Thursday, 9 May 2024
โรงงาน

เกิดเหตุระทึกกลางดึก เร่งอพยพคนงาน-ชาวบ้านนับร้อย เหตุ ‘สารแอมโมเนียรั่วไหล’ หลายคนอาเจียน-หมดสติ

สารแอมโมเนียโรงงานผลิตอาหารแช่แข็งส่งออกต่างประเทศหาดใหญ่ ‘รั่ว’ อพยพคนงานนับร้อยคนออกจากหอพักในโรงงาน ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ โรงงาน และต้องนำส่งโรงพยาบาลหลายสิบคนเนื่องจากอาการหนัก อาเจียนเวียนศีรษะ และบางรายถึงขั้นหมดสติ

เมื่อวานนี้ (27 มี.ค.66) เกิดเหตุสารแอมโมเนียรั่วภายในโรงงานผลิตอาหารแช่แข็งส่งออกต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รั่วมาจากไลน์การผลิตและฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งภายในโรงงานและบริเวณโดยรอบโรงงงาน ซึ่งมีบ้านของชาวบ้านอาศัยอยู่ แต่ขณะเกิดเหตุในส่วนของไลน์การผลิตไม่มีคนงานทำงาน มีเพียงเฉพาะทีมช่างเข้าเวรอยู่

จึงได้มีการอพยพคนงานที่พักอาศัยอยู่ภายในโรงงานนับร้อยคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาออกมาอยู่ยังศูนย์แพทย์ 3 ตำบล ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนกาญจนวนิชและพ้นจากรัศมีการรั่วไหลของสารแอมโมเนีย พร้อมมีชาวบ้านบางส่วนที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงงานก็ต้องอพยพออกมาด้วย

อีลอน มัสก์’ ซีอีโอเทสลา เยือนโรงงานในเซี่ยงไฮ้ เล็งขยายโรงงานผลิตเพิ่มต่อเนื่อง ตอกย้ำประสิทธิภาพ

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัว, เซี่ยงไฮ้ รายงานว่า ‘อีลอน มัสก์’ ซีอีโอเทสลา (Tesla) ได้เดินทางเยือนโรงงานเทสลา เซี่ยงไฮ้ กิกะแฟกทอรี ในเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีน เมื่อช่วงเช้าวันพฤหัสบดี (1 มิ.ย.) โดยเขาได้ชื่นชมประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตของโรงงาน

มัสก์แสดงความยินดีกับทีมจีนสำหรับผลการปฏิบัติงานอันยอดเยี่ยม และพลังงานเชิงบวกในการทำงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง โดยเขากล่าวว่าเป็นเรื่องน่าประทับใจอย่างมากที่ทุกคนสามารถเอาชนะสารพัดอุปสรรคความยากลำบากและความท้าทาย

“รถยนต์ที่ผลิตจากที่นี่ ไม่เพียงมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ยังมีคุณภาพสูงสุดอีกด้วย” มัสก์ กล่าว

อนึ่ง โรงงานเซี่ยงไฮ้ กิกะแฟกทอรี ถือเป็น ‘ต้นแบบ’ ของโรงงานเทสลาแห่งอื่นๆ ทั่วโลก เช่น เบอร์ลิน กิกะแฟคทอรี และเท็กซัส กิกะแฟคทอรี ซึ่งเปิดทำการปีก่อน และ ‘ทำสำเนา’ ประสิทธิภาพและอิทธิพลทางอุตสาหกรรมระดับโลกของโรงงานในจีน

โรงงานเซี่ยงไฮ้ กิกะแฟกทอรี ซึ่งก่อตั้งปี 2019 จัดเป็นโรงงานกิกะแฟกทอรีนอกสหรัฐฯ แห่งแรกของเทสลา ที่ได้ส่งมอบรถยนต์ 710,000 คันในปี 2022 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 จากปี 2021

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนเมษายน เทสลาประกาศแผนการก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่แห่งใหม่ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะมุ่งผลิต ‘เมกะแพ็ก’ (Megapack) ผลิตภัณฑ์จัดเก็บพลังงานของเทสลา

รายงานระบุว่า โรงงานแห่งใหม่มีกำหนดเริ่มต้นก่อสร้างในไตรมาสสาม (กรกฎาคม-กันยายน) ของปีนี้ และจะเริ่มต้นการผลิตในไตรมาสสอง (เมษายน-มิถุนายน) ของปี 2024

 

เน็กซ์ พอยท์’ ทุ่ม 1 พันล้าน!! ตั้งโรงงานมอเตอร์ไฟฟ้าแห่งแรกในไทย เร่งตอกเสาเข็มภายในปี 66 หวังลดนำเข้าชิ้นส่วนรถอีวีจากต่างประเทศ

‘เน็กซ์ พอยท์’ ทุ่มงบ 1 พันล้านบาท สร้างโรงงานผลิตมอเตอร์ไฟฟ้ารถ EV แห่งแรกในไทย หวังลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ เร่งตอกเสาเข็มภายในปี 66 เตรียมมาตรการอุ้มลูกค้านำรถเก่าแลกรถใหม่ การันตีราคาสูงแตะ 20%

เมื่อไม่นานนี้ นายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนที่จะลงทุนร่วมกับ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ในการก่อตั้งโรงงานผลิตมอเตอร์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) แห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่ใกล้เคียงกับ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแบตเตอรี่ ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดว่าน่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท และหากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนไม่มีปัญหาก็น่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในสิ้นปี 66

สำหรับการก่อตั้งโรงงานผลิตมอเตอร์รถ EV ขึ้นในประเทศไทยนั้น บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะพยายามใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศให้มากที่สุด ในการผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันบริษัทฯ จะมีสัดส่วนในการใช้ชิ้นส่วนในประเทศอยู่แล้วประมาณ 50% ก็ตาม แต่หากมีโรงงานมอเตอร์ในประเทศไทย ก็จะสามารถลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศลงได้อีก และช่วยให้ต้นทุนการผลิตรถ EV ต่อคันลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคารถ EV ลดลงตามไปด้วย เชื่อว่าน่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้หน่วยงาน ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป หันมาเปลี่ยนรถจากรถน้ำมันมาเป็นรถ EV มากขึ้น

นายคณิสสร์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นในระยะแรกมอเตอร์ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานมอเตอร์รถ EV ดังกล่าว จะนำมาใช้เป็นชิ้นส่วนในการผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าในไทยก่อน และในระยะถัดไปหากมีกำลังการผลิตเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศแล้วก็วางแผนที่จะส่งออกมอเตอร์รถ EV ไปจำหน่ายยังประเทศในกลุ่มอาเซียน และส่งออกไปขายทั่วโลกตามลำดับ เพื่อทำให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตมอเตอร์รถ EV ของโลกให้ได้

“เวลานี้ถือว่าเป็นโอกาสดีเพียงครั้งเดียว ที่เราจำเป็นต้องเร่งมือสร้างโรงงานมอเตอร์รถ EV เพราะหากเราไม่ทำแล้วมีประเทศเพื่อนบ้านชิงทำก่อนก็อาจจะเสียโอกาส และทำให้ประเทศอื่นในแถบภูมภาคนี้แซงเราจนเป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าไปก่อนได้”

นอกจากนี้ บริษัทฯยังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดมาตรการสนับสนุนการใช้รถ EV อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการโลจิสติกส์ หรือหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องมีรถอยู่ในฟีดจำนวนมาก เมื่อใช้งานไปครบอายุการใช้งานตามมาตรฐานสากลประมาณ 7-8 ปี ก็อาจต้องเปลี่ยนรถเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงวางแผนไว้เบื้องต้นว่า หากใช้งานรถของเน็กซ์ผ่านไป 7 -8 ปีแล้วต้องการนำรถเก่ามาเปลี่ยนฝูงรถใหม่ก็สามารถนำมาตีเทิร์นได้ ซึ่งบริษัทฯจะการันตีให้สูงถึง 15-20 % ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกค้าให้เกิดความมั่นใจในการใช้รถ EV อย่างต่อเนื่องต่อไป

'ไทยซัมมิทฯ' ชี้!! ทุนจีนที่ทำ EV ไม่ต่างจากทัวร์ศูนย์เหรียญ เข้ามาตั้งโรงงาน ดึง บ.ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาเอง ไม่ซื้อของจาก บ.ไทย

(6 มี.ค.67) จากบทสัมภาษณ์ของ ดร.สาโรจน์ วสุวานิช รองประธานกิตติมศักดิ์ บมจ.ไทยซัมมิทกรุ๊ป และกรรมการและประธานกิตติมศักดิ์ บมจ.ไทยซัมมิท ฮาร์เนส ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) ได้เปิดเผยเกี่ยวกับทุนจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยได้ให้มุมมองไว้ว่า...

“รถยนต์ไฟฟ้า EV จากจีนที่เข้ามาทุกวันนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับทัวร์ศูนย์เหรียญเพราะจีนที่มาตั้งโรงงานเอาเครือข่ายที่ผลิตชิ้นส่วนเข้ามาทั้งหมด ไม่ซื้อกับคนไทยเลย ต่างกับบริษัทญี่ปุ่นที่ยังแบ่งให้คนไทยบ้าง แต่ว่าจีนไม่แบ่งเลย รวมถึงธุรกิจอื่นที่จีนเข้ามาเช่นเดียวกัน”

โอกาสจะทำการค้ากับบริษัทจีนยาก ตอนนี้รัฐบาลไทยลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาทั้งคัน และชิ้นส่วนไปอีก 1 ปี โดยจะสิ้นกำหนดในปี 2568 เท่ากับช่วงนี้รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อต่าง ๆ ที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยได้กี่แสนคันเท่ากับการกินส่วนแบ่งตลาดรถยนต์สันดาปค่ายญี่ปุ่นไป และตอนนี้ค่ายรถญี่ปุ่นปรับแผนลดการผลิตลงง ส่งผลกระทบให้ยอดขายชิ้นส่วนของคนไทยลดลงไปด้วย

ไม่เพียงแต่รถยนต์ EV แต่รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแทบจะทุกประเภท เช่น ตู้เย็น ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยไทยได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนมาดัมพ์ราคาขายถูกกว่าสินค้าไทย 35-50% ทำให้ SMEs ไทยสู้ไม่ไหว แต่สินค้าจีนคุณภาพไม่ค่อยดี เสียหายเคลมไม่ได้ ทำให้ผู้ใช้งานบางคนยังยอมใช้สินค้าไทยบ้าง

‘เอกนัฏ’ เผย กระทรวงอุตฯ ยุคนี้ ให้ความสำคัญกับ ปชช. เรื่องมลพิษ ชงแก้กฎหมาย ให้โรงงานต้นเหตุ ต้องจ่ายค่าเยียวยาเอง

(23 มี.ค.67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ กรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ชี้แจงข้อสงสัยของสมาชิกเกี่ยวกับการชดเชยราคาอ้อยสดว่า ถ้าสามารถเพิ่มราคาน้ำตาลในประเทศได้ก็จะสามารถเก็บเงินเข้ากองทุน ไม่ต้องเป็นภาระนำงบกลาง ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนมาใช้ สามารถนำเงินส่วนนี้ไปจ่ายชดเชยราคา ในการตัดอ้อยสดได้เลย

สำหรับ สำหรับงบการอบรมของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ (กพร.) ความเป็นจริงกพร. ได้รับงบน้อยมาก การรับรู้ของประชาชน และผู้ประกอบการเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ในประเทศยังน้อยมากไม่ควรปรับลดงบลงมา แต่ควร เพิ่มงบให้ด้วย เพื่อให้ข้าราชการในกพร. สามารถออกไปเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการได้มากกว่านี้ ให้พวกเขาได้ร่วมรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

นายเอกนัฏ กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมปัจจุบันภารกิจน้อยไป มีการแยกงานบางส่วนไปอยู่กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ซึ่งมีกองทุนอยู่ด้วย ถ้าให้มีการนำเงินไปอุดหนุนปัจจัยการผลิตตามที่สมาชิกขอ ก็แทบจะไม่ใช่ภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แต่ภารกิจสำคัญของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมคือการออกไปพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพให้ความรู้กับกลุ่มผู้ประกอบการ และพัฒนาสินค้าต้นแบบ

อย่างไรก็ตาม การจะไปคำนวณว่าใช้เงินต้นทุน ในการพัฒนาผู้ประกอบการต่อหัวเท่าไหร่ อาจจะเป็นมุมที่บิดเบือนวัตถุประสงค์การใช้เงินในก้อนนี้ ได้รับการยืนยันจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมว่า เงินทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้สินค้าต้นแบบ จะทำให้เพิ่มมูลค่าได้ 7,000 กว่าล้านบาท จึงอยากให้สมาชิกได้มองอีกมุมหนึ่ง อย่ามองแต่เรื่องค่าใช้จ่ายรายหัว ให้มองมูลค่าที่เพิ่มจากการทำภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

สำหรับ โครงการดีพร้อมชุมชน นายเอกนัฏ ชี้แจงว่า อาจเป็นความเข้าใจผิดในโครงการที่เคยมีปัญหาในอดีต แต่ภารกิจเหล่านั้น ปัจจุบันแทบไม่ได้ทำแล้ว ปัจจุบันนี้งบของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม งบที่ได้มาส่วนใหญ่จะนำไปเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มผู้ประกอบการและสินค้ามากกว่า ตัวเนื้องานของกลุ่มเสริมส่งเสริมใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณภาพเน้นการออกไปพัฒนามากกว่า

นายเอกนัฏ กล่าวถึงความต้องการที่จะให้ตั้งงบประมาณเพื่อเยียวยาปัญหาจากกากอุตสาหกรรม และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมว่า น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรมให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก งานหลักของกระทรวงอุตสาหกรรมคือการเพิ่มอุตสาหกรรมของประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าคือคุณภาพชีวิตของประชาชน การทำมาหากินการค้าขายหรือการสร้างมูลค่าอุตสาหกรรมต้องไม่ไปทำลาย หรือทำร้ายพี่น้องประชาชน

“ความจริงเราไม่ต้องใช้งบประมาณแม้แต่บาทเดียวไม่ต้องมาหากรรมาธิการงบประมาณเพราะรมว.อุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับการแก้กฎหมาย เพื่อให้โรงงานและกลุ่มผู้ประกอบการที่สร้างปัญหาให้ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ต้องมาใช้เงินภาษีของประชาชนในการเยียวยา มีการแก้กฎหมายให้ผู้ประกอบการที่ สร้างมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ปัญหาที่เกิดก่อนการแก้กฎหมาย เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นฉุกเฉินไม่มีการตั้งงบไว้ในปี 2567 หวังว่าสัญญานี้ส่งไปถึงรัฐบาลควรตั้งงบกลางมาแก้ปัญหาในกรณีฉุกเฉิน ด้วย”นายเอกนัฏ กล่าว

‘ส.อ.ท.’ นำเสนอแนวทางแก้ปัญหา ‘กากแคดเมียม’ ย้ำ!! ต้องได้มาตรฐานเพื่อ ‘การผลิต-การบริโภค’ ที่ยั่งยืน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ออกหนังสือข้อเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหา ‘กากแคดเมียม’ อย่างยั่งยืน และมีมาตรฐานที่ปลอดภัย โดยได้ระบุว่า ...

1.ผู้ก่อกำเนิดของเสีย (โรงงานถลุงแร่สังกะสีและแคดเมียม จังหวัดตาก) มีภาระความรับผิดตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมปี 2566 โดยได้มีการดำเนินงานดังนี้

ในกรณีนี้มีการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงานกับอุตสาหกรรมจังหวัดแล้ว มีการขนกากแคดเมียมจากโรงงานถลุงแร่สังกะสีและแคดเมียม จังหวัดตาก ซึ่งขุดขึ้นมาจากหลุมฝังกลบกากอันตราย (Hazardous waste) ของโรงงานต้นทางไปยังปลายทาง โรงงาน 106 ที่ได้รับอนุญาตหลอมหล่ออะลูมิเนียม ที่จังหวัดสมุทรสาคร (ผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor–WP) จำนวน 13,xxx ตัน

ซึ่งในกรณีที่ของเสียยังไม่ได้รับการบำบัดกำจัดแล้วเสร็จ ผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator–WG) จึงยังมีภาระความรับผิดตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมปี 2566

ตามรายงานอีไอเอของโรงงานถลุงสังกะสี จังหวัดตาก ได้ระบุว่าเป็นกากอุตสาหกรรมอันตรายให้ฝังกลบแบบถาวร

2.ผู้รับบำบัดจำกัด (โรงงานประเภท 106) และรับหลอมหล่ออะลูมิเนียม (โรงงานประเภท 60) จังหวัดสมุทรสาคร

2.1 กากของเสียต้องมีการจัดการตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรม และต้องทำ Mass Balance เพื่อป้องกันการสูญหายจากกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งกรณีนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดทำ Mass Balance ควรจะต้องมีระบบรายงานที่ทันเหตุการณ์มากกว่าระบบ offline ดังเช่นในปัจจุบัน

2.2 ในทางกฎหมาย ร้านค้าของเก่าไม่สามารถรับของเสียอันตรายจาก โรงงาน 106 ได้ ในกรณีนี้เกิดจากการขาดความรู้เกี่ยวกับของเสียอันตรายที่ถูกต้อง และการกำกับดูแลร้านค้าของเก่าที่ไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารและให้ความรู้ที่ถูกต้องมากขึ้น รวมถึงการกำกับดูแลที่ชัดเจนมากขึ้น

2.3 นักลงทุนต่างประเทศ นำกากของเสียฯ นี้ไปหลอมหรือส่งออกไปในช่องทางที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นโรงงาน กรณีนี้ จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นต้นเหตุของปัญหาหลายเรื่องนอกจากเรื่อง กากแคดเมียม ในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นปลายทางให้กับร้านค้าของเก่าในข้อ 2.2

2.4 ในมุมของ 'การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance: CG)' ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชนและภาครัฐทุกระดับตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ต้องตระหนักและยึดหลัก Corporate Governance: CG ในการปฏิบัติงานที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เป็นธรรม เพื่อสามารถติดตามเส้นทางและป้องกันการสูญหายระหว่างทาง และสามารถควบคุมผลกระทบที่อาจจะมีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้มีประสิทธิภาพขึ้น

3.มาตรการของ ส.อ.ท. เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว

จากบทเรียนนี้ประเด็นสำคัญ คือ โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม (Waste Generator–WG) มีภาระความรับผิดในระยะยาวตามกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องเลือกผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor–WP) ที่น่าเชื่อถือและมีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐาน

3.1 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ออกมาตรฐานและมอบตราสัญลักษณ์ Eco Factory for Waste Processor ซึ่งจะช่วยให้ผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรมสามารถแยกแยะผู้ประกอบการโรงงานรับบำบัดกำจัดและรีไซเคิลของเสียที่มีคุณภาพกับไม่มีคุณภาพออกจากกันได้ชัดเจนขึ้น

ปัจจุบันมีโรงงานรับบำบัดกำจัดและรีไซเคิลของเสียได้รับการรับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor แล้วทั้งสิ้น 16 แห่ง และอยู่ระหว่างการเตรียมขอการรับรองอีก 16 แห่ง

ภายในปี 2568 โรงงาน 101, 105 และ 106 ที่เป็นสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (จำนวน 76 แห่ง) และโรงงาน 101, 105 และ 106 ในนิคมอุตสาหกรรม จะเข้าสู่ระบบนี้ทั้งหมด ซึ่งเกินกว่า 80% ของผู้ให้บริการบำบัดกำจัดและรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมในตลาดปัจจุบัน จะทำให้โรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียสามารถคัดเลือกโรงงานปลายทางที่เป็นผู้รับบำบัดกำจัดและรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพได้ง่ายขึ้น และช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้มาก

นอกจากนี้ ส.อ.ท. และ กนอ. ได้เชิญชวนบริษัทชั้นนำในประเทศไทย 4 องค์กร (SCGC, IRPC, PTTGC, TCMA) และสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้ ส.อ.ท. 11 กลุ่มอุตสาหกรรม ร่วมประกาศเจตนารมณ์การสนับสนุนเลือกใช้บริการ Waste Processer ที่ได้รับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor เพื่อให้สอดคล้องนโยบายการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain)

3.2 สนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ให้เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อรวมศูนย์การพัฒนา สื่อสาร ส่งเสริมและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ

เนื่องจากอุตสาหกรรมประเภท 101, 105 และ 106 มีความอ่อนไหวต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน จึงจำเป็นต้องมีศูนย์กลาง การพัฒนา สื่อสาร การส่งเสริมและการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ

ซึ่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางในเรื่องนี้

ช่วยลดภาระการกำกับดูแลของภาครัฐลงได้อีกมาก ถ้าได้รับการส่งเสริมให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์การจัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อมคู่ขนานไปกับกฎหมายและมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ

3.3 ผลักดันการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เกิดการหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่มีศักยภาพมาพัฒนาเป็นวัสดุหมุนเวียน (Circular Materials) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามคุณสมบัติของการสิ้นสุดความเป็นของเสีย (End of Waste) คือ (1) เป็นวัสดุที่มีวัตถุประสงค์การใช้งานเฉพาะ (2) มีตลาดหรือความต้องการใช้ (3) เป็นไปตามกฎหมายหรือมาตรฐานที่มีคุณสมบัติทางเทคนิคตามข้อกำหนด และ (4) ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยหรือสิ่งแวดล้อม โดยการต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อลดการนำกากของเสียไปฝังกลบ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top