Sunday, 19 May 2024
เอเปค2022

เว็บไซต์ข่าวเอพี รายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐจะไม่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เนื่องจาก ‘นาโอมิ ไบเดน’ หลานสาวคนโตของประธานาธิบดีจะจัดงานแต่งงาน

เว็บไซต์ข่าวเอพี รายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐจะไม่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เนื่องจาก ‘นาโอมิ ไบเดน’ หลานสาวคนโตของประธานาธิบดีจะจัดงานแต่งงานกับนายปีเตอร์ นีล คู่หมั้น ที่ทำเนียบขาว ในวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งตรงกับวันประชุมผู้นำเอเปคในกรุงเทพฯ ที่กำหนดจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.นี้

ขณะที่ ไทยพีบีเอสเวิลด์รายงานว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา จะไม่เดินทางมาเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้ เนื่องจากเหตุผลทางด้านครอบครัว

ทั้งนี้ ทำเนียบขาวเพิ่งมีการแจ้งเรื่องดังกล่าวให้กับสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทราบว่ารองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐในการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวแทน โดยนางแฮร์ริสจะบินตรงมายังกรุงเทพฯเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเปคเป็นเวลา 2 วันดังกล่าว

ไทยพีบีเอสเวิลด์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ไบเดนจะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอด จี20 ที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน จากนั้นจะบินตรงกลับไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยก่อนหน้านี้ผู้นำสหรัฐมีแผนที่จะเดินทางมายังกรุงเทพฯเป็นเวลา 1 วัน เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเปค

'ยิ้มสยาม' ทำชาวต่างชาติปลื้ม!! " I Like Your Smile " หลังนายกส่งยิ้มต้อนรับในงานประชุมเอเปค 2022

ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิกและอธิบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย ลอสแองเจลิส บอกกับนายกรัฐมนตรีว่า “I like your smile” ซึ่งนายกรัฐมนตรีบอกว่า “Thank you” พร้อมทำสัญลักษณ์ ‘I love you’ ก่อนขึ้นรถและเปิดหน้ากากโชว์ยิ้มสยามอีกครั้ง

‘นายกฯ’ มอบชะลอมให้ ‘กมลา แฮร์ริส’ ส่งไม้ต่อให้สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพเอเปค 2023

เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 65 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ชะลอมสัญลักษณ์ไทย ส่งไม้ต่อให้กับสหรัฐอเมริกาเพื่อรับหน้าที่ตำแหน่งประธานเอเปคในปีหน้า เพื่อทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเอเปค 2023 ต่อจากไทย 

ซึ่งการส่งมอบตำแหน่ง เป็นช่วงท้ายการประชุมเอเปค โดยพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะมอบชะลอมซึ่งภายในบรรจุผลไม้จำลอง และการบูรสำหรับไล่แมลง โดยชะลอมจะห่อหุ้มด้วยใยบัว ซึ่งการออกแบบเป็นเหมือนกับสัญลักษณ์การประชุมเอเปคปีนี้ของไทย โดยจัดทำสองชิ้น ตามแนวคิดของนายกรัฐมนตรี และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อใช้สำหรับส่งมอบให้กับสหรัฐอเมริกา และอีกหนึ่งชิ้นเก็บไว้เป็นที่ระลึกในประเทศไทย

ในหลวง-พระราชินี เสด็จออกทรงรับผู้นำเอเปค - คู่สมรส - แขกพิเศษ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

เมื่อวานนี้ (18 พ.ย. 65) เวลา 17.46 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

ทรงรับพระประมุข ประธานาธิบดี และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายกรัฐมนตรี ผู้นำเขตเศรษฐกิจสมาชิกหรือผู้แทน และแขกพิเศษ พร้อมด้วยคู่สมรส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนิน และเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

เอเปค หรือ ‘ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก’ เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การรวมตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความร่วมมือด้านวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสมาชิกภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 มีสมาชิกผู้ร่วมก่อนตั้ง 12 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ในเขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้งด้วย ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 9 เขตเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรรวมกว่า 2.9 พันล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกินครึ่งของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าโลก

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งนี้ เป็นการประชุมแบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อร่วมขับเคลื่อนการประชุมเอเปค 2022 ภายใต้หัวข้อหลัก ‘Open. Connect. Balance หรือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล’ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โดยประเด็นที่ขับเคลื่อนแบ่งเป็นการเปิดกว้างสู่ทุกโอกาสด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านมุมมองใหม่ที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมส่งเสริมความเชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวกและปลอดภัย

รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมโยงทางดิจิทัลและส่งเสริมการเจริญเติบโตที่เน้นสร้างสมดุลในทุกด้านมากกว่าสร้างกำไร ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเกษตรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

ทั้งนี้ ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพเอเปค

‘สี จิ้นผิง’ กล่าวสุนทรพจน์แนะนำ 4 ประการ สร้างความรุ่งโรจน์ใหม่ของความร่วมมือแห่งเอเชียแปซิฟิก

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 65 นาย ‘สี จิ้นผิง’ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 29 ในหัวข้อ ‘สามัคคี ร่วมมือ และกล้ารับผิดชอบ เพื่อประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของเอเชียแปซิฟิก’ 

โดยนายสี จิ้นผิงได้กล่าวขอบคุณ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ตั้งใจและใช้ความพยายามเพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในครั้งนี้

ทั้งนี้ยังได้กล่าวถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นซ้ำหลายระลอกและจะยืดเยื้อต่อไป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ลัทธิฝ่ายเดียวและลัทธิคุ้มครองได้ทวีความรุนแรง ห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลกได้รับผลกระทบ ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ความปลอดภัยด้านธัญญาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงปัญหาอื่นๆ มีความซับซ้อนและรุนแรงอย่างหนัก

โดยนายสี จิ้นผิงได้กล่าวเสนอแนะ 4 ประการ เพื่อสร้างความรุ่งโรจน์ใหม่ของความร่วมมือแห่งเอเชียแปซิฟิก ดังนี้

ประการแรก ปกป้องความยุติธรรมและความเที่ยงธรรมระหว่างประเทศ สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้มีสันติภาพและความมั่นคง

ประการที่สอง ยึดมั่นในความเปิดกว้าง สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้มีความมั่งคั่งร่วมกัน

ประการที่สาม ยึดมั่นในการพัฒนาสีเขียวและคาร์บอนต่ำ สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้สะอาดและสวยงาม

ประการที่สี่ เราต้องยึดมั่นในการร่วมทุกข์ร่วมสุข สร้างสรรค์เอเชียแปซิฟิกให้สนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

‘จิราพร’ เย้ย ‘ประยุทธ์’ เป็นแค่คนจัดอีเวนต์เอเปค ประเมินให้สอบตกเพราะ ‘ขาดภาวะผู้นำ - ไม่มีวิสัยทัศน์’

‘จิราพร’ ให้คะแนน ‘ประยุทธ์’ สอบตกจัดเอเปคแค่งานอีเวนต์ เย้ยชูเจรจาการค้าแบบเมกา 20 ปีก่อนยังกล้าโชว์เป็นผลงาน

วันนี้ (24 พ.ย. 65) น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่เพิ่งจบลงว่า ในภาพรวมอาจดูเหมือนว่าไทยประสบความสำเร็จในการจัดอีเวนต์ แต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ สอบตกในด้านสารัตถะและการแสดงภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เพราะประเด็นหลักที่ไทยชูในการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) ที่แม้จะเป็นแนวคิดที่ดี แต่เป็นเรื่องเก่าที่เคยเสนอเมื่อราว 20 ปีที่แล้ว การเสนอจัดทำเขตการค้าเสรี FTAAP ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเคยมีการพูดคุยครั้งแรกตั้งแต่ปี 2547 โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิด โดยเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วสมาชิก APEC ที่เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่าง สหรัฐ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น มีแนวนโยบายการค้าที่ไม่ขัดแย้งกันรุนแรงเหมือนในปัจจุบัน การผลักดันให้จัดตั้ง FTAAP ก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ยิ่งสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัญหาสงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ รวมถึงความขัดแย้งในระดับภูมิภาคระหว่างชาติมหาอำนาจ ทั้งสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย และสมาชิกชาติตะวันตก ทำให้เป้าหมายการจัดตั้งเขตเสรีทางการค้า FTAAP แทบจะเป็นไปไม่ได้ 

'ทิพานัน' ชี้ กระแส 'เอเปค' ปังไม่หยุด ดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มปีหน้า 20-24 ล้านคน

(10 ธ.ค.65) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในปี 2566 นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยน่าจะมีจำนวนประมาณ 20-24 ล้านคน โดยกลับมาคิดเป็นสัดส่วน 50-60% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2562 ขณะที่การใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวไทย จะสร้างรายได้สู่ธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง จะมีมูลค่าประมาณ 0.84-1.01 ล้านล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยต่อทริปอยู่ที่ประมาณ 42,000 บาทต่อคนต่อทริป เพิ่มขึ้นจากประมาณ 40,000 บาทต่อคนต่อทริป ในปี 2565 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าปัจจัยที่สนับสนุนการท่องเที่ยว นอกจากการทำแคมเปญการตลาดกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยในต่างประเทศ รวมถึงมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว ได้แก่ มาตรการขยายระยะเวลาพำนักของชาวต่างชาติ ทั้งกลุ่มประเทศที่ได้รับการยกเว้นวีซ่า จากไม่เกิน 30 วัน เป็นไม่เกิน 45 วัน และกลุ่ม Visa on Arrival จากไม่เกิน 15 วัน เป็นไม่เกิน 30 วัน (เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2565-31 มีนาคม 2566) แล้ว อีกหนึ่งปัจจัย คือ การจัดงานเอเปค 2022 ที่เผยแพร่ในสังคมออนไลน์ของผู้นำประเทศ ทำให้ประเทศไทยได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติมากขึ้น

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากรายงานผลการวิเคราะห์ดังกล่าว สะท้อนถึงประสิทธิภาพและผลสำเร็จของการจัดประชุมเอเปค 2022 ที่ช่วยกระตุ้นภาคท่องเที่ยว ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อนำไปสู้การสร้างงาน สร้างรายได้ในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เลือกกรุงเทพฯ เป็นเมืองสำหรับการจัดการประชุม ซึ่งนอกจากกรุงเทพฯ จะเป็นเมืองที่ติดอันดับ 1 ในเมืองที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกชื่นชอบมากที่สุด (Best City) ในการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก จากการเปิดเผยของนิตยสาร DestinAsian และในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวระดับโลก ยังจัดอันดับให้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมระดับโลก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top