Sunday, 12 May 2024
AYA IRRAWADEE

สายมูต้องลอง ตามรอย ‘รัฐพะโค’ ในเมียนมา ขอพรตามคิด ลิขิตดังใจ

เชื่อได้ว่าใครที่ได้มีโอกาสบินมาเที่ยวเมียนมา มักจะไม่พลาดที่จะแวะเวียนมายัง ‘ย่างกุ้ง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เอย่า อยากบอกว่ามีอีกหมุดหมายหนึ่งที่ไม่อยากให้พลาด นั่นก็คือ ‘เมืองพะโค’ หรือ ‘เมืองหงสาวดี’ นั่นเอง 

นั่นก็เพราะในหงสาวดีมีจุดหมายหลักๆ 3 ที่ ซึ่งใครมาก็ต้องไป ได้แก่...พระราชวังบุเรงนอง / เจดีย์พระธาตุมุเตา และวัดพระนอนตาหวานชเวตาเลียว แต่ไม่หมดเท่านี้ในรัฐพะโค ยังอุดมไปด้วยสถานที่ที่น่าสนใจมากมายทั้งในเมืองพะโคเองและนอกเมืองพะโค ซึ่งวันนี้เอย่าขอปรับอารมณ์พาผู้อ่านมาทัวร์ชมหมุดหมายที่น่าสนใจ เผื่อใครสนใจจะตามรอย ก็มิว่ากัน…

เริ่มที่ ‘ศาลโบโบจี’ (Shwe Nyaung Bin) ตั้งอยู่บริเวณไฮเวย์มุ่งสู่เมืองพะโค เลยสุสานทหารสงครามโลกมาไม่ไกลนัก โดยศาลนี้ผู้คนชาวพม่ามีความเชื่อว่า ถ้าหากออกรถใหม่ต้องขับรถมาไหว้ขอพรที่นี่เพื่อเป็นสิริมงคลและความปลอดภัยในการขับขี่

ต่อมากับ ‘วัดกองมูดอว์’ (Kaung Mhu Daw Pagoda) ในเมืองตองอู วัดนี้เป็นวัดที่พระเจ้าบุเรงนอง ทรงสร้างขึ้นด้วยความเชื่อว่าถ้าสักการะแล้วจะได้ชัยชนะทุกครั้ง ในวัดมีรูปปั้นบุเรงนองสักการะพระธาตุอยู่ รอบฐานจะมีลานทรายเล็กๆ อยู่ โดยเชื่อว่าถ้าอธิษฐาน แล้วเดินวนในทราย3รอบ คำอธิษฐานจะเป็นผลสำเร็จ (เหล่านักธุรกิจชาวพม่าที่มาสักการะที่นี่จะนิยมเก็บทรายไว้ติดตัวเพื่อความเป็นมงคลในด้านชัยชนะ หากใครทำธุรกิจระหว่างประเทศแนะให้มาสักการะจะเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง)

พนันออนไลน์ ระบาด!! ไม่เว้นแม้ในเมียนมา ประเทศที่ปักธงเป็นสิ่งต้องห้ามและผิดกม.

การเล่นการพนันของเมียนมาเป็นสิ่งต้องห้ามและผิดกฎหมายมาแต่ไหนแต่ไร แม้ในเมียนมาจะมีการได้รับอนุญาตให้เปิดคาสิโนตามชายแดน ซึ่งนั่นก็เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากผู้เล่นต่างชาติอย่างไทยหรือจีนนั่นเอง 

ขณะเดียวกันด้วยการเดินทางที่ยากลำบาก ทำให้คนรวยในเมียนมาที่อยากเล่นการพนันเลือก ก็จะเดินทางไปเล่นการพนันในต่างประเทศมากกว่าที่จะเลือกนั่งรถ 8-10 ชม. จาก ‘ย่างกุ้ง’ มา ‘เมียวดี’

ทว่า เมื่อยุคประชาธิปไตยเฟื่องฟู หลายสิ่งหลายอย่างได้รับการพัฒนา รวมถึงการลงทุนด้านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้มันจะนำมาซึ่งความสะดวกสบายของชาวเมียนมา แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้การพนันออนไลน์ในเมียนมาเติบโตขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการพนันออนไลน์ที่เฟื่องฟูขึ้นเป็นดอกเห็ด

รถยนต์ไฟฟ้าใน 'เมียนมา' 'ถึงเวลา' หรือ 'มาก่อนกาล'

ถ้ากล่าวถึงประเทศไทยวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรานั้นมาถึงยุคของรถไฟฟ้าแล้ว เพราะยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนับได้ว่าดีวันดีคืนจนค่ายรถเกือบทุกสำนักต้องเข็นรถยนต์ไฟฟ้าออกมายึดหัวหาดในตลาดนี้ และด้วยเหตุผลทางเศรษฐสถานะของคนไทยไม่ว่าจะเรื่องค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ไม่สามารถลดลงได้ ทำให้การเลือกเปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่สามารถใช้ได้กับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมียนมาได้เลย เพราะประเด็นของเมียนมา ณ วันนี้คือ ต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศไม่ใช่จากภาวะต้นทุนน้ำมัน และภาวะการขาดแคลนไฟฟ้า รวมถึงภาวะการที่รัฐไม่สามารถจ่ายไฟให้มีระดับโวลต์ที่คงที่ได้ นี่ต่างหากที่คืออุปสรรคของการทำตลาดรถไฟฟ้าในเมียนมา

แต่อย่างไรก็ดีค่ายรถจีน ก็ยังมองว่าเมียนมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพสำหรับที่จะเปิดตลาดรถไฟฟ้า โดยค่ายรถยักษ์ใหญ่อย่าง NETA ที่เข้าไปเปิดตลาดในเมียนมาร์ก่อนแล้วตอนนี้ตามมาด้วย BYD ซึ่งเอาใจผู้ใช้รถชาวพม่าโดยออกรถ SUV ที่เป็นรถยอดนิยมในหมู่ชาวพม่าออกมาเพื่อแย่งตลาดผู้ใช้รถ SUV ในเมือง ด้วยราคาเปิดตัวที่ประมาณ 100 ล้านจ๊าตหรือประมาณ 1.2 ล้านบาทไทยซึ่งเท่าๆ กับราคา ของ BYD ในไทย น่าจะทำให้เศรษฐีเมืองพม่าหลายคนที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องไฟตก ไฟเกิน เข้าถึงได้ไม่ยากนัก

ถอดรากศัพท์คำว่า Kanbawza  อาจแปลความหมายถึง สุวรรณภูมิ 

คำว่า Kanbawza ที่คนพม่าออกเสียงว่า 'กันโบซา' นั้น หลายคนอาจจะเคยทราบว่าคำนี้มาจากชื่อในภาษาไทใหญ่ ซึ่งตำนานของคำว่ากัมโบซาในภาษาไทใหญ่นั้นต้องย้อนกลับไปถึงคริสต์ศักราชที่ 957 ในยุคที่อาณาจักรน่านเจ้ายังเรืองอำนาจอยู่ โดยมีบันทึกว่า มีเจ้าชายจากราชอาณาจักรกัมปูเจียเข้ามาปกครองดินแดนฉาน จนทำให้มีชื่อเรียกในภาษาไทใหญ่ว่ากัมโบซาในเวลาต่อมา

เมื่อนำเรื่องราวของเจ้าชายแห่งกัมปูเจียที่เข้ามาปกครองรัฐฉานใน ค.ศ. 957 มาเทียบระยะเวลาในเขมรช่วงนั้นจะพบว่าอยู่ในช่วงอาณาจักรขอม ซึ่งปกครองเขมรในขณะนั้นในช่วงปีคริสต์ศักราช 802-1203 เป็นยุคเดียวกันกับการสร้างปราสาทนครวัด

ดังนั้นหากนำไทม์ไลน์ของมาวางทาบกัน จะกล่าวได้ว่าเจ้าชายผู้แผ่อิทธิพลเข้าไปยึดดินแดนรัฐฉานในช่วงเวลาดังกล่าวก็คือ กองทัพอันเกรียงไกรของอาณาจักรขอมโบราณนั่นเอง

และหากเมื่อเราค้นหาลึกเข้าไปอีกว่าอาณาจักรขอมโบราณมาจากไหน ทาง อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เคยเขียนเรื่องนี้ลงใน มติชนประชาชื่น : สุวรรณภูมิในอาเซียน ขอมละโว้ เก่าสุดอยู่ไทย โอนขอมไปเขมร, มติชน 17 สิงหาคม 2560 ระบุว่า...

"ขอมเป็นชื่อทางวัฒนธรรม ดังนั้นไม่เป็นชื่อชนชาติหรือเชื้อชาติ จึงไม่มีชนชาติขอม หรือเชื้อชาติขอม ฉะนั้นใคร ๆ ก็เป็นขอมได้ เมื่อยอมรับนับถือวัฒนธรรมขอม…ช่วงแรก ขอมเป็นชื่อที่คนอื่นเรียก (ในที่นี้คือพวกไต-ไท) ไม่ใช่เรียกตัวเอง

"คำว่า ‘ขอม’ หมายถึง คนในวัฒนธรรมขอม ที่อยู่รัฐละโว้ (ลพบุรี) บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยไม่ระบุชาติพันธุ์ จะเป็นใครก็ได้ ถ้าอยู่สังกัดรัฐละโว้ในวัฒนธรรมขอม ถือเป็นขอมทั้งนั้น เมื่อมีรัฐอยุธยา คนพวกนี้กลายตัวเองเป็นคนไทย ดังนั้นช่วงหลัง ขอม หมายถึง ชาวเขมรในกัมพูชาเท่านั้น แม้เปลี่ยนนับถือศาสนาพุทธเถรวาทก็ถูกคนอื่น เรียกเป็นขอม แต่ชาวเขมรไม่เรียกตัวเองว่าขอม เพราะไม่เคยรู้จักขอมและภาษาเขมรไม่มีคำว่าขอม"

ทั้งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชาวกัมพูชาเรียกตนเองว่า “กโรม” หรือ “ขอม” (ในความหมายว่า ชาวเขมร หรือ ชาวกัมพูชา) แต่พวกเขาเรียกตนเองอย่างชัดเจนว่า เขมร มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร

และจากหลักฐานที่มีการยืนยันว่าที่เรียกชาวกัมพูชาไม่เรียกตัวเองว่า ขอม แต่เรียกตัวเองว่า เขมร ที่เก่าแก่ที่สุด คือ ศิลาจารึก Ka. 64 ซึ่งเป็นศิลาจารึกสมัยก่อนเมืองพระนคร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงทาสชาวเขมรโบราณไว้ว่า “(๑๓) กฺญุม เกฺมร โฆ โต ๒๐. ๒๐. ๗ เทร สิ ๒” ซึ่งคำว่า “กฺญุม” ในภาษาเขมรโบราณสมัยก่อนพระนครหมายถึง ข้ารับใช้ ส่วนคำว่า เกฺมร (kmer) เมื่อรวมความหมายของคำว่า “กฺญุม เกฺมร” แล้ว น่าจะหมายถึง “ข้ารับใช้ชาวเขมร” ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าชาวกัมพูชาเรียกตัวเองว่า เกฺมร (kmer) มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นคำว่า เขฺมร (khmer) ในช่วงเขมรสมัยเมืองพระนคร และกลายเป็น แขฺมร ออกเสียงว่า แคฺมร์ (khmaer) ดังที่ปรากฏในภาษาเขมรปัจจุบัน

สำรวจความเข้มแข็งทางประวัติศาสตร์ของเมียนมา 'ศิลปะ-วัฒนธรรม' ทรงคุณค่า ไม่ต้องบ้าไปไล่เคลมของใคร

จากข่าวเรื่องที่กัมพูชาพยายามเคลมอะไรต่อมิอะไรของชนชาติอื่นมาเป็นของตน แต่พอหันกลับมามองประเทศที่อยู่อีกฝั่งของแผนที่อย่าง เมียนมา หรือ พม่า ประเทศที่อยู่ฝั่งตะวันตกของไทย ทำไมกลับไม่คิดจะเคลมอะไรของไทยเลย วันนี้เอย่าจะมานำเสนอให้รู้กัน

ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม : เมียนมาหรือพม่านั้นมีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างชัดเจนเป็นเอกเทศและแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่และยุคสมัย โดยหากแยกตามยุคแล้ว ศิลปะในเมียนมาอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของยะไข่, พยู, มอญ, พม่า และอังวะ จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละยุค ซึ่งแสดงออกในรูปของเจดีย์ในแต่ละภูมิภาค

ด้านอาหาร : อาหารพม่าแม้จะมีความเป็นฟิวชันระหว่างอาหารอินเดียกับอาหารจีน แต่ก็มีอาหารหลายเมนูที่เป็นเมนูพม่าแท้ ๆ อย่างเช่น ยำใบชา หรืออาหารที่ประกอบจากใบกระเจี๊ยบ ซึ่งเราไม่พบการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบแบบนี้ในภูมิภาคอื่น

ด้านการแต่งกาย : เมียนมาเป็นแหล่งรวมผู้คนหลากชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์ก็มีการแต่งกายประจำเผ่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งทางการเมียนมาก็สนับสนุนให้ชุดประจำชาติพันธุ์เป็นชุดสุภาพในการติดต่อทางการอีกด้วย

ด้านการฟ้อนรำ : ในแต่ละชาติพันธุ์ที่ท่าเต้นรำที่แตกต่างออกไปตามชาติพันธุ์เช่นกัน ซึ่งแสดงออกถึงลักษณะประจำชาติพันธุ์ของแต่ละเผ่า

ด้านภาษา : แน่นอนที่ในประเทศที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์อย่างเมียนมาย่อมมีผู้คนที่ใช้ภาษาตามชาติพันธุ์ของตนในการสื่อสาร แม้ในปัจจุบันทางการจะพยายามให้การศึกษาด้วยภาษาเมียนมาเพื่อเป็นภาษากลาง แต่บางพื้นที่ก็เลือกจะไม่เรียนเพื่อดำรงอัตลักษณ์ทางภาษาของตนไม่ให้สูญหาย

ส่อง ‘เมียนมา’ ในวันที่ชาติตะวันตกเข้ามาเผือก กองทัพไม่กระทบ-คนป่วนนั่งชิล-ปชช.รับบาป

เพิ่งจะผ่านวันครบรอบการรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้ปัจจุบันในเมียนมายังมีหลายพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่สีแดงและห้ามคนต่างชาติเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวแม้จะมีการเปิดประเทศแล้ว รวมถึงการแซงชันจากชาติตะวันตก ซึ่งทั้งหมดนี้กระทบถึงฝ่ายกองทัพหรือไม่ เอย่ากล่าวได้เลยว่า กองทัพเมียนมาแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่คนที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ นั่นคือประชาชนที่หลายคนไม่ได้สนับสนุนกองทัพ แต่ต้องมารับผลโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ประเด็นการแซงชันในเมียนมานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า เมียนมาโดนชาติตะวันตกแซงชันมานับสิบๆ ปีก่อนจะมาเปิดประเทศ ซึ่งนั่นเหมือนเป็นวัคซีนชั้นดีที่ทำให้เมียนมาปรับตัวได้ โดยผ่านระบบเอเย่นต์

ส่วนการก่อความไม่สงบในเมียนมาดังที่ปรากฎในข่าวไม่ว่าจะเป็นการวางระเบิดถนน สะพาน รถไฟ หรือลอบสังหารผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐก็ดี ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเปรียบได้กับโมเดลของโจรใต้ในประเทศไทย แต่ส่งผลซ้ำร้ายกว่าตรงที่ผลเหล่านั้นกระทบกับผู้คนในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม

วันตะดิงจุด หรือ ออกพรรษาของเมียนมา มรดกทางวัฒนธรรมร่วม ที่ควรรีบขอขึ้นทะเบียน

มีข่าวดังมาจากองค์การ UNESCO ว่าประเทศไทยขอขึ้นทะเบียนวันสงกรานต์เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ในขณะที่กัมพูชายังมึนตึ๊บกับเรื่องมวยไทยกับกุน ขแมร์ กันอยู่

เอย่ามองว่าวัฒนธรรมเหล่านี้มันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมในดินแดนอุษาคเนย์แห่งนี้ อย่างสงกรานต์ในไทย-ในลาว เรียกว่า ‘ตรุษสงกรานต์’ ในกัมพูชาเรียกว่า ‘โจล ชนัม ขแมร์’ ส่วนในพม่าเรียกว่า ‘ติงจ่าน’ หรือ ตะจ่านนั้น ทุกความเชื่อเหมือนกันคือเป็นวันปีใหม่และมีเทศกาลเล่นน้ำ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ซึ่งหากเอาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาพูดย่อมจะพูดกันได้ยาก ว่าเป็นวัฒนธรรมของประเทศใดประเทศหนึ่ง  

ทั้งนี้ยังมีอีก 1 เทศกาลที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันคือ วันตะดิงจุด หรือ ออกพรรษาของพม่า ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมเช่นกัน เพียงแต่ในแต่ละประเทศมีประเพณีต่างกันไปบ้าง เช่น ในไทยมีการตักบาตรเทโว เป็นต้น ส่วนในพม่าและลาวนั้น มีการประดับประดาเทียนตามพื้นที่วัดและอาคารบ้านเรือนเพื่อสักการะต่อพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์นั่นเอง

ปูมหลัง ‘มวยไทย - เลธเหว่ย - กุน ขแมร์’ ศาสตร์การต่อสู้ ที่มิคู่ควรข้องความร้าวฉาน

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่พูดถึงเรื่องของ ‘กุน ขแมร์’ ที่กำลังเป็นประเด็นเรื่องการบรรจุกีฬานี้เข้าไปในการแข่งขันซีเกมส์ ซึ่งในอดีต ‘ชินลง’ หรือ ‘ตะกร้อวง’ ก็เคยบรรจุในกีฬาซีเกมส์มาก่อน ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่กรุงเนปิดอว์ในปี 2013 ซึ่งครั้งนั้นก็ไม่ได้มีประเด็นอะไร และเอาเข้าจริง ๆ ‘กุน ขแมร์’ ที่เป็นดรามากันในวันนี้ ก็มิน่าจะมีประเด็นอันใดแตกต่างจากในอดีต ส่วนเหตุที่เอย่าได้กล่าวเช่นนั้น ก็เพราะมีอีกมุมมองมานำเสนอให้ทราบกัน

เลธเหว่ยหรือมวยคาดเชือกพม่านั้น ผู้ชกจะไม่สวมนวม แต่จะพันผ้าแบบสไตล์มวยคาดเชือกแทน ส่วนการชกนั้นสามารถออกอาวุธได้ทั้งศอก เข่า เท้าเตะ และใช้หัวโขก รวมถึงการจับคู่ต่อสู้เหวี่ยงหรือทุ่มได้ ในการชกแข่งขันจะแบ่งเป็น 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที

ส่วนมวยไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า ซึ่งบางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย แต่ในการแข่งขันปัจจุบัน นักมวยจะสวมนวมในการชกและห้ามใช้ศีรษะในการชกเพราะอันตรายเกินไปส่วนกติกาการชกก็เป็น 5 ยก ยกละ 3 นาที พัก 2 นาทีเช่นกัน

‘ผบ.สส.’ พบ ‘มิน อ่อง หล่าย’ ไร้ซูเอี๋ย รบ.เมียนมา ชี้ เป็นการเยือนในฐานะแขกของกองทัพเท่านั้น

เป็นข่าวดังในกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารในเมียนมาเมื่อ พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ของไทย เดินทางไปพบกับนายพล มิน อ่อง หล่าย ถึงรัฐยะไข่ งานนี้กลายเป็นเรื่องจับแพะชนแกะว่าไทยกำลังซูเอี๋ยกับรัฐบาลทหารของเมียนมา

แต่หากมามองความเป็นจริงแล้ว การพบปะกันของทหารระหว่างประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นเป็นกิจการทั่วไปของทหารตั้งแต่ ผบ. หมู่ที่คุมชายแดน จนถึง แม่ทัพภาค รวมไปจนถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำกันมานานแล้ว โดยการพบกันนั้นทางทหารจะพบปะหารือกับทหารของประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงนั้นจะนายทหารจะหารือกับนายทหารประเทศเพื่อนบ้านในชั้นยศเดียวกันเท่านั้น ส่วนประเด็นในการหารือนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นความมั่นคงระหว่างประเทศ การร่วมมือกันในการปกป้องอธิปไตย การสกัดกั้นการขนส่งยาเสพติด หรือการป้องกันการก่อการร้ายหรือการกระทำผิดระหว่างประเทศ รวมถึงการร่วมมือการช่วยเหลือประชาชนตามแนวชายแดน

เมื่อ 'รบ.เมียนมา' เดินหน้าสร้างสัมพันธ์กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หวังทยอยเปิดด่านเชื่อม 'ไทย' ชวนสนใจเรื่องปากท้อง

เมื่อวันก่อน ถือเป็นปฐมฤกษ์ที่เราสามารถเปิดพรมแดนระหว่าง 'ไทย -​เมียนมา' ที่สะพานมิตรภาพ 1 ได้สำเร็จ ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของเมียนมาที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคก่อกวนไม่ให้เปิดชายแดนจนลุล่วงสามารถเปิดให้คนข้ามไปมาหาสู่กันได้เหมือนก่อนมีโควิด-19 ระบาด

การที่เอย่ากล่าวว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของเมียนมา เพราะว่าในเมียวดีนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือ KNU นั่นเอง ซึ่งนั่นไม่ง่ายเลยในการที่จะเจรจากับกลุ่ม KNU ถึงการยุติความขัดแย้งที่มีต่อกันแล้วหันหน้ามาทำมาหากิน เพราะแม่สอด-เมียวดี เป็นช่องทางการค้าที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งเม็ดเงินตรงนั้นส่วนหนึ่งคนที่ได้ประโยชน์แรก ๆ ก็คือกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่ค้าขาย ชายแดน ค้าขายแรงงานกันอยู่บริเวณนี้นั่นเอง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top