Friday, 10 May 2024
ไทยลาว

วันนี้เมื่อปี 2531 ‘ไทย - ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ!! 

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด 

ทหารไทยได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ซึ่งไทยต้องเสียเครื่องบินรบแบบเอฟ-5 หนึ่งลำ และโอวี-10 อีกหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตทหารอีกนับร้อยนายในการศึกครั้งนี้

15 ปี ผ่าตัดแฝดสยามรอด ‘คู่แรกของโลก’ ความสำเร็จครั้งใหญ่ของทีมแพทย์ไทย 

เมื่อ 15 ปีก่อน ได้เกิดข่าวใหญ่ที่นับเป็นความภาคภูมิใจคนไทยทั้งประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการแพทย์ไทย ที่สามารถ ‘ผ่าตัดแฝดสยาม’ ที่มีหัวใจและตับติดกับ แยกออกจากกันจนสำเร็จได้เป็นครั้งแรกของโลก!

เชื่อว่าข่าวใหญ่นี้คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้ผ่านจอแก้ว หรือหน้าหนังสือพิมพ์ พร้อมๆ กันเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วการผ่าตัดนั้นได้เกิดขึ้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยฝีมือทีมแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลศิริราช

ในการผ่าตัดครั้งนั้นแพทย์ศิริราช ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามหัวใจติดกัน ซึ่งทารกสองคนนั้นคือ “ด.ญ.ปานตะวัน-ด.ญ.ปานวาด ทิเย็นใจ” วัย 8 เดือน บุตรสาวของ น.ส.อุษา ทิเย็นใจ และนายถาวร วิบุลกุล

โดยเด็กแฝดปานวาดและปานตะวัน เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ซึ่งได้ทำการผ่าคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ น้ำหนักตัวแรกคลอดรวมกันประมาณ 3,570 กรัม แต่มีลักษณะพิเศษ คือ ลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง

ซึ่งบริเวณที่ติดกัน ขนาดกว่า 17 x 8 ซ.ม. โดยทีมแพทย์ได้ทำการตรวจเพื่อสำรวจจุดที่อวัยวะของแฝดเชื่อมต่อกัน ซึ่งพบว่า หัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่ ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้อง ปานวาด ทั้งยังมีเลือดจากปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา

ดังนั้นทีมแพทย์จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อมั่นใจว่าหัวใจของแฝดคู่นี้ ไม่ได้พึ่งพากันและกัน โดยแพทย์ได้ทำการสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบัลลูนเพื่อปิดบริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจ เสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทั้งคู่

เมื่อผลตรวจเป็นไปด้วยดี ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนการผ่าตัดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในขณะนั้นทารกอายุได้ 8 เดือน และมีน้ำหนักตัวรวมกัน 10.9 กิโลกรัม

โดยผศ.นพ.มงคล ได้กล่าวถึงความพิเศษของเคสนี้ ว่าจากการค้นรายงานทางการแพทย์ เด็กแฝดตัวติดกันจะมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดสูง แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตภายหลังคลอด

แต่ในกรณีแฝดที่มีหัวใจติดกัน พบว่าเคยมีการผ่าแยกแต่ ‘เสียชีวิต’ หรือ ‘รอดเพียงคนเดียว’ เท่านั้น ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถผ่าแยกและรอดชีวิตทั้งคู่ 
 

155 ปี รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้าง 'นครวัด' จำลองไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คนไทยได้เห็นความมหัศจรรย์ของปราสาทหินแบบขอม ซึ่งใช้หินล้วนๆ เป็นวัสดุก่อสร้าง จึงมีพระราชดำริที่จะให้รื้อปราสาทหินที่มีอยู่เกลื่อนในเขตไทย ย้ายเข้ามาสร้างในกรุงเทพฯ สักแห่งสองแห่ง จึงมีรับสั่งให้ พระสุพรรณพิศาล กับ ขุนชาติวิชา ออกไปสำรวจหาที่เมืองนครธม นครวัด และเมืองพุทไธสมัน ว่ามีปราสาทไหนพอจะย้ายได้บ้าง ซึ่งขณะนั้นดินแดนเหล่านี้ยังเป็นพระราชอาณาจักรสยาม 

พระสุพรรณพิศาลกับขุนชาติวิชากลับมาทูลรายงานว่า ได้ไปสำรวจมาหลายตำบลแล้ว ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปราสาทใหญ่ๆ รื้อมาคงไม่ได้ แต่ที่เมืองเสียมราฐ มีปราสาทผไทตาพรหม อยู่ 2 หลัง สูงแค่ 6 วา เห็นว่าพอจะรื้อเข้ามาได้ จึงโปรดให้มีตราไปเกณฑ์คนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ เมืองพนมศก เป็นแรงงานให้พระพิศาลไปรื้อปราสาทผไทตาพรหมเข้ามา โดยแบ่งกำลังคนออกเป็น 4 ผลัดๆ ละ 500 คน

ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (นอง) ได้ส่งพระยาอานุภาพไตรภพ เจ้าเมืองเสียมราฐ เข้ามากราบทูลว่า ได้เกณฑ์คนให้พระสุพรรณพิศาลตามรับสั่งแล้ว แต่พอตั้งพิธีพลีกรรมบวงสรวงและลงมือรื้อปราสาทเมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2403 ปรากฏว่ามีชาวเขมรประมาณ 300 คนออกมาจากป่า เข้ายิงฟันพวกรื้อปราสาท ฆ่าพระสุพรรณพิศาลกับพระวังและลูกชายของพระสุวรรณพิศาลตาย รวม 3 คน ทั้งยังไล่แทงฟันพระมหาดไทย พระยกกระบัตร และคนอื่นๆ บาดเจ็บอีกหลายคน แต่พวกที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาไม่ถูกทำร้าย จากนั้นก็หนีกลับเข้าป่าไป

หลังจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงทราบ จึงรับสั่งให้พระยาอภัยภูเบศร์ และพระยาอานุภาพไตรภพ รื้อปราสาทคนละหลังเข้ามาให้จงได้ พร้อมทั้งสืบหาผู้ร้ายรายนี้ให้ได้ด้วย 

'บิ๊กตู่' จูงมือ 'นายกฯ ลาว' เปิดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 ตอกย้ำความสัมพันธ์​สองประเทศที่ไม่มีวันตัดขาด

ไทย-ลาวชื่นมื่น นายกรัฐมนตรีไทย​ - สปป.ลาว​ เดินจูงมือกระหนุงกระหนิง​​วาง ศิลาฤกษ์​ เปิดสะพานมิตรภาพไทย​- ลาวแห่งที่ 5 ด้าน ‘นายพันคำ​‘ ย้ำ ความสัมพันธ์​สองประเทศตัดไม่ขาด​ ‘กินข้าวร่วมนา กินปลาร่วมน้ำ’

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ (28 ต.ค. 65) ที่บริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย​ - ลาว​ แห่งที่ 5 บึงกาฬ​ - ​บอลิคำไซ

โดยนายพันคำ​ กล่าวว่า​ ตนมีความยินดี ที่ได้รับเกียรติ เป็นประธานร่วมกับนายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งมีคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย ​- ลาว เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งการวางศิลาฤกษ์​ล่าช้า เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ในส่วนของการก่อสร้างได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้ และเป็นที่น่าพึงพอใจ ซึ่งเกินความคาดหมาย 

ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในความพยายามในการพัฒนาของ 2 รัฐบาล ภายใต้เงื่อนไขอำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมาของประชาชนทั้งสองฝั่ง รวมไปถึงภาคการขนส่งระหว่างประเทศ ส่งเสริมการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว โดยใช้ที่ตั้งยุทธศาสตร์อันสำคัญของทั้งสองประเทศ เกี่ยวกับอนุภาคพื้นลุ่มแม่น้ำโขง และภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นการอำนวยความสะดวกสนับสนุนการเชื่อมโยงการขนส่ง ทั้งฝั่งไทยลาวและอนุภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกให้เกิดผลประโยชน์สูง

นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กล่าวว่า โครงการนี้ได้มีการวางแผนการปฏิบัติงานว่า ด้วยการเป็นผู้ร่วมยุทธศาสตร์ การเจริญเติบโตและการพัฒนา ในระยะ 5 ปี 2022-2026 ซึ่งได้มีการลงนามข้อตกลง เมื่อ เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์ ของประชาชนทั้งสองชาติ ในการเป็นบ้านใกล้เรือนเคียงกัน และสายผูกพันมิตรภาพการร่วมมือ ที่มีมาอย่างยาวนาน พร้อมกันนี้โครงการสะพานมิตรภาพไทย ​- ลาวแห่งที่ 5 จะเป็นการตอบสนอง ให้แก่กันปฏิบัติเป้าหมายที่ 5 ในการร่วมมือเชื่อมโยง ภายในภาคพื้นสากลให้มีความทันสมัย เข้มแข็ง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติตั้งแต่ปี 2021 -​ 2025 และยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในระยะ 10 ปี 2016 -​ 2025 โดยการนำเอาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีชายแดนติดต่อกัน เป็นการเชื่อมโยงศูนย์กลางการเชื่อมโยง

19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ‘ไทย - ลาว’ หยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” ความขัดแย้งจากข้อพิพาทเส้นแบ่งดินแดน

วันนี้ เมื่อ 35 ปีก่อน ‘ไทย - ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ!! 

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด

19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ‘ไทย-ลาว’ หยุดยิงใน ‘สมรภูมิร่มเกล้า’ ความขัดแย้งจากข้อพิพาทเส้นแบ่งดินแดน

วันนี้เมื่อ 36 ปีก่อน ‘ไทย-ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน ‘สมรภูมิร่มเกล้า’ เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด

ทหารไทยได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ซึ่งไทยต้องเสียเครื่องบินรบแบบเอฟ-5 หนึ่งลำ และโอวี-10 อีกหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตทหารอีกนับร้อยนายในการศึกครั้งนี้

หลังการสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือด ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 นายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวในขณะนั้น ได้ส่งสาส์นถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น เสนอให้หยุดยิง พร้อมตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน และติดต่อสหประชาชาติให้ช่วยเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ซึ่งพล.อ.เปรมตอบรับ นำไปสู่การเจรจาและได้ข้อตกลงโดยทั้งสองฝ่ายจะหยุดยิงในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เวลา 08.00 น. และถอยจากแนวปะทะฝ่ายละ 3 กิโลเมตร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top