Friday, 3 May 2024
COLUMNIST

อนาคต ‘หัวลำโพง’!! ต้องเดินหน้าด้วยการแปลง ‘คุณค่า’ เป็น ‘มูลค่า’ และเข้าใจผู้ใช้บริการ

กรณีที่สังคมไทยวิพากษ์เรื่องทิศทางในอนาคตของหัวลำโพง ค่อนข้างจะเป็นประเด็นร้อน แต่ทั้งนี้เราอาจสรุปสั้น ๆ ได้ว่า “ไม่ทุบ แต่ปิดตัว” คือไม่มีการทุบทำลายหัวลำโพงตามที่มีข่าวลือออกมา

แต่อีกด้านคือ มีการยุติการเดินรถไฟเข้าที่สถานีหัวลำโพง และจะปรับหัวลำโพงเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ทราบว่าหัวลำโพงที่ถูกปรับเป็นพิพิธภัณฑ์จะมีหน้าตาอย่างไร

>> แผนลงทุนและปลดหนี้ของการรถไฟ
หากเรานำแผนการพัฒนาระบบคมนาคมมากางดู จะเห็นว่ารัฐบาลได้ย้ายศูนย์กลางคมนาคมทางราง จากหัวลำโพงไปยังสถานีบางซื่อ ซึ่งจะเป็นจุดที่มีทั้งรถไฟชานเมือง (Commuter) รถไฟในเมือง (Metro) และรถไฟทางไกล/เชื่อมเมือง (Long Distance / Intercity) และรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) ในขณะที่หัวลำโพงจะกลายเป็นแค่สถานีหนึ่งในโครงข่ายทั้งหมดเท่านั้น 

และเนื่องจากการรถไฟฯ เป็นหนึ่งในองค์กรภาครัฐที่มีหนี้สินจากการให้บริการสาธารณะมากที่สุด โดยภาระหนี้ของรถไฟที่ขาดทุนสะสมต่อเนื่องอยู่ที่ 150,000 - 160,000 ล้านบาท ทำให้เมื่อกันยายน ปี 2563 การรถไฟฯ ได้ตั้งบริษัทบริหารลูกมาเพื่อทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้ การรถไฟฯ จึงมีแผนจะนำเอาหัวลำโพงไปทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และนำพื้นที่ของการรถไฟบางส่วน ให้เอกชนมาลงทุนเชิงพาณิชย์ เพื่อหาเงินเข้าการรถไฟฯ

โดยตามแผนภายใน 30 ปี พบว่า จะมีรายได้เข้ามารวม 800,000 ล้านบาท โดยในปีแรกจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท และปีที่ 5 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาการขาดทุนสะสมต่อเนื่องได้

ซึ่งก็ถือเป็นแผนที่ดี ที่หน่วยงานภาครัฐตั้งใจจะแก้ไขปัญหาขาดทุนสะสม และหาเงินสำหรับมาใช้พัฒนาองค์กรและบริการสาธารณะให้ดีขึ้นในอนาคต และก็คงไม่มีใครคัดค้าน หากว่าการรถไฟไม่มีแผนจะมีการหยุดการเดินรถเข้ามาที่สถานีหัวลำโพง

>> ความเดือดร้อนของประชาชน
ตามแผนพัฒนาระบบคมนาคม สถานีรถไฟบางซื่อ-หัวลำโพง จะมีการเชื่อมกันอย่างแน่นอน โดยจะวิ่งผ่านสามเสนลงมายังหัวลำโพง แต่ปัจจุบันแม้จะใกล้สิ้นปี 2564 แล้ว โครงการนี้ยังอยู่ในช่วงของการเริ่มประมูลเท่านั้น กว่าจะประมูลจบและเริ่มก่อสร้างก็คงใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 4-5 ปี

ในขณะที่ถ้ายกเลิกการเดินรถเข้าหัวลำโพง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้โดยสารเดิมที่จะเข้ามาที่หัวลำโพง ต้องลงที่สถานีบางซื่อ แล้วต่อรถเข้าไปแถวหัวลำโพงอีก หากเดินทางด้วย MRT อย่างน้อยก็ 42 บาท หรือต้องต่อรถเมล์-รถตู้ ซึ่งจะทำให้พวกเขามีค่าใช้จ่ายประจำวันเพิ่มขึ้น และคนที่ใช้บริการรถไฟแบบเช้า-เย็น ส่วนมากเป็น ‘ผู้มีรายได้น้อย’ ที่อาจมีการเพิ่มต้นทุนชีวิตเข้ามาอีกเกือบ 90 บาทต่อวันสำหรับพวกเขาถือเป็นเรื่องที่หนักหนามาก 

หมายความว่าพวกเขาต้องรออีก 4-5 ปีให้ส่วน missing link บางซื่อ-สามเสน-หัวลำโพง เสร็จสิ้น แถมเมื่อเสร็จแล้วก็ไม่รู้ว่าค่าเดินทางจะเป็นเท่าไร ซึ่งถ้าเทียบกับรถไฟชั้น 2-3 ซึ่งมีค่าเดินทางที่ประหยัดกว่า ก็อาจเป็นตัวเลือกที่ไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไรนัก

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่กระทบต่อประชาชนโดยตรง และทำให้มีแรงต้านจากสังคมอย่างรุนแรง จนทำให้นายกรัฐมนตรีต้องออกคำสั่งให้มีการทบทวนแนวทางของการรถไฟ ที่จะยุติการเดินรถเข้ามาที่สถานีหัวลำโพงเสียใหม่ โดยให้มีการฟังเสียงสะท้อนของประชาชนให้รอบด้านเสียก่อน

>> แนวทางการพัฒนาที่สังคมคาดหวัง
นอกจากประเด็นเรื่องการคมนาคมแล้ว ปัญหาอีกอย่างที่ทำให้สังคมวิจารณ์กันมากในเรื่องหัวลำโพงก็คือ ภาพจำลอง 3 มิติที่ถูกเผยแพร่ออกมา แสดงให้เห็นถึงตึกสูงซึ่งถูกสร้างในที่ดินด้านหลังอาคารหัวลำโพง ที่การเลือกมุมภาพ ทำให้รู้สึกเหมือนตึกที่ถูกสร้างใหม่นั้นไปข่มความสำคัญของอาคารหัวลำโพงเดิมลง

ในขณะที่เมื่อลองดูกรณีศึกษาในต่างประเทศที่มีการนำสถานีรถไฟเก่าไปปรับปรุงหรือเปลี่ยนการใช้งานเป็นพิพิธภัณฑ์ เช่น กรณี Musée d'Orsay ที่อยู่ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีเปลี่ยนสถานีรถไฟเก่าแก่อายุร้อยกว่าปี (เช่นเดียวกับหัวลำโพง) ไปเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ หรือ Art Gallery

ภาพสถานีรถไฟ Orsay ในอดีต ที่ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็น Art Gallery ในปัจจุบัน

โดยในพิพิธภัณฑ์นั้นมีการเก็บศิลปะในอดีตไว้ ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่งานศิลปะสมัยใหม่และพื้นที่กิจกรรม ให้ศิลปินได้มาปล่อยของ แสดงฝีมือ เรียกว่าทั้งรักษารากวัฒนธรรมเดิม และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ไปพร้อมกัน ในขณะที่ด้านนอกก็ทำเป็นพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่สีเขียวให้ผู้คนได้เข้าไปใช้งาน

บรรยากาศการแสดงงานศิลปะภายในพิพิธภัณฑ์ Orsay

ด้วยความน่าสนใจดังกล่าว ได้เปลี่ยนให้สถานีรถไฟเก่า กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียง และสามารถหารายได้จากร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรมภายในอาคาร โดยที่ยังรักษาคุณลักษณะ (Character) ที่แสดงถึงความเป็นสถานีรถไฟเก่าแก่ได้อย่างชัดเจน และกลายมาเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ Art Gallery แห่งนี้ต่างจากที่อื่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการมองเห็นความสำคัญของอาคารประวัติศาสตร์ และเข้าใจคุณค่า (Cultural & Social Value) ที่สามารถนำไปสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ได้ 

Café ในพิพิธภัณฑ์ Orsay ที่ใช้คุณลักษณะของอาคารเก่ามาเป็นจุดขาย

‘สตรี’ กับบทบาท!! ‘สร้างสันติภาพ’ และ ‘ความมั่นคง’

"สตรีเป็นผู้แบกฟ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง" ประธานเหมา เจ๋อ ตุง ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้กล่าวไว้


ภารกิจการรักษาสันติภาพ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนถึงจำนวนประชากรที่กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติต้อง ควบคุม ดูแล และบุคลากรสตรีกลายเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งในครอบครัวของกองกำลังรักษาสันติภาพฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย บุคลากรสตรีถูกนำไปปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ ทั้งที่เป็น ตำรวจ ทหาร และพลเรือน และได้สร้างผลงานเชิงบวกต่อสภาพแวดล้อมในการรักษาสันติภาพ ตลอดจนการสนับสนุนบทบาทของสตรีในการสร้างสันติภาพและปกป้องสิทธิสตรี ภารกิจการรักษาสันติภาพในทุก ๆ ด้าน เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรีได้พิสูจน์แล้วว่า พวกเธอสามารถทำหน้าที่เดียวกัน ได้มาตรฐานเดียวกัน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ยากลำบากเช่นเดียวกับบุรุษ ทั้งมีความจำเป็นมากมายในการปฏิบัติงานที่ต้องสรรหาเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี พ.ศ. 2536 จำนวนสตรีคิดเป็นเพียง 1% ของบุคลากรในภารกิจการรักษาสันติภาพ ในปี พ.ศ. 2563 จากเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพประมาณ 95,000 นาย มีสตรีคิดเป็น 4.8% ของกองกำลังทหารรักษาสันติภาพฯ และ 10.9% ของหน่วยตำรวจรักษาสันติภาพฯ ที่จัดตั้งขึ้น และ 34% ของเจ้าหน้าที่อำนวยความยุติธรรม และงานรัฐทัณฑ์ที่รัฐบาลนานาชาติจัดหามาปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ แม้ว่าสหประชาชาติจะสนับสนุนและสนับสนุนการนำสตรีเข้าปฏิบัติงานในภารกิจการรักษาสันติภาพ แต่ความรับผิดชอบในการส่งสตรีเข้าเป็นตำรวจและทหารนั้นเป็นของรัฐสมาชิก กองตำรวจแห่งสหประชาชาติเปิดตัว 'ความพยายามระดับโลก' เพื่อรับสมัครเจ้าหน้าที่ตำรวจสตรีเข้าเป็นตำรวจแห่งสหประชาชาติชาติ และปฏิบัติหน้าที่ตำรวจของสหประชาชาติทั่วโลก เป้าหมายคือ ปี พ.ศ. 2571 สำหรับสตรีที่ในหน่วยทหารคือ 15% และ 25% สำหรับผู้สังเกตการณ์ทางทหารและเจ้าหน้าที่ทั่วไป และเป้าหมายปี  พ.ศ. 2571 สำหรับสตรีในหน่วยตำรวจในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ตั้งไว้คือ 20% 

ความสำคัญของการมีเจ้าหน้าที่สตรีในกองกำลังรักษาสันติภาพ จำนวนมากขึ้นของเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจสตรีในการรักษาสันติภาพหมายถึง การรักษาสันติภาพนั้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรีช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาสันติภาพโดยภาพรวม สามารถเข้าถึงชุมชนได้มากขึ้น ช่วยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองพลเรือน และสนับสนุนให้สตรีกลายเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสันติภาพและการเมือง

การดำเนินงานและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น 
>> ความหลากหลายที่มากขึ้นและชุดทักษะที่กว้างขึ้นหมายถึง การตัดสินใจ การวางแผนและผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น
>> การเข้าถึงที่ดีขึ้น : เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรีสามารถเข้าถึงประชาชนได้ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงสตรีและเด็ก ตัวอย่างเช่น โดยการสัมภาษณ์และสนับสนุนผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงและความรุนแรงต่อเด็กตามเพศ ดังนั้นจึงต้องมีข้อมูลสำคัญที่อาจเข้าถึงได้ยาก 

สะท้อนถึงชุมชนที่กองกำลังรักษาสันติภาพฯ ให้บริการ  
>> ความหลากหลายในหน่วยรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับสมาชิกทุกคนในชุมชนที่กำลังปกป้องอยู่

การสร้างความไว้วางใจและความมั่นใจ 
>> เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรี เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นให้กับชุมชนท้องถิ่น และช่วยปรับปรุงการเข้าถึงและการสนับสนุนสำหรับสตรีในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น โดยการปฏิสัมพันธ์กับสตรีในสังคมที่สตรีไม่ได้รับอนุญาตให้พูดกับบุรุษนอกครอบครัว

การช่วยป้องกันและลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้า 
>> ความหลากหลายในการรักษาสันติภาพ ช่วยจัดการกับผลกระทบเชิงลบที่ไม่สมส่วนซึ่งความขัดแย้งมีต่อการดำรงชีวิตของสตรี และนำมุมมองและแนวทางแก้ไขใหม่ ๆ มาสู่การเจรจาพูดคุยและตกลง โดยการตอบสนองความต้องการของสตรีในบริบทที่มีความขัดแย้งและภายหลังความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอดีตทหารสตรีและทหารเด็กในระหว่างการปลดประจำการ และการกลับคืนสู่ชีวิตพลเรือน

การสร้างแรงบันดาลใจและการสร้างแบบอย่าง 
>> เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรีทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และแบบอย่างที่ทรงพลังสำหรับสตรีและเด็กสตรีในสภาพแวดล้อมภายหลังความขัดแย้งในชุมชน เป็นตัวอย่างให้พวกเขาเข้าใจในสิทธิของตนเอง และสามารถประกอบอาชีพที่ต่างไปจากวิถีดั้งเดิม

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรีในการรับมือ COVID-19 เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่ง นั่นคือ การระบาดใหญ่ของ COVID-19 เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพต้องช่วยเหลือรัฐบาลและชุมชนท้องถิ่นในการต่อสู้กับการแพร่ระบาด และยังคงต้องปรับกิจกรรมของตนเพื่อดำรงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาต่อไป ซึ่งรวมถึงการปกป้องชุมชนต่าง ๆ ที่เปราะบางด้วย เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสตรีอยู่ในแนวหน้าของการต่อสู้ครั้งนี้ และเป็นส่วนสำคัญของการรับมือ COVID-19 เช่นเดียวกับการปฏิบัติตามคำสั่งตามภารกิจ ภายใต้ข้อจำกัดในปัจจุบัน และในขณะที่ใช้มาตรการป้องกันก่อนทั้งหมด

ความคิดริเริ่มที่สำคัญในปฏิบัติการสันติภาพ ขณะนี้ประเทศสมาชิกได้รับการร้องขอให้เสนอชื่อสตรีอย่างน้อย 20% สำหรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและ 30% สำหรับเจ้าหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและงานรัฐทัณฑ์ที่รัฐบาลต่าง ๆ จัดหา บุคลากรสตรีที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการจัดลำดับความสำคัญสำหรับตำแหน่งทหารของเจ้าหน้าที่แต่ละคน ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ และภารกิจภาคสนาม ตลอดจนเจ้าหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและงานรัฐทัณฑ์ที่รัฐบาลต่าง ๆ จัดหา

หน่วยงานจัดลำดับความสำคัญของสตรี ตำรวจที่จัดตั้งขึ้นซึ่งรวมถึงกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ กำลังแนะนำหน่วยรบที่ประกอบด้วยสตรีอย่างน้อย 50% เจ้าหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและงานรัฐทัณฑ์สนับสนุนชุดของการฝึกอบรมก่อนการปรับใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สตรีโดยเฉพาะ สำนักงานตำรวจแห่งสหประชาชาติกำลังดำเนินการเกี่ยวกับข้อตกลงทางเพศโดยสมัครใจตามที่เลขาธิการฯ เสนอเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในสำนักงานตำรวจแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบัญญัติสำหรับข้อผูกพันโดยรัฐสมาชิก PCCs เพื่อเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างที่จำเป็นมาก (นโยบายและกฎหมาย) การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรับรองการรับสมัครสตรีที่เพิ่มขึ้นในสถาบันตำรวจของรัฐเจ้าภาพ มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำที่เข้มแข็งในการแต่งตั้งสตรีให้ดำรงตำแหน่งผู้นำระดับสูง

กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติได้ส่งสตรีจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ในการมีบทบาททางทหารที่อาวุโสที่สุดในปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติ โดยมีผู้บัญชาการกองกำลังเป็นสตรีหนึ่งนาง และรองผู้บังคับบัญชากองกำลังสตรีสองนาง ซึ่งกำลังประจำการอยู่ในสนาม

ร.ต.อ.หญิง อุภิญญา บุญเรืองนาม รอง สว.ประจำกองการต่างประเทศ ร่วมปฏิบัติภารกิจกับ UNPOL ในซูดานใต้

“ปลอม - เท็จ”!! ระเบิดเวลา ‘สหกรณ์ออมทรัพย์’ คอร์รัปชัน...ไหมครับท่าน ตอนที่ 8

สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร อยู่ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ มีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ รับผิดชอบทำหน้าที่ “นายทะเบียน” ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

ในด้านดี สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่เป็นการจัดสวัสดิการภายในให้กับหน่วยงาน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้สมาชิก ส่งเสริมการออม และเป็นแหล่งเงินทุนที่มีดอกเบี้ยราคามิตรภาพให้แก่สมาชิก ในขณะที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าตลาดในการระดมเงินฝาก หรือจ่ายเงินปันผลในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับการฝากธนาคาร ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มีความเป็นอยู่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเกษียณอายุ

แม้ว่าในระยะหลังข่าวคราวของวงการสหกรณ์จะไม่สู้ดี เนื่องจากมีบางสหกรณ์ที่ไม่ทำหน้าที่ตามปรัชญาและอุดมการณ์ของสหกรณ์ จึงเกิดกรณีสลากกินแบ่งรัฐบาล กรณีคลองจั่น กรณีรถไฟ ซึ่งทั้งหมดพัวพันกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของคณะกรรมการดำเนินการ ส่วนกรณีทั่วไปที่ไม่เป็นข่าว เช่น การปลอมลายมือชื่อ การโกงของเจ้าหน้าที่ ความเสียหายยังจำกัดวง และสามารถแก้ไขได้ แต่ความน่าเชื่อถือของสหกรณ์นั้น ๆ จะลดลงไปเป็นลำดับ

ในบทบาทหนึ่งของสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้นั้น สหกรณ์มีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลือให้สมาชิกมีบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี สหกรณ์ส่วนใหญ่จึงมักให้สินเชื่อระยะยาวกับสมาชิกที่ซื้อหรือสร้างบ้าน เพื่อให้ผ่อนรายเดือนน้อย ๆ มีการสร้างฐานะและมีสวัสดิการที่ดีขึ้น

ในการกู้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินตามโครงการจัดสรรส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากราคาที่ดิน และการปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้เอกสารต่าง ๆ ถูกต้องตามกฎหมายสามารถนำไปยื่นกู้กับสถาบันการเงินได้ และการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยก็ทำให้สมาชิกสหกรณ์ที่มีเครดิตดี มีความสามารถชำระหนี้ ก็เลือกกู้กับสถาบันการเงินหรือธนาคารทั่วไป ในขณะที่สหกรณ์ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยไม่ยืดหยุ่นนัก และบางแห่งมีอัตราเดียวที่สูงกว่าธนาคารทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ จะเห็นได้ว่า กรณีเช่นนี้จะก่อให้เกิดปัญหาคลาสสิกที่ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Adverse Selection หรือ การเลือกในทิศทางที่แย่

เรื่อง การเลือกในทิศทางที่แย่ รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ อธิบายไว้โดยใช้ตัวอย่างของระบบประกันภัยหรือประกันสุขภาพ ที่ว่า มีคนสุขภาพดีและคนป่วยอยู่ปนกัน หากบริษัทประกันเก็บเบี้ยประกันราคาเดียวจะทำให้มีแนวโน้มจะได้คนป่วยทำประกันมากกว่าคนสุขภาพดี แต่หากบริษัทประกันเก็บเบี้ยประกันตามความเสี่ยงทางสุขภาพหรือประวัติการขับรถ ก็จะทำให้ไม่เกิดปัญหา การเลือกในทิศทางที่แย่ 

รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ

ดังนั้น สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่ทำการปล่อยกู้นั้น จึงต้องคำนึงถึงปัญหาคลาสสิกนี้ เพราะมิเช่นนั้น การที่มีผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง ๆ รวมกันเป็นจำนวนมาก จะทำให้มีความเสี่ยงในการบริหารเงิน และต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งกระทบต่อการจ่ายเงินปันผล

ผู้กำกับดูแลสหกรณ์ จึงเคร่งครัดในเรื่องการปล่อยกู้ตามวัตถุประสงค์ และให้กรรมการและฝ่ายจัดการที่เกี่ยวข้องคอยกวดขันการปล่อยกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวมถึงให้กรรมการคอยสอดส่องไม่ให้หลักประกันบกพร่อง โดยกำหนดเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการ

“มะห์ซูหรี่” (Mahsuri) ตำนาน!! ‘คำสาปแห่งลังกาวี’ 

ผู้อ่านจาก Facebook ดร.โญ มีเรื่องเล่า ‘คุณแจ็คกี้ มวยไทย’ เขียน In Box มาว่า “อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องเกี่ยวกับสงครามประวัติศาสตร์หน่อยครับ ถึงตำนานแต่ละที่ของประวัติศาสตร์ เช่น คำสาปของเกาะลังกาวี ครับ” ซึ่งผมก็จัดให้เลย และขอมาเล่าเรื่องราวนี้ผ่าน THE STATES TIMES ก่อนนะครับ…

ลังกาวี (Langkawi) หรือ "ลังกาวี อัญมณีแห่งเกอดะฮ์ (Kedah หรือไทรบุรีของราชอาณาจักรสยาม/ไทยในอดีต)" (Langkawi Permata Kedah) เป็นเกาะในทะเลอันดามัน ใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ขึ้นกับรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย

ลังกาวี ตั้งอยู่ห่างจากเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูลของประเทศไทยเพียง 4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองกัวลาปะลิสประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเกอดะฮ์ 51 กิโลเมตร ประกอบด้วยกลุ่มเกาะเขตร้อนจำนวน 99 เกาะ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและมาเลเซียจากตำนานของ มะห์ซูหรี่ สตรีผู้ถูกประหารด้วยความอยุติธรรม โดยนางได้สาปแช่งเกาะลังกาวีไว้ก่อนสิ้นใจ และรัฐบาลมาเลเซียต้องนำทายาทรุ่นที่ 7 ของเธอมาถอนคำสาป

"ลังกาวี อัญมณีแห่งเกอดะฮ์ (Kedah หรือไทรบุรีของราชอาณาจักรสยาม/ไทยในอดีต)" (Langkawi Permata Kedah)

ชื่อของเกาะลังกาวี โดย "ลัง" ย่อมาจากคำว่า "ฮลัง" (Helang) ที่แปลว่า "นกอินทรีสีน้ำตาลแดง" ส่วนนาม "ลังกาวี อัญมณีแห่งเกอดะฮ์" นั้นได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านอับดุล ฮาลิม อันเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกส่วนพระองค์ โดยตั้งนามเพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวว่า ลังกาวีเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ Kedah

กล่าวว่าคำว่า 'ลังกาวี' มีความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรลังกาสุกะ 'Langgasu' ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐ Kedah ในปัจจุบัน ซึ่งเอกสารทางประวัติศาสตร์มีน้อยมาก อย่างไรก็ตามย้อนหลังไปถึง 500 ปีก่อนคริสตกาล ตามบันทึกของราชวงศ์เหลียง อาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษแรกเมื่อกษัตริย์ฮินดู บากัตตา ถวายส่วยจักรพรรดิจีนในสมัยนั้น ชื่อของกษัตริย์ปรากฏขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในตำนานและเทพนิยายมาเลย์ 'ลังกาวี' จึงหมายถึงอาณาจักรของ 'Langgasu' ที่จัดตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 1

มีการอ้างอิงชื่อเกาะอื่นในหนังสือ The Legends of Langkawi โดย Tun Mohamed Zahir บอกว่า 'ลังกาวี' เป็นการรวมกันของคำภาษาสันสกฤตสองคำคือลังกา (ความงาม) และวี (นับไม่ถ้วน) ตามหนังสือลังกาวี หมายถึงสถานที่แห่งความงามอันยิ่งใหญ่ ข้อมูลอ้างอิงอีกฉบับหนึ่งระบุว่า ลังกาวีหมายถึงเกาะนกอินทรี ตามนั้น คำว่าลังกาวีเป็นการรวมกันของคำสองคำคือ ‘ลัง’ และ ‘กาวี’ โดยที่ 'ลัง' มากจากคำว่า 'Helang' ในภาษามาเลย์ ซึ่งแปลว่านกอินทรี ส่วน ‘กาวี’ ก็มาจาก 'Kawi' ภาษามาเลย์เช่นกัน แปลว่า หินอ่อน เนื่องจากมีการพบทั้งนกอินทรีและหินอ่อนมากมายในลังกาวี สถานที่แห่งนี้จึงอาจได้รับการตั้งชื่อตามข้อเท็จจริง โดยจัตุรัสนกอินทรีที่เกาะนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงชื่อเกาะตามความหมายนัยนี้

แสตมป์สามอัฐ และสี่อัฐประทับตรา Kedah แสดงให้เห็นว่า Kedah (ไทรบุรี) เคยเป็นของสยาม

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมือง สรุปได้ว่า สุลต่าน Kedah เคยปกครองเกาะนี้ ต่อมา Kedah (ไทรบุรี) ถูกสยามยึด ลังกาวีก็ตกไปอยู่ในมือของสยามผู้ปกครอง และด้วยข้อตกลงตามสนธิสัญญาแองโกล-สยาม พ.ศ. 2452 สยามได้โอนอำนาจการปกครองไปให้แก่อังกฤษ ซึ่งยึดครองรัฐนี้เอาไว้จนมาเลเซียได้รับอิสรภาพ ไม่รวมระยะเวลาสั้น ๆ ของการปกครองไทยภายใต้การยึดครองมลายูของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อิทธิพลของไทยยังสามารถเห็นได้ในวัฒนธรรมและอาหารของลังกาวี อันที่จริงแล้ว คนมาเลย์เชื้อสายไทยจำนวนมากบนเกาะนี้ก็เข้าใจภาษาไทยเช่นกัน

มะห์ซูหรี่จึงบอกให้ฆ่าเธอด้วยกริชอาคมของครอบครัว

ตำนานคำสาปแห่งลังกาวี ตามตำนานเล่าว่า มะห์ซูหรี่ (Mahsuri) เป็นธิดาคนที่สามของสามีภรรยาชาวไทยเชื้อสายมลายูที่อพยพมาจากภูเก็ต (Negeri Pulau Bukit) ในสมัยของสุลต่านอับดุลลาห์ มูการ์รัม ชาห์ที่ 2 ผู้ปกครองรัฐ Kedah ระหว่างปี พ.ศ. 2305 ถึง 2343 (ค.ศ. 1762 ถึง 1800) มะห์ซูหรี่เป็นหนึ่งในหญิงที่สวยที่สุดในลังกาวี และได้แต่งงานกับรองสุลต่านที่ชื่อว่า วันดารุส (Wan Darus) น้องชายของ Dato Pekerma Jaya น้องชายของสุลต่านผู้ปกครองเกาะลังกาวี แต่ในเวลาอันไม่นานชีวิตอันสวยงามของพวกเขาก็ต้องจบลง ด้วยวันดารุสต้องออกไปรบกับสยาม ระหว่างที่สามีไม่อยู่ มะห์ซูหรี่บังเอิญได้รู้จักกับเดรามัน (Deraman) ชายหนุ่มคนหนึ่ง ทำให้แม่สามี (บ้างก็ว่า พี่สะใภ้ของสามี ภรรยาของหัวหน้าหมู่บ้าน) ของเธออิจฉาความงามที่เลื่องลือของมะห์ซูหรี่ จึงถือโอกาสที่จะกำจัดเธอ ด้วยการปล่อยข่าวลือว่า มะห์ซูหรี่ไม่ซื่อสัตย์ นอกใจต่อวันดารุส สามีของเธอ โดยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับเดรามัน

ด้วยเหตุนี้ ข่าวลือจึงแพร่กระจายไปทั่วทั้งหมู่บ้าน เรื่องนี้ทำให้เธอถูกชาวบ้านทั้งหมดกล่าวหาว่า ลักลอบมีประเวณีกับชายอื่น และถูกตัดสินประหาร มะห์ซูหรี่ปฏิเสธอย่างแข็งขัน แต่ไม่มีใครยอมเชื่อเธอเลย ดังนั้นมะห์ซูหรี่จึงถูกจับมัดไว้กับต้นไม้ (หรือเสา) มะห์ซูหรี่ได้อธิษฐานว่า “หากนางไม่มีความผิด ขอให้โลหิตที่หลั่งออกมาเป็นสีขาวและไม่หลั่งลงพื้นดิน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนาง” และ “สำหรับความอยุติธรรมนี้ จะไม่เกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ นานถึงเจ็ดชั่วอายุคน” แต่เมื่อเพชฌฆาตลงคมกริชประหาร คมของกริชนั้นกลับไม่ระคายผิวนางเลย หลังจากที่ความพยายามในสังหารเธอทุกครั้งประสบความล้มเหลว เมื่อเป็นเช่นนี้นางจึงบอกกับเพชฌฆาตให้ไปนำกริชอาคมพิเศษของต้นตระกูลจากบ้านของนางมา และเมื่อเพชฌฆาตใช้คมกริชอาคมพิเศษจรดลงไปบนคอของนาง โลหิตสีขาวก็พวยพุ่งขึ้นข้างบนราวกับเป็นร่มโดยไม่ตกลงบนพื้นดินเลย เมื่อเธอถูกแทง เลือดสีขาวก็ไหลออกมาจากบาดแผลของเธอ และฝูงนกก็บินเข้ามาปกคลุมเธอทั้งตัว อันแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของเธอ ด้านพี่ชายของมะห์ซูหรี่ เกรงว่าหลานชายวัย 5 เดือน ทายาทคนเดียวของมะห์ซูหรี่ จะมีภัย จึงนำลงเรือล่องมายังเกาะภูเก็ต และเริ่มตั้งรกรากที่นี่ โดยบุตรของนางเติบโตขึ้นในนามว่า “โต๊ะวัน”

หลุมศพ (กุโบร์) ของมะห์ซูหรี่บนเกาะลังกาวี

ปาดังมาตสิรัต (ซึ่งหมายถึง ‘ทุ่งข้าวไหม้’)

ชาวบ้านจำนวนมากในลังกาวีเชื่อว่า ตำนานดังกล่าวเป็นเรื่องจริง โดยอ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และโศกนาฏกรรมในช่วงหลายทศวรรษหลังการเสียชีวิตของมะห์ซูหรี่ กองทัพสยามสามารถพิชิตรัฐ Kedah และบุกยึดลังกาวีเอาไว้ได้ โดยชาวบ้านจุดไฟเผาไร่นาพืชผลเพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพสยาม หรือแทนที่จะปล่อยให้ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของกองทัพสยาม จนถึงทุกวันนี้ตามตำนานเล่าว่า หลังจากฝนตกชุก จะเห็นร่องรอยของข้าวไหม้ที่ปาดังมาตสิรัต (ซึ่งหมายถึง 'ทุ่งข้าวไหม้') ที่อยู่ใกล้เคียง แต่ที่สุดแล้วลังกาวีก็ตกเป็นอาณานิคมของสยาม และอังกฤษในเวลาต่อมา 

น.ส.ศิรินทรา ยายี (Wan Aishah)

มหากาพย์ ‘สงครามกลางเมือง’ (Civil War)

ระยะนี้มีผู้คนที่สังคมให้ค่าว่าเป็นผู้มีการศึกษา แต่พฤติการณ์ พฤติกรรม มีการศึกษาแต่กลับไม่มีปัญญา หยิบยกเอาเรื่องสงครามกลางเมืองมาเป็นประเด็นให้เกิดความขัดแย้งในสังคมให้กลายเป็นความรุนแรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คนพวกนี้ไม่ได้น่ากลัวอะไรเลย เพียงแต่เป็นเหมือนกับพวก เห็บ หมัด ยุง ที่น่ารำคาญ พยายาม กัด ไต่ ตอม สังคมโดยไม่รู้จักลดเลิก ไม่ได้นึกถึงความเป็นจริง ได้แต่เพ้อเจ้อไปวัน ๆ ซ้ำร้ายที่ยังมีคนที่ขาดความรู้ อ่อนด้อยประสบการณ์จำนวนไม่มากนักที่หลงเชื่อ และส่วนหนึ่งกลายเป็นเหยื่อทั้งต้องติดคุก บาดเจ็บ และร้ายแรงที่สุด คือ เสียชีวิต โดยที่พวกที่ปลุกปั่น ยุยง และญาติพี่น้อง ลูกหลาน และพวกพ้องที่ใกล้ชิดไม่เป็นอะไรกันเลย 

สงครามกลางเมือง เป็นสงครามภายในระหว่างกลุ่มคนในสังคม ในชาติเดียวกัน ด้วยประสงค์ในการแย่งชิงอำนาจการปกครอง หรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจถือเป็นการปฏิวัติ (Revolution) รูปแบบหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดสงครามกลางเมืองนั้น ๆ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งองค์การกาชาดสากลให้ความหมายตามมาตรา 9 แห่งสนธิสัญญาเจนีวาไว้ดังนี้ “สงครามกลางเมืองเป็นความขัดแย้งรุนแรงจนถึงมีการใช้อาวุธต่อกันทั้งสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น และอาจมีความรุนแรงเหมือนสงครามระหว่างรัฐ แต่เกิดขึ้นภายในประเทศนั้นประเทศเดียว” นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล/การก่อการร้าย/การก่อความไม่สงบ เป็นสงครามกลางเมืองด้วย หากมีการสู้รบระหว่างกองกำลังติดอาวุธเต็มรูปแบบ ความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง" "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" ในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจน ขึ้นอยู่กับบริบท (Context) ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้

การสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยการใช้ความรุนแรงไม่ได้มีผลดีอะไรกับสังคมและชาติบ้านเมืองเลย ไม่ว่าผลสุดท้ายจะออกมาเป็นเช่นไร แต่ความบอบช้ำเสียหายเกิดขึ้นกับผู้คนในสังคม ในชาติบ้านเมืองโดยรวมเสมอ และต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากมายในการฟื้นฟูเยียวยา ส่วนที่แก้ไขเยียวยายากมากที่สุดคือ บาดแผล หรือความบอบช้ำทางจิตใจ อันเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ผู้แพ้ ผู้ชนะ หรือผู้ที่เป็นกลาง แม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องยุ่งเกี่ยวอะไรด้วยเลย

สงครามกลางเมืองอังกฤษ (Cromwell war) ค.ศ. 1642-1651

ตามประวัติศาสตร์สากลสงครามกลางเมืองที่ถูกบันทึกไว้ มักจะเป็นสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ซึ่งเกิดขึ้นแล้วหลายพันครั้งในเกือบทุก ๆ ชาติ ตั้งแต่ 475 ปีก่อนคริสต์ศักราช เช่น สงครามรวมชาติจีน หรือสงครามนครคาร์เธจ หรือสงครามแห่งรัฐอิสลาม ค.ศ. 656 - 661 หรือสงครามเมืองอังกฤษหลายครั้งคือ The Anarchy ค.ศ. 1135 - 1153 (ยุคไร้สันติสุข) สงครามกุหลาบ (Wars of Roses) ราว ค.ศ. 1455 - 1485 (ระหว่างเจ้านครแห่งแคว้นแลงคาสเตอร์กับเจ้านครแห่งแคว้นยอร์ก) และสงครามกลางเมือง (Cromwell war) ค.ศ. 1642 - 1651 (ระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภา) สงครามกลางเมืองอังกฤษมีสาเหตุจากการชิงอำนาจปกครองประเทศ หรือการปกป้องสิทธิของกษัตริย์ หรือการป้องสิทธิของประชาชน เช่น ในสงครามขุนนางครั้งที่ 1 ค.ศ. 1215 - 1217 ระหว่างขุนนางกับพระเจ้าจอห์น ขุนนางสามารถทำให้พระเจ้าจอห์น ทรงลงพระนามในมหาบัตรใหญ่หรือ Magna Carta อันเป็นต้นกำเนิดรัฐธรรมนูญของอังกฤษ และสหรัฐฯ ในเวลาต่อมา

สำหรับสหรัฐฯ สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1861 - 1865 เมื่อมลรัฐทางใต้ 11 รัฐ เห็นว่า การรณรงค์เลิกทาสของประธานาธิบดี อับราฮิม ลินคอล์นนั้น ขัดต่อผลประโยชน์ทางมลรัฐทางใต้ ซึ่งต้องพึ่งแรงงานทาสผิวสีในการเก็บฝ้าย และทำกสิกรรม จึงประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐฯ สถาปนาเป็นสหพันธรัฐแห่งอเมริกา โดยมีประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นผู้นำ และเกิดการรบขึ้นเพื่อแย่งความชอบธรรมแห่งรัฐ เพราะการแยกตัวจากสหรัฐฯ เป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ระยะเวลาในการทำสงคราม 4 ปี ทำให้มีผู้ได้รับเคราะห์กรรมจากสงครามกว่า 1,030,000 คน ทหารเสียชีวิตราว 750,000 คน ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามของทั้งสองฝ่ายราว 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (สามารถติดตามอ่านได้ในคอลัมน์ 12 สงครามที่ ‘แพงที่สุด’ ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา >> https://thestatestimes.com/post/2021082805

นอกจากสงครามกลางเมืองในอังกฤษและสหรัฐฯ ที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีสงครามกลางเมืองครั้งสำคัญที่ถูกบันทึกไว้อีก ดังนี้

>> สงครามโบะชิง (3 มกราคม 1868 - 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1869) นักวิชาการบางส่วนเรียกว่า “การปฏิวัติญี่ปุ่น” เป็นสงครามกลางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่รบกัน ระหว่างกำลังของรัฐบาลเอโดะซึ่งปกครองและผู้ที่มุ่งถวายอำนาจการเมืองคืนแก่ราชสำนักจักรพรรดิ ผลคือ ฝ่ายจักรพรรดิชนะ ทำให้รัฐบาลของโชกุนสิ้นสุดยุติบทบาทลง และจักรพรรดิกลับได้ปกครองญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง (จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตร) ทหารทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตราว 8,500 นาย

‘ยัน ชิชกา และ บาทหลวงฮุสไซต์’ ยืนมองกรุงปรากหลังยุทธการที่เนินวิตคอฟในสงครามฮุสไซต์

>> สงครามฮุสไซต์ (Hussite wars) (ราว ค.ศ. 1419 - 1437) หรือ สงครามโบฮีเมีย หรือ การปฏิวัติฮุสไซต์ เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายฮุสไซต์ที่นับถือคำสอนของยัน ฮุสกับฝ่ายโรมันคาทอลิก นำโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการสู้รบกันเองในหมู่นักรบฮุสไซต์ สงครามนี้เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ความแตกแยกหลายเหตุการณ์ระหว่างผู้นับถือคำสอนของฮุสกับผู้ปกครองที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เช่น การเผาทั้งเป็นฮุส, เหตุบัญชรฆาตในกรุงปราก และการสวรรคตของพระเจ้าเวนเซลแห่งชาวโรมัน ในปี ค.ศ. 1424 ผลของสงคราม ฝ่ายฮุสไซต์ชนะ ทำให้ (1) ศาสนจักรฮุสไซต์เป็นอิสระจากพระสันตะปาปา (ต่อมาภายหลังฝ่ายฮุสไซต์สายกลางได้ร่วมมือกับฝ่ายโรมันคาทอลิก รบกับฝ่ายฮุสไซต์หัวรุนแรง ทำให้ฝ่ายฮุสไซต์หัวรุนแรงพ่ายแพ้และต้องหลบซ่อน) (2) ฝ่ายโรมันคาทอลิกยอมรับฝ่ายฮุสไซต์สายกลาง (3) จักรพรรดิซีกิสมุนด์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย และ (4) มีการลงนามในสัญญาบาเซิลเพื่อยุติสงคราม ไม่ปรากฏข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิต

“บอนสี” ราชินีไม้ใบ!! ไม้ประดับเงินล้าน ปลูกยังไงให้แตกต่าง และสร้างมูลค่าสูง!!

ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงได้ทราบข่าวการซื้อขายพืชไม้ประดับชนิดหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ คือ มีสีสันสวยงามหลากหลาย มีรูปทรงของใบที่สวยงาม เป็นพืชที่มีการปลูกใช้เป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน มาเป็นเวลานานแล้ว นั่นก็คือบอนสี ทั้งนี้ตั้งแต่ผู้เขียนจำความได้ในสมัยเด็ก ๆ พี่สาวจะปลูกไว้เต็มบ้านเป็นสวนเลย โดยลักษณะของสีและรูปทรงของใบในแต่ละต้นที่สวยงาม ทำให้เกิดจินตนาการในวัยเด็กได้เป็นอย่างดี แต่ไม่เคยคาดคิดว่าไม้ประดับชนิดนี้จะมีราคาแพงขึ้นมาแบบน่าตกใจมากในยุคการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้มีราคาตั้งแต่ราคาหลักพันจนกระทั่งถึงหลักล้านกันเลยทีเดียว หรือแม้กระทั่งข่าวล่าสุดที่เป็นเรื่องฮือฮา ก็คือสามารถใช้แลกกับรถยนต์ราคาเป็นล้านได้เลยทีเดียว 

ในขณะเดียวกันก็มีกระแสข่าวเรื่องการปั่นราคาของพ่อค้าเพื่อจะให้มีการซื้อขายในราคาสูง แต่สุดท้ายราคาก็จะอาจตกลงมา จนกลับไปสู่ที่เดิมได้ โดยราคาหรือความมีค่าของพืชชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะรูปทรง และสีของใบที่มีความหลากสีและสวยงามแตกต่างกันไป ยิ่งต้นไหนที่มีความแปลกใหม่กว่าต้นอื่นที่ไม่มีใครเหมือนได้ ก็จะทำให้ราคากระโดดไปสูงหลายเท่าตัวเลยทีเดียว ทั้งนี้ ตามธรรมชาติทั่วไปใบไม้จะมีสีเขียว แต่ลักษณะของบอนจะมีสี หรือมีความด่างและรูปทรงของใบที่แตกต่างกันไป

สำหรับในวันนี้ เราจะมาดูรายละเอียดของพืชชนิดนี้ ทำยังไงให้มีความแตกต่าง โดยดูจากปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ทำให้บอนสีมีรูปทรงและสีสันที่แตกต่างกันครับ “บอนสี” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caladium bicolor เป็นสายพันธุ์ในสกุลบอน ที่มีต้นกำเนิดมาจากลาตินอเมริกา และแพร่หลายในยุโรป มักถูกปลูกเป็นต้นไม้ประดับ เนื่องจากใบขนาดใหญ่มีรูปหัวใจหรือรูปหอกที่มีสีเขียว ขาว ชมพู หรือแดงที่โดดเด่น ซึ่งบอนสีนั้นมีมากกว่าร้อยสายพันธุ์ 

สำหรับในประเทศไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงนำบอนสีกลับเข้ามาปลูกในพระบรมมหาราชวัง สร้างความนิยมให้กับเจ้านายฝ่ายใน เป็นอย่างมาก ทั้งนี้สาเหตุที่บอนสีมีลักษณะของสีที่แตกต่างกันออกไปนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดหรือพันธุกรรมของบอนสีแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชได้แก่ 

>> ปัจจัยที่ 1 การได้รับแสงแดดที่แตกต่างกัน แสงแดดมีส่วนสำคัญในการที่พืชใช้ในการปรุงอาหาร และสร้างสารที่เรียกคลอโรฟิลล์ ที่มีส่วนทำให้ใบของพืชมีสีเขียว ที่แตกต่างกันไป 

ทั้งนี้ สังเกตได้ง่าย ๆ เวลาเราปลูกพืชในที่มีแสงแดดเยอะ ๆ กับบริเวณที่มีแสงแดดน้อย ลักษณะสีของใบพืช ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชชนิดเดียวกันก็ตาม ก็จะมีสีที่แตกต่างกัน โดยพืชที่ได้รับแสงแดดที่เพียงพอใบของพืชก็มักจะมีสีเขียวที่เข้มกว่าพืชที่ได้รับแสงแดดน้อย หรือปลูกในที่ร่ม หรือพืชบางชนิดถ้าไม่ได้รับแสงแดดก็จะไม่เจริญเติบโต เห็นได้ง่ายจากวัชพืช เช่นหญ้า หรือพืชขนาดเล็กจะไม่เกิดในบริเวณที่เป็นร่ม เช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น 

สู้ภัยโควิด!! หนาวนี้ มีสุขภาพดีได้อย่างไร?

ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศเย็นพัดผ่านลงมาทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้อากาศหนาวเย็นลง โดยจะหนาวเย็นมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากภัยหนาว ร่างกายปรับตัวไม่ทันต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง 

ในทางการแพทย์ได้นิยามคำว่า “ภัยหนาว” ว่าเป็นภัยที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากอุณหภูมิ ในสิ่งแวดล้อมที่ลดลงต่ำกว่าปกติมากเป็นเวลานาน ๆ โดยอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น ความเร็วลม ความชื้น การออกกำลังกายหนักเกินไป การใช้ยาเสพติด และการดื่มสุรา โดยเฉพาะความเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายจากภัยหนาวเพิ่มมากขึ้น

โรคที่มากับภัยหนาว มีดังนี้

1.) โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ (เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ) 
ปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในหลายจังหวัด หากเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่อาจทำให้แยกอาการจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ได้ยาก เนื่องจากไข้หวัดใหญ่มีการแพร่ระบาดง่ายในฤดูนี้และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ดังนั้น การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้

2.) โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ (โรคอุจจาระร่วง) 
มีอาการถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน อาจมีไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาด และรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด

3.) โรคหัด
โรคหัดติดต่อได้ทางลมหายใจ เกิดจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสจากการไอจามของผู้ป่วย หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ อาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา มีไข้สูง ตาแดงและตาแฉะ มีผื่นนูนแดงขึ้นติดกันเป็นปื้น ๆ โดยมักพบการระบาดในฤดูหนาว (เดือนพฤศจิกายน-มกราคม) มีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน ปัจจุบันไม่มียารักษา

4.) ภัยสุขภาพ (การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว)
ส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายปรับตัวไม่ทันต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ดังนั้นควรเตรียมเครื่องนุ่งห่มกันหนาว และงดการดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

5.) ปัญหาทางระบบผิวหนัง เช่น ผิวหนังแห้ง ผื่นผิวหนังอักเสบและคัน
ในฤดูหนาว อากาศแห้ง และมีความชื้นในอากาศน้อย หากอาบน้ำอุ่นจัดจะชะล้างไขมันที่ผิวหนังออกไป ส่งผลให้ผิวหนังแห้งและคันได้ ดังนั้นควรใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ไม่อาบน้ำนาน ๆ ควรทาโลชันหรือน้ำมันทาผิวหลังอาบน้ำ และเช็ดตัวหมาด ๆ ทุกครั้งเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ง่ายควรใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทที่ใช้กับผิวเด็กอ่อนและควรทาวันละหลายครั้ง เพราะสารเคลือบผิวจะหลุดออกได้เมื่อเวลาผ่านไป ในกรณีที่มีปัญหาริมฝีปากแตก ไม่ควรเลียริมฝีปาก แนะนำให้ทาด้วยลิปสติกมันบ่อย ๆ

‘ค้อน - เคียว’ (Hammer & Sickle) สัญลักษณ์ของ ‘ลัทธิคอมมิวนิสต์’ ไม่ใช่ประชาธิปไตย!!

ได้เห็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่อ้างว่าเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ทั้ง ๆ ที่บ้านเมืองก็มีอยู่ในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีการเลือกตั้งตัวแทนจนครบทุกระดับแล้ว จึงน่าสงสัยว่า บ้านนี้เมืองนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน ซ้ำร้ายกลุ่มเคลื่อนไหวที่อ้างว่าเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ยังกับเอาสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” (Hammer & Sickle) อันเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่เป็นเผด็จการสังคมนิยมมาใช้เสียอีก ดังนั้นจึงมั่นใจว่า กลุ่มเคลื่อนไหวดังกล่าวคงแยกไม่ออกระหว่างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับแบบคอมมิวนิสต์เป็นแน่เชียว

ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวของสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ขออธิบายเรื่องความต่างของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับแบบคอมมิวนิสต์ให้ทราบพอสังเขป โดยระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอธิบายง่าย ๆ คือ ระบอบการปกครองที่ประกอบด้วยอำนาจที่ใช้ในการดูแลจัดการกิจการของบ้านเมืองสามส่วนได้แก่ (1) บริหาร (2) นิติบัญญัติ และ (3) ตุลาการ

สำหรับระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา คือ มีการเลือกตั้งในส่วนของ (2) นิติบัญญัติเพื่อทำหน้าที่ออกกฎหมาย และเลือก (1) บริหารเพื่อบริหารจัดการบ้านเมือง ทั้งสองส่วนต่างมีอำนาจในการตรวจสอบและคานอำนาจหน้าที่กัน จากการที่ (2) นิติบัญญัติสามารถตรวจสอบด้วยการอภิปรายและลงมติ (1) บริหารในสภาได้ และ (1) บริหารก็สามารถใช้อำนาจในการยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้ง (2) นิติบัญญัติขึ้นมาใหม่ได้ ส่วน (3) ตุลาการทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ตามกฎหมายที่ออกโดย (2) นิติบัญญัติ โดย (1) บริหาร มีหน้าดูแล และบังคับใช้กฎหมาย ส่งตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดย (3) ตุลาการเป็นผู้พิจารณาตัดสินตามกฎหมาย และหาก (1) บริหาร และ (2) นิติบัญญัติ กระทำความผิด ก็จะเข้าสู่ กระบวนการยุติธรรมโดย (3) ตุลาการ เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป

แต่กับระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ อำนาจที่ใช้ในการดูแลจัดการกิจการของบ้านเมืองสามส่วน ได้แก่ (1) บริหาร (2) นิติบัญญัติ และ (3) ตุลาการ ล้วนแล้วแต่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งสมาชิกของพรรคฯ มาจากการคัดสรร ไม่ใช่การเลือกตั้ง ตามแต่คณะกรรมการของพรรคฯ ในระดับต่าง ๆ จะเห็นชอบ โดย (1) บริหารจะมาจากคณะกรรมการกลางของพรรคที่เรียกว่า โปลิตบูโร (Politburo) หมายถึง คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ (เช่น อดีตสหภาพโซเวียต โปลิตบูโรจะประกอบด้วยเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (The General Secretary of the Communist Party of the Soviet Union) และบุคคลสำคัญรองลงมา เช่น ประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี) อำนาจที่ใช้ในการดูแลจัดการกิจการของบ้านเมืองสามส่วน ได้แก่ (1) บริหาร (2) นิติบัญญัติ และ (3) ตุลาการ ล้วนแล้วแต่มาจากพรรคคอมมิวนิสต์ โดยที่ประชาชนไม่มีสิทธิ ไม่มีส่วนอะไรเลยในอำนาจดังกล่าว

สำหรับสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เป็นสัญลักษณ์หลักอย่างหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมักใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายของลัทธิคอมมิวนิสต์ พรรคคอมมิวนิสต์ หรือรัฐคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยปกติแล้วมักทำเป็นรูปค้อนและเคียวไขว้กัน เครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ คือ สัญลักษณ์บุคคลในชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนา (เกษตรกร) การนำสัญลักษณ์ทั้งสองอย่างมารวมกัน จึงหมายถึงเอกภาพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม อันถือเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมในระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เป็นที่รู้จักกันดีจากการที่นำสัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ไปใช้ในธงชาติสหภาพโซเวียต ควบคู่ไปกับรูปดาวแดง และยังถูกนำไปใช้ในธงและตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ อีกจำนวนมาก โดย สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” เป็นสัญลักษณ์ที่มี Unicode : "☭"

Vladimir Lenin

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ซึ่งรัสเซียถอนตัวออกในปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917)) และระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย (สงครามปฏิวัติบอลเชวิก) สัญลักษณ์ “ค้อนและเคียว” ถูกใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของแรงงานในสหภาพโซเวียต และเพื่อความสามัคคีของชนชั้นกรรมาชีพระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1917 Vladimir Lenin และ Anatoly Lunacharsky ได้จัดการแข่งขันเพื่อสร้างสัญลักษณ์ของสหภาพโซเวียต การออกแบบที่ชนะคือค้อนและเคียวบนยอดลูกโลกในแสงแดด ล้อมรอบด้วยเมล็ดธัญพืชและภายใต้ดาวห้าแฉก พร้อมคำจารึกว่า "ชนชั้นกรรมาชีพของโลก สามัคคี!" ในหกภาษา (รัสเซีย ยูเครน เบลารุส จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจัน) เดิมมีดาบเป็นจุดเด่นด้วย แต่ถูก Lenin คัดค้านอย่างรุนแรง ด้วยไม่ชอบในความหมายแฝงที่มีนัยรุนแรง นักออกแบบที่ชนะคือ Yevgeny Ivanovich Kamzolkin 

ค้อนและเคียวบนยอดลูกโลกในแสงแดด ล้อมรอบด้วยเม็ดธัญพืชและภายใต้ดาวห้าแฉก พร้อมคำจารึกว่า "ชนชั้นกรรมาชีพของโลก สามัคคี!" ในหกภาษา (รัสเซีย ยูเครน เบลารุส จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจัน)

โลกยุคใหม่ "Real Size Beauty" รูปร่างไม่สำคัญ! เท่าความงามทางความคิด

เพิ่งผ่านการประกวด Miss Universe Thailand 2021 ไปไม่ถึงหนึ่งเดือน มีหลาย ๆ สื่อพร้อมใจกันพาดหัวข่าวว่า "มงลงไม่พลิกโผ" สำหรับ... “แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส” ที่มาพร้อมกับ “Power of Passion” ซึ่งเธอ คือผู้เข้าประกวดที่นอกเหนือจากความเก่งรอบด้าน ทั้งความสามารถด้านการเรียน กีฬา การทำงานแล้ว นอกจากนี้เธอยังมาพร้อมกับความภูมิใจในรูปร่างของตนเอง กับคอนเซปต์ "Real Size Beauty" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนมุมมองของนางงามในรูปแบบใหม่ ๆ และเป็น Power of Passion ที่สร้างแรงกระเพื่อมให้กับผู้ที่ได้ติดตามไม่น้อยเลย โดยเฉพาะในโลกโซเชียล หรือแม้กระทั่งความนิยมในวันที่มีการถ่ายทอดสดรอบตัดสินทางช่อง PPTV ตัวเลขเรตติ้งช่วงที่สูงที่สุดขึ้นไปถึง 1.774 โดยมีเรตติ้งรวมทั้งประเทศ 0.959 ถือเป็นรายการที่สร้างเรตติ้งในลำดับแรก ๆ ของทางช่อง PPTV ได้ในช่วงของสมรภูมิรายการทีวีที่ดุเดือด 

แอนชิลี สก๊อต-เคมมิส Miss Universe Thailand 2021

ผู้เขียนได้เปิดประเด็นเรื่องของการประกวด MUT 2021 ในรายวิชา MEDIA CRITICISM AND SOCIAL CONTEXT ของนิสิตปริญญาโทที่วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ผู้สอนเขียนได้มีโอกาสสอนในเทอมนี้ จึงได้ทราบว่า การประกวดนางงามไม่ได้เป็นที่สนใจเฉพาะสาว ๆ เท่านั้น แต่มีหนุ่ม ๆ ที่สนใจดูการประกวดด้วยเช่นกัน ด้วยความน่าสนใจคือเรื่องของการนำเสนอ และการตอบคำถามของผู้เข้าประกวด ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสวยบนเวทีการประกวดต้องมาพร้อมกับความเก่ง ทั้งในด้านบุคลิกภาพ การแสดงออก และอีกหนึ่งอย่างที่ตัดสินกันบนเวทีหน้างานคือการตอบคำถาม 

เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราในฐานะผู้ติดตามการประกวดจะได้เห็นอีกมิติหนึ่งของนางงาม ทั้งในด้านความคิด ทัศนคติ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ซึ่งการตอบคำถามของผู้เข้าประกวดในแต่ละปีมีความน่าสนใจที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยคำถามแต่ละปีจะมีการเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ ในสังคมอีกด้วย และไม่ใช่แค่เวทีในประเทศ แต่รวมถึงเวทีระดับโลกที่มีการเชื่อมโยงกับประเด็นต่าง ๆ ในสังคมเช่นเดียวกัน 

นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันประเด็นต่าง ๆ ในสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง อย่างกรณีของ “แอนชิลี” กับการผลักดันเรื่อง "Real Size Beauty" และความภาคภูมิใจในตัวเอง ความเป็นธรรมชาติของเธอที่สามารถเอาชนะใจกรรมการและคนไทยที่ติดตามชมอยู่ได้อย่างไม่ยากเลย และประเด็นที่แอนนำเสนอ ก็สามารถขับเคลื่อนความคิดในระดับปัจเจกบุคคลไปสู่ความคิดในระดับสังคมได้อีกด้วย กับการเริ่มต้นการรักตัวเอง เป็นสิ่งที่เราทำได้ก่อนจะออกมาสู่สังคมในระดับประเทศ 

นอกจากการจุดประกายประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากตัวนางงามในมุมระดับปัจเจก อีกหนึ่งมิติที่เราได้เริ่มเห็นจากตัวนางงามในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา คือ การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ในประเด็นต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การเมือง การปกครอง สิทธิ เสรีภาพ เป็นต้น 

สานฝัน ณ ‘ซานดิเอโก’ (San Diego) เมืองทะเลใกล้ LA ที่ต้องไปเยือน!!

อเมริกาเป็นประเทศกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วย 50 รัฐ ซึ่งหลายรัฐเมื่อเทียบขนาดแล้วก็พอ ๆ กันหรือใหญ่กว่าประเทศไทย ส่วนใหญ่คนไทยรู้จักเพียงไม่กี่รัฐ หนึ่งในนั้นคือแคลิฟอร์เนีย โดยเมืองซึ่งขึ้นชื่อมาก ก็คือ ‘ลอสแอนเจลิส’ แต่แคลิฟอร์เนียมีดีมากกว่านั้น มีเมืองและสถานที่สวยงามน่าสนใจอีกมากมายนับไม่ถ้วน 

เมืองท่องเที่ยวซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนอเมริกันด้วยกันเองและคนต่างชาติ คือ เมืองพักร้อนตากอากาศริมทะเลฝั่งแปซิฟิกนาม “ซานดิเอโก” (San Diego) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย อยู่เกือบสุดปลาย ใกล้ชายแดนประเทศเม็กซิโก

เนื่องจากพิกัดอยู่ตอนใต้และติดทะเล ดังนั้นสภาพอากาศจึงค่อนข้างเอื้อต่อการอยู่อาศัยและมาพักผ่อน ไม่ร้อนหรือหนาวจัด ความชื้นฝนฟ้าก็ไม่มากด้วย จึงมาเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ถือว่าเป็นเมืองที่เหมาะมากสำหรับทั้งคนที่มาเที่ยวคนเดียว เป็นคู่ หรือครอบครัวที่พาลูก ๆ มาด้วย เพราะมีสถานที่และกิจกรรมหลากหลายให้ไปชมและทำกันนั่นเอง

ข้อดีอย่างแรกของซานดิเอโก ก็คือมีสนามบินนานาชาติขนาดกะทัดรัด (พอ ๆ กับสนามบินเชียงใหม่) และตั้งอยู่เกือบใจกลางเมือง การเข้าเมืองจึงง่ายและสะดวกรวดเร็ว มีเที่ยวบินของบางสายการบิน เช่น เจแปนแอร์ไลนส์ บินจากไทยมาลงที่นี่ (เปลี่ยนไฟลต์ที่นาริตะ) เมื่อมาถึงไม่ต้องเสียเวลาเบียดเสียดต่อแถวยาวที่ช่องตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่เขาก็ไม่ได้ซักถามมากความเหมือนที่เคยได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองแห่งสนามบินลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นสนามบินขนาดใหญ่กว่ามาก ความเสี่ยงที่จะโดนเจ้าหน้าที่เขาปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศจึงน้อยกว่ามาก ระเบียบของประเทศนี้ก็คือแม้จะมีวีซ่าอยู่ในพาสปอร์ตแล้วก็ตาม แต่ไม่ได้การันตีว่าจะได้เข้าประเทศ เพราะยังคงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตรวจคนเข้าเมืองเขาล่ะ หรือหากจะเดินทางมาจากลอสแอนเจลิสก็ไม่ใช่เรื่องยาก ขับรถส่วนตัวกันมาบนทางด่วนใช้เวลาแค่ราว 2-3 ชั่วโมง หรือโดยสารรถบัสรถไฟก็สะดวกมากเช่นกัน คล้ายขับรถจากกรุงเทพไปหัวหินประมาณนั้น

สำหรับที่พักนั้น คนมีสตางค์ก็จองและเข้าพักตามโรงแรมหรือโมเต็ลกันตามสะดวก แต่นักเดินทางแบกเป้ รวมถึงมนุษย์โลโซอาจจะมีทางเลือกน้อยกว่า อเมริกาไม่ได้มีวัฒนธรรมโฮสเทลหรือเกสต์เฮาส์เหมือนประเทศอื่นใดบนโลกใบนี้ ซึ่งแทบทุกประเทศล้วนมีอ็อปชันราคาย่อมเยานี้กันแทบทั้งนั้น ยังดีที่เมืองซานดิเอโกยังพอจะมีโฮสเทลอยู่แห่งสองแห่งให้นักท่องเที่ยวทุนต่ำเลือกพักบ้าง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top