Friday, 3 May 2024
แบนลูกหนัง

‘ประวิตร -โบว์’ ค้าน กลุ่มสามนิ้วแบนลูกหนัง ชี้ เกลียดพ่อแต่ลามไปลูก เป็นแนวคิดที่ล้าหลัง 

นักข่าวอาวุโสข่าวสด ชี้กรณีแบน ‘ลูกหนัง’ คือความเกลียด ตั้ว ศรัณยู ไปลงที่ลูกสาวแทน ย้ำไม่ใช่ความยุติธรรม แต่ล้างแค้นแบบไม่ถูกต้อง ด้านโบว์ ณัฏฐา ชี้ การโจมตีถึงขั้นอยากทำลายอนาคตลูกหลานคือวัฒนธรรมศาลเตี้ยที่ล้าหลัง ไม่เกิดพลังอะไรนอกจากผู้มีอำนาจนั่งยิ้ม

จากกรณีที่ในโซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่ ลูกหนัง ศีตลา วงษ์กระจ่าง ลูกสาวของ ตั้ว ศรัณยู และ เปิ้ล หัทยา วงษ์กระจ่าง มีกำหนดเดบิวต์อย่างเป็นทางการที่ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 5 ม.ค. เป็นหนึ่งในสมาชิกของเกิร์ลกรุ๊ปใหม่ เอชวันคีย์ (H1-KEY) จากค่ายจีแอลจี หรือ GLG (Grandline Group) ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา แต่กลับมีกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้สนับสนุนม็อบราษฎร หรือม็อบสามนิ้ว และผู้สนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำคณะก้าวหน้า กล่าวหาว่าบิดา คือ ตั้ว ศรัณยู ผู้ล่วงลับ เคลื่อนไหวการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้เกิดรัฐประหารถึง 2 ครั้ง และได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ระบุว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบอบเผด็จการทหาร พร้อมติดแฮชแท็ก #แบนลูกหนัง และ #BANSITALA เพื่อไม่ให้มีที่ยืนในสังคมนั้น

เฟซบุ๊ก Pravit Rojanaphruk ของนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส เครือหนังสือพิมพ์ข่าวสด โพสต์ข้อความระบุว่า “ศาลตัดสินลงโทษ ยังลงโทษลูกเมียแทนมิได้ เราจึงมิสมควรลงโทษและบอยคอตหญิงคนหนึ่งเพราะสิ่งที่พ่อเธอก่อ (เธอเป็นเพียงตัวประกอบในการชุมนุมที่ไม่มีใครสนใจ จนกระทั่งจะเดบิวต์กับวง K Pop แล้วพบว่าเป็นลูกตั้ว ศรัณยู - และถามจริงว่าถ้าลูกหนังมิใช่ลูกของตั้ว ศรัณยู จะมีใครสนใจประเด็นนี้ไหม? เกลียดชังขนาดนี้ไหม? ยอมรับเถอะครับมันคือความเกลียดตั้ว ศรัณยู ที่ไปลงที่ลูกสาวแทน เพราะลำพังลูกสาวไปร่วมชุมนุม มิได้มีใครสนใจหรือจดจำ) ผมไม่เห็นด้วยกับการกดดันลูกหนังเพื่อลงโทษกับกรรมที่ตั้ว ศรัณยูทำ นี่มิใช่ความยุติธรรม แต่มันคือการล้างแค้นอย่างไม่ถูกต้อง เราควรจะมองไปในอนาคต มิใช่จมปลักอยู่กับความเกลียดชังในอดีต”

‘บก.ลายจุด’ เผย!! ความเกลียดชังไม่ใช่มรดก อย่าถ่ายโอนส่งต่อจากรุ่นพ่อถึงรุ่นลูก

‘บก.ลายจุด’ สมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตย ดูเหมือนจะเป็นอีกคนที่ทนกับพฤติกรรมของกลุ่มคนที่เหยียด ‘น้องลูกหนัง’ ศีตลา วงษ์กระจ่าง ลูกสาวฝาแฝดผู้น้อง ของอดีตพระเอกรุ่นใหญ่ ‘พี่ตั้ว’ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ผู้ล่วงลับ และเปิ้ล หัทยา โดยโพสต์เฟซบุ๊กยกประสบการณ์ตรงของตัวเองในประเด็น ‘เมื่อศัตรูไล่ล่าลูกสาวผม’ สะท้อนถึงความเลวร้ายจากคนที่ไม่ยอมรับความเห็นต่างทางความคิดไว้ว่า... 

เมื่อศัตรูไล่ล่าลูกสาวของผม

ผมไม่แน่ใจว่าเขาเป็นศัตรูของผมหรือเปล่า แต่พวกเขามองผมเป็นศัตรู เพียงแค่ผมยืนอยู่คนละฝั่งกับความคิดทางการเมืองของพวกเขา ผมคือเป้าหมายที่ต้องถูกทำลาย และไม่เพียงเฉพาะผมแต่หมายถึงองค์กรที่ผมสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้คนพวกเขาก็ยังอยากเห็นมันล่มสลายไปด้วย (เรื่องนี้ยาวขอยังไม่เล่า)

แต่ผมไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันจะนำไปสู่ความเกลียดชังถึงลูกสาวของผม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเยาวชนคนหนึ่ง 

วันหนึ่งมีคนทำใบปลิวโจมตีลูกสาวผมแจกอยู่ที่หน้าสวนหลวง ร.9 ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของลูกสาวที่กรุงเทพ มีจิตแพทย์เด็กที่มีความเห็นต่างทางการเมืองกับผมเขียนบทความตำหนิสั่งสอนลูกสาวผมอย่างเจ็บแสบ และมีอีกหลายกรณีที่ผมขอไม่เอ่ยถึง 

'โบว์ ณัฏฐา' ลั่น 'Cancel Culture' ไม่ต่างจากการล่าแม่มด ย้ำ บ่อยครั้งเหยื่อเป็นผู้บริสุทธิ์ แนะ ควรสร้างสังคมที่เป็นเหตุเป็นผล

จากกระแสดราม่า ‘น้องลูกหนัง ศีตลา’ ลูกสาวคนเล็กของนักแสดง ‘ตั้ว ศรัณยู’ กับ ‘เปิ้ล หัทยา วงษ์กระจ่าง’ ที่เกิดดราม่าในโลกโซเชียลแห่คว่ำบาตร ไม่สนับสนุน พร้อมใจติด #SITALA เนื่องจากอดีตเคยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองพร้อมกับครอบครัว

จากกรณีดังกล่าว ‘คุณโบว์ ณัฏฐา มหัทธนา’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง THE STATES TIMES ในรายการ Click On Clear THE TOPIC ถึงเรื่องนี้ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน โดยตลอด 20 ปีที่ผ่านมาบริบททางการเมืองกลายมาเป็นกระแสที่มีการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างรุนแรง 

จึงทำให้เกิดการละเมิดพื้นหลังทางครอบครัว หรือไซเบอร์บุลลี โดยเฉพาะในประเด็นของ ‘Cancel Culture’ และการรุมแบนให้ออกมา ‘Call Out’ จนสังคมเกิดความเคยชินและมองว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้

อย่างในกรณี ‘น้องลูกหนัง’ เป็นประเด็นที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ลูกหลานนักการเมือง นักเคลื่อนไหว หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงต้องรับแรงกดดันจากการกระทำของพ่อ-แม่ ไม่ว่าจะผิดหรือจะถูก ถ้าทุกคนพูดได้หรือยอมรับให้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นแล้วสังคมจะเป็นยังไง นี่คือสิ่งที่เรากังวล 

ถ้าหากถามว่าการโดน ‘Cancel Culture’ ครั้งนี้ คือราคาที่ต้องจ่าย เปรียบเทียบกับศาลที่ต้องดูว่าความได้ส่วนกับเหตุ เหมือนกับศาลตัดสินแล้วลงโทษก็ต้องดูความได้ส่วนกับเหตุ ถ้าเกิดว่าลงโทษหนักกว่าเหตุ นี่คือความไม่ยุติธรรม

เช่นกันกับในโลกออนไลน์เมื่อคุณจะทำตัวเป็นผู้พิพากษาตัดสินใคร ก็อยากให้พิจารณาความได้ส่วนกับเหตุนั้น ถ้าคนคนหนึ่งจะมีแอ็กชันทางการเมืองที่คุณไม่เห็นด้วย คุณก็พูดในประเด็นนั้นดีไหมว่ามันเลวร้ายยังไง  


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top