Tuesday, 14 May 2024
เอ็มมานูเอลมาครง

เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เดินทางไปสนามมวยราชดำเนิน เพื่อชมการสาธิตมวยไทย

เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ใช้เวลาว่างช่วงมาร่วมประชุมเอเปก 2022 เดินทางไปสนามมวยราชดำเนิน เพื่อชมการสาธิตมวยไทย

การชมกีฬาหมัดมวยครั้งนี้ มี อองตวน ปินโต อดีตนักมวยไทย สัญชาติฝรั่งเศส ที่มาโด่งดังในแดนสยามให้การต้อนรับด้วย หลังจากนั้น ผู้นำประเทศฝรั่งเศสโพสต์ในทวิตเตอร์ส่วนตัว เป็นคลิปพร้อมเเคปชัน ว่า “มากกว่ากีฬาประจำชาติ มวยไทยเป็นจุดรวมจิตใจบนพื้นฐานความเคารพ ที่สนามราชดำเนินกับ 2 พี่น้องปินโต”

‘มาครง’ แวะเที่ยววัดโพธิ์ - เดินชมพระนอน พร้อมบอก ‘พระนอนวัดโพธิ์สวยงามที่สุด’

ชาวไทยสุดภูมิใจหลัง ‘เอมานูเอล มาครง’ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ่ยชม ‘พระนอนวัดโพธิ์’ ว่าเป็นพระนอนที่สวยงามที่สุดตั้งแต่เคยเห็นมา

เฟซบุ๊กเพจ ‘สำนักข่าวไทย’ เผยข้อมูลว่า เมื่อวานนี้ 18 พ.ย.65 เวลา 19.00 น. ประธานาธิบดีเอมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ที่เดินทางมาร่วมประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทย พร้อมคณะสื่อมวลชนจากต่างประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

โดย พระเทพวัชราจารย์ (เจ้าคุณเทียบ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ ได้รับการประสานงานจากสถานทูตฝรั่งเศส ให้เป็นผู้นำชมสถานที่สำคัญภายในวัด และได้เข้าพบ พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ณ พระอุโบสถ ต่อจากนั้น ได้บันทึกภาพ ณ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล และเข้าชมพระวิหารพระพุทธไสยาส หรือพระนอน พร้อมตักบาตรสตางค์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางกลับ โดยนายมาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ใช้เวลาในการเยี่ยมชมวัดโพธิ์ ร่วม 1 ชั่วโมง 30 นาที

'อั้ม เนโกะ' ลากไส้ผู้ลี้ภัยฟ้อง 'มาครง' ไทยปราบม็อบเอเปค ชี้!! สุดย้อนแย้งเหตุผู้นำฝรั่งเศส ก็เคยปราบม็อบเสื้อกั๊กเหลือง

'อั้ม' ประกาศไม่ร่วมม็อบที่ฝรั่งเศส ลากไส้คนกันเองบอกเป็นตลกร้าย สุดย้อนแย้ง เพราะ 'มาครง' ก็เคยปราบม็อบเสื้อกั๊กเหลือง ทำไมตอนนั้นเงียบแต่พอตอนนี้มาตีโพยตีพาย

(24 พ.ย. 65) นายศรัณย์ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

อั้มจะไม่ไปร่วมประท้วงวันศุกร์ที่จะถึงกับกลุ่มคนที่จะไปยื่นหนังสือต่อมาครงเพื่อเปิดเผยการปราบปรามการชุมนุมเอเปกในไทย

นี่คือ 1 ในการไปยื่นหนังสือที่ absurde ตลกร้าย และย้อนแย้งสุดๆ ตรงที่ว่าจะไปยื่นหนังสือเกี่ยวกับการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในไทย กับผู้นำคนที่ปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในฝรั่งเศส

ตอนเสื้อกั้กเหลืองโดน ตร. มาครงปราบจนตาบอด มือขาด โดนจับ พวกนี้อยู่ไหนกันไม่ทราบ? อ้าปากด่ามาครงกันซักแอะมั้ย ? 

‘พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3’ ยกเลิกแผนการเยือนฝรั่งเศส แผนสุดแสบจากผู้ประท้วง ที่ทำ ‘ผู้นำ-รัฐบาล’ หน้าแหก

(25 มี.ค.66) ในที่สุด ‘เอ็มมานูเอล มาครง’ ผู้นำฝรั่งเศส ก็ต้องยอมถอย เมื่อประเมินสถานการณ์ความรุนแรงจากการประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงาน ที่ออกมาต่อต้านกฎหมายระบบบำนาญใหม่ของเขาอย่างไม่ยอมถอย และสร้างความปั่นป่วนไปทั่วกรุงปารีส และเมืองใหญ่ทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้ 
.
แต่ที่ว่าถอย ไม่ได้หมายถึงยอมถอดกฎหมายบำนาญฉบับใหม่ แต่เป็นการพูดคุยกับฝ่ายสำนักพระราชวังบักกิงแฮมแห่งอังกฤษ เพื่อขอยกเลิกหมายกำหนดการเยือนฝรั่งเศสของ ‘สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3’ พร้อมด้วย ‘สมเด็จพระราชินีคามิลลา’ ที่จะเป็นการเสด็จเยือนฝรั่งเศสครั้งแรกในสมัยของพระองค์
.
และก็เป็นไปตามที่คาด การเสด็จเยือนฝรั่งเศสของพระองค์จำเป็นต้องเลื่อนไปก่อน หากแต่หมายกำหนดการเดินทางเยือนเยอรมนียังคงไว้ตามเดิม ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลให้ทั้ง เอ็มมานูเอล มาครง และรัฐบาลฝรั่งเศสเสียหน้าไม่น้อยเลย โดยทำได้แต่กล่าวปลอบใจตัวเองออกสื่อว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และยังเป็นมิตรภาพกันเสมอ
.
ก็อย่างว่า รัฐบาลฝรั่งเศส จะต้อนรับบุคคลระดับประมุขแห่งรัฐที่มาเยือนได้ยังไงในนาทีนี้ หากยังมีการประท้วงกันอย่างดุเดือดทั่วประเทศ แถมท้องถนนในกรุงปารีสตอนนี้ยิ่งกว่าเละเทะ ขยะเต็มเมือง ซากรถยนต์ถูกทุบ ถูกเผาไม่เว้นแต่ละวัน ไม่นับการเดินขบวนประท้วง ปะทะกับเจ้าหน้าที่แบบไม่ลดราวาศอก

อันที่จริง ไอเดียแสบทรวงเรื่องการประท้วงนี่ ไม่ได้เกิดขึ้นแบบบังเอิญต่อข้อเรียกร้องเรื่องกฎหมายระบบบำนาญใหม่แบบไร้เชิง แต่ต้องยกให้หัวคิดคนฝรั่งเศสที่มีเป้าหมายใช้การประท้วงมามีส่วนล้มหมายกำหนดการเยือนฝรั่งเศสของกษัตริย์อังกฤษมาตั้งแต่แรก เพื่อฉีกหน้ามาครง 

โดยเริ่มจากการข่มขู่ ให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อย่าเข้าใกล้พระราชวังแวร์ซายส์ ถ้าไม่อยากเจอดี ซึ่งมีการเขียนกำแพงด้วยข้อความว่า “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ท่านรู้จัก ‘กิโยติน’ หรือไม่?” และยังลากเครื่องประหารกิโยตินจำลองมาวางไว้หน้าวังแวร์ซายส์ ที่ตั้งใจจะสื่อว่าเอาไว้สำเร็จโทษพระเจ้ามาครง (ซึ่งมาครงถูกเปรียบเทียบกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่โดนสำเร็จโทษด้วยกิโยตินในสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส)

และด้วยมุกกิโนติน ทีเล่น ทีจริง ที่บริเวณหน้าวังแวร์ซายส์นี่เอง ที่ทำให้ทางการฝรั่งเศสต้องยกเลิกงานเลี้ยงกาล่าดินเนอร์รับเสด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และราชินีคามิลล่า เพราะไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าวันงานจริง ผู้ประท้วงจะยกทัพใหญ่มา ละลาบ ละล้วง จาบจ้วงอะไรบ้าง

นอกจากนี้ หากมองข้ามไปถึงแผนการเสด็จเยือนเมือง Bordeaux ที่เป็นแหล่งผลิตไวน์ชื่อดังในฝรั่งเศส และจะประทับรถรางของเมืองด้วยนั้น ก็ปรากฏว่า พนักงานรถรางประท้วงหยุดงาน ไม่ยอมวิ่งรถรางให้ด้วย และล่าสุดอาคารศาลาว่าการเมือง Bordeaux ก็ถูกผู้ประท้วงจุดไฟเผาไปเรียบร้อยแล้ว

เหล่านี้ จึงแลดูสมควรแก่เหตุให้ยกเลิกแผนการเสด็จเยือนฝรั่งเศส

แน่นอนว่า แม้ที่ฝรั่งเศสจะมีเหตุประท้วงกันบ่อย แต่การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานในตอนนี้ อยู่ในระดับที่ไม่ธรรมดา หนักหน่วงรุนแรงยิ่งกว่ากลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองที่มาครงเคยเจอเมื่อ 3 ปีที่แล้วอย่างมาก และเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลาย 10 ปีของฝรั่งเศส ที่ตอนนี้มีผู้บาดเจ็บ ทั้งผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่เกือบ 200 คน รวมถึงมีผู้ประท้วงถูกจับกุมไปแล้วกว่า 400 คน

ตอนนี้ มาครง ยังคงใจดีสู้เสือ กล่าวว่าการประท้วงยังอยู่ในระดับ ‘ควบคุมได้’ และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเสด็จมาเยือนอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนหน้าแน่นอน 


ที่มา : หรรสาระ By Jeans Aroonrat

https://www.facebook.com/100027974785452/posts/pfbid0VGUXqnW8Evp8DTdJNWnPtCs6kcQXGW2s2BLSzZUpejiLx8BfaeGY3hWr7TyXKfsjl/?mibextid=Nif5oz

อ้างอิง : https://www.france24.com/en/live-news/20230324-%F0%9F%94%B4-britain-s-king-charles-iii-s-state-visit-to-france-postponed

https://www.france24.com/en/europe/20230322-king-charles-set-to-face-strikes-and-disruption-in-france-on-first-foreign-visit

https://guernseypress.com/news/world-news/2023/03/24/macron-says-common-sense-meant-delaying-king-charless-visit/

https://www.telegraph.co.uk/world-news/2023/03/24/king-charles-state-banquet-move-versaille-louvre-elysee-aids/

https://www.bbc.com/news/world-europe-65057249

https://www.dailymail.co.uk/news/article-11880903/French-politicians-receive-GUILLOTINE-death-threats-Macron-faces-vote-no-confidence-TODAY.html
 

‘ฝรั่งเศส’ เตรียมทดลอง ‘แต่งชุด นร.’ หวังลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมเพิ่มวิชาให้ศึกษาความหมายของ ‘เพลงชาติ’ ให้ลึกซึ้ง

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 67 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่า ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง กล่าวถึงเครื่องแบบนักเรียน ว่าสามารถลดความไม่เท่าเทียม หรือความเหลื่อมล้ำระหว่างครอบครัว... 

ในเวลาเดียวกัน เครื่องแบบนักเรียนคือการกำหนดแนวทาง ที่เป็นเงื่อนไขของการเคารพและการให้เกียรติ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปีการศึกษาปัจจุบันเป็นต้นไป กระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศส มีแผนการให้สถานศึกษาของรัฐ 100 แห่งในประเทศ ร่วมโครงการนำร่องการสวมเครื่องแบบนักเรียน โดยสถานศึกษาสามารถเข้าร่วมได้ตามความสมัครใจ

หากการทดลองดังกล่าวได้ผลดี จะมีการบัญญัติเป็นกฎหมาย และบังคับใช้ในระดับเดียวกัน สำหรับสถานศึกษาของรัฐทั่วประเทศ ในปี 2569 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มาครงจะดำรงตำแหน่งผู้นำฝรั่งเศส ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในปี 2570 และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส ที่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐต้องสวมเครื่องแบบ

นอกจากนี้ ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวถึงแผนการให้นักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เรียนรู้และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต่อความหมายของเพลง ‘ลามาร์แซแยซ’ (La Marseillaise) ซึ่งเป็นเพลงชาติ และการกำหนดให้วรรณกรรม ภาพยนตร์ และการละครเป็นวิชาบังคับ ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2568 โดยผู้นำฝรั่งเศสเชื่อว่า เป็นวิชาที่จะสามารถสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนการพูดในสถานที่สาธารณะ และการเรียนรู้เนื้อหาที่มีคุณค่า

‘ฝรั่งเศส’ เสนอ!! ‘เสื้อแขนยาวสีน้ำเงิน-กางเกงขายาวสีเทา’ เป็นชุดนร. หลังประกาศเดินหน้าทดลองสวมเครื่องแบบนร. หวังลดความเหลื่อมล้ำ

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 67 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยอ้างข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ลา ฟิกาโร ซึ่งสัมภาษณ์แหล่งข่าวในรัฐบาลฝรั่งเศส เกี่ยวกับนโยบายของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ในการให้สถานศึกษาของรัฐ 100 แห่ง ทดลองการสวมเครื่องแบบนักเรียนนั้น ว่าแม้ผู้บริหารของโรงเรียนแต่ละแห่งสามารถกำหนดแนวทางของเครื่องแบบได้เอง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลฝรั่งเศสเสนอแนะการสวมเสื้อแขนยาวหรือสเวตเตอร์สีน้ำเงิน กับกางเกงขายาวสีเทา เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน

ทั้งนี้ มาครงกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าเครื่องแบบนักเรียน สามารถลดความไม่เท่าเทียม หรือความเหลื่อมล้ำระหว่างครอบครัวได้ ขณะเดียวกัน เครื่องแบบนักเรียนคือการกำหนดแนวทาง ที่เป็นเงื่อนไขของการเคารพและการให้เกียรติ สำหรับโครงการนำร่องการสวมเครื่องแบบนักเรียน สถานศึกษาสามารถเข้าร่วมได้ตามความสมัครใจ

หากการทดลองดังกล่าวได้ผลดี จะมีการบัญญัติเป็นกฎหมาย และบังคับใช้ในระดับเดียวกัน สำหรับสถานศึกษาของรัฐทั่วประเทศ ในปี 2569 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มาครงจะดำรงตำแหน่งผู้นำฝรั่งเศส ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในปี 2570 และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส ที่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐต้องสวมเครื่องแบบ

นอกจากนี้ ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวถึงแผนการ ให้นักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เรียนรู้และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต่อความหมายของเพลง ‘ลา มาร์แซแยซ’ ( La Marseillaise ) ซึ่งเป็นเพลงชาติ และการกำหนดให้วรรณกรรม ภาพยนตร์ และการละครเป็นวิชาบังคับ ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2568 โดยมาครงเชื่อว่า เป็นวิชาที่จะสามารถสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนการพูดในสถานที่สาธารณะ และการศึกษาเนื้อหาที่มีคุณค่า เกี่ยวกับความเป็นฝรั่งเศส

‘มาครง’ ไม่ขัด!! บรรดาชาติตะวันตกส่งทหารไปยูเครน ฟากประเทศที่ 3 พร้อมหนุน ‘เงินทุน-อาวุธ’ บู๊หมีต่อ

ไม่นานมานี้ ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส แถลงหลังเสร็จสิ้นการหารือของผู้นำยุโรป 20 ประเทศว่าด้วยยูเครน ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงปารีส โดยสาระสำคัญอยู่ที่ ‘ฝรั่งเศส’ ไม่อาจตัดความเป็นไปได้ว่า ประเทศตะวันตกอาจส่งทหารไปยูเครน แต่เขาจะยังคงใช้ ‘ยุทธศาสตร์ความคลุมเครือ’ ในประเด็นนี้ต่อไป

มาครงกล่าวต่อไปว่า ที่ประชุม 20 ผู้นำยุโรปครั้งนี้ ยังเห็นพ้องที่จะใช้มาตรการคว่ำบาตรประเทศต่าง ๆ ที่ช่วยรัสเซียให้เลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่ใช้อยู่

มาครง ยังกล่าวสนับสนุนโครงการจัดซื้อกระสุนหลายแสนนัดจากประเทศที่ 3 ให้แก่ยูเครน ซึ่งริเริ่มโดยสาธารณรัฐเช็ก ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ มาครง เคยแสดงท่าทีคัดค้านการจัดซื้อกระสุนให้ยูเครน จากประเทศที่ 3 ที่ไม่ใช่ยุโรป เพราะหวังว่าจะสนับสนุนอุตสาหกรรมอาวุธของยุโรปก่อน

ด้าน นายกรัฐมนตรี มาร์ค รุทเทอ ของเนเธอร์แลนด์ เต็งหนึ่งที่อาจได้ขึ้นเป็นเลขาธิการนาโตคนใหม่ เปิดเผยหลังเข้าร่วมประชุมที่ปารีสดังกล่าวว่า เนเธอร์แลนด์จะให้เงิน 100 ล้านยูโร คิดเป็นเงินไทยราว 4,000 ล้านบาท ช่วยในโครงการจัดซื้อกระสุนให้ยูเครนที่ริเริ่มโดยสาธารณรัฐเช็ก โดยจัดซื้อจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

สำหรับปัญหาขาดแคลนกระสุนกำลังเป็นปัญหาวิกฤตของยูเครน หลังยุโรปกำลังจะล้มเหลวในเป้าหมายส่งกระสุนปืนใหญ่ 1 ล้านนัดให้แก่ยูเครนภายในเดือนมีนาคมนี้ ส่งผลให้ยูเครนกำลังเพลี่ยงพล้ำในสมรภูมิภาคตะวันออกของประเทศ เหล่านายพลของยูเครนที่กำลังทำศึกกับรัสเซีย ต่างบ่นถึงปัญหาขาดแคลนทั้งอาวุธและทหาร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top