Tuesday, 14 May 2024
LITE TEAM

วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนา พรรณวดี มีอายุครบ 36 ปีบริบูรณ์

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2528 ที่เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีพี่สาวและพี่ชาย คือ ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน และคุณพุ่ม เจนเซน ในวัยเยาว์ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา หรือ คุณใหม่ ได้ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเอิร์ลวอร์เรนจูเนียร์ (Earl Warren Junior High School) และโรงเรียนมัธยมศึกษาทอร์เรย์ไพนส์ (Torrey Pines High School) ก่อนที่สำเร็จการศึกษาด้านวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สาขาการศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออก

หลังสำเร็จการศึกษา ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ทำงานหลากหลายด้าน อาทิ ทำงานด้านการออกแบบ โดยเริ่มฝึกงานกับ โยจิ ยามาโมโตะ นักออกแบบชื่อดังชาวญี่ปุ่น และทำงานกับแบรนด์แฟชั่นชื่อดังอย่างแอร์เมส กระทั่งกลับมาเมืองไทย จึงได้เข้าฝึกงานในกลุ่มงานวิชาการการอนุรักษ์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร และได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ของกรมศิลปากร

ในปี พ.ศ. 2561 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเป็นผู้อำนวยการในโครงการ ‘วังน่านิมิต’ ซึ่งเป็นผลงานการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล ผ่านเทคโนโลยีสื่อในรูปแบบภาพ (Visual Language) ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากมาย ต่อมายังมีผลงานอันน่าสนใจอื่น ๆ อาทิ การจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย Hundred Years Between ที่บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของท่านผู้หญิงสิริกิติยา กับการตามรอยเสด็จประพาสรัชกาลที่ 5 ที่นอร์เวย์ ในวาระครบรอบ 115 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย - นอร์เวย์ พ.ศ.2563

ด้วยเจตนารมย์ในการสืบสานประวัติศาสตร์ไทยในหลากหลายบริบท เพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงทำให้ท่านผู้หญิงสิริกิติยา มีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการผลักดันผลงานศิลปะ มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้ได้รับความสนใจ และถูกสานต่ออย่างถูกต้องและดีงามต่อไป


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/สิริกิติยา_เจนเซน

วันที่ 17 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของคนไทย โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบเรื่องราวหมัดมวย เนื่องจากวันนี้ถูกยกให้เป็น ‘วันนายขนมต้ม’ สุดยอดนักมวยไทยเลื่องชื่อที่ถูกเล่าขานกันมาหลายร้อยปี

นายขนมต้ม เป็นนักมวยที่มีฝีไม้ลายมืออันเก่งกาจ เขาเกิดในสมัยกรุงศรีอยุธา ที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสมัยเด็ก ๆ นายขนมต้มอาศัยอยู่ในวัด ได้ศึกษาเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยอย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีความสามารถในศิลปะป้องกันตัวชนิดนี้เป็นอย่างมาก

ต่อมา พ่อแม่และพี่สาวของนายขนมต้มถูกฆ่าตายในสงคราม เหลือเพียงแต่นายขนมต้มที่รอดชีวิต แต่เจ้าตัวก็ถูกจับมาเป็นเชลยในระหว่างการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 กระทั่งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2317 นายขนมต้มได้มีโอกาสขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า และสามารถเอาชนะนักมวยพม่าได้ถึง 10 คน

พระเจ้ามังระจึงปูนบำเหน็จให้เป็นข้ารับใช้ในกรุงอังวะ แต่นายขนมต้มปฏิเสธ และได้ขอเปลี่ยนให้เป็นการปลดปล่อยตนและเชลยคนไทยทั้งหมด ในที่สุดนายขนมต้มจึงได้เดินทางกลับสู่บ้านเกิด ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งการตอสู้ในครั้งนั้น ทำให้ชื่อของนายขนมต้ม เป็นที่เลื่องลือ และศิลปะแม่ไม้มวยก็ได้รับการยกย่อง

เมื่อเวลาผ่านไป อนุชนคนรุ่นกลัง จึงได้ยกให้วันที่ 17 มีนาคมของทุกปี ให้เป็นวันนายขนมต้ม หรือ วันมวยไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูบรมครูมวยไทยคนนี้ รวมทั้งยังเป็นการให้เกียรติเหล่านักมวยไทย ที่สืบสานศิลปะป้องกันตัวของชาติให้คงอยู่สืบไป


ที่มา:

https://th.wikipedia.org/wiki/นายขนมต้ม

https://www.thairath.co.th/news/881791

หลายคนคุ้นเคยกับอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด หรือบริการอาหารจานด่วน ซึ่งหากย้อนเวลากลับไป วันนี้เมื่อ 36 ปีที่แล้ว เมืองไทยมีแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังมาเปิดสาขาเป็นครั้งแรก นั่นคือ แมคโดนัลด์

ร้านแมคโดนัลด์ เปิดบริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทย สาขาแรกที่อาคารอมรินทร์พลาซา บริเวณสี่แยกราชประสงค์ โดยการนำเข้ามาของ เดช บุลสุข นักธุรกิจ อดีตผู้ก่อตั้ง บริษัท แมคไทย จำกัด และเป็นผู้บริหารร้านแมคโดนัลด์ในยุคแรกเริ่ม

แมคโดนัลด์ ถือเป็นร้านอาหารสาขาข้ามชาติในยุคแรก ๆ ที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ก่อนที่จะมีร้านในลักษณะแฟรนไชส์เกิดขึ้นในประเทศอีกมากมาย และทำให้กระแสการบริโภคอาหารประเภทบริการจานด่วน หรือ ฟาสต์ฟู้ด กลายเป็นที่นิยม และเป็นส่วนหนึ่งในวิถีการบริโภคของคนไทยมาโดยตลอด

สำหรับแบรนด์ แมคโดนัลด์ ต้นกำเนิด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1948 (หรือ พ.ศ. 2491) เป็นร้านแฮมเบอร์เกอร์ที่ตั้งอยู่ในเมืองเล็ก ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีจุดขายคือการนำระบบการบริการที่รวดเร็วเข้ามาใช้ จนกลายเป็นต้นกำเนิดของร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบัน แมคโดนัลด์ มีสาขามากกว่า 30,000 สาขา ใน 121 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยสาขาแรกในประเทศไทย จัดเป็นประเทศที่ 35 ของโลก และถึงวันนี้ มีสาขาแมคโดนัลด์ที่เปิดทำการในประเทศไทยอยู่กว่า 245 สาขา และยังคงครองใจคนรักแฮมเบอร์เกอร์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน


ที่มา:

https://www.mcdonalds.co.th/aboutUs?lang=th,

https://th.wikipedia.org/wiki/แมคโดนัลด์

พีค of the week EP.10

สัปดาห์ที่ผ่านมา กทม. แทบแตก เพราะ ‘พระมหาเทวีเจ้า’ เดินทางด้วยรถไฟไทย มาเยือน กทม. งานนี้แฟนคลับมารอท่าจนหัวลำโพงแทบแตก พอเปิดหน้าจอสมาร์ตโฟนขึ้นมา โอ๊ว มีข่าวที่ร้อนแรงยิ่งกว่าแม่หญิงลี เป็นเรื่องราวดาราสาว 'จั๊กจั่น' กับโลกหลายใบของเธอ กลายเป็นมหากาพย์ที่สายเผือกจับจ้องกันตาไม่กระพริบ

หันมาทางด้านการเมือง นี่ก็ฮอตได้ตลอด ๆ หลังจากแนวร่วมม็อบสามนิ้ว ทยอยเข้าเรือนจำ บรรดาคณาจารย์จึงต้องออกโรง ขอยื่นเรื่องประกันเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหา ได้กลับไปเรียนหนังสือ ต้องติดตามกันว่า ศาลจะพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวได้เมื่อไร แต่เอาเป็นว่า ตอนนี้ไปดูบรรดาข่าวพีค ๆ เหล่านี้เสียก่อน THE STATES TIMES รวบตึงมาให้ชมกันแล้ว ณ บัดนาว! Let’s go!!

.

 

 

วันนี้เมื่อกว่า 163 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชกำเนิด ‘หนังสือราชกิจจานุเบกษา’ สิ่งพิมพ์ที่เรียกว่า มีความสำคัญ และอยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

หนังสือราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือลงประกาศใช้กฎหมายและข่าวสำคัญต่าง ๆ ของชาติบ้านเมือง เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกาศข่าวสาร และป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ตามพระราชปรารภ โดยจัดตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอ ของหมอบรัดเลย์

ปัจจุบันหนังสือราชกิจจานุเบกษา ยังถูกตีพิมพ์ติดต่อกันมาโดยตลอด ถือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีอายุยาวนานที่สุดของประเทศไทย โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์ และเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์

ทั้งนี้เนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ประเภทแรก คือ การบอกข้อราชการ และข่าวต่าง ๆ ส่วนประเภทที่สอง คือ แจ้งความ ประกาศ พระราชบัญญัติ และกฎหมายต่าง ๆ โดยตามธรรมเนียมปฏิบัติ สามารถสมัครเป็นสมาชิกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาได้ตั้งแต่ เดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี

ผ่านมาจนถึงวันนี้ กว่า 163 ปีมาแล้ว ที่หนังสือราชกิจจานุเบกษา ยังคงตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารสำคัญ นอกจากจะเป็นสิ่งพิมพ์ฉบับสำคัญของประเทศ ยังเป็นเสมือนบทบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มากมาย ทั้งเรื่องการเมือง การปกครอง ขนบประเพณี ตลอดจนวิวัฒนาการทางภาษา และการพิมพ์ ที่คนรุ่นหลัง สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความแม่นยำเป็นอย่างมากอีกด้วย


ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878787

หากย้อนกลับไปเมื่อกว่า 60 ปีก่อน มีนักสื่อสารมวลชนคนหนึ่งที่ถือได้ว่า เป็นผู้บุกเบิกวงการข่าว และหนังสือพิมพ์ของเมืองไทย เขาคนนั้นคือ 'อิศรา อมันตกุล'

อิศรา อมันตกุล เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ก่อนจะเริ่มต้นการทำงานด้วยการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ต่อมา นายอิศราได้เข้าสู่แวดวงหนังสือพิมพ์ ด้วยการเป็นนักข่าวให้กับหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ และหนังสือพิมพ์ประชามิตร ตามลำดับ

เมื่อเวลาผ่านไป นายอิศรายังเป็นทีมงานในหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ กระทั่งได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ในปัจจุบัน) โดยในช่วงปี พ.ศ. 2501 เกิดการรัฐประการ นำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ถูกปิด และนายอิศรา ในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ รวมทั้งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อื่น ๆ อีกหลายฉบับ ต่างถูกจับ ด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์

นายอิศรา ถูกคุมขังอยู่เกือบ 6 ปี จึงถูกปล่อยตัวออกมา และกลับเข้าทำงานในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์อีกครั้ง โดยตลอดชีวิตการทำงาน นายอิศรา อมันตกุล ถือเป็นนักสื่อสารมวลชนที่เป็นที่ยอมรับในเรื่องการนำเสนอข่าวสารที่ตรงไปตรงมา เจ้าตัวเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก และดำรงตำแหน่งติดต่อกันเป็นเวลาถึง 3 ปี

ในช่วงท้ายของชีวิต นายอิศราล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ลิ้น ใช้เวลารักษาตัวอยู่ราว 10 เดือน ก่อนจะเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2512 แต่ถึงแม้ตัวจะจากไป ชื่อเสียงและผลงาน ในฐานะนักสื่อสารมวลชนคนสำคัญ ก็มิได้เลือนหายไป

โดยหลังจากที่นายอิศราเสียชีวิตไปไม่นาน ได้มีการก่อตั้ง ‘มูลนิธิอิศรา อมันตกุล’ ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ และต่อมา ยังใช้ชื่อ ‘อิศรา อมันตกุล’ เป็นชื่อในการมอบรางวัลให้กับนักข่าวและนักสื่อสารมวลชนรุ่นหลัง ที่มีผลงานดีเด่น เป็นประจำทุกปีอีกด้วย


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/อิศรา_อมันตกุล

ประเทศไทยมีสัตว์มากมายหลายชนิด แต่มีสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่ผูกพันกับความเป็นชนชาติไทย มาตั้งแต่ครั้งยุคโบราณ สัตว์ชนิดนั้นก็คือ ช้าง และในวันนี้ของทุก ๆ ปี ยังถูกยกให้เป็น ‘วันช้างไทย’ กำหนดขึ้นมาเพื่อยกย่อง และให้เกียรติสัตว์ประจำชาติชนิดนี้โดยเฉพาะ

‘ช้างไทย’ มีความสำคัญต่อชาติไทยมายาวนาน ในอดีต กษัตริย์ไทยมักใช้ช้างในการออกรบจับศึก หรือในสมัยรัชกาลที่ 2 ยังเคยกำหนดให้ธงชาติไทย เป็นรูปช้างเผือก ด้วยมีความเชื่อว่า ช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์

ช้างไทย ยังปรากฎในพระราชพิธีสำคัญของชาติ เช่น เมื่อสมัยแรกเริ่มการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ช้างคือพาหนะสำคัญที่อัญเชิญพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต มาสถิตย์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, งานพระราชพิธีฉัตรมงคล ยังมีการนำช้างเผือกมาแต่งเครื่องคชาภรณ์ เพื่อประกอบพระเกียรติยศด้วยเสมอ

เวลาผ่านไป ช้างยังถูกนำมาใช้ในกิจการต่าง ๆ มากมาย และยังคงผูกพันกับสังคมไทยมาตลอด วันนี้ถือเป็น ‘วันช้างไทย’ จึงอยากให้คนไทยพร้อมใจกันระลึกถึงความสำคัญของสัตว์คู่บ้านคู่เมืองชนิดนี้ ยิ่งในเวลานี้ ที่มีโรคโควิด-19 ระบาดหนัก ปางช้างในประเทศไทยหลายแห่ง ประสบกับภาวะขาดแคลนอาหาร เนื่องจากปริมาณนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมลดลงอย่างมาก

วันนี้ในฐานะ ‘วันช้างไทย’ จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความช่วยเหลือ โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ สมาคมสหพันธ์ช้างไทย https://www.thaielephantalliance.org/ เพื่อร่วมสมทบทุน และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยช้างไทยด้วยกัน


ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870544, https://idgthailand.com/elephant_day-2018/

รวมนักการเมือง เปลี่ยนชื่อแล้ว ปัง!

เมื่อวาน กระแสข่าว การเปลี่ยนชื่อของ ‘แรมโบ้อีสาน’ สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง โดยเจ้าตัวเปลี่ยนชื่อมาเป็น เสกสกล อัตถาวงศ์ ไม่ใช่ ๆๆ ต้องใช้ว่า ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ท่านแรมโบ้อีสานแจ้งกับนักข่าวอย่างนี้ ต่อไปนี้ ถ้าไม่เรียก ด็อกเตอร์เสกสกล ก็ต้องเรียกว่า ด็อกเตอร์แรมโบ้ กันล่ะนะ

พอมีข่าวนักการเมืองเปลี่ยนชื่อแซ่ THE STATES TIMES เลยไปสรุปมาให้ว่า ที่ผ่านมา มีนักการเมืองคนไหนบ้าง ที่เคยจัดการเปลี่ยนชื่อแซ่ แถมเพิ่มเติมให้อีกนิดว่า พอเปลี่ยนแล้ว ปัง ปัง ปัง ไม่ใช่เสียงปืนนะ เสียงความโด่งดังต่างหาก ไม่เชื่อไปดูสิ มีคนไหนไม่ดังบ้าง

เรารู้จัก ‘โควิด - 19’ กันมาปีเศษ ๆ แต่หากย้อนเวลากลับไปราว 18 ปีก่อน มีไวรัสที่เป็นสายพันธุ์แรกของ โควิด - 19 เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ มันมีชื่อว่า SARS ซึ่งในวันนี้เมื่อ 18 ปีก่อน องค์การอนามัย ได้ประกาศให้ ‘โรคซาร์ส’ เป็นโรคระบาดร้ายแรงของโลกชนิดหนึ่ง

โรคซาร์ส (SARS) หรือ กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสชื่อ SARS-CoV เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 ความน่ากลัวของโรคซาร์ส คือเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง ปวดเมื่อย หนาวสั่น ท้องเสีย ไอแห้ง หายใจถี่ ซึ่งเป็นลักษณะอาการที่คล้ายกับโรคไข้หวัดทั่วไป

แต่นอกเหนือไปกว่านั้น ผู้ป่วยโรคซาร์สบางคนอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น โรคปอดบวม หรือมีการติดเชื้อของปอด ส่วนในกรณีที่เลวร้ายมากๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ตับวาย หรือแม้แต่หัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้

ไวรัสซาร์ส สามารถแพร่เชื้อได้ด้วยตัวมันเอง โดยมันสามารถแพร่กระจายไปทางอากาศ เข้าสู่ร่างกายคนได้ทั้งทางปาก จมูก และดวงตา ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2546 ถือเป็นช่วงการระบาดครั้งสำคัญ มีประชาชนในประเทศต่าง ๆ กว่า 24 ประเทศ ติดเชื้อกว่า 8,098 ราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 774 ราย

จึงเป็นที่มาที่องค์การอนามัยโลก ต้องประกาศให้ โรคซาร์ส หรือ โรงทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง เป็นโรคระบาดร้ายแรงในเวลานั้น แต่ต่อมาภายหลัง การระบาดก็ค่อย ๆ คลี่คลายลง นับจากปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา

นับถึงวันนี้ ยังไม่มีวัคซีนตัวไหน ที่ได้รับการยอมรับว่า สามารถรักษาโรคซาร์สได้จริง แต่การระบาดก็ยังไม่หวนกลับมาอีก แต่ต่อมา ก็ปรากฎไวรัสจากสายพันธุ์เดียวกันอย่าง โรคเมอร์ส (Mers-CoV) หรือแม้แต่ โรคโควิด - 19 ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า SARS-CoV-2 ออกมาระบาดชนิดรุนแรง คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย และยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงเมื่อใด


ที่มา: https://www.catdumb.tv/severe-acute-respiratory-syndrome-378/

ประเทศไทยมีตำรา หนังสือ กันมานับร้อยปี แต่สำหรับในแวดวงวรรณกรรม หรืองานเขียนแนวเรื่องแต่ง ประเภทนวนิยาย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ครบรอบ 111 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นองคมนตรี ก่อนที่ในปี พ.ศ.2419 จะทรงแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีศาลฎีกา พระองค์แรกของประเทศไทย และเป็นอธิบดีศาลแพ่งกลาง และศาลแพ่งเกษม อีก 2 ศาล ในเวลาต่อมา

นอกจากพระปรีชาสามารถในด้านกฎหมาย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ยังมีพระอัจฉริยภาพในด้านการพระนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเรื่อง เช่น ท้ายกาสีหา นางปทุมสังกา รวมทั้งยังทรงสนใจงานเขียนทางตะวันตก ประเภท fiction และ novel จนเป็นที่มาของการทรงนิพนธ์เรื่อง ‘สนุกนึก’ ซึ่งเป็นเรื่องสั้นกึ่งนิยาย หรือที่เรียกว่าเป็น บันเทิงคดี ตามแบบอย่างนิยายตะวันตก เป็นเรื่องแรกของประเทศไทยอีกด้วย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงเป็นต้นแบบของผู้ที่มีความใฝ่รู้ในการศึกษา โดยครั้งหนึ่งทรงศึกษาภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง จนสามารถอ่านงานเขียนชาวตะวันตก และนำมาประยุกต์ในงานพระนิพนธ์ของพระองค์เอง ต่อมาในปี พ.ศ.2439 ทรงเริ่มประชวรด้วยพระอาการพระวัณโรคภายใน และมีพระอาการทรงกับทรุดเรื่อยมา จนเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2453 ได้สิ้นพระชนม์ลง สิริพระชันษาได้ 54 ปี


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมหลวงพิชิตปรีชากร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top