Monday, 29 April 2024
ไทย

‘บิ๊กตู่’ เปิดทำเนียบต้อนรับ ‘เอกอัครราชทูตอินเดียฯ’ พร้อมหารือ ‘ความร่วมมือ-กระชับสัมพันธ์’ ในทุกมิติ

นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตอินเดียฯ กระชับความสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน พร้อมผลักดันมูลค่าทางการค้าและการลงทุน ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และความเชื่อมโยง

(9 ม.ค. 66) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายนาเคศ สิงห์ (H.E. Mr. Nagesh Singh) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินเดียประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่

นายกรัฐมนตรี กล่าวกับยินดีกับนายนาเคศ สิงห์ ในโอกาสที่รับหน้าที่ในประเทศไทย โดยไทยและอินเดียมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และความร่วมมือทุกมิติ หวังว่าเอกอัครราชทูตอินเดียฯ จะช่วยยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคตให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเสริมสร้างความร่วมมือในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพ ทั้งนี้ ไทยพร้อมให้การสนับสนุนเอกอัครราชทูตอินเดียฯ ในการปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งการเมือง ความมั่นคง การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความร่วมมือกรอบพหุภาคี พร้อมฝากความปรารถนาดีถึงประธานาธิบดีแห่งอินเดีย นายกรัฐมนตรีอินเดีย และประชาชนชาวอินเดียในโอกาสปีใหม่ด้วย 

ด้านเอกอัครราชทูตอินเดีย กล่าวยินดีที่ได้พบปะกับนายกรัฐมนตรี พร้อมนำคำทักทายและคำอวยพรจากนายกรัฐมนตรีอินเดียมายังรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีด้วย เชื่อมั่นว่าการเข้ารับหน้าที่ในไทยจะเป็นโอกาสกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นมิตรประเทศที่สำคัญของอินเดีย มีความใกล้ชิดระหว่างกันอย่างลึกซึ้งทั้งทางวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ และศาสนา โดยนโยบายของไทยที่ดำเนินนโยบายมุ่งตะวันตก (Look West Policy) กับนโยบายรุกตะวันออก (Act East Policy) ของอินเดีย มีความสอดคล้อง เป็นประโยชน์กับไทยและอินเดีย จึงยินดีร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทุกมิติ

จากนั้น ทั้งสองฝ่ายหารือถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

- ความร่วมมือด้านการเมือง ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องผลักดันการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันเพิ่มขึ้นในทุกระดับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่านายกรัฐมนตรีอินเดียจะตอบรับการเยือนไทย โดยไทยพร้อมต้อนรับนายกรัฐมนตรีอินเดียเยือนไทย และเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BIMSTEC ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในช่วงเดือนสิงหาคมปีนี้ ด้านเอกอัครราชทูตอินเดียฯ พร้อมผลักดันการแลกเปลี่ยนการเยือนทุกระดับ รวมถึงยืนยันสนับสนุนการเป็นประธาน BIMSTEC ของไทย

- ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เอกอัครราชทูตอินเดียฯ ยินดีที่ชาวอินเดียมาท่องเที่ยวไทยเกือบ 1 ล้านคนในปี 2565 ซึ่งชาวอินเดียจำนวนมากนอกจากจะเดินทางมาท่องเที่ยวแล้ว ยังชื่นชอบเดินทางมาไทยเพื่อจัดงานแต่งงานอีกด้วย เอกอัครราชทูตอินเดียฯ จึงยินดีส่งเสริมการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนของไทยและอินเดียให้มากขึ้น ด้านนายกรัฐมนตรีหวังว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวจากอินเดียมาไทยปีละ 2 ล้านคน เหมือนช่วงก่อนหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  

- ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายต่างยินดีที่มูลค่าการค้าไทยและอินเดียเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2564 โดยในเดือน ม.ค. - พ.ย. 2565 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ากว่า 16.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 21 ซึ่งเอกอัครราชทูตอินเดียฯ กล่าวว่าทั้งสองฝ่ายยังมีศักยภาพที่จะเพิ่มการค้าและการลงทุนในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายเชี่ยวชาญและสนใจระหว่างกัน ด้านนายกรัฐมนตรีหวังว่านักธุรกิจอินเดียจะพิจารณาลงทุนใน EEC โดยเฉพาะในธุรกิจด้านยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ การบิน และโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล และการแพทย์ครบวงจร

‘ทีมชาติไทย’ เปิดบ้านถล่มมาเลเซีย ‘3-0’ ทะยานเข้ารอบชิงแชมป์อาเซียนคัพ 2022

ทีมชาติไทย เปิดบ้านถล่มมาเลเซีย 3-0 สกอร์รวม 3-1 ทะลุเข้ารอบชิงแชมป์อาเซียนคัพ ไปพบกับเวียดนามที่ มี ดินห์ สเตเดียม ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ และจะได้กลับมาเตะที่ธรรมศาสตร์ รังสิต ในวันที่ 16 ม.ค.2566

(10 ม.ค. 66) ทีมชาติไทย เปิดบ้านพบกับ มาเลเซีย ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน รอบรองชนะเลิศ นัดที่ 2 ที่ สนาม ธรรมศาสตร์ โดยเกมแรกมาเลฯ ชนะมา 1-0

เกมนี้ มาโน โพลกิ้ง ใช้ชุดเดิมเกือบทั้งหมด แต่มีการเปลี่ยนแค่ตำแหน่งประตูตำแหน่งเดียวเป็น กัมพล ปฐมอรรฆย์กุล ที่ลงแทน กิตติพงศ์ ภูแถวเชือก ส่วนตัวหลักยังมีทั้ง ธีราทร บุญมาทัน และ ธีรศิลป์ แดงดา ด้าน คิม พัน กอน เกมนี้ ใช้ ดาร์เรน ล็อค เป็นหน้าเป้า พร้อมมี ไฟซอล ฮาลิม สนับสนุน

เริ่มเกมมาไทยบุกอย่างหนัก และนาที 16 มาได้ลุ้นจากจังหวะที่ ธีรศิลป์ แดงดา โหม่งตั้งให้ บดินทร์ ผาลา ลากไปยิงด้วยซ้ายติดเซฟกระเด้งออกมา

พบ 'โลมาอิรวดี' ตายเกยตื้นที่บางขุนเทียน ด้าน จนท. เข้าตรวจสอบ แต่ระบุสาเหตุการตายไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้ เพจ 'กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการพบซากโลมาอิรวดีตายเกยตื้น บริเวณคลองสะพานรักษ์ทะเล บางขุนเทียน แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุการตายได้เนื่องจากสภาพเน่ามาก โดยระบุว่า...

วันที่ 17 มกราคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก (ศวบอ.) ได้รับการประสานจากสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 กรณีเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก คุณโสภิณ จินดาโฉม พบซากโลมาเกยตื้น บริเวณคลองสะพานรักษ์ทะเล บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 

'บิ๊กตู่' จัดงานเฉลิมฉลอง 'ปีแห่งนวัตกรรมไทย-ฝรั่งเศสปี 2566' ตอกย้ำ!! ความร่วมมือ 'นวัตกรรมไทย-ฝรั่งเศส' เป็นรูปธรรม

(26 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและฝรั่งเศสขับเคลื่อนความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างกันอย่างต่อเนื่องจนเป็นรูปธรรม ผ่านการจัดงานเฉลิมฉลอง ‘ปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศสปี 2566 (2023 Thailand - France Year of Innovation)’ ในวันที่ 26 มกราคม 2566 ณ สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร

นายอนุชา กล่าวว่า ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมายาวนาน และมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหลายมิติ ซึ่งความร่วมมือด้านนวัตกรรมก็เป็นอีกมิติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยทั้งสองฝ่ายได้กำหนดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศส เป็นการขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องมาจากการเดินทางเยือนไทยของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง เมื่อเดือนพ.ย.2565 ที่ผ่านมา โดยสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องของไทยและฝรั่งเศส ได้ประสานความร่วมมือกัน และมุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกันในมุมมองที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันของทั้งสองประเทศ

'โซนี่’ ย้ายสายการผลิตกล้องถ่ายรูปจากจีนมาไทย สำหรับขายในตลาด ‘สหรัฐฯ-ยุโรป-ญี่ปุ่น’

(29 ม.ค.66) เว็บไซต์ นสพ. Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น เสนอข่าว Sony separates production of cameras for China and non-China markets ระบุว่า โซนี่ บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ตัดสินใจแยกสายการผลิตกล้องถ่ายรูปสำหรับจำหน่ายในตลาดสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป และประเทศญี่ปุ่น ย้ายออกจากจีนมายังประเทศไทย เพื่อปกป้องระบบห่วงโซ่อุปทานโดยการลดการพึ่งพาจีน โดยโรงงานโซนี่ที่ประเทศจีนจะผลิตกล้องสำหรับจำหน่ายในตลาดจีน

ในปัจจุบัน กล้องของโซนี่ถูกส่งออกจากโรงงานในจีนและไทย ไซต์ดังกล่าวจะคงไว้ซึ่งโรงงานผลิตบางส่วนเพื่อนำกลับมาออนไลน์ในกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้ นับตั้งแต่เริ่มเกิดสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โซนี่ได้ย้ายสายการผลิตกล้องถ่ายรูปสำหรับตลาดสหรัฐฯ เป็นแห่งแรก ต่อมาจึงเป็นการย้ายสายการผลิตสำหรับตลาดญี่ปุ่นและยุโรปในช่วงปลายปี 2565

รายงานของยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor) บริษัทวิจัยตลาดข้ามชาติซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ พบว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา กล้องถ่ายรูปแบบมิเรอร์เลสของโซนี่ ซีรีส์อัลฟา ขายไปได้ถึง 2.11 ล้านตัว แต่ในจำนวนนี้มาจากตลาดจีนเพียง 1.5 แสนตัว ส่วนที่เหลืออีกราวร้อยละ 90 เป็นตลาดอื่น ๆ นั่นหมายความว่าสายการผลิตกล้องของโซนี่ส่วนใหญ่ย้ายจากจีนไปไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางโซนี่ได้ชี้แจงว่า ยังให้ความสำคัญกับตลาดจีนและยังไม่มีแนวคิดเรื่องการออกจากตลาดดังกล่าว นอกจากนั้น โรงงานของโซนี่ในจีน จะยังคงผลิตสินค้าอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอเกม และเลนส์กล้องถ่ายรูป สำหรับส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ

ย้อนประวัติศาสตร์ เมื่อครั้ง 'กัมพูชา' บ้านแตกสาแหรกขาด จนต้องหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย

เมื่อวานนี้ (11 ก.พ. 66) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเรื่อง ‘กัมพูชาภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารองค์พระมหากษัตริย์ไทย’ มีเนื้อหาระบุว่า

กัมพูชาหรือ Cambodia หรือ เคลมโบเดีย ในช่วงนี้อาจจะเคลมตั้งแต่มวยไทย โขนไทย ไปจนถึงห่อหมกของไทย อาจจะถูกเคลมว่าเป็นของกัมพูชา แต่คนไทยจำนวนมากอาจจะไม่เคยทราบว่ากัมพูชาเคยเป็นประเทศราชของไทย อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์พระมหากษัตริย์ไทยมายาวนาน และกษัตริย์ของคนกัมพูชาเองก็เคยพลัดบ้านพลัดเมือง พลัดถิ่นฐานบ้านเกิดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย เหมือนที่ประชาชนชาวกัมพูชานับล้านนับแสนคนเคยหนีร้อนมาพึ่งเย็นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเมื่อคราวเขมรแตกเช่นเดียวกัน

นักองค์เอง หรือ สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 105 แห่งกัมพูชา แต่ทรงเป็นพระราชโอรสบุญธรรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ของไทย เมื่อคราวเกิดความวุ่นวายในกัมพูชา นักองค์เองพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา ก็ต้องหนีราชภัยเข้ามาอาศัยในกรุงเทพมหานคร รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างวังเจ้าเขมรพระราชทานให้อยู่อาศัย พระราชทานให้ทรงพระผนวช หลังจากรัชกาลที่ 1 ทรงสังคายนาเหตุการณ์ความวุ่นวายในกัมพูชาได้สำเร็จ ทรงให้นักองค์เองกลับไปครองราชย์สมบัติที่กัมพูชา แต่นักองค์เองครองราชย์ได้ไม่นานก็ประชวรสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2339 รวมพระชนมายุเพียง 23 พรรษาเท่านั้น 

ต่อมานักองค์จันทร์พระราชโอรสของนักองค์เองได้ทรงครองราชย์ต่อจากนักองค์เอง แม้นักองค์จันทร์จะได้รับการสนับสนุนจากสยาม แต่ทรงฝักใฝ่และถูกแรงบีบคั้นจากเวียดนามอีกด้วย ทำให้กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม 

โอรสอีกองค์หนึ่งของนักองค์เองคือนักองค์ด้วงได้หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ของไทย นักองค์ด้วงเติบโตมาในวังเจ้าเขมรของนักองค์เองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างพระราชทานไว้ 

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปตีเขมรและปราบปรามความวุ่นวายในกัมพูชาจนราบคาบสงบลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นักองค์ด้วงไปทรงครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาหลังจากเสด็จมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในกรุงเทพกว่า 27 ปี ได้รับการสถาปนาโปรดเกล้าให้ทรงครองราชย์ที่สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี พระมหากษัตริย์องค์ที่ 108 ของกัมพูชา 

นักองค์ด้วงนั้นทรงเป็นพระราชบิดาของทวดของสมเด็จพระนโรดมสีหนุ หรือ เจ้าสีหนุ กษัตริย์องค์ที่ 112 ของกัมพูชา และสมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันของกัมพูชา

ทั้งนี้กัมพูชาเป็นประเทศราชของไทยอยู่เกือบร้อยกว่าปีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนไทยจะเสียดินแดนกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นกัมพูชาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักองค์ด้วงซึ่งทรงเติบโตในกรุงเทพกว่า 27 ปี เมื่อทรงกลับไปครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาแล้วก็ทรงนำศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักไทยกลับไปยังกัมพูชาด้วย ยกตัวอย่างเช่น โขน ละคร และนาฏยศิลป์ของกัมพูชานั้นได้ครูโขนและครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนและถ่ายทอดท่ารำ และแม้กระทั่งบทร้องบทละครก็ได้รับอิทธิพลไปจากไทยทั้งสิ้นดังที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ และคุณชายคึกฤทธิ์ ได้เขียนกลอนบริภาษเขมรเอาไว้ว่า

รวบคาด่าน!! จนท. สกัดจับ 'ชาวจีน' ที่เชียงราย ลอบข้ามแดนไทย ก่อน 2 ผู้นำชาวไทย พามุ่งหน้าตรงไปเชียงใหม่

จนท.สกัดจับ ชาวจีนนั่งเรือไฟฟ้าลอบข้ามแดนเข้าพักรอเชียงราย ก่อน 2 ผู้นำพาชาวนครนายกและดอยหลวง รับขึ้นรถมุ่งหน้าเชียงใหม่

(11 มี.ค.66) พล.ต.ต.ดุลเดชา อาชวะสมิตตระกูล ผบก.ภ.จว.เชียงราย พ.ต.อ.ณัฏฐวุุฒิ ยุววรรณ รอง ผบก.ภ.จว.เชียงราย พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ จิตรประสาร ผกก.สภ.แม่สรวย จ.เชียงราย มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวชายชาวมณฑลฝูเจี้ยน สป.จีน 3 คน คือ นายหวาง เหวิน ซิน อายุ 20 นายอี้ชงฉ่าง อายุ 30 ปี และนายอี้ฟูไห่ อายุ 34 ปี ดำเนินคดีในข้อหาว่า “เป็นต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย”

และผู้ต้องหาคนไทย 2 คน คือนายวงศกร (สงวนนามสกุล) อายุ 49 ปี ชาว ต.ป่าขะ อ.บ้านนา จ.นครนายก และนายธวัชชัย (สงวนนามสกุล) อายุ 45 ปี ชาวต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ดำเนินคดีในข้อหา “เป็นผู้นำพาต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายฯ”

อว. ผนึก บริติช เคานซิล จัดโครงการ ‘Thai-UK World-class University Consortium’ สร้างความก้าวหน้ามหาวิทยาลัยไทย สู่การแข่งขันในระดับโลก

(13 มี.ค.) นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อรุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์, รศ.ดร.รัฐชาติ มงคลนาวิน และ ผศ. ดร.มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร ได้นำคณะทำงาน Thai-UK Work Class Consortium ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าและตัวแทนโครงการ อีก 6 โครงการ จาก 5 มหาวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยน ความร่วมมือ ด้านงานวิจัยและการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 3 มีนาคม 2566

สำหรับโครงการ Thai-UK World-class University Consortium เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และบริติช เคานซิล ประเทศไทย เพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและสหราชอาณาจักรและเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยไทยในการแข่งขันในระดับโลก โดยมีโครงการ UK Visit Trip ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการ Thai-UK World-class University Consortium ด้วย

โดยโครงการ Thai-UK World-class University Consortium มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกลไกในการเพิ่มความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการกับลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและสหราชอาณาจักร ผ่านการแลกเปลี่ยนกับแหล่งทุนสำคัญ และเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของระบบการเรียนการสอน การวิจัยและระบบบริหารมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพผ่านการพัฒนาบุคลากรด้วยความเชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักร 

เมื่อวันที่ 27 ก.พ.66 ที่ผ่านมา ทางคณะทำงานได้ไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับ De Monfort University ณ เมือง Leicester โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ หลักสูตรและการจัดการศึกษาที่สามารถให้ภาคธุรกิจและเอกชนในพื้นที่และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาผ่านการฝึกงานและนำโจทย์ของภาคธุรกิจและเอกชนมาเป็นส่วนหนึ่งของงานที่สามารถให้นักศึกษานำมาใช้เป็นแบบฝึกหัดในหลักสูตร การทำให้ภาคธุรกิจและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมนี้นอกจากช่วยเพิ่มโอกาสในการถูกจ้างงานของนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจและเอกชนเพื่อให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและเพิ่มโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านงานวิจัยและนวัตกรรม

นอกจากนั้นทาง De Monfort University ยังได้นำเสนอรูปแบบความร่วมมือที่มีกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในการทำหลักสูตรสองปริญญาในสาขา Media Production และ Cyber Security ซึ่งทาง De Monfort University ยังมีความสนใจที่จะขยาย ความร่วมมือไปสู่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในโครงการ Thai-UK Work Class Consortium อีกด้วย

ถัดมาวันที่ 28 ก.พ.66 ทางคณะทำงานได้ไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับ Norwich Research Park, University of East Anglia ณ เมือง Norwich ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางบูรณาการความร่วมมือระหว่างงานวิจัยและนวัตกรรมแบบสหสาขาทั้งทางวิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, สุขภาพ, สังคม และเศษฐศาสตร์  โดย Research Park เน้นงานวิจัยและนวัตกรรม 4 ด้านหลัก ได้แก่ : Industrial Biotechnology, Agriculture Technology, Food Technology และ Medical Technology ทั้งนี้ทางคณะทำงานมีโอกาสได้เยี่ยมชมศูนย์วิจัยที่บูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพผ่านนวัตกรรมด้านอาหาร โดยเน้นงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ

วันที่ 1 มี.ค.66 ทางคณะทำงานได้เข้าพบ Ms. Kate McAlister, Head of Quality Stakeholder Management, Office for Students ณ กรุงลอนดอน เพื่อรับฟังประสบการณ์ และนโยบายในการกำหนด Teaching Excellence Framework (TEF) ของอังกฤษโดยทางหน่วยงานมีหน้าที่ในการรับรองและตรวจสอบคุณภาพสถาบันการศึกษาต่างๆ ในสหราชอาณาจักร และมีการประเมินคุณภาพด้านการเรียนการสอนโดยมองที่ผลลัพธ์ของการศึกษา เช่น อัตราการจบและอัตราการมีงานทำ เป็นต้น

โดยช่วงบ่าย วันที่ 1 มี.ค.66 ทางคณะทำงาน ได้ไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับ University of Essex ที่เมือง Colchester ในการเยี่ยมศูนย์ Innovation Center ซึ่งเป็นหน่วยงานด้าน Knowledge Transfer Partnership (KTP) โดยหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลและเน้น การสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านธุรกิจ โดยได้รับโจทย์จากภาคธุรกิจและวางแผนร่วมกับภาคเอกชนเพื่อขอรับทุนด้านนวัตกรรมจากแหล่งทุน เช่น Innovate UK โดยการขอการสนับสนุนจากแหล่งทุนนั้นจะทำให้ สามารถจ้างนักนวัตกรได้  ซึ่งนักนวัตกรนี้จะได้รับคำแนะนำและการดูแลจากอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยเพื่อทำการวิจัยและหลังเสร็จสิ้นโครงการก็สามารถถูกจ้างต่อโดยหน่วยงานเอกชนที่รับทุนร่วมกัน รูปแบบการทำแบบงานนี้ถือเป็นต้นแบบของ KTP ที่ทำให้ศูนย์และ University of Essex ประสบความสำเร็จจนเป็นอันดับหนึ่งของสหราชอาณาจักรด้าน KTP

ต่อมา วันที่ 2 มี.ค.66 ทางคณะทำงานได้เข้าพบตัวแทนจาก University of Liverpool ณ เมือง Liverpool นำโดย Professor Steven Edwards ซึ่งท่านได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความสำเร็จในการทำหลักสูตรปริญญาเอกสองปริญญา (Dual Award Degree Program) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ความร่วมมือนั้นมีมานานกว่า 10 ปี โดย มีจุดเด่น ของความร่วมมือ คือ สามารถให้นักศึกษาไทยมาศึกษาใน University of Liverpool โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการศึกษา (Tuition fee) ให้แก่ University of Liverpool และการเทียบมาตรฐานต่าง ๆ ที่สามารถทำให้นักศึกษาสามารถได้รับปริญญาจากทั้งสองสถาบันตามกำหนด

ช่วงบ่าย วันที่ 2 มี.ค.66 ทางคณะทำงานได้เข้าพบตัวแทนจาก Liverpool John Moores University  ณ เมือง Liverpool  เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษา และงานวิจัย นำโดย Professor Laura Bishop คณบดีจากคณะวิทยาศาสตร์ โดย ทางคณะวิทยาศาสตร์นั้นมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport and Exercise Science) และเภสัชศาสตร์ (Pharmacy)

และวันที่ 3 มี.ค.66 ทางคณะทำงาน ได้พบปะกับตัวแทนคู่ความร่วมมือใน UK ณ British Council กรุงลอนดอน การจัดประชุมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ในสหราชอาณาจักรจำนวน 14 ท่าน จาก 10 มหาวิทยาลัยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการประชุมเชิงปฏิบัติการในการถอดบทเรียนและกำหนดทิศทางการดำเนินงานโครงการ Thai-UK Work Class Consortium ในระยะต่อไป  

ในที่ประชุม ได้ทบทวนผลลัพธ์การการดำเนินงาน Thai-UK World-class University Consortium ในปีแรก ที่มีผลลัพธ์เป็น MOU 9 ฉบับ, งานตีพิมพ์ 17 เรื่อง, การจัดประชุมวิชาการ 9 ครั้ง และ การได้ทุนวิจัย อีก 5 ทุน โดยมี อาจารย์และนักศึกษา ที่ได้มีส่วนร่วมจากโครงการนี้มากกว่า 500 ท่าน  ซึ่งทางที่ประชุมได้สรุปว่า ลักษณะผลงานดังกล่าวได้เป็นไปตามเป้าหมาย ของโครงการ  ในส่วนการถอดบทเรียนนั้น ทางคณะทำงาน ทั้งจากไทย และ สหราขอาณาจักร ได้กล่าวถึง ความสำคัญของโครงการ ในการเป็นตัวเชื่อม และ ตัวเร่งให้เกิดความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหราชอาณาจักร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ และนักศึกษา และ ดำเนินงานวิจัยร่วมกัน  โครงการยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนมีเสียงเรียกร้องให้มีการขยาย มหาวิทยาลัยเครือข่ายในความร่วมมือ  อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้สะท้อนความกังวล ถึงการดำเนินงานต่อเนื่องที่จำเป็นต้องการ การสนับสนุนจากแหล่งทุน จากไทย และ ต่างประเทศ 

ที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรทำการสื่อสารกันภายใน Thai-UK World-class University Consortium ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือสำหรับสมาชิก และเสนอให้มีการทำ Newsletter เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องรวมถึง โอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ  และ ควรจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างโอกาสในการหารือความร่วมมือต่างๆ โดยจะใช้โอกาสที่ทางโครงการจะจัด Capacity building workshop ที่กรุงเทพฯ เป็นโอกาสให้สมาชิก Thai-UK World-class University Consortium มาพบปะกัน ซึ่งทางตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการ (secretariat) ได้รับไปประสานงานในทั้งสองประเด็นต่อไป

นายกฯ ยินดี ‘ไทย-กานา’ ขยายความร่วมมือด้านเกษตร เดินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-เกษตรทฤษฎีใหม่

ไทย-กานา ขยายความร่วมมือด้านเกษตรกรรม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-เกษตรทฤษฎีใหม่  

(16 มี.ค.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ประเทศกานามีความสนใจในแนวทางพระราชดำริว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยกเป็นต้นแบบพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนใจการทำการเกษตรแบบ BCG Model นายกรัฐมนตรียืนยันไทยพร้อมสนับสนุนเทคโนโลยี องค์ความรู้ ให้คำแนะนำ และผลักดันความร่วมมือสู่ความสำเร็จระหว่างประเทศ

ประเทศกานา มีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งประเทศกานาสนใจในแนวทางพระราชดำริว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบ BCG Model โดยกานาชื่นชมโครงการ “ข้าวรักษ์โลก” ของไทยที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และเป็นแนวทางใหม่ของการทำเกษตรกรรมโลก ซึ่งโครงการข้าวรักษ์โลก เป็นต้นแบบการปฏิวัติการทำนาแบบยั่งยืนตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางไว้ จากแนวคิดการผลิตข้าวแบบใหม่ โดยการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้เพื่อการผลิตและลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต ข้าวที่ได้มีคุณภาพสูง และสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากโครงการข้าวรักษ์โลกตอบโจทย์กระแสผู้บริโภคในโลกยุคปัจจุบัน ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

WOAH ประกาศไทย ปลอดกาฬโรคแอฟริกาในม้า ชี้!! ช่วยส่งผลบวก 'เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว'

(3 เม.ย.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ขอบคุณการทำงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้องค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organisation for Animal health: WOAH) ชื่นชมการทำงานของไทย และคืนสถานะให้ประเทศไทยเป็นประเทศปลอดกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse sickness: AHS) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top