Friday, 17 May 2024
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

คอกาแฟเฮ!! ผลวิจัย ชี้ ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว ทั้ง 'ใส่-ไม่ใส่' น้ำตาล เลี่ยงการเสียชีวิตได้ลดลง 30% จากทุกสาเหตุ

(10 มี.ค.66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ 'คอกาแฟได้เฮ ชีวิตอยู่ยาว?' ว่า...

มนุษย์โลกได้รับทราบสรรพคุณของกาแฟมาเนิ่นนาน เช่นเดียวกับคนไทยและคนทำงานที่ไม่เป็นเวลา เป็นกะกลางวันบ้าง กลางคืนบ้าง ทั้งอาชีพยาม อาชีพหมอ ที่ต้องพึ่งกาแฟเป็นอาจิณ นัย ว่า เป็นกลายๆ ทำงานติดกัน 36 หรือไม่ก็ยาวถึง 48 เกือบ 72 ชั่วโมงก็มี ใช้วิธียืนหลับ นั่งหลับ และได้กาแฟเป็นที่พึ่ง

สรรพคุณของกาแฟนั้น หมอดื้อได้เคยเล่าให้ฟัง ในคอลัมน์สุขภาพหรรษา มา ก่อนหน้านี้ และมีการศึกษาในเรื่องของการดื่มกาแฟและทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นหรือความเสี่ยงในการตายน้อยลง  เช่น การศึกษาในกลุ่มประเทศยุโรป 10 ประเทศ รายงานในวารสาร สมาคมอายุรแพทย์ของอเมริกา (Ann Intern Med) ในปี 2017 และในปีเดียวกันนั้นเอง ในวารสาร เดียวกัน แต่เป็นการศึกษาในคนที่ไม่ใช่ผิวขาว และจนกระทั่งการศึกษาที่เกี่ยวพันกับภาวะสุขภาพ และการเกิดโรคหัวใจ มะเร็ง และนิ่วในถุงน้ำดีรวมทั้งโรคต่าง ๆ ในวารสารทางด้านโภชนาการของยุโรปในปี 2022 ก็พบว่ามีประโยชน์คล้ายกัน

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของกาแฟ ยังเป็นเรื่องที่มีผู้คนอยากรู้ว่า จะดื่มกาแฟแบบไหนดี ชนิดคั่ว หรือต้ม แบบชนิดกรองหรือไม่กรอง  และประการสำคัญก็คือ ถ้าใส่น้ำตาลหรือน้ำตาลเทียมลงไปจะลดความดีของกาแฟลงหรือไม่

โดยที่มีการประเมินในปี 2022 ว่าคนอเมริกันดื่มกาแฟวันละ 517 ล้าน แก้ว และเมื่อสอบถามเป็นรายตัวก็ยังพบว่า 66% รายงานว่าเมื่อวานก็ยังดื่มกาแฟอยู่

กาแฟนั้น มีสารที่มีคุณประโยชน์อยู่หลายชนิด และทั้งนี้ เชื่อว่ากลไกในการทำให้สุขภาพดีต่อสู้โรค มีส่วนเกี่ยวพันกับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ที่ได้จากคาเฟอีน และ chlorogenic acids และยังมีคุณสมบัติในการต้านเลือดข้น โดยผ่านกลไกทางเกร็ดเลือด

ดังนั้น น่าจะช่วยอธิบายที่กาแฟนั้น ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหรือลิ่มเลือดอุดตันต่าง ๆได้ และแม้กระทั่งในปัจจุบัน กาแฟเป็นอีกตัวหนึ่งที่มีการศึกษาว่าจะสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้หรือไม่

ดิสนีย์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พลิกโฉมห้องเรียนโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 4 กันยายน 2566 – บริษัท เดอะ วอลท์ ดิสนีย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พลิกโฉมปรับปรุงสภาพแวดล้อมห้องเรียนโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างรอบด้านของผู้ป่วยเด็กทุกช่วงวัย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ห้องเรียนโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังได้รับการปรับปรุงฝาผนัง ,ประตู กระจกตลอดจนพื้นที่เล่นและโซนอ่านหนังสือ ด้วยภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังของตัวละครดิสนีย์, พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอส์ และมาร์เวลที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ และมอบ iPad อุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของเด็กเมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล  ความร่วมมือนี้มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา สร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ให้ความรู้สึกปลอดภัยและสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยเด็กทุกช่วงวัย ซึ่งสามารถช่วยลดความวิตกกังวลของการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและสนุกสนาน

ความพยายามในครั้งนี้ ได้สืบสานพระราชปณิธานตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาเด็กป่วยในโรงพยาบาล เราหวังว่าห้องเรียนนี้จะช่วยส่งเสริมความคิดเชิงจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และปลูกฝังประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและสนุกสนานให้เด็กป่วยในโรงพยาบาล” รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

“เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นโรงพยาบาลในประเทศไทยแห่งแรกสำหรับโครงการโรงพยาบาลเด็กของเรา ดิสนีย์มีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการพลิกโฉมปรับปรุงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลผ่านเรื่องราวและตัวละครที่เป็นขวัญใจของเด็ก สร้างพื้นที่จะมอบความรู้สึกสุข ความสนุก ความสบายใจให้กับเด็ก ๆ และครอบครัวในช่วงเวลาที่พวกเขาต้องการมากที่สุด” Vineet Puri รองประธานและผู้จัดการทั่วไปบริษัท เดอะ วอลท์ ดิสนีย์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

เพื่อเป็นเกียรติและขอขอบคุณอย่างยิ่ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้จัดพิธีส่งมอบห้องเรียนโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังฯ ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยรศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายสนับสนุนบริการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ ตึก สก. ชั้น 12 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลส่งต่อระดับตติยภูมิที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นรากฐานของความเป็นเลิศด้านการดูแลสุขภาพและวิชาการ ดำเนินการภายใต้สภากาชาดไทยอันทรงเกียรติและเป็นโรงพยาบาลจัดการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครองตำแหน่งที่โดดเด่นในภูมิทัศน์การแพทย์ของประเทศ

ด้วยจำนวนเตียงผู้ป่วยใน 1,435 เตียง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นหนึ่งในสถาบันการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย บทบาทที่สำคัญในฐานะโรงพยาบาลผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีอัตลักษณ์ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ และเอื้ออาทร ที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา วิจัย และการดูแลผู้ป่วยทางการแพทย์สูงสุด มีการให้บริการผู้ป่วยทุกเพศทุกวัยด้วยการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพสูงและครอบคลุมทุกสาขาวิชาชีพ ทีมแพทย์และพยาบาลที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญจะทำงานร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อมอบประสบการณ์การดูแลที่อบอุ่นและเอาใจใส่ และยังเป็นศูนย์วิจัยทางการแพทย์ชั้นนำที่มุ่งมั่นในการค้นหาวิธีรักษาและป้องกันโรคใหม่ๆ ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับโลก
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทย และยังคงเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาพและการศึกษาทางการแพทย์ต่อไป

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจัดวันพยาบาลแห่งชาติ ปี 66 สภากาชาดไทย เทิดไท้สมเด็จย่าเสริมสร้างดูแลสุขภาพปวงประชาห่างไกลไร้โรคา มีคุณภาพชีวิตที่ดี

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 8.00-10.00  น.นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานเปิดงานวันพยาบาลแห่งชาติ ปี 66 ณ.ระเบียงรมณีย์ ชั้นที่ 14 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

วันพยาบาลแห่งชาติ ถูกกำหนดให้เป็นวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ชึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุข การศึกษา การศาสนา  การสงเคราะห์ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

เพื่อน้อมรำลึกและเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระศรีนครืนทราบรมราชชนนี ฝ่ ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ได้ตระหนักเห็นความสำคัญ ดังกล่าว จึงได้จัดงานวันพยาบาลแห่งชาตื ประจำปี 2566 เหมือนเช่นทุกปี สำหรับปีนี้จัดงานวันที่ 20  ตุลาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 8.00-15.00 น. กืจกรรมภายในงานที่น่าสนใจประกอบด้วยนิทรรศการการดูแลสุขภาพ เละเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพจากหน่วยงานต่างๆ ของสภากาชาดไทย รับการประเมินสุขภาพด้วยการทดสอบความจำและความคิด ทดสอบแรงบีบมือ ประเมินภาวะความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ภาวะอารมณ์และพฤติกรรม สุขภาพ กิจกรรมเกมส์ฝึกสายตาและสมอง การตรวจวิเคราะห์กล้ามเนื้อและมวลไขมันด้วยเครื่อง ,BIA และรับคำแนะนำฟรี นอกจากนี้รับฟังการเสวนาเรื่อง 'ก้าวเข้าสู่ทศวรรษการดูแลสุขภาวะผู้สูงวัย"และเพลิดเพลินกับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อผู้สูงวัยด้วยไลน์แเดนซ์ ร้องเพลงเล่นดนตรีอูคูเลเล่

‘อนุทิน’ นำ ‘ทีมหมอ’ บินด่วน ‘สกลนคร’ ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ พร้อมขอบคุณญาติที่บริจาคอวัยวะ ช่วยต่อลมหายใจอีกหลายคน

(26 พ.ย. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้นำ นพ.พัชร อ่องจริต แพทย์ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และทีมแพทย์ เดินทางไปยังโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เพื่อผ่าตัดนำอวัยวะออกจากร่างผู้เสียชีวิต หรืออยู่ใน ‘ภาวะสมองตาย’ แล้วลงนามยินยอมบริจาคอวัยวะ เพื่อนำไปปลูกถ่ายช่วยชีวิตผู้ป่วยรายอื่น เรียกว่า ‘ภารกิจหัวใจติดปีก’ การเดินทางในครั้งนี้ ได้อวัยวะกลับไป ประกอบไปด้วย หัวใจ ไต และตา

ทั้งนี้ ระหว่างรอผ่าตัด นายอนุทิน ได้เข้าพบกับญาติผู้เสียชีวิต เพื่อให้กำลังใจต่อการสูญเสีย พร้อมกับยกมือไหว้ แสดงความขอบคุณผู้เสียชีวิต ที่ยินยอมบริจาคอวัยวะ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยรายอื่นๆ ต่อไป

สรุปผลโครงการ 'รักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง' อัตราการรอดชีวิต 100% ฟาก 'รพ.จุฬาฯ' พร้อมส่งเด็กวัย 1 ปี 1 เดือน กลับหลวงพระบางพรุ่งนี้

(17 เม.ย. 67) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ ศูนย์กู้ชีพ ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน พร้อมด้วยทีมแพทย์ พยาบาล ประกอบด้วย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการ รพ.จุฬาฯ และ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ น.พ.จุล นำชัยศิริ ศัลยแพทย์ทรวงอก หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ น.พ.พีระพัฒน์ มกรพงศ์ ศัลยแพทย์ทรวงอก เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก ผศ.น.พ.วิทวัส ลออคุณ หัวหน้าหน่วยกุมารโรคหัวใจ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ พญ.กัญญลักษณ์ วิเทศนสนธิ กุมารแพทย์โรคหัวใจ และ มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก นพ.ธนดล โรจนศานติกุล หัวหน้าศูนย์กู้ชีพ ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ร่วมแถลงความสำเร็จของทีมแพทย์กับภารกิจ ความร่วมมือในโครงการ ‘รักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง’ ความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย, รพ.จุฬา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ, มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก, มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก และ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว และ รพ.มะโหสด พร้อมเตรียมส่งตัวน้องบอย (นามสมมติ) เด็กน้อยวัย 1 ปี 1 เดือน ที่ผ่าตัดสำเร็จกลับเมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว ในวันที่ 18 เมษายนนี้

ด้าน รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวว่า ความเป็นมาของโครงการ ‘รักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง’ เริ่มหารือกันครั้งแรกกับฝ่ายลาว เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เนื่องในโอกาสที่ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก (School of Global Health) และผู้ช่วยเลขาธิการเอกอัครราชทูตฯ เพื่อต่อยอด โครงการจัดการอบรมเฉพาะด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กในระยะวิกฤต (Pediatric Intensive Care) มีโอกาสหารือกับ นพ.ไคสี ลาดซะวง รองผู้อำนวยการ รพ.มะโหสด (ดูแลผู้ป่วยเด็กและฉุกเฉิน) และทราบว่า รพ.มะโหสด เป็นศูนย์โรคหัวใจเฉพาะทางแห่งเดียวของ สปป.ลาว ซึ่งยังต้องการบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาโรคหัวใจเด็ก โดยเฉพาะการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจเด็ก

รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวต่อว่า ต่อมาสถานเอกอัครราชทูตฯ จึงติดต่อมาที่ น.พ.พีระพัฒน์ มกรพงศ์ กรรมการและเลขานุการของมูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก พร้อมทั้งหารือกับตน และมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก นำมาสู่การริเริ่มโครงการรักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขงด้วยการสนับสนุน อย่างเต็มกำลังจากทุกหน่วยงาน

“คณะทำงานได้เริ่มประชุมหารือตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2566 เพื่อขับเคลื่อนโครงการนี้ ทีมแพทย์ออกหน่วยตรวจคัดกรองผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดของ สปป. ลาว เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566 จากการคัดกรองผู้ป่วยเด็กจำนวน 92 ราย พบว่า ในจำนวนนี้ มีเด็ก 37 ราย ที่มีความจำเป็นต้องนำไปผ่าตัดรักษาที่ประเทศไทย และมีเด็ก 3 ราย มีความจำเป็นต้องนำตัวไปผ่าตัดที่ รพ.จุฬาฯ และหนึ่งในนั้นคือ น้องบอยเด็กชายวัย 10 เดือน (อายุในขณะนั้น) ปัจจุบันอายุ 1 ปี 1 เดือน

ทีมแพทย์พบว่าเด็กมีอาการเส้นเลือดหัวใจสลับห้องกัน มีรูรั้วที่ผนังห้องหัวใจ มีอาการตัวเขียวจากภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งขณะนั้นน้องบอยมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัมเท่านั้น ทีมแพทย์จึงลงความเห็นว่าจำเป็นต้องนำตัวมาผ่าตัดที่ รพ.จุฬาฯ อย่างเร่งด่วน หลังการผ่าตัดผ่านไปจนถึงขณะนี้เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว เด็กมีอาการคงที่ ร่างกายแข็งแรงจากเดิมเป็นอย่างมาก

ทีมแพทย์จึงเห็นสมควรว่า เด็กมีความพร้อมที่จะเดินทางกลับไปที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ดังนั้นในวันพรุ่งนี้ (18 เม.ย.67) ทางทีมแพทย์จะส่งตัวเด็กกลับไปที่หลวงพระบาง โดยการสนับสนุนเครื่องบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส” รศ.นพ.ฉันชาย กล่าว

นอกจากนี้ รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวว่า นอกจากนั้น ในโครงการ ‘รักษ์หัวใจเด็ก(น้อย) ข้ามโขง’ คณะแพทย์ของ รพ.จุฬาฯ และทีมงาน Global Health ได้หารือกับคณะแพทย์ของ รพ.มะโหสด เรื่องแนวทางความร่วมมือและการสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของ สปป.ลาว ให้สามารถผ่าตัดหัวใจเด็กได้ภายใน 5 ปี ในเบื้องต้น คณะแพทย์ของ รพ.จุฬาฯ เห็นว่า ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก และพิจารณาเรื่องการให้ทุนแก่บุคลากรเพื่อเพิ่มพูนทักษะสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กและทุนการศึกษาสำหรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไปอย่างเต็มกำลังจากทุกหน่วยงานข้างต้น

“สรุปผลการดำเนินโครงการ ‘รักษ์หัวใจเด็ก(น้อย) ข้ามโขง’ ผู้ป่วยที่รอคิวผ่าตัดจำนวน 37 ราย (มีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างรอผ่า 2 ราย ) ผ่าตัดที่ รพ.จุฬาฯ 2 ราย ทั้ง 2 คน อาการปลอดภัยดี และผ่าตัดที่ รพ.เกษมราฎร์ ประชาชื่น 27 ราย ทุกคนที่ผ่าตัดอาการปลอดภัยดี เท่ากับว่าเด็กที่เข้าโครงการและได้รับการผ่าตัด มีอัตรการรอดชีวิต 100% ยังเหลือเด็กที่รอผ่าตัดอีก 11 ราย” รศ.นพ.ฉันชาย กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top