Thursday, 2 May 2024
COLUMNIST

“พายุหมุนเขตร้อน” ฝันร้ายครบรอบ 10 ปี อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทย!!

ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ ท่านก็น่าจะรู้สึกกังวลใจกับสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ว่าจะซ้ำรอยกับน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 รวมทั้งผู้เขียนเองด้วยที่มีบ้านพักอยู่แถวอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบหนักในช่วงนั้น ก็รู้สึกหวาดกลัวไปด้วย จำได้ว่าช่วงนั้นต้องหนีน้ำขึ้นไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นเวลาถึง 2 เดือน ประกอบกับในเดือนตุลาคมปี 2564 นี้ ก็จะครบรอบ 10 ปี ในการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 ที่ต้องมีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยพอดี 

โดยในครั้งนั้นมีพื้นที่ประสบภัยกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมหนักเป็นระยะเวลานาน อุทกภัยครั้งนั้นส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งทางภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังภาคส่วนอื่นอีกเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้สาเหตุของน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 นั้น เกิดจากปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า “ปรากฏการณ์ลานีญา” คือปรากฏการณ์เกิดกระแสลมพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมายังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยที่กระแสลมมีความรุนแรงมากกว่าปกติ ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้มีฝนตกมากขึ้นโดยมีปริมาณฝนในปี 2554 นั้น มากกว่าเกณฑ์ปกติเกือบทุกเดือนโดยรวมทั้งปีเกินเกณฑ์ปกติมากกว่าร้อยละ 29 เลยทีเดียว 

นอกจากนี้ในปีนั้น ประเทศไทยยังได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อน ทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งหมด จำนวน 5 ลูก ได้แก่ พายุไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก ทั้งนี้พายุแต่ละลูกก็จะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปตามความเร็วลมที่หมุนรอบศูนย์กลาง พอมาปี 2564 นี้ เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็เริ่มมีพายุผ่านเข้ามาในประเทศไทย และเริ่มมีน้ำท่วมหลายพื้นที่ทำให้เกิดความกังวลใจกัน และกลัวจะซ้ำรอยกับการเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 ขึ้นมาอีก 

สำหรับในวันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก พายุหมุนที่มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศในประเทศไทย หรือที่เรียกว่าพายุหมุนเขตร้อนกันครับ 

"พายุหมุน" หมายถึง ลมที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมหรือหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง โดยจุดที่เป็นศูนย์กลางที่พายุหมุนรอบเรียกว่าตาพายุ ซึ่งในบริเวณใจกลางหรือตาของพายุจะเป็นบริเวณที่เงียบสงบคือไม่มีทั้งลมและฝน โดยทั่วไปพายุหมุนเขตร้อนจะมีรัศมีของพายุค่อนข้างจะมาก ทำให้ส่งผลกระทบต่อบริเวณรอบ ๆ ที่เป็นรัศมีพายุพาดผ่านกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง โดยในขณะที่พายุหมุนรอบตัวเองก็จะมีการเคลื่อนที่ไปด้วย ทั้งนี้การเกิดพายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปจะเกิดในมหาสมุทร ก่อนที่จะเคลื่อนที่เข้ามายังชายฝั่ง และส่วนใหญ่จะสลายตัว หรือลดความรุนแรงลงเมื่อเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งเนื่องจากไม่มีไอน้ำมาหล่อเลี้ยง 

ทั้งนี้สาเหตุของพายุหมุนนั้น เกิดจากความกดอากาศต่ำหรืออากาศมีอุณหภูมิสูงในบริเวณมหาสมุทร ที่มีกระแสน้ำอุ่น โดยลักษณะทั่วไปของอากาศเมื่อร้อนมาก ๆ จะมีความเบาและลอยขึ้นสู่ด้านบน และเมื่ออากาศร้อนลอยขึ้นสู่ด้านบนก็จะมีอากาศเย็นวิ่งเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดลักษณะการหมุนวนของลม ประกอบกับในบริเวณมหาสมุทรมีกระแสน้ำอุ่นที่ทำให้เกิดการระเหยของไอน้ำ เมื่อมารวมกับการเคลื่อนที่ของลมทำให้เกิดการควบแน่นเกิดเป็นลักษณะความแปรปรวนของอากาศที่มีทั้งลม และฝน เกิดขึ้นพร้อมกัน 

“หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน” เกาะสวรรค์ของธุรกิจสีเทา (The British Virgin Islands : BVI)

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หรือ หมู่เกาะเวอร์จินของอังกฤษ (BVI) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 50 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทางตะวันออกของประเทศจาเมกา เปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และทางตะวันตกเฉียงเหนือของแองกวิลลา หมู่เกาะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเวอร์จิน และตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีวาร์ดของเลสเซอร์แอนทิลลิส และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก

BVI ประกอบด้วยเกาะหลัก ๆ คือ Tortola, Virgin Gorda, Anegada และ Jost Van Dyke พร้อมด้วยเกาะที่มีสันดอนเล็ก ๆ อีกกว่า 50 เกาะ มีเกาะที่มีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 16 เกาะ เมืองหลวงคือ กรุง Road Town ตั้งอยู่บนเกาะ Tortola ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีความยาวประมาณ 20 กม. (12 ไมล์) และกว้าง 5 กม. (3 ไมล์) หมู่เกาะมีประชากร 28,054 คน ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2010 โดย 23,491 คนอาศัยอยู่บน Tortola ประมาณการเมื่อกรกฎาคม 2018 จำนวนประชากรอยู่ที่ 35,802 คน ชาวเกาะบริติชเวอร์จินเป็นพลเมืองของดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จึงกลายเป็นพลเมืองอังกฤษด้วย

BVI เป็นเกาะที่รับจดทะเบียนของบริษัทกว่า 600,000 แห่ง ที่มีทรัพย์สินมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ (49.5ล้านล้านบาท) และต้องการมาตรการในการ เคลื่อนไหว ปรับปรุง แก้ไขต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เมื่อเดินผ่านใจกลางกรุง Road Town เมืองหลวงของหมู่เกาะแคริบเบียนแห่งนี้ มีไก่นานาชนิดขันแข่งขันกันเต็มไปหมดกับรถยนต์บนถนนแคบ ๆ สายเดียว ซึ่งเป็นถนนสายหลัก มีบริษัทกฎหมายที่ตั้งและให้บริการบริษัทนอกอาณาเขตหลายพันแห่ง มีอาคารขนาดเล็กติดกับบ้านไม้สีสดใส ซึ่งมีร้านเสริมสวยราคาถูก และร้านเสื้อผ้าชื่อดังอย่าง “GoodFellas”

นอกจากป้ายถนนสีเขียวบางจุดบนถนนสายหลักแล้ว ยังมีถนนอีกหลายสายที่ทำเครื่องหมายไว้ BVI ไม่มีการจัดส่งทางไปรษณีย์ ธุรกิจ และผู้อยู่อาศัยกว่า 35,000 คน ใช้ตู้ไปรษณีย์เป็นที่อยู่ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ที่ทำการไปรษณีย์ที่มีตู้จดหมายหนึ่งแห่งในกรุง Road Town สามารถเป็นที่อยู่ของ บริษัทหลายพันแห่งจากทั่วโลก ทนายความ นักบัญชี และตัวแทนบริษัทหลายร้อยคน ทำงานจากอาคารที่กระจายอยู่รอบเกาะ Tortola จากประเทศที่รูปแบบให้บริการคล้ายกันอย่าง ลักเซมเบิร์ก โมนาโก หรือแม้แต่บางส่วนของหมู่เกาะเคย์แมน เงินลงสู่ทุกซอกทุกมุมใน BVI ความมั่งคั่งของบริษัทสีเทาผ่านไปชนิดที่แทบจะไร้ร่องรอยให้ตรวจสอบ

กฎหมาย Business Ownership Secure Search System หรือ BOSS ซึ่ง BVI เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2560 เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานระหว่างประเทศที่ต้องการติดตามเจ้าของบริษัท แต่จะมีเพียงเจ้าหน้าที่นิรนามสองคนของสำนักงานสืบสวนทางการเงินของ BVI เท่านั้นที่สามารถสืบค้นหาทั้งระบบได้ ซึ่งในระบบมีรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจกว่า 600,000 รายที่มีบริษัทที่ควบคุมโดยตรงหรือโดยอ้อมใน BVI คิดเป็นประมาณหนึ่งในสามของบริษัทนอกอาณาเขตทั้งหมดทั่วโลกที่มาจดทะเบียนใน BVI

BOSS ใช้การเข้ารหัสที่ไม่เคยถูกแฮ็กและไม่สามารถแฮ็กได้ ถ้ามีใครพยายามเข้าถึง BOSS จากที่ไหนสักแห่งที่ผิดปกติ เช่น เกาหลีเหนือ ระบบจะถูกปิดทันที ข้อมูลถูกเก็บไว้ในสถานที่ลับในประเทศ G-7 แต่ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา การเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้นกับ BVI เมื่อรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรได้ลงมติให้บังคับใช้มาตรการความโปร่งใสใน BVI และดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษอีก 13 แห่ง ซึ่งเป็นกลุ่มอดีตอาณานิคมที่สมเด็จพระราชินีทรงแต่งตั้งผู้ว่าการ เพื่อควบคุมดูแลงานด้านการต่างประเทศและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนระบบตุลาการให้เป็นไปตามกฎหมายทั่วไปของอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ขอฉันทมติข้ามพรรคในหมู่สมาชิกรัฐสภาอังกฤษได้ยาก ด้วยอยู่ในภาวะติดขัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จากมาตรการ Brexit เพื่อออกจากสหภาพยุโรป ส่วนสำคัญของกฎหมายเพื่อความโปร่งใส คือ ข้อกำหนดที่แต่ละดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรต้องจัดทำมาตรการที่โปร่งใสบางอย่างเช่น BOSS และเผยแพร่สู่สาธารณะ

ข้อตกลง “AUKUS” ความมั่นคงไตรภาคี ระหว่างสหรัฐฯ - อังกฤษ - ออสเตรเลีย ที่ต้านแสนยานุภาพจีน!!

AUKUS เป็นข้อตกลงที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร จะช่วยออสเตรเลียในการพัฒนา และปรับปรุงเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และเพิ่มการประจำการของกองกำลังด้านตะวันตกของภูมิภาคแปซิฟิก แม้ว่าการแถลงการณ์ร่วมของ “Scott Morrison” นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย “Boris Johnson” นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ และ “Joe Biden” ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ จะไม่ได้เอ่ยถึงชื่อประเทศอื่นใดเลยก็ตาม แหล่งข่าวของทำเนียบขาวที่ไม่ระบุนามได้กล่าวว่า AUKUS ถูกออกแบบมาเพื่อต่อต้านอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก อย่างไรก็ตาม Boris Johnson กล่าวต่อรัฐสภาอังกฤษในเวลาต่อมาว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นปฏิปักษ์กับจีนแต่อย่างใด

ข้อตกลงนี้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ สงครามไซเบอร์ เทคโนโลยีใต้น้ำ และความสามารถในการโจมตีระยะไกล นอกจากนี้ยังรวมถึงส่วนประกอบนิวเคลียร์ ซึ่งอาจจำกัดอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ในโครงสร้างพื้นฐานด้านการป้องกันนิวเคลียร์ ข้อตกลงดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถทางทหาร โดยแยกออกจากกลุ่มพันธมิตรแบ่งปันข่าวกรอง (Five Eyes : ชุมชนข่าวกรองที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก 5 ชาติ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564 ฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรของสามประเทศได้เรียกเอกอัครรัฐทูตกลับจากออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา Jean-Yves Le Drian รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส เรียกข้อตกลงนี้ว่าเป็นการ "แทงข้างหลัง" เพราะเป็นการขัดขวางแผนยุทธศาสตร์ของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และนำไปสู่การยกเลิกข้อตกลงเรือดำน้ำฝรั่งเศส-ออสเตรเลียมูลค่า 56 พันล้านยูโร (90 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย) ของออสเตรเลียเพียงฝ่ายเดียว

ในปี พ.ศ. 2552 สองปีหลังจากการเริ่มต้นของโครงการที่ขับเคลื่อนตามอัตภาพเพื่อหาเรือดำน้ำแทนที่เรือดำน้ำ Collins class ของกองทัพเรือออสเตรเลีย Australian Defense White Paper กล่าวว่า "รัฐบาลได้ตัดขาดการขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์สำหรับเรือดำน้ำเหล่านี้" ดังนั้นจึงถอดเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ Suffren class ของฝรั่งเศส ขับเคลื่อน ออกจากความขัดแย้ง

พ.ศ. 2559 นายกรัฐมนตรี Malcolm Turnbull ของออสเตรเลียได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (31 พันล้านยูโร) กับบริษัท Naval Group ของฝรั่งเศส (รู้จักกันในชื่อ DCNS จนถึงปี พ.ศ. 2560) เพื่อออกแบบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Attack class ภายใต้โครงการเรือดำน้ำ "อนาคต" โดยกำหนดให้แทนที่เรือดำน้ำ Collins class ของกองทัพเรือออสเตรเลียในปัจจุบัน เรือดำน้ำจำนวน 12 ลำ จะถูกสร้างขึ้นทั้งในออสเตรเลียและฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามโครงการถูกรุมเร้าด้วยความล่าช้าและต้นทุนที่สูงมาก นำไปสู่ความไม่แน่นอนและความตึงเครียด เบื้องหลังค่าใช้จ่ายที่ต้องแก้ไข รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อตลอดระยะเวลาของโครงการ มูลค่าจึงเพิ่มเป็นที่ 90 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (56 พันล้านยูโร)

เนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นเรื่องต้องห้ามในออสเตรเลีย จึงได้มีการตัดสินใจเปลี่ยนการออกแบบเรือดำน้ำจู่โจมโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ล่าสุดของฝรั่งเศส Barracuda class เป็นแบบขับเคลื่อนด้วยดีเซล-ไฟฟ้า ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งคือ ออสเตรเลียเลือกที่จะติดตั้งระบบอาวุธของ Lockheed Martin โดยทั่วไปแล้วออสเตรเลียกำหนดให้มีการสร้างเรือบางส่วนในประเทศ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้คิดเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าสัญญา โดยฝรั่งเศสจะสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 แผนการออกแบบเบื้องต้นถูกปฏิเสธเนื่องจากมีราคาแพงเกินไป และกองทัพเรือออสเตรเลียได้รับมอบหมายให้ปรับปรุงข้อเสนอจนถึงเดือนกันยายน ในการไต่สวนของวุฒิสภาเมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยมีความล่าช้าอย่างต่อเนื่อง Greg Moriarty รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ภายใต้คำถามที่ว่า เขาได้พิจารณาจัดทำแผนฉุกเฉินหากโครงการของฝรั่งเศสล้มเหลว โดยยอมรับว่ามีปัญหาต่อเนื่องมานานกว่าหนึ่งปีแล้ว สองสัปดาห์ต่อมา Scott Morrison นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียได้พบกับประธานาธิบดี Emmanuel Macron ในกรุงปารีส และแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการที่ดำเนินไปอย่างล่าช้า ซึ่งประธานาธิบดี Macron ตอบว่า ฝรั่งเศสให้คำมั่น "อย่างเต็มที่และสมบูรณ์" และจะดำเนินการ "ต่อไปและเร็วขึ้นเท่าที่เป็นไปได้" 

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 Hervé Grandjean โฆษกกระทรวงกลาโหมของฝรั่งเศสระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลวงกลาโหมของฝรั่งเศสและออสเตรเลียได้ออกแถลงการณ์ร่วมยืนยันโครงการดังกล่าว โดยระบุว่า "รัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการเรือดำน้ำในอนาคต"

ออสเตรเลียตัดสินใจยกเลิกสัญญากับ Naval Group สำหรับเรือดำน้ำ Attack class แม้ว่าจะใช้เงินไปแล้วประมาณ 2.4 พันล้านดอลลาร์ในโครงการของฝรั่งเศส คาดว่า ออสเตรเลียจะต้องจ่ายเงินอีกหลายร้อยล้านยูโรเป็นค่าปรับสำหรับการยกเลิกสัญญา

มีการเปิดเผยว่าในวันที่โครงการถูกยกเลิก ออสเตรเลียได้เขียนจดหมายถึงฝรั่งเศสโดยระบุว่า "พวกเขาพอใจกับประสิทธิภาพที่ทำได้ของเรือดำน้ำและความคืบหน้าของโครงการ"

พลเรือโท Michael Noonan ผู้บัญชาการกองทัพเรือออสเตรเลีย ได้พบกับพลเรือเอก Tony Radakin ผู้บัญชาการกองทัพเรือแห่งสหราชอาณาจักร

การเจรจาระหว่างออสเตรเลีย-สหราชอาณาจักร-สหรัฐฯ The Telegraph รายงานว่า ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 พลเรือโท Michael Noonan ผู้บัญชาการกองทัพเรือออสเตรเลีย ได้พบกับพลเรือเอก Tony Radakin ผู้บัญชาการกองทัพเรือแห่งสหราชอาณาจักรที่กรุงลอนดอน และขอความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาสำหรับการจัดหาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ The Telegraph รายงานอีกด้วยว่า Dominic Raab รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักร "ทำหน้าที่เป็นตัวแทนตามข้อตกลง"

The New York Times ระบุว่า Boris Johnson นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ และ Joe Biden ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ได้หารือกันในการประชุมสุดยอด G7 เมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2564 ในเมืองคอร์นวอลล์ สหราชอาณาจักร The Guardian รายงานว่า มีการเจรจาไตรภาคีระหว่าง Johnson กับ Biden และ Morrison ในการประชุมสุดยอด G7 การเจรจาเกิดขึ้นโดยไม่มีประธานาธิบดี Macron ร่วมด้วย ซึ่งแนวทางนี้เป็นไปได้เนื่องจากสหราชอาณาจักรจะไม่เข้าสู่นโยบายต่างประเทศอย่างเป็นทางการและสนธิสัญญาความมั่นคงในข้อตกลงหลัง Brexit กับสหภาพยุโรป (EU) เป็นผลให้สหราชอาณาจักรมีอิสระที่จะแสวงหาความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นกับพันธมิตรอื่น ๆ The Guardian ยังรายงานว่า ออสเตรเลียกำลังพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรือดำน้ำ Attack class ต่อไปอีก 18 เดือน

ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ และออสเตรเลียได้ประกาศการพัฒนาขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียงร่วมกัน ทั้งออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ต่างเป็นสมาชิกของโครงการ Joint Strike Fighter (F-35)

ข้อตกลง AUKUS จะรวมถึงข้อกำหนดที่ทำให้ออสเตรเลียสามารถจัดหาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ได้ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์มีความเร็วมากกว่า สามารถอยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น และสามารถบรรทุกอาวุธได้มากกว่าเรือดำน้ำทั่วไป ปัจจุบันมีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นที่มีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ได้แก่ สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) และอินเดีย สหรัฐฯ จะจัดหายูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง (HEU) ให้กับออสเตรเลียเพื่อเป็นพลังงานให้กับเรือดำน้ำ ออสเตรเลียตกลงที่จะไม่ผลิตยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูงเอง

หมายเหตุ เครื่องปฏิกรณ์ทางเรือของสหรัฐอเมริกาล้วนแต่เป็นเครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำ (PWR) ทั้งหมด Rolls-Royce PWR3 ของสหราชอาณาจักรเป็นระบบใหม่ที่มีพื้นฐานมาจากการออกแบบของสหรัฐฯ แต่ใช้เทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์ของสหราชอาณาจักร

ออสเตรเลีย Lloyd Austin รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ

การปรับใช้เครื่องปฏิกรณ์ของสหรัฐอเมริกาสำหรับออสเตรเลีย ในการเจรจาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างสหรัฐฯ กับรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและการต่างประเทศของออสเตรเลีย Peter Dutton รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของออสเตรเลียกล่าวว่า ประเทศต่าง ๆ จะ "ส่งเสริมความร่วมมือด้านท่าทีของกองกำลังของเราอย่างมีนัยสำคัญ" ซึ่งรวมถึง "ความร่วมมือทางอากาศที่มากขึ้นผ่านการส่งเครื่องบินทหารของสหรัฐฯ ทุกประเภท ไปประจำการในออสเตรเลีย" Dutton ยังระบุด้วยว่า อาจมีการเพิ่มในการหมุนเวียนจำนวนของกำลังทหารสหรัฐที่ถูกส่งไปประจำการที่นครดาร์วิน และการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกับสหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคอื่น ๆ และฐานทัพและที่เก็บอุปกรณ์เพิ่มเติมในออสเตรเลีย

Lloyd Austin รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ กล่าวว่า ประเทศต่าง ๆ จะมองหาโอกาสที่มากขึ้นในการปฏิบัติการรบร่วมกัน โดยระบุว่า จะมีกำลังทหารและเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ในออสเตรเลียมากขึ้น Austin ยังไม่การคาดว่า สหรัฐฯ จะคาดหวังให้ออสเตรเลียให้ผลประโยชน์เพื่อแลกกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เช่น ขีปนาวุธพิสัยกลาง

“Machu Picchu” มหัศจรรย์! อารยธรรมอินคา มรดก ‘โลก’ ไม่ลืม

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น! นี่เองกระมัง ที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้คนออกเดินทางกัน เพราะไม่ว่าจะได้เห็นภาพถ่ายหรือฟังเรื่องเล่ามากมาย อย่างไรเสียก็สู้เอาตัวเองไปอยู่ ณ สถานที่จริงไม่ได้ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อระดับโลกและอยู่ในรายการมรดกโลกของยูเนสโกแห่งหนึ่ง ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตหากมีโอกาสได้เยือนได้ก็นับว่ายิ่งกว่าคุ้มมาก คือ “มาชูปิกชู” นั่นเอง!! 

วิธีเดินทางง่ายที่สุด คือเดินทางไปยังเมืองกุสโก จากนั้นจับรถไฟท่องเที่ยวไปยังมาชูปิกชู (ความจริง รถไฟไปถึงเมืองเล็กอยู่ตีนเขาชื่ออากวาสกาเลียนเต แปลว่าน้ำพุร้อน) หรือถ้าประหยัดหน่อยก็นั่งรถบัสเอาก็ได้ มนุษย์ฮาร์ดคอร์ใช้วิธีเดินเท้าเทร็กกิ้งจากเมืองกุสโกเพื่อไปยังมาชูปิกชูก็มี 

ถ้าจะเปรียบเทียบกับโบราณสถานสำคัญอื่น ๆ แล้ว “มาชูปิกชู” ถือว่าอายุน้อยกว่าบรรดาพีระมิดหรือกระทั่งนครวัด เพราะสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 15 โดยชาวอินคา เป็นอาณาจักรรุ่งเรืองอยู่แถบเทือกเขาแอนดีสแห่งทวีปอเมริกาใต้ เมื่อพวกล่าอาณานิคมอย่างสเปนบุกเข้ามาก็ทำลายเมืองเสียราบคาบ ผู้คนล้มตายหรือหนีเอาตัวรอด ทิ้งเมืองให้รกร้างเป็นซาก จนกระทั่งในปีค.ศ. 1911 นักสำรวจชาวอเมริกันชื่อไฮแรม บิงแฮมมาพบเข้าโดยบังเอิญ เพราะความตั้งใจเริ่มแรกคือต้องการค้นหาโบราณสถานอีกแห่งที่ชื่อว่าวิลคาบัมบาต่างหาก เขานำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ จุดนั้นเอง ทำให้มาชูปิกชูกลับมาได้รับความสนใจอย่างเปรี้ยงปร้างอีกครั้ง 

ชัยภูมิที่ตั้งมีส่วนส่งเสริมให้มาชูปิกชูเป็นดินแดนมหัศจรรย์ ค่าที่ตั้งอยู่บนภูเขาความสูงพอเหมาะพอเจาะ (เกือบสูงเท่ายอดอินทนนท์) ซึ่งเห็นวิวระดับร้อยล้านแบบพาโนรามา ด้านล่างหุบเป็นแม่น้ำและมีเมืองเล็กซึ่งมีโรงแรมร้านค้ารองรับนักท่องเที่ยวสะดวกสบาย อากาศเย็นสบาย แถมยังมีน้ำพุร้อนด้วย ช่างเพอร์เฟกต์อะไรเช่นนี้ แม้ค่าเข้าชมจะแพงโข แต่นักท่องเที่ยวก็ยอมจ่ายเงินเพียงเพื่อจะมีโอกาสได้เข้าชมและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

คนที่นิยมเดินหรือวิ่ง ก็จะลัดเลาะเส้นทางธรรมชาติซึ่งมีขั้นบันได เพลินมาก พักเหนื่อยเป็นระยะ ๆ แล้วเดินต่อ มีชาวบ้านดักขายน้ำดื่มน้ำอัดลมอยู่เป็นระยะ ๆ ความชันน่าจะพอ ๆ กับการเดินเทรลขึ้นดอยสุเทพ ส่วนคนที่ต้องการสบายหน่อยก็ใช้บริการรถบัส แต่อาจจะต้องต่อแถวเพื่อซื้อตั๋วและรอขึ้นรถโดยสารนานหน่อย คนมหาศาลล้านแปดมากในแต่ละวัน ถึงทางเข้ามีการเช็กตั๋วเคร่งครัดประหนึ่งการตรวจคนเข้าเมือง ผู้คนก็เรียงแถวกัน ค่อย ๆ เบียดเสียดเข้าไป ผ่านจุดคอขวดจึงสามารถกระจายกันออกสู่พื้นที่กว้างขวางของอุทยานประวัติศาสตร์นี้

คนเข้าชมมากมายขนาดนี้จึงยากที่จะถ่ายรูปแบบไม่มีมนุษย์ใด ๆ เข้าร่วมฉาก จึงอาจจะดีกว่าที่จะหามุมเก๋ ๆในการถ่ายบรรดานักท่องเที่ยวทั้งหลาย บางทีตัวเราเองอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในฉากในกล้องเสมอไปก็ได้ จริงไหม

คนที่ไปกับไกด์ก็จะได้รับฟังข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดแต่ละจุดภายในอุทยานประวัติศาสตร์นี้ หรืออาจจะเนียนไปเงี่ยหูร่วมฟังด้วยก็ได้ในกรณีที่ไม่ค่อยมีสะตุ้งสตางค์ แต่อยากทราบเรื่องราว อันที่จริง ปัจจุบันนี้ก็มีข้อมูลมากมายบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจจะตุนข้อมูลไว้ล่วงหน้าหรือหาเพิ่มเติมหลังไปเยือนเรียบร้อยแล้วก็ได้ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากแต่อย่างใด

ส่วนคนที่ไม่ได้สนใจที่มาที่ไป ก็เพลิดเพลินได้กับการหามุมเซลฟี่เพื่อโพสต์ขึ้นโซเชียลอวดและให้ชาวโลกพากันอิจฉาเล่น ๆ

“Soft Power” เครื่องมือเปลี่ยนแปลงประเทศ สร้างชาติ - เศรษฐกิจ

ย้อนกลับไปดูในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา กระแส Soft Power ถูกนำกลับมาพูดอีกครั้ง ผ่านความสำเร็จใน Solo เดี่ยวครั้งแรกของ “ลิซ่า Blackpink” และเกิดการตั้งคำถามว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ มีปัจจัยอะไรประกอบกันบ้าง เพราะหลังจากที่ได้ปล่อยเพลงออกมาพร้อมกับมิวสิกวิดีโอ ดูเหมือนว่าทุกอย่างในมิวสิกวิดีโอจะกลายมาเป็นกระแสให้ถูกพูดถึง และข่าวทุกช่อง ทุกสำนักมีการนำเสนอ เช่น การนับจำนวนเสื้อผ้าที่ใส่ใน MV ว่ามีทั้งหมดกี่ชุด, ฉากต่าง ๆ ในมิวสิกวิดีโอที่มีการวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ส่งผลให้มีการ Cover ทั้งจากคนดังในวงการบันเทิง และคนทั่วไปอย่างท่วมท้น รวมไปถึงยอดวิวในยูทูบและยอดสั่งจองซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย

กระแสความแรงของลิซ่าไม่ได้อยู่แค่ในผลงานของตัวเอง แต่อิทธิพลความดังและการเป็นผู้นำทางความคิดยังแสดงให้เห็นผ่านการให้สัมภาษณ์ในรายการ “วู้ดดี้โชว์” ที่ได้พูดถึงอาหารโปรดของลิซ่า นั่นก็คือ “ลูกชิ้นยืนกิน” ที่มีน้ำจิ้มพริกเผารสเด็ดเป็นจุดเด่น อยู่หลังสถานีรถไฟบุรีรัมย์ ที่คุณแม่เคยพาไปกินสมัยเด็ก ๆ จากนั้นก็ทำให้กระแสการกินลูกชิ้นโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน ขายดิบขายดี มีทั้งส่งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ หรือแม้แต่การจัดงานเป็นเทศกาล มีการกินลูกชิ้น การแสดง Cover เพลงและแต่งตัวตามในมิวสิควิดีโอของลิซ่า ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้กับจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถือว่าทำให้เศรษฐกิจคึกคักขึ้นมาได้ในช่วงที่ต้องประสบกับสภาวะโควิด-19 แบบนี้ 

นี่คือความ Mass ที่สามารถเข้าถึงมวลชนได้อย่างไร้ที่ติ ผ่านการนำเสนอจากทุกช่องทางของสื่อมวลชน กลายเป็นผู้นำทางความคิด และเกิดกระแสการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ได้เห็นกันจากปรากฏการณ์นี้ ความสำเร็จนี้ จากทั้งความสามารถของลิซ่า และการฝึกฝนของค่าย YG Entertainment ที่ทำให้ลิซ่าได้กลายมาเป็นศิลปินที่มีผลงานอย่างโดดเด่น ประสบความสำเร็จทั้งในระดับเอเชียและทั่วโลก แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของ Soft Power ที่เราชอบพูดถึงกันนั้นมันเป็นอย่างไร 

กระแสลิซ่ากลายเป็นกรณีศึกษาทั้งในแวดวงบันเทิง และวงการการศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ ที่เราได้เห็นบทสัมภาษณ์ของนักวิชาต่าง ๆ ได้ออกมาถ่ายทอดแต่ละมุมมองที่ต่างกันไป ทั้งเรื่องของเพลง ศิลปะ วัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ซึ่งทุกคนได้เห็นแล้วว่าแม้จะเป็นเพลงที่ร้องผ่านภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ แต่ความสากลของดนตรี ก็มิได้เป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นเรื่องของภาษา เหมือนกับซีรีส์เกาหลีเรื่องต่าง ๆ ที่เราได้ดูและชื่นชอบ ก้าวข้ามผ่านจากความสำเร็จในประเทศ ออกสู่ต่างประเทศและขยายไปในวงกว้าง 

ซึ่งนอกจากปรากฏการณ์ความสำเร็จของลิซ่าในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่ถูกพูดถึงและหยิบยกมาศึกษา อีกหนึ่งกรณีตัวอย่างที่ตอกย้ำความสำเร็จว่าการจะขายวัฒนธรรมของประเทศ คือการคุยในเรื่องที่พลเมืองโลกสนใจ แม้จะเป็นงานทางด้านดนตรี ก็ต้องมีการสร้างสรรค์งานที่ทำให้คนยอมรับได้ในแบบสากล

เจ็บแล้วไม่จบ! ภาวะ “Long covid” อาการเรื้อรังของคนเคยติดโควิด-19 ที่ยังต้องฟื้นฟู!!

Long covid หรือโควิดเรื้อรัง คือ อาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) แม้ว่าร่างกายจะปลอดเชื้อโควิดแล้ว แต่อาการเจ็บป่วยเรื้อรังนี้จะคงอยู่ยาวนานมากกว่า 12 สัปดาห์ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) ลงสู่ปอดหรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

สาเหตุของ Long covid
> การติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid-19) ลงปอด ส่งผลให้ปอดทำงานหนัก ปอดสูญเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่เต็มที่
> ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง
> ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพราะต้องถูกกักตัวเป็นเวลานาน
> ภาวะเครียดกังวลทางจิตใจ

อาการของ Long covid
> รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
> หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม เจ็บแน่นหน้าอก
> มีปัญหาเกี่ยวกับการได้กลิ่นและการรับรสชาติ
> ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่อต่าง ๆ 
> ท้องเสีย ปวดท้อง ความอยากอาหารลดลง
> ผื่นขึ้น ผมร่วง
> นอนไม่หลับ มีปัญหาด้านความจำ ขาดสมาธิ เครียด วิตกกังวล

ภาวะแทรกซ้อนจาก Long covid
> กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
> สมองล้า
> โรคนอนไม่หลับ
> โรคปวดเรื้อรัง
> กล้ามเนื้ออ่อนแรง

การฟื้นฟูสำหรับผู้ที่มีภาวะ Long covid
1.) การฝึกหายใจโดยใช้กระบังลม
ประโยชน์ : ช่วยให้ปอดขยายเต็มที่ เพิ่มออกซิเจนสู่ร่างกายและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
วิธีการ
-    นั่งหลังตรงในท่าทางผ่อนคลาย
-    มือทั้ง 2 ข้างวางไว้ที่หน้าท้อง (บริเวณใต้ลิ้นปี่)
-    หายใจเข้าทางจมูกให้เต็มที่ ลึก ๆ ยาว ๆ ระหว่างทำจะรู้สึกว่าหน้าท้องป่องขึ้น
-    หายใจออกทางปากช้าๆ ยาวๆ 
-    ฝึกหายใจ 3-5 รอบต่อครั้งแล้วพัก 1 นาที ทำได้บ่อยเท่าที่ไม่รู้สึกเหนื่อย

“Joyful Train” รถไฟสายสุข ความสนุกที่เลือกได้ในแดนซากุระ

เราอาจจะคุ้นเคยกับภาพรถไฟนำเที่ยวของไทยที่ใช้ขบวนรถไฟปกติมาจัดเป็นขบวนพิเศษรับส่งผู้โดยสารไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เมื่อถึงปลายทางที่กำหนดก็ลงไปเล่นน้ำตก นอนเล่นริมชายหาด แล้วก็นั่งรถไฟขบวนเดิมกลับบ้าน แต่ในญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำทางด้านการขนส่งทางรถไฟได้มีการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวด้วยรถไฟ ที่ผู้โดยสารสามารถสัมผัสได้ถึงประสบการณ์แปลกใหม่ระหว่างการโดยสาร ซึ่งเรียกขบวนรถไฟแบบนี้ว่า “Joyful Train”

Joyful Train เป็นรถไฟขบวนพิเศษที่จัดเฉพาะเพื่อการท่องเที่ยว อาจจะมีการวิ่งเป็นประจำหรือวิ่งแค่ตามช่วงเทศกาล และรถที่ให้บริการมีตั้งแต่การจัดชุดขบวนโดยมีรถจักรไอน้ำลากจูง ขบวนรถดีเซลราง ขบวนรถไฟฟ้า รวมไปถึงรถไฟชินคันเซ็น และที่มีการพูดถึงกันมากในหมู่นักท่องเที่ยวนั้นคือขบวนรถ Joyful Train ที่ให้บริการโดย JR East ที่ขบวนรถได้ที่ถูกออกแบบและตกแต่งให้เข้ากับธีมงานหรืองานเทศกาลต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแบบที่นั่ง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำบนรถ และอาหารที่ให้บริการ เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างการเดินทาง

JR East เป็นผู้ให้บริการเดินรถทางภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น มีบริการ Joyful Train ในหลายรูปแบบ ขอเริ่มด้วยการแนะนำขบวนรถที่มีรูปแบบการตกแต่งภายในแบบเฉพาะตัวและมีกิจกรรมพิเศษบนขบวนรถ 

Toreiyu Tsubasa 
ขบวนรถไฟชินคันเซ็นที่ให้บริการในจังหวัดยามากาตะ และจังหวัดนี้มีชื่อเสียงเรื่องออนเซ็น จึงได้ออกแบบให้มีอ่างแช่เท้าออนเซ็นบนรถ พร้อมกับที่นั่งบุเสื่อทาทามิ เพื่อให้รู้สึกเหมือนกับการพักผ่อนหลังจากแช่น้ำแร่ตามเรียวกัง พร้อมเคาน์เตอร์ให้บริการเครื่องดื่มที่เป็นผลผลิตมาจากท้องถิ่น และยังได้ของที่ระลึกเป็นผ้าขนหนูลายพิเศษสำหรับขบวนนี้โดยเฉพาะ

POKÉMON with YOU Train 
รถไฟขบวนนี้เริ่มให้บริการในปี 2012 เพื่อเป็นการสร้างความสุขให้เก็บเด็ก ๆ หลังจากที่ญี่ปุ่นต้องประสบกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ขบวนรถตกแต่งด้วยสีเหลืองพร้อมกับตัวการ์ตูนปิกาจู ในขบวนมีรถเพียงแค่ 2 คัน คือตู้โดยสารและตู้ Playroom สำหรับเด็ก ๆ ให้มาเล่นกับตัวการ์ตูน และตามสถานีรถไฟต่าง ๆ ที่รถจอด ยังมีจุดให้ถ่ายรูปกับเหล่าตัวการ์ตูนอีกหลายที่พร้อมจุดเช็กอิน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้โดยสารเดินเที่ยวไปทั่วเมือง

HIGH RAIL 1375
เส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่านเป็นทางรถไฟที่อยู่สูงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คือที่ระดับความสูง 1,375 เมตรจากระดับน้ำทะเล จึงนำความสูงนี้มาตั้งเป็นชื่อขบวนรถ และจัดธีมของรถขบวนนี้ให้เป็นรถไฟที่อยู่ใกล้ท้องฟ้ามากที่สุด และมุ่งเน้นการดูดาวจากจุดสูงสุดที่รถไฟสามารถผ่านได้ หากมาเที่ยวช่วงกลางวันสามารถมองวิวจากภาพมุมสูงและดูท้องฟ้าจำลองที่มีในรถได้ แต่หากมารอบเย็นจะได้ลงแวะที่สถานี และมีทัวร์ไปดูดาวที่รวมอยู่ในค่าโดยสารแล้วด้วย

นอกจากนั้นยังมีขบวนรถที่ทำเป็นภัตตาคารเคลื่อนที่ ผู้โดยสารสามารถชิมอาหารรสเลิศที่ปรุงจากวัตถุดิบในท้องถิ่นพร้อมกับชมบรรยากาศอันสวยงามสองข้างทาง

อัฟกันฯ ระอุ!! กาตาร์ - ปากีสถาน เริ่มบีบตอลิบาน หลังเบี้ยวสัญญาที่ให้ไว้

อัฟกานิสถานกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงทางสังคมและการเมืองอีกครั้ง หลังจากที่รัฐบาลที่นำโดยกลุ่มตอลิบานเริ่ม ‘ออกลาย’ โดยมีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้หญิงตั้งแต่ชั้นมัธยมไปเรียนหนังสือ และเริ่มห้ามผู้หญิงทำงาน ไปจนถึงบังคับให้ผู้หญิงใส่บูร์กา (Burqa) ซึ่งเป็นชุดคลุมทั้งตัวและใบหน้า

ในขณะที่ตอนตอลิบานเข้ามายึดคาบูล ตอลิบานประกาศว่าจะอนุญาตให้ผู้หญิงเรียนหนังสือและทำงานได้ปกติแค่ต้องใส่ฮิญาบ (Hijab) เท่านั้น

นักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่าการผิดสัญญาและแนวทางสันติภาพที่เคยตกลงไว้ในเวทีสันติภาพที่โดฮา ประเทศกาตาร์นั้น คาดการณ์ว่าเกิดจากความขัดแย้งภายใน

สายพิราบ vs สายเหยี่ยว
ปัจจุบันตอลิบานแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ ตอลิบานสายพิราบนำโดย Mullah Abdul Ghani Baradar หรือ ‘บาราดาร์’ และตอลิบานสายเหยี่ยวหรือพวกหัวรุนแรงที่ยึดถืออุดมการณ์รัฐอิสลามดั้งเดิมของตอลิบาน ที่นำโดยนาย Sirajuddin Haqqani หรือ ‘ฮักกานี’ ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่ามีเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้าย

โดยนายบาราดาร์ เป็นผู้บินไปเจรจาสันติภาพกับสหรัฐอเมริกา ที่กรุงโดฮาประเทศกาตาร์ และยังเป็นผู้นำตอลิบานคนแรกที่ได้พบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้วย

แต่แม้ว่านายบาราดาร์จะเป็นหัวหอกในการเจรจาสันติภาพก็จริง แต่อำนาจในการรบและกำลังทหารกลับอยู่กับกลุ่มของนายฮักกานี ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบอิสลามมิสท์ที่รู้จักแต่การสู้รบ และยังยึดมั่นกับอุดมการณ์ทางศาสนาแบบสุดโต่งเช่นเดิม

ดังนั้นในความเป็นจริง รัฐบาลตอลิบานอาจไม่ได้เป็นไปดังที่นายบาราดาร์เคยให้สัญญาไว้ ประกอบกับที่นายบาราดาร์หายตัวไปหลายวัน แม้แต่ตอนที่รัฐมนตรีต่างประเทศของกาตาร์บินมาอัฟกานิสถาน บินมาหารือกับตอลิบานล่าสุด นายบาราดาร์ก็ไม่ได้ไปพบ ทั้งที่เป็นผู้นำทีมเจรจาตั้งแต่แรก

ถึงขั้นมีข่าวออกมาว่านายบาราดาร์ถูกกลุ่มของนายฮักกานีสังหารจนเสียชีวิตไปแล้ว แต่ล่าสุดก็มีการนำวิดีโอที่มีนายบาราดาร์ ออกมายืนยันว่าตนเองยังไม่ตาย และอย่าไปเชื่อข่าวปลอม แต่หลายฝ่ายก็ยังมองว่าทั้งหมดอาจเป็นการจัดฉากบีบให้นายบาราดาร์สื่อสารเช่นนั้นก็เป็นได้

คอร์รัปชัน...ไหมครับท่าน ตอนที่ 7 ความยุติธรรมที่ล่าช้า ไม่ใช่ “แค่” ความไม่ยุติธรรม!

ภาษิตกฎหมายในภาษาอังกฤษที่ว่า Justice delayed is justice denied. หรือในภาษาฝรั่งเศส Justice différée est justice refusée เป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิการเข้าถึงการพิจารณาคดีที่รวดเร็วและสิทธิอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้กระบวนการยุติธรรมเร็วขึ้น เช่น การเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหาย แม้ว่าภาษิตดังกล่าวจะไม่มีที่มาแน่ชัดแต่เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม”

ในกฎบัตร Magna Carta ข้อ 40 ได้บัญญัติไว้ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ "อันว่าสิทธิก็ดี หรือความยุติธรรมก็ดีนั้น เราจักไม่ขายให้แก่ผู้ใด เราจักไม่เพิกเฉยหรือทำให้ล่าช้าต่อผู้ใด" (To no one will we sell, to no one will we refuse or delay, right or justice) หมายถึง สิทธิหรือความยุติธรรมนั้นจะต้องเที่ยงตรงเท่าเทียม ยิ่งไปกว่านั้นจะไม่ถูกละเลยหรือทำให้ล่าช้า

นอกจากนั้นในวิกีพีเดียได้ระบุว่า วอร์เรน อี. เบอร์เกอร์ (Warren E. Burger) ประธานศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา เคยกล่าวไว้ใน What's Wrong with the Courts: The Chief Justice Speaks Out ว่า 

"ศาลทั้งหลายจำเป็นต้องได้รับความเชื่อมั่น เพื่อจะได้ธำรงโครงสร้างแห่งเสรีภาพอันเป็นระเบียบเรียบร้อยของเสรีชน และความเชื่อมั่นประการนี้...อาจย่อยยับไปด้วยโทษสามประการ คือ การที่ผู้คนเริ่มเชื่อว่า ความไร้ประสิทธิภาพและความล่าช้าจะบั่นทอนคุณค่าของคำพิพากษา แม้เป็นคำพิพากษาอันเที่ยงธรรมก็ตาม ประการหนึ่ง การที่ผู้คนผู้ถูกแสวงหาประโยชน์ในธุรกรรมเล็ก ๆ น้อยตามประสาชีวิตประจำวันเริ่มพากันเชื่อว่า ศาลจะไม่สามารถพิทักษ์สิทธิตามกฎหมายของพวกเขามิให้ถูกทำลายไปด้วยการฉ้อฉลและการเอื้อมไม่ถึง ประการหนึ่ง การที่ผู้คนตั้งต้นเชื่อว่า กฎหมายในความหมายอย่างกว้าง จะไม่บรรลุหน้าที่เบื้องต้นของมันในอันที่จะคุ้มครองพวกเขาและครอบครัวของพวกเขา ในบ้านของพวกเขา ในที่ทำงานของพวกเขา ตลอดจนบนถนนหนทางสาธารณะ อีกประการหนึ่ง" 

Warren E. Burger

ในประเทศไทย ความล่าช้าทั้งในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาผู้เสียหาย มีให้เห็นโดยตลอดไม่นับเรื่องการบิดเบือนข้อกฎหมายและบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างเป็นกระบวนการ ความล่าช้าในการเยียวยาผู้เสียหายก่อให้เกิดปัญหาฝังรากลึกและสั่นคลอนความเชื่อมั่นของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบจนกระทั่งถึงศาลยุติธรรม ตั้งแต่กรณีอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีทุกวัน ไปจนถึงกรณีพิพาทระหว่างประชาชนกับรัฐ โดยเฉพาะเมื่อหน่วยงานรัฐใช้อำนาจเกินขอบเขตและเลยไปยังแดนเทาถึงดำ ความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรมทำให้ต้นทุนของประชาชนสูงขึ้นตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องคดี เสียเวลา เสียโอกาส ในขณะที่หน่วยงานรัฐนั้น “แม้ว่าจะกระทำการไม่ถูกต้อง” แต่ผู้กระทำการก็มิต้องรับต้นทุนดังกล่าว เพราะรัฐก็มีหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องคดีความให้โดยอัยการ ความล่าช้าเมื่อประชาชนฟ้องรัฐจึงเป็นกระจกสะท้อนความไม่ยุติธรรมที่เกิดปัญหาและหยั่งรากลึกพร้อมกับความคับข้องใจเมื่อการฟ้องคดีถูกทอดยาวออกไปและดูเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุดในสายตาของประชาชนผู้ฟ้องคดี

กรณีของพนักงานมหาวิทยาลัยหลายแห่งฟ้องหน่วยงานตนเอง เพราะผู้บริหารหักเงินเดือนจากฐานเงินเดือนเอาไว้โดยอ้างว่าไปจัดสวัสดิการทั้งที่ไม่มีอำนาจ หรือผู้บริหารใช้อำนาจหักเงินเพิ่มเงินเดือนนำไปเพิ่มให้พรรคพวกตนเอง กว่าที่ศาลจะตัดสินหรือมีคำสั่งก็ใช้ระยะเวลามากกว่าสามปี ยิ่งไปกว่านั้นแม้ว่าจะมีกรณีคล้ายกัน แต่การเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวในศาลกลับไม่ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลมากนัก ทำให้พนักงานมหาวิทยาลัยหลายแห่งเกิดภาวะสมองไหลออกจากมหาวิทยาลัย หรือจำใจที่ต้องปรับตัวให้คุ้นชิน และลดประสิทธิภาพการทำงานของตนเองลง เพราะทำดีแค่ไหนก็ไม่สู้การเป็นคนของใครได้ ความยุติธรรมที่ล่าช้าดังกล่าว จึงก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิดได้

ยิ่งไปกว่านั้น ในกระบวนการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบในประเทศไทย ซึ่งกฎหมายหลักให้อำนาจ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยที่รายงานสถานการณ์ทุจริตประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 หน้า 37 ระบุว่า

“ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักงาน ป.ป.ช. มีเรื่องกล่าวหาคงค้างสะสม (ณ วันที่ 30 กันยายน 2562) จำนวน 14,350 เรื่อง เรื่องกล่าวหารับใหม่ (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563) จำนวน 3,559 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 17,909 เรื่อง ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จในชั้นการตรวจสอบเบื้องต้นและในชั้นการไต่สวนข้อเท็จจริง รวมทั้งสิ้น 4,852 เรื่อง โดยมีเรื่องกล่าวหาคงเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ (ณ วันที่ 30 กันยายน 2563) จำนวน 13,057 เรื่อง”

อานิสงส์โควิด!! ดันอนาคตค้าปลีกออนไลน์ 'อินเดีย' พุ่ง โตก้าวกระโดด 3 เท่าในอีก 10 ปี

เกือบสองปีแล้วที่โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจการค้า วิถีชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภค ฯลฯ จนถึงขั้นที่ธุรกิจมากมายต้องล้มหายตายจากไปและผู้คนก็รู้สึกสิ้นหวังไปตาม ๆ กัน แต่ว่าทุกวันนี้มุมมองของผู้คนทั่วโลกก็เริ่มเปลี่ยนไป จากที่เคยตั้งตาคอยว่าเมื่อไหร่โควิด-19 จะหมดไปจากโลกนี้เสียที ปัจจุบันก็เริ่มเปลี่ยนมาถามตัวเองว่านับแต่นี้ไปเราจะอยู่กับโควิด-19 กันอย่างไร เพราะดูแล้วโควิด-19 คงจะอยู่กับเราไปอีกนาน มนุษย์ต่างหากที่ต้องปรับตัวเองเพื่ออยู่กับโควิด-19 ให้ได้ตามวิถีปกติใหม่หรือ New Normal

ถ้าย้อนกลับไปดูตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วจะพบว่าอินเดียเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่ผู้คนทั่วโลกจับตามองด้วยความเป็นห่วงเพราะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตรายวันเป็นจำนวนสูงมาก ถึงขนาดว่าเผาศพกันไม่ทันเลยทีเดียว แต่มาถึงวันนี้ก็พบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศอินเดียกลับดีขึ้นมาก มาตรการที่เคยเข้มงวดต่าง ๆ ก็ได้รับการผ่อนคลาย และล่าสุดก็มีข่าวว่ารัฐบาลอินเดียกำลังจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว 

จากการสอบถามพรรคพวกที่เป็นเจ้าของร้านอาหารที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ได้รับทราบว่าตอนนี้รัฐบาลอนุญาตให้ร้านอาหารเปิดบริการให้ลูกค้าเข้าไปรับประทานที่ร้านได้แล้วจนถึง 4 ทุ่ม และร้านอาหารทุกร้านต่างก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มียอดขายดีกว่าช่วงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกต่างหาก เพราะคนอินเดียนิยมออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านอยู่แล้ว โดยตอนนี้ทางสมาคมที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารในอินเดียกำลังต่อรองกับรัฐบาลเพื่อขอขยายเวลาปิดร้านจาก 4 ทุ่มเป็นถึงเที่ยงคืน เนื่องจากว่าผู้บริโภคชาวอินเดียโดยธรรมชาติและความเคยชินมักจะรับประทานอาหารค่ำค่อนข้างดึก การที่ร้านอาหารต้องปิดร้านแค่ 4 ทุ่มตามระเบียบของราชการจึงกลายเป็นปัจจัยกดดันให้คนอินเดียต้องรับประทานอาหารค่ำเร็วขึ้นกว่าปกติ ซึ่งถ้าสมาคมฯ สามารถเจรจาให้เปิดร้านอาหารได้จนถึงเที่ยงคืนก็จะยิ่งทำให้ขายดีมากยิ่งขึ้นเพราะร้านอาหารจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างน้อยสองรอบ ช่วงนี้ก็เลยต้องรอการตัดสินใจจากรัฐบาลอินเดียก่อนว่าจะโอนอ่อนผ่อนตามตามเสียงเรียกร้องของผู้ประกอบการร้านอาหารหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ร้านอาหารกลับมาขายดิบขายดีแบบคาดไม่ถึง แต่ถ้าไปส่องดูที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าต่าง ๆ ก็พบว่า “เงียบเป็นป่าช้า” เพราะผู้บริโภคยังไม่กล้าเข้าไปเดินชอปปิงสักเท่าไหร่ มาวิเคราะห์ดูแล้วก็จะพบว่าสาเหตุสำคัญก็คือ ผู้บริโภคชาวอินเดียมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นนั่นก็คือ การชอปปิงผ่านระบบออนไลน์นั่นเอง โดยในช่วงเกือบสองปีที่ผ่านมาผู้บริโภคชาวอินเดียเคยชินกับการชอปปิงออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพฤติกรรมการชอปปิงออนไลน์นี้เองที่ส่งผลทำให้โครงสร้างตลาดค้าปลีกในอินเดียเปลี่ยนไปด้วย

เมื่อตอนที่ผมไปประจำการอยู่ที่อินเดียครั้งแรกเมื่อปี 2554 พบว่าในตลาดค้าปลีกของอินเดียจะประกอบไปด้วยธุรกิจค้าปลีกอยู่สองประเภทหลักคือ ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Retailing/Unorganized Retailing) หรือ “Kirana” ถ้าเรียกภาษาบ้าน ๆ แบบประเทศไทยก็คือ “ร้านโชห่วย” นั่นเอง โดยร้านโชห่วยประเภทนี้มีสัดส่วนสูงถึง 95% ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกอีกประเภทหนึ่งคือ ธุรกิจค้าปลีกแบบสมัยใหม่ (Modern Trade Retailing/Organized Retailing) มีสัดส่วนอยู่แค่เพียง 5% แต่ถัดมาอีกประมาณ 4 ปีคือ ในปี 2558 ก็พบว่าสัดส่วนในตลาดค้าปลีกของอินเดียก็เริ่มเปลี่ยนไป โดยร้านโชห่วยมีสัดส่วนลดลงเหลือ 92% และร้านค้าปลีกแบบสมัยใหม่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 8% 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top