Sunday, 5 May 2024
เฉลิมชัย

“เฉลิมชัย” ปธ.ฟรุ้ทบอร์ด ปฏิรูปผลไม้ครั้งใหญ่!! วาง 3 กระทรวง ‘เกษตร-อุตสาหกรรม-พาณิชย์’ เห็นชอบงบประมาณปี 65 ตั้งทีมขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และสนามบินจันทบุรี มอบ”อลงกรณ์”เป็นปธ.

วันนี้ (14 ต.ค. 64) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (หรุ้ทบอร์ด)ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) Application ZOOM Cloud Meetings พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัด กษ. นายประยูร อินสกุล รองปลัด กษ. ดร.สมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร  นายอนันต์ แก้วกำเนิด รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนผู้ประกอบการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และนายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันหารือประชุมขับเคลื่อนโดยมีประเด็นผลการดำเนินงานการบริหารจัดการผลไม้ในรอบฤดูกาลผลิตที่ 2/2564 ทั่วประเทศ

ผลการจัดประชุมกลุ่มย่อย Focus group เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 โดย กระทรวงพาณิชย์ และร่วมกันพิจารณาโครงการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 ที่เสนอโดยสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” และนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ต่อไป

การบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ของภาคเหนือ (ลำไย) และภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ในภาพรวมสอดคล้องกับแนวทางบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 - 2566 โดยจังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2558 - 2564 และในเชิงปริมาณที่เน้นการจัดสมดุลอุปสงค์และอุปทาน โดยผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปริมาณ 671,308 ตัน และผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปริมาณ 785,459 ตัน มีการกระจายผลผลิตผ่านกลไกตลาดปกติ โดย คพจ. และเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตในราคาไม่ต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิต และราคาเฉลี่ยของผลผลิตตลอดฤดูกาลสูงกว่าราคาต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้กระทบต่อแผนการบริหารจัดการผลไม้ทำให้ทั้งการส่งออก การแปรรูป และการกระจายในประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน นั้น ได้มีการจัด Focus group วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ โดยร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกตถึง “ปัญหาและอุปสรรค” (Pain Point) ใน ประเด็นโครงสร้าง ระบบ และการบริหารจัดการ Fruit Board ประเด็นกลไกการทำงานในภาวะวิกฤต ประเด็นแผนงาน โครงการ และงบประมาณ รวมไปถึงแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มและแบรนดิ้ง (Branding) ผลไม้ การพัฒนากลไกการค้าผลไม้และการตลาดเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการล้ง การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคตะวันออก-ใต้-ใต้ชายแดน การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคเหนือ การจัดการปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้รายสินค้า (ทุเรียน, ลำไย, มังคุด, เงาะ, ลองกอง และมะม่วง) โดยข้อมูลดังกล่าวได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับทราบและพิจารณาใช้ประโยชน์ และนำมาวางแผนเพื่อรับมือวิกฤติการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต คณะกรรมการฯ รับทราบคำสั่งของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ดในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ครอบคลุมทั้งระบบ ประกอบด้วย

1. คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

 1) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลิต

 2) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า

 3) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการตลาด

 4) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 5) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคอื่นๆ

2. คณะทำงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

 1) คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์

 2) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไย

 3) คณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าทุเรียน

 4) คณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ

ในด้านการรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นประกอบกับภาพรวมผลไม้ไทยจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,500,000 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 8% โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนด 17 มาตรการรองรับผลไม้ ปี 2565 ล่วงหน้า 6 เดือน ประกอบด้วย

1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง

2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน

3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน

4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร สนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฏหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน

5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่าง ๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป

6.มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง

7.ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนำออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 2557 จะสนับสนุนที่15,000 ตัน

 8.ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ำมันต่าง ๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน

 9.จะทำเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดำเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก

 10.จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น

สงขลา - “เฉลิมชัย” ควง “นิพนธ์” ตรวจคลองอาทิตย์ และคลองร.1 มั่นใจแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ - น้ำแล้งสงขลา ทั้งระบบ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการขุดลอกคลองพลเอกอาทิตย์ฯ ม.9 ต.ท่าหินกิน อ.สทิงพระ  จ.สงขลา พร้อมรับฟังการบรรยายสรุป เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและรับทราบปัญหาอุปสรรค โดยมีนายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายไพโรจน์ ศรีละมุน นายอำเภอระโนด และส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่ร่วมติดตามและให้การต้อนรับ

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การขุดลอกคลองพลเอกอาทิตย์ฯ เป็นหนึ่งในโครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา ที่ผ่านมาประสบปัญหาอุทกภัยมาโดยตลอดเมื่อมีฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเป็นประจำ เมื่อมีการรุกตัวของน้ำเค็มถึงทะเลสาบตอนบน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งขณะนี้ได้มีการขุดลอก และขยายคลองพลเอกอาทิตย์ฯ จากความกว้างเดิม 40 เมตรเป็น 70 เมตร และขุดขยายคลองหนัง บริเวณ อำเภอสทิงพระ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บกักน้ำ ก่อสร้างแก้มลิงรวมไปถึงปรับปรุงแก้มลิงเดิมเพื่อเพิ่มความสามารถในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ก่อสร้างระบบกระจายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนต่าง ๆ เข้าสู่พื้นที่การเกษตร ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ซึ่งหากแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำจาก 2 ล้าน ลบ.ม. เป็น 7 ล้าน ลบ.ม. หรือมากกว่าเดิมกว่า 3 เท่าตัว โดยสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 12,000 ไร่ โดยมีแผนดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 

ต่อจากนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และท่านนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ณ สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในตัวเมืองหาดใหญ่ และเก็บกักน้ำไว้สำหรับการเพาะปลูกด้านการเกษตร ผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภค อุตสาหกรรม สนองความต้องการใช้น้ำในด้านต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลาที่กำลังขยายตัว

โดยการดำเนินงานจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระบายน้ำ ร.1 ซึ่งเดิมสามารถระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เมื่อรวมกับอัตราการระบายน้ำของคลองอู่ตะเภาที่ระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จะทำให้สามารถระบายน้ำได้สูงสุดรวม 1,665 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้งประมาณ 5.00 ล้านลูกบาศก์เมตร มีระยะเวลาโครงการ 8 ปี (พ.ศ.2558 – 2565) วงเงินงบประมาณ 6,500 ล้านบาท

“อลงกรณ์” ชี้! ปชป.รีเทิร์น เพราะทุ่มเททำงานหนัก ทำได้ไว - ทำได้จริง หลังทราบผล มสธ.โพลระบุ “จุรินทร์” ขึ้นแท่นเบอร์ 1 เหมาะเป็นนายกฯคนต่อไป!! พร้อมเปิดตัวผู้ว่ากทม. และประกาศยุทธศาสตร์เดินหน้าลุยสนามใหญ่

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนวันนี้ (5 พ.ย. 64) หลังทราบผล มสธ.โพล ว่า ผลสำรวจของมสธ.โพล เป็นการสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชนซึ่งต้องขอขอบคุณคนกรุงเทพมหานคร ที่มอบความไว้วางใจให้กับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และขอขอบคุณศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนในครั้งนี้ ตนมองว่า “มสธ.โพล” ไม่ใช่เป็นเพียงการสำรวจความนิยมเหมือนโพลอื่น ๆ ก่อนหน้านี้แต่เป็นการสำรวจความเชื่อมั่นที่มีต่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคและพรรคประชาธิปัตย์ว่าเหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นรัฐบาลในวันข้างหน้า ทั้งนี้ พิจารณาจากการตั้งคำถามสำรวจความเห็นประชาชนในหัวข้อต่าง ๆ

ตนมองว่า ประชาธิปัตย์มีโอกาสกลับมาเป็นพรรคในใจประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ก็ด้วยผลงานจากการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานหนักของทุกคนในพรรคในยุคอุดมการณ์ ทันสมัย ทำได้ไวทำได้จริงซึ่งทำงานเป็นทีมแบบอเวนเจอร์ และการมีจุดยืนที่มั่นคงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

“ผลโพลเสมือนกำลังใจ เราจะทำงานหนักแก้ไขปัญหาให้ประเทศชาติและประชาชนต่อไป และเตรียมประกาศยุทธศาสตร์ประชาธิปัตย์เพื่อประชาชนในการประชุมใหญ่พรรควันที่ 18 ธันวาคม ที่จะถึงนี้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า

ส่วนการเปิดตัวผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครเมื่อไหร่นั้นคงอีกไม่นาน หัวหน้าพรรค และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค กำลังพิจารณาจังหวะเวลาที่เหมาะสม ขอให้อดใจรอ เป็นคนดีมีความรู้ความสามารถในการบริหาร มีวิสัยทัศน์ก้าวหน้า เหมาะกับยุคกทม.เมตะเวิร์ส (METAVERSE) แน่นอน นายอลงกรณ์ กล่าวในที่สุด

ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน ศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดเผย ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ “ประชาชนในกรุงเทพมหานครต้องการผู้นําที่มีคุณลักษณะแบบใดเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปและคุณลักษณะพรรคการเมืองแบบใดที่ผู้นําสังกัดหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป” ดําเนินการสํารวจ ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 12,350 คน เป็นชาย 6,820 คน (55.22%) หญิง 5,530 คน (44.78%)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสํารวจครั้งนี้ ชี้ให้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินว่าเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ในสถานการณ์ช่วงเวลา 4-5 ปี ข้างหน้านี้ เนื่องด้วยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคุณลักษณะความเป็นผู้นําเฉพาะตัวเด่นชัดและมีคุณลักษณะพรรคการเมืองที่สังกัดเด่นชัด ตามรายละเอียดของผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้

1. ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

1.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

จะเห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนโดยภาพรวมสูงสุด (54.24%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.99%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (38.12%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (8.87%)

1.2 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 1 คือ ความสามารถในการกอบกู้และแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้

จะเห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.30%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (41.31%), นายกรณ์ จาติกวณิช (32.02%) ตามลําดับ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (9.20%)

1.3 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 2 คือ คุณลักษณะด้านความสามารถในการแก้ปัญหาปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.89%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (43.44%), นายกรณ์ จาติกวณิช (30.14%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (7.72%)

1.4 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 3 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การบริหารประเทศ มีผลงานโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์มาแล้วทั้งในอดีตและปัจจุบัน

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (59.53%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (42.47%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (33.40%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (6.09%)

1.5 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 4 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รอบรู้ รอบคอบ ทุ่มเท ขยัน และรู้กลไกการผลักดันงานหรือนโยบายให้สําเร็จได้

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (63.58%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (58.72%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (42.20%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (6.36%)

1.6 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 5 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่อ่อนน้อม ปรองดอง เข้าถึงง่าย ทํางานกับทุกฝ่ายได้

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (55.51%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.83%), นายอนุทิน ชาญวีรกูล (47.40%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (12.81%)

1.7 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 6 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (64.72%) รองลงมา คือ พลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (58.74%), พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (54.13%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (9.60%)

1.8 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 7 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รักษาสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

เห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (57.96%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (16.34%)

1.9 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 8 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ควบคุมกํากับความมั่นคงทางการทหารและตํารวจ

เห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (68.99%) และรองลงมา คือ พลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (60.92%) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อย

ที่สุด (2.85%)

2. ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะพรรคการเมืองที่ผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

2.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะพรรคการเมืองที่ผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนรวมสูงสุด (58.15%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.59%), นายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย, (40.74%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (31.44%)

2.2 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 1 ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภา

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย (54.20%), ตามลําดับ ส่วนนางสาว พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (26.28%)

2.3 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 2 มีกลไกการทํางานที่เป็นระบบ เป็นพรรคการเมืองของประชาชน ไม่เป็นพรรคของใครคนใดคนหนึ่ง หรือ คณะบุคคล หรือ นายทุน

เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (58.74%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.93%), นายกรณ์ จาติกวณิช ผู้นําจากพรรคกล้า (42.63%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (23.46%)

 

“เฉลิมชัย” ควง “อลงกรณ์” ลุยเพชรบุรี! เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วม สั่งกรมชลประทานระดมเครื่องสูบน้ำ ผันน้ำลงทะเลโดยเร็ว!!

วันนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.กษ. / นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รักษาราชการผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี / นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการ รมว.กษ. / ดร.กัมพล สุภาแพ่ง / นายอรรถพร พลบุตร อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และคณะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมเพชรบุรี โดยสั่งการให้กรมชลประทานและหน่วยงานในสังกัดเร่งช่วยเหลือประชาชนโดยบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วน

ซึ่งกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 27 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 16 เครื่อง และมีแผนติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม คาดว่าระดับน้ำจะต่ำกว่าตลิ่ง และสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ใน 2 วันนี้

ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่งจะใช้เครื่องสูบน้ำสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดกับประชาชนโดยเร็วที่สุด ยิ่งกว่านั้นยังกำชับให้เร่งดำเนินการเยียวยาความเสียหายทางกาคเกษตรให้กับเกษตรกรภายใน 60 วันหลังจากทางจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติ

 

‘ดร.เฉลิมชัย’ พร้อมร่วมเจรจา CPTPP ย้ำจุดยืนชัดเจน!! เกษตรกรต้องไม่เสียเปรียบ ยึดผลประโยชน์เกษตรกรต้องมาก่อน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงประเด็นการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ของประเทศไทย ว่า ในส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความพร้อมในการร่วมเจรจาความตกลง CPTPP ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาล และทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ได้ศึกษาในรายละเอียด ประเด็นผลดี ผลเสีย และความพร้อมของไทยมาโดยตลอด โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอยืนยันว่า ภาคเกษตรไทยต้องไม่เสียเปรียบ โดยกรอบการเจรจาจะยึดผลประโยชน์เกษตรกรเป็นหลักถ้าหากประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วม CPTPP ในครั้งนี้

สำหรับการจัดทำกรอบการเจรจาเพื่อรับพันธกรณีความตกลง CPTPP ในส่วนของผลต่อภาคการเกษตร มี 2 ประเด็นหลักสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะต้องคำนึงถึง คือ ด้านพันธุ์พืช และด้านการค้าสินค้าให้กับประเทศไทย ซึ่ง ด้านพันธุ์พืช เงื่อนไขการเข้าร่วมความตกลง CPTPP กำหนดให้ประเทศที่เข้าร่วมจะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญา UPOV1991 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ทำให้หลายฝ่ายกังวลในประเด็นต่างๆ อาทิ เกษตรกรไม่สามารถเก็บส่วนขยายพันธุ์พืชไว้ปลูกต่อได้ และเมล็ดพันธุ์พืชของไทยถูกผูกขาดทางการค้า ซึ่งประเด็นดังกล่าว ไทยจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวหลายปี ทั้งการทำความเข้าใจสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เกษตรกร และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

การเตรียมความพร้อมภาคการเกษตร ทั้งด้านความต้องการใช้พันธุ์พืชของเกษตรกร การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตพันธุ์และการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชให้เกษตรกร การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมพืชของประเทศ เพื่อรวบรวมลักษณะประจำพันธุ์ของพันธุ์พื้นเมือง สำหรับใช้อ้างอิงป้องกันไม่ให้มีการนำพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ท้องถิ่นไปจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ตลอดจนการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 

โดยจะต้องหารือกับทุกภาคส่วนพิจารณากำหนดเงื่อนไขให้เกษตรกรรายย่อย สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไว้ปลูกต่อได้ตามวิถีดั้งเดิมของเกษตรกร และอยู่ภายใต้ความเหมาะสมของบริบทประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมการ ดังนั้น การเจรจาในประเด็นด้านพันธุ์พืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดประเด็นที่จะเจรจาขอสงวนสิทธิ์ไว้หรือขอเว้นการปฏิบัติเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นสำคัญ หรือเจรจาขอระยะเวลาในการปรับตัว  เพื่อเตรียมความพร้อม เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี ถึงจะพร้อมปฏิบัติตามสัตยาบันอนุสัญญา UPOV1991

ด้านการค้าสินค้า เนื่องด้วยสมาชิก CPTPP มีการยกเลิกหรือลดภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันในระดับที่สูงมากถึงร้อยละ 95 – 100 ซึ่งแน่นอนว่า จะส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรของไทยที่มีศักยภาพแข่งขันน้อย เช่น กลุ่มสินค้าปศุสัตว์และสินค้าประมงบางรายการ จึงจำเป็นต้องมีระยะเวลาเพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย 

โดยจะเห็นได้ว่าประเทศสมาชิกเดิมอย่างญี่ปุ่นและเวียดนาม ขอใช้ระยะเวลาในการลดภาษีนานถึง 21 ปี นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลเรื่องการยกเว้นการใช้มาตรการปกป้องพิเศษ หรือ Special Safeguard (SSG) กับประเทศสมาชิก CPTPP แต่ประเทศไทย เราได้ใช้มาตรการ SSG ซึ่งผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับสินค้าเกษตร 23 รายการเพื่อรองรับผลกระทบในกรณีที่มีปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นผิดปกติหรือราคานำเข้าที่ลดต่ำลงอย่างผิดปกติ 

จะเห็นได้จากปี 2563 และ 2564 ไทยได้ใช้ประโยชน์จากมาตรการ SSG กับสินค้ามะพร้าวเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเมื่อมีการนำเข้าเกินกว่าระดับปริมาณนำเข้าที่กำหนด ก็จะมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การเจรจาในประเด็นด้านการค้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอสงวนการบังคับใช้มาตรการ SSG ของไทยสำหรับสินค้าเกษตรทั้ง 23 รายการไว้ตามเดิม

‘ประชาธิปัตย์’ เคาะแล้ว!! ส่ง “ดร.เอ้ สุชัชวีร์” ชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.

พรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารวันนี้

>> เห็นชอบ “ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์”ป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และให้ความเห็นชอบผู้ที่จะลงสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ทั้ง 50 เขต 50 คน

>> เห็นชอบ “นายอิสรพงษ์ มากอำไพ” เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมเขต 1 จังหวัดชุมพร และนางสาวสุภาพร กำเนิดผล เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. สงขลา เขต 6

>> เห็นชอบให้จัดตั้งสาขาพรรคเพิ่มเติม 2 สาขา คือ จังหวัดนครนายก เขต 1 และสาขาพรรคจังหวัดสงขลา เขต 2

13 ธันวาคม 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคภาคกทม.ได้แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ว่า การประชุมในวันนี้มีวาระสำคัญ 2 วาระ ประกอบด้วย วาระที่ 1 การพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรค และพิจารณาผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) 50 เขต 50 คน วาระที่ 2 การพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดชุมพร เขต 1 และจังหวัดสงขลา เขต 6

โดยในวาระแรก ที่ประชุม กก.บห.พรรค มีมติเห็นชอบให้ ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และให้ความเห็นชอบผู้ที่จะลงสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ทั้ง 50 เขต 50 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นอดีต สก. 13 คน และเป็นคนรุ่นใหม่ เลือดใหม่ ที่ก้าวเข้ามาร่วมงานกับพรรค 37 คน รวม 50 คน

สำหรับ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์นั้น จบปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม จากสถาบัน MIT สหรัฐอเมริกา เป็นอดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นนายกสภาวิศวกรสมัยที่ 7 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบรถไฟฟ้าในคณะกรรมการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าระดับประเทศ เป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยในอดีต เป็นประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ เคยได้รับรางวัลเกียรติคุณระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัล President Eisenhower Fellowships 2012 เป็นประธานการประชุมงานอุโมงค์โลก 2012 (World Tunnel Congress 2012) นอกจากนั้นเป็นวิศวกรดีเด่นแห่งอาเซียน ปี 2012

“พรรคประชาธิปัตย์ภูมิใจที่ได้ต้อนรับเลือดใหม่คุณภาพ อย่าง ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรค นับจากนี้ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับชาวกรุงเทพ และเราหวังว่า ดร.เอ้ จะนำชัยชนะมาสู่พรรค นำชัยชนะมาสู่พี่น้องชาวกรุงเทพมหานครทุกคน ถ้าได้รับเลือกตั้งหรือได้รับโอกาสผมมั่นใจว่า ดร.สุชัชวีร์ และทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ สามารถเปลี่ยนกรุงเทพเราทำได้อย่างแน่นอน” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว

พร้อมกับให้กล่าวถึงผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม จังหวัดชุมพร เขต 1 และจังหวัดสงขลา เขต 6 ว่า ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบ นายอิสรพงษ์ มากอำไพ เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ในนามพรรคประชาธิปัตย์ เขต 1 จังหวัดชุมพร ซึ่งนายอิสรพงษ์ จบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปริญญาโท Coventry university ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีประสบการณ์ทางการเมือง เคยเป็นเลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร และเป็นผู้ช่วย ส.ส. นายจุมพล จุลใส จังหวัดชุมพร 

 

“เฉลิมชัย” โชว์ผลงานนโยบายสมุนไพร! ปั้นเกษตรกร 3 แสนราย ดันแปลงใหญ่ชู!! “สมุนไพรอินทรีย์” ลุยตลาด 50,000ล้าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าววันนี้ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน กำหนดนโยบายส่งเสริมสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต(Future Food Future Crop) เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพทางเลือกและมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมทั้งสนับสนุนการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและทุกภาคีภาคส่วนถือเป็นหนึ่งในเกษตรมูลค่าสูงโดยส่งเสริมสนับสนุนตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา(R&D)ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำการตลาด

จากมาตรการการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร ทำให้มีความคืบหน้าอย่างมากโดยในปัจจุบันมีเกษตรกร 369,353 รายขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านพืชสมุนไพร เครื่องเทศ พืชสมุนไพรที่เป็นพืชอาหาร (รวม 82 ชนิด) ดำเนินการปลูกพืชสมุนไพรบนพื้นที่รวมประมาณ 1.15 ล้านไร่  แบ่งออกเป็น การปลูกพืชสมุนไพรให้ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้า GAP และมาตรฐานพืชสมุนไพรอื่น ๆ กว่า 6.4 หมื่นไร่ และมีกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่พืชสมุนไพร ตั้งแต่ปี 2559 – 2564 จำนวนทั้งสิ้น 37 แปลง จำนวนเกษตรกร 1,565 ราย พื้นที่ 7,913 ไร่ ใน 22 จังหวัด และในปี 2565 ได้มีกลุ่มเกษตรกรขอเข้าร่วมโครงการอีกจำนวน 15 กลุ่ม กำลังอยู่ในขั้นตอนขอรับรองแปลง และกระทรวงฯ มีโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพรปี 2565 มีเป้าหมายเกษตรกร จำนวน 1,110 ราย ในพื้นที่ 37 จังหวัด และจัดทำแปลงขยายและรวบรวมพันธุ์สมุนไพรในศูนย์ปฏิบัติการ จำนวน 16 ศูนย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวัตถุดิบ ส่งเสริมการผลิตสมุนไพร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามแนวเกษตรปลอดภัย สร้างรายได้แก่เกษตรกรและเพิ่มมูลค่าการส่งออกอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ทั้งนี้ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งกลับมาขยายตัวอีกครั้งตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไปด้วยอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 4% ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิด Covid-19 ที่มูลค่าตลาดประมาณ 54,500 ล้านบาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการยกร่างแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อร่วมกันพัฒนาสมุนไพรให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพและระบบเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรให้ไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงในทุกมิติ โดยใช้ตลาดเป็นตัวนาการผลิต เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินการวิจัยตั้งแต่การกำหนดโจทย์วิจัยที่ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ตาม 10 ภารกิจหลักในการพัฒนาตามแผนด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ พ.ศ. 2563 –2565 ประกอบด้วย

1. การปลูกสมุนไพรที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งดำเนินการได้ 64,225 ไร่ จาก 82 ชนิดพืช

2. กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ได้รับการส่งเสริมการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว ณ สถานที่ปลูกและการผลิตผลิตภัณฑ์ และสารสกัดอย่างง่ายในระดับชุมชน จำนวน 92 แห่ง

3. กำหนดมาตรฐาน GAP หรือมาตรฐานพืชสมุนไพรตามกลุ่มที่ใช้ของพืช จำนวน 5 ฉบับ

4. จัดทำแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกพืชสมุนไพร (Land Suitability) 24 ชนิด

5. พัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร (Land Use) 1 ฐานข้อมูล

6. ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 17025 ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ จำนวน 8 แห่ง

7. พัฒนาระบบตลาดกลาง 1 แห่ง และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 1แห่ง (E-Market)

8. กำหนดมาตรฐานสมุนไพรในตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) จำนวน 109 รายการ

9. พัฒนาฐานข้อมูลพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ของประเทศไทย (National Database of Thai Plants and Traditional Knowledge) 1 ฐานข้อมูล

10. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชสมุนไพรและเทคโนโลยีเพื่อผลิตวัตถุดิบ 57 เรื่อง

 

“เฉลิมชัย” เร่งรับมือผลไม้ฤดูการผลิตปี 65 ล่วงหน้า! มอบ “อลงกรณ์” ลุยเหนือติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดพร้อมตรวจด่านเชียงแสน - เชียงของ เผย! ‘ไทย’ ได้เปรียบดุลการค้าผักผลไม้จีนกว่า 3 เท่าตัว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดมาตรการที่เข้มงวดโดยเฉพาะด่านนำเข้าจีน และส่งผลต่อการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรผลไม้ของไทย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการและบริหารการจัดการผลไม้ (Fruit Board) มีความเป็นห่วงสถานการณ์และได้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กระทบต่อเกษตรกรและภาคการเกษตรของไทย จึงได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ ลงพื้นที่ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่เชียงใหม่ ลำพูนและเชียงรายระหว่างวันที่ 11-15 ม.ค.

โดยจะติดตามความคืบหน้าในหลายด้านได้แก่การบริหารจัดการผลไม้ของภาคเหนือ ฤดูการผลิตปี 2565(ลำไย) ความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.)ภาคเหนือ การขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center :AIC) จังหวัดเชียงใหม่ลำพูนและเชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมด่านเชียงของและด่านเชียงแสนในการส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรทางบกและทางเรือลำน้ำโขง โดยเฉพาะมาตรการ SPS และโควิดฟรี(Covid Free) และแนวทางแก้ไขปัญหาการขนส่งผ่านด่านบ่อเตนและด่านโมฮ่าน

การประชุมหารือกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนากาแฟอาราบิก้า(Arabica) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน การบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานภาคเหนือตอนบนและการขับเคลื่อนโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนภาคเหนือ เพื่อพัฒนาการเกษตรในเมืองและส่งเสริมเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อแก้ปัญหา pm.2.5และลดก๊าซเรือนกระจกตอบโจทย์ Climate Change ตามแนวทาง COP26

 

 

เดินหน้า “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ปี 2565 “อลงกรณ์” ลุยภาคเหนือ ตั้งบอร์ดโครงการประกันราคาลำไยรูปแบบใหม่ พร้อมมอบศูนย์ AIC พัฒนาเพิ่มมูลค่าครบวงจร เร่งปฏิรูปผลไม้ไทยเชื่อมแผน 13 ขับเคลื่อนสู่ “เกษตรมูลค่าสูง”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดลำพูน เพื่อติดตามงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้บริหาร ข้าราชการ และหน่วยงานภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ

ในการนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมภาคีเครือข่ายเกษตรกรภาครัฐและเอกชน เพื่อการขับเคลื่อนการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูและประชุมทางไกลตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายภาษเดช  หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้แทนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) จังหวัดลำพูน และผู้แทนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกรมการส่งเสริมค้าระหว่างประเทศ นายพงษ์ทร วิเศษสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานและ นายอมรพันธุ์ พูลสวัสดิ์ เลขานุการ คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือ (กร.กอ.ภาคเหนือ) และหัวหน้าหน่วยราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนด้านการขนส่ง ตัวแทนผู้ประกอบการ(ล้ง)ในจังหวัดลำพูน  ตัวแทนเกษตรกรแปลงใหญ่และศพก. และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมี นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ

ที่ประชุมได้รับทราบ (1) รายงานการคาดการณ์แนวโน้มผลผลิตภาคเหนือ ปี 2565 (2) รายงานผลการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ ปี 2564 และปัญหาอุปสรรค และที่ประชุมได้ร่วมหารือพิจารณาในแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ ระดับพื้นที่ (AREA BASED)

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กล่าวว่า ภายใต้โมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตและ “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการผลไม้ในสภาวะวิกฤติโควิด-19 โดยเน้นร่วมบูรณาการทุกภาคส่วน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อยืดอายุผลผลิต และแปรรูปยกระดับสู่อุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพิ่มมูลค่ารายได้ให้มากขึ้น ซึ่งในปี 2565 และปีต่อๆ ไปได้วางเป้าหมายพลิกโฉมภาคเกษตรไทยมุ่งเน้นการทำเกษตรมูลค่าสูง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 -2570) ในมิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมายหมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตร และเกษตรมูลค่าสูง มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานของภาคเกษตร และการสนับสนุนบทบาทของผู้ประกอบการเกษตร โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์AICภาคเหนือและอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือเร่งวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้

นายอลงกรณ์กล่าวว่าจังหวัดลำพูนเป็นศูนย์กลางลำไยภาคเหนือและเป็นเมืองหลวงลำไยโลก มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 250,000 ไร่ เป็นแหล่งผลิตสำคัญในภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน จากสถานการณ์การผลิต ปี 2560 – 2564 เนื้อที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1,451,714 ไร่ ในปี 2560 เป็น 1,655,036 ไร่ ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1,200,804 ตัน ในปี 2560 เป็น 1,437,740 ตัน ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 ต่อปี และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 827 กิโลกรัมในปี 2560 เป็น 869 กิโลกรัม ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.004 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริมสนับสนุนของรัฐบาล อย่างไรก็ตามเรายังเผชิญปัญหาราคาลำไยตกต่ำในบางปีบางฤดูเป็นปัญหาซ้ำซากตลอดมาจึงให้ดำเนินการโครงการประกันราคาลำไยขั้นต่ำบนความร่วมมือระหว่างภาคเกษตรกรและภาคเอกชนโดยการสนับสนุนของภาครัฐเป็นโมเดลใหม่เพื่อให้ทุกภาคส่วนเป็นหุ้นส่วนกัน(Partnership model)แบบwin-winทุกฝ่ายเช่นที่กำลังดำเนินการกับอุตสาหกรรมกุ้งโดยบอร์ดกุ้งซึ่งภาคเอกชนตกลงกับเกษตรกรในการประกันราคาขั้นต่ำ โดยจะมีการประชุมภายใน2สัปดาห์หากเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อไปจะขยายผลกับทุกกลุ่มสินค้าเกษตรต่อไป

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามสถานการณ์ผลผลิตลำไยในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการรองรับผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดล่วงหน้าตามแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไยปี 2565 เช่น โครงการกระจายลำไยออกนอกแหล่งผลิต จังหวัดลำพูนโดย คพจ. ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเตรียมการรองรับการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากและราคาผลผลิตตกต่ำ เป้าหมาย การสนับสนุนค่าบริหารจัดการกระจายผลผลิตลำไยออกนอกแหล่งผลิต การรับซื้อในราคานำตลาดตลอดจนแนวทางการบริการจัดการ ตั้งแต่ต้นทาง คือ เน้นตลาดนำการผลิต การลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพมาตรฐานเพิ่มผลิตภาพการผลิต การทำลำไยนอกฤดูการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนายกระดับมาตรฐานเน้นการใช้เทคโนโลยีแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้หลากหลายตามความต้องการของตลาด การซื้อขายล่วงหน้าระบบPre-order การบริการจัดการระบบขนส่งและเพิ่มระบบ Cold Chain Logistics

พลิกโฉมครั้งใหญ่ !!! กรกอ.มีมติ สนับสนุนโครงการประกันราคาสินค้าเกษตร มอบ ”อลงกรณ์” นำทีมยกระดับ พร้อมเห็นชอบโครงการนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร 9 กลุ่มจ.แรก หวังสร้างฐาน สู่หมุดหมายเกษตรมูลค่าสูง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กร.กอ.) เปิดเผยวันนี้(15ม.ค.)ภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/ 2565 ผ่านการประชุมทางไกล zoom cloud meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยนายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิชัย ไตรสุรัตน์ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทั้ง5ภาค นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายวินิต อิทธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และนายพงศ์ไท ไทโยธิน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ 

โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า กรกอ.มีมติสนับสนุนโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรโมเดลใหม่โดยภาคเอกชนและให้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการมีเป้าหมายประกันราคาสินค้าเกษตรสำหรับภาคอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อให้ราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้แนวคิดความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่และจะเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของภาคเกษตรของเรา ภายใต้5ยุทธศาสตร์ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ

โดยการสนับสนุนของรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีพาณิชย์

“ก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมกุ้งตลอดห่วงโซ่ธุรกิจร่วมกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งและกรมประมงโดยกระทรวงเกษตรฯ.เริ่มทดลองโครงการประกันราคากุ้งเฟสแรกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และขณะนี้กำลังขยายผลโครงการไปกลุ่มผลไม้เศรษฐกิจภายใต้ฟรุ้ทบอร์ด ในอดีตที่ผ่านมาภาครัฐใช้เงินงบประมาณอุดหนุนสินค้าเกษตรกว่าแสนล้านต่อปีขณะที่ผลิตภาพการผลิตภาคเกษตรยังเป็นปัญหาเช่นเดียวกับราคาสินค้าเกษตรก็ไม่มีความแน่นอน การเอาเปรียบทางการค้ากับเกษตรกรยังมีอยู่ ถ้าโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรโดยภาคเอกชนสำเร็จ ต่อไปภาครัฐจะได้ใช้งบประมาณไปทุ่มเทกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์ การพัฒนาผลิตภาพ(Productivity)ทั้งระบบ การพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การเพิ่มทักษะ(Reskill&Upskill)บุคลากรภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการภาคเกษตรกร และการโปรโมทสินค้าเกษตรอาหารของไทยในต่างประเทศ

โครงการนี้ไม่ง่ายเลยแต่มีความเป็นไปได้ขึ้นกับความร่วมมือแบบหุ้นส่วนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและความกล้าที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ เราต้องช่วยกันปลดกระดุมแล้วกลัดใหม่ สร้างคานงัดใหม่ ๆในการอัปเกรดประเทศไทยของเรา” นายอลงกรณ์กล่าว

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบโครงการนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร 9 กลุ่มจังหวัดแรกหวังสร้างฐานอุตสาหกรรมเกษตรสู่หมุดหมายเกษตรมูลค่าสูงและ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่(S-Curve) รวมทั้งรับทราบวาระต่าง ๆ เช่น 

(1) บันทึกความร่วมมือการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังความร้อนจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 

(2) ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระดับภาค (กร.กอ.ระดับภาค) 

(2.1) ความก้าวหน้าภายใต้คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออก ได้เสนอกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารภาคตะวันออก ปี 2566 -2570  มีเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตการเกษตรและเชื่อมโยงตลาดในระดับภาคตะวันออกให้เป็นรูปธรรมตามนโยบายตลาดนำการผลิต 

(2.2) ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าเกษตรที่สำคัญตามศักยภาพแบบครบวงจร ในพื้นที่ 5 กลุ่มจังหวัด ซึ่งได้กำหนดสินค้าแบ่งออกเป็น (1) สินค้าหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ผัก โค และแพะ และ (2) สินค้ากลุ่มใหม่ อาทิ แมลงเศรษฐกิจ(จิ้งหรีด) สมุนไพร กัญชาและใบกระท่อม

ที่ประชุมได้พิจารณา “แนวทางการดำเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของกลุ่มจังหวัดนำร่อง” และมีมติ ดังนี้ 

>> (1) เห็นชอบให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อหารือแนวทางการจัดทำมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ของกลุ่มจังหวัดที่มีความพร้อม 9 กลุ่มจังหวัด  

>> (2) มอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯระดับภาค และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มเติมรายละเอียดแนวทางการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของกลุ่มจังหวัดที่มีความพร้อมบางส่วน และกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมให้มีสอดคล้องกันในแนวทางการส่งเสริม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top