Wednesday, 15 January 2025
AYA IRRAWADEE

'ตันบูซายัต' ปลายทางสถานีรถไฟสายมรณะ เสน่ห์ของเมืองเล็กๆ ที่รอวันนักท่องเที่ยวไปเยือน

เมื่อพูดถึงความเลวร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW 2) ใครๆ หลายคนรวมถึงชาวต่างชาติคงคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันเชลยที่จังหวัดกาญจนบุรี จุดที่ฝั่งกองทัพญี่ปุ่นปักธงให้สร้างทางรถไฟเชื่อมจากประเทศไทยไปยังพม่า 

แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าปลายทางของสถานีรถไฟสายมรณะแห่งนี้สิ้นสุดที่สถานี 'ตันบูซายัต' ในเมืองตันบูซายัต รัฐมอญ ประเทศเมียนมาในปัจจุบัน 

วันนี้เอย่าขอพาไปเที่ยวเมืองตันบูซายัต ปลายทางของทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักทางรถไฟสายมรณะสายนี้กันก่อนดีกว่า เส้นทางนี้เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ ไปยังปลายทางที่เมืองตันบูซายัต ประเทศเมียนมา

ทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้ มีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานีตันบูซายัตรวม 415 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟอยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตประเทศเมียนมา 111.05 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 53 สถานีแต่ได้ยุบสถานีไป 23 สถานี ปัจจุบันเหลือสถานีที่เปิดให้บริการ 30 สถานี

HIGHWAY TO HELL วิเคราะห์ 'ถนนสายย่างกุ้ง-เนปิดอว์-มัณฑะเลย์' เหตุใด 587 กม.นี้ จึงมีแต่ 'อุบัติเหตุ' และ 'ความตาย'

เกิดอุบัติเหตุใหญ่เมื่อเช้าของวันที่ 4 มีนาคม เมื่อมีรถโดยสารระหว่างเมืองย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ เกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์นี้นับ 10 รายและมีผู้เสียชีวิต 3 ราย โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตคืออดีตแชมป์มวยคาดเชือกของเมียนมานาม Shwe Du Wun  

วันนี้จึงมีเหตุให้เรามาทำความรู้จักกับถนนเส้นนี้กัน..

เส้นทางไฮเวย์ 'สายย่างกุ้ง-เนปิดอว์-มัณฑะเลย์' ได้ชื่อว่าเป็นถนนแห่งความตาย เพราะตั้งแต่ถนนเส้นนี้เปิดใช้มีคนต้องสังเวยชีวิตให้กับถนนเส้นนี้แล้วนับหลายร้อยศพและเกิดอุบัติเหตุบนถนนเส้นนี้นับร้อยๆ ครั้งต่อปี 

เส้นทางไฮเวย์ 'สายย่างกุ้ง-เนปิดอว์-มัณฑะเลย์' เส้นนี้ มีระยะทาง 587 กิโลเมตรนับจากหัวถนนที่นอกเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเปิดใช้เมื่อธันวาคม 2010 โดยถนนเส้นนี้ทำการลดระยะเวลาการเดินทางไปยังมัณฑะเลย์จากเดิมที่ต้องใช้เวลาในการเดินทาง 13-15 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 7-8 ชั่วโมงเท่านั้น  

ว่ากันว่าถนนเส้นทางนี้วางแผนการสร้างกันมาตั้งแต่ปี 1954 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ Naypyitaw ของรัฐบาล U Nu ต่อมาในปี 1959 ทางสหรัฐอเมริกาเข้ามาเสนอความช่วยเหลือด้านการสำรวจและวิศวกรรมทางหลวงเป็นจำนวนเงิน 750,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งการสำรวจได้เสร็จสิ้นในปี 1960 แต่เนื่องจากต้นทุนการสร้างที่สูง จึงทำให้รัฐบาลในตอนนั้นชะลอแผนการสร้างออกไปจนเมื่อเกิดการปฎิวัติในปี 1962 สหรัฐอเมริกาก็เริ่มจะถอยห่างออก 

จากนั้นแม้จะมีการสร้างมาเป็นระยะๆ แต่โครงการก็ขับเคลื่อนไปอย่าช้าๆ และหยุดชะงักเป็นช่วงๆ จนกระทั่งในปี 2005 จึงเริ่มมีการก่อสร้างอีกครั้งอย่างจริงจังจนสำเร็จและเปิดใช้ในช่วงสิ้นปี 2010 และเส้นนี้ยังมีการทำต่อเพิ่มเติมในเมืองย่อยๆ ของมัณฑะเลย์อีกในช่วง Saga-In ไป Tagundaing ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2011

ทว่า จากการสร้างถนนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคสมัย ทำให้ถนนที่สร้างขึ้นมานี้ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น ถนนไม่รับโค้ง ทำให้รถที่วิ่งมาด้วยความเร็วส่วนใหญ่เกิดอุบัติเหตุหลุดโค้ง รวมถึงเรื่องอื่นๆ เช่น ไม่มีรั้วกั้นระหว่างทางหลวงกับชุมชนข้างเคียง ทำให้เกิดอุบัติเหตุอันที่เกี่ยวข้องกับคนและสัตว์เลี้ยงของชุมชนที่อยู่ข้างเคียงเรียงรายตามเส้นทางไฮเวย์ดังกล่าว  

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เปิดตำนานพระประธานแห่งเมือง Zalun  สะพรึงสะเทือนราชวงศ์อังกฤษในยุคล่าอาณานิคม

อย่างที่ทราบกันว่า เมื่ออังกฤษเข้ามายึดพม่าในตั้งแต่ปี 1824 นั้น นอกจากอังกฤษจะเข้ามาวางระบบผังเมืองในย่างกุ้งแล้ว อีกมุมหนึ่งอังกฤษก็ขนเอาทรัพยากรอันมีค่าของพม่าในยุคนั้น อาทิ ไม้สัก งาช้าง อัญมณี รวมถึงทองคำและทองเหลือง กลับมายังเกาะอังกฤษหรืออินเดียที่ถือเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอังกฤษในเวลานั้น และองค์พระแห่งเมือง Zalun ที่เจดีย์ Mar Aung Myin องค์นี้ ก็เป็น 1 สิ่งที่ถูกขนออกจากพม่าไปในกาลนั้นด้วยเช่นกัน

ในตำนานกล่าวไว้ว่า องค์พระท่านถูกขนออกไปจากเมือง Zalun ในรัฐอิรวดีไปยังเมืองบอมเบย์ในประเทศอินเดีย ซึ่งตอนนั้นในเมืองบอมเบย์เป็นที่ตั้งของโรงเก็บของอังกฤษที่นำมาจากสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นเครื่องทองเหลืองที่ยึดมาได้จากเมืองอาณานิคมจะถูกนำมาหลอมใหม่ เพื่อทำเป็นเหรียญกษาปณ์ ลูกปืน

แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น หลังจากที่องค์พระถูกย้ายมาที่นี่ โดยมีการระบุว่าหลังจากที่องค์พระเดินทางมาถึงโรงเก็บของในเมืองบอมเบย์ ก็เกิดฝนตกหนัก และลมกรรโชกแรง และเมื่อนำองค์พระไปหลอมก็ปรากฎว่า องค์พระไม่ถูกหลอมเหลวเหมือนทองเหลืองทั่วไป จนต้องเชิญท่านกลับมาในโรงเก็บเหมือนเดิม หลังจากนั้นคนงานชาวอินเดีย 64 คนที่ทำงานในการหลอมองค์พระก็กระอักเลือดตายอย่างเป็นปริศนา  

ไม่เพียงแค่นั้น เมื่อสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ครองราชย์ราชวงศ์อังกฤษ ก็ได้เกิดพระอาการประชวรปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งหมอหลวงในบักกิงแฮมก็ไม่สามารถวินิจฉัยและเยียวยารักษาอาการประชวรนี้ได้ จนต่อมาพระนางได้นิมิตฝันเห็นร่างดำทะมึน โดยในความฝันได้บอกกับพระนางว่าให้นำองค์พระที่อยู่ในโรงเก็บของในเมืองบอมเบย์กลับไปประดิษฐานยังที่เดิมในเมือง Zalun มิฉะนั้นพระนางจะสิ้นใจ 

ชำแหละโลกมืดใน ‘เมียนมา’ แด่สายหวังรวยลัด เมื่อในความเป็นจริง อาจไม่ได้สวยงามดังหวัง

มีข่าวมานานแล้วเรื่องการประกาศหาคนไทยมาทำงานในเมียนมา โดยงานที่บอกนี่ไม่ใช่งานอย่างที่เราๆ ท่านๆ เข้าใจกันนะ เพราะหากเป็นงานที่สุจริต จะต้องผ่านกระบวนการคัดสรรและจ้างงานอย่างเป็นระบบภายใต้กฎหมายไทยหรือเมียนมา ซึ่งตัวบริษัทก็จะมีชื่อและสามารถตรวจสอบธุรกิจ ธุรกรรมได้ 

แต่หลายๆ งานในเมียนมาไม่ได้เป็นอย่างที่คิด หลายงานต้องการจ้างคนไทยเพื่อไปทำงานบริการ หรืองานดูแลระบบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมาย ซึ่งงานเหล่านี้จะไม่มีการออก Work Permit หรือแม้กระทั่งออก Business Visa ให้ (หลายคนที่มาทำงานเหล่านี้อาจจะรู้และยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ได้)

แน่นอนว่างานเหล่านี้ มักจะมีรายได้ดี แต่ความจริงหลังม่านไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด…

มีรายงานจากสถานทูตไทยในเมียนมาอยู่หลายครั้ง รวมถึงช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กของคนไทยในเมียนมาต่างๆ ที่มีการขอความช่วยเหลือญาติพี่น้องรวมถึงคนรักที่เข้ามาทำงานในเมียนมา ซึ่งงานส่วนใหญ่จะเป็นงานขายบริการรวมถึงงานดูแลระบบคาสิโนเป็นต้น  

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า แม้ในช่วงเวลาที่เหตุการณ์บ้านเมืองในเมียนมาปกติ รัฐบาลกลางเมียนมาก็ไม่มีอำนาจกระทำการใดๆ ในเขตปกครองพิเศษหรือเขตปกครองตนเอง เช่น ในเมืองมูเซ เล้าก์ก่าย เมืองลา หรือ เมืองป๊อก ที่เป็นเขตอิทธิพลของว้ากับโกกั้ง หรือในเขตอิทธิพลของจีนในแถบเมียวดี หรือแม้กระทั่งทำงานในคาสิโนแถวท่าขี้เหล็กก็ตาม

สายมูต้องลอง ตามรอย ‘รัฐพะโค’ ในเมียนมา ขอพรตามคิด ลิขิตดังใจ

เชื่อได้ว่าใครที่ได้มีโอกาสบินมาเที่ยวเมียนมา มักจะไม่พลาดที่จะแวะเวียนมายัง ‘ย่างกุ้ง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เอย่า อยากบอกว่ามีอีกหมุดหมายหนึ่งที่ไม่อยากให้พลาด นั่นก็คือ ‘เมืองพะโค’ หรือ ‘เมืองหงสาวดี’ นั่นเอง 

นั่นก็เพราะในหงสาวดีมีจุดหมายหลักๆ 3 ที่ ซึ่งใครมาก็ต้องไป ได้แก่...พระราชวังบุเรงนอง / เจดีย์พระธาตุมุเตา และวัดพระนอนตาหวานชเวตาเลียว แต่ไม่หมดเท่านี้ในรัฐพะโค ยังอุดมไปด้วยสถานที่ที่น่าสนใจมากมายทั้งในเมืองพะโคเองและนอกเมืองพะโค ซึ่งวันนี้เอย่าขอปรับอารมณ์พาผู้อ่านมาทัวร์ชมหมุดหมายที่น่าสนใจ เผื่อใครสนใจจะตามรอย ก็มิว่ากัน…

เริ่มที่ ‘ศาลโบโบจี’ (Shwe Nyaung Bin) ตั้งอยู่บริเวณไฮเวย์มุ่งสู่เมืองพะโค เลยสุสานทหารสงครามโลกมาไม่ไกลนัก โดยศาลนี้ผู้คนชาวพม่ามีความเชื่อว่า ถ้าหากออกรถใหม่ต้องขับรถมาไหว้ขอพรที่นี่เพื่อเป็นสิริมงคลและความปลอดภัยในการขับขี่

ต่อมากับ ‘วัดกองมูดอว์’ (Kaung Mhu Daw Pagoda) ในเมืองตองอู วัดนี้เป็นวัดที่พระเจ้าบุเรงนอง ทรงสร้างขึ้นด้วยความเชื่อว่าถ้าสักการะแล้วจะได้ชัยชนะทุกครั้ง ในวัดมีรูปปั้นบุเรงนองสักการะพระธาตุอยู่ รอบฐานจะมีลานทรายเล็กๆ อยู่ โดยเชื่อว่าถ้าอธิษฐาน แล้วเดินวนในทราย3รอบ คำอธิษฐานจะเป็นผลสำเร็จ (เหล่านักธุรกิจชาวพม่าที่มาสักการะที่นี่จะนิยมเก็บทรายไว้ติดตัวเพื่อความเป็นมงคลในด้านชัยชนะ หากใครทำธุรกิจระหว่างประเทศแนะให้มาสักการะจะเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง)

พนันออนไลน์ ระบาด!! ไม่เว้นแม้ในเมียนมา ประเทศที่ปักธงเป็นสิ่งต้องห้ามและผิดกม.

การเล่นการพนันของเมียนมาเป็นสิ่งต้องห้ามและผิดกฎหมายมาแต่ไหนแต่ไร แม้ในเมียนมาจะมีการได้รับอนุญาตให้เปิดคาสิโนตามชายแดน ซึ่งนั่นก็เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากผู้เล่นต่างชาติอย่างไทยหรือจีนนั่นเอง 

ขณะเดียวกันด้วยการเดินทางที่ยากลำบาก ทำให้คนรวยในเมียนมาที่อยากเล่นการพนันเลือก ก็จะเดินทางไปเล่นการพนันในต่างประเทศมากกว่าที่จะเลือกนั่งรถ 8-10 ชม. จาก ‘ย่างกุ้ง’ มา ‘เมียวดี’

ทว่า เมื่อยุคประชาธิปไตยเฟื่องฟู หลายสิ่งหลายอย่างได้รับการพัฒนา รวมถึงการลงทุนด้านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้มันจะนำมาซึ่งความสะดวกสบายของชาวเมียนมา แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้การพนันออนไลน์ในเมียนมาเติบโตขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการพนันออนไลน์ที่เฟื่องฟูขึ้นเป็นดอกเห็ด

รถยนต์ไฟฟ้าใน 'เมียนมา' 'ถึงเวลา' หรือ 'มาก่อนกาล'

ถ้ากล่าวถึงประเทศไทยวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรานั้นมาถึงยุคของรถไฟฟ้าแล้ว เพราะยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนับได้ว่าดีวันดีคืนจนค่ายรถเกือบทุกสำนักต้องเข็นรถยนต์ไฟฟ้าออกมายึดหัวหาดในตลาดนี้ และด้วยเหตุผลทางเศรษฐสถานะของคนไทยไม่ว่าจะเรื่องค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ไม่สามารถลดลงได้ ทำให้การเลือกเปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่สามารถใช้ได้กับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมียนมาได้เลย เพราะประเด็นของเมียนมา ณ วันนี้คือ ต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศไม่ใช่จากภาวะต้นทุนน้ำมัน และภาวะการขาดแคลนไฟฟ้า รวมถึงภาวะการที่รัฐไม่สามารถจ่ายไฟให้มีระดับโวลต์ที่คงที่ได้ นี่ต่างหากที่คืออุปสรรคของการทำตลาดรถไฟฟ้าในเมียนมา

แต่อย่างไรก็ดีค่ายรถจีน ก็ยังมองว่าเมียนมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพสำหรับที่จะเปิดตลาดรถไฟฟ้า โดยค่ายรถยักษ์ใหญ่อย่าง NETA ที่เข้าไปเปิดตลาดในเมียนมาร์ก่อนแล้วตอนนี้ตามมาด้วย BYD ซึ่งเอาใจผู้ใช้รถชาวพม่าโดยออกรถ SUV ที่เป็นรถยอดนิยมในหมู่ชาวพม่าออกมาเพื่อแย่งตลาดผู้ใช้รถ SUV ในเมือง ด้วยราคาเปิดตัวที่ประมาณ 100 ล้านจ๊าตหรือประมาณ 1.2 ล้านบาทไทยซึ่งเท่าๆ กับราคา ของ BYD ในไทย น่าจะทำให้เศรษฐีเมืองพม่าหลายคนที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องไฟตก ไฟเกิน เข้าถึงได้ไม่ยากนัก

ถอดรากศัพท์คำว่า Kanbawza  อาจแปลความหมายถึง สุวรรณภูมิ 

คำว่า Kanbawza ที่คนพม่าออกเสียงว่า 'กันโบซา' นั้น หลายคนอาจจะเคยทราบว่าคำนี้มาจากชื่อในภาษาไทใหญ่ ซึ่งตำนานของคำว่ากัมโบซาในภาษาไทใหญ่นั้นต้องย้อนกลับไปถึงคริสต์ศักราชที่ 957 ในยุคที่อาณาจักรน่านเจ้ายังเรืองอำนาจอยู่ โดยมีบันทึกว่า มีเจ้าชายจากราชอาณาจักรกัมปูเจียเข้ามาปกครองดินแดนฉาน จนทำให้มีชื่อเรียกในภาษาไทใหญ่ว่ากัมโบซาในเวลาต่อมา

เมื่อนำเรื่องราวของเจ้าชายแห่งกัมปูเจียที่เข้ามาปกครองรัฐฉานใน ค.ศ. 957 มาเทียบระยะเวลาในเขมรช่วงนั้นจะพบว่าอยู่ในช่วงอาณาจักรขอม ซึ่งปกครองเขมรในขณะนั้นในช่วงปีคริสต์ศักราช 802-1203 เป็นยุคเดียวกันกับการสร้างปราสาทนครวัด

ดังนั้นหากนำไทม์ไลน์ของมาวางทาบกัน จะกล่าวได้ว่าเจ้าชายผู้แผ่อิทธิพลเข้าไปยึดดินแดนรัฐฉานในช่วงเวลาดังกล่าวก็คือ กองทัพอันเกรียงไกรของอาณาจักรขอมโบราณนั่นเอง

และหากเมื่อเราค้นหาลึกเข้าไปอีกว่าอาณาจักรขอมโบราณมาจากไหน ทาง อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เคยเขียนเรื่องนี้ลงใน มติชนประชาชื่น : สุวรรณภูมิในอาเซียน ขอมละโว้ เก่าสุดอยู่ไทย โอนขอมไปเขมร, มติชน 17 สิงหาคม 2560 ระบุว่า...

"ขอมเป็นชื่อทางวัฒนธรรม ดังนั้นไม่เป็นชื่อชนชาติหรือเชื้อชาติ จึงไม่มีชนชาติขอม หรือเชื้อชาติขอม ฉะนั้นใคร ๆ ก็เป็นขอมได้ เมื่อยอมรับนับถือวัฒนธรรมขอม…ช่วงแรก ขอมเป็นชื่อที่คนอื่นเรียก (ในที่นี้คือพวกไต-ไท) ไม่ใช่เรียกตัวเอง

"คำว่า ‘ขอม’ หมายถึง คนในวัฒนธรรมขอม ที่อยู่รัฐละโว้ (ลพบุรี) บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยไม่ระบุชาติพันธุ์ จะเป็นใครก็ได้ ถ้าอยู่สังกัดรัฐละโว้ในวัฒนธรรมขอม ถือเป็นขอมทั้งนั้น เมื่อมีรัฐอยุธยา คนพวกนี้กลายตัวเองเป็นคนไทย ดังนั้นช่วงหลัง ขอม หมายถึง ชาวเขมรในกัมพูชาเท่านั้น แม้เปลี่ยนนับถือศาสนาพุทธเถรวาทก็ถูกคนอื่น เรียกเป็นขอม แต่ชาวเขมรไม่เรียกตัวเองว่าขอม เพราะไม่เคยรู้จักขอมและภาษาเขมรไม่มีคำว่าขอม"

ทั้งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชาวกัมพูชาเรียกตนเองว่า “กโรม” หรือ “ขอม” (ในความหมายว่า ชาวเขมร หรือ ชาวกัมพูชา) แต่พวกเขาเรียกตนเองอย่างชัดเจนว่า เขมร มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร

และจากหลักฐานที่มีการยืนยันว่าที่เรียกชาวกัมพูชาไม่เรียกตัวเองว่า ขอม แต่เรียกตัวเองว่า เขมร ที่เก่าแก่ที่สุด คือ ศิลาจารึก Ka. 64 ซึ่งเป็นศิลาจารึกสมัยก่อนเมืองพระนคร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงทาสชาวเขมรโบราณไว้ว่า “(๑๓) กฺญุม เกฺมร โฆ โต ๒๐. ๒๐. ๗ เทร สิ ๒” ซึ่งคำว่า “กฺญุม” ในภาษาเขมรโบราณสมัยก่อนพระนครหมายถึง ข้ารับใช้ ส่วนคำว่า เกฺมร (kmer) เมื่อรวมความหมายของคำว่า “กฺญุม เกฺมร” แล้ว น่าจะหมายถึง “ข้ารับใช้ชาวเขมร” ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าชาวกัมพูชาเรียกตัวเองว่า เกฺมร (kmer) มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นคำว่า เขฺมร (khmer) ในช่วงเขมรสมัยเมืองพระนคร และกลายเป็น แขฺมร ออกเสียงว่า แคฺมร์ (khmaer) ดังที่ปรากฏในภาษาเขมรปัจจุบัน

สำรวจความเข้มแข็งทางประวัติศาสตร์ของเมียนมา 'ศิลปะ-วัฒนธรรม' ทรงคุณค่า ไม่ต้องบ้าไปไล่เคลมของใคร

จากข่าวเรื่องที่กัมพูชาพยายามเคลมอะไรต่อมิอะไรของชนชาติอื่นมาเป็นของตน แต่พอหันกลับมามองประเทศที่อยู่อีกฝั่งของแผนที่อย่าง เมียนมา หรือ พม่า ประเทศที่อยู่ฝั่งตะวันตกของไทย ทำไมกลับไม่คิดจะเคลมอะไรของไทยเลย วันนี้เอย่าจะมานำเสนอให้รู้กัน

ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม : เมียนมาหรือพม่านั้นมีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างชัดเจนเป็นเอกเทศและแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่และยุคสมัย โดยหากแยกตามยุคแล้ว ศิลปะในเมียนมาอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของยะไข่, พยู, มอญ, พม่า และอังวะ จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละยุค ซึ่งแสดงออกในรูปของเจดีย์ในแต่ละภูมิภาค

ด้านอาหาร : อาหารพม่าแม้จะมีความเป็นฟิวชันระหว่างอาหารอินเดียกับอาหารจีน แต่ก็มีอาหารหลายเมนูที่เป็นเมนูพม่าแท้ ๆ อย่างเช่น ยำใบชา หรืออาหารที่ประกอบจากใบกระเจี๊ยบ ซึ่งเราไม่พบการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบแบบนี้ในภูมิภาคอื่น

ด้านการแต่งกาย : เมียนมาเป็นแหล่งรวมผู้คนหลากชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์ก็มีการแต่งกายประจำเผ่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งทางการเมียนมาก็สนับสนุนให้ชุดประจำชาติพันธุ์เป็นชุดสุภาพในการติดต่อทางการอีกด้วย

ด้านการฟ้อนรำ : ในแต่ละชาติพันธุ์ที่ท่าเต้นรำที่แตกต่างออกไปตามชาติพันธุ์เช่นกัน ซึ่งแสดงออกถึงลักษณะประจำชาติพันธุ์ของแต่ละเผ่า

ด้านภาษา : แน่นอนที่ในประเทศที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์อย่างเมียนมาย่อมมีผู้คนที่ใช้ภาษาตามชาติพันธุ์ของตนในการสื่อสาร แม้ในปัจจุบันทางการจะพยายามให้การศึกษาด้วยภาษาเมียนมาเพื่อเป็นภาษากลาง แต่บางพื้นที่ก็เลือกจะไม่เรียนเพื่อดำรงอัตลักษณ์ทางภาษาของตนไม่ให้สูญหาย

ส่อง ‘เมียนมา’ ในวันที่ชาติตะวันตกเข้ามาเผือก กองทัพไม่กระทบ-คนป่วนนั่งชิล-ปชช.รับบาป

เพิ่งจะผ่านวันครบรอบการรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้ปัจจุบันในเมียนมายังมีหลายพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่สีแดงและห้ามคนต่างชาติเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวแม้จะมีการเปิดประเทศแล้ว รวมถึงการแซงชันจากชาติตะวันตก ซึ่งทั้งหมดนี้กระทบถึงฝ่ายกองทัพหรือไม่ เอย่ากล่าวได้เลยว่า กองทัพเมียนมาแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่คนที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ นั่นคือประชาชนที่หลายคนไม่ได้สนับสนุนกองทัพ แต่ต้องมารับผลโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ประเด็นการแซงชันในเมียนมานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า เมียนมาโดนชาติตะวันตกแซงชันมานับสิบๆ ปีก่อนจะมาเปิดประเทศ ซึ่งนั่นเหมือนเป็นวัคซีนชั้นดีที่ทำให้เมียนมาปรับตัวได้ โดยผ่านระบบเอเย่นต์

ส่วนการก่อความไม่สงบในเมียนมาดังที่ปรากฎในข่าวไม่ว่าจะเป็นการวางระเบิดถนน สะพาน รถไฟ หรือลอบสังหารผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐก็ดี ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเปรียบได้กับโมเดลของโจรใต้ในประเทศไทย แต่ส่งผลซ้ำร้ายกว่าตรงที่ผลเหล่านั้นกระทบกับผู้คนในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top