Friday, 4 April 2025
เลือกตั้งสหรัฐ

เลือกตั้งปี 2020 ช่องโหว่ของประชาธิปไตยในสหรัฐฯ เมื่อ 'ทรัมป์' ปลุกระดมกองเชียร์ ด้วยคำอ้างว่า 'ถูกโกง'

ชาวไทยบางกลุ่มชื่นชมประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกามาก ถึงกับเอ่ยปากว่าอยากให้ประเทศไทยมีหลักการปกครองแบบเขา มาลองดูกันว่าประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯ นี่ไปถึงไหนกันแล้ว

สหรัฐอเมริกาได้มีการปกครองในระบบประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1787 (พ.ศ. 2330) โดยเลือกตั้งประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศสมัยละ 4 ปี และมีสิทธิ์ปกครอง 2 สมัยหรือ 8 ปี ถ้าได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีก คะแนนเสียงประชาชนไม่ใช่เป็นปัจจัยที่ตัดสินผลเลือกตั้งโดยตรง เนื่องจากสมัยที่ก่อตั้งระบบการปกครองการคมนาคมและการสื่อสารยังไม่เจริญ จึงมีการแต่งตั้งกลุ่มผู้แทน (Electoral College) มาลงคะแนนเสียงแทนประชาชน จำนวนของผู้แทนคะแนนเสียง (electors) แต่ละรัฐจะขึ้นกับจำนวนประชากร รัฐไหนมีประชากรมาก จำนวนผู้แทนก็จะมากตาม รวมแล้วทั้งประเทศมีผู้แทนเสียง 570 คน พรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกันแบ่งกันคนละครึ่งในแต่ละรัฐ ถ้าจำนวนของผู้แทนเสียงของพรรคไหนถึง 270 ก่อน พรรคนั้นก็มีเสียงส่วนมากที่จะมีสิทธิ์เลือกประธานาธิบดี

ตั้งแต่ 'จอร์จ วอร์ชิงตัน' เข้ามารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกในปีค.ศ. 1787 (พ.ศ. 2330) การเลือกตั้งได้ถูกปฎิบัติมาอย่างราบรื่น เนื่องจากเหล่าผู้แทนเสียงทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และผู้เข้าชิงตำแหน่งยอมรับผลโดยสดุดี การผลัดเปลี่ยนประธานาธิบดีมีแต่ความสงบและเคารพซึ่งกันและกัน แต่แล้วการเลือกตั้งในปี 2020 (พ.ศ. 2563) ก็เผยช่องโหว่ของประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา

ตั้งแต่ 'โดนัลด์ ทรัมป์' ลงสมัครประธานาธิบดีในปี 2016 (พ.ศ. 2559) เขาได้ประกาศเป็นศัตรูกับเหล่าสื่อใหญ่ของประเทศ โดยกล่าวหาว่าพวกสื่อเสนอข่าวเท็จ (fake news) เกี่ยวกับเขา และโปรโมตสื่อที่สนับสนุนเขาว่าเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือ ประชาชนที่ชอบทรัมป์จึงไม่เชื่อสื่อที่เคยเป็นหน่วยข้อมูลของประเทศ แต่ไปเสพสื่อที่เสนอข่าวเอาใจผู้นำของตนโดยไม่ใช้วิจารณญานแยกแยะข้อเท็จจริง จนกระทั่งถึงขั้นป่วยหรือตายเพราะไปดื่มน้ำยาซักผ้าขาวป้องกันโควิด เพราะในขณะที่ทรัมป์แถลงข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด เขาเอ่ยว่าน้ำยาซักผ้าขาวมีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อไวรัสได้ 

ส่องนโยบายเศรษฐกิจ 10 ปธน.สหรัฐฯ ‘ใครปัง – ใครแป้ก’ ก่อนถึงวันเลือกตั้งครั้งใหม่

ย้อนอดีต 10 ประธานาธิบดีสหรัฐ มีนโยบายอะไร และนโยบายพวกนั้นช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เท่าไหร่กันบ้าง

นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะถึงเหตุการณ์สำคัญของสหรัฐอเมริกาและโลกของเราอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐกันแล้วค่ะ ซึ่งการเลือกตั้งนี้จะส่งผลเป็นวงกว้างทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมค่ะ โดยทั้ง 2 ตัวแทนของทั้ง 2 พรรคก็มีการนำเสนอนโยบายที่ต่างกันสุดขั้ว ดังนั้นแล้วไม่ว่าใครที่จะได้ตำแหน่งไป นโยบายของพรรคนั้นก็จะส่งผลกระทบกับทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทยเราเองด้วยค่ะ

วันนี้เลยพาย้อนไปดูนโยบายที่ผ่านมาของทั้ง 10 ประธานาธิบดีสหรัฐที่ผ่านมา ว่ามีนโยบายอะไรที่ถูกนำมาใช้และส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไรบ้างค่ะ 

ปี 2021-ปัจจุบัน : โจ ไบเดน (Joe Biden) 
• นโยบายสำคัญ: นโยบาย 'Build Back Better' ที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ COVID-19, การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานสะอาด, และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนและธุรกิจ

• การเติบโตของ GDP: ในปี 2021 GDP สหรัฐฯ เติบโตประมาณ 5.7% ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1984 อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิด-19

ปี 2017-2021 : โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) 
• นโยบายสำคัญ: นโยบายภาษีที่ลดอัตราภาษีรายได้ (Tax Cuts and Jobs Act), การปฏิรูปนโยบายการค้า เช่น การปรับปรุงข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (USMCA), และนโยบาย 'America First' ที่เน้นการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ
• การเติบโตของ GDP: ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 GDP เติบโตประมาณ 2.3% ในปี 2019 แต่หดตัวถึง -3.4% ในปี 2020 เนื่องจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาด

ปี 2009-2017 : บารัก โอบามา (Barack Obama) 
• นโยบายสำคัญ: นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกฎหมาย American Recovery and Reinvestment Act มูลค่า 787 พันล้านดอลลาร์, การปฏิรูประบบสุขภาพ (Affordable Care Act), และการควบคุมทางการเงินภายใต้กฎหมาย Dodd-Frank Act
• การเติบโตของ GDP: หลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 GDP ฟื้นตัวและมีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 2% ต่อปีในช่วงการดำรงตำแหน่ง

ปี 2001-2009  : จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) 
• นโยบายสำคัญ: การลดภาษีครั้งใหญ่ในปี 2001 และ 2003, นโยบายความมั่นคงหลังเหตุการณ์ 9/11 รวมถึงสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน, และการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตการเงินปี 2008
• การเติบโตของ GDP: มีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 2.1% ต่อปี แต่ช่วงปลายการดำรงตำแหน่ง GDP หดตัวถึง -0.1% ในปี 2008 อันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ

ปี 1993-2001 : บิล คลินตัน (Bill Clinton) 
• นโยบายสำคัญ: นโยบายการคลังที่มุ่งเน้นการลดหนี้สาธารณะ, การปฏิรูปสวัสดิการ (Welfare Reform Act), และการขยายการค้าเสรีผ่าน NAFTA
• การเติบโตของ GDP: GDP เติบโตเฉลี่ยประมาณ 3.8% ต่อปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

ปี 1989-1993 : จอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช (George H.W. Bush) 
• นโยบายสำคัญ: การตอบสนองต่อสงครามอ่าวเปอร์เซีย, นโยบายภาษีเพิ่มขึ้นในปี 1990 เพื่อควบคุมการขาดดุลการคลัง, และการลงนามใน NAFTA แม้ว่าเนื้อหาจะสำเร็จในยุคคลินตัน
• การเติบโตของ GDP: GDP เติบโตเฉลี่ยประมาณ 2.1% ต่อปี แต่ประสบภาวะถดถอยในปี 1990-1991

ปี 1981-1989 : โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) 
• นโยบายสำคัญ: การลดภาษี (Economic Recovery Tax Act of 1981), การลดการควบคุมทางธุรกิจ, และนโยบายการป้องกันประเทศที่เพิ่มงบประมาณให้กับกองทัพ
• การเติบโตของ GDP: GDP เติบโตเฉลี่ยประมาณ 3.5% ต่อปี โดยเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980

ปี 1977-1981 : จิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) 
• นโยบายสำคัญ: นโยบายพลังงานเพื่อควบคุมปัญหาน้ำมัน, การปฏิรูปด้านสิทธิมนุษยชน และการควบคุมเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินเข้มงวดในช่วงท้ายของการบริหาร
• การเติบโตของ GDP: GDP เติบโตเฉลี่ยประมาณ 3.3% ต่อปี แต่ประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อสูงและวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 1979

ปี 1974-1977 : เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Ford) 
• นโยบายสำคัญ: นโยบาย WIN (Whip Inflation Now) เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ, การยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมัน, และการลดการใช้จ่ายภาครัฐ
• การเติบโตของ GDP: ในช่วงการบริหาร GDP เติบโตเฉลี่ยประมาณ 2.6% ต่อปี แต่ช่วงแรกต้องเผชิญกับภาวะถดถอยในปี 1974-1975

ปี 1969-1974 : ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) 
• นโยบายสำคัญ: การเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน, การยุติสงครามเวียดนาม, และการใช้นโยบายการควบคุมราคาเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
• การเติบโตของ GDP: GDP เติบโตเฉลี่ยประมาณ 3.1% ต่อปี แม้ว่าจะต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงในช่วงปลายการบริหาร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top