Saturday, 25 May 2024
เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง

อมธ. ประกาศใช้เพลงประจำมหาวิทยาลัย แทนเพลง ‘ยูงทอง’ ในทุกกิจกรรมของตนเอง

องค์การ นศ.ธรรมศาสตร์ เปิดผลประชามติ ประกาศใช้ “เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว” แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ.

วันที่ (6 ก.ค. 65) องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศผ่านเฟซบุ๊กว่า ... อมธ. ประกาศใช้ “เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว” แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ.

เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะในการเลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัย อันเป็นการแสดงออกที่สำคัญถึงอัตลักษณ์ การก่อกำเนิด และการเชิดชูประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมหาวิทยาลัย

อมธ. จึงได้จัดทำแบบสำรวจประชามติของประชาคมธรรมศาสตร์ โดยเพลงที่เข้ารับการคัดเลือกมีจำนวนทั้งหมด 3 เพลง คือ เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว, มาร์ช มธก. และ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง โดยจากผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 5,168 คน ได้เลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว กว่า 51.9%

อ่านใจธรรมศาสตร์ ปัดตกเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง คาดยก ‘ปรีดี’ ถูกลิดรอนสิทธิ์ช่วงรปห.2490 มาอ้าง!!

ทำเอาศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดือดและเข้าไปสอบถามถึงการตัดสินใจครั้งนี้กันอย่างมากมาย หลังจากเพจเฟสบุ๊ก ‘องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ หรือ อมธ. ได้โพสต์ข้อความแจ้งว่า อมธ. ประกาศใช้ “เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว” แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ. 

ซึ่งทาง อมธ.อ้างว่า เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะในการเลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยอันเป็นการแสดงออกที่สำคัญถึงอัตลักษณ์ การก่อกำเนิด และการเชิดชูประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมหาวิทยาลัย อมธ. จึงได้จัดทำแบบสำรวจประชามติของประชาคมธรรมศาสตร์ 

โดยเพลงที่เข้ารับการคัดเลือกมีจำนวนทั้งหมด 3 เพลง คือ เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว, มาร์ช มธก. และเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 5,168 คน ได้เลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาวคิดเป็นสัดส่วนกว่า 51.9% 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ วิเคราะห์ถึงสาเหตุการเปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้ว่า… 

อ่านใจธรรมศาสตร์ เรื่องการเปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัย ว่าเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้หรือไม่

กล่าวคือ สาเหตุที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัย เพราะเข้าใจว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกก่อตั้งโดย ปรีดี พนมยงค์ ในนามคณะราษฏร์ ถูกริดรอนสิทธิ์และคุณค่าความเป็นธรรมศาสตร์และการเมือง โดยรัฐประหาร 2490 

ซึ่งมีสมเด็จย่าฯ อยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหาร และในเวลาต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จย่าฯ ผู้อยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหาร 2490 ที่ทำให้พนมยงค์และคณะราษฏร์หมดอำนาจ ได้พระราชทานเพลงยูงทอง ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ให้กับธรรมศาสตร์ เท่ากับความพยายามในการริดรอนสิทธิ์และคุณค่าความเป็นธรรมศาสตร์และการเมือง

'รศ.หริรักษ์' ชี้!! 'ธรรมศาสตร์' เคลียร์ปมเพลงคลุมเครือ ใครอยากใช้เพลงใดก็ได้ แต่ไม่เกี่ยวกับพวกเรา

(9 ก.ค.65) รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่า...

ในที่สุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีคำชี้แจงเรื่องการใช้เพลงมหาวิทยาลัย เป็นเอกสารประชาสัมพันธ์ ยืนยันว่า เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองยังคงเป็นเพลงที่ใช้ในงานพิธี พิธีการ และงานที่เป็นทางการของมหาวิทยาลัยโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง 

ก็เป็นเรื่องดีที่มหาวิทยาลัยมีความชัดเจนเกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองเสียที ศิษย์เก่าจำนวนมากที่เข้าใจผิดบ้างถูกบ้างจะได้เข้าใจตรงกัน

อย่างไรก็ดี การชี้แจงของมหาวิทยาลัยต่อประกาศขององค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ดูจะคลุมเครือยังไงไม่ทราบ เหมือนกับคำโบราณที่ว่า...

"ไปไหนมาสามวาสองศอก" มหาวิทยาลัยชี้แจงว่า...

"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีเพลงที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 20 เพลง (ซึ่งความจริงน่าจะมากกว่านั้น) 
.......... ทั้งนี้องค์การนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ) สภานักศึกษาและกลุ่มชุมนุมกิจกรรมนักศึกษาทั้งหมด 59 ชุมนุม สามารถเลือกใช้เพลงต่างๆ ข้างต้นในการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษาได้ตามโอกาสและความเหมาะสม"

ในขณะที่ อมธ. ประกาศว่า...

"อมธ ประกาศให้ใช้เพลงประจำมหาวิทยาลัย ทำนองมอญดูดาวแทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยอมธ"

คำชี้แจงของมหาวิทยาลัยแปลว่าอะไรกันแน่?


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top