Monday, 29 April 2024
ไทย

ร่วมใจอนุรักษ์ เกร็ดน่ารู้ ‘ก่อเจดีย์ทราย’ ประเพณีร่วม ‘ไทย-เมียนมา’ ร่องรอยมรดกจากอยุธยา ที่ผ่านไป 200 ปีก็ยังมิเลือน

ในช่วงสงกรานต์ หรือ ตะจ่าน ของทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้านสุขะ เมืองมัทดายามัน ภูมิภาคมัณฑะเลย์จะมีประเพณี ‘ก่อพระเจดีย์ทราย’ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การก่อเจดีย์ทรายนั้น ไม่มีกระทำกันสำหรับวัดในเมียนมา หากแต่การก่อเจดีย์ทรายของที่นี่ คือ มรดกทางวัฒนธรรมจากสมัยอยุธยาที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน

ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่ง ที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์

นอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีต ให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

แต่สำหรับการก่อเจดีย์ทรายในเมียนมานั้น มีความเชื่อเรื่องพระเจดีย์ทราย ที่ต่างจากไทย โดยทางเมียนมามีความเชื่อว่าเม็ดทราย เสมือนตัวแทน ผู้สำเร็จพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา จำนวน นับไม่อาจประมาณได้เมื่อก่อกองทรายเสร็จ ก็กราบไหว้บูชา เสมือน พระเจดีย์ ในวัด ทั่วไป จนกว่ากองทราย จะยุบและพังในที่สุดโดยกองทรายที่ยุบและพังไปนั้นทางชาวบ้าน ก็นำไปเทไว้ตามธรรมชาติ หรือเทไว้ที่ริมตลิ่งแม่น้ำเพื่อให้ทรายกลับคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

การก่อพระเจดีย์ทรายฝั่งเมียนมาอาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3วัน เพราะต้องมีพิธีสวดอัญเชิญ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ มาสถิตย์อยู่ เสมือนเป็นเจดีย์ทั่วไป ซึ่งในบางชุมชนที่ไม่มีกำลังจะสร้างวัด หรือเจดีย์ เพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่ ก็จะใช้ก่อพระเจดีย์ทรายขึ้นมา เพื่อเป็นการเคารพบูชาแทน พระพุทธเจ้า ไว้กราบไหว้ ในชุมชนนั้นๆ ซึ่งจะแตกต่างจากประเพณีของฝั่งไทยที่เป็นการขนทรายเข้าวัด เพื่อไปก่อสร้างเจดีย์เท่านั้น

และนี่คือมรดกอีกชิ้นหนึ่งที่ยังคงดำรงไว้ให้ลูกหลานแม้เวลาจะผ่านไปนับ 200 กว่าปีแล้วก็ตาม

เรื่อง: AYA IRRAWADEE

'สาวลาว' อึ้ง!! ไทยสร้างสะพานเลี่ยงเมืองหนองคาย เอ่ยชม "สุดยอด เยี่ยมๆ ไม่คิดว่าจะสร้างไวขนาดนี้"

เมื่อไม่นานมานี้ ยูทูบเบอร์ช่อ ‘หนอมแน้ม - NOMNAEM Channel’ ได้เผยแพร่วิดีโอโดยใช้ชื่อว่า 'สาวลาวสุดอึ้ง ไม่คิดว่าหนองคายจะสร้างถนนแบบนี้ด้วย...สุดยอดมาก ปี 2023' โดยเนื้อหาในคลิปวิดีโอเป็นการชื่นชมถนน หนทางของประเทศไทย ที่เจริญขึ้นผิดหูผิดตาจากแต่ก่อน และยังชื่นชมหลายสิ่งหลายอย่างของไทยอีกด้วย

หนอมแน้ม (เจ้าของช่อง) เดินทางจากฝั่งลาวผ่านจังหวัดหนองคาย มุ่งหน้าไปยัง อุดรธานี เพื่อทำธุระ (หาหมอ) ซึ่งระหว่างทางก็กลัวว่าน้ำมันรถที่เติมจากฝั่งลาวจะไม่พอเดินทาง แต่เมื่อเธอนึกได้ก็สบายใจ โดยเธอบอกว่า "ปั๊มน้ำมันในไทยมีเยอะมาก ไม่กังวลเรื่องการเดินทาง" 

ขับรถไปสักพัก เธอก็เอ่ยชมเกาะกลางถนนของไทย "ต้นไม้เยอะ สะอาดงามตา" และก็นึกถึงเมื่อครั้งที่เคยมาเที่ยวในกรุงเทพ เธอบอกว่าในปี 2023 นี้อยากจะไปเที่ยวที่กรุงเทพอีกสักครั้ง ก่อนจะแวะเติมน้ำมันที่ปั๊ม ปตท.

เมื่อแวะเติมน้ำมันแล้วก็ขับรถกันต่อ โดยเมื่อขับผ่านเขตการก่อสร้างสะพาน เธอก็เอ่ยชมอีกครั้งว่า "เยี่ยมๆ ไปเลย" เนื่องจากมีการก่อสร้างที่พัฒนาระบบขนส่งของไทยให้เจริญมากขึ้น แถมยังจัดการจราจรได้ดี ไม่ได้ปิดถนนจนสัญจรไปมาไม่ได้

'บ.ยานยนต์จีน' เตรียมตั้งฐานการผลิตใน 'ประเทศไทย' ทุ่มเงินลงทุนกว่า 885 ลบ. สะท้อนความเชื่อมั่น ศก. ไทย

(16 เม.ย.66) เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 66 ไชน่า ซีเคียวริตีส์ เจอร์นัล หนังสือพิมพ์หลักทรัพย์ในสังกัดสำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า บริษัทฉางสู ทงรุ่น ออโต แอกเซสซอรี จำกัด (Changshu Tongrun Auto Accessory Co., Ltd.) มีแผนสร้างฐานการผลิตแห่งใหม่ในประเทศไทย ด้วยวงเงินลงทุนไม่เกิน 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 885 ล้านบาท)
         
แถลงการณ์ของบริษัทฯ ระบุว่า ฐานการผลิตใหม่นี้จะผลิตแม่แรงยกรถยนต์ แม่แรงไฮดรอลิก ตู้เครื่องมือช่าง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และโดยหลักแล้วจะส่งขายในตลาดสหรัฐ ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         
ทั้งนี้ คาดว่าโครงการฐานการผลิตในไทยแห่งนี้จะเริ่มก่อสร้างในเดือนส.ค. 66 และมีระยะเวลาก่อสร้างตามแผนงานนาน 12 เดือน โดยจะก่อสร้างทั้งโรงงานใหม่ คลังสินค้า อาคารสำนักงานเพื่อการวิจัยและพัฒนาและเพื่อการซื้ออุปกรณ์

บริษัทฉางสู ทงรุ่น ออโต แอกเซสซอรี กล่าวว่า การลงทุนในฐานการผลิตแห่งใหม่ในประเทศไทยนั้นจะช่วยให้บริษัทสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น และเอื้อต่อการบูรณาการทรัพยากรของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขีดความสามารถของบริษัทในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงโดยรวม


ที่มา : https://news.ch7.com/detail/637421?fbclid=IwAR1kyrJIwxvahDAPL3Ky5uRGezEGlb7MHeNqsXqnSqV9UwzMTjmEWJg1AO8

ไขข้อสงสัย!! ใครทำ 'GDP ไทย' สู้เพื่อนบ้านไม่ได้ สวนกระแสข่าวจอมปลอม จ้องโจมตี 'รัฐบาลลุงตู่'

(16 เม.ย.66) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 'LVanicha Liz' ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ GDP ของไทย โดยระบุว่า...

ดูชัดๆ #ใครทำให้GDPไทยสู้เพื่อนบ้านไม่ได้  

เมื่อปี่พาทย์บรรเลงเริ่มฤดูกาลเลือกตั้ง บางกลุ่มการเมืองก็จะต้องลงทุนลงแรงแข่งขันกันจนหน้ามืดตาลาย เพราะ “stake มัน very high” คล้ายกับว่าถ้าอดอยากปากแห้งต่ออีก ๔ ปี อาจถึงขั้นล้มละลายหายไปจากวงการแน่ๆ จึงมีการออกมาเผยแพร่ (สาด/พ่น?) ข้อมูลผิดบ้างถูกบ้างบิดเบือนหลอกลวงบ้างออกสู่สาธารณะ

ประชาชนผู้มีอำนาจแค่ ๑ วันต่อ ๔ ปี จึงต้องวิเคราะห์ก่อนรับข้อมูลข่าวสารให้ดี มิฉะนั้นหากเลือกพรรคการเมืองผิด อาจจะต้องคิดจนประเทศพัง

หนึ่งในประโยคฮิตที่มีการนำออกมากระจายสู่โซเชียลคือ “อยู่มา ๘ ปี ทำ GDP โตได้แค่ ๒% ยังจะอยู่ต่ออีกหรือ”

ซึ่งจากการวิเคราะห์ตลอดมา พบว่าน่าจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปมาก จึงสืบค้นดูว่าข้อมูลมีที่มาที่ไปอย่างไร พบในเฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทย ส.ส. ผู้หนึ่งกล่าวไว้ดังนี้  

“GDP ตกต่ำตลอด ๘ ปี: ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์แต่งตั้งตัวเองเข้ามาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ตลอด ๘ ปีที่ผ่านมาผลคือ... กราฟร่วง แนวโน้มเศรษฐกิจไทยติดลบ หนึ่งจุดห้า ถึง ศูนย์ ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย ตลอด ๘ ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ยเพียงแค่ประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือเวียดนาม ซึ่งมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่แตกต่างจากไทย กลับสามารถคงระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในระดับ ๕%-๘% ต่อปี แปลว่า วันที่เรายังไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจไทยก็ย่ำแย่อยู่แล้ว เมื่อเจอกับวิกฤตโรคระบาดและผู้นำที่ไม่มีความรู้ในการบริหารเศรษฐกิจ กราฟก็ยิ่งดิ่งเหวเข้าไปใหญ่”

https://m.facebook.com/pheuthaiparty/photos/a.153985257967754/4657213287644906/

ผู้เขียนสืบค้นจาก Google ด้วยคำว่า Thailand GDP ก็ได้กราฟเปรียบเทียบมาให้เลย ๓ ประเทศ โดยไทยมี GDP สูงสุดในกราฟ และมีการเติบโตทิ้งห่างจากเพื่อนบ้านอีกสองประเทศเป็นช่วงกว้างขึ้นทุกที การทิ้งห่างมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตมากกว่า ซึ่งการทิ้งห่างจะสังเกตได้โดยเส้นกราฟของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตกว่า จะไต่ขึ้นชันกว่า 

เพื่อตรวจสอบข้อความในเฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทย ที่ระบุว่า “วันที่เรายังไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจไทยก็ย่ำแย่อยู่แล้ว” เป็นจริงหรือไม่ ผู้เขียนนำช่วงเติบโตดีที่สุดของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ (พรรคเพื่อไทย) กับช่วงเติบโตดีที่สุดของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนวิกฤตโควิดมาเปรียบเทียบกับเวียดนาม (ซึ่งฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลชอบนำมาใช้เป็นตัวอย่างความเติบโต) พบว่ากราฟ GDP ช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไต่ขึ้นชันกว่าช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ และอัตราส่วนของการเพิ่มขนาดเศรษฐกิจช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ สูงกว่าเวียดนาม ขณะช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่ำกว่าเวียดนามเกือบครึ่ง

ตกลง “วันที่เรายังไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจไทยก็ย่ำแย่อยู่แล้ว” ก็คงย่ำแย่ตอนพรรคเพื่อไทยบริหารนี่เอง เพราะอัตราการเติบโตต่ำกว่าเวียดนาม   

สรุปว่าข้อกล่าวอ้างที่ว่า GDP ตกต่ำตลอด ๘ ปีนั้น ในช่วงก่อนวิกฤตโควิด หลักฐานแสดงไปในทางตรงกันข้าม

ส่วนในช่วงหลังจากวิกฤต ตัวเลข post-crisis GDP จะไม่ใช่สิ่งสะท้อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ถูกต้อง เพราะการฟื้นฟูความเสียหายต่างๆ ในช่วงวิกฤตเข้ามาทำให้เกิดส่วนเพิ่มของ GDP อ้างอิงบทความ “Does high GDP mean economic prosperity?” ของ Investopedia
https://www.investopedia.com/articles/economics/08/genuine-progress-indicator-gpi.asp

การที่ประเทศต่างๆ จะมีอัตราการเพิ่ม GDP ในช่วง post-crisis ที่แตกต่างกัน มันแล้วแต่กลไกการฟื้นฟูในแต่ละประเทศ ว่าจะทำอะไรช่วงไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้งบประมาณของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิดซึ่งรัฐบาลเปลี่ยนมาอยู่ภายใต้ระบอบเลือกตั้ง ถูกฝ่ายค้านกดดันตัดทอนอย่างเข้มข้นจนไม่อาจเป็นไปตามที่วางแผนมากนัก ทำให้มีผลเหนี่ยวรั้ง GDP ของไทยด้วย การนำมาเป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจร่วมกับตัวเลขก่อนวิกฤต เหมารวม ๘ ปีจึงทำให้เกิดภาพที่บิดเบี้ยวไม่สะท้อนความเป็นจริง

เมื่อตรวจสอบในมิติที่ละเอียดขึ้น ให้ครอบคลุมการเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่เฟซบุ๊กพรรคเพื่อไทยระบุไว้ พบว่าประเทศที่ GDP สูงและเติบโตดีมากที่สุดในกลุ่มคืออินโดนีเซีย ตามมาด้วยไทย ส่วนประเทศที่เหลือนั้น GDP โตอยู่ข้างใต้เส้นกราฟของไทย ลักษณะกราฟการเติบโตของประเทศที่มีแนวโน้มดี (อินโดนีเซียและเวียดนาม) คือช่วงปลายโค้งขึ้นและตลอดเส้นไม่ค่อยสะดุด (อ้างอิงภาพของ Our World in Data)
https://ourworldindata.org/grapher/gross-domestic-product?tab=chart&country=IDN~BRN~KHM~LAO~MYS~PHL~THA~VNM~SGP

ตรงนี้เองที่มีข้อสังเกตว่า เส้น GDP ของไทยเริ่มชันตีคู่ขึ้นมาขนานอินโดนีเซียในสมัย พล.อ.เปรม โดยมีแรงส่งไปยังรัฐบาลต่อๆ ไปชัดเจน จากนั้นเกิดการสะดุดครั้งใหญ่ในวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นช่วงที่นายทักษิณ (บิดาแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย) เข้ามาเป็นรองนายกฯ จากนั้นเมื่อนายทักษิณเข้ามาเป็นนายกฯ เอง เส้น GDP ไทยเริ่มทิ้งตัวห่างลงมาจากอินโดนีเซีย หลังสมัยนายทักษิณ เส้น GDP สะดุดเรื่อยๆและทิ้งตัวห่างลงมาจากอินโดนีเซียมากขึ้นๆ จนเข้ามาสู่สมัย พล.อ.ประยุทธ์ (คสช.) เส้น GDP จึงเริ่มโค้งขึ้นอีกครั้ง จากนั้นทุกประเทศก็เข้าสู่วิกฤตโควิด และประสบสภาวะ GDP สะดุดเหมือนๆ กัน มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่เงื่อนไขและสถานการณ์ของแต่ละประเทศ

ณ จุดนี้ น่าจะเข้าใกล้คำตอบแล้วว่า #ใครทำให้GDPไทยสู้เพื่อนบ้านไม่ได้

ข้อพิสูจน์ที่น่าจะเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ว่าเหตุใด GDP ไทยเริ่มจะสู้เพื่อนบ้านไม่ได้ตั้งแต่สมัยนายทักษิณก็คือ ในยุคของนายทักษิณ มีการดำเนินการที่ทำให้เสถียรภาพทางการเมืองซึ่งมีผลต่อความมั่นคงของชาติตกต่ำดิ่งเหวลงไปจน Political Stability index อยู่ใต้ระดับ ๐ (percentile rank ต่ำกว่า ๕๐%) เป็นครั้งแรก ซึ่งมีผลเสียหายลากยาวถึงปัจจุบัน อันเนื่องมาจากยังคงมีภัยความมั่นคงของชาติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่งมาแก้ไขได้บางส่วนและดีขึ้นเรื่อยๆในสมัย พล.อ.ประยุทธ์ (อ้างอิงกราฟ Political Stability ของ Trading Economics) ซึ่งสอดคล้องกับเส้น GDP ที่เริ่มโค้งขึ้นก่อนวิกฤตโควิด
.
เสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงของชาติมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของชาติ ตามคำอธิบายที่ว่า “หากไร้ซึ่งสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคมที่มั่นคงและปลอดภัยแล้ว ก็ยากที่จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจใดๆ ความมั่นคงของชาติเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ...”
https://www.fso.gov.hk/eng/blog/blog20210418.htm
.
ยกตัวอย่างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจ ก็อยู่บนหลักที่ว่าประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองโดยทั่วไปจะดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศได้ดีกว่า
https://www.investmentmonitor.ai/features/fdi-drivers-and-political-stability

กราฟ FDI ของ Trading Economics แสดงชัดว่า FDI ของไทยเริ่มตกหลังจากเสถียรภาพทางการเมืองของไทยลดลงต่ำกว่า ๐ ในสมัยที่นายทักษิณบริหาร และเริ่มจะกลับมาดีขึ้นในสมัย พล.อ.ประยุทธ์

สำหรับสาเหตุที่ว่าทำไม Political Stability index ของไทยลดลงต่ำกว่า ๐ (percentile rank ต่ำกว่า ๕๐%) ในสมัยนายทักษิณนั้น กราฟ “ผลกระทบจากการลดงบประมาณทางการทหารยุคทักษิณ” ให้คำตอบที่ชัดเจน
-------------------------------------------------------------------

รัฐบาลลุงตู่ ผู้ฟื้นสัมพันธ์ ไทย-ซาอุฯ รอบ30 ปี

จากวิกฤติความสัมพันธ์ สู่ผลงานชิ้นโบแดง รัฐบาลลุงตู่ ผู้พื้นสัมพันธ์ ‘ไทย – ซาอุฯ’ รอบ 30 ปี
25 มกราคม 2565 การเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของ 'บิ๊กตู่' พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำเชิญของ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย นับเป็นการฟื้นความสัมพันธ์ประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียให้กลับมาอยู่ในระดับปกติอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ในรอบ 32 ปี 

ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่ผ่านการเตรียมการมานานกว่า 1 ปี ไม่นับรวมอุปสรรคจากสถานการณ์ระบาดของ โควิด-19 และช่วงก่อนหน้านั้นที่ พล.อ.ประยุทธ์ พยายามประสานเจรจากับทางซาอุดีอาระเบียด้วยตนเองในหลายโอกาส ตั้งแต่เวทีหารือ 3 ฝ่ายในช่วงการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) ครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม 2559 ที่กรุงเทพฯ  หรือในช่วงการประชุมผู้นำจี 20 ที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่นช่วงเดือนมิถุนายน 2562  ขณะที่ในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่าย ยังมีการพบหารือกันเป็นระยะเกี่ยวกับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน 

ย้อนรอยร้าวความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย มีจุดเริ่มจากการเกิดคดีฆาตกรรมนักการทูตซาอุดีอาระเบียถึง 4 คนในประเทศไทย เมื่อปี 2532-2533 ที่ทางการไทยไม่สามารถแจงผลการสอบสวนให้เป็นที่น่าพอใจไปยังซาอุดีอาระเบียได้  และในช่วงรอยต่อขณะนั้น ยังเกิดกรณีแรงงานไทย 'เกรียงไกร เตชะโม่ง' ขโมยชุดเครื่องเพชรจำนวนมากขณะเข้าไปทำงานในพระราชวังเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด แห่งซาอุดีอาระเบีย แต่การคลี่คลายคดีของตำรวจไทยกลับไม่เป็นไปในทางที่ดี ขณะที่การติดตามเครื่องเพชรเพื่อส่งคืนส่วนใหญ่ถูกระบุว่าเป็นของปลอม  

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ยังเกิดกรณี 'มูฮัมหมัด อัลลูไวรี่' นักธุรกิจและสมาชิกราชวงศ์ของตระกูลอัล-สะอูดหายตัวไป หลังถูกควบคุมตัวสอบสวนเหตุพัวพันคดีฆาตกรรมนักการทูต ซึ่งต่อมามีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยจำนวนหนึ่งในข้อหา 'อุ้มหาย' กรณีนี้กลายเป็นฟางเส้นสุดท้าย ทำให้ทางการซาอุดิอาระเบียไม่พอใจถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย ห้ามประชาชนของซาอุดิอาระเบียเดินทางมาประเทศไทย และลดระดับความร่วมมือระดับสูงในทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุด

ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยแทบทุกชุด ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหารอยร้าวของสองชาติ แต่ซาอุฯ ไม่เคยใจอ่อนให้ไทย จนกระทั่งมาบังเกิดผลสำเร็จ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเป็นผลสำเร็จ เปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านแรงงาน ด้านอาหาร ด้านสุขภาพ ด้านพลังงาน ด้านการศึกษาและศาสนา ด้านความมั่นคง ด้านกีฬา และด้านการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ฝ่าย

‘ผู้ช่วยรัฐมนตรีแรงงาน’ ต้อนรับ สมาชิกวุฒิสภาแห่งสภารัฐวิกตอเรีย หารือกระชับความสัมพันธ์ด้านแรงงานไทย - ออสเตรเลีย

วันที่ 18 เมษายน 2566 นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นางเบฟเวอร์ลี่ แมคอาเธอร์ (Mrs.Beverley McArrthur) ดร.เรนี ฮีธ (Dr.Renee Heath) และนายนิโคลัส แมคโกเวน (Mr.Nicholas McGowan) สมาชิกวุฒิสภาแห่งสภารัฐวิกตอเรีย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการด้านแรงงาน โดยมี นายมานิตย์ พรหมการรีย์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องตรีเทพ 1 ชั้น 12 กรมการจัดหางาน อาคารกระทรวงแรงงาน 

นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมถึงความสัมพันธ์ทั้งในด้านการศึกษา การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยกระทรวงแรงงาน พร้อมทำงานเพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์ด้านแรงงานระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะ มีโอกาสเดินทาง ไปราชการ ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เพื่อแสวงหาความเป็นไปได้ในการดูแลแรงงานไทย ในออสเตรเลีย ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสม ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย รวมทั้ง การผลักดันโอกาสในการจ้างงานให้แก่คนไทยในออสเตรเลีย โดยได้มีโอกาสหารือกับท่านรัฐมนตรี เบรนดัน โอคอนเนอร์รัฐมนตรีด้านทักษะและการฝึกอบรม กระทรวงการจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ ออสเตรเลีย และแอนดริว ไจลส์ รัฐมนตรีด้านการตรวจคนเข้าเมือง สถานะพลเมือง และกิจการพหุ วัฒนธรรม ด้วย 

‘พงษ์ภาณุ’ ชี้สงครามการค้า ‘สหรัฐฯ - จีน’ พาอุตฯ หลัก แห่ย้ายฐานการผลิต ชี้!! ‘อินโดฯ - เวียดนาม’ ที่มั่นใหม่ แนะ!! ‘ไทย’ เร่งคว้าโอกาสก่อนตกขบวน

สงครามการค้า 'จีน-สหรัฐฯ' ระเบียบโลกสั่นคลอน โลกาภิวัฒน์ถดถอย อินโดนีเซียและเวียดนามได้ประโยชน์เต็มๆ จากนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาด แล้วไทยจะยืนอยู่ตรงไหน???

(30 เม.ย.66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคอาเซียน ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 66 โดยระบุว่า...

จากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งสหรัฐฯ มองว่า จีน จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญทั้งในด้านเทคโนโลยีและการทหาร เพราะฉะนั้น ทางสหรัฐฯ จึงได้แบนสินค้าจากจีน ด้วยการอ้างเหตุผลสารพัด ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จนถึงปัจจุบัน แม้จะเปลี่ยนผู้นำคนใหม่แล้ว สถานการณ์ก็ยังคงเหมือนเดิม 

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่การแบนสินค้าจากจีนเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมา แบรนด์สินค้าจากฝั่งสหรัฐฯ ที่เคยมีฐานการผลิตใหญ่อยู่ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล ไนกี้ และอีกหลายแบรนด์ ก็ได้เริ่มทยอยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะมองว่า ฐานการผลิตในจีนเริ่มไม่มีความมั่นคง ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีระบบการปกครองที่เป็นเผด็จการ ธุรกิจในประเทศถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง มีความสุ่มเสี่ยงมากขึ้น

แน่นอนว่า หากแบรน์ใหญ่ ๆ เหล่านี้ เลือกฐานการผลิตประเทศใด ย่อมสร้างรายได้ และสร้างงานให้กับประเทศนั้น ๆ ได้อย่างมหาศาล ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนต่างพยายามนำเสนอจุดแข็งของประเทศเพื่อดึงดูเม็ดเงินการลงทุนจากแบรนด์สินค้าเหล่านั้น

นายพงษ์ภาณุ ระบุว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มองว่ามีอยู่ 2 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะได้รับผลประโยชน์อย่างสูงมากกว่าชาติอื่น ๆ นั่นก็คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม 

เหตุที่มองเช่นนั้น เพราะว่า ประธานาธิบดี โจโค วิโดโด หรือ โจโควี ของอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้นำประเทศมา 10 ปี และกำลังจะครบเทอมในปีหน้า เป็นคนที่วางตำแหน่งประเทศอินโดนีเซียได้ยอดเยี่ยมมาก...

ข้อแรก วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เปิดเสรีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเต็มที่

ข้อสอง เป็นประเทศที่มีนโยบายการต่างประเทศที่เป็นอิสระ ที่สำคัญตัวผู้นำประเทศยังสามารถคุยได้กับทุกฝ่าย นับเป็นผู้นำประเทศเพียงไม่กี่คนที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้นำถึง 4 ประเทศ ประกอบด้วย โจ ไบเดน, สีจิ้นผิง, วลาดีมีร์ ปูติน และ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ในปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นคนเดียวที่มีโอกาสพบผู้นำ 4 คนภายในปีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้นำประเทศอินโดนีเซียคนนี้ ได้รับการยอมรับมากเพียงใด

'มูเตลูไทย' ซอฟต์พาวเวอร์สุดโดนใจ 'ชาวเมียนมา-ชาวโลก' มาไทยทีไร 'ต้องแวะ-ต้องไหว้' กระจายรายได้ถ้วนหน้า

ในช่วงที่กระแสซอฟต์พาวเวอร์ไทยกำลังดังไปสู่สากลเอย่า เลยถือโอกาสมาเล่าหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ที่หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้ว แต่อีกหลายคนคาดไม่ถึงว่า (เฮ้ย...จริงดิ) 

แต่วันนี้เอย่าขอแนะนำ มูเตลูซอฟท์พาวเวอร์ไทยในแบบที่คนเมียนมาเขาชอบมากันสักเล็กน้อย เพราะปกติเราต้องยอมรับว่าคนไทยไปเที่ยวเมียนมาปีๆ หนึ่งจำนวนไม่น้อย ส่วนหนึ่งที่อยากไปคือ ไปไหว้พระ เที่ยวเจดีย์ ขอพรเทพทันใจ รวมถึงการไปดูดวงในเมียนมา ที่แม้ว่าหมอดูอีทีจะจากไปแล้ว แต่ก็ยังมีหมอดูคนอื่นๆ อีกหลายคนที่เป็นหมอดูยอดนิยมในเมียนมา 

แต่วันนี้เราจะละเรื่องนี้ไว้ก่อน และมาดูกันบ้างว่ามูเตลูที่เป็นซอฟต์พาวเวอร์ไทยสุดนิยมของคนเมียนมานั้นคืออะไร? ซึ่งเริ่มแรกก็หนีไม่พ้น 'พระพรหมเอราวัณ' ตรงแยกราชประสงค์ที่ต้องยกให้เป็นอันดับ 1 เพราะไม่ว่าชาติไหนๆ หรือนับถือศาสนาใดๆ ต่างก็มากราบไหว้ขอพรให้สมหวัง

ต่อมาคือ 'พระแก้วมรกต' ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ที่สาธุชนชาวอาเซียนโดยเฉพาะเมียนมามีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์มากจนมีชื่อในภาษาพม่าว่า 'เมียตพะยา' และคนเมียนมาส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวไทยก็อยากไปกราบสักการะเพื่อเป็นมงคลในชีวิตสักครั้ง

'กุมารทอง' เป็นหนึ่งในเครื่องลางของขลังที่มีความเชื่อในกลุ่มชาวจีนทั้ง จีนแผ่นดินใหญ่ จีนฮ่องกง รวมถึงจีนโพ้นทะเล โดยเชื่อว่าวิญญาณกุมารจะช่วยให้ธุรกิจของผู้บูชาร่ำรวยประสบความสำเร็จ

‘บิ๊กตู่’ จ่อ ฟื้นประชุม JTC หลังการค้าไทย-อินเดียคืบหน้า หวังแก้อุปสรรคทางการค้า หนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น

(4 พ.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันความร่วมมือด้านการค้าระหว่างไทยกับอินเดียจนมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยเมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย – อินเดีย ครั้งที่ 13 ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ถือเป็นการประชุมครั้งแรกในรอบ 20 ปี นับจากการประชุมเมื่อปี 2546

นายอนุชา กล่าวว่า การประชุม JTC ถือเป็นกลไกสำคัญในการหารือแนวทางการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งในปี 2563 ไทยและอินเดียตกลงรื้อฟื้นการประชุม JTC ขึ้นใหม่ ภายหลังว่างเว้นมานานเกือบ 2 ทศวรรษ เนื่องจากทั้งสองประเทศเข้าสู่การเจรจา FTA ไทย – อินเดีย และ FTA อาเซียน – อินเดีย โดยการประชุม JTC ในครั้งนี้ มีวาระการหารือที่สำคัญเกี่ยวกับการลดอุปสรรคทางการค้า และส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับอินเดีย

สำหรับผลลัพธ์การประชุมในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในหลักการที่จะใช้การลงนามและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า รวมทั้งผลักดันการใช้ QR Code ผ่านการเชื่อมโยงระบบ Unified Payments Interface (UPI) ของอินเดียกับระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของไทย เพื่อรองรับการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการถ่ายทำภาพยนตร์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top