Wednesday, 17 April 2024
COLUMNIST

วิทยาศาสตร์กับการใช้ “ถุงดำคลุมหัว” ความทรมานที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับมนุษย์!!

เมื่อประมาณ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ข่าวที่คิดว่าทุกคนรู้สึกหดหู่และสะเทือนใจมากที่สุด เมื่อได้เห็นคลิปหรือได้รับฟังข่าว นั่นก็คือการที่ตำรวจใช้ถุงดำคลุมหัวผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติด โดยในภาพคือตำรวจหลายคนใช้ถุงพลาสติกสีดำคลุมหัวผู้ต้องสงสัยที่ถูกกุญแจมือ ที่พยายามดิ้นทุรนทุรายด้วยความทรมานในเฮือกสุดท้าย เพื่อเอาตัวรอดให้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้ อย่างทรมาน จนกระทั่งเขาแน่นิ่งและเสียชีวิตไปในที่สุด ซึ่งเป็นภาพที่สะเทือนใจกับผู้ที่ดูคลิปวิดีโอที่สุด และที่ผ่านมาก็มีข่าวลักษณะการฆ่าตัวตายของคนโดยการใช้ถุงดำคลุมหัวและใช้เชือกรัดที่คอไว้เพื่อให้สิ้นใจตาย หรือแม้กระทั่งข่าวครูโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งทำโทษนักเรียนเพื่อให้นักเรียนกลัวโดยการใช้ถุงดำคลุมหัว 

สำหรับวันนี้เราจะมาดูกันครับ เมื่อใช้ถุงดำคลุมหัวและรัดไว้ให้แน่ โดยไม่ให้มีอากาศจากข้างนอกเข้าไปจะเกิดอะไรขึ้นกับเราในสภาวะแบบนั้นครับ แน่นอนครับสาเหตุที่เสียชีวิตเมื่อถูกถุงดำคลุมหัวก็คือเกิดจากการขาดอากาศหายใจ 

โดยกระบวนการหายใจของมนุษย์ประกอบไปด้วย การหายใจเข้า (Inspiration) มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นคือ อวัยวะส่วนที่เป็นกะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอดในที่สุด ขณะเดียวกัน การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก โดยทั่วไปแล้วอากาศที่เราหายใจเข้าไปจะประกอบไปด้วย
>> แก๊สไนโตรเจน (Nitrogen) ร้อยละ 78 
>> แก๊สออกซิเจน (Oxygen) ร้อยละ 21 
>> แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ร้อยละ 0.04  
>> ฝุ่น ไอน้ำ และแก๊สอื่น ๆ อีกร้อยละ0.96 

ทั้งนี้อากาศที่เราหายใจเข้าไปจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ และเราจะไม่สามารถแยกแยะแก๊สเหล่านี้ได้ด้วยการดมกลิ่น อย่างไรก็ตามเมื่อเราอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนน้อยเกินไป เช่นบริเวณที่สูงมาก ๆ เราจะเริ่มรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก มึนงง และอาจเกิดอาการหน้ามืด หมดสติได้ ทีนี้เรามาดูกันมั่งครับ เพื่อเราหายใจออกมา ลมหายใจเรานั้นประกอบด้วยแก๊สอะไรมั่ง ทั้งนี้เมื่อมนุษย์หายใจออกมาแก๊สที่ออกมาประกอบไปด้วย 
>> แก๊สไนโตรเจน (Nitrogen) ร้อยละ 78 
>> แก๊สออกซิเจน (Oxygen) ร้อยละ 16 
>> แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ร้อยละ 4 
>> ไอน้ำและแก๊สอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 

โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณแก๊สที่หายใจเข้าไป พบว่าแก๊สไนโตรเจนเท่าเดิม แก๊สออกซิเจนลดลง ร้อยละ 5 ในขณะที่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 4 นั่นก็คือ เมื่อเราหายใจในถุงดำเป็นเวลานาน แก๊สออกซิเจนที่มีอยู่ในถุงดำตอนเริ่มต้นก็จะถูกใช้ไปจนพบ ในขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เมื่อผ่านไปซักพักก็จะขาดแก๊สออกซิเจนที่เป็นส่วนสำคัญในการหายใจเข้าไป ทำให้ต้องดิ้นทุรนทุรายและเสียชีวิตไปในที่สุดนั่นเอง 

โดยแก๊สออกซิเจนที่หายใจเข้าไปร่างกายจะผ่านไปที่ปอดและส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะกลั้นลมหายใจ จนกระทั่งเสียชีวิตเองได้ เนื่องจากในขณะที่กลั้นลมหายใจจนถึงจุดจุดหนึ่งแล้ว ร่างกายเราจะหายใจโดยอัตโนมัติ ถึงแม้สมองจะสั่งการให้ไม่ต้องหายใจก็ตาม แต่เพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอดได้ ตามสัญชาตญาณ ร่างกายจะไม่ปล่อยให้กลั้นหายใจจนเสียชีวิต โดยจะสังเกตได้จากการจมน้ำตายที่จะพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการหายใจเอาน้ำเข้าไปจมน้ำท่วมปอด ไม่ใช่เกิดจากขาดอากาศหายใจโดยตรง โดยเมื่อเราอยู่ในน้ำ เราจะกลั้นหายใจโดยการสั่งการของสมองได้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นร่างกายก็จะถูกทำให้หายใจโดยอัตโนมัติ ทำให้น้ำเข้าไปที่ปอดนั่นเอง 

ทั้งนี้โดยทั่วไปคนเราจะกลั้นหายใจได้ประมาณ 30-90 วินาที ยกเว้นคนที่ผ่านการฝึกมาอาจจะกลั้นหายใจได้มากกว่าคนปกติหลายเท่า ทีนี้เราลองมาจำลองเหตุการณ์ดูครับว่าเมื่อเราถูกถุงดำคลุมหัวช่วงแรกเราก็ยังหายใจได้อยู่เนื่องจากแก๊สออกซิเจนยังถูกใช้ไปไม่หมด แต่เมื่อถูกใช้ไปหมดเราก็พยามดิ้นทุรนทุรายเพื่อเอาตัวรอดตามสัญชาตญาณของมนุษย์ ช่วงแรกอาจอยู่ได้โดยกลั้นลมหายใจ แต่พอกลั้นไปได้ระยะหนึ่งร่างกายก็จะสั่งให้หายใจ แต่เมื่อหายใจแล้วเนื่องจากไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ทรมานและเสียชีวิตในที่สุดครับ


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

ฟ้าจรดเกลือ “Salar de Uyuni” (ซาลาร์ เดอ อูยูนี) ‘ทะเลสาบเกลือสุดอัศจรรย์’ ที่ใหญ่และสวยที่สุดในโลก!!

ในกลุ่มคนซึ่งชื่นชอบการท่องเที่ยวผจญภัยน้อยคนนักที่ไม่รู้จักทะเลสาบเกลืออันเลื่องชื่อระดับโลก นาม “อูยูนี” Salar de Uyuni (ซาลาร์ เดอ อูยูนี) จัดว่าเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่จำเป็นต้องจัดให้อยู่ในโปรแกรมทัวร์เมื่อไปถึงประเทศโบลิเวีย ซึ่งเป็นประเทศที่จัดว่ายังดิบมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ ประชากรเกือบทั้งประเทศยังคงเป็นคนพื้นเมืองแห่งเทือกเขาแอนดีส ซึ่งค่อนข้างต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี อาร์เจนตินา หรือเปรู ที่ประชากรลูกหลานคนขาวตกค้างยุคล่าอาณานิคมยังครองเมืองกันอยู่ ที่สำคัญผู้นำประเทศโบลิเวียคนปัจจุบันก็เป็นชนพื้นเมืองอีกด้วย

จะว่าสะดวกสบายก็ใช่ จะว่าลำบากก็ประมาณหนึ่ง เพราะพื้นที่โดยรอบทะเลสาบเกลือคุ้นเคยและรองรับการท่องเที่ยวได้ดีระดับหนึ่งแล้ว แต่ใช่ว่าไปถึงเมืองต้นทางสำหรับทัวร์ทะเลสาบเกลืออูยูนีแล้วทุกอย่างจะหรูหรา คนเดินทางยังจำเป็นต้องเตรียมใจและเผื่อใจไว้ให้กับกรณีไม่คาดฝัน ถ้าคาดหวังความสะดวกสบายทุกอย่างก็ไปเที่ยวเวนิซ ซานฟรานซิสโก หรือกรุงลอนดอนน่าจะดีกว่า

อูยูนียังคงความไกลปืนเที่ยง ให้ความรู้สึกว่าได้ผจญภัยในดินแดนอันไกลโพ้น แต่เพิ่มเติมคือยังพอจะมีความสะดวกสบายพอสมควร ดังนั้น เท่าที่มีอยู่สมควรนับว่าหรูแล้ว เพราะในพื้นที่ห่างไกลจากทุกสิ่งบนความสูงหลายพันเมตรเช่นนี้สิ่งสามัญพึงเรียกว่าเป็นสิ่งพิเศษแล้ว

เมืองที่นักท่องเที่ยวทั้งหลายมักไปตั้งต้นการเที่ยวรอบทะเลสาบเกลือ คือเมืองหน้าตามอมแมมชื่อเดียวกับทะเลสาบ คือ “อูยูนี” นั่นเอง เมืองนี้ห่างจากลาปาซเมืองหลวงราว 185 ไมล์ นั่งรถตู้ก็ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง มีโฮสเทลและโรงแรมมากพอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ทุนต่ำแบ็กแพ็กเกอร์ ไปจนถึงคนมีสตางค์ที่ยอมลดความสะดวกสบายพักตามโรงแรมสองดาวสามดาว ร้านอาหาร ร้านค้าที่ระลึก ผับบาร์เป็นสถานบันเทิงที่ลูกค้าคือคนต่างชาติเป็นหลัก คนท้องถิ่นเขาก็จับจ่ายและหาความบันเทิงตามแบบชาวบ้าน ตลาดและร้านค้าโดยรอบขายสินค้าที่ส่วนใหญ่น่าจะผลิตจากจีน ราคาจึงค่อนข้างถูก 

ส่วนคุณภาพว่ากันอีกเรื่อง นักเดินทางที่ต้องการประหยัดมักอุดหนุนแม่ค้าขายอาหารจำพวกทอดริมทางหรือที่ตลาดสด ได้ทั้งปริมาณและสนนราคาไม่แพงอีกด้วย การได้เดินตลาดยังเป็นกิจกรรมที่ทำให้ได้สังเกตวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ดูว่าพวกเขาแต่งกายกันอย่างไร แฟชั่นประจำถิ่นเป็นอย่างไร คนเขากินอะไร นิยมชมชอบดนตรีแบบไหนบ้าง ชอบซื้อหาจับจ่ายอะไรกันบ้าง เหล่านี้ล้วนพบได้ตามท้องถนนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดนั่นเอง 

แค่พ้นเขตเมืองก็กลายเป็นพื้นที่ทุ่งราบสูงกว้างไกลสุดลูกหูลูกตา มวลเมฆลอยอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้าเหนือเทือกเขาซึ่งมองเห็นได้แต่ไกล ในขณะที่เงาตกกระทบบนผิวน้ำเค็มตื้นเขินซึ่งเต็มไปด้วยเกลือสีขาวปริมาณมหาศาลนั้นเป็นฉากแปลกตาแบบที่ยากจะเจอในพื้นที่อื่นบนผิวโลกใบนี้ บางจุดสามารถถ่ายภาพแล้วเสมือนหนึ่งคนและพาหนะต่าง ๆ ลอยอยู่เหนือน้ำ จะสรรหาความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพหลอกตาว่าคนตัวใหญ่กว่ารถยนต์หรือตามแต่ไอเดียจะบรรเจิด เรียกว่าทะเลสาบเกลืออูยูนีเปรียบเสมือนสนามเด็กเล่นของพวกผู้ใหญ่นิยมท่องโลกทั้งหลายล่ะ 

นักท่องเที่ยวที่ไม่มีพาหนะมักเลือกทัวร์ตั้งแต่ไปเช้าเย็นกลับ ไปจนถึงสี่ห้าวันก็มี แม้จะต้องจ่ายแพงกว่า แต่ก็น่าจะคุ้มค่ากว่าในแง่ที่ไกด์กับคนขับรถรู้จักพื้นที่ดีมากพอที่จะไปแวะจอดตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่น่าสนใจทั้งหลาย พร้อมกับอธิบายที่มาที่ไปของสถานที่เหล่านั้น รู้ว่าจะต้องพาไปถ่ายรูปที่ไหนอย่างไรบ้างจึงจะได้ภาพว้าว ๆ ประเภทอวดชาวโลกได้ 

ส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเอง ไม่ว่าจะปั่นจักรยาน ขับมอเตอร์ไซค์ หรือขับรถยนต์เองสามารถจัดเส้นทางสำรวจทะเลสาบเกลือได้ตามอำเภอใจ จะพักแรมบนกองเกลือหรือหมู่บ้านริมทะเลสาบที่มีบ้านพักซึ่งทำจากก้อนเกลือก็ได้ นับว่าได้ประสบการณ์สุดพิเศษ เห็นว่าเกลือมีคุณสมบัติสามารถรักษาโรคบางอย่างได้ด้วย เช่นโรคหอบหืด เป็นต้น 

พื้นที่โดยรอบทะเลสาบยังมีความน่าสนใจอื่น ๆ ด้วย เช่นสัตว์ป่าตระกูลเดียวกับอัลปาก้าและลามา (อันที่จริงถ้าจะให้ถูกต้องเรียกว่า “ยามา”) วิ่งเร็ว ทว่าแสนเชื่องช้าเมื่อรู้ว่าห่างจากมนุษย์มากพอ วิวทิวทัศน์เวิ้งว้างแห้งแล้ง ทุ่งหญ้าแห้งแล้งเหลืองน้ำตาล ภูเขาสูงยอดหิมะคลุมมองเห็นลิบไกล เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ทำให้อูยูนี น่ามาเยือนและค้นหาเป็นอย่างยิ่ง

ครั้งหนึ่งในชีวิต หากมีโอกาส ลองจัดโปรแกรมท่องเที่ยวทวีปอเมริกาใต้ บรรจุประเทศโบลิเวียลงไปด้วย แล้วก็อย่าพลาดไปเยือนทะเลสาบเกลืออูยูนีด้วยตัวเองสักครั้งล่ะ รับรอง ไม่ผิดหวังแน่นอน! 


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

ขุดโคตรยิว! 124 ปี “ขบวนการไซออนิสต์” (Zionism) ฤๅจะเป็นลัทธิการก่อการร้ายซ่อนรูป!!

ปกติแล้วผมจะโพสต์และ Live ใน FB วันละหนึ่งเรื่องครับ มีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ติดตามมากมายหลายท่านอยู่ แล้วก็มี request มาให้เล่าเรื่องราวของ “ขบวนการไซออนิสต์” ขอจัดให้ใน Weekly Column ตามนี้เลยครับ

หลังจากชนชาติยิวได้กระจัดกระจายออกจากมาตุภูมิไปอยู่ตามประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีรัฐชาติของตนเกือบสองพันปี ชาวยิวต้องตกอยู่ในสภาพระหกระเหเร่ร่อนไปทั่วทั้งแผ่นดินยุโรป หลังจากถูกกวาดล้างโจมตีโดยจักรวรรดิโรมันซึ่งยกทัพเข้าถล่มนครเยรูซาเล็มจนราบคาบ จากสภาวะที่ต้องอพยพอยู่ตลอดเวลา และการถูกจำกัดสิทธิ์ต่าง ๆ นานา ก็มาถึงยุคที่ชาวยิวเริ่มมีอิสรภาพมากขึ้น นั่นคือในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ในสมัยของนโปเลียนปกครองฝรั่งเศส นโปเลียนยกศาสนายิวให้เป็นศาสนาประจำชาติร่วมกับคริสต์นิกายต่าง ๆ เมื่อนโปเลียนขยายอาณาเขตออกไปถึงไหนก็จะปลดปล่อยชาวยิวในเขตนั้น ๆ ด้วย ชาวยิวจึงได้เริ่มที่จะมีสถานะแบบชนปกติขึ้นมา 

ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ (Theodor Herzl)

แม้จะเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นแล้ว แต่ปัญหาการเหยียดชาวยิวก็ยังคงมีอยู่ จึงทำให้ ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ (Theodor Herzl)นักหนังสือพิมพ์ชาวยิวในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (สมัยนั้น)เชื้อสายยิว ผู้ตีพิมพ์นิตยสาร Die Welt (The World) รายสัปดาห์ เห็นว่า ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาของชาวยิวได้ คือการให้ชาวยิวมีประเทศของตนเอง เฮิร์ซล์จึงเริ่มเผยแพร่แนวคิดนี้ออกไป ซึ่งต่อมาแนวคิดนี้คือรากฐานของอุดมการณ์ “ไซออนนิสต์” นั่นเอง

เมื่อปี ค.ศ. 1897 การประชุมใหญ่ผู้นำยิวคนสำคัญ ๆ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เฮิร์ซล์ ได้จัดประชุมใหญ่ผู้นำยิวคนสำคัญ ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีผู้เข้าร่วมมากกว่าสามร้อยคน และที่ประชุมครั้งนั้นได้มีมติให้จัดตั้งองค์การหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า “องค์การไซออนิสต์สากล” (The world Zionist Organization) การประชุมสภาคองเกรสไซออนิสต์จัดขึ้นทุกปีจนถึงปี ค.ศ. 1901 และหลังจากนั้นเป็นทุก ๆ สองปี (หลังจากก่อตั้งประเทศอิสราเอลแล้ว การประชุมสภาคองเกรสไซออนิสต์จัดขึ้นที่นครเยรูซาเล็ม ทุก 4 หรือ 5 ปี ครั้งล่าสุดจัดขึ้นในปี ค.ศ. 2020 โดยในปี ค.ศ. 1960 เปลี่ยนชื่อเป็น “World Zionist Congress”)

ปฏิญญาสากลของปราชญ์อาวุโสแห่งไซออน” (The Protocol of The Elder of Zion)

ภายหลังการประชุมของผู้นำขบวนการไซออนิสต์ มีเอกสารที่รู้จักกันว่า “ปฏิญญาสากลของปราชญ์อาวุโสแห่งไซออน” (The Protocol of The Elder of Zion) เผยแพร่ออกมา ปฏิญญาดังกล่าวแสดงถึงอุดมการณ์บางอย่างที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษยชาติให้เป็นไปในเชิงการรับใช้วัตถุประสงค์ของผู้นำขบวนการ เป็นอุดมการณ์ซึ่งครอบคลุมทั้งมิติทางความเชื่อ สังคม-การเมือง และเศรษฐกิจ

แม้การมีประเทศ (รัฐชาติ) ของตนเองนับเป็นความฝันของชาวยิวมาตลอด แต่ก็มีบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย เพราะชาวยิวนั้นบางส่วนก็ต้องการที่จะผสมกลมกลืนอาศัยอยู่ร่วมกับสังคมที่ตนอยู่ หรือบางส่วนก็เชื่อว่า การกลับอิสราเอลเป็นการฝ่าฝืนพระเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม เฮิร์ซล์ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนายทุนใหญ่ต่าง ๆ ทำให้เขาตัดสินใจจัดตั้ง “องค์กรไซออนนิสต์ (Zionist Organization หรือ ZO)” อย่างเป็นทางการขึ้นในปี ค.ศ.1897 ขบวนการไซออนิสต์ได้ให้ความหวังให้ชาวยิวรุ่นใหม่ เพื่อที่จะนำพาไปสู่การตั้งรัฐยิวในพื้นที่ดินแดนที่พวกเขาเชื่อว่า พระเจ้าทรงประทานให้กับพวกเขา คือ ดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนภายใต้จักรวรรดิออตโตมัน อันถือเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาโบราณ และขบวนการดังกล่าวจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวยิวอพยพไปยังดินแดนปาเลสไตน์

องค์กรไซออนนิสต์ ได้ทำการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเอาไว้อย่างชัดเจน 
อันประกอบไปด้วย แผน 3 ขั้น คือ
1. ก่อนตั้งรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์
2. ระหว่างตั้งรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์
3. หลังตั้งรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ 

>> 1. ก่อนตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ ด้วยความที่ในปาเลสไตน์เองก็มีประชากรชาวยิวอาศัยอยู่บ้าง ซึ่งในยุคนั้นปาเลสไตน์อยู่ใต้การปกครองของชาวเติร์ก ชาวยิวจึงเริ่มต้นด้วยการ "ซื้อที่ดิน" จากชาวอาหรับ โดยไม่เกี่ยงว่าที่ตรงนั้นจะเป็นทะเลทรายเพาะปลูกอะไรไม่ขึ้นก็ตาม จุดมุ่งหมายมีเพียงการเพิ่มพื้นที่ให้ชาวยิวให้ได้มากที่สุด อันที่จริงรัฐบาลเติร์กเองก็รู้ว่าชาวยิวกำลังเข้ามากว้านซื้อที่ดินประเทศตัวเอง แต่ด้วยความที่ต้องรับศึกหลายทาง เกิดการรัฐประหารในประเทศบ่อยครั้ง จึงไม่ได้มีเวลามาใส่ใจกับชาวยิวแต่อย่างใด

จุดเปลี่ยนสำคัญจริง ๆ อยู่ในช่วงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนปาเลสไตน์ตกอยู่ในอาณัติของประเทศอังกฤษ โดยที่อังกฤษได้ทำข้อตกลงกับไซออนนิสต์ไว้ก่อนหน้านั้น ว่าจะช่วยสร้างถิ่นอาศัยของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ เพื่อจูงใจให้ไซออนนิสต์เข้ามาช่วยทำสงคราม แน่นอนว่าเมื่ออังกฤษชนะสงคราม จึงตั้งยิวไซออนนิสต์คนหนึ่งขึ้นเป็นข้าหลวงใหญ่ปกครองแดนปาเลสไตน์ทันที อังกฤษได้ประกาศให้ปาเลสไตน์เป็น "บ้านแห่งชาติของคนยิว" (a national home for the Jewish people) โดยกำหนดไว้ว่าจะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อสิทธิทางศาสนาและพลเมืองของชุมชนที่ไม่ใช่ชาวยิวที่อยู่ที่นั่น

หลังจบสงครามปาเลสไตน์ต่างเป็นหนี้ท่วมหัว จนสุดท้ายต้องยอมขายที่ดินให้กลุ่มทุนชาวยิวเพื่อยังชีพ ชาวยิวก็กว้านซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นได้อีกมากมาย บ่มเพาะความเกลียดชังของชาวอาหรับที่มีต่อยิวมากขึ้น ซึ่งสำหรับอังกฤษแล้วนี่เป็นสิ่งที่ดี เพราะยิ่งอาหรับเกลียดยิวมากเท่าไร ก็ยิ่งปกครองง่ายขึ้นเท่านั้น

การอพยพชาวยิวจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกไปสู่ปาเลสไตน์ ภายใต้การอำนวยการช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยได้เริ่มมีการอพยพชาวยิวระลอกแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1897-1902 และระลอกล่าสุดคือเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนการประกาศสถาปนารัฐอิสราเอลในปี ค.ศ.1948

นอกจากเหตุผลหลัก ๆ สองข้อที่กล่าวแล้ว สถานการณ์ที่ผลักดันให้ชาวยิวจากที่ต่าง ๆ อพยพสู่ปาเลสไตน์มากขึ้นคือ ลัทธิเกลียดชังยิว (Anti-Semitic) ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในยุโรปและการทารุณกรรมชาวยิวของนาซีเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งได้ทำให้เกิดภาวะตื่นตระหนกในหมู่ชาวยิวและนำไปสู่จำนวนผู้อพยพที่เพิ่มมากขึ้น ลัทธิไซออนนิสต์จึงกลายเป็นแนวคิดกระแสหลักของสังคมชาวยิวไปในที่สุด

>> 2. ระหว่างตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ การจัดตั้ง “รัฐอิสราเอล” หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตั้งองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ขึ้นมา โดยมีเจตนาให้เป็นองค์กรที่ชาติทั้งหลายมาประชุมกัน เพื่อออกประชามติตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ ในโลก แน่นอนว่าปัญหาการแบ่งแยกดินแดนของยิวกับอาหรับในปาเลสไตน์ก็เป็นหนึ่งในปัญหานั้น ฝ่ายอาหรับไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดน เพราะคิดว่าผู้อพยพใหม่อย่างชาวยิวไม่ควรมีสิทธิใด ๆ ด้านยิวนั้นมุ่งมั่นสนับสนุนให้มีการแบ่งแยก เพราะนี่เป็นโอกาสที่จะได้จัดตั้งประเทศที่เป็นของตนเองจริง ๆ เสียที 

ในที่สุด คณะกรรมการของสหประชาชาติแบ่งดินแดนออกมา ให้ยิวได้แผ่นดิน 54% ของทั้งหมด ส่วนอาหรับได้ 46% โดยในดินแดนส่วนของยิวนั้นมีชาวอาหรับอาศัยอยู่เกือบครึ่ง และทำการโหวตกันในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ได้ผลออกมาคือ สนับสนุนแผนการแบ่งแยกดินแดน 33 เสียง โหวตค้าน 13 เสียง ไม่ออกเสียง 10 เสียง และไม่โหวต 1 เสียง ส่งผลให้ชาวยิวได้รับแผ่นดินแห่งพันธสัญญาในที่สุด (สำหรับประเทศที่ไม่โหวต 1 เสียง คือ ประเทศไทย) 

ชาวปาเลสไตน์ราว 750,000 คนถูกขับไล่ออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด

เมื่อฝ่ายอาหรับเป็นผู้เสียประโยชน์โดยตรงจากการแบ่งแยกดินแดนในครั้งนี้ จึงเกิดเป็นสงครามกลางเมืองขึ้นในทันที ชาวอาหรับปาเลสไตน์นับแสนพากันหนีออกนอกประเทศ ขณะที่ไซออนนิสต์ก็ลำเลียงชาวยิวพลัดถิ่น รวมถึงชาวยิวที่รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยุโรปอีกนับแสนเข้ามาอยู่แทนที่ หลังจากการสถาปนาอิสราเอลขึ้นเป็นรัฐในปี ค.ศ. 1948 ก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ขึ้น โดยขบวนการชาตินิยมยิวไซออนิสต์ได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ราว 750,000 คนออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด และทำลายบ้านเรือน จนในที่สุดกลุ่มชาติอาหรับที่อยู่รายล้อม ไม่ว่าจะอียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย ก็เข้ามาร่วมวงโจมตียิวจากทุกทิศ ขยายกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศในที่สุด

แต่สุดท้ายสงครามจบลงด้วยชัยชนะของชาวยิว และยึดดินแดนได้มากกว่าที่ UN ให้มาตอนแรกที่ 54% ส่วนอาหรับปาเลสไตน์ถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วน ฉนวนกาซา ที่อียิปต์ยึดครองทางตะวันตก และส่วน เวสต์แบงก์ ที่จอร์แดนยึดครองทางตะวันออก ทางด้านองค์กรไซออนนิสต์จึงประกาศการตั้งรัฐของยิวขึ้นอย่างเป็นทางการ เป็นประเทศ “อิสราเอล”และเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงข้างมากในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1949

หลังการสู้รบสิ้นสุดในปี 1949 มีการตกลงแบ่งพรมแดนระหว่างอิสราเอลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการสร้างพรมแดนของพื้นที่ที่รู้จักกันในชื่อ ฉนวนกาซา (อียิปต์ยึดครอง) เยรูซาเลมตะวันออกและเขตเวสต์แบงก์ (จอร์แดนยึดครอง) เท่ากับว่าอิสราเอลครอบครองพื้นที่ 78% ของปาเลสไตน์ ส่วนที่เหลือ 22% อยู่ภายใต้การปกครองของอียิปต์และจอร์แดน

นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 1953 อิสราเอลยังลงมือสังหารหมู่ที่อ้างว่าเป็นการแก้แค้นครั้งใหญ่ในหมู่บ้าน Qibya ในเขตเวสต์แบงก์ ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 69 ราย บ้านเรือน 45 หลังพังเสียหาย

>> 3. หลังตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ แต่แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อพรมแดนอิสราเอลอีกครั้งในปี ค.ศ. 1967 อิสราเอลสู้รบกับอียิปต์ จอร์แดน และซีเรียในสงครามที่รู้จักกันในชื่อ สงคราม 6 วัน (Six-Day War) อิสราเอลสร้างความช็อกให้ชาวโลกด้วยการเข้ายึดครองเขตเวสต์แบงก์ที่เหลือของปาเลสไตน์ เยรูซาเลมตะวันออก ฉนวนกาซา รวมทั้งที่ราบสูงโกลันของซีเรียและคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ภายในเวลาเพียง  6 วัน

ถึงจุดนี้อิสราเอลได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากพื้นที่อีกราว 300,000 คน ส่งผลให้พื้นที่ของดินแดนภายใต้การควบคุมของอิสราเอลเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว และอิสราเอลยังผนวกเยรูซาเลมตะวันออกและอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเมืองเยรูซาเลมทั้งเมืองให้เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล แต่การกระทำเช่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก รวมทั้งจากชาวปาเลสไตน์ที่ต้องการใช้เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของรัฐในอนาคต

อิสราเอลเริ่มก่อตั้งชุมชนชาวยิวในพื้นที่ที่ตัวเองไม่มีกรรมสิทธิ์เหนือซึ่งขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจน โดยหลังจากสงครามในปี ค.ศ. 1967 เพียง 1 ปี อิสราเอลก่อตั้งชุมชนชาวยิวบนที่ราบสูงโกลันของซีเรีย 6 แห่ง ในปี ค.ศ. 1973 ก่อตั้ง 17 ชุมชนชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ และ 7 แห่งในฉนวนกาซา ปี ค.ศ. 1977 อิสราเอลราว 11,000 คนอาศัยอยู่ในเขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา ที่ราบสูงโกลัน และคาบสมุทรไซนาย

โครงการก่อสร้างชุมชนชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอิสราเอลดำเนินการโดยฝ่ายการตั้งถิ่นฐานขององค์การไซออนิสต์สากลที่สนับสนุนให้ชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์

ที่น่าสังเกตคือ เมื่ออิสราเอลผนวกรวมเยรูซาเลมตะวันออกแล้วก็กำหนดนโยบายที่แบ่งแยกชนชาติอย่างชัดเจน โดยชาวยิวที่เกิดในเยรูซาเลมตะวันออกถือเป็นพลเมืองของอิสราเอล ขณะที่ชาวปาเลสไตน์ได้สิทธิ์เพียงผู้พำนักถาวรซึ่งจะถูกเพิกถอนหากบุคคลดังกล่าวอาศัยอยู่นอกเยรูซาเลมตะวันออกเกินกำหนด ซึ่งไม่ต่างจากการจำกัดการเดินทางของชาวปาเลสไตน์

จนถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2020 มีชุมชนชาวยิวที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอิสราเอล 130 แห่ง และที่ไม่ได้รับอนุญาตอีก 100 แห่ง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวอิสราเอลราว 400,000 คนในเขตเวสต์แบงก์ และอีก 200,000 คนในเยรูซาเลมตะวันออก ทำให้ชาวปาเลสไตน์ไม่สามารถขยับขยายชุมชนของตัวเอง และต้องอยู่ในพื้นที่นั้นด้วยความแออัด

กำแพงเวสต์แบงก์ (West Bank barrier)

ความเห็นของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยกำแพงเวสต์แบงก์ (West Bank barrier) เมื่อปี ค.ศ. 2004 ระบุว่า การตั้งชุมชนชาวยิวของอิสราเอลในปาเลสไตน์ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับนานาชาติที่มองว่าชุมชนดังกล่าวขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การสหประชาชาติที่ย้ำหลายครั้งว่าการก่อสร้างชุมชนชาวยิวของอิสราเอลฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4

ขณะที่สหรัฐมีความเห็นเช่นเดียวกันนี้มานานหลายทศวรรษ จนกระทั่งสมัยของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ (ผู้มีบุตรเขยเป็นอเมริกันเชื้อสายยิว)และ ได้ลงนามรับรองนครเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของอิสราเอลในปี ค.ศ. 2017 และเปลี่ยนท่าทีเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ด้วยการประกาศว่า การก่อสร้างชุมชนชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

เมื่อขบวนการไซออนิสต์ สามารถเดินตามแผนที่ได้วางเอาไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยใช้คน ที่มีศักยภาพ เพื่อการนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด นั่นคือ การนำเอาเยาวชนที่มีศักยภาพ เข้าสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพให้มากที่สุด ส่งเสริมให้เข้าศึกษาในสถาบันชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หรือว่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เป็นต้น

“จอร์จ โซรอส” พ่อมดทางการเงิน ผู้ก่อหายนะ วิกฤต “ต้มยำกุ้ง”

หลังจบการศึกษา ก็จะผลักดันให้คนเหล่านี้ เข้าทำงานในสถานประกอบการระดับโลก ที่ควบคุมด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ในทุกภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินของโลก หน่วยงานความมั่นคงอย่าง FBI, CIA หรือแม้แต่องค์การสหประชาชาติ หลังจากนั้นก็จะใช้สายงานที่ตนเองนั้นรับผิดชอบสร้างอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ สร้างเครือข่ายมหาอำนาจ อย่างเป็นกระบวนการเป็นระบบ มากยิ่งขึ้น และสิ่งดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นมารุ่นต่อรุ่น จวบจนถึงปัจจุบันนี้นอกจากนั้นแล้วองค์กรแห่งนี้จะเข้าไปจัดการ ควบคุมกระบวนการทางการเงิน การธนาคาร และการคลังของโลก แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนา หรือธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่ม ไซออนิสต์ สิ่งดังกล่าวไม่ได้เพียงเพื่อการกล่าวอ้างเลื่อนลอย อาทิเช่น “จอร์จ โซรอส” ที่เรียกกันว่า พ่อมดทางการเงิน ก็เป็นยิวโดยแท้ หรือแม้แต่ “อลัน กรีนสแปน” อดีตผู้ว่าธนาคารชาติสหรัฐฯ ก็เป็นชาวยิว เช่นเดียวกัน

“อลัน กรีนสแปน” อดีตผู้ว่าธนาคารชาติสหรัฐฯ อเมริกันเชื้อสายยิว

นอกจากนั้นแล้ว ขบวนการไซออนิสต์ ยังมีองค์กรแบบเปิดเผย และ องค์กรลับในการจัดการทุกอย่างเป็นกระบวนการ มีสื่อที่อยู่ในมือ เพื่อสร้างภาพ สร้างกระบวนการรับรู้ โฆษณาชวนเชื่อ อย่างเป็นกระบวนการ สื่อในตะวันตกมากมายหลายสำนัก อยู่ภายใต้กระบวนการ และ ทุนของชาวยิว แทบทั้งสิ้น ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว ในทุกยุคทุกสมัยของรัฐบาลสหรัฐฯ นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของขบวนการไซออนิสต์ (Zionism) 

ตราบใดที่ความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอลยังไม่สิ้นสุดด้วยสันติ และการตกลงยินยอมร่วมกัน ตราบนั้นทั้งปาเลสไตน์และอิสราเอลก็จะยังไม่มีความสงบสุข


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

การเปลี่ยนแปลงยุคโควิด คือพิษไวรัส! ที่สะเทือน ‘วงการบันเทิง’

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ยังคงทำให้ประชาชนชาวไทยต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก และยังส่งผลกระทบให้กับทุกอาชีพ ทุกวงการ และเหมือนว่าประชาชนจะต้องค่อย ๆ ปรับตัวให้อยู่กับโรคนี้แบบไม่สามารถปฏิเสธได้ ความคาดหวังในการจะกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเมื่อไหร่ ... เป็นสิ่งที่เราทุกคนปรารถนาให้เกิดขึ้นให้เร็วที่สุด 

ซึ่งสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในตอนนี้ทุกคนคาดหวัง คือการได้รับการดูแลที่ดีจากรัฐสวัสดิการ การได้รับการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและเร็วที่สุด เพราะนี่คืออีกหนึ่งความหวังและเป็นตัวแปรที่จะสามารถช่วยลดสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ 

และจากการคาดการณ์เทเลนอร์รีเสิร์ช ได้นำเสนอให้เห็นถึงเทรนด์หลังยุคโควิด-19 ที่จะทำให้โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งสิ่งที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนมาก ๆ คือโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนที่เคยมีเคยทำกันมา จะถูกเปลี่ยนไปสู่โลกดิจิทัล ทั้ง AI ที่เข้ามามีบทบาทต่อตลาดแรงงาน หรือ DATA ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการทำนายอนาคตและช่วยคาดการณ์ทั้งด้านสาธารณสุข การพัฒนาเมือง สิ่งแวดล้อม และเป็นสิ่งที่เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง 

ซึ่งหากประเทศไหนที่ไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงหรือยังไม่เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานในการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นประเทศที่จะถูกลืม หรือไล่ตามประเทศอื่นไม่ได้ก็ได้ 

ส่วนมิติของการสื่อสาร วงการสื่อสารมวลชน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างหลังจากนี้ ตอนนี้ที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือ อุตสาหกรรมบันเทิงส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กองถ่ายละคร ที่ต้องหยุดการถ่ายทำตามมารตรการของภาครัฐ ทำให้เราได้เห็นการรีรันของละครแต่ละช่องด้วยสถาการณ์ที่ถูกบังคับให้ต้องทำ ส่งผลต่อเรตติ้งของแต่ละสถานีที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ หรือการถ่ายทำรายการที่ใช้เทคโนโลยีวิดีคอล โดยที่แขกรับเชิญไม่ต้องมาร่วมในรายการ อยู่ตรงไหนก็สามารถร่วมรายการสดได้ รวมถึงการดูคอนเสิร์ตผ่านหน้าจอทีวีแบบ Streaming Live หรือการจัดงาน Event โดยมีการนำเทคโนโลยี Virtual Live เข้ามาจำลองความเสมือนจริงมากที่สุด แม้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาทำให้การทำงานสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ทุกอย่างจะไม่สามารถทดแทนประสบการณ์จริง หรือความสมจริงแบบที่เราเคยได้สัมผัสหรือเคยได้ดูแบบเดิมได้ แต่อย่างน้อยนี่คือการปรับตัวของอุตสาหกรรมบันเทิงที่ทำให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ในยุคที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 

ส่วนความคาดหวังของสื่อมวลชนในมิติการนำเสนอข่าว เราจะเห็นได้ว่า แม้สื่อจะทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชน แต่ประชาชนก็สามารถตรวจสอบการทำงานของสื่อได้เช่นกัน ในยุคที่ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ การนำเสนอข่าวด้วยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนสามารถเกิดการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง เพราะอย่าลืมว่า ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถเปิดหาข้อมูลและติดตามข่าวสารได้ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ยังสามารถติดตามข่าวสารได้ทั่วโลก ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นว่าแต่ละประเทศมีการปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19 ณ วันนี้กันอย่างไรบ้าง 

บางประเทศประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติที่มีการปรับตัวในรูปแบบ New Normal เราเห็นชาวอังกฤษได้กลับเข้าไปดูฟุตบอลกันเต็มสนาม เราเห็นที่อเมริกาได้จัดคอนเสิร์ตที่ประชาชนสามารถเข้าไปชมได้ และเรายังเห็นถึงศักยภาพของประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่งจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2020 และกำลังจัดการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์อยู่ในขณะนี้ 

หันกลับมาที่บ้านเรา ในเดือนนี้กำลังจะมีมาตรการคลายล็อกบางส่วน ซึ่งก็เป็นแนวโน้มที่ดีที่จะทำให้ประชาชน และคนทำงานในอาชีพต่าง ๆ ได้เริ่มกลับมาทำงาน และยังรอคอยอย่างมีความหวังว่าในเร็ววันนี้ สถานการณ์ต่าง ๆ น่าจะดีขึ้น ทำให้ทุกวงการ ทุกอาชีพ ได้กลับมาทำงานอย่างปกติสักที


ข้อมูลอ้างอิง 
https://brandinside.asia/telenor-and-3-mega-trend-after-covid19/


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

เรื่องของ ‘เข่า’ คือเรื่องของเรา ภัยร้าย! “เอ็นหัวเข่าอักเสบ”

คนที่มีปัญหาน้ำหนักเกินส่วนใหญ่​มักเผชิญกับปัญหา​การเจ็บเข่าแบบเป็น ๆ​ หาย ๆ​ ยิ่งพยายามออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก​กลับยิ่งทำให้เจ็บเข่ามากยิ่งขึ้น​ เป็นปัญหา​วนไปวนมา​ไม่จบสิ้น​ จนมีคำถามผุดขึ้นมาในใจว่า​ เอ๊ะ! หรือฉันกำลังเป็นโรค ​"เข่าเสื่อม" ??

การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน​เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้น ๆ​ ของโรคข้อเข่าเสื่อม​ แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น​ โรคที่เกี่ยวกับหัวเข่ายอดฮิตที่พบได้มากในกลุ่มวัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน​ คือ​ "เอ็นหัวเข่าอักเสบ"

“เอ็นหัวเข่าอักเสบ”​ มักเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย​ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การกระโดด และ การวิ่ง แม้แต่การออกกำลังกายที่มีการขยับ​ไปมาของข้อเข่ามาก ๆ​ เช่น การปั่นจักรยาน​ ก็ยังพบอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบได้​เช่น​กัน นอกจากนี้อุบัติเหตุพลัดตก หกล้ม หรือเดินขาพลิกผิดจังหวะต่าง ๆ ก็นำมาซึ่งปัญหาเอ็นหัวเข่าอักเสบได้

เอ็นกล้ามเนื้อหัวเข่า (tendon) ที่มักเกิดการอักเสบ ได้แก่ ส่วนปลายของกล้ามเนื้อหน้าขา (Quadriceps) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstrings: Biceps femoris, Semimembranosus, Semitendinosus)​ ส่วนปลายของกล้ามเนื้อนี้จะไปเกาะกับส่วนหนึ่งของกระดูกบริเวณหัวเข่า (tibia & fibula) ​จึงเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย​ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่าที่มากเกินไป​หรือมีแรงกระแทกซ้ำ ๆ​ การบาดเจ็บของเอ็นหัวเข่านี้จึงมักเกิดขึ้นแบบ​ค่อยเป็นค่อยไปสะสมจนมีการปวดเรื้อรัง

เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยในการออกแรง​เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า

นอกจากนี้หากมีแรงกระแทกมาก ๆ ร่วมกับการบิดหมุนของข้อเข่า เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา ​อาจจะทำให้เอ็นกระดูก (Ligament) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างกระดูกหัวเข่าแต่ละชิ้น ได้รับ​บาดเจ็บ​ ซึ่งการบาดเจ็บลักษณะนี้มักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน​ทันที​

เอ็นกระดูก (Ligament) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างกระดูกแต่ละชิ้น มีความแข็งแรงมาก มีหน้าที่เพิ่มความมั่นคงและแข็งแรงของข้อเข่า

อาการของเอ็นเข่าอักเสบ
>> เจ็บด้านหน้าหรือด้านหลังเข่าบริเวณข้อพับ บางคนเจ็บเข่าด้านในหรือด้านนอก ขณะยืน เดิน ขึ้น ลงบันไดหรือพื้นลาดชัน บางคนเจ็บมากตอนเริ่มต้นเหยียดขาลุกขึ้นยืน
>> อาการอักเสบ บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงที่บริเวณที่ปวดร่วมด้วย
>> มีอาการบวมของถุงน้ำรอบ ๆ ข้อเข่าร่วมด้วยได้ในบางกรณี
>> อาการเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรงต่อเนื่อง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเวลานานกว่านั้น อาจมีภาวะเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
>> หากมีการบาดเจ็บที่เอ็นกระดูกหรือเอ็นกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ​ เรื้อรัง​โดยไม่ได้รับการรักษา​ที่ถูกต้อง​ อาจนำไปสู่ปัญหาข้อเข่า​เสื่อมได้เร็วขึ้น

การรักษาเส้นเอ็นเข่าอักเสบ
>> หยุดพักกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวข้อเข่าจนกว่าอาการอักเสบจะดีขึ้น
>> ประคบด้วยความเย็นนาน 20 นาทีเพื่อช่วยลดปวดและลดอักเสบ
>> การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีบำบัดรักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นข้อเข่าที่อักเสบ รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ รวมทั้งการตรวจประเมิน​การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ​ เช่น​ การทรงตัวของขา เป็นต้น
>> เมื่ออาการปวดและบวมลดลงแล้ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติและหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักในช่วงแรก

ท่ากายบริหารที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพก ​และเอ็นรอบหัวเข่า​จะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บของ​เอ็นรอบหัวเข่าได้ ดังนี้

1.) Squat ยืนกางขา​กว้างเท่าระดับไหล่ หลังตรง​ เกร็งหน้าท้องเล็กน้อย งอเข่า​พร้อมแอ่นก้นไปทางด้านหลัง​ ระวังอย่าให้ระดับหัวเข่าเลยปลายเท้า​ แล้วยืดตัวขึ้นตามเดิม ทำ​วันละประมาณ​ 10-15​ ครั้ง​ วันละ​ 3​ รอบ​

2.)​ Lunge ยืนตรง​ ก้าวขาไปด้านหน้า​ 1​ ก้าว ย่อเข่าทั้ง​ 2​ ข้าง​ เป็นมุมฉาก ทรงตัวให้น้ำหนักอยู่ตรงกลาง แล้วยืดตัวขึ้นตามเดิม​ ทำสลับขาทั้ง​ 2​ ข้าง ทำข้างละประมาณ​ 10-15​ ครั้งต่อรอบ​ วันละ​ 3​ รอบ

3.)​ Clam shell นอนตะแคง​ สวมยางยืดแบบวงไว้ระหว่างหัวเข่าทั้ง​ 2​ ข้าง ออกแรงกางหัวเข่า​แบบเปิดสะโพกออกสู้กับแรงตึงของยางยืด จากนั้นผ่อนแรงกลับสู่ท่าปกติ ทำสลับขาทั้ง​ 2​ ข้าง ทำข้างละประมาณ​ 10-15​ ครั้งต่อรอบ​ วันละ​ 3​ รอบ

นอกจากนี้การฝึกฝนความคล่องแคล่ว​และการทรงตัวก็จะมีส่วนช่วยให้เอ็นหัวเข่ามีความแข็งแรงและบาดเจ็บได้ยากขึ้น​เช่น​กัน​ แต่การฝึกดังกล่าวควรทำเมื่อไม่มีอาการบาดเจ็บแล้วเท่านั้น​ เช่น​ การเดินสไลด์ไปทางด้านข้าง​ การวิ่งเหยาะ ๆ​ ไปด้านหน้าและหลัง​ การยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียว​ เป็นต้น


เอกสารอ้างอิง
https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/quadriceps-tendon-tear/
http://physio4richmond.co.uk/news/hamstring-tendinopathy-in-runners/
https://www.physio-pedia.com/File:Quadriceps_muscle.jpg
https://www.impactphysicaltherapy.com/4-tips-to-prevent-an-anterior-cruciate-ligament-acl-injury/
https://cbphysicaltherapy.com/how-to-perform-a-perfect-squat/
https://www.123rf.com/photo_124593050_woman-making-lunges-doing-sport-exercises-in-gym-leg-workout-muscle-building-healthy-and-active-life.html?vti=o1wiboi1ylu3gw7v4z-1-1
https://www.fitwirr.com/exercise/mini-band-clamshell-exercise/


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

“ไทย” 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำของโลก! ผู้ผลิต ‘สินแร่โลหะ’ หายาก (Rare Earth)

การผลิตสินแร่โลหะหายากเพิ่มมากขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 2020 โดยเพิ่มขึ้นเป็น 240,000 เมตริกตัน (MT) ทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 220,000 MT ในปี ค.ศ. 2019 และ 190,000 MT ในปี ค.ศ. 2018

องค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบัน “สินแร่โลหะหายาก” จึงกลายเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กันทางเศรษฐกิจ ในสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ “สินแร่โลหะหายาก” (Rare Earth) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน เช่น สมาร์ทโฟน แบตเตอรี่ เส้นใยแก้วนำแสง และแม่เหล็ก ทั้ง ๆ ที่มีจำนวนอยู่อย่างมากมายในระดับเปลือกของโลก แต่ด้วยคุณสมบัติทางธรณีเคมี ทำให้สินแร่โลหะหายากนั้นอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และไม่เข้มข้นพอที่จะสกัดออกมาได้ในราคาถูก

กระบวนการที่สกัดสินแร่โลหะหายากออกจากหินนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะธาตุต่าง ๆ ในก้อนหินนั้นมีประจุไฟฟ้าเดียวกัน และมีขนาดใกล้เคียงกัน ซึ่งในการสกัดและทำบริสุทธิ์สินแร่โลหะหายากนั้น ต้องใช้ขั้นตอนต่าง ๆ หลายพันขั้นตอน ในตารางธาตุของวิชาเคมีจะเห็นชื่อของสินแร่โลหะหายากปรากฏในอนุกรมแลนทาไนด์ (Lanthanide Series) จำนวน 15 ธาตุ ได้แก่ 
แลนทานัม (Lanthanhanum) 
ซีเรียม (Cerium) 
พราซีโอดิเมียม (Praseodymium) 
นีโอไดเมียม (Neodymium) 
โปรเมเธียม (Promethium) 
ซามาเรียม (Samarium) 
ยูโรเปียม (Europium) 
กาโดลิเนียม (Gadolinium) 
เทอร์เบียม (Terbium) 
ดิสโพรเซียม (Dysprosium) 
โฮลเมียม (Holmium) 
เออร์เบียม (Erbium) 
ธูเลียม (Thulium) 
อิทเทอร์เบียม (Ytterbium) 
ลูเทเทียม (Lutetium) 

และยังมีอีก 2 ธาตุ คือ สแกนเดียม (Scandium) และอิทเทรียม (Yttrium) ซึ่งไม่ได้อยู่ในอนุกรมนี้ แต่จัดเป็นสินแร่โลหะหายากเช่นกัน เพราะมักพบในองค์ประกอบแร่เดียวกับที่พบในธาตุแลนทาไนด์ และแสดงคุณสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกัน

สินแร่โลหะหายากนั้นเป็นโลหะจึงมีคุณสมบัติพิเศษหลาย ๆ อย่าง เช่น ทนความร้อนสูงจัดได้เยี่ยม มีคุณสมบัติแม่เหล็กแรงสูง นำไฟฟ้าได้ดี และเป็นมันเงา ซึ่งเหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นธาตุหลักที่ใช้ผลิตสารประกอบเพื่อผลิตวัสดุในชีวิตประจำวัน เช่น หลอดแอลอีดี (LED) เส้นใยแก้วนำแสง หลอดฟลูออเรสเซนต์ ตัวเร่งปฏิกิริยา สารประกอบเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ

สำหรับสินแร่โลหะหายากที่ถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำ ได้แก่ แลนทานัม ซีเรียม นีโอดีเมียม ซามาเรียม ยูโรเปียม เทอร์เบียม และดิสโพรเซียม และความต้องการสินแร่โลหะหายากนี้ก็เพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการใช้อุปกรณ์ที่ต้องพึ่งพาสินแร่โลหะหายาก โดยข้อมูลจากอุตสาหกรรมการสื่อสารทางไกลนานาชาติ เผยว่า เมื่อปี ค.ศ. 1998 มีการใช้โทรศัพท์มือถือที่ต้องอาศัยแบตเตอรีที่ใช้สินแร่โลหะหายากเพียง 5.3% ของจำนวนประชากรทั้งโลก แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 2017 ปริมาณโทรศัพท์เพิ่มขึ้นเป็น 103.4% ด้วยประชากรส่วนหนึ่งมีโทรศัพท์มากกว่าคนละ 1 เครื่อง

จากการประเมินของ สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (United States Geological Survey) ในปี ค.ศ. 2018 ทั่วโลกมีสินแร่โลหะหายากประมาณ 120 ล้านตัน ในจำนวนนั้นเป็นของจีน 44 ล้านตัน บราซิล 22 ล้านตัน และรัสเซีย 18 ล้านตัน

การผลิตแร่หายากยังต้องใช้พลังงานและทรัพยากรในปริมาณมหาศาล และการเร่งขุดแร่หายาก เพื่อตอบสนองความต้องสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ นั้น ยังส่งผลให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงมลพิษทางน้ำด้วย
ความต้องการโลหะเพิ่มขึ้นเนื่องจากพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญมากขึ้นทั่วโลก สินแร่โลหะหายากอย่างนีโอไดเมียม (อยู่ในประเภทมีโครงสร้างสารประกอบเป็นธาตุที่หายาก เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า แร่แลนทาไนด์ ซึ่งแร่โลหะชนิดนี้มีโครงสร้างที่แข็งแกร่งทนทาน และมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กชนิดถาวรในตัวเอง เมื่อนำมาผ่านกระบวนการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปทรงให้กลายเป็นแม่เหล็กแรงสูงนีโอไดเมียมขนาดต่าง ๆ สามารถนำไปใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านเครื่องยนต์กลไก สำหรับอุตสาหกรรม หรืองานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ และพราซีโอไดเมียม ซึ่งมีความสำคัญในการใช้งานพลังงานสะอาดและอุตสาหกรรมไฮเทค อยู่ในความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดได้รับความนิยม

ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องระหว่างสหรัฐฯ และจีน กำลังทำให้ความสนใจในแร่หายาก เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตวัสดุรายใหญ่ที่สุดของโลก ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างประเทศต่าง ๆ จึงมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมแร่หายาก

ด้วยเหตุนี้ จึงควรทราบตัวเลขการผลิตสินแร่โลหะหายากสิบประเทศที่ผลิตสินแร่โลหะหายากที่สุดในปี 2020 ตามข้อมูลล่าสุดจาก US Geological Survey

1.) ประเทศจีน กำลังการผลิตจากเหมือง : 140,000 ตัน ประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการผลิตสินแร่โลหะหายาก ดังที่กล่าวไว้ ประเทศจีนได้ครอบครองการผลิตแร่หายากเป็นเวลาหลายปี ในปี 2020 ผลผลิตในประเทศ 140,000 ตันเพิ่มขึ้นจาก 132,000 ตันในปีที่แล้ว

จีนเป็นประเทศที่ผลิตสินแร่โลหะหายากได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยผลิตได้มากกว่า 95% ของปริมาณที่ผลิตได้ทั่วโลก และสหรัฐฯ ก็นำเข้าสินแร่โลหะหายากจากจีนมากถึง 80% ทั้งที่ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน สหรัฐฯ และอีกหลายประเทศก็ผลิตสินแร่โลหะหายากได้ จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1990 ที่จีนเริ่มพัฒนาการผลิตสินแร่โลหะหายากอย่างจริงจัง ทำให้หลายประเทศไม่สามารถผลิตได้ถูกกว่าจนต้องล้มเลิกกิจการไป

ผู้ผลิตจีนต้องปฏิบัติตามระบบโควตาสำหรับการผลิตแร่หายาก โควตาครึ่งปีสำหรับการขุดแร่หายากในปี ค.ศ. 2021 ตั้งไว้ที่ 84,000 ตัน (เพิ่มขึ้น 27.2% จากปีก่อนหน้า) ในขณะที่โควตาสำหรับการถลุงแร่และการแยกส่วนอยู่ที่ 81,000 ตัน (เพิ่มขึ้น 27.6 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า) ที่น่าสนใจคือ ระบบนี้ทำให้จีนกลายเป็นผู้นำเข้าแร่หายากอันดับต้น ๆ ของโลกในปี ค.ศ. 2018

ระบบโควตาเป็นการตอบสนองต่อปัญหาอันยาวนานของจีนเกี่ยวกับการขุดแร่หายากที่ผิดกฎหมาย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อทำความสะอาด รวมถึงการปิดเหมืองสินแร่โลหะหายากที่ผิดกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม และการจำกัดการผลิตและการส่งออกแร่หายาก

รอยเตอร์ระบุว่า จีนเป็นผู้นำโลกในการส่งออกสินแร่โลหะหายาก ส่วนหนึ่งมาจากการกล้าเผชิญความเสี่ยงด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีผลพลอยได้เป็นขยะพิษ และกากแร่ก็ยังปล่อยรังสีที่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ ทำให้บางประเทศยุติการขุดสินแร่โลหะหายากของประเทศออกมา โดยปัจจุบัน มีบริษัทของรัฐ 6 รายรับผิดชอบอุตสาหกรรมสินแร่โลหะหายากของจีน ในทางทฤษฎีจึงทำให้จีนสามารถจัดการกับการผลิตได้อย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การสกัดแร่หายากอย่างผิดกฎหมายยังคงเป็นเรื่องท้าทาย และรัฐบาลจีนยังคงดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อควบคุมกิจกรรมนี้

2.) สหรัฐอเมริกา กำลังการผลิตจากเหมือง : 38,000 ตัน สหรัฐอเมริกาผลิตแร่หายาก 38,000 ตันในปี ค.ศ. 2020 เพิ่มขึ้นจาก 28,000 ตันในปี ค.ศ. 2019

แหล่งแร่หายากในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากเหมือง Mountain Pass ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ซึ่งกลับไปสู่การผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี ค.ศ. 2018 หลังจากได้รับการดูแลและบำรุงรักษาในไตรมาสที่ 4 ปี ค.ศ. 2015 Molycorp ดำเนินการก่อนที่มันจะล้มละลาย และถูกซื้อโดย Oaktree Capital Management และปัจจุบันกลายเป็น Neo Performance Materials 

สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าวัสดุโลหะหายากรายใหญ่ โดยมีความต้องการสารประกอบและโลหะมูลค่า 110 ล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งลดลงจาก 160 ล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2019 สหรัฐฯ ได้จำแนกสินแร่หายากให้เป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ซึ่งเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้อันเนื่องจากปัญหาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

3.) เมียนมาร์ (พม่า) กำลังการผลิตจากเหมือง : 30,000 ตัน เมียนมาร์ขุดแร่หายากได้ 30,000 ตันในปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 22,000 ตันในปีที่แล้ว 

มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแหล่งแร่โลหะหายาก และโครงการขุดแร่ของประเทศ แต่เมียนมาร์ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน โดยในปี ค.ศ. 2020 เมียนมาร์ได้จัดหาวัตถุดิบสำหรับโลหะหายากขนาดกลางถึงหนัก 50 เปอร์เซ็นต์ของจีน การทำรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมาร์ในปี ค.ศ. 2021 ทำให้เกิดความกังวลว่าการนำเข้าแร่หายากเหล่านั้นอาจถูกตัดออก แต่ ณ ต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ยังไม่มีปรากฏการหยุดชะงักทางการค้าของสินแร่หายากในเมียนมาร์แต่อย่างใด

4.) ออสเตรเลีย กำลังการผลิตจากเหมือง : 17,000 ตัน การผลิตแร่หายากในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2020 ผลผลิตลดลงเหลือ 17,000 MT จาก 20,000 MT ในปี ค.ศ. 2019

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีแหล่งแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก และพร้อมที่จะเพิ่มผลผลิต Lynas ซึ่งมีฐานอยู่ในออสเตรเลีย (ASX:LYC,OTC Pink:LYSCF) ดำเนินการเหมือง Mount Weld และโรงงานผลิตความเข้มข้นในประเทศ และเพิ่งประกาศแผนการที่จะเพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์นีโอไดเมียม-แพรซีโอไดเมียมเป็น 10,500 ตันต่อปีภายในปี ค.ศ. 2025

Northern Minerals (ASX:NTU) เปิดเหมืองแร่โลหะหายากหนักแห่งแรกของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 2018 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ เทอร์เบียมและดิสโพรเซียม ซึ่งใช้ในเทคโนโลยีเช่น แม่เหล็กถาวร

5.) มาดากัสการ์ กำลังการผลิตจากเหมือง : 8,000 ตัน มาดากัสการ์บันทึกการสกัดแร่หายาก 8,000 ตันในปี ค.ศ. 2020 เพิ่มขึ้นสองเท่าของปีก่อน มีโครงการโลหะหายากแทนทาลัสซึ่งมีออกไซด์ของโลหะหายาก 562,000 ตัน

6.) อินเดีย กำลังการผลิตจากเหมือง : 3,000 ตัน ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 2014 Indian Rare Earths และ Toyota Tsusho Exploration ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการสำรวจและผลิตแร่หายากผ่านการขุดในทะเลลึก

แม้จะมีข้อตกลงนี้ แต่อุตสาหกรรมการผลิตแร่หายากของอินเดียยังต่ำกว่าศักยภาพมาก ประเทศถือครองแร่ทรายชายหาดเกือบร้อยละ 35 ของโลก ซึ่งเป็นแหล่งแร่หายากที่สำคัญ แต่การผลิตในปี ค.ศ. 2020 ในอินเดียมีเพียง 3,000 ตัน เพิ่มขึ้นเพียง 100 ตันจากปี ค.ศ. 2019

7.) รัสเซีย กำลังการผลิตจากเหมือง : 2,700 ตัน รัสเซียผลิตแร่หายาก 2,700 ตันในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเมื่อสองปีก่อน รัฐบาลของประเทศถูกกล่าวหาว่า "ไม่พอใจ" กับการจัดหาแร่หายาก มีรายงานว่ารัสเซียกำลังลดภาษีการขุดและเสนอสินเชื่อลดราคาให้กับนักลงทุนในโครงการ 11 โครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการผลิตแร่หายากทั่วโลกของประเทศจากปัจจุบัน 1.3% เป็น 10 เปอร์เซ็นต์ภายในปี ค.ศ. 2030

8.) ประเทศไทย กำลังการผลิตจากเหมือง : 2,000 ตัน การผลิตแร่หายากของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ตันในปี ค.ศ. 2020 เพิ่มขึ้นจาก 1,900 ตันในปี ค.ศ. 2019 และ 1,000 ตันในปี ค.ศ. 2018 ปัจจุบันยังไม่ทราบปริมาณสำรองแร่หายากของประเทศ แต่ประเทศนี้ยังคงเป็นผู้ผลิตสินแร่โลหะหายาก 10 อันดับแรกนอกประเทศจีน

9.) เวียดนาม กำลังการผลิตจากเหมือง : 1,000 ตัน การผลิตแร่หายากของเวียดนามลดลงจาก 1,300 ตันในปี ค.ศ.2019 เป็น 1,000 ตันในปี ค.ศ. 2020 ผลผลิตสำหรับปีนั้นเทียบเท่ากับการผลิตแร่หายากในบราซิล ซึ่งหมายความว่าทั้งสองจริง ๆ แล้วทั้งสองอยู่ในอันดับที่เก้า

มีรายงานว่าประเทศดังกล่าว เป็นแหล่งสะสมแร่หายากหลายแห่งที่มีปริมาณมากแถบบริเวณชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือกับจีน และตามแนวชายฝั่งตะวันออก เวียดนามสนใจที่จะเสริมสร้างกำลังการผลิตในพลังงานสะอาด ซึ่งรวมถึงแผงโซลาร์เซลล์ และได้รับการกล่าวขานว่ากำลังมองหาการผลิตแร่หายากมากขึ้นสำหรับห่วงโซ่อุปาทานของตนด้วยเหตุผลดังกล่าว

10.) บราซิล กำลังการผลิตจากเหมือง : 1,000 ตัน ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 2012 มีการค้นพบแหล่งแร่หายากมูลค่า 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในบราซิล จนถึงตอนนี้ ดูเหมือนว่า ยังไม่มีการทำเหมืองดังกล่าว แม้ว่าในปี ค.ศ. 2020 ปริมาณแร่หายากที่ขุดได้ในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจาก 710 MT ในปี ค.ศ. 2019 เป็น 1,000 MT ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งมีปริมาณการผลิตเท่ากับเวียดนาม

สำหรับประเทศไทยของเรานั้นในอดีต “แร่ดีบุก” เป็นทรัพยากรสำคัญที่สร้างรายได้หลักให้กับภูเก็ตมาตลอด แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ราคาดีบุกในตลาดโลกเริ่มต่ำลง การค้าดีบุกจึงซบเซา พร้อม ๆ กับปริมาณ “ดีบุก” ที่มีการขุดพบมีปริมาณลดลง ระหว่างที่อุตสาหกรรมการผลิตและการค้าดีบุกชะลอตัว ก่อนหน้านั้นชาวภูเก็ต ได้รับรู้และพบว่า 'ขี้ตะกรันดีบุก' หรือ 'สะแหลกดีบุก' เป็นแร่ที่สามารถขายได้ในราคาดี เพราะมีแร่โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ ซึ่งเป็นแร่ยุทธปัจจัยใช้สำหรับทำยานอวกาศ หรือหัวจรวดนำวิถี ตลอดจนขีปนาวุธต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติพิเศษที่ทนต่อความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เสียดสีของอากาศได้สูงมาก แร่โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ มีราคากิโลกรัมละ 60-70 บาท และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการสกัดต่อจนได้ “แร่แทนทาลัม” จะมีราคาสูงกว่าแร่แทนทาไลต์หรือขี้ตะกรันดีบุกประมาณ 40-50 เท่า 

เมื่อชาวบ้านทราบว่า “ขี้ตะกรัน” เป็นของมีราคาจึงแตกตื่น ส่งผลให้บรรดานายทุนต่าง ๆ ยื่นประมูลต่อทางการ โดยขอขุดถนนเก่า ๆ ทุกสายในตัวเมืองภูเก็ต โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อขุดเสร็จแล้วจะสร้างถนนใหม่ทดแทน ส่วนบ้านที่ปลูกสร้างอยู่บนเตาถลุงที่มีขี้ตะกรันฝังอยู่มาก ๆ ก็จะถูกรื้อหรือทุบพื้นทิ้งเพื่อขุดเอาขี้ตะกรันดังกล่าวขึ้นมา ในขณะนั้นคนภูเก็ตสามารถทำรายได้จากการขุดขาย “ขี้ตะกรันดีบุก” หรือรับจ้างขุด สูงถึงวันละ 180 บาท (ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในขณะนั้นอยู่ที่วันละห้าสิบกว่าบาท)

ผลจากการตื่นตัวใน “แร่แทนทาลัม” ส่งผลให้เกิดแนวคิดที่จะสร้าง “โรงงานถลุงแทนทาลัม” ขึ้น โดยในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2522 บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทฯ โดยมีโครงการก่อสร้างโรงงานที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้รับใบอนุญาตให้สร้างโรงงานในปี พ.ศ. 2526 จนก่อสร้างแล้วเสร็จ และคาดว่าจะเปิดดำเนินการตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2529 แต่โรงงานไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ เพราะประสบปัญหาการคัดค้านจากหลายภาคส่วนทั้งในระดับจังหวัดและประเทศอย่างรุนแรง เนื่องจากชาวภูเก็ตได้รับข้อมูลจากฝ่ายคัดค้านการเปิดโรงงานว่า โรงงานแทนทาลัมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ต จนนำมาสู่ความขัดแย้งแผ่ขยายตัว 

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.อุตสาหกรรมในขณะนั้น ได้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ตเพื่อรับฟังความคิดเห็นตามความต้องการของตัวแทนกลุ่มคัดค้าน โดยนัดหมายที่ศาลาประชาคม แต่เมื่อไปถึงผู้ชุมนุมกลับแสดงทีท่าต่อต้านรัฐมนตรีอุตสาหกรรมและคณะด้วยความรุนแรง โดยผู้ชุมนุมจำนวนหลายพันคนพยายามเข้าประชิดและขว้างปาและทุบรถ แม้ว่านายจิรายุ ได้ชี้แจงให้ผู้ชุมนุมทราบว่า รัฐบาลฯ กำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา และจะให้คำตอบแก่ชาวภูเก็ตในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ตามที่ผู้ชุมนุมกำหนด และระหว่างนี้ได้ให้โรงงานยุติการดำเนินการชั่วคราว แต่ก็ไม่ได้ผล

การประท้วงได้รุนแรงขึ้น และมีการเผาโรงงานแทนทาลัมและโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินซึ่งเป็นที่พักของนายจิรายุและคณะ จนรัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต และมีการประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์ กว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ปกติต้องใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ และประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 การจลาจลครั้งนั้น ได้สร้างความเสียหายกว่า 2 พันล้านบาท และสุดท้าย บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด มีมติให้ย้ายโรงงานแทนทาลัมจากภูเก็ตไปตั้งที่อื่น เหตุการณ์จลาจลกรณี “แร่แทนทาลัม” สินแร่โลหะหายาก เมื่อ 35 ปีก่อน จึงเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับสินแร่โลหะหายากที่เคยเกิดขึ้นในบ้านเรา 


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

สิงคโปร์ ยืนหนึ่ง!! ประเทศที่ ‘พร้อมใช้ยานยนต์อัตโนมัติมากที่สุด’

ช่วงนี้ท่านผู้อ่านน่าจะได้ข่าวเกี่ยวกับการทดลองและทดสอบรถยนต์อัตโนมัติในหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่มาจากประเทศในแถบตะวันตก แต่กลับมีประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์อัตโนมัติมากที่สุดและอยู่ในภูมิภาคอาเซียน นั่นคือประเทศ “สิงคโปร์”

บริษัท KMPG ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้เริ่มศึกษาดัชนีชี้วัดความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนในแต่ละประเทศ (Autonomous Vehicles Readiness Index : AVRI) ตั้งแต่ปี 2018 โดยดัชนี AVRI มีการประเมินด้วย 28 หัวข้อชี้วัด ภายใต้ 4 ด้านหลัก คือ นโยบายและกฎหมาย เทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการยอมรับของผู้บริโภค และการจัดอันดับล่าสุดในปี 2020 สิงคโปร์ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับมากที่สุด เบียดเนเธอร์แลนด์ที่เคยอยู่ที่หนึ่งมาสองปีติดกัน

หากมาพิจารณาในรายละเอียด สิงคโปร์ได้คะแนนอันดับหนึ่งในด้านนโยบายและกฎหมาย และการยอมรับของผู้บริโภค โดยสิงคโปร์ได้เริ่มต้นจากการจัดตั้ง Committee on Autonomous Road Transport for Singapore (CARTS) ในปี 2014 เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการปรับใช้รถยนต์ไร้คนขับ

ต่อมาในปี 2016 รัฐบาลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางจัดตั้ง Centre of Excellence for Testing and Research of AVs-NTU (CETRAN) เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบและให้การรับรองรถยนต์อัตโนมัติ ได้มีการออกแบบสนามทดสอบโดยจำลองสภาพถนนในสิงคโปร์ รวมถึงจำลองสถานการณ์สภาพฝนตกและน้ำท่วมขังเพื่อให้การทดสอบใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด

ในปี 2019 องค์การขนส่งทางบกของสิงคโปร์ (Land Transport Authority : LTA) ได้ออกมาตรฐานรถยนต์ไร้คนขับ ที่เรียกว่า Technical Reference 68 (TR68) เพื่อกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติ โดยครอบคลุมถึงพฤติกรรมโดยทั่วไปของยานพาหนะ มาตรฐานความปลอดภัย ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ และมาตรฐานรูปแบบข้อมูล จากการออกมาตรฐานนี้ส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเพราะเป็นการลดความเสี่ยงว่าเทคโนโลยีที่ตนเองลงทุนศึกษาค้นคว้าไปนั้นจะไม่ถูกกำหนดเป็นมาตรฐานในการใช้งานจริง

และความพร้อมในการใช้รถยนต์ไร้คนขับนั้นต้องมีพื้นฐานมาจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยกำหนดให้ยกเลิกใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในปี 2040 และมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2023 รัฐบาลสนับสนุนส่วนลดสูงสุดถึงคันละ 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือราว 489,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนลดประมาณ 11% ของมูลค่ารถ นอกจากนั้นยังให้ส่วนลดภาษีการใช้ถนนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และมีนโยบายขยายจุดชาร์จไฟจาก 1,600 จุดเป็น 28,000 จุดภายในปี 2030

ส่วนการทดสอบวิ่งนั้นในขณะนี้มาถึงขั้นตอนการทดสอบวิ่งบนถนนสาธารณะ โดยในปี 2021 ได้เริ่มใช้รถเมล์อัตโนมัติให้บริการในสองเส้นทางในฝั่งตะวันตกของประเทศ และมีเป้าหมายจะวิ่งทดสอบในเส้นทางฝั่งตะวันตกทั้งหมด สาเหตุที่เลือกทดสอบในฝั่งตะวันตกนั้นเนื่องจากเป็นเขตเมืองใหม่ซึ่งมีประชาการอาศัยอยู่หนาแน่นน้อยกว่าและสภาพการจราจรที่คล่องตัวกว่าทางฝั่งตะวันออกของประเทศ

ในส่วนการยอมรับของผู้ใช้งานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จต่อการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ ซึ่งสิงคโปร์ถูกจัดเป็นผู้นำในด้านนี้ โดยมีสาหตุมาจากการทดสอบวิ่งในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชาชนคุ้นชินกับรถยนต์อัตโนมัติ และชาวสิงคโปร์เองมีความคุ้นเคยกับการใช้งานระบบ ICT และมีทักษะสูงทางด้านดิจิตอล นอกจากนั้นชาวสิงคโปร์ยังนิยมการใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถยนต์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเข้าถึงรถยนต์อัตโนมัติสาธารณะตามความต้องการ

จากตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาที่ดีของแนวทางการปรับใช้รถยนต์อัตโนมัติ เริ่มจากมีหน่วยงานที่ชัดเจนในการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงาน การกำหนดนโยบายการส่งเสริมที่ชัดเจนทั้งในด้านงบประมาณสำหรับการวิจัย การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นพื้นฐานของรถยนต์อัตโนมัติ และการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิตอลของประชาชนในประเทศซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับการใช้รถยนต์อัตโนมัติ


ขอบคุณข้อมูลที่มา
https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2020/06/autonomous-vehicles-readiness-index.html
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2019/1/2/joint-media-release-by-the-land-transport-authority-lta-enterprise-singapore-standards-development-organisation-singapo.html
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/singapore-budget-2020-push-to-promote-evs-in-move-to-phase-out-petrol-and-diesel
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/newsroom/2020/2/news-releases/Supporting_cleaner_and_greener_vehicles.html
https://techwireasia.com/2019/03/how-the-ltas-tr68-fuelled-singapores-autonomous-vehicle-agenda/
https://www.straitstimes.com/singapore/transport/pay-to-ride-on-driverless-buses-in-two-areas-until-april-30
https://www.lta.gov.sg/content/ltagov/en/industry_innovations/technologies/autonomous_vehicles.html


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

"ปฏิรูปตำรวจ" อย่างไรให้เห็นผลจริง? ไม่ใช่เป็นเพียงวาทกรรมและกระแส

กรณีผู้กำกับดังในจังหวัดนครสวรรค์ ทำการทารุณข่มขู่ เพื่อรีดเงินจากพ่อค้ายาเสพติด จนผู้ต้องหาเสียชีวิตบน สน.นั้น กลายมาเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้คนพูดถึงการปฏิรูปตำรวจกันอีกครั้ง

แต่การ "ปฏิรูป" ที่ว่า มักจะไม่มีคำตอบว่าจะปฏิรูปเรื่องอะไร เพราะหลายคนที่พูด ก็ไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนของระบบ บ้างก็แยกไม่ออกระหว่าง "ปัญหาตัวบุคคล" กับ "ปัญหาเชิงระบบ" บางเรื่องระบบไม่ได้มีปัญหา แต่เป็นเรื่องตัวบุคคลที่ไม่ดี

แต่หากมีบุคคลไม่ดีในระบบเยอะ ๆ ก็ย่อมเชื่อได้ว่าเพราะระบบมีปัญหาในการตรวจสอบควบคุม จนคนไม่ดีย่ามใจและทำสิ่งไม่ดี เพราะไม่เกรงกลัวต่อการตรวจสอบ

ทั้งนี้การปฏิรูปตำรวจมีการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการและภาคประชาสังคมเป็นระยะเวลายาวนานและมีงานวิจัยหลายชิ้นมาก แต่หากจะให้สรุปใจความสำคัญสั้น ๆ พอสังเขป คงแบ่งได้เป็นประเด็นหลัก ดังนี้

1.) ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตำรวจ
2.) โครงสร้างองค์กรที่ตำรวจสังกัด
3.) การได้มาซึ่งบุคลากรตำรวจในหน่วยต่าง ๆ
4.) โครงสร้างค่าตอบแทนและสวัสดิการตำรวจ

โดยข้อ 3-4 เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดปลีกย่อย แต่การจะได้มาซึ่งข้อ 3-4 จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ลงไปในประเด็นที่ 1-2 ซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบการตรวจสอบตำรวจเสียก่อน

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตำรวจ

สิ่งที่ทำให้ตำรวจมีการทุจริต คอร์รัปชัน ใช้อำนาจโดยมิชอบที่สุด คือ การที่ตำรวจ "มีอำนาจมากเกินไป" ทั้งการจับกุม, สืบสวน, สอบสวน และทำสำนวนส่งอัยการ

ซึ่งเปิดช่องให้ตำรวจที่ไม่ดี ใช้อำนาจในการต่อรองหรือกดดันผู้ต้องสงสัยให้สินบนเพื่อให้หลุดคดี หรือแม้แต่ใช้อำนาจในการยัดข้อหาให้กับใครก็ได้ เพราะทำได้ทั้งการจับกุม สืบสวน สอบสวน และเขียนสำนวนส่งอัยการ

ตำรวจในหลายประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ในการจับกุมเท่านั้น ในขณะที่การสืบสวน (Investigation) สอบสวน (Inquiry) เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนที่ขึ้นตรงสำนักงานอัยการบ้าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบ้าง ต่อผู้ว่าการรัฐบ้าง ต่อรัฐบาลกลางบ้าง ก่อนจะทำสำนวนให้อัยการพิจารณาและยื่นฟ้องต่อศาล

การแยกอำนาจเช่นนี้ เพราะเขาเข้าใจความจริงว่า ตำรวจทุกประเทศใกล้ชิดกับพื้นที่ บุคคล (ทั้งดีและไม่ดี) ซึ่งอาจทำให้มีส่วนเกี่ยวหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลในพื้นที่

ดังนั้น จึงต้องให้หน่วยงานอื่นจากภายนอกมาทำคดี เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และคานอำนาจ/ตรวจสอบไขว้กันไปมา ตำรวจจะไม่สามารถเป็นผู้จับกุม และใช้อำนาจข่มขู่ผู้ต้องหาให้รับสารภาพ หรือใช้อำนาจในการยัดข้อหา หรือเปิดช่องให้มีการติดสินบนหรือรีดส่วยจากผู้ทำผิดได้ หรือถึงทำก็ทำได้ยาก

และเพราะตำรวจมีหน้าที่แค่จับกุม แต่คนสืบสวนสอบสวน และสั่งฟ้องเป็นอีกหน่วยงาน หากจะยัดเงินเพื่อให้หลุดคดีก็ต้องยัดเงินทั้ง ตำรวจ สืบสวนสอบสวน อัยการ ศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก (ไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่มันยุ่งยากและโอกาสถูกจับได้ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานมีสูง)

โครงสร้างองค์กรที่ตำรวจสังกัด

นอกจากอำนาจหน้าที่ที่มีมากเกินไปแล้ว การที่ตำรวจทั้งประเทศขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้ไม่มีการตรวจสอบไขว้กันเองระหว่างหน่วยงานด้วย

ในขณะที่ตำรวจในหลายประเทศขึ้นตรงต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ในสหรัฐอเมริกา หากประชาชนมีข้อสงสัยในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในท้องที่หรือในระดับรัฐ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากรัฐบาลกลางหรือ FBI ก็จะเป็นผู้เข้าไปดำเนินการสอบสวน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบกันระหว่างตำรวจท้องถิ่นกับตำรวจส่วนกลาง 

และเพราะทั้งสองหน่วยไม่ได้ขึ้นตรงต่อผู้มีอำนาจคนเดียวกัน จึงไม่ต้องเกรงใจหรือกลัวว่าจะมีใครมาสั่งอีกฝ่ายได้ ทุกหน่วยงานล้วนแต่ทำงานตรวจสอบกันเอง ตั้งแต่ตำรวจท้องที่ เจ้าหน้าที่สิบสวนสอบสวน/นักสืบ อัยการ ศาล ตำรวจรัฐบาลกลาง (FBI)

นอกจากนี้การที่ตำรวจขึ้นตรงต่อท้องถิ่น ซึ่งสัมพันธ์กับอำนาจของผู้ว่าการรัฐหรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง 

หากมีเรื่องฉ้อฉลในวงการตำรวจในระดับเมืองหรือรัฐ ย่อมทำให้ผู้ว่าฯ เสื่อมความนิยม และอาจทำให้แพ้การเลือกตั้ง กลับกันผู้ว่าฯ เองก็ต้องพยายามเอาใจประชาชนที่อยากให้มีการดำเนินการตรวจสอบให้โปร่งใส 

จึงเป็นที่มาว่า 'เสียงของประชาชน' จะช่วยให้การคานอำนาจและตรวจสอบการทำงานของตำรวจที่ขึ้นตรงกับการปกครองส่วนท้องถิ่น 

การกระจายอำนาจตำรวจลงไปยังส่วนภูมิภาค ให้ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ ผู้ว่าการตำรวจภูมิภาค แล้วใช้วิธีการตรวจสอบไขว้กันระหว่างตำรวจต่างภูมิภาคที่มีศักดิ์และอำนาจเท่ากัน จะช่วยทำให้อำนาจในองค์กรตำรวจถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วน และเมื่อมีปัญหาก็ให้ตรวจสอบไขว้กันเอง

Andrew Mark Cuomo ผู้ว่าการรัฐ New York แถลงการณ์ร่วมกับตำรวจประจำรัฐนิวยอร์ค (N.Y.P.D)

เพราะธรรมชาติของมนุษย์ คือ หากไม่มีกฎเกณฑ์และระบบตรวจสอบคานอำนาจที่ชัดเจน จะทำให้คนลุแก่อำนาจ และไม่กลัวการกระทำผิด 

แม้แต่ประเทศที่เราเชื่อกันว่าระบบตำรวจถูกออกแบบมาดีประมาณหนึ่งแล้วก็ตาม ก็ยังพบเห็นความฉาวโฉ่ได้อยู่ไม่เว้นแต่ละวันไม่ว่าจะการทุจริต ยัดข้อหา กระทำรุนแรง และอื่น ๆ 

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการมีระบบที่ดี ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีการฉ้อฉลหรือทุจริต แต่ระบบที่มีการคานอำนาจกันระหว่างหน่วยงานจะช่วยลดการลุแก่อำนาจของบุคคลที่มีอำนาจ และช่วยทำให้บุคคลที่ไม่ดีนั้นถูกเปิดโปงได้ง่ายกว่าการรวมอำนาจหน้าที่ไว้ที่บุคคลหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเสมอ

นี่คือหัวใจเบื้องต้นในการปฏิรูปตำรวจที่ต้องเข้าใจกันให้ถูกต้องเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วจะเป็นการวนเวียนอยู่กับวาทกรรม “ปฏิรูป” โดยไม่เข้าใจปัญหาที่ต้องการจะปฏิรูป ไปจนถึงการหลงทิศหลงทางไปถกในรายละเอียดปลีกย่อยที่เป็นส่วนประกอบมากกว่าจะเข้าใจแก่นกลางของปัญหาอย่างแท้จริง


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก???? https://lin.ee/vfTXud9

โอกาสในการพัฒนาประเทศ ตอนที่ 1 : การประเมิน ผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน

หลายปีที่ผ่านมา มีงานหนึ่งที่ผู้เขียนชื่นชอบเป็นการส่วนตัว นั่นคือ การประกันคุณภาพ การประเมินผลกระทบ รวมไปถึงการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน โดยผู้เขียนยึดหลักการง่าย ๆ ที่ครูของผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า การประกันคุณภาพนั้น แท้ที่จริงคือ “การทำให้ดีกว่าเดิม” พูดง่าย ๆ คือ ก่อให้เกิดการพัฒนา ยิ่งถ้าคนในองค์กรร่วมมือร่วมใจด้วยหลักง่าย ๆ องค์กรนั้นก็พร้อมที่จะก้าวกระโดด และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ส่วนการประเมินผลกระทบนั้น มีตั้งแต่แบบง่ายจนไปถึงแบบยาก มีทั้งที่ระบุเป็นเงื่อนไขตามกฎหมาย ไปจนถึงหลักการปฏิบัติของธุรกิจทั่วไป กิจการเพื่อสังคม และองค์กรไม่แสวงหากำไร

ในประเทศไทย เรารับวัฒนธรรมการประกันคุณภาพมาหลายแขนง เช่น การประกันคุณภาพ (Quality Assurance-QA) หลักการของ Malcolm Baldrige ที่ใช้รางวัลเป็นแรงผลักดันการพัฒนาและนำมาใช้กับระบบราชการ การบริหารราชการ และการบริหารสถาบันการศึกษาของรัฐและในกำกับของรัฐ ในทางธุรกิจก็อยู่ในรูปแบบของ ISO ซึ่งย่อมาจาก (International Organization for Standardization) คือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ส่วนมาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพและระบบบริหารสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ลองคิดเล่น ๆ ว่า ในประเทศไทยหากไม่ใช่อุตสาหกรรมหรือองค์กรที่ใช้มาตรฐาน ISO หรือมาตรฐานอื่นของต่างประเทศที่มีผู้ประเมินเป็นคนนอกและเป็นอิสระ โดยเฉพาะระบบราชการและสถาบันการศึกษา ที่ใช้หลักการที่ดัดแปลงมานั้น ทำให้เกิดปัญหาในเชิงผลลัพธ์ แม้ว่าผลผลิตของหน่วยราชการและสถาบันการศึกษาจะเป็นไปตามเกณฑ์และสะท้อนว่ามีมาตรฐานสูงก็ตาม

ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากการบริหารจัดการการประเมิน และการมุ่งผลผลิต (Output) มากกว่าผลลัพธ์ (Outcome) ทั้งสิ้น

ในขณะที่หน่วยงานที่อยู่ในรูปแบบ “องค์การมหาชน” ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะนั้น มีพันธกิจในการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงาน ซึ่งหลายแห่งใช้การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และ/หรือ ผลตอบแทนทางสังคมจากลงทุน ในขณะที่บางหน่วยงานใช้การประเมินทั่วไปในการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ประเมิน ทั้งองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้ประเมิน และความเป็นอิสระของผู้ประเมิน

อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่า การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม สร้างประโยชน์ให้ประเทศมากกว่า โดยเฉพาะความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อสังคม 

ตัวอย่างที่ผู้อ่านอาจทราบเป็นระยะคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งมักสร้างประติมากรรมเสาไฟฟ้า โดยมีผู้รับจ้างเป็นเครือข่ายคล้าย ๆ กัน ลักษณะการจัดซื้อจัดจ้างคล้าย ๆ กัน และผลผลิตที่เป็นเสาไฟประติมากรรมแตกต่างกันตามรูปแบบที่หน่วยงานชื่นชอบ คำถามคือ ผลลัพธ์ของการลงทุนดังกล่าวคือ “แสงสว่าง” ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่หน่วยงานที่ให้บริการสาธารณะพึงสังวรณ์ ในขณะที่ ผลลัพธ์ดังกล่าวถูกไปผนวกกับ “ความสวยงาม” ทำให้มีต้นทุนการดำเนินการที่สูง ใช้งบประมาณต่อเนื่อง และแลกมาด้วยพื้นที่ที่ต้องรอ “แสงสว่าง” 

กรณีนี้น่าคิดอย่างยิ่งว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรและตรวจสอบงบประมาณนั้น ไม่ได้นำหลักการผลลัพธ์ไปใช้เพียงแต่ดูผลผลิตเท่านั้น

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การที่หน่วยงานสร้างมายาคติ โดยเฉพาะอคติเรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่น เพื่อ “ความสวยงาม” มากกว่า การสร้างผลลัพธ์เรื่องการแก้ปัญหาการกัดเซาะแบบใช้ “ปัญญา” ทำให้เราเห็นโครงการกำแพงกันคลื่นที่สร้างใหม่ สร้างซ้ำ สร้างได้ต่อเนื่องบนพื้นที่เดิม และมี “มือที่มองไม่เห็น” ได้ประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การปลูกป่า โดยการกล่าวอ้างเทศกาลต่าง ๆ และนับผลผลิตต้นไม้ที่ปลูก ไร่ที่ดำเนินการ มากกว่า “ป่าที่ควรจะได้เพิ่ม” หากย้อนกลับไปดูจึงจะเห็นว่า งบประมาณที่สูญเสียไปนั้นมีทั้งตั้งใจให้เป็น และแหล่งสร้างงบประมาณให้ “มือที่มองไม่เห็น” ดังกล่าว

ปัญหาทั้งหมดคือ การไม่ใส่ใจผลลัพธ์ และการไม่ใช้เครื่องมือ ในกระบวนการจัดสรรและตรวจสอบอย่างเพียงพอ

ในประเทศไทยผู้ที่ศึกษาเรื่องการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนมาอย่างยาวนานต่อเนื่องคนหนึ่ง คือ คุณสฤณี อาชวานันทกุล และคณะ ด้วยความมุ่งหวังอย่างแรงกล้าที่จะเห็นประเทศไทยพัฒนาในทางที่ถูกที่ควร นั่นคือ มีเครื่องมือ และใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องในการบริหารหน่วยงานโดยเฉพาะหน่วยงานราชการและสถาบันที่หน่วยงานราชการกำกับดูแล

การใช้ผลลัพธ์ทางสังคมในฐานะเครื่องมือการบริหารจัดการงบประมาณนั้น เป็นการสะท้อนความคุ้มค่าของเงินที่เสียไปกับประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้งบประมาณดังกล่าว หลายหน่วยงานถูกตั้งคำถามว่า หน่วยงานนั้น ๆ โดยเฉพาะองค์การมหาชน สร้างคุณูปการใดแก่ประเทศ การตั้งคำถามดังกล่าวไม่ได้เป็นการจับผิด หากแต่เป็นการให้ระลึกว่าการใช้เงินต้องมีความคุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้

ยิ่งไปกว่านั้น การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment-SROI) ซึ่งมีกระบวนการที่ยุ่งยากมากกว่านั้น มีประโยชน์ในการตอบคำถามสังคมในเรื่องการใช้เงินโดยเฉพาะงบประมาณของรัฐถึงความคุ้มค่าดังกล่าว 

สำหรับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม กลุ่มนี้มีทั้ง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment-EIA) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (Environmental Health Impact Assessment-EHIA) ซึ่งอยู่ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment-SEA) ซึ่งการประเมินทั้งสามถูกกำหนดในกฎหมายหลักและกฎหมายรองแล้วแต่ประเภท เครื่องมือเหล่านี้ ในระยะหลังมักจะถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่เจ้าของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน เพราะปัญหาเรื่องความไม่เป็นมืออาชีพ และเป็นอิสระ

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีเครื่องมือจำนวนมากในการพัฒนาประเทศ ทั้งการพัฒนาหน่วยงานนั้น ๆ ให้มีมาตรฐานและพัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างความมั่นใจในเรื่องการใช้เงิน/งบประมาณอย่างคุ้มค่า การคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนจากการดำเนินโครงการรัฐหรือเอกชนที่อาจส่งผลเสียต่อประชาชน ชุมชน สังคม และทรัพยากร หากแต่การใช้เครื่องมือดังกล่าวยังไม่ได้พัฒนาจนกระทั่งเกิดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง สร้างความเชื่อมั่น เชื่อใจให้กับประชาชน รวมไปถึงใช้ความรู้ที่ถูกต้องในการพัฒนาประประเทศ

ผู้เขียนเห็นว่า กรณีเช่นนี้ การให้หน่วยงานที่ที่กำหนดงบประมาณและตรวจสอบการใช้งบประมาณควรเป็นผู้สะท้อนเสียงการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับสังคม การใช้เครื่องมือที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของคนตัวเล็ก และการที่ทุกภาคส่วนเห็นคุณค่าของการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่าการกอบโกยของกลุ่มผลประโยชน์และการกระจายผลประโยชน์ที่บิดเบี้ยว และเป็นต้นทุนที่ขวางโอกาสการพัฒนาประเทศ


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

12 สงครามที่ ‘แพงที่สุด’ ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

ภาพการอพยพหนีตายออกกรุงคาบูล นครหลวงของอัฟกานิสถานอย่างสับสนวุ่นวายของพลเมืองหลาย ๆ ประเทศ ปรากฏให้เห็นแก่
ชาวโลก เป็นการแสดงถึงความล้มเหลวของรัฐบาลอเมริกันในการทำสงครามครั้งนี้ ด้วยงบประมาณสองล้านล้านเหรียญ (ราวหกสิบ
หกล้านล้านบาท เท่ากับงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยในขณะนี้ราว 21 ปี) จากภาษีของคนอเมริกัน ที่ใช้ในการส่งกองกำลัง และตั้งฐานทัพ การปฏิบัติการร่วมกับพันธมิตร ตลอดจนการฝึกและติดอาวุธให้กับกองทัพอัฟกันตลอด 20 ปี ประสบกับความล้มเหลวภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์

แต่สงครามครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลอเมริกันนำภาษีของอเมริกันชนมาใช้จ่ายมากที่สุดในการทำสงครามใหญ่ทั้งหมด 12 ครั้ง นับตั้งแต่การก่อร่างสร้างประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมา

มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม จากการศึกษาพิจารณาว่า 12 สงครามที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ จากรายงานปี 2010 โดย Congressional Research Service เรื่อง "Costs of Major U. S. Wars" (ซึ่งต่อมามีการประมาณการเปรียบเทียบเป็นมูลค่าของเงินในปี 2019) มีรายละเอียดดังนี้

>> 12.) สงครามปี 1812
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 1.78 พันล้านดอลลาร์ (ราว 5.874 หมื่นล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 2 ปี 8 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 15,000 นาย 

สหรัฐอเมริกาที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่มีข้อพิพาทกับจักรวรรดิอังกฤษในต้นศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาอ้างว่า อังกฤษกำลังพยายามกีดกันการค้า และบังคับให้ลูกเรือของสหรัฐฯ เข้าประจำการในราชนาวีอังกฤษ ความคับข้องใจที่เกี่ยวข้องกับสงครามของอังกฤษกับฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกายังมีความทะเยอทะยานที่จะขยายไปสู่แคนาดาที่อังกฤษควบคุม สหรัฐฯ ไม่ประสบความสำเร็จในการบุกแคนาดา และพ่ายแพ้ในด้านอื่น ๆ รวมถึงกองทัพอังกฤษสามารถยึดและเผากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้

ถึงกระนั้น สหรัฐฯ ก็ยังทนต่อการระดมยิงของกองทัพเรืออังกฤษที่ฐานทัพในเมืองบัลติมอร์ และสามารถเอาชนะอังกฤษในนิวออร์ลีนส์ได้ สนธิสัญญาเกนต์ยุติสงครามที่ยาวนานเกือบสามปี โดยที่สหรัฐฯ รักษาอำนาจอธิปไตยของตนไว้ได้ แต่ถูกขัดขวางไม่ให้ขยายประเทศไปสู่แคนาดาทางเหนือ สงครามครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในห้าครั้งที่สหรัฐอเมริกาประกาศสงคราม

สงครามปี 1812 ใช้งบประมาณไป 1.78 พันล้านดอลลาร์ ชาวอเมริกันประมาณ 15,000 คนเสียชีวิตในสงครามจากการรบและโรคภัยในสนามรบ

>> 11.) สงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน 
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 2.72 พันล้านดอลลาร์ (ราว 8.976 หมื่นล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 1 ปี 9 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 13,283 นาย 

สงครามเม็กซิกัน-อเมริกันระหว่างปี ค.ศ. 1846 ถึงต้นปี ค.ศ. 1848 มีมูลค่า 2.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเด็นแห่งความขัดแย้งคือ เท็กซัส ซึ่งได้รับเอกราชจากเม็กซิโกเมื่อสิบปี (ก่อนสงครามฯ) เท็กซัสยังไม่ได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกา เพราะการรวมเข้าด้วยกันจะทำให้เสียสมดุลระหว่างรัฐทาสและรัฐอิสระที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงการประนีประนอมมิสซูรีในปี ค.ศ. 1820 การปะทะกันตามแนวริโอแกรนด์ทำให้เกิดการปะทะกัน เช่น การรบที่ปาโลอัลโต ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ชัยชนะ สงครามสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2391 โดยมีสนธิสัญญากัวดาลูเป-อีดัลโก ข้อตกลงดังกล่าวทำให้ริโอแกรนด์เป็นพรมแดนทางใต้ของเท็กซัส และสหรัฐฯ ได้ที่ดินในแคลิฟอร์เนีย ยูทาห์ เนวาดา แอริโซนา และนิวเม็กซิโกในปัจจุบัน

>> 10.) การปฏิวัติอเมริกา (สงครามประกาศอิสรภาพ) 
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 2.75 พันล้านดอลลาร์ (ราว 9.075 หมื่นล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 8 ปี 5 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 4,435 นาย 

สงครามประกาศอิสรภาพเกินเวลาแปดปีเศษ ทำให้ชาวอาณานิคมอเมริกาหมดค่าใช้จ่ายในการทำสงครามไป 2.75 พันล้านดอลลาร์และทหารอีกราว 4,400 ชีวิต ในขณะที่สงครามเริ่มต้นจากการประท้วงต่อต้านการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม มันจบลงด้วยการที่อาณานิคมและพันธมิตรสามารถเอาชนะจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งบรรดาผู้ก่อประเทศใหม่ปฏิเสธโครงสร้างทางสังคมและการเมืองของยุโรปเพื่อสนับสนุนสาธารณรัฐ สนธิสัญญาปารีสยุติสงครามในปี 1783 โดยยอมรับอย่างเป็นทางการว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศเอกราชและก่อตั้งพรมแดนขึ้น

>> 9.) สงครามสเปน-อเมริกา
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 10.33 พันล้านดอลลาร์ (ราว 3.4089 แสนล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 4 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 2,446 นาย 

สงครามครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นสงครามสื่อครั้งแรก สื่อมวลชนมีส่วนในการเติมไฟให้กับการมีส่วนร่วมของอเมริกาในการแสวงหาอิสรภาพจากสเปนของคิวบา เมื่อเรือรบยูเอสเอส เมน ซึ่งถูกส่งไปยังกรุงฮาวานาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวอเมริกัน เกิดระเบิดขึ้นอย่างกะทันหันในปี 1898 เสียงเรียกร้องให้สหรัฐฯ แทรกแซงเพิ่มขึ้น สภาคองเกรสประกาศสงครามอย่างเป็นทางการภายใต้บริบทของลัทธิมอนโร ซึ่งห้ามการแทรกแซงของยุโรปในซีกโลกตะวันตก กองกำลังของสหรัฐฯ เข้าบดขยี้กองกำลังของสเปนทั่วโลก และสหรัฐฯ ได้เกาะกวม เปอร์โตริโก และฟิลิปปินส์ในมหาสมุทรแปซิฟิก อันเป็นผลมาจากสงคราม ทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจระดับโลก

>> 8.2.) สงครามกลางเมืองอเมริกา (ฝ่ายสหพันธ์หรือฝ่ายใต้)
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 22.99 พันล้านดอลลาร์ (ราว 7.5867 แสนล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 4 ปี 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 750,000 คน (รวมทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้) 

สงครามกลางเมืองคร่าชีวิตชาวอเมริกัน 750,000 คน ทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ มากกว่าความขัดแย้งใด ๆ ในสหรัฐอเมริกา สงครามครั้งนี้ส่วนใหญ่สู้รบในประเด็นเรื่องความเป็นทาสและสิทธิของรัฐฯ และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในรัฐภาคใต้ ความขัดแย้งเริ่มต้นขึ้นหลังจากเซาท์แคโรไลนาแยกตัวจากสหภาพในปี 1861 สงครามได้ทำให้พื้นที่ทางใต้ส่วนใหญ่ทั้งภูมิภาคเสียหายไปหลายปี นอกจากการต่อสู้ที่มีเป็นที่รู้จักอย่าง Antietam, Bull Run และ Gettysburg ยังมีสงครามกองโจรตามรัฐชายแดนและพื้นที่ความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับประชาชนพลเรือน สงครามกลางเมืองยุติระบบการเพาะปลูกและสถาบันทาสในภาคใต้ หยุดยั้งความพยายามในการแยกตัวของรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

>> 8.1.) สงครามกลางเมืองอเมริกา (ฝ่ายสหภาพหรือฝ่ายเหนือ)
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 68.17 พันล้านดอลลาร์ (ราว 2.2496 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 4 ปี 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 750,000 นาย (รวมทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้) 

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตในสงครามกลางเมืองที่ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานมีประมาณ 620,000 นาย แต่ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2011 โดยนักประวัติศาสตร์ เจ. เดวิด แฮคเกอร์ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 750,000 นาย ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับความขัดแย้งใด ๆ ในสหรัฐอเมริกา สงครามซึ่งเริ่มขึ้นในปี 1861 ซึ่งสู้รบในปัญหาการเป็นทาสและสิทธิของรัฐฯ จบลงด้วยการยอมแพ้ของ พลเอก Robert E. Lee ต่อ พลเอก Ulysses S. Grant ที่ คฤหาสน์ Appomattox Court มลรัฐเวอร์จิเนียในอีกสี่ปีต่อมา สงครามเพื่อให้สหรัฐอเมริกากลับมาเป็นเป็นหนึ่งเดียวและเลิกทาสได้ทำให้ฝ่ายสหภาพ (ฝ่ายเหนือ) หมดงบประมาณไป 68.17 พันล้านดอลลาร์

>> 7.) สงครามอ่าวเปอร์เซีย
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 116.6 พันล้านดอลลาร์ (ราว 3.8478 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 7 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 383 นาย 

สงครามอ่าวเปอร์เซีย หนึ่งในความขัดแย้งที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ มีมูลค่า 116.6 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 0.3% ของ GDP สหรัฐฯ ในปี 1991 ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นในตะวันออกกลางเมื่อผู้นำเผด็จการอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน บุกคูเวตในเดือนสิงหาคม 1990 แม้จะมีการเรียกร้องจากสหรัฐฯ ให้อิรักถอนตัว แต่ฮุสเซนผู้นำอิรักปฏิเสธ ไม่กี่เดือนต่อมากองกำลังพันธมิตรขนาดใหญ่ที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงพันธมิตรนาโต้และประเทศในตะวันออกกลาง เช่น อียิปต์และซาอุดิอาระเบีย ได้เริ่มปฏิบัติการพายุทะเลทราย การบุกกินเวลาเพียง 42 วันและจบลงด้วยความหายนะของอิรักในเดือนกุมภาพันธ์ 1991 ฮุสเซนตกลงที่จะยอมรับอำนาจอธิปไตยของคูเวตและทำลายคลังอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง เช่น อาวุธนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมี

อย่างไรก็ตาม ฮุสเซนยังคงอยู่ในอำนาจ ถือเป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ครั้งแรกหลังจากสงครามเย็น ในขณะนั้นสงครามอ่าวเปอร์เซียได้รับการประกาศให้เป็นความสำเร็จของกองกำลังพันธมิตรนานาชาติ (สงครามครั้งนี้ มีประเทศในตะวันออกกลางร่วมออกค่าใช้จ่ายด้วย อาทิ ซาอุดิอาระเบีย)

>> 6.) สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 381.8 พันล้านดอลลาร์ (ราว 12.5994 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 1 ปี 7 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 116,516 นาย 

สงครามปะทุขึ้นในยุโรปในปี 1914 แต่สหรัฐฯ ยังคงความเป็นกลางต่อมาอีกสามปี ครั้งนั้นสถาบันการเงินของอเมริกาพากันเจริญรุ่งโรจน์ โดยการให้กู้ยืมเงินแก่คู่สงคราม ส่วนใหญ่เป็นฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาค่อย ๆ ถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้ง ส่วนใหญ่สาเหตุเพราะเยอรมนีใช้การทำสงครามใต้น้ำแบบไม่จำกัดกับเรือทุกลำที่มุ่งหน้าไปยังประเทศต่าง ๆ ที่ตนกำลังสู้รบอยู่ เมื่อหน่วยข่าวกรองของอังกฤษเปิดเผยการสื่อสารจากนักการทูตเยอรมันถึงทูตเม็กซิกันที่เสนอให้เป็นพันธมิตรระหว่างสองประเทศหากสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามกับเยอรมนี สหรัฐอเมริกาจึงต้องดำเนินการประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 2 เมษายน 1917 สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในอีก 19 เดือนต่อมา มีทหารอเมริกันเสียชีวิตมากกว่า 116,000 นาย ในท้ายที่สุด ความขัดแย้งนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียงบประมาณในการทำสงครามถึง 381.8 พันล้านดอลลาร์

>> 5.) สงครามเกาหลี
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 389.81 พันล้านดอลลาร์ (ราว 12.86373 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 3 ปี 1 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 36,574 นาย 

ในเดือนมิถุนายน 1950 กองทัพเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตได้ข้ามเส้นขนานที่ 38 ที่แบ่งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เป็นการเริ่มสงครามเกาหลี ด้วยความหวาดกลัวต่อการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้ขับไล่กองกำลังเกาหลีเหนือออกจากเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม พลเอกดักลาส แมคอาเธอร์ได้ไล่ตามทหารเกาหลีเหนือไปยังแม่น้ำยาลู ซึ่งเป็นพรมแดนทางเหนือระหว่างจีนกับคาบสมุทรเกาหลี ชาวจีนตีความการกระทำของพลเอกแมคอาเธอร์ว่าเป็นการทำสงคราม และเข้าร่วมสู่ความขัดแย้ง โดยผลักดันกองทหารของสหประชาชาติลงมาทางตอนใต้ของคาบสมุทร สงครามสิ้นสุดลงในที่สุดหลังจากดไวท์ ไอเซนฮาวร์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ หากชาวเกาหลีเหนือหรือจีนไม่เคารพเส้นขนานที่ 38 ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศในท้ายที่สุด สงครามเกาหลีมีมูลค่า 389.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีทหารอเมริกันเสียชีวิตประมาณ 36,000 คน

>> 4.) สงครามเวียดนาม
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ  : 843.63 พันล้านดอลลาร์ (ราว 27.83979 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 17 ปี 9 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 58,220 นาย 

สงครามในเวียดนามมีมูลค่า 843.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในปี 2019) หรือ 2.3% ของ GDP ของปี 1968 ในตอนท้ายของความขัดแย้ง มีการบันทึกชื่อของทหารที่เสียชีวิตมากกว่า 58,000 คนไว้ที่อนุสรณ์สถานทหารผ่านศึกเวียดนามในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. หลังจากเวียดนามเอาชนะฝรั่งเศสในปี 1954 สิ้นสุดยุคอาณานิคมที่โหดร้าย ตามสนธิสัญญา Geneva กำหนดให้มีการเลือกตั้งในภาคใต้ในปีต่อไป ด้วยความมุ่งมั่นที่จะไม่ปล่อยให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่ขยาย สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน Ngo Dinh Diem นักการเมืองคาทอลิกเวียดนามที่มีการศึกษาด้วยภาษาฝรั่งเศสในเวียดนามใต้ ในปี 1965 สหรัฐฯ ส่งกองกำลังเข้าไปในเวียดนามใต้ Ngo Dinh Diem ก็ถูกลอบสังหาร และสหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ที่นำโดยกองทัพ เวียดนามเหนือและเวียดกง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียตใช้กลยุทธ์แบบกองโจรเพื่อโจมตีกองทหารและฐานทัพของสหรัฐฯ เป็นหลัก ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 การสนับสนุนจากสาธารณชนในสงครามในสหรัฐฯ ลดลง และทหารอเมริกันถอนกำลังในปี 1973 และเวียดนามใต้ตกเป็นคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือในเดือนเมษายน 1975

>> 3.) สงครามอิรัก
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 1.01 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 33.33 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 7 ปี 5 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 4,410 นาย 

ความขัดแย้งในอิรักทำให้สหรัฐฯ เสียหายประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ ด้วยเชื่อว่าอิรักมีอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง กองกำลังอเมริกันบุกอิรักในปี 2003 และโค่นล้ม ซัดดัม ฮุสเซน รัฐบาลสหรัฐฯ เชื่อว่า การเลือกตั้งในอิรัก เช่นเดียวกับการฝึกอบรมบุคลากรทางทหารเพื่อช่วยให้ภูมิภาคมีเสถียรภาพจะเป็นผลสำเร็จ ถึงกระนั้นประเทศอิรักก็ยังคงถูกทำลายด้วยความขัดแย้งและความหวาดกลัวจนทุกวันนี้

>> 2.) สงครามในอัฟกานิสถาน
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 2.261 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 74.61 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 19 ปี 10 เดือน 1 สัปดาห์ 1 วัน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 2,448 นาย 

สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปพัวพันกับการต่อสู้อย่างต่อเนื่องในอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี 2011 หลังจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 สหรัฐอเมริกาได้บุกอัฟกานิสถานประเทศในเอเชียกลางเพื่อขับไล่กลุ่มตอลิบานที่ปกครอง ซึ่งให้การสนับสนุนอัลกออิดะห์ กลุ่มก่อการร้ายที่รับผิดชอบในการโจมตีของผู้ก่อการร้าย 9/11 พร้อมทั้งให้ที่หลบภัย ทว่าตลอดระยะเวลากว่า 17 ปีนับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นขึ้น กองทัพสหรัฐฯ ยังไม่สามารถสถาปนาอัฟกานิสถานให้เป็นสถานที่ปลอดภัยและมั่นคงได้ สงครามในอัฟกานิสถานตอนนี้เป็นสงครามเดียวในประวัติศาสตร์การทหารของสหรัฐฯ ที่มีผู้บัญชาการสูงสุดสี่คนเป็นผู้นำในการทำสงคราม ตั้งแต่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ถึงบารัค โอบามา โดนัลด์ ทรัมป์ และตอนนี้คือ โจ ไบเดน ไม่มีใครสามารถหาวิธีทำให้สงครามที่ยืดเยื้อยุติลงได้ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ตัดสินใจถอนทหารอเมริกันออกจากอัฟกานิสถาน อันที่มาของการอพยพหลบหนีที่สับสนวุ่นวายของพลเมืองหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งปรากฏให้เห็นแก่ชาวโลกในขณะนี้

>> 1.) สงครามโลกครั้งที่สอง 
- ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของสหรัฐฯ : 4.69 ล้านล้าน (ราว 154.77 ล้านล้านบาท) 
- ระยะเวลา : 3 ปี 9 เดือน 
- ทหารอเมริกันเสียชีวิต : 405,399 นาย 

สหรัฐอเมริกาใช้เงินมากกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 36% ของ GDP เพื่อต่อสู้กับสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารสหรัฐฯ มากกว่า 400,000 นาย ถูกสังหารในความขัดแย้งเพื่อเอาชนะนาซีเยอรมนี อิตาลี และจักรวรรดิญี่ปุ่น การมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 1939 หนึ่งวันหลังจากที่ญี่ปุ่นทิ้งระเบิดอ่าวเพิร์ล ฮาวาย อเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมนีและอิตาลีอย่างเป็นทางการในอีกสามวันต่อมา หลังจากที่เยอรมนีและอิตาลีประกาศสงครามกับสหรัฐฯ หลังการยึดครองส่วนใหญ่ของยุโรป

เยอรมนีโจมตีสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตเผชิญกับการบุกทางภาคพื้นดินจากเยอรมนี ก่อนที่สหรัฐฯ และพันธมิตรจะเปิดแนวรบด้านตะวันตกในปี 1944 สงครามยุโรปสิ้นสุดลงในเดือนพฤษภาคม 1945 และญี่ปุ่นยอมจำนนหลังจากที่สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้นเอง สงครามโลกครั้งที่สองทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตกลายเป็นมหาอำนาจที่ใหญ่ที่สุดในโลกและกลายเป็นคู่ขัดแย้งกันในสงครามเย็น

สงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงเป็นความขัดแย้งที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็นเกือบ 36% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศในปี 1945 หรือ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ตามค่าเงินดอลลาร์คงที่ที่ปรับอัตราเงินเฟ้อ สงครามในอัฟกานิสถานและอิรักจัดเป็นความขัดแย้งที่แพงที่สุดเป็นอันดับสองและสามในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาตามลำดับ สงครามในอัฟกานิสถานเป็นสงครามยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ แม้ว่าจะไม่ใช่สงครามที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ก็ตาม

สงครามหลายครั้งในช่วงแรก ๆ ของประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สหรัฐฯ ได้ดินแดนและอาณาเขตเพิ่มขึ้น สงครามเม็กซิกัน-อเมริกันในทศวรรษ 1840 ทำให้เกิดอาณาเขตส่วนใหญ่ที่ประกอบขึ้นเป็นภาคตะวันตกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ในทำนองเดียวกัน สงครามสเปน-อเมริกาในปลายศตวรรษที่ 19 จบลงด้วยการที่สหรัฐฯ ควบคุมเกาะกวม เปอร์โตริโก และฟิลิปปินส์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ผลของสงครามเหล่านี้และอื่น ๆ นำไปสู่การสร้างฐานทัพทหารขนาดใหญ่ทั่วโลกของสหรัฐฯ

ในทุกความขัดแย้งก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง งบประมาณการป้องกันประเทศเกือบทั้งหมดถูกใช้ไปกับความขัดแย้งโดยตรง ซึ่งจัดว่าเป็นการใช้จ่ายในช่วงสงคราม ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาใช้ 1.1% ของ GDP ในปี 1899 เพื่อต่อสู้กับสงครามสเปน-อเมริกา ซึ่งเกือบทั้งงบประมาณการป้องกันประเทศอยู่ที่ 1.5% ของ GDP

แนวโน้มดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงเริ่มต้นของสงครามเย็น เนื่องจากความขัดแย้งทางทหารที่คุกคามอย่างต่อเนื่อง สหรัฐอเมริกาจึงต้องพร้อมสำหรับการทำสงครามเมื่อใดก็ได้ สิ่งนี้นำไปสู่การแข่งขันด้านอวกาศและอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นลำดับความสำคัญระดับชาติ ส่งผลให้การใช้จ่ายในช่วงสงครามและการใช้จ่ายด้านการป้องกันเริ่มแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามเกาหลี การใช้จ่ายด้านสงครามคิดเป็น 4.2% ของ GDP ในปี 1952 ในขณะที่การใช้จ่ายด้านการป้องกันทั้งหมดคิดเป็นมากกว่า 13% ของ GDP ที่ 649 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018 สหรัฐอเมริกาใช้เงินมากที่สุดในการทำสงครามมากกว่าประเทศใด ๆ ในโลก

การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำสงครามในช่วงเกือบ 250 ปีอาจเป็นเรื่องยาก ในขณะที่จัดทำรายงานมีความพยายามแก้ไขอัตราเงินเฟ้อโดยคำนวณต้นทุนของสงครามแต่ละครั้งให้มูลค่าเป็นปัจจุบัน การปรับอัตราเงินเฟ้อไม่ได้คำนึงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นไปได้อย่างยิ่งที่สงครามจะมีราคาแพงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากความซับซ้อนและการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ผลพลอยได้จากการผลิตวัสดุสงครามคือการสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่คิดค้นโดยกองทัพ ค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม ยังไม่รวมสวัสดิการและค่าใช้จ่ายในการดูแลทหารผ่านศึก ดอกเบี้ยเงินกู้ของเงินทุนที่ใช้ในการทำสงคราม และความช่วยเหลือแก่พันธมิตรชาติต่าง ๆ อีกมหาศาล

สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลและกองทัพอเมริกันน่าจะไม่ได้ทำการสรุปบทเรียนจากความล้มเหลวในการทำสงคราม เพื่อเป็นข้อมูลในกรณีศึกษาความผิดพลาดล้มเหลวเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก กรณีที่เกิดขึ้นในสมรภูมิ "อัฟกานิสถาน" ถือได้ว่าเป็นสมรภูมิ "เวียดนาม" แห่งที่สองของกองทัพอเมริกัน ซึ่งเคยมีบทเรียนจากทั้งความล้มเหลวในเวียดนาม และของกองทัพอดีตสหภาพโซเวียตในสมรภูมิแห่งนี้คงไม่ได้นำมาสรุปทบทวนเพื่อวางแผนปรับปรุงแก้ไขในการทำสงครามตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมาเลย หรืออาจมีคนทำแล้วแต่บุคคลระดับสูงไม่ได้ให้ความสนใจ เรื่องราวของสงครามอัฟกานิสถานจึงจบด้วยเงินภาษีของคนอเมริกันกว่าสองล้านล้านเหรียญ ดังที่เห็นเป็นข่าวในเวลานี้


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top