Friday, 17 May 2024
เท็กซัส

เครื่องบิน ‘เทกซัส’ พุ่งหลุดรันเวย์ไฟลุกท่วม ผู้โดยสาร-ลูกเรือ 21 คนรอดปาฏิหาริย์

เครื่องบินโดยสารเอกชนลำหนึ่งประสบอุบัติเหตุขณะยายามเทคออฟจากสนามบิน Houston Executive Airport ในรัฐเทกซัสของสหรัฐฯ เพื่อเดินทางไปยังเมืองบอสตันเมื่อเช้าวานนี้ (19 ต.ค.) เคราะห์ดีที่ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 21 คนสามารถอพยพออกมาได้ทันก่อนที่เครื่องจะระเบิดไฟลุกท่วม โดยมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อยแค่ 2 คน

สื่อสหรัฐฯ เผยภาพเหตุการณ์ขณะเจ้าหน้าที่กำลังเร่งดับไฟที่ลุกไหม้ซากเครื่องบิน แมคดอนเนลล์ ดักลาส (MD-87) ซึ่งพุ่งชนรั้วและไถลไปจอดแน่นิ่งอยู่ในทุ่งแห่งหนึ่งที่ด้านนอกสนามบิน

“เท่าที่ทราบข้อมูลตอนนี้ เครื่องบินไม่สามารถยกตัวขึ้นได้เมื่อไปถึงจุดสิ้นสุดรันเวย์ จึงพุ่งข้ามถนนมอร์ตัน และไปหยุดอยู่กลางทุ่งทางตอนเหนือของสนามบิน ก่อนจะเกิดการระเบิดขึ้น” เทรย์ ดูฮอน ผู้พิพากษาประจำเทศมณฑลวอลเลอร์ ชี้แจงผ่านเพจเฟซบุ๊ก

จุดจบ ‘เดวิด โคเรช’ (David Koresh) เจ้าลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน (Branch Davidians) แห่งเมืองเวโก้ มลรัฐเท็กซัส

เรื่องของความเชื่อ และความศรัทธา ล้วนเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนครับ ดังที่ทราบที่ปรากฏเห็น มีเส้นบางมากๆ กั้นกลางระหว่างเรื่องของความเชื่อถือ ความศรัทธา กับความงมงายเกิดขึ้นในสังคมมากมาย 

ดังนั้นเรื่องของความเชื่อศรัทธาจึงต้องประกอบด้วย สติ และ ปัญญา ความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะกลับกลายเป็นความงมงายไป และมักจะจบลงด้วยโศกนาฏกรรม เหมือนกับเรื่องที่ผมจะมาเล่าให้ฟังในวันนี้...

ในปี ค.ศ.1993 (พ.ศ. 2536) มีข่าวช็อกโลก อย่างการยิงปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักงานควบคุมแอลกอฮอลล์ ยาสูบ และอาวุธ (ATF) ซึ่งสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) พร้อมทั้งกองกำลังพิทักษ์ชาติ (National Guard) ของมลรัฐเท็กซัสและมลรัฐแอลลาบาม่า กับกลุ่มลัทธิ แบรนช์ดาวิเดียน เหตุเกิดที่เมืองเวโก้ มลรัฐเท็กซัส

หรือที่เรียกกันว่า ‘การปิดล้อมเวโก้’ (Waco siege) เป็นการปิดล้อมกลุ่มอาคารเมาท์คาร์เมลเซ็นเตอร์ของกลุ่มลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยสำนักงานควบคุมแอลกอฮอล์ ยาสูบและอาวุธปืน (ATF) และสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

เดวิด โคเรช เจ้าลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน

ลัทธิแบรนช์ดาวิเดียน เป็นลัทธิที่เชื่อในการเสด็จมาอีกครั้งของพระเยซู เป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากลัทธิดาวิเดียน เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (Davidian Seventh-day Adventists) มีผู้นำคือ เดวิด โคเรช ที่ประกาศว่าตนเองคือผู้เผยพระวจนะคนสุดท้าย พฤติการณ์หลายอย่างของกลุ่ม เช่น การรับสตรีวัยรุ่นเข้ามาเป็นภรรยาของโคเรช การทำธุรกิจค้าอาวุธ และความสงสัยว่าภายในลัทธิมีการทารุณเด็กทางเพศ

กลุ่มอาคารก่อนเหตุเพลิงไหม้

ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 เจ้าหน้าที่ ATF ได้เข้าตรวจสอบภายในกลุ่มอาคาร และเกิดการยิงต่อสู้กับสมาชิกของลัทธิ ทำให้เจ้าหน้าที่ ATF 4 นายและสมาชิกของลัทธิเสียชีวิต 6 คน เสียชีวิต หลังการปะทะ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ มีการตัดระบบสาธารณูปโภครอบๆ กลุ่มอาคาร พร้อมทั้งเปิดการเจรจากับโคเรช แต่ไม่เป็นผล

กลุ่มอาคารขณะเพลิงกำลังลุกไหม้

‘ทรัมป์’ จี้ ยกเลิกโรงเรียนเป็น ‘เขตปลอดปืน’  เปิดทางจนท. จัดการคนร้ายกราดยิง

อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการยกเลิกนโยบายที่ให้โรงเรียนเป็น “เขตปลอดปืน” หลังเกิดเหตุคนร้ายบุกเข้าไปกราดยิงโรงเรียนประถมในรัฐเทกซัส จนมีผู้เสียชีวิต 21 คน โดยให้เหตุผลว่าการทำเช่นนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐจัดการกับพวก “วิกลจริต” ได้ง่ายขึ้น

อดีตผู้นำสหรัฐฯ ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมของสมาคมไรเฟิลแห่งชาติ (National Rifle Association) ซึ่งเป็นองค์กรล็อบบี้ยิสต์ด้านอาวุธปืนในสหรัฐฯ โดยระบุว่า “เราจำเป็นต้องหาช่องทางที่ง่ายแก่การส่งตัวพวกคนวิกลจริตที่นิยมความรุนแรงไปขังไว้ในสถาบันจิตเวช”

เหตุการณ์ที่คนร้ายวัย 18 ปี ถืออาวุธปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติ AR-15 เข้าไปยิงสังหารเด็กนักเรียน 19 คน และครูอีก 2 คน ที่โรงเรียนประถมร็อบบ์ในเมืองยูวัลดี (Uvalde) เมื่อวันอังคาร (24) ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์พุ่งตรงมายัง NRA ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่บริจาคเงินสนับสนุนสมาชิกสภาคองเกรส โดยเฉพาะนักการเมืองสายรีพับลิกัน

‘ชาวสหรัฐฯ’ ร้อง!! ขอไบเดน “ทำอะไรสักอย่าง” หลังพบปี 65 โศกนาฏกรรมกราดยิงพุ่งกว่า 200 ครั้ง

ประชาชนในเมืองอูวัลเด (Uvalde) รัฐเท็กซัส ตะโกนร้องขอให้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แก้ปัญหาความรุนแรงด้านปืน ระหว่างที่ผู้นำสหรัฐฯ กำลังเดินทางเยือน ไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิต 21 คน รวมถึงเด็กประถม 19 คน จากเหตุกราดยิงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บริเวณจุดไว้อาลัยหน้าโรงเรียนประถมร็อบบ์ สถานที่เกิดเหตุ ที่มือปืนวัย 18 ปี บุกกราดยิงใส่เด็กนักเรียนด้วยปืนไรเฟิล AR-15 โดยไบเดนชมภาพเหล่าผู้เสียชีวิต และวางพวงมาลาด้วยท่าทีสำรวม และอย่างเงียบๆ

สำหรับตัว ไบเดน เอง เคยสูญเสียบุตรชายไปด้วยโรคมะเร็งในวันเดียวกัน เมื่อ 7 ปีก่อน และสูญเสียภรรยาคนแรกและทารกหญิง จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เขาจึงเป็นคุณพ่อที่เคยผ่านการสูญเสียยิ่งใหญ่มา และภาพจากสื่อแสดงให้เห็นไบเดนเหมือนปาดน้ำตา ระหว่างดูภาพเด็กๆ ที่เสียชีวิตด้วย

ฉะนั้นเมื่อฝูงชนได้ตะโกนออกมาว่า “ทำอะไรบางอย่าง” ผู้นำสหรัฐฯ จึงตอบกลับไปทันทีว่า “เราจะทำ เราจะทำ” ก่อนที่ไบเดนจะเดินทางไปพูดคุยกับญาติผู้เสียชีวิต และเจ้าหน้าที่ที่เข้ารับมือเหตุกราดยิง

สำหรับเหตุกราดยิงในโรงเรียนครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 10 ปี ของสหรัฐฯ นับตั้งแต่การกราดยิงที่โรงเรียนประถมศึกษา ‘แซนดี ฮุก’ ในเมืองนิวทาวน์ รัฐคอนเนตทิคัต ซึ่งคร่าชีวิตนักเรียน 20 ราย และครู 6 ราย เมื่อปี 2555 และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายในสหรัฐออกมาเรียกร้องการปฏิรูปกฎหมายปืนอีกครั้ง เนื่องจากนับตั้งแต่ต้นปีนี้ สหรัฐฯ เผชิญกับเหตุกราดยิงมามากกว่า 200 ครั้งแล้ว

อย่างไรก็ตาม สมาคมปืนไรเฟิลแห่งชาติ ( เอ็นอาร์เอ ) ซึ่งเป็นล็อบบี้ยิสต์อาวุธปืนใหญ่ที่สุด และทรงอิทธิพลสูงสุดในอเมริกา เดินหน้าวิจารณ์การปฏิรูปกฎหมายปืน เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยยืนยันว่า การตรวจสอบประวัติของผู้ใช้งาน จะเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรมได้มากกว่า

‘Texas Rangers’ หน่วยบังคับใช้กฎหมายแห่งมลรัฐเท็กซัส ก่อตั้งมาแล้วกว่า 200 ปี เพื่อธำรงความสงบของบ้านเมือง

200 ปีแห่งการก่อตั้ง Texas Rangers 
เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของมลรัฐเท็กซัส

ด้วยระบบตำรวจของบ้านเราเป็นระบบที่เรียกว่า ‘ตำรวจแห่งชาติ’ (National police) เช่นเดียวกับฝรั่งเศส แคนาดา ญี่ปุ่น และอีกหลาย ๆ ประเทศ เราคนไทยจึงไม่ค่อยรู้จักระบบตำรวจที่แตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งผมเคยเขียนไว้ใน The States Times เมื่อ 2 ปีมาแล้ว ในบความ “ไขบทบาท ‘ตำรวจมะกัน’ ผู้บังคับใช้กฎหมาย – กระบวนการยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา” https://thestatestimes.com/post/2021091807

โดยที่ตำรวจไทยทุกนายเป็นตำรวจแห่งชาติ เพราะรูปแบบการปกครองของบ้านเราเป็นแบบรัฐเดี่ยว ดังนั้น ตำรวจไทยทุกนายตั้งแต่ชั้นยศพลตำรวจไปจนถึงชั้นยศพลตำรวจเอก จึงสามารถจับกุมผู้ที่กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีหมายจับได้ตั้งแต่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เหนือสุดของประเทศไปจนถึงอำเภอสุไหงโกลกจังหวัดนราธิวาสใต้สุดของประเทศ สำหรับระบบตำรวจสหรัฐฯ มีความแตกต่างกันด้วยระบอบการเมืองการปกครอง เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐอเมริกาเป็นสหพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วย 50 รัฐ ทำให้มีหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายราว 18,000 หน่วย โดยราว 15,000 หน่วย อยู่ภายใต้รัฐบาลมลรัฐและองค์กรปกครองระดับท้องถิ่น มีเจ้าหน้าที่กว่า 500,000 นาย

‘Texas Ranger Division’ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ‘Texas Rangers’ และยังเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘Los Diablos Tejanos’ (ภาษาสเปน : the Texan Devils) เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสืบสอบสวนที่มีเขตอำนาจศาลทั่วทั้งมลรัฐเท็กซัส มีกองบัญชาการตั้งอยู่ในนครออสติน เมืองหลวงของมลรัฐเท็กซัส นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้น ‘Texas Rangers’ ได้สืบสวนคดีอาชญากรรม ตั้งแต่การฆาตกรรมไปจนถึงการทุจริตทางการเมือง ทำหน้าที่ควบคุมการจลาจล และเป็นนักสืบ ทีมอารักขาผู้ว่าการมลรัฐเท็กซัส ติดตามผู้หลบหนีคดี ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญของมลรัฐเท็กซัส

‘Stephen F. Austin’ ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ‘บิดาแห่งมลรัฐเท็กซัส’

‘Texas Rangers’ ถูกก่อตั้งโดย ‘Stephen F. Austin’ (ผู้ได้ชื่อว่าเป็น ‘บิดาแห่งมลรัฐเท็กซัส’) ใน ปี ค.ศ. 1823 หลังจากผ่านไปหนึ่งทศวรรษ ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1835 ‘Daniel Parker’ ได้เสนอมติต่อสภาถาวร เพื่อจัดตั้งกองทหารพรานเพื่อปกป้องชาวเม็กซิกัน ต่อมาหน่วยนี้ถูกยุบโดยหน่วยงานของรัฐบาลกลางหลังสงครามกลางเมืองในช่วงยุคฟื้นฟู แต่ได้รับการปฏิรูปอย่างรวดเร็วเมื่อมีการคืนสถานะของรัฐบาลแต่ละมลรัฐในประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 จนปัจจุบันองค์กรนี้เป็นแผนกหนึ่งของสำนักงานความปลอดภัยสาธารณะแห่งมลรัฐเท็กซัส (Texas Department of Public Safety (TxDPS))

Texas Rangers ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 234 นาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ระดับสัญญาบัตร 166 นาย และเจ้าหน้าที่สนับสนุน 68 นาย รวมถึงเจ้าหน้าที่ธุรการศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงชายแดน ศูนย์ปฏิบัติการ และหน่วยข่าวกรองร่วม และทีมอาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (SWAT/SRT) โดย Texas Rangers มีหน่วยปฏิบัติการพิเศษเพื่อทำหน้าที่ ทีมอาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (SWAT) และทีมตอบโต้พิเศษเฉพาะพื้นที่ (SRT's) ทีมลาดตระเวน หน่วยเจรจากรณีวิกฤต และทีมเก็บกู้วัตถุระเบิด ปัจจุบันหน่วย Texas Rangers มีการประสานงานด้านความมั่นคงชายแดนผ่านศูนย์ปฏิบัติการข่าวกรองและศูนย์ความร่วมมือ (JOICs) จำนวน 6 แห่งตามแนวชายแดนเท็กซัส - เม็กซิโก และพื้นที่ชายฝั่งของรัฐฯ

Texas Rangers รับผิดชอบในการสืบสวนอาชญากรรมดังต่อไปนี้ : (1.) การสืบสวนอาชญากรรมที่สำคัญของมลรัฐ (2.) การสืบสวนอาชญากรรมในมลรัฐที่ยังไม่สามารถปิดคดีได้ (3.) การสืบสวนอาชญากรรมต่อเนื่องในการกระทำที่เป็นการทุจริตต่อสาธารณะในมลรัฐ (4.) การตรวจสอบความสมบูรณ์ของการดำเนินคดีที่เป็นสาธารณะของมลรัฐ (5.) การดำเนินงานด้านความปลอดภัยภายในมลรัฐ และ (6.) การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ว่าการมลรัฐเท็กซัส

เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อการบังคับใช้กฎหมาย Texas Rangers ได้จัดตั้ง หน่วยต่อต้านการทุจริตสาธารณะ และโครงการสืบสวนอาชญากรรมที่ยังไม่สามารถปิดคดี โดยในปี ค.ศ. 2019 Texas Rangers ได้มีการสอบสวนคดีทั้งหมด 2,235 คดี ซึ่งส่งผลให้มีการจับกุมผู้กระทำความผิด 993 คดี รับสารภาพ 562 คดี คดีอาชญากรรมต่าง ๆ มีการตัดสินลงโทษกว่า 537 คดี ซึ่งส่งผลให้มีการตัดสินประหารชีวิต 3 คดี จำคุกตลอดชีวิต 76 คดี และคดีต่าง ๆ ถูกตัดสินจำคุกทั้งหมดรวม 8,531 ปี ในระหว่างการสืบสวนคดีโดยหน่วย Texas Ranger มีการใช้กระบวนสอบสวนด้วยการสะกดจิต 9 ครั้ง

‘ประธานาธิบดี William Howard Taft’ และ ‘Porfirio Díaz ประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก’ ในปี ค.ศ. 1909

เหล่าสมาชิกของ Texas Rangers มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดหลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มลรัฐเท็กซัส เช่น การหยุดยั้งการลอบสังหารประธานาธิบดี William Howard Taft และ Porfirio Díaz ประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก ใน El Paso และในคดีอาญาที่มีชื่อเสียงที่สุดบางคดีในประวัติศาสตร์ เช่น John Wesley Hardin มือปืนชื่อดัง Sam Bass จอมโจรนักปล้นธนาคาร Bonnie และ Clyde ขุนโจรคู่สามี-ภรรยา

‘Chuck Norris’ ในบท ‘Cordell Walker’
สมาชิก Texas Rangers ในภาพยนตร์โทรทัศน์ Walker

มีหนังสือมากมายหลายเล่มที่เขียนเล่าเกี่ยวกับ Texas Rangers ตั้งแต่ผลงานสารคดีที่ได้รับการค้นคว้ามาอย่างดีไปจนถึงนวนิยายและเรื่องแต่งอื่น ๆ ทำให้ Texas Rangers มีส่วนร่วมสำคัญในตำนานของ Wild West, The Lone Ranger อาจเป็นตัวอย่างซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของตัวละครจาก Texas Rangers โดยใช้นามแฝงของผู้แต่งจากประสบการณ์ที่เคยเป็นสมาชิกของ Texas Rangers ตัวอย่างที่รู้จักกันดีอื่น ๆ ได้แก่ Tales of the Texas Rangers และอีกหลายบทบาทใน Texas Rangers รวมถึงพระเอกนักบู๊ Chuck Norris ที่แสดงเป็น Cordell Walker ในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด Walker, Texas Ranger และทีมเมเจอร์ลีกเบสบอล (MLB) ของมลรัฐเท็กซัสได้รับการตั้งชื่อตาม Texas Rangers ด้วย นอกจากนั้นแล้ว Texas Rangers ยังมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในมลรัฐ Texas โดยมีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างเพื่อเป็นเกียรติกับ Texas Rangers ที่รู้จักกันในชื่อ ‘Texas Ranger Hall of Fame and Museum’ ในเมืองเวโก

ภาพหมู่สมาชิกของหน่วย Texas Rangers
ในโอกาสการก่อตั้งหน่วยครบ 200 ปี

คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกของหน่วย Texas Rangers นอกเหนือจากคุณสมบัติที่จำเป็น สำหรับการเข้าทำงานกับสำนักงานความปลอดภัยสาธารณะของมลรัฐเท็กซัส แล้วยังมีข้อกำหนดพิเศษต่อไปนี้ คือ การเป็นหน่วย Texas Rangers ผู้สมัครแต่ละคนจะต้องเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา มีสภาพร่างกายที่ยอดเยี่ยม และมีประวัติที่โดดเด่นอย่างน้อย 8 ปี ในประสบการณ์กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีส่วนร่วมในการสืบสวนอาชญากรรมที่สำคัญ โดยปัจจุบันผู้สมัครจะต้องทำงานกับสำนักงานความปลอดภัยสาธารณะของมลรัฐเท็กซัส ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตรอย่างน้อยระดับ Trooper II

ผู้สมัครจะต้องมีภูมิหลังภายใต้การตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะนิสัย และความประพฤติที่ดี ผู้สมัครจะต้องมีใบขับขี่ของมลรัฐเท็กซัส โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ที่จะกระทบต่อความสามารถของผู้สมัครในการปฏิบัติหน้าที่ มีการสอบเข้า และผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการ เพื่อสัมภาษณ์ด้วยปากเปล่าก่อนการคัดเลือกขั้นสุดท้าย

‘Jason Taylor’ หัวหน้าหน่วย Texas Rangers คนปัจจุบัน

สมาชิกของหน่วย Texas Rangers จะต้องเข้าร่วมการฝึกอบรมอย่างน้อย 40 ชั่วโมงในทุก 2 ปี แต่สำหรับสมาชิกของหน่วย Texas Rangers ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมเกินมาตรฐาน สมาชิกของหน่วย Texas Rangers บางนายอาจได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ เช่น การสะกดจิตเชิงสืบสวน ซึ่งมีความสำคัญต่อการสืบสวนในคดีอาญาบางคดี ในปี ค.ศ. 2020 อายุเฉลี่ยของสมาชิกของหน่วย Texas Ranger อยู่ที่ 44 ปี

ณ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2020 Texas Ranger Division มีเจ้าหน้าที่สัญญาบัตร 166 นาย สำหรับทั้งมลรัฐ โดยแบ่งออกเป็น 6 หน่วย โดย
- หน่วย A อยู่ที่เมือง Houston
- หน่วย B อยู่ที่เมือง Garland
- หน่วย C อยู่ที่เมือง Lubbock
- หน่วย D อยู่ที่เมือง Weslaco
- หน่วย E อยู่ที่เมือง El Paso
- หน่วย F อยู่ที่เมือง Waco
และมีสมาชิก Texas Rangers ระดับสัญญาบัตรประจำการตามเมืองต่าง ๆ ทั่วทั้งมลรัฐ โดย Texas Rangers ระดับสัญญาบัตรแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างน้อย 2 ถึง 3 เทศมณฑล ซึ่งบางแห่งมีพื้นที่ใหญ่กว่าเสียด้วยซ้ำ

สมาชิก Texas Rangers ยุคใหม่ (เช่นเดียวกับรุ่นก่อน ๆ ของพวกเขา) ไม่มีเครื่องแบบที่กำหนด แม้ว่ารัฐเท็กซัสจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของสมาชิก Texas Rangers ที่เหมาะสม รวมถึงข้อกำหนดให้สมาชิก Texas Rangers สวมเสื้อผ้าที่มีลักษณะแบบตะวันตก ปัจจุบัน การแต่งกายที่นิยม ได้แก่ เสื้อเชิ้ตและเน็กไทสีขาว กางเกงขายาวสีกากี/สีแทน หรือสีเทา หมวกแบบตะวันตกสีอ่อน เข็มขัดของ ‘Texas Rangers’ และรองเท้าบูทคาวบอย ในอดีต ตามหลักฐานรูปภาพสมาชิก Texas Rangers สวมเสื้อผ้าอะไรก็ได้ที่พวกเขาสามารถจ่ายได้หรือรวบรวมได้ ซึ่งมักจะสึกหรอจากการใช้งานหนัก ในขณะที่สมาชิก Texas Rangers ยังคงจ่ายค่าเสื้อผ้าเองของพวกเขาในปัจจุบัน แต่พวกเขาก็ได้รับค่าตอบแทนเริ่มต้น เพื่อชดเชยบางส่วนสำหรับค่ารองเท้าบูท เข็มขัดคาดปืน และหมวก

สำหรับปฏิบัติภารกิจบนหลังม้า สมาชิก Texas Rangers ได้ดัดแปลงอุปกรณ์และอุปกรณ์ส่วนตัวให้เหมาะกับความต้องการของพวกเขา จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 อิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมาจาก Vaqueros (คาวบอยเม็กซิกัน) อานม้า เดือย เชือก และเสื้อกั๊กที่สมาชิก Texas Rangers ใช้ ล้วนแต่มีรูปแบบตามแบบของวาเกอโร สมาชิก Texas Rangers ส่วนใหญ่ชอบสวมหมวกปีกกว้างมากกว่าหมวกคาวบอย และพวกเขานิยมสวมรองเท้าบูทยาวถึงเข่า ทรงเหลี่ยมที่มีส้นสูงและหัวแหลมในสไตล์สเปนมากกว่า ทั้ง 2 กลุ่มใช้ซองปืนในลักษณะเดียวกัน โดยเป็นซองหนังอยู่ในตำแหน่งสูงรอบสะโพกแทนที่จะอยู่ต่ำที่ต้นขา ตำแหน่งนี้ทำให้ง่ายต่อการชักออกมาในขณะกำลังขี่ม้า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top