบงก์ชาติกลัวหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นจนเป็นฟองสบู่ ในหลายประเทศการแก้ไขปัญหาหนี้ไม่ใช่เป็นหน้าที่ธนาคารกลาง แต่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน

ประการที่สอง การที่แบงก์ชาติทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงิน ทำให้เกิดความสนิทสนมในฐานะผู้กำกับและผู้ถูกกำกับ ความสนิทสนมดังกล่าวนานเข้าจะนำไปสู่ความเกรงใจเจ้าของและผู้บริหารของสถาบันการเงินนั้น ๆ แน่นอนการลดดอกเบี้ยนโยบายย่อมนำไปสู่การลดดอกเบี้ยแบงก์ ซึ่งจะทำให้แบงก์มีกำไรลดลง

ประการสุดท้าย กฏหมายธนาคารแห่งประเทศไทย แก้ไขครั้งสุดท้ายกว่า 20 ปีมาแล้วภายหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง จึงได้มีการนำเป้าหมายทางการเงินหลายอย่างมากระจุกรวมไว้ในบทบาทหน้าที่ของแบงก์ชาติ ดังนั้น การใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่มีอยู่จำกัดไปรับใช้เป้าหมายหลาย ๆ เป้าหมาย ย่อมทำให้งานหลักของธนาคารกลางขาดประสิทธิภาพ และนำมาซึ่งความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ดังกล่าว

ขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้กฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างรีบด่วน โดยลดบทบาทของแบงก์ชาติ และให้มุ่งเน้นในเรื่องนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาเพียงเรื่องเดียว จนกว่าจะแก้กฎหมายเสร็จในระหว่างนี้ก็ขอให้แบงก์ชาติและลิ่วล้อยุติการเรียกร้องความเป็นอิสระ และหยุดการโยนความผิดของตนไปให้ผู้อื่น รวมทั้งหยุดวิวาทะที่บั่นทอนความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2566

คำพูด...เป็นดาบชนิดหนึ่ง
บางคน...ใช้ทิ่มตนและแทงคน
บางกลุ่ม...ใช้ทิ่มแทงกันเอง
ทั้ง ๆ ที่รู้...ไม่มีใครได้ประโยชน์อะไร

- หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป -

‘ส.ว.สมชาย’ ยัน 250 ส.ว. ยึดถือพระราชดำรัสในหลวง มุ่งมั่นทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

(7 ก.ค. 66) นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

วุฒิสภาชุดที่ 12 มาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ดังนี้ 
1) ตามตำแหน่ง 6 คน 
2) สรรหาตรงจากคณะกรรมการสรรหา 194 คน 
3) สรรหาจากการเลือกกันเองทั่วประเทศ 50 คน

สมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ตามมาตรา 269 ตามรัฐธรรมนูญ แตกต่างจากสมาชิกวุฒิสภาในอดีต ทั้งรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่มาจากการเลือกตั้งโดย และสรรหา ผสมเลือกตั้ง เมื่อได้ครบตามจำนวนแล้ว มีแค่การประกาศรับรองโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น มิได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเช่นสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้

ดังนั้นสมควรอย่างที่สมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน จักได้น้อมนำพระราชดำรัสในพิธีเปิดประชุมรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566

'อิสราเอล' ยิงขีปนาวุธใส่ 'ซีเรีย' โดยใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นโจมตีฐานป้องกันภัยทางอากาศ

อัลจาซีรา รายงานว่า ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อิสราเอลได้โจมตีสนามบินและฐานทัพอากาศของซีเรียอย่างเข้มข้น เพื่อขัดขวางการใช้สายส่งทางอากาศที่เพิ่มขึ้นของ #อิหร่านในการส่งมอบอาวุธให้กับพันธมิตรในซีเรียและเลบานอน รวมถึง #ฮิซบอลเลาะห์ ของ #เลบานอน

การที่อิสราเอลโจมตี เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับความขัดแย้งที่เลี้ยงความรุนแรงมานานหลายปี เป้าหมายไม่ให้อิหร่านยึดที่มั่นมากขึ้น 
นับแต่อิทธิพลของอิหร่านเติบโตขึ้นในซีเรีย เริ่มสนับสนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ในสงครามกลางเมืองที่เริ่มต้นในปี 2554

เปิดข้อห้าม กฎหมายเลือกตั้ง ม.79 วันที่ 13-14 พ.ค.นี้ ห้ามทำอะไรบ้าง ฝ่าฝืนระวังเจอโทษหนัก ทั้งจำทั้งปรับ!!

(13 พ.ค. 66) ห้ามโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัคร ส.ส. หรือพรรคการเมือง ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 (วันก่อนเลือกตั้งหนึ่งวัน) จนจบวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 กฎหมายเลือกตั้งกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ใด โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองก็ตาม (มาตรา 79)

กฎหมายไม่ได้ระบุนิยามของ ‘การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง’ ไว้ตรงๆ จึงต้องอาศัยการตีความ ตัวอย่างของการกระทำที่อาจเข้าข่ายเป็นการโฆษณาหาเสียงให้พรรคการเมือง เช่น
- การสวมเสื้อ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ฯลฯ ที่มีสัญลักษณ์โลโก้พรรคการเมือง หรือมีสีและหมายเลขพรรคการเมือง
- การโพสต์ข้อความ การอัปโหลดภาพหรือคลิป ที่มีเนื้อหาสื่อไปในทางช่วยหาเสียงให้พรรคการเมือง ลงบนโซเชียลมีเดีย
- การแจกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหาเสียง บริเวณใกล้หน่วยเลือกตั้ง หรือที่อื่นๆ

หากฝ่าฝืน โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 156)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top