Thursday, 9 May 2024
โซเชียลมีเดีย

'ทรัมป์' ปั้น 'Truth Social'​ โซเชียลมีเดียของตัวเอง หลังโดนปิดกั้นหนัก เอาใจเหล่าสาวกเดนตาย

หลังจากที่อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องเสียบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัว ที่มียอดผู้ติดตามสูงถึง 88.7 ล้านคน และยังถูกปิดกั้นการเข้าถึงช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ ทั้ง Facebook รวมถึง YouTube ที่เคยใช้ ซึ่งล้วนมียอดผู้ติดตามมหาศาล อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ การบุกรุกอาคาร 'เดอะ แคปปิตอล'​ ของกลุ่มผู้สนับสนุน ที่ต้องการขัดขวางกระบวนการรับรองคะแนนเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2021 ที่เชื่อว่าเกิดจากข้อความปลุกระดมในโซเชียลมีเดียของทรัมป์

ทั้งนี้​ การปิดกั้นช่องทางสื่อสารทางโซเชียล มีผลกับอดีตประธานาธิบดี ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักสร้างกระแสคนดังที่สุดแห่งยุคอย่างมาก เพราะทรัมป์ชื่นชอบ การสื่อสารผ่านทางทวิตเตอร์มาก ที่มักจะโพสต์ข้อความถึงกลุ่มฐานเสียงทุกวันอย่างสม่ำเสมอ 

อย่างไรก็ตาม​ เมื่อปิดกั้นกันนัก ท่านเสี่ยทรัมป์ก็เลยควักกระเป๋า เปิดช่องโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองซะเลย โดยใช้ชื่อว่า Truth Social ที่เตรียมจะเปิดตัวในขั้นทดสอบและรับสมาชิกในเดือนพฤศจิกายนปีนี้

TOPIC18 : อย่ายึดติดแค่เจ้าเดียว!! ส่องทิศทางโซเชียลมีเดียไทย ในวันที่ใครๆ ก็ล้มหายได้ ถ้าไม่ปรับตัว

อย่ายึดติดแค่เจ้าเดียว!!
ส่องทิศทางโซเชียลมีเดียไทย
ในวันที่ใครๆ ก็ล้มหายได้...ถ้าไม่ปรับตัว

Click on Clear Original 
โดย ปริม THE STATES TIMES (กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา) 

'พงศ์พรหม' ห่วง!! บางสื่อโซเชียลชี้คนนิยมหรูเพื่ออวด ก่อวัฒนธรรมเกินตัว!! ลงเอย 'ปล้น-โกง-เครียด-ฆ่าตัวตาย'

นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Pongprom Yamarat ระบุว่า...

มีคนรู้จักมาบ่นเรื่องญาติออกรถ G-class รุ่นใหม่ สีดำ ให้ฟังครับ ประเด็นคือเป็นครอบครัว 4 คน ฐานะกลางๆ ค่อนไปทางน้อย แต่ไม่ได้ลำบากอะไร

3-4 ปีมานี้หัวหน้าครอบครัวเสพติดโซเชียลมากขึ้น ตามแนวทาง 'ของมันต้องมี' และ 'ใครๆ เค้าก็มีกัน'

เมื่อต้นปีไปขายที่ดินที่มีอยู่ผืนเดียวในราคา 10 กว่าล้านบาท เอามาซื้อรถราคาเกือบ 10 ล้านบาท คือ G-class รุ่นนี้ สีดำ

แต่ที่ญาติๆ ห่วงคือ ยังให้ลูกเรียนโรงเรียนประชาบาลใกล้บ้าน ชีวิตนี้ลูกไม่เคยได้รู้จักคำว่าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ไม่สนใจในการลงทุนพัฒนาตัวเอง หรือลูกๆ ไม่มีการคิดว่าจะเอาเงิน 10 กว่าล้านนั้น ไปสร้างคุณภาพชีวิตให้ครอบครัว หรือเก็บออมเพื่ออนาคตการศึกษา หรือยามเจ็บป่วยอย่างไร

แถมยังบอกว่า บ้านอื่น ๆ ตามท้องไร่ท้องนา ก็ขายที่ดินออก Alphard กันตั้งเยอะ

จริงครับ เพื่อนผมขายรถ ปัจจุบัน Alphard กลายเป็นขวัญใจคนภูธรไปเรียบร้อย ต่อจาก Fortuner 

ปัญหาขายที่ดินมาออกรถ เอาเงินอนาคตมาแต่งกระบะบ้าง รถยนต์บ้าง อยากมีของแพง ๆ เหมือนคนอื่นบ้าง กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทยครับ

ปัญหานี้หลาย ๆ คนเรียกว่าการขาด Financial Literacy

10 ล้านไม่ใช่เงินเยอะ ถ้าจะมอง 'ครอบครัว' เป็นตัวตั้ง

ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ และคนในประเทศที่เจริญแล้วในโลกนั้น...

1. ต่อให้มีเงินไม่ถึงแสน เค้าจะคิดถึงการศึกษาก่อน
เพราะการศึกษาสามารถหาเงินได้มากกว่า 10 ล้านบาท

2. ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ จะแบ่งเงินเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในอนาคต

3. นำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ แต่ได้ผลตอบแทนบ้าง แล้วค่อยนำผลนั้นมาใช้

4. และเอาเงินส่วนนึง มาซื้อการเรียนรู้ในโลก เช่นไปผจญภัยตามป่าเขา หรือศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์อะไรแล้วตามแต่

ส่วนเงินซื้อของฟุ่มเฟือย จะเอามาจาก 'ผลของเงินต้น' เช่น...

เอาเงิน 8 ล้านบาท มาซื้อพันธบัตรคุณภาพดี เอาซัก B+ ก็ได้ เพื่อรับ yield ซัก 4% นั่นคือเงินฟรี ๆ ปีละ 320,000 บาท ที่จะเอาไปเผาทิ้งก็ไม่มีใครว่า

เปิด 6 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดฮิต!! จากข้อมูลพบว่า Facebook ครองอันดับ 1 ที่มียอดผู้ใช้แตะ 2.9 พันล้านคน ของประชากรโลก ขณะที่ TikTok อยู่ที่ 1 พันล้านคน

‘โซเชียลมีเดีย’ เปรียบเสมือน ‘สื่อกลางออนไลน์’ ที่เชื่อมต่อให้ทุกคนสามารถสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสังคมเล็ก ๆ ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจที่ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารและทำการตลาดในโลกออนไลน์

สรุป 'ครีเอเตอร์ตัวท็อป' ของไทย 'คอนเทนต์' หมวดไหน 'ครีเอเตอร์' เยอะสุด

2 อันดับแรก ก็ไม่ถือว่าผิดคาดมาก เพราะมีครีเอเตอร์อยู่โซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ เยอะ จนมักจะหลุดมาอยู่ทุกหน้า Feed แรกๆ เป็นประจำ

ส่องจำนวนผู้ใช้งาน 'โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม' ในไทย ...มีจำนวนเท่าไรกันบ้าง?

จากงาน iCreator Conference 2023 ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียตัวท็อปในไทยไว้ โดยที่น่าสนใจคือยอดการใช้งาน LINE ที่จ่อติด Facebook รวมถึง TikTok ที่มีอัตราการเติบโตที่มากเลยทีเดียว

 

‘แพทย์’ เตือน!! ไถฟีด ‘TikTok-Reels’ อาจกระตุ้นโรคจิตแฝง แนะ!! เล่นมากๆ จนเห็นภาพหลอน-สับสน ให้รีบพบจิตแพทย์

เมื่อวานนี้ (6 พ.ย. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ‘ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช’ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท โพสต์ข้อความผ่านเพจ “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” ระบุว่า

“เจอ case เล่น TikTok และ Reel กระตุ้นโรคจิตแฝง

เร็ว ๆ นี้ เจอคนไข้ผู้หญิงราชการ อายุ ราว 40 ปี เล่น TikTok ติดงอมแงมต่อมาเห็นภาพหลอน

คือปกติคนไข้หูแว่วประสาทหลอนนี่เป็นคนไข้จิตเวช แต่นี่รับปรึกษาอายุรกรรมสมอง เพราะเป็นเร็ว เป็นแปลก ๆ

คนนี้เล่น TikTok Reel มา 4 เดือน post ทุกวัน ดู video วน ๆ ไปมา กดทั้ง Like ทั้ง Share มันสนุกรู้ใจ หัวเราะไป หลุดโลกความจริง เขาว่างั้น จนผลิตคอนเทนต์เอง วิ่งตาม Like Share คือมีคนกด Like Share Comment มีความสุขโดพามีนหลั่ง

คนไข้คนนี้ 5 วัน บอกว่ามีคนกระซิบให้ทำ video อย่างนั้น อย่างนี้ บอกเทคนิค เริ่มหลอนเห็นคนคุยด้วยไปนั่น ‘เค้ามาแล้ว มากระซิบด้วย เห็นไหม มีผู้ชายใส่ชุดดำมาตาม’ จนญาติเอามาส่ง รพ.

เรื่องแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเจอ เพราะเดือนก่อนก็เจอ ป้าคนนึงนั่งเล่น TikTok วนไป โลกหลุดไปอยู่ใน TikTok จนวนหาทางออกไม่เจอ พอมาในชีวิตจริงก็มีชีวิตหลอน TikTok หลุดออกมาอยู่ด้วย มีคนบอกให้ทำนั่นนี่

Video วน Loop และความหลอน เราก็สงสัย เราเล่นวนไป สนุกดีหัวเราะก๊าก ๆ ไม่เห็นเป็นไรเลย ไถไปเรื่อย ๆ เป็นวัน ลืมวันลืมคืนก็หนุกดี แต่คนที่มีโรคจิตแฝง หรือภาวะทางอารมณ์ไม่มั่นคงอาจไม่ใช่

คนเป็นจิตเภท Schizophrenia นี่บางทีแยกโรคจริง โรคไม่จริงไม่ออก และมักเสพคอนเทนต์หลุดจากความจริง ตัวอัลกอริทึ่มก็จับสิ คราวนี้ feed ใส่หนัก ๆ หลอนหนักไปอีก

Tammy Qiu จาก Stanford University Human-Centered Artificial Intelligence ได้กล่าวถึงความเห็นของนักจิตวิทยาที่มีต่อ social media ที่มีอัลกอริทึ่มสำหรับ feed ให้คนติดหนึบว่า

‘การออกแบบ video หรือ content และการไถฟีดแบบไม่สิ้นสุด แบบนี้เป็นออกแบบ แบบเหยื่อล่อสมอง หรือที่เรียกว่า Hook นั่นเอง โดยการออกแบบหวังเอาชนะการยับยั้งชั่งใจในสมอง โดยการกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดพามีน (dopamine) ซึ่งเหมือนการเสพติดยาเสพติด’

และเราก็ทราบว่า เจ้า Dopamine นี้แหละ ที่ทำให้เกิดโรคจิตได้ด้วย คือมันแชร์จุดกำเนิดเดียวกัน ยาต้านโรคจิตจึงใช้ยาที่ต้านสาร Dopamine ไง เช่น Haloperidol

ในปี 2021 นักวิจัย Ghosh และคณะตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Recent Scientific Research ก็รายงานคนไข้ที่ติด video TikTok นี่แหละ แล้วก็เกิดอาการหลอนโรคจิตกำเริบแบบนี้เหมือนกัน บางคนหลอนมีคนสั่งนุ่นนี่

ส่วนตัวคิดว่า เหตุที่ทำให้หลอน ๆ จาก video platform แบบ TikTok Reel แบบนี้ เป็นได้หลายประการ การเล่นจนติดนาน ๆ กระตุ้น Dopamine สูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุของจิตหลอน ส่วนใหญ่คนปกติทั่วไปไม่น่าจะเป็นไร แต่ใครเป็น trait คือโรคจิตแฝงที่รอการกระตุ้นก็อาจแสดงอาการได้ง่ายขึ้น

Video ที่มีลักษณะหลอน ๆ มีเยอะ ทั้งที่แบบสาวจีนร้องเต้น ภาษาอะไรก็ไม่รู้วนไป วนมา นี่ก็หลอน คนทำเสียงดัง ๆ กรี๊ด ๆ ก็มี นี่ก็หลอน ที่ทำแบบ Live แล้วเจอกับคนที่ทำท่าแปลก ๆ พูดจาเหมือนหุ่นยนต์ แถมทำแบบนี้วนซ้ำ ๆ ที่เรียกว่า NPC Live หรือการแสดงเป็นบอต (bot) อันนี้ อาจารย์ว่าคนโรคจิตอาจดูหลอน ๆ ก็ได้นะ

อัลกอริทึ่มที่มันจะฟีดแต่เรื่อง ๆ ที่เราดู ก็จะทำให้คนที่ชอบดูอะไรแปลก ๆ หลอน ๆ ได้รับ ฟีดอยู่นั่นแหละนะ ไม่หลุดไปสักที อยู่ในโลกที่หลุดจากความจริง

ในทางกลับกัน คนที่เป็นโรคจิตเวช บางทีก็ไม่กล้า หรือไม่อยากออกไปสังคม ก็ใช้ TikTok Reel หรือ social media อื่น ๆ นี่แหละเป็นช่องทาง

อาจารย์แนะนำว่า ดูแลบุตรหลาน หรือคุณแม่ที่แก่เฒ่าหน่อย ว่าเล่นมากไปไหม เล่นแล้วมีสับสนใน social media กับความจริงไหม หรือดูแล้วหลอนไหม หากมีก็ชวนกันไปเจอจิตแพทย์ครับ

อาจารย์สุรัตน์

ป.ล.คือ ข้อดีมันก็มีนะครับ คลิปการสอนสุขภาพ คลิปสอนการเรียน คลิปกลุ่มอ่านหนังสือ ครับ เสพอย่างมีสติครับ”

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขานรับ ตำรวจสากล ออกระเบียบ ระวังการส่งต่อข้อมูลล่วงละเมิดทางเพศเด็ก หลังพบสถิติเด็กถูกล่วงละเมิดซ้ำทางโซเชียลมีเดีย สร้างรอยแผลทางใจแม้ว่าเหยื่อจะเป็นผู้ใหญ่ แต่ภาพความทรงจำยังคงอยู่ในระบบ ลบยาก

ปิดฉากลงแล้วสำหรับ การประชุมสมัชชาใหญ่ตำรวจสากล (INTERPOL) ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน โดยมีซึ่งกลุ่มประเทศสมาชิกกว่า 195 ประเทศ และประเทศที่เพิ่งเข้าร่วมใหม่ล่าสุดอีกหนึ่งประเทศ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียงเพื่อฟังรายงานการดำเนินงานของตำรวจสากล (INTERPOL) ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเด็นการใช้งบประมาณที่ได้จากการสนับสนุนของกลุ่มประเทศ ปีละกว่า 8000 ล้านบาท ในการจัดการปัญหาอาชญากรข้ามชาติ

นอกจากการรับฟังผลการดำเนินการมาตลอดทั้งปีแล้วที่ประชุมยังได้เสนอแผนงานที่จะทำร่วมกันในปีต่อไปในแต่ละด้าน โดยเฉพาะการจัดทำข้อมูลอาชญากรข้ามชาติ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ตามสังคมยุคใหม่ ทำให้การก่ออาชญากรรมทำได้อย่างรวดเร็วและมีการส่งต่อข้อมูลดิจิทัล ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ขณะที่ผู้ก่อเหตุก็ มีช่องทางในการหลบหนีออกนอกประเทศหลังการกระทำผิด หรือไปกบดานตามประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อติดต่อกลุ่มเครือข่าย

ล่าสุดมีการนำเสนอคลิปวิดีโอสั้นที่เผยแพร่อยู่ในประเทศเยอรมนีและปิดบังการเข้าถึงของประเทศไทยภายในคลิปแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการค้ามนุษย์ของกลุ่มคนร้าย ซึ่งแม้ว่ากรณีนี้จะมีการจับกุมตัวคนร้ายได้ แต่หนึ่งในบางท่อนของคลิปวิดีโอระบุชัดว่า คนร้ายยอมจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่ข้าราชการเพื่อเปิดช่องทางในการหลบหนีออกจากประเทศไทย ไปยังประเทศปลายทางซึ่งเป็นแหล่งกบดาน

ที่ประชุมยังได้ เสนอที่จะออกระเบียบควบคุมการส่งต่อข้อมูลการล่วงละเมิดทางเพศของเด็กผ่านช่องทางต่างๆโดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย เพื่อให้มีความรัดกุมป้องกันข้อมูลหลุดรอดออกจากระบบไปถึงผู้ใช้รายอื่น รวมถึงการใช้ข้อมูลระหว่างประเทศเพื่อติดตามคนร้าย ป้องกันการกระทำซ้ำในรูปแบบของเครือข่าย 

ซึ่งเรื่องนี้ พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้กล่าวในเวทีการประชุม ว่า เห็นด้วยกับแนวทางการจัดการปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศกับกลุ่มเยาวชน ซึ่งพบว่าที่ผ่านมามีความรุนแรงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มเอเชีย จะตกอยู่ในเป้าหมายของกลุ่มคนร้าย ทั้งการล่วงละเมิดทางเพศ การถ่ายทำคลิปวิดีโออนาจาร และการล่อหลวงไปขายประเวณี 

รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังย้ำด้วยว่า คลิปวิดีโอการกระทำผิดถูกส่งต่อไปอย่างรวดเร็วทางโซเชียลมีเดีย จนยากจะลบออกจากระบบ ทำให้เหยื่อถูกกระทำอนาจารซ้ำซาก แม้ว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่ ภาพการถูกกระทำก็ยังฝังอยู่ในระบบ และมีข้อมูลไม่น้อยถูกส่งต่อโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ระมัดระวังในการใช้ข้อมูล ทำให้ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐตกไปอยู่ในมือของกลุ่มของคนร้าย

ดังนั้นจึงเห็นด้วย ที่จะออกระเบียบให้ทุกประเทศ เข้ามาร่วมกันจัดการปัญหาการส่งต่อข้อมูลเหยื่อถูกกระทำอนาจารอย่างระมัดระวัง และเปิดให้เข้าถึงข้อมูลในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช่การส่งต่อคลิปวิดีโออนาจารต้นฉบับ เข้าไปในระบบ 

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ประเทศต้นทางของผู้ต้องหาและประเทศใกล้เคียง ร่วมกันสร้างแนวทางสกัดกั้นการหลบหนีของคนร้ายจากประเทศปลายทาง โดยให้กระทำอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลหมายจับ เส้นทางทรัพย์สิน รวมไปถึงกลุ่มเครือข่าย
เพื่อไม่ให้กลุ่มคนร้ายสามารถไปรวมตัวกันได้ และกระทำการอนาจารซ้ำไปซ้ำมา จนยากที่จะแก้ปัญหานี้ให้หมดสิ้นไป

ทั้งนี้ผลจากการส่งต่อข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันท่วงทีในช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (U.S. National Center for Missing and Exploited Children หรือ NCMEC) และคณะทำงานปราบปรามอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดต่อเด็ก สำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย (Thailand Internet Crimes Against Children หรือ TICAC) ซึ่งได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลเพื่อต่อต้านการแสวงประโยชน์จากเด็ก ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย สามารถเข้าถึงรายงานของ NCMEC เกี่ยวกับคดีการแสวงประโยชน์จากเด็กอย่างรวดเร็ว 

และแม้ว่าปัจจุบัน TICAC จะได้รับข้อมูลจาก NCMEC ผ่านสำนักงานในไทยของหน่วยสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ กระทรวงความมั่นคงแห่งสหรัฐอเมริกา แล้ว แต่การได้รับข้อมูลโดยตรง จะช่วยให้ TICAC สามารถปฏิบัติการได้รวดเร็วฉับไวต่อกรณีฉุกเฉินและเข้าถึงข่าวกรองด้านอาชญากรรมได้โดยตรง เช่น การปราบปรามการแสวงประโยชน์จากเด็ก

และนี่ทำให้สถิติการแก้ปัญหาในประเทศไทย ดีขึ้นตามลำดับ โดยพบว่า ในปี 2021 มีสถิติการจับกุมจากข้อมูล 79 เคส มีการขยายผลไปสู่ข้อมูลเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง 589 ข้อมูล กระทั่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้เข้ามาดำเนินการแก้ปัญหา ก็พบว่าในปี 2022 มีการจับกุมเพิ่มขึ้นจากข้อมูล 482 เคส มีการขยายผลไปสู่ข้อมูลเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง 9569 ข้อมูล ขณะที่ในปี 2023 จนถึงปัจจุบันมีการจับกุมจากข้อมูล 461 เคส มีการขยายผลไปสู่ข้อมูลเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง 8328 ข้อมูล ทำให้คลิปที่ปรากฏอยู่ในระบบเกือบ 600000 คลิป ลดลงมา เหลือเพียง 332639 คลิป ในปีปัจจุบัน

ขณะที่ นายเจอร์เก้น สต๊อก เลขาธิการตำรวจสากล  อินเตอร์โพล กล่าว ขอบคุณกลุ่มประเทศสมาชิกทั้ง 196 ประเทศที่ให้ความร่วมมือเข้ามาติดตามประเมินผลการบริหารงาน ของตำรวจสากล ซึ่งในปีนี้มีผลงานการดำเนินการที่ก้าวกระโดดจากการ แสวงหาความร่วมมือร่วมกัน และเชื่อมั่นว่าในปีต่อไปก็จะประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้นโดยในปีหน้าจะย้ายสถานที่การประชุมไปที่ประเทศสกอตแลนด์เป็นครั้งที่ 93 หรือปีที่ 101 ของการก่อตั้ง ตำรวจสากล

5 นักมวยไทย ที่มียอดผู้ติดตามทางโซเชียลมากที่สุด

สำหรับนักมวยไทยในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง มีแฟนคลับหลากหลายกลุ่ม โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่คนที่ชื่นชอบกีฬามวยไทยเท่านั้น ยิ่งปัจจุบันเมื่อมีโลกโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยนักกีฬาแต่ละคนสามารถติดต่อสื่อสารกับเหล่าแฟนคลับได้ง่ายขึ้น รวดเร็วทันที และไปไกลยังต่างประเทศได้อีกด้วย

ขณะที่คอนเทนต์ที่นักมวยไทยต่างนำเสนอต่อแฟน ๆ บนโซเชียลส่วนใหญ่จะเป็นการให้ความรู้ด้านมวยไทยและเทคนิคต่าง ๆ ที่น่าสนใจ รวมถึงคอนเทนต์แนวตลก เฮฮา เรียกรอยยิ้ม

และต่อไปนี้…คือ ‘5 อันดับนักมวยไทย’ ที่มียอดผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียยอดฮิต ทั้งเฟซบุ๊ก ไอจี และติ๊กต็อกมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ จะมีใครบ้างไปดูกันเล้ย!! ✨🇹🇭


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top