Monday, 13 January 2025
AYA IRRAWADEE

วันตะดิงจุด หรือ ออกพรรษาของเมียนมา มรดกทางวัฒนธรรมร่วม ที่ควรรีบขอขึ้นทะเบียน

มีข่าวดังมาจากองค์การ UNESCO ว่าประเทศไทยขอขึ้นทะเบียนวันสงกรานต์เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ในขณะที่กัมพูชายังมึนตึ๊บกับเรื่องมวยไทยกับกุน ขแมร์ กันอยู่

เอย่ามองว่าวัฒนธรรมเหล่านี้มันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมในดินแดนอุษาคเนย์แห่งนี้ อย่างสงกรานต์ในไทย-ในลาว เรียกว่า ‘ตรุษสงกรานต์’ ในกัมพูชาเรียกว่า ‘โจล ชนัม ขแมร์’ ส่วนในพม่าเรียกว่า ‘ติงจ่าน’ หรือ ตะจ่านนั้น ทุกความเชื่อเหมือนกันคือเป็นวันปีใหม่และมีเทศกาลเล่นน้ำ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ซึ่งหากเอาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาพูดย่อมจะพูดกันได้ยาก ว่าเป็นวัฒนธรรมของประเทศใดประเทศหนึ่ง  

ทั้งนี้ยังมีอีก 1 เทศกาลที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันคือ วันตะดิงจุด หรือ ออกพรรษาของพม่า ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมเช่นกัน เพียงแต่ในแต่ละประเทศมีประเพณีต่างกันไปบ้าง เช่น ในไทยมีการตักบาตรเทโว เป็นต้น ส่วนในพม่าและลาวนั้น มีการประดับประดาเทียนตามพื้นที่วัดและอาคารบ้านเรือนเพื่อสักการะต่อพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์นั่นเอง

ปูมหลัง ‘มวยไทย - เลธเหว่ย - กุน ขแมร์’ ศาสตร์การต่อสู้ ที่มิคู่ควรข้องความร้าวฉาน

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่พูดถึงเรื่องของ ‘กุน ขแมร์’ ที่กำลังเป็นประเด็นเรื่องการบรรจุกีฬานี้เข้าไปในการแข่งขันซีเกมส์ ซึ่งในอดีต ‘ชินลง’ หรือ ‘ตะกร้อวง’ ก็เคยบรรจุในกีฬาซีเกมส์มาก่อน ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่กรุงเนปิดอว์ในปี 2013 ซึ่งครั้งนั้นก็ไม่ได้มีประเด็นอะไร และเอาเข้าจริง ๆ ‘กุน ขแมร์’ ที่เป็นดรามากันในวันนี้ ก็มิน่าจะมีประเด็นอันใดแตกต่างจากในอดีต ส่วนเหตุที่เอย่าได้กล่าวเช่นนั้น ก็เพราะมีอีกมุมมองมานำเสนอให้ทราบกัน

เลธเหว่ยหรือมวยคาดเชือกพม่านั้น ผู้ชกจะไม่สวมนวม แต่จะพันผ้าแบบสไตล์มวยคาดเชือกแทน ส่วนการชกนั้นสามารถออกอาวุธได้ทั้งศอก เข่า เท้าเตะ และใช้หัวโขก รวมถึงการจับคู่ต่อสู้เหวี่ยงหรือทุ่มได้ ในการชกแข่งขันจะแบ่งเป็น 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที

ส่วนมวยไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า ซึ่งบางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย แต่ในการแข่งขันปัจจุบัน นักมวยจะสวมนวมในการชกและห้ามใช้ศีรษะในการชกเพราะอันตรายเกินไปส่วนกติกาการชกก็เป็น 5 ยก ยกละ 3 นาที พัก 2 นาทีเช่นกัน

‘ผบ.สส.’ พบ ‘มิน อ่อง หล่าย’ ไร้ซูเอี๋ย รบ.เมียนมา ชี้ เป็นการเยือนในฐานะแขกของกองทัพเท่านั้น

เป็นข่าวดังในกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารในเมียนมาเมื่อ พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ของไทย เดินทางไปพบกับนายพล มิน อ่อง หล่าย ถึงรัฐยะไข่ งานนี้กลายเป็นเรื่องจับแพะชนแกะว่าไทยกำลังซูเอี๋ยกับรัฐบาลทหารของเมียนมา

แต่หากมามองความเป็นจริงแล้ว การพบปะกันของทหารระหว่างประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นเป็นกิจการทั่วไปของทหารตั้งแต่ ผบ. หมู่ที่คุมชายแดน จนถึง แม่ทัพภาค รวมไปจนถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำกันมานานแล้ว โดยการพบกันนั้นทางทหารจะพบปะหารือกับทหารของประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงนั้นจะนายทหารจะหารือกับนายทหารประเทศเพื่อนบ้านในชั้นยศเดียวกันเท่านั้น ส่วนประเด็นในการหารือนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นความมั่นคงระหว่างประเทศ การร่วมมือกันในการปกป้องอธิปไตย การสกัดกั้นการขนส่งยาเสพติด หรือการป้องกันการก่อการร้ายหรือการกระทำผิดระหว่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือการช่วยเหลือประชาชนตามแนวชายแดน

เมื่อ 'รบ.เมียนมา' เดินหน้าสร้างสัมพันธ์กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หวังทยอยเปิดด่านเชื่อม 'ไทย' ชวนสนใจเรื่องปากท้อง

เมื่อวันก่อน ถือเป็นปฐมฤกษ์ที่เราสามารถเปิดพรมแดนระหว่าง 'ไทย -​เมียนมา' ที่สะพานมิตรภาพ 1 ได้สำเร็จ ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของเมียนมาที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคก่อกวนไม่ให้เปิดชายแดนจนลุล่วงสามารถเปิดให้คนข้ามไปมาหาสู่กันได้เหมือนก่อนมีโควิด-19 ระบาด

การที่เอย่ากล่าวว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของเมียนมา เพราะว่าในเมียวดีนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือ KNU นั่นเอง ซึ่งนั่นไม่ง่ายเลยในการที่จะเจรจากับกลุ่ม KNU ถึงการยุติความขัดแย้งที่มีต่อกันแล้วหันหน้ามาทำมาหากิน เพราะแม่สอด-เมียวดี เป็นช่องทางการค้าที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งเม็ดเงินตรงนั้นส่วนหนึ่งคนที่ได้ประโยชน์แรก ๆ ก็คือกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่ค้าขาย ชายแดน ค้าขายแรงงานกันอยู่บริเวณนี้นั่นเอง

โชเชียลเมียนมา รุมบูลลี่ ‘นางแบบหน้าสวย’ เพียงเพราะเธอเป็นลูกสาวนายพลในกองทัพ

เมื่อปลายปีที่ผ่านมาทาง DC Candler ได้ประกาศชื่อแคนดิเดตของ The Most Beautiful Face ในปี 2022 ในเฟซบุ๊กและไอจีของเพจ ก่อนจะประกาศตำแหน่ง Top 100 Most Beautiful Faces ในช่วงปลายปี ซึ่งก็ต้องขอแสดงความยินดีกับทั้งดาราไทยหลายท่านโดยเฉพาะลิซ่าที่ปีนี้ติดอันดับ 3 ผู้หญิงหน้าสวยแม้น้องจะตกจากอันดับ 1 ในปีที่แล้วก็ตาม

แต่ประเด็นเกิดขึ้นในเพจเฟซบุ๊กของ TC Candler เมื่อ 1 ในนางแบบเมียนมาอย่าง Nay Chi Oo ถูกเสนอเป็นผู้เข้าชิงในครั้งนี้ด้วย โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากเข้ามาคอมเมนต์ในภาพของเธอหลายประเด็น โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการที่เธอคือบุตรสาวของนายพลในกองทัพเมียนมา และเรื่องอื่นๆ เช่น เธอทำศัลยกรรมมาหรือเรื่องรอยปานบนใบหน้าของเธอ

Nay Chi Oo ถือเป็นนางแบบชื่อดังคนหนึ่งและเป็น Beauty Blogger ที่ได้รับการยอมรับโดยเฉพาะฝีมือในการ make up ที่สาวๆ หลายคนได้นำทริคในการแต่งหน้าของเธอไปใช้และเห็นผล อีกทั้งเธอยังเป็นเซเลปที่อยู่ในวงสังคมของเมียนมาโดยไม่ได้สนใจหรือออกมาเคลื่อนไหวเรื่องของกองทัพเลย เช่นเดียวกับเซเลปเมียนมาหลายคนที่วางตัวนิ่งเฉยกับเหตุการณ์นี้

การบูลลี่เธอบนเพจเฟซบุ๊ก จะมีผลหรือไม่มีผลต่อการตัดสินของ TC Candler นั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การกระทำของชาวโซเชียลเมียนมาที่ไม่งดงาม เมื่อแสดงออกในระดับนานาชาติว่า สุดท้ายเธอจะหงายการ์ดว่ารู้เท่าถึงการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี

จับตา!! หาก 'ไทย' เร่งเจรจาเปิดด่าน 'เมียนมา' สำเร็จ โอกาสสินค้าไทยไหลรับ 'คนจีน' แห่เข้าเมียนมาเพียบ!!

ทางการจีนได้ประกาศเปิดด่านชายแดนฝั่งเมืองมูเซ หรือ ในภาษาไทใหญ่เรียกว่าหมู่แจ้ ทั้ง 3 ด่าน หลังจากปิดไปช่วงโควิด-19 ระบาดที่ผ่านมาในวันที่ 8 มกราคมนี้  

นับเป็นอีกหนึ่งการผ่อนคลายมาตรการของการควบคุมโควิดของฝั่งจีน ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และการเปิดด่านครั้งนี้ทางเมียนมาก็จะได้อานิสงส์ในการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ จากจีนในราคาถูกด้วยเช่นกัน

การส่งออกที่ด่านเมืองมูเซในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่เกือบ 550 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าทางการเกษตร เช่น กุ้งและปูเป็นที่มีการขนส่งเข้าสู่จีนจำนวนมาก

ในวันที่ 8 มกราคมที่จีนประกาศผ่อนคลายให้ชาวจีนสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ทางเมียนมาคาดการณ์ว่าจะมีชาวจีนจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาเที่ยวไหว้พระในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์และอีกจำนวนหนึ่งน่าจะเดินทางข้ามชายแดนมาเพื่อประกอบธุรกิจในเมืองมูเซและอาจจะรวมถึงคนจีนอีกจำนวนไม่น้อยที่น่าจะเข้ามาเล่นคาสิโนในเมืองดังกล่าว

ยื่นหมูยื่นแมว ค่าเหยียบแผ่นดิน อุปสรรคการเดินทางจากไทยเมียนมา ลุ้น!! ปลดล็อกครั้งใหม่ 'ไทย-เมียนมา' หันกันสะดวกขึ้น

เราจะเห็นได้ว่าเมื่อไทยเปิดประเทศแล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลไทยมีมติเลย คือ การเก็บค่าเหยียบแผ่นดินสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยจะเรียกเก็บเงินค่าเหยียบแผ่นดินนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศโดยสารทางเครื่องบิน คนละ 300 บาท ส่วนผู้ที่เดินทางแบบไปเช้า เย็นกลับ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม โดยคาดว่าจะเริ่มเก็บในช่วงต้นปี 2566 

เรื่องนี้สร้างความหวั่นให้กับผู้ประกอบการชาวไทยว่าต่างชาติจะไม่เข้ามาหรือเข้ามาน้อยลง แต่ความจริงแล้วเมื่อดูข้อมูลดี ๆ ในหลาย ๆ ประเทศมีการเก็บค่าเหยียบแผ่นดินซึ่งจะตั้งชื่อในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ในญี่ปุ่นจะเรียกว่า Sayonara Tax ในบางประเทศเรียก Tourist Tax และบางประเทศเรียกชื่ออื่นๆ เช่น Bed Tax, Culture Tax, Departure Tax, Occupancy Tax เป็นต้น ซึ่งราคาก็แตกต่างกันออกไป

ในเมียนมา ณ วันนี้ก็มีค่าเหยียบแผ่นดินเช่นกัน แต่มาในรูปของประกันชีวิต โดยทางเมียนมาได้ระบุว่าชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางมายังเมียนมาทุกคนนอกจากจะมีผลฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มแล้ว จะต้องซื้อประกันชีวิตที่เป็น INBOUND TRAVEL ACCIDENT INSURANCE ซึ่งจะต้องซื้อเท่ากับจำนวนวันที่เราเข้ามาอยู่ในเมียนมา 

โดยขั้นต้นเริ่มที่ 15 วัน ราคาจะอยู่ที่ 50-100 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นกับช่วงอายุและราคาจะสูงขึ้นเมื่ออยู่ในเมียนมานานขึ้น ซึ่งนโยบายนี้เองสร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของเมียนมาอยู่ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะคนไทยกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้มีรายได้สูงมากนัก ก็จะไม่อยากจ่ายเงินก้อนนี้เพราะรู้สึกว่าเป็นการที่เอาเงินไปทิ้งเปล่าๆ แต่กระนั้นเองก็ทำให้เมียนมาได้กลุ่มนักท่องเที่ยวหรือคนเข้าประเทศที่มีทุนทรัพย์และสามารถจับจ่ายใช้สอยหากเข้ามาท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจในเมียนมาจริง ๆ

เมียนมากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ต้องยอมรับว่าการรัฐประหารมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิด New Normal ในเมียนมาอย่างแท้จริง ด้วยการที่หลายธุรกิจพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศที่ต้องใช้เงินตราเป็นดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ประเทศโดนแซงชั่นจึงไม่มีเงินดอลลาร์เข้าประเทศ

แม้รัฐบาลของมิน อ่อง หล่าย จะแก้ปัญหาการไหลออกของเงินสหรัฐ โดยการลดการพึ่งพิงการใช้เงินตราดอลลาร์สหรัฐและหันมาจับการค้าขายตรง เช่น บาท-จ๊าด รูปี-จ๊าด หยวน-จ๊าด เป็นต้น แต่การแก้ปัญหาของรัฐบาลนั้น ก็ยังส่งผลต่อผู้ประกอบการหลายรายโดยเฉพาะผู้ประกอบการชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นเป็นผลให้เกิดเงินเฟ้อในระดับสูง ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเมียนมา

อย่างไรก็ตามกลับยังมีธุรกิจบางธุรกิจที่ปรับตัวโดยการเลือกวัตถุดิบที่มีในประเทศ ลดการใช้วัตถุดิบนำเข้า รวมถึงการเข้าไปทำคอนแทคกับผู้ผลิตโดยตรง เพื่อลดราคาต้นทุนของเขา เพื่อให้ธุรกิจของเขาดำเนินต่อไปได้ 

ชาติสมาชิกยูเอ็นแสดงจุดยืน ‘ไม่เลือกข้าง’ ถอนวาระ ‘รมต.NUG’ เข้าร่วมงาน GTH 2022

เป็นอะไรที่เซอร์ไพรส์มากกับข่าวของ Daw Zin Mar Aung รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเงาของเมียนมา (NUG) และทีมของเธอได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Global Town Hall 2022 (GTH 2022) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

แต่ในงานกลับเซอร์ไพรส์กว่า เมื่อมีการถอนวาระของเธอออกจากการประชุมในนาทีสุดท้าย ด้วยเหตุผลที่ทางตัวแทนชาติสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้กล่าวกับผู้จัดงานว่า หากให้ Daw Zin Mar Aung และทีมงานของเธอเข้าร่วมในงานครั้งนี้ ก็เท่ากับเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในเมียนมา ซึ่งเพียงแค่นี้ก็แสดงให้เห็นจุดยืนของตัวแทนชาติสมาชิกในงานประชุมครั้งนี้ในระดับหนึ่งแล้ว 

ทั้งนี้หากวิเคราะห์ว่าทำไมทางสหประชาติถึงไปกล่าวกับผู้จัดงาน จนทำให้เกิดการถอนวาระนี้ในที่สุด ก็เพราะว่า…

1.) ประเทศสมาชิกของสหประชาติมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุน NUG ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ NUG และฝ่ายที่วางตัวเป็นกลาง หากการที่ตัวแทนชาติสมาชิกในงานประชุมครั้งนี้ยอมรับให้ทาง NUG เข้าร่วมอาจจะส่งผลในบทบาทบนเวที UN ได้

2.) ทางตัวแทนชาติสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุมนี้ น่าจะได้ประเมินแล้วว่าการให้ NUG มากล่าวโดยไม่มีฝ่ายกองทัพมาพูดเป็น ก็เสมือนสนับสนุนการกระทำของฝ่าย NUG นั้นว่าถูกต้อง

3.) ฝ่าย NUG นั้นยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนการต่อสู้ของ PDF ที่ก่อความไม่สงบและเข่นฆ่าผู้คนในเมียนมาในขณะนี้ด้วยเช่นกัน

‘รบ.ทหารเมียนมา’ กำราบ ‘อิรวดี’ สื่อร่างทรงปชต. ส่วนไทยปล่อยให้จรรยาบรรณจอมปลอมลอยนวล

กระทรวงสารสนเทศของเผด็จการทหารพม่าประกาศผ่านทางสื่อรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลเผด็จการได้ทำการเพิกถอนใบอนุญาตสื่อสิ่งพิมพ์ของอิรวดี ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค. 2565 และกล่าวหาว่าสื่ออิรวดี สร้างความเสียหายต่อ ‘ความมั่นคงของรัฐ’ และ ‘ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง’ 

เมื่อเอย่าเห็นข่าวนี้ เอย่าก็รีบเปิดเว็บไซต์ดูทันที ซึ่ง ณ วันที่เขียนบทความนี้ ก็หลังจากการรายงานข่าวนี้มาร่วมอาทิตย์ แต่เว็บไซต์ของสำนักข่าวอิรวดี (Irrawaddy) ก็ยังปกติดี ไม่ได้ต่างอะไรกับสำนักข่าวอื่น ๆ ที่เคยโดนไปอย่าง Mizzima หรือ Myanmar Now ที่ทางรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสื่อได้ และทำให้สื่อหลายสื่อกลายเป็นเครื่องมือในการโค่นล้มผู้มีอำนาจในรัฐบาลโดยการล้างสมองประชาชน

ก่อนอื่นเราควรมารู้จักสื่ออิรวดีให้ดีก่อนว่าเป็นมาอย่างไร...

สื่ออิรวดี ก่อตั้งขึ้นในไทยเมื่อปี 2536 เป็นสื่อที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบเผด็จการทหารในพม่าจากการที่พวกเขารายงานข่าวเชิงส่งเสริมประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และสิทธิมนุษยชนในพม่า เมื่อมีการเปิดประเทศ อิรวดีจึงย้ายสำนักงานใหญ่เข้าไปในพม่าเมื่อปี 2555 เพื่อรายงานข่าวสถานการณ์ในพม่า จนถึงการทำรัฐประหารปี 2564

เมื่อมีนาคม 2564 รัฐบาลทหารเมียนมาเคยดำเนินคดีอิรวดี ด้วยกฎหมายมาตรา 505 (a) โดยอ้างว่า ‘เพิกเฉยต่อ’ กองทัพพม่าในการรายงานข่าวการประท้วงต่อต้านเผด็จการทหารที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้น แม้ต่อมาจะมีการจับกุม ‘อูต่องวิน’ ผู้ตีพิมพ์เผยแพร่สื่ออิรวดี แต่ก็ไม่สามารถทำให้สำนักข่าวอิรวดีหยุดเผยแพร่ได้ 

และนี่ก็เป็นอีกครั้งที่มีการดำเนินการกับสื่ออย่างอิรวดี แต่ด้วยความที่สื่อมีสำนักงานที่ไทย ทำให้น่าจะลำบากต่อจัดการของรัฐบาลเมียนมาอยู่พอตัว

ถามว่าทำไมสื่ออย่างอิรวดี มีอิทธิพลนัก... 

หากค้นข้อมูลลึก ๆ จะเห็นว่าสำนักข่าวอิรวดี เคยรับทุนจากองค์กร National Endowment for Democracy (NED) ของอเมริกา ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ว่าอเมริกาชักใยหลาย ๆ ประเทศผ่านการจ่ายเงินผ่านกองทุนนี้ โดยสำนักข่าวอิรวดีเคยได้รับทุนจาก NED จำนวน 150,000 ดอลลาร์ในปี 2016 และนั่นคงไม่ต้องถามว่าสื่ออิรวดีจะเป็นสื่อที่มีความเป็นกลางได้จริงหรือไม่? หรือเป็นเพียง ‘สื่อร่างทรง’ ให้แก่ประเทศผู้แจกทุนที่พยายามจะหาทางเข้ามาในภูมิภาคนี้ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top