Tuesday, 7 May 2024
โรคระบาด

‘คนก้าวไกล’ พ้อ!! ขอลาออกจากกรรมาธิการ หลังรัฐไร้น้ำยาแจงปม ‘อหิวาต์หมู-หมูแพง’

‘ปดิพัทธ์’ รุกปฏิบัติการโรยเกลือ ยื่น ป.ป.ช. ลงดาบ นายกฯ-รมต.-อธิบดีกรมปศุสัตว์ ปมปกปิดละเว้นหน้าที่ ปล่อย ‘อหิวาต์หมู’ ระบาดหนัก พร้อมประกาศไขก็อก กมธ.แก้ปัญหาหมูแพง เหตุไร้น้ำยาเรียกหน่วยงานมาชี้แจงได้

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 พรรคก้าวไกล เดินหน้ายุทธการโรยเกลือ ยื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผ่านนายพิศิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ ป.ป.ช. ให้ไต่สวนและตรวจสอบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายสรวิศ ธานีโต อธิบดีปศุสตว์ กรณีปล่อยให้ราคาหมูแพง จากการปกปิดการแพร่ระบาดโรคอหิวาต์หมู (ASF) ว่า เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ สืบเนื่องจากการอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152

“โดยอ้างอิงข้อมูลที่ได้รับจากเอกชน ว่ากรมปศุสัตว์รับทราบเรื่องการเกิดโรคระบาดอหิวาต์หมูทั้งทางวาจาและเอกสาร ซึ่งชี้ได้ว่าอธิบดีฯ รับทราบมาโดยตลอด ทุกประเทศเมื่อพบการแพร่ระบาดก็จะสามารถยับยั้งได้โดยเร็วอยู่บริเวณชายแดน แต่ประเทศไทยกลับละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมาถึงใจกลางเมืองที่จังหวัดนครปฐม และราชบุรี สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินประชาชน เกิดการกินรวบผูกขาดทำให้หมูราคาแพง จึงย้ำว่าเรื่องนี้เป็นอำนาจของ ป.ป.ช. ในการสอบสวน”

‘อหิวาตกโรค’ โรคระบาดที่อันตรายถึงชีวิต! | TIME TO KNOW EP.10

ผวาหนัก! สาธาฯ เตือนต้องระวัง ‘อหิวาตกโรค’ โรคระบาดจากเชื้อแบคทีเรียกลับมาแล้ว!

อย่ารับประทานที่ไม่สะอาด กึ่งสุกกึ่งดิบ เพราะภัยอันตรายที่คนส่วนใหญ่มองข้ามนี้

เสียงอันตรายถึงชีวิต! 

 

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager THE STATES TIMES

 

พบกับแขกรับเชิญสุดพิเศษ ดร.โอ นิตินันท์ พันทวี

นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการพิเศษ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 

 

รับชม TIME TO KNOW ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLeCUW3J3YQWxrNs4ZAeXBp 

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIME PODCAST

โรคร้ายหน้าร้อน!! รู้วิธีรับมือไว้...ไม่ป่วย! | TIME TO KNOW EP.12

หน้าร้อนมาแล้ว!! TIME TO KNOW ขอแชร์วิธีเตรียมตัวรับมือกับโรคร้าย

ที่คุณอาจคาดไม่ถึง พร้อมเคล็ดไม่ลับ

วิธีการดูแลสุขภาพในช่วงหน้าร้อนกับนักวิชาการชำนาญพิเศษจากกระทรวงสาธารณสุข 

 

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager THE STATES TIMES 

 

พบกับแขกรับเชิญสุดพิเศษ ดร.โอ นิตินันท์ พันทวี

นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการพิเศษ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 

 

รับชม TIME TO KNOW ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLeCUW3J3YQWxrNs4ZAeXBp

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIME PODCAST 

โรคระบาดเพิ่มขึ้น!! ‘หมอยง’ เตือนระวัง ‘ยุงลาย-ชิคุนกุนยา-ไวรัสชิกา’ แนะทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง เพื่อลดการกระจายโรค

ระบาดเพิ่มขึ้น!‘หมอยง’เตือนระวัง‘ไข้ปวดข้อยุงลาย-ชิคุนกุนยา-ซิกา’

(10 มี.ค.66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan มีเนื้อหาดังนี้...

ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิกุนกันย่า ซิกา

ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต

10 มีนาคม 2566

ในช่วงปีที่ผ่านมา มีการระบาดของไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนยาและไข้ไวรัสชิกา เพิ่มมากขึ้น

การระบาดของไข้ปวดข้อยุงลายตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 เป็นต้นมา เกิดจากยุงลายบ้าน เช่นเดียวกับไข้เลือดออก จึงพบมากในเขตเมืองรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ทำให้มีไข้ ผื่นขึ้น และปวดตามข้อ พบได้ทุกอายุแต่ในเด็กจะมีไข้ ออกผื่น อาการปวดข้อ อาจจะไม่เด่น ในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ อาการปวดข้อจะเป็นค่อนข้างรุนแรง และคงอยู่หลายสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือนก็มี

‘พปชร.’ เปิดเวทีให้ ปชช.ร่วมระดมสมอง-ถกปัญหาสุขภาพ หลังได้รับผลกระทบจากโรคระบาด-อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย

(15 มี.ค. 66) นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร. ) และ ภญ.นพวรรณ หัวใจมั่น ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตบางเขน ร่วมการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ ‘สานพลัง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต’ โดยหน่วยงานสาธารณสุข ประกอบด้วย นายแพทย์จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี อาจารย์อายุรแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรนีนครินทร์วิโรฒ และ ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมถ่ายทอดความรู้การดูแลสุขภาพให้กับประชาชน ซึ่งในครั้งนี้มีประชาชนเข้ามาร่วมรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันอย่างถูกวิธี

โดยนายรัฐภูมิ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้รับการร้องเรียนถึงปัญหาจากผลกระทบการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่าน มีผลต่อการดำรงชีวิตที่ต้องเผชิญต่อปัจจัยเสี่ยงในโรคภัยต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้ ซึ่งมาจากเรื่องสุขภาพและสภาวะอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง

‘ตร.’ จับมือ ‘กรมปศุสัตว์’ บุกค้น 16 โกดัง ซุกซ่อนหมูเถื่อน หวั่นนำ ‘โรคอหิวาต์’ จากแอฟริกามาแพร่ระบาดในไทย

(11 พ.ค. 66) ตามที่รัฐบาลมีนโยบายปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรจากต่างประเทศ และเข้ากระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำออกสู่ท้องตลาด โดยมิได้ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับสินค้าอันไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงอาจนำโรคระบาดชนิดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) มาแพร่ระบาด ทำให้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกรภายในประเทศ และเกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559, พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร.และ พล.ต.ท. สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองบริโภค (บก.ปคบ.) ตำรวจภูธรภาค 1, 5 และ 7 ร่วมกับ กรมปศุสัตว์เข้าตรวจสอบสถานที่ต้องสงสัยทั้งหมด 16 แห่ง ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ

จากการตรวจสอบ โดยเจ้าหน้าที่นำหมายค้นของศาลอาญาทำการตรวจค้น 16 แห่ง พบว่า จังหวัดนครปฐม 1 จุด สามารถอายัดเนื้อสุกรแช่แข็งรวม 4,070 กิโลกรัมและ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 จุด สามารถอายัดเนี้อสุกรแช่แข็งรวม 11,100 กิโลกรัม ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิด พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งนี้

สำนักงานตำรวจแห่งชาติขอฝากเตือนพี่น้องประชาชน โปรดระมัดระวังในการบริโภคเนื้อสุกร ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือไม่ได้มาตรฐาน และขอความร่วมมือกรณีหากมีเบาะแส / เรื่องร้องเรียนลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน / เบาะแสโดยตรงได้ที่สายด่วน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) โทร.1135 หรือ สายด่วนฉุกเฉิน 191 และสามารถแจ้งผ่านช่องทาง แอปพลิเคชัน DLD 4.0 ของกรมปศุสัตว์

‘สายชาบู-สุกี้สไตล์จีน’ ระวัง!! ‘ไส้กรอกจีน’ เสี่ยงปนเปื้อนโรคระบาด หวั่นเชื้อแพร่กระจายสู่คน เตือน!! พบเห็นสินค้า รีบแจ้งเบาะแสด่วน

(16 ก.ค. 66) นับเป็นเมนูยอดฮิตในช่วงนี้ สำหรับสุกี้สไตล์จีน ชาบูหมาล่า ที่พบเห็นแทบทุกหัวมุมถนน และมีผู้คนต่อคิวยาวเหยียด โดยร้านเหล่านี้มักจะมีเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์แปรรูป และน้ำต่าง ๆ จากประเทศจีนประกอบอยู่ในเมนูด้วย

ล่าสุดทำให้ผู้ที่ชื่นชอบอาหารประเภทนี้ตกใจไม่น้อย หลังเพจเฟซบุ๊ก ชุดปฏิบัติการทีมสุนัขดมกลิ่น (DLD-Quarantine and Inspection Canine unit) ได้โพสต์ภาพ ไส้กรอกจำนวนมาก ในห่อสีแดง พร้อมระบุว่า “หากพบเห็นสินค้า หน้าตาแบบนี้ ที่ใดภายในประเทศไทย โปรดแจ้งเบาะแส”

โดยพบว่าภาพดังกล่าวเป็นปฏิบัติงานตรวจสอบ การลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์ ทั้งขาเข้าและขาออก บริเวณอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 21.00 น.สัมภาระเที่ยวบิน HU 7939 สายการบิน ไห่หนานแอร์ไลน์ ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติเหม่ยหลาน เมืองไหโข่ว ประเทศจีน สุนัขบีเกิล ตรวจพบไส้กรอกหมู จำนวน 100 แท่ง น้ำหนัก 8.5 กิโลกรัม ราคาประมาณ 2,000 บาท โดยเจ้าหน้าที่ เผยว่า ประเทศต้นทางมีโรคระบาด จึงไม่อนุญาตให้นำเข้า

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์มีความเสี่ยงในการนำโรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์สู่คน ที่อาจปนเปื้อนมา ให้มีการแพร่กระจายไปในที่ต่าง ๆ หากมีการนำขนส่งไปมา โดยไม่มีการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐบาลที่ควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายซากสัตว์

‘โรคไอกรน’ ระบาดหนักในปัตตานี ป่วยทะลุ 108 ทารกดับ 1 ‘แพทย์’ แนะ ปชช.ฉีดวัคซีนป้องกัน ลดอัตราการเสียชีวิตได้

(13 ธ.ค.66) สถานการณ์ไอกรนจังหวัดปัตตานี วันที่ 12 ธันวาคม 2566 ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่องในหลายอำเภอ รวม 108 ราย เสียชีวิตเด็กเล็กอายุ 18 วัน จากอำเภอเมือง จำนวน 1 ราย อำเภอเมืองปัตตานีเกิดมากที่สุด จำนวน 27 ราย รองลงมาอำเภอยะรัง จำนวน 24 ราย และ อำเภอแม่ลาน 12 ราย อำเภอมายอ 9 ราย อำเภอทุ่งยางแดง 8 ราย อำเภอสายบุรี กับอำเภอไม้แก้น อำเภอละ 6 ราย อำเภอยะหริ่ง 5 ราย อำเภอปะนาเระกับอำเภอหนองจิก อำเภอละ 4 ราย อำเภอกะพ้อ 3 ราย ส่วนอำเภอโกโพธิ์ ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ  

ทางด้านนายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี กล่าวยืนยัน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการติดเชื้อไอกรนกระจายในหลายอําเภอ ที่ผ่านมามีทารกที่ติดเชื้อจากคนในบ้านเสียชีวิตด้วย ขณะที่แนวโน้มการติดเชื้อยังคงสูงขึ้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากอัตราการรับวัคซีนของเด็กในพื้นที่จังหวัดปัตตานีน้อย ทั้งที่โรคไอกรนและอีกหลายๆ โรคเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน จึงอยากประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองนําบุตรหลานรับวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์อายุ ได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

>> อาการของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

ระยะแรก เด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอ เหมือนอาการเริ่มแรกของโรคหวัดธรรมดาอาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้ส่วนใหญ่ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้งๆ

ระยะที่สอง มีอาการไอเป็นชุดๆ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีเสมหะจะเริ่มมีลักษณะของไอกรน คือ มีอาการไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะมีหน้าตาแดง น้ำมูกน้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพองการไอเป็นกลไกที่จะขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมาผู้ป่วยจึงจะไอติดต่อกันไปเรื่อยๆ 

ระยะฟื้นตัว กินเวลา 2-3 สัปดาห์ อาการไอเป็นชุดๆ จะค่อยๆ ลดลง ทั้งความรุนแรงของการไอและจำนวนครั้ง แต่จะยังมีอาการไอหลายสัปดาห์ระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์

‘หมอยง’ ชี้!! 'JN.1' เข้าสู่สายพันธุ์หลักโควิด19 ในไทย เหมือนหวัดทั่วไป ‘ติดง่าย-แต่ไม่รุนแรง’ คลายตัวช่วงเดือน 2-3

(11 ม.ค. 67) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘โควิด 19 สายพันธุ์ JN.1 เป็นสายพันธุ์ที่พบมากแล้วในขณะนี้’ ระบุว่า...

ในที่สุด การคาดการณ์ว่าสายพันธุ์ JN.1 ที่ระบาดและติดต่อได้ง่าย ก็เข้ามาเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย

จากการศึกษาของศูนย์ไวรัส ถอดรหัสพันธุกรรม ในเดือนธันวาคม 14 ตัวอย่าง (ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่รอวิเคราะห์) ด้วยงบประมาณที่จำกัด พบว่าสายพันธุ์เด่นที่พบมากที่สุด เป็นสายพันธุ์ JN.1 แล้ว หลังปีใหม่นี้สายพันธุ์ JN.1 จะเป็นสายพันธุ์หลัก หรือเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นสายพันธุ์ติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมที่ผ่านมา

สายพันธุ์ JN.1 พบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เป็นลูกของสายพันธุ์ BA.2.86 (Pilora ชื่อของดาวเคราะห์น้อย) เป็นสายพันธุ์ที่ติดต่อได้ง่ายและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว มีการคาดการณ์ไว้แล้วว่าสายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อื่นทั้งหมด

เป็นตามคาดหมาย สายพันธุ์นี้เข้ามาสู่ประเทศไทย เริ่มเด่นชัดในเดือนธันวาคมและแน่นอนหลังปีใหม่นี้ ก็น่าจะเป็นสายพันธุ์ JN.1 สายพันธุ์ใหม่ขณะนี้ยังไม่มีชื่อเล่น

ผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ JN.1 อาการไม่รุนแรง บางคนเพียงเป็นหวัด เจ็บคอเหมือนโรคทางเดินหายใจทั่วไป ติดต่อได้ง่าย เป็นแล้วก็สามารถเป็นอีก จึงทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังปีใหม่นี้ และคาดว่าผู้ป่วยจะเริ่มลดลงหลังเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ โดยจะลดลงอย่างมากในเดือนมีนาคม แล้วจะสงบลง จนไปถึงฤดูกาลใหม่ในเดือนมิถุนายนปีนี้

ขณะนี้ทางศูนย์ ได้ติดตามสายพันธุ์อยู่ตลอด เนื่องจากมีงบประมาณที่จำกัด จึงทำจำนวนได้ไม่มาก เพื่อเฝ้าระวังแนวโน้มสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังแสดงในรูป จะเห็นว่าสายพันธุ์เด่นในเดือนพฤศจิกายน เป็น HK3 แล้วเปลี่ยนเป็น JN.1 ในเดือนธันวาคม และในเดือนนี้สายพันธุ์ส่วนใหญ่จะเป็น JN.1 เพราะแพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น

ความรุนแรงของโรคไม่ได้เปลี่ยนแปลง สิ่งที่สำคัญที่ต้องศึกษาขณะนี้คือ ระบบภูมิต้านทานเดิมที่มีอยู่มีผลอย่างไร กับการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ใหม่ โดยจะนำสายพันธุ์ใหม่ มาเพราะเชื้อขยายจำนวน แล้วทดสอบกับปฏิกิริยาภูมิต้านทาน ในคนไทย ที่ได้รับวัคซีนชนิดต่างๆ และการติดเชื้อที่ผ่านมา

ย้อนอดีต!! ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ โรคระบาดที่ร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์ หลังมีผู้ติดเชื้อ 500 ล้านคนทั่วโลก และคร่าชีวิตไปกว่าหลายสิบล้านคน

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลก รวมถึงบ้านเราด้วย ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ถือว่าหนักหนาสาหัสชนิดที่คนในยุคสมัยนี้ไม่เคยเจอะเคยเจอมาก่อน แต่ในอดีตเมื่อกว่าร้อยปีก่อนก็ได้มีการระบาดอย่างหนักของไข้หวัดใหญ่สเปน (The Spanish flu) ซึ่งเป็นหนึ่งในการระบาดของโรคที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยไข้หวัดใหญ่สเปนถูกพบครั้งแรกในยุโรป สหรัฐอเมริกา และบางส่วนของทวีปเอเชีย ก่อนที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในขณะนั้นยังไม่มียาหรือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ ประชาชนจึงได้รับคำสั่งให้สวมหน้ากาก รวมทั้งโรงเรียน โรงละคร และธุรกิจต่าง ๆ ก็ถูกปิดตาย และศพผู้เสียชีวิตถูกกองไว้ในห้องเก็บศพชั่วคราว ก่อนที่ไวรัสจะยุติระบาดไปทั่วโลก

สำหรับ ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ เป็นการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในปี 1918 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เอ H1N1 เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 1918 ถึงเดือนเมษายน 1920 ทำให้มีผู้ติดเชื้อ 500 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลกในขณะนั้น ซึ่งเกิดขึ้นถึง 4 ระลอกต่อเนื่องกัน โดยตัวเลขของผู้เสียชีวิตคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 20-50 ล้านคน (แต่การประมาณการจะเริ่มตั้งแต่ 17 ล้านคน ไปจนถึงสูงถึง 100 ล้านคน) ซึ่งมากกว่าทหารและพลเรือนทั้งหมดที่เสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมกันเสียอีก

การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนเกิดขึ้นในเกือบทุกพื้นที่ของโลก โดยอันดับแรกจะเกิดตามท่าเรือ จากนั้นก็จะแพร่กระจายจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองตามเส้นทางคมนาคมหลัก อย่างในอินเดีย คาดว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 12.5 ล้านคน ในระหว่างการแพร่ระบาด และโรคนี้ก็ได้แพร่กระจายไปถึงหมู่เกาะห่างไกลในแปซิฟิกใต้ รวมถึงนิวซีแลนด์และซามัว ทั้งนี้ ในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตประมาณ 550,000 - 675,000 คน ซึ่งการเสียชีวิตส่วนใหญ่ในทั่วโลกเกิดขึ้นในช่วงระลอกที่ 2 และ 3 มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนเกิดขึ้นอีกในปี 1920 แต่ความรุนแรงลดลง

อย่างไรก็ตาม…แล้วไข้หวัดใหญ่สเปนเกิดจากอะไร? ซึ่งการระบาดเริ่มขึ้นในปี 1918 ในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งปัจจุบันนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ความขัดแย้งอาจมีส่วนทำให้ไวรัส H1N1 แพร่กระจาย ในแนวรบด้านตะวันตกทหารที่ทำการรบนั้นอยู่ในสภาพคับแคบสกปรกและอับชื้นจนทหารเริ่มป่วย อันเป็นผลโดยตรงจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากการขาดสารอาหาร ความเจ็บป่วยของพวกเขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ‘la grippe’ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อ และแพร่กระจายไปตามลำดับภายในเวลาประมาณ 3 วัน หลังจากที่ป่วยทหารหลายคนจะเริ่มรู้สึกดีขึ้น แต่ก็่ใช่ว่าจะเป็นในทหารทั้งหมด ในช่วงฤดูร้อนปี 1918 เมื่อทหารเริ่มลากลับบ้าน พวกเขาได้นำไวรัสที่ตรวจไม่พบซึ่งทำให้พวกเขาป่วยไปด้วย ไวรัสจึงแพร่กระจายไปทั่วเมืองและหมู่บ้านในประเทศบ้านเกิดของทหาร ผู้ติดเชื้อจำนวนมากทั้งทหารและพลเรือนไม่สามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว 

ต่อมาในปี 2014 มีทฤษฎีใหม่ (ยังเป็นข้อสันนิษฐาน) เกี่ยวกับ ‘ต้นกำเนิด’ ของไวรัส ชี้ให้เห็นว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน โดย National Geographic รายงานว่า บันทึกที่ยังไม่ได้ค้นพบก่อนหน้านี้ได้เชื่อมโยงไข้หวัดกับการขนส่งแรงงานกรรมกรจีน ผ่านแคนาดาในปี 1917 และ 1918 คนงานส่วนใหญ่เป็นคนงานในฟาร์มจากพื้นที่ห่างไกลในเขตชนบทของจีนตามหนังสือ ‘The Last Plague’ ของ Mark Humphries (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยโตรอนโต 2013) พวกเขาต้องอยู่กันอย่างแออัดในตู้คอนเทนเนอร์รถไฟที่ปิดสนิทเพื่อขนส่งข้ามประเทศเป็นเวลา 6 วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังฝรั่งเศส ซึ่งที่นั่นพวกเขาต้องขุดสนามเพลาะ วางรางรถไฟ สร้างถนน และซ่อมแซมรถถังที่เสียหาย โดยรวมแล้วมีการระดมคนงานมากกว่า 90,000 คน ไปยังแนวรบด้านตะวันตก โดย Mark Humphries อธิบายว่าส่วนหนึ่งในจำนวนคนงานชาวจีน 25,000 คน ในปี 1918 ประมาณ 3,000 คนต้องยุติการเดินทางในเขตกักกันทางการแพทย์ของแคนาดา ในขณะนั้นเนื่องจากการเหยียดผิว ความเจ็บป่วยของพวกเขาถูกระบุโดยตำหนิว่าเป็น ‘โรคขี้เกียจของจีน’ และแพทย์ชาวแคนาดาก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาการของคนงาน เมื่อถึงเวลาที่คนงานมาถึงทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในช่วงต้นปี 1918 หลายคนเริ่มป่วยและอีกหลายร้อยคนกำลังจะตายในไม่ช้า 

ทั้งนี้ สำหรับที่มาของชื่อ ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ ซึ่งถูกเรียกชื่อผิด ๆ โดยสเปนเป็นประเทศเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 และไม่เหมือนกับเพื่อนบ้านในยุโรป แต่ก็ไม่ได้กำหนดให้มีการเซ็นเซอร์ตรวจสอบสื่อในช่วงสงคราม โดยในฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา หนังสือพิมพ์ไม่ได้รับอนุญาตให้รายงานสิ่งใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อการทำสงคราม รวมถึงข่าวว่า ไวรัสที่ทำให้คนป่วยหนักกำลังระบาดไปทั่วกองทหาร เนื่องจากนักข่าวชาวสเปนเป็นเพียงคนเดียวที่รายงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1918 การระบาดจึงกลายเป็นที่รู้จักในชื่อของ ‘ไข้หวัดใหญ่สเปน’ (The Spanish flu)

>> สำหรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนในยุคนั้น มี 4 ระลอก ดังนี้… 

- การระบาดระลอกที่ 1 ของการระบาดใหญ่เกิดขึ้นในปี 1918 ในฤดูใบไม้ผลิและโดยทั่วไปยังระบาดไม่รุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการเช่น ไข้หวัดทั่วไป คือ หนาวสั่น มีไข้ และอ่อนเพลีย มักจะหายเป็นปกติหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน และจำนวนผู้เสียชีวิตที่รายงานอยู่ในระดับต่ำ และค่อนข้างไม่รุนแรง กินเวลาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 1918 โดยอัตราการเสียชีวิตไม่ได้สูงกว่าปกติ ซึ่งในสหรัฐอเมริกามีรายงานการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดใหญ่ถึง 75,000 ราย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 1918 เทียบกับการเสียชีวิตประมาณ 63,000 ราย ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 1915 และในกรุงมาดริด ประเทศสเปน มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่น้อยกว่า 1,000 คน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 1918 ไม่มีรายงานการกักกันในช่วงไตรมาสแรกของปี 1918 อย่างไรก็ตาม คลื่นลูกแรกทำให้การปฏิบัติการทางทหารของสงครามโลกครั้งที่ 1 หยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีทหารฝรั่งเศส 3 ใน 4 กองกำลังอังกฤษครึ่งหนึ่งและทหารเยอรมันกว่า 900,000 คนป่วย 

- การระบาดระลอกที่ 2 ของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนได้ปรากฏขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงของปีเดียวกันนั้น เหยื่อเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากเกิดอาการ ผิวหนังของผู้ติดเชื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และปอดเต็มไปด้วยของเหลวที่ทำให้หายใจไม่ออก เริ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนสิงหาคม 1918 อาจแพร่กระจายไปยังเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา และเมืองฟรีทาวน์ ประเทศเซียร์ราลีโอนโดยทางเรือ ซึ่งน่าจะมาถึงพร้อมกับกองทหารอเมริกันจากท่าของกองทัพเรือที่เมืองบอสตัน และค่ายเดเวนส์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมเดเวนส์) ห่างจากเมืองบอสตันไปทางตะวันตกประมาณ 30 ไมล์ สถานที่ทางทหารอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ต่างได้รับผลกระทบในไม่ช้า ขณะที่กองกำลังทหารสหรัฐฯ ถูกส่งไปยุโรป ทำให้เกิดการแพร่กระจายไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือในอีก 2 เดือนต่อมา จากนั้นไปยังอเมริกากลาง และอเมริกาใต้รวมถึงบราซิลและแคริบเบียน ในเดือนกรกฎาคม 1918 จักรวรรดิออตโตมันพบผู้ป่วยรายแรกในทหารบางนายจากเมืองฟรีทาวน์ การระบาดของโรคยังคงแพร่กระจายไปทั่วแอฟริกาตะวันตกตามชายฝั่งแม่น้ำและทางรถไฟในอาณานิคม และโดยรถไฟไปยังชุมชนห่างไกลมากขึ้น ในขณะที่แอฟริกาใต้ได้พบการระบาดในเดือนกันยายนจากเรือที่แรงงานพื้นเมืองของแอฟริกาใต้กลับมาจากฝรั่งเศส จากนั้นแพร่กระจายไปทั่วแอฟริกาตอนใต้และเลยจาก Zambezi ไปถึงเอธิโอเปียในเดือนพฤศจิกายน เมื่อวันที่ 15 กันยายน นครนิวยอร์กพบผู้เสียชีวิตครั้งแรกจากโรคไข้หวัดใหญ่สเปน ขบวน Philadelphia Liberty Loans Parade ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 1918 เพื่อส่งเสริมพันธบัตรรัฐบาลสนับสนุนการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12,000 คน หลังจากการระบาดครั้งใหญ่ของโรคที่แพร่กระจายไปในหมู่ผู้คนที่เข้าร่วมขบวนพาเหรด เพียงปีเดียวคือปี 1918 ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของชาวอเมริกันถึงกับลดลงไปหลายสิบปี

- การระบาดระลอกที่ 3 เกิดขึ้นในฤดูหนาว (เดือนมกราคม พ.ศ. 2462) ถัดมาและเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิไวรัสก็เริ่มระบาด ไข้หวัดใหญ่สเปนก็ระบาดถึงออสเตรเลีย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 12,000 คน หลังจากการยกเลิกการกักกันทางทะเล จากนั้นก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอยู่ตลอดฤดูใบไม้ผลิและจนถึงเดือนมิถุนายน 1919 ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อสเปน เซอร์เบีย เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน แม้จะรุนแรงน้อยกว่าระลอกที่ 2 แต่ก็ยังร้ายแรงกว่าระลอกแรก และในสหรัฐอเมริกามีการระบาดในบางเมือง อย่างเช่น ลอสแองเจลิส นิวยอร์กซิตี้ เมมฟิส แนชวิลล์ ซานฟรานซิสโก และเซนต์หลุยส์ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตโดยรวมของชาวอเมริกันอยู่ในระดับหมื่นคนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 1919 ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตอยู่ในกลุ่มคนอายุ 20 - 40 ปี ซึ่งเป็นรูปแบบอายุการตายที่ผิดปกติของไข้หวัดใหญ่

- การระบาดระลอกที่ 4 เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี 1920 นิวยอร์กซิตี้ สวิตเซอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย และหมู่เกาะในอเมริกาใต้ เมืองนิวยอร์กเพียงแห่งเดียวมีรายงานผู้เสียชีวิต 6,374 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 1919 ถึงเดือนเมษายน 1920 ซึ่งเป็นจำนวนเกือบสองเท่าของระลอกแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 1918 เมืองอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้ง ดีทรอยต์ มิลวอกี แคนซัสซิตี มินนีแอโพลิส และเซนต์หลุยส์ มีการระบาดอย่างหนัก โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าทั้งหมดของปี 1918 เปรูประสบพบเจอในช่วงต้นปี 1920 และญี่ปุ่นในช่วงปลายปี 1919 ถึง 1920 โดยกรณีสุดท้ายในเดือนมีนาคม ในยุโรปห้าประเทศ (สเปน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์) มีการบันทึกจุดสูงสุดอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคม - เมษายน 1920

ด้วยในยุคนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าปัจจุบัน จำนวนผู้เสียชีวิตจึงถึงสูงมาก ด้วยจำนวนประชากรในโลกขณะนั้นไม่ถึงสองพันล้านคน แต่หลักการป้องกันยังคงแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนเช่น การสวมหน้ากาก การเว้นระยะห่าง การรักษาความสะอาด ฯลฯ จากบทเรียนหลักในอดีต ‘มาตรการใด ๆ’ ก่อนที่จะเกิดการระบาดซึ่งถูกอธิบายว่า "เกินจริง แต่ในภายหลังมักจะกลายเป็นว่า ไม่เพียงพอ" ศาสตราจารย์ Jaume Claret Miranda ภาควิชา Arts and Humanities มหาวิทยาลัย Oberta de Catalunya กล่าว

ในขณะนี้วัคซีน mRNA ที่ใช้ฉีดป้องกันไวรัส COVID-19  กำลังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างมากในวงกว้างว่า การรับวัคซีน mRNA นั้นมีความคุ้มหรือไม่? ด้วยเพราะปรากฏว่า มีผู้ที่รับวัคซีน mRNA จำนวนหนึ่งมีปัญหาด้านสุขภาพ มีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ หลังจากที่รับวัคซีน mRNA แล้ว โดยอาการจากผลข้างเคียงที่พบจากผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA ได้แก่ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ซึ่งพบเจอบ่อยมาก มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศอิสราเอล เพราะเป็นประเทศที่ประชาชนได้รับวัคซีน mRNA ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากพบว่า มีอาการผิดปกติในร่างกายหลังจากรับวัคซีน mRNA ควรไปพบแพทย์ หรือดื่มน้ำรางจืด (จากการต้มใบรางจืด) ด้วยน้ำรางจืดมีฤทธิ์ในการขับพิษและของเสียออกจาร่างกาย ควรดื่มตอนเช้าก่อนรับประทานอาหารและยาต่อเนื่องกันสัก 2 - 4 สัปดาห์ จะสามารถช่วยขับพิษที่ทำให้ร่างกายมีความผิดปกติและช่วยลดอาการผิดปกติในร่างกายได้ในระดับหนึ่ง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top