Saturday, 19 April 2025
โรคระบาด

มุกดาหาร -ตำรวจน้ำ ปศุสัตว์ ร่วมกันทำลาย ชิ้นส่วนสุกรเถื่อน ของกลาง 660กก.

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 เวลา 14.00 น. พ.ต.ท.พงษ์พิพัฒน์  บูรณะบัญญัติ สว.ส.รน.3 กก.10 บก.รน. มอบหมายให้ ว่าที่ ร.ต.อ.ทวีศักดิ์ สุระสะ รอง สว.(ป.ทางน้ำ) ส.รน.3 กก.10 บก.รน. ร่วมเป็นคณะกรรมการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ดำเนินการทำลายชิ้นส่วนหมูเถื่อน ของกลาง จำนวน 660 กิโลกรัม ตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2558 โดยวิธีฝังกลบ ณ บริเวณด่านกักกันสัตว์มุกดาหาร ตำบลคำอาฮวน อำเภอมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 

ภาพ/ข่าว เดวิท โชคชัย มุกดาหาร รายงาน 092-5259777

กัมพูชาเตือนภัย! มีผู้ป่วยโรคหัดแล้ว 375 ราย พบระบาดหนักตามแนวชายแดน

(23 ธ.ค.67) กระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา (MOH) ออกคำเตือนเมื่อวันเสาร์ (21 ธ.ค.) เกี่ยวกับการระบาดเพิ่มของโรคหัด หลังพบผู้ป่วยโรคหัดอย่างน้อย 375 รายในปี 2024

กระทรวงฯ ระบุในแถลงการณ์ว่าโรคหัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็วผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอหรือจาม พร้อมเสริมว่าโรคนี้สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น ตาบอด สร้างความเสียหายต่อสมอง หรือกระทั่งเสียชีวิต โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

กระทรวงฯ พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโรงเรียนและจังหวัดตามแนวชายแดนบางแห่ง โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมปีนี้ กัมพูชายืนยันจำนวนผู้ป่วยโรคหัดใน 17 จังหวัด รวม 375 ราย

แถลงการณ์ระบุว่าอาการของโรคหัดมักปรากฏหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 10-14 วัน ได้แก่มีไข้สูง ไอ น้ำมูกไหล ตาแดงและมีน้ำตา และมีจุดผื่นขาวขนาดเล็กที่กระพุ้งแก้ม ผู้ป่วยโรคนี้มักมีผื่นแดงปรากฏตามร่างกายในช่วง 7-18 วันหลังรับเชื้อ โดยเริ่มจากใบหน้าและลำคอส่วนบน จากนั้นลามไปยังมือและเท้า พร้อมเตือนให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานที่มีอาการไข้สูง ไอ น้ำมูกไหล และมีผื่นแดง ไปพบแพทย์ที่ศูนย์สุขภาพหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

กระทรวงฯ ยังเรียกร้องให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานที่มีอายุ 9-59 เดือนไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมันฟรีที่ศูนย์สุขภาพทุกแห่งเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

อนึ่ง กัมพูชาเคยประกาศว่าตนเป็นประเทศปลอดโรคหัดเมื่อเดือนมีนาคม 2015 แต่กลับมาพบผู้ป่วยโรคหัดรายแรกอีกครั้งใน 7 เดือนต่อมา

WHO ประกาศภาวะฉุกเฉิน 'อหิวาตกโรค' หลังพบผู้ป่วยพุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี"

(30 ธ.ค. 67) องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ "อหิวาตกโรค" เป็น "ภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่" หลังจากพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก และอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้พุ่งสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี

นางมาร์กาเร็ต แฮร์ริส โฆษกองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การระบาดในครั้งนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องดำเนินการโดยด่วน ทั้งการรณรงค์ฉีดวัคซีนและการปรับปรุงระบบน้ำและสุขอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการระบาด

แม้ว่าจะมีความคืบหน้าในการควบคุมโรคอหิวาตกโรคในหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่จำนวนผู้ป่วยกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2022 โดยมี 44 ประเทศรายงานพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 25% จาก 35 ประเทศในปี 2021 และแนวโน้มการระบาดยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี 2023 ขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้สูงขึ้นอย่างมาก

โดยซูดานใต้กำลังเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงที่สุดในศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยบริเวณเมืองเร็งค์ ซึ่งเป็นจุดรับผู้อพยพจากความขัดแย้งในซูดาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในซูดานอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นที่มีสุขาภิบาลไม่เพียงพอ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ WHO และรัฐบาลซูดานใต้เร่งแจกจ่ายวัคซีนในพื้นที่กรุงจูบาและบริเวณใกล้เคียง แต่แฮร์ริสระบุว่า การฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ

แฮร์ริสเน้นย้ำว่า การแก้ปัญหาอหิวาตกโรคอย่างยั่งยืนต้องมุ่งไปที่การจัดหาน้ำสะอาดและแยกน้ำดื่มออกจากพื้นที่สุขา “วัคซีนเป็นเพียงเครื่องมือช่วยบรรเทาโรค แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้น้ำสะอาดเข้าถึงได้และแยกน้ำสะอาดจากพื้นที่ที่ใช้เป็นห้องน้ำ” เธอกล่าว พร้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินการที่รวดเร็วเพื่อหยุดการแพร่เชื้อจากคนสู่คน

นางแฮร์ริสให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีทีจีเอ็นของจีนว่า การกลับมาระบาดอีกครั้งของอหิวาตกโรคเกิดจากทรัพยากรที่มีจำกัด โดยเฉพาะในเรื่องของระบบน้ำและสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอในหลายประเทศ ซึ่งทำให้โรคนี้กลายเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก ในเดือนมกราคม 2566 องค์การอนามัยโลกได้จัดประเภทการระบาดของโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด

นางแฮร์ริสกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าการฉีดวัคซีนจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่ยังไม่เพียงพอ และต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อให้มั่นใจว่า ระบบน้ำและสุขอนามัยในแต่ละประเทศจะปลอดภัยและสามารถหยุดการแพร่ระบาดได้

อหิวาตกโรคเป็นโรคติดเชื้อในลำไส้เฉียบพลันที่เกิดจากแบคทีเรีย "ไวบริโอ โคเลอแร" (Vibrio cholerae) ซึ่งแพร่กระจายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระ แม้ว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและการรักษาสุขอนามัยที่เหมาะสม แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจถึงแก่ชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

สำหรับสถานการณ์ป่วยโรคอหิวาต์ บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ล่าสุดในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พบว่าฝั่งเมียนมาเสียชีวิตแล้ว 3 ราย โดยผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนในเมียวดีและโรงพยาบาลบ้านโก๊กโก๋ จำนวนผู้ป่วยสะสมในพื้นที่ดังกล่าวมีประมาณ 450 คน ส่วนที่หมู่บ้านส่วยโก๊กโก่ หรือเขตอิทธิพลจีนเทาในจังหวัดเมียวดี ซึ่งตรงข้ามกับตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด และบ้านวังผา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ได้รับการประสานจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก พบผู้ป่วยอหิวาตกโรคจำนวน 3 ราย ใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนถุงทอง 1 ราย ชุมชนร่วมแรง 1 ราย และชุมชนมณีไพสณ์ 1 ราย ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเขตเทศบาลนครแม่สอด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top