Sunday, 19 May 2024
อานนท์ศักดิ์วรวิชญ์

‘อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์’ ย้ำชัด เชื่อผลสำรวจจาก ‘นิด้าโพลล์’ เท่านั้น ชี้ เป็นการสำรวจที่ใช้การสุ่มตัวอย่างที่มีมาตรฐาน

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า Strategic vote ผมไม่ได้ฟังเสียงใคร ผมฟังผลโพลล์ เพียงอันเดียวคือนิด้าโพลล์ ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างที่มีมาตรฐานคือ random digit dial สร้าง master sample แล้วสุ่มอย่างง่ายจาก master sample อีกครั้งแล้วโทรเข้าโทรศัพท์มือถือ สำรวจข้อมูล โพลล์อื่นผมไม่คิดว่ามี sampling plan ที่ดีเท่านี้

‘ดร.อานนท์’ ยัน เพลง ‘พ่อมึง’ ไม่มีอะไร แค่รุ่นใหญ่สั่งสอน ‘เด็กขนอุย’ งง ทำไมต้องดิ้น

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์นิด้า สงสัยเหตุใด 3 กีบของขึ้น หลังฟังเพลง ‘พ่อมึง’ ของ ‘ไทยเทเนียม’ ชี้เพลงก็ไม่มีอะไร แค่รุ่นใหญ่สั่งสอนเด็กขนอุย อย่าคิดว่าแน่นักหนา

จากกรณี ‘ไทยเทเนียม’ ปล่อยเพลงใหม่ออกมากับเพลงที่มีชื่อว่า ‘พ่อมึง’ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ซึ่งเป็นซิงเกิลล่าสุดที่สมาชิก ขัน, เดย์, เวย์ กลับมารวมตัวกันทำเพลงอีกครั้ง หลังจากประกาศแยกวง ปิดตำนานไทยเทเนียมไปแล้วเมื่อปีก่อน แต่หลังจากที่แฟนๆ ได้ฟังเพลง พ่อมึง ทางยูทูบช่อง THAITANIUM แล้วล้วนต่างวิพากษ์วิจารณ์กันถ้วนหน้า เช่น เนื้อเพลงไม่สร้างสรรค์เลย เอาจริงๆ พันช์ไลน์ก็ไม่คมเพราะไม่มีใครเขาไปดิสคุณ อันนี้เหมือนคุณอยู่ดีๆ ก็ไปดิสเหมารวมเขาโดยการเหยียดเจเนอเรชัน โดยส่วนใหญ่กลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์ก็คือกลุ่มสามกีบ

‘ดร.อานนท์’ กังขา ‘แพทย์ชนบท’ อ้างชื่อหมอปั่นการเมือง ท้า!! เปิดรายชื่อสมาชิก - คนดูแลเพจ - สถานะการเงิน

(14 ก.พ. 66) ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า

ชมรมแพทย์ชนบท เป็นชมรมที่น่าจะเถื่อน ไม่เข้าข่ายชมรมปกติทั่วไป อาจจะเป็นชมรมของคนบางพวกบางกลุ่มเพียงไม่กี่คน แล้วอ้างชนบท เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

ขอท้าให้ประธานชมรมแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน

1. จงเปิดเผยรายนามกรรมการทั้งหมดของชมรมแพทย์ชนบท ออกเปิดเผยกับสื่อมวลชน ให้ชัดเจนว่าใคร ทำตำแหน่งอะไร ในชมรมบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบสี่ปีล่าสุดนี้

2. จงเปิดเผยรายชื่อ Facebook page administrator ว่าเป็นแพทย์ชนบทตัวจริงเสียงจริง ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉานอ้างชนบทเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

ไขข้อข้องใจ ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ มุมมองอีกด้านที่คนไทยทุกคนต้องรู้

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ตำแหน่ง อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ….

ที่ผ่านมา สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกโจมตี ใส่ร้าย บิดเบือนเป็นอย่างมาก และทำเป็นกระบวนการ ไม่มีอะไรที่จะสยบความบิดเบือน การใส่ร้ายป้ายสีได้ดีเท่าการเอาความจริงเข้ามานำเสนอ เพื่อจะได้ทุบกะลาให้แตกออกมา และเมื่อความจริงปรากฏ ก็จะทำให้คนตาสว่างและเข้าใจในข้อเท็จจริงได้

สถาบันพระมหากษัตริย์ : ความจริงที่ถูกบิดเบือน
ผศ.ดร.อานนท์ ได้กล่าวว่า ตนก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าทำไมชอบใส่ร้ายเรื่องเงินทอง แต่มันอาจจะเป็นเรื่องของความบาดใจ เพราะบางคนที่ไม่มีก็จะอิจฉาคนที่มีมากกว่า ก็เลยรู้สึกว่า เรื่องที่โดนบิดเบือนเยอะที่สุดก็คือ เรื่อง ‘ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ กับ ‘ภาษีกู’ ที่เป็นประเด็นหลัก

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ต้นกำเนิดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาจาก ‘เงินถุงแดง’ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงค้าขาย และเอาเงินเก็บไว้ที่ข้างพระแท่นบรรทม จึงเรียกว่า ‘พระคลังข้างที่’ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านได้มีการลงทุนปล่อยกู้ คนก็เอาที่ดินมาจำนอง ที่ดินงาม ๆ ในกรุงเทพฯ เยอะแยะมากมาย ถูกจำนองและถูกยึด เพราะว่าไม่ใช้หนี้ และได้มีการลงทุนในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ทรงลงทุนในปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งหุ้นปูนซิเมนต์ไทย พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ท่านทรงถือหุ้นอยู่ประมาณ 25% และหุ้นปูนซีเมนต์ไทย เป็นหุ้นที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 เท่า นับตั้งแต่วันที่เข้าตลาด เพราะฉะนั้น ลองคิดดูว่า มันงอกเงยขึ้นมากี่เท่า ที่ดินแปลงงาม ๆ ในกรุงเทพฯ บวกกับหุ้นปูนซีเมนต์ไทย หรือหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ด้วยก็ตาม จึงทำให้ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์งอกเงยจากการลงทุนขึ้นมามากมาย

ทรัพย์สินส่วนพระองค์ 
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เป็นของราชวงศ์จักรี หมายความว่าจะสืบทอดต่อไปกับพระเจ้าแผ่นดินในอนาคต คนละส่วนกับทรัพย์สินของแผ่นดิน เพราะทรัพย์สินของแผ่นดิน อยู่ที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ หรือกระทรวงการคลัง แยกขาดจากกัน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จากจตุสดมภ์ 4 เวียง วัง คลัง นา และเปลี่ยนเป็น 12 กระทรวง

กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก
เมื่อถามว่า พระเจ้าแผ่นดินจะร่ำรวยไม่ได้หรือ ในเมื่อบรรพบุรุษค้าขายมาเก่ง เก็บเงินเก่ง ลงทุนเก่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่ว่าการที่พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชทรัพย์ จริง ๆ ก็เป็นของที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง คือ สามารถพระราชทานช่วยเหลือประชาชนได้ในยามที่ประชาชนเดือดร้อนลำบาก ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ทรงซื้อเครื่องช่วยหายใจไปเป็นหลายร้อยเครื่อง ถ้าไม่มีเครื่องช่วยหายใจที่ซื้อพระราชทานให้ โควิดจะมีคนตายมากกว่านี้

พระตำหนักที่เยอรมัน
นั่นก็เป็นเงินส่วนพระองค์ ที่ทรงซื้อไว้ตั้งแต่ยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ซื้อไว้ตอนที่ถูกมาก ในเมืองทุทซิง ซึ่งอยู่ในทำเลดีมาก และติดกับทะเลสาบ และส่งเสียภาษีที่ดินอย่างถูกต้องมาโดยตลอด แต่ระบบเยอรมันนั่น เป็นระบบที่แปลก คือ ปีภาษีจะครบทุก 4 ปี คราวนี้พอ 3 ปี ยังไม่ได้จ่าย ก็เลยมีคนบอกว่า ท่านไม่จ่ายภาษี จริง ๆ คือมันยังไม่ครบกำหนดที่จะต้องจ่าย นี่คือพวกหาเรื่อง ก็พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชทรัพย์ตกทอด เนื่องจากราชสกุลมหิดล มีทรัพย์สินส่วนพระองค์ค่อนข้างเยอะ เพราะสมเด็จพระศรีสวรินธราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระมเหสีที่ประหยัด ขยัน อดออม และฉลาดในการค้าขาย ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ทอผ้าขายในพระราชวังสวนดุสิต และโปรดทรงทำนา และโปรดทำโรงสีข้าว ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านสัมมากรทั้งหมู่บ้าน เป็นที่ดินของสมเด็จพระพันวัสสาฯ เป็นที่นาเก่าของสมเด็จพระพันวัสสาฯ และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงเห็นว่า อยากให้ประชาชน คนที่มีสัมมาชีพ ได้มีสัมมาการอยู่อาศัย จึงได้พระราชทานมาจัดสรรเป็น ‘หมู่บ้านสัมมากร’ เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ทั้งนั้น 

เปลี่ยนแปลงเพื่อประชาชน 
พระองค์ท่านทรงเปลี่ยนหลายอย่าง อย่างที่ 1 คือ พระราชทานทรัพย์สินที่ดินจำนวนมากให้กับหน่วยราชการ เช่นตรงซอยมหาดเล็กหลวง 1-3 ตรงราชดำริ มูลค่านับแสนล้าน ทรงพระราชทานให้วชิราวุธวิทยาลัย ค่ายนเรศวรของตำรวจตระเวนชายแดน ก็คือ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน กระทั่งสำนักข่าวกรองแห่งชาติ หรือว่ากรมตำรวจที่วังปารุสก์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ดินพระราชทานจำนวนมากมายมหาศาล ที่เดิมเป็นที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และหน่วยราชการไปขอใช้ ท่านก็ทรงพระราชทานโฉนดให้หน่วยราชการนั้น อย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และหน่วยราชการอื่น ๆ กระทรวงศึกษาธิการ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทั้งกองก็ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังสวนดุสิต เพราะพระราชทานที่ดินให้ และอย่างทรัพย์สินแปลงใหญ่ ที่สุดในกรุงเทพฯ ตอนนี้ ก็กลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เหมือนกัน นั่นก็คือ สนามม้านางเลิ้ง

แก้กฎหมายให้พระมหากษัตริย์ต้องเสียภาษี
ทรงแก้กฎหมายให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต้องเสียภาษีเหมือนกับทรัพย์สินประชาชน เพราะว่า พ.ร.บ. ทรัพย์สิน 2491 ยกเว้นภาษี พระองค์ท่านทรงไม่เห็นด้วย แต่นั่นก็เป็น พ.ร.บ. ที่ทำไว้ตั้งแต่สมัย นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งแต่ละปีก็ทรงเสียภาษีเป็นจำนวนมาก

‘ดร.อานนท์’ รวบรวมเสียงสะท้อน จากนักเรียนเตรียมพัฒน์ ถึงพฤติกรรมของ ‘หยก’

วันที่ 23 มิ.ย.2566 - ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีน้องหยก ธนลภย์ อายุ 15 ปีว่า ผมให้น้องศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลงไปถามน้องนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 และชั้นอื่น ทั้งที่เรียนห้องเดียวกันกับหยกและต่างห้อง น้องๆ ได้แสดงความคิดเห็นมาดังนี้ ลองฟังเสียงจากน้องๆ เตรียมพัฒน์กันนะครับ ผมว่าน่าสนใจมากครับ
ความเห็นน้องๆในโรงเรียน

-เอือมระอากับพฤติกรรมของน้อง และกลุ่มที่อยู่หน้าโรงเรียน
-เพื่อนๆในห้องไม่คุยกับหยก
-บรรยากาศการเรียนการสอน อาจารย์จะตักเตือน ตำหนิ เพราะน้องทำผิดกฎโรงเรียน มันทำให้นักเรียนคนอื่นเสียเวลาเรียน
เพื่อนในห้องจะรู้สึกว่าทำไมต้องมาเสียเวลากับคนแบบนี้
-เพื่อนๆในห้องแยกโต๊ะหยกออกไปนั่งแยกคนเดียว
-มีคนเตือนหยกแต่หยกไม่ฟัง
-ทำให้เดือดร้อนกับคนที่เดินเข้ามาในโรงเรียน นักเรียนบางคนรู้สึกกลัว หวาดระแวงกับบุคคลที่อยู่หน้าโรงเรียน
-นักเรียนหลายคนรู้สึกไม่โอเคกับการที่มีนักข่าวมารอหน้าโรงเรียนเต็มไปหมด
-พ่อแม่หลายคนเป็นห่วงลูกระหว่างการเดินเข้า-ออกภายในโรงเรียน
-อยากให้โรงเรียนtake action
-รู้สึกไม่พอใจที่มาเหยียดหยามยาม ครู และบุคลากรในโรงเรียน
-เรามีสิทธิที่เราจะแสดงออก มีความคิดที่แปลกใหม่ในปัจจุบัน เรามีสิทธิที่จะผลักดันทุกเรื่องให้เกิดขึ้นได้แต่ ในการผลักดันนั้น มันจะต้องมองทุกๆคนในสังคมการที่คนรุ่นใหม่บางคนมองว่าคนรุ่นเก่ามีความคิดที่โบราณ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เขาลืมคิดไปคือแล้วคนโบราณเหล่านั้นไม่ใช่คนที่อยู่ในประเทศไทยหรอ? ไม่ใช่คนที่มีสิทธิเหมือนกับพวกคุณหรอ เด็กรุ่นใหม่บางคนยังไม่ตรรหนักพอที่จะปรับเปลี่ยนได้ คนรุ่นใหม่ยังคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างนึงเราควรจะมองทุกคนในสังคมว่าเขาเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเขาก็ยังมีชีวืตอยู่ มีสิทธิมีเสียงเหมือนกัน
-การยกเลิกเครื่องแต่งกาย ยกเลิกทรงผม ความคิดส่วนตัวผม ผมเห็นด้วยนะ แต่มันจะต้องมาในกระบวนการที่ถูกต้อง ถูกจุดของมัน นี่มันถึงจะทำให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้ รู้สึกว่าน้องหยกทำแบบนี้มันกลายเป็นว่าจากเดิมมันเหมือนจะดี กลายเป็นส่งผลเสียให้กับโรงเรียน จนมันลามไปเรื่อยๆ ไม่สามารถหยุดคนพวกนี้ได้แล้ว ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะช่วยหยุดเหตุการณ์พวกนี้ได้อย่างไร ฝากความหวังไว้กับโรงเรียน
-ตัวแทนนักเรียนบอกจะมีกิจกรรมคอนเสิร์ตในโรงเรียน ตั้งใจประสานงานกับทางโรงเรียนและผู้จัด เพื่อให้กระทบตารางเรียนน้อยที่สุด เตรียมจัดคอนเสริ์ตมานาน แต่ไมได้จัดเพราะมีเหตุการณ์แบบนี้ กลัวว่าในอนาคตงานปัจฉิมนิเทศ หรืองานกิจกรรมต่างๆถ้าเกิดจะเชิญศิลปินมา หรือขอสปอนเซอร์จากบริษัทต่างๆ เขาจะมาร่วมกับเราไหม ในเมื่อโรงเรียนเกิดข่าวเสียหายแบบนี้ จากกลุ่มคนพวกนี้

'เจ๊จุก' ดักคอ!! 'หยก-บุ้งทะลุวัง' คงไม่ป่วนกีฬาสีเตรียมพัฒน์ฯ ด้าน 'ดร.อานนท์' สมทบ!! "น้องหยกจะทนกลับไปเรียนได้หรือ?"

เมื่อวานนี้ (17 พ.ย. 66) ทวิตเตอร์ (X) ของเจ๊จุก คลองสาม โพสต์รูปและข้อความกรณีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จัดงานกีฬาสีภายในซึ่งบรรยากาศงานเต็มไปด้วยความสามัคคีสนุกสนาน โดยสแตนด์เชียร์ขึ้นป้าย 'รักชาติ ผดุงศาสน์ เทิดกษัตริย์' ว่า...

"วันนี้โรงเรียนเตรียมพัฒน์ มีจัดงานกีฬาสีภายใน บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน สามัคคี รื่นเริง น่ารัก สมวัย

พรุ่งนี้มีแข่งอีก 1 วัน ได้แต่หวังว่า สมยศโมเดลลิ่ง บุ้งและหยก #ทะลุวัง และ #นักเรียนเลว คงจะไม่พากันไปเxือกเรื่องของโรงเรียนเขาอีกนะคะ"

และล่าสุด วันที่ 18 พ.ย. 66 ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich ระบุข้อความว่า...

"น้องหยกจะทนกลับไปเรียนได้หรือ????"

'ดร.อานนท์' ซัด!! 'สส.ก้าวไกล' วิจารณ์ผังเมือง กทม.แบบรู้ไม่จริง คิดจะอวดภูมิทำผังเมืองใหม่ แต่เป้ามุ่งแซะลามสถาบันเบื้องสูง

(11 ม.ค.67) จากกรณีที่ สส.แบงค์-ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ เขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล กล่าวถึงคณะกรรมการผังเมือง และคนร่างผังเมืองว่า มีประชาชนหลายล้านคนในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบจากผังเมืองของท่าน ไม่ว่าจะแง่บวกหรือลบ และพวกเขาควรมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ผังเมืองที่ท่านร่างชัดเจน

สำหรับผมในฐานะประชาชนกรุงเทพฯ คนหนึ่ง เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของผังเมืองที่ผมต้องการเห็น คือต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และต้องไม่กดทับสิทธิประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยไม่มีมาตรการรองรับ แต่ผังเมืองที่บังคับใช้อยู่ สำหรับผมมันเอื้อประโยชน์อย่างชัดเจน

ด้วยความรู้ของผู้ร่างผังเมือง ท่านต้องทราบดีครับว่าอนาคตของเมืองจะโตไปในทิศทางไหน คุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละพื้นที่อยู่บนปลายปากกาของท่าน ท่านจะทำให้คนบางคนได้รับประโยชน์มากขึ้น หรือเสียประโยชน์ ก็อยู่ที่ผังที่ท่านร่าง นี่คืออำนาจที่มหาศาล และมีมูลค่ามาก เพราะงั้นท่านมีหน้าที่ต้องระมัดระวัง และรักษาผลประโยชน์ให้คนทุกกลุ่ม แต่สิ่งที่ผมผิดหวังคือ ท่านไม่เคยสื่อสารให้ประชาชนทราบเลย ตรงไหนจะเจริญมากหรือเจริญน้อย

เมื่อผมพูดว่าผังเมืองเอื้อนายทุน หลายท่านออกมาโวยวาย รับไม่ได้กับคำพูดนี้ แต่ในทางกลับกัน การให้ผังแดงของท่านไม่ว่าจะทางทฤษฎีหรือปฏิบัติ ใครก็รู้ครับว่า เป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าที่ดินของเจ้าของที่แปลงนั้น ๆ เอื้อประโยชน์ให้ผู้ได้รับผังสีแดงทันที แต่ท่านพูดเหมือนว่าการให้ผังแดงเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้เป็นการเอื้อกลุ่มทุน

ท่านไม่เรียกร้องมาตรการว่า คนได้ผังแดง หรือผัง FAR สูง ไม่เรียกร้องเรื่อง ‘การเก็บภาษีลาภลอย (windfall tax)’ จากการได้ FAR สูงกว่าคนอื่น หรือเรียกร้องให้มีมาตรการต้องทำอะไรเพื่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งต่างประเทศเขาเก็บภาษีตัวนี้กันเป็นเรื่องปกติ แต่ในไทยไม่มีมาตรการเหล่านี้ ผู้ร่างผังเมืองทราบดีว่าครับว่า กลไกเหล่านี้ ใช้ลดการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนได้ แต่ที่แปลกคือ คณะกรรมการผังเมือง และคนร่างผังเมืองที่มีผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน หลากหลายมิติ ไม่เรียกร้องเรื่องนี้เลย

อีกด้านหนึ่ง การยัดผังสีเขียว และเขียวลาย ซึ่งรอนสิทธิการพัฒนาพื้นที่ของคนตะวันตก และตะวันออกเป็นล้านคน ต้องเป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่เกษตรห้ามพัฒนาท่านกลับไม่ออกมาเรียกร้อง ‘เงินชดเชย เงินเยียวยา หรือการยกเว้นภาษีที่ดินให้คนผังเขียว’ และท่านได้บอกประชาชนไหมครับว่า ผงที่ท่านวางมือคือต้องการให้ตะวันออกและตะวันตก เจริญช้ากว่าใจกลางเมือง เพราะผังที่ท่านวางจะกดการเจริญเติบโต ไม่เกิดการลงทุนในบริเวณดังกล่าว ทำให้คนเหล่านี้ต้องเข้าไปทำงานในเมืองแทน หลายคนหวังว่าความเจริญจะขยายมาถึงพวกเขา จะได้มีงานทำใกล้บ้าน จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่มันช้ามากเพราะผังเมืองแทบไม่สนับสนุนให้ความเจริญไปถึงพวกเขา

ซึ่งผมไม่เห็นว่าท่านจะสื่อสารผลกระทบนี้ให้กับพวกเขา และไม่เรียกร้องสิทธิให้พวกเขาเลย ท่านนิ่งเฉยเสียด้วยซ้ำ ไม่ Action ไม่โวยวายเหมือนที่ท่านโวยวายเรื่องผังเอื้อนายทุน นี่คือสิ่งที่ผมผิดหวังมาก ๆ

ผมย้ำท่านนะครับ ในฐานะผู้ที่อยู่เบื้องหลังผังเมือง ซึ่งเป็น ‘สารตั้งต้น’ ของปัญหาเพิ่มมูลค่าที่ดินของนายทุนที่ดินไข่แดง ท่านได้พยายามลดการเอื้อประโยชน์เหล่านี้หรือไม่ ท่านคงโยนว่าเป็นเรื่องของหน่วยงานอื่นในการไปออกมาตรการ แต่ผมต้องย้ำท่านอีกครั้งนะครับว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของท่านโดยตรงที่ต้องรักษาผลประโยชน์จากผังสีที่ท่านระบายด้วยมือท่านเอง และท่านควรต้องเรียกร้อง และป้องกันอย่างเต็มความสามารถ เพราะ ‘ไม่มีใครเข้าใจผังเมืองที่ท่านร่างและอนุมัติได้ดีเท่าตัวท่านเอง’

ปล. ผมคิดว่าเราไม่ควรไปว่า อ.ชัชชาติ เกี่ยวกับตัวร่างนะครับ เพราะว่าท่านไม่ได้เป็นคนร่าง และไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการผังเมือง แต่ในฐานะที่ท่านเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เก่า ผมหวังว่าท่านจะช่วยออกมาตรการ ลดการเอื้อนายทุน และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบครับ ส่วนถ้าจะวิจารณ์เรื่องการประชาสัมพันธ์ และกระบวนการรับฟังความเห็นของกทม. อันนี้เข้าใจได้ครับ ผมก็ไม่ happy ครับ

ต่อมาทางด้าน ‘เบญจมินทร์ ปันสน สส.พรรคก้าวไกล’ ว่าด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ ‘ผังเมืองเอื้อกลุ่มทุน’

“ทำไมชนชั้นนำสยาม (สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ขุนนาง และคณบดี) มีที่ดินมากมาย ใจกลางเมือง กรณีศึกษา: ตึกแถวในย่าน เจริญกรุง”

ล่าสุดทางด้าน ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า อันนี้ผมว่าวิจารณ์แบบรู้ไม่จริง กรุงเทพฯ ในอดีตไม่ได้มีการวางผังเมืองแต่อย่างใด กรุงเทพฯ เติบโตแบบไร้การวางแผน ไร้ทิศทางมาก แล้วที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันนั้นได้มามากในสมัยรัชกาลที่ห้า ก่อนที่จะมีการวางผังเมืองเสียอีก สมัยนั้นกรุงเทพฯ ยังเป็นเวนิสตะวันออกไม่ค่อยมีถนนเสียด้วยซ้ำ

ที่พระคลังข้างที่ได้ที่ดินมาเยอะก็เพราะรับจำนองที่ดิน ไม่ได้ไปกว้านซื้อเองเสียหน่อย แต่แน่นอนว่านายทุนพ่อค้าจะซื้อที่ก็ต้องเก็งกำไรหาทำเลดีไว้อยู่แล้ว แต่พอจะใช้เงินก็เอามาจำนองพระคลังข้างที่แล้วต่อมาใช้หนี้ไม่ไหวเลยหลุดจำนอง พระคลังข้างที่เลยได้ที่ดินแปลงงาม ๆ ในปัจจุบันมามาก

เรื่องนี้จะเอาไปโยงกับการผังเมือง แล้วจะลากไปลามปามสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่สมเหตุสมผล แสดงว่าไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เสียก่อนเลย อยากให้ สส.ก้าวไกล คนนี้ไปศึกษาประวัติศาสตร์เสียก่อนว่า

หนึ่ง ที่ดินของพระคลังข้างที่และของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้นำไปพระราชทานให้คนยากจนในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรที่ยากจนมากมายมาตั้งสมัยรัชกาลที่ 9 ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้สืบสานพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการพระราชทานที่ดินให้หน่วยราชการ สถานศึกษา รวมมูลค่านับแสนล้านบาท

สอง ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จำนวนมากเก็บค่าเช่าถูกมาก และให้คนจนเช่าอยู่ในราคาที่ถูกแสนถูก และทำมานานแล้ว

สาม รศ.ดร. มรว. อคิน รพีพัฒน์ นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาชาวไทย ได้ทำงานถวายที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ศึกษาและดำเนินการช่วยเหลือคนจนและช่วยเหลือคนจนให้มีที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 9 จน อาจารย์อคินก็กราบบังคมทูลลาถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว แต่งานของอาจารย์อคินก็ยังมีการดำเนินการต่อมา

เรื่องช่วยเหลือคนยากจน คนด้อยโอกาสให้มีอาชีพและมีที่ทำกินนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานด้านนี้มาอย่างหนักตลอดพระชนม์ชีพ ทรงปรารถนาให้เกษตรกรมีที่ทำกิน ไม่ขายที่นา และในหลวงรัชกาลที่ 10 ก็ทรงสืบสานสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงทำมาโดยตลอด ตัดกลับมาที่พรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้าบ้าง

หนึ่ง ครอบครัวจึงรุ่งเรืองกิจ ครอบครองที่ดินไว้มากมายในบริเวณสมุทรปราการและกรุงเทพฯ ได้เคยจัดสรรที่ดินเพื่อคนยากจนหรือเกษตรกรมาก่อนบ้างหรือไม่

สอง นายธนาธร นางสมพร นางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ครอบครองที่ดินป่าสงวนที่ราชบุรี จนโดนกรมที่ดินเพิกถอนกว่าพันไร่ ทำไมก่อนหน้านั้นไม่นำมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ยากจนได้มีที่ทำกิน แล้วตอนนี้คดีดังกล่าวไปถึงไหนแล้ว

สาม น้องชายนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พยายามจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์กว่า 20 ล้านบาทเพื่อให้ได้เช่าที่ดินแปลงงาม 12 ไร่ของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ บนถนนเพลินจิต อันนี้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือทำเพื่อคนยากไร้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย คดีดำเนินการไปถึงไหนแล้ว

ตกลงไปแก้ปัญหาที่ดินที่ตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจครอบครองมากมายและยังไม่ได้จัดสรรที่ดินให้คนยากจนได้อยู่อาศัยหรือทำกินเสียก่อน จะดีกว่าไหม

'ดร.อานนท์' แฉ!! เหตุ 'กัมพูชา' กล้าลากเส้นพาดเกาะกูด รู้ดีว่าขัดสัญญาหลัก แต่เพราะมีนักการเมืองปั้น MOU ยืนยันให้

(6 มี.ค.67) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุเนื้อหาดังนี้...

ผมยังยืนยันตามคุณลุง ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล ว่าสัญญาประธานคือ สนธิสัญญาระหว่างสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 125 เกาะกูดเป็นของไทยแน่นอนตามสัญญาประธานนี้

หลักคือ สัญญาอุปกรณ์จะขัดแย้งกับสัญญาประธานไม่ได้เลย ไม่ได้ต่างจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายใดๆ จะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

สัญญาใดๆ ที่ตามหลังมาจาก ‘สัญญาประธาน’ เรียกว่า ‘สัญญาอุปกรณ์’ ไม่ว่าจะ Term of reference (TOR) MOU (Memorandum of Understanding) PA (Provisional Arrangement) หรือ JC (Joint Communique) ต่างก็เป็นสัญญาอุปกรณ์ จะขัดแย้งกับสัญญาประธานไม่ได้โดยเด็ดขาด

นายพลลอนนอล ในปี 2515 ประกาศเส้นเขตแดน ล้ำเข้ามาในไหล่ทวีปของไทย ผ่ากลางเกาะกูดไปอย่างประหลาดเหลือเชื่อ ขัดกับสัญญาประธาน ระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ร.ศ. 125 อย่างแน่นอน และไม่เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 

ที่ประหลาดมากคือ ลากเส้นจากหลักเขตแดนบนบกหลักที่ 73 บ้านหาดเล็กพาดตรงไปบนยอดเขาที่สูงสุดบนเกาะกูด เฉือนเกาะกูดเป็นสองฝั่ง ได้ทะเลในอ่าวไทยไปมากมาย ที่เอาเคลมกันทีหลังว่าพื้นที่ทับซ้อนหรือพื้นที่พัฒนาร่วมกัน (JDA: Joint Development Area) อันไม่มีอยู่จริง

ที่ว่าขัดกฎหมายระหว่างประเทศคือ เอาขีดเส้นโดยใช้ equidistant line ตามหลักสากล ต้องไม่พาดผ่านเกาะกูด แล้วไทยต้องได้พื้นที่ทางทะเลรอบเกาะกูดไปกี่ไมล์ทะเล ก็อาจจะเจรจากันได้

จอมพลถนอม กิตติขจร กับ จอมพลประภาส จารุเสถียร ได้แก้ไขปัญหานี้ โดยพึ่งพระบารมีของในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ทรงมีประกาศพระบรมราชโองการเกี่ยวกับไหล่ทวีปของไทยในปี 2516 และจอมพลถนอมได้ให้กองทัพเรือไทยเข้าไปดูแลพื้นที่ในทะเลดังกล่าวไม่ให้กัมพูชามารุกรานอธิปไตยทางทะเลของไทย

MOU44 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็เกิดขึ้น กลายเป็นไปยืนยันเส้นเขตแดนที่ผิดในปี 2515 ที่ลอนนอลประกาศ แต่ว่าก็รู้ดีว่า MOU44 เป็นสัญญาอุปกรณ์ ไม่ใช่สัญญาประธานจะขัดแย้งสัญญาประธานไม่ได้

กัมพูชาเลยเจรจาตาม MOU44 ในปี พ.ศ. 2545 ลากเส้นในแนวใกล้เคียงกับแนวเดิมที่นายพลลอนนอลเคยประกาศเอาไว้ในปี 2515 แต่ลากเส้นอ้อมเป็นวงกลมรอบเกาะกูด เพื่อให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนมากที่สุด แต่เลี่ยงบาลีไม่ให้ขัดกับสัญญาประธานเพราะเกาะกูดเป็นของไทย

ที่ตลกคือ ลากเส้นปักปันเขตแดนเป็นเส้นโค้งรอบเกาะกูด หลบสัญญาประธาน แต่จะกินที่เข้าไปในอ่าวไทยให้มากที่สุดไม่ได้ยึดถือ equidistant line ระหว่างสองประเทศตามหลักสากลของอนุสัญญาทะเล 1982 หรือกฎหมายสากล

ผมได้แนบภาพแผนที่แสดงผลการเจรจาปักปันเขตแดนทางทะเลของไทยกับกัมพูชาในพ.ศ. 2545 ภาพนี้มาจาก powerpoint ประกอบการบรรยายของ พลเรือโทศิริชัย เนยทอง ซึ่งปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว แต่เคยรับราชการที่กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ซึ่งมีภารกิจในการดูแลเขตแดนทางทะเลของไทยโดยตรงครับ

เห็นภาพแล้วผมก็ได้แต่หัวเราะว่า กัมพูชา พยายามเคลมมาก แต่เลี่ยงบาลีไม่ให้ขัดกับสัญญาประธาน ร.ศ. 125 

ยกเลิก MOU44. และ JC 44. เถิดครับ

อย่าให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนไปแม้แต่ตารางนิ้วเดียว

ถ้าไอ้อีนักการเมืองไหนจะขายชาติทำ MOU67 หรือ JC67 มันจะไม่มีแผ่นดินอยู่และต้องถูกประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119

โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง!!!

‘ดร.อานนท์’ เตือนต้องสอนให้เด็ก รู้จริงก่อนวิพากษ์ มิเช่นนั้นจะสับสนระหว่าง ข้อเท็จจริง-การเดามั่ว

(9 มี.ค.67) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทย โดยได้ระบุว่า...

ผมว่าสังคมไทยกำลังเดินมาผิดทางมาก 

โดยเฉพาะการศึกษาที่เน้นให้แสดงความคิดเห็นกันมากเหลือเกิน แทนที่จะสอนให้แสวงหาความรู้ที่ถูกต้องแม่นยำ การแสดงความเห็นเป็นของดีแต่ต้องมีความรู้แม่นยำก่อน ผมจะแสดงความเห็นเรื่องใดก็ตาม ผมต้องศึกษาจนมีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างทะลุปรุโปร่งก่อน จึงจะกล้าแสดงความเห็น 

ผมคิดว่าการแสดงความเห็นเรื่อยเจื้อยโดยปราศจากหลักฐานหรือการวิพากษ์ความเห็นนั้น 
เราจะต้องถามกันเลยว่า 
What do you mean? 
How do you know? 
Is it true? 
Can it be explained otherwise? 

คือผมสอนหนังสือผมก็ให้เด็กแสดงความเห็นนะครับ แต่ต้องมีความรู้ก่อน แล้วผมก็ใช้ dialectical method ไล่บี้ถามไปจนสุดทางว่าความเห็นเหล่านี้มีที่มาอย่างไร อะไรทำนองนี้ 

ปัญหาคือสังคมแข่งกันแสดงความเห็น แล้วเข้าใจว่าความเห็นคือความรู้ แล้วแยกไม่ออกระหว่าง Facts กับ Conjectures 

อืม บ่นยาวเป็น Epistemology กันทีเดียวครับ หงุดหงิดทาสทองมิวสิคครับ ผมว่าสังคมมันเพี้ยนครับ

'ดร.อานนท์' รีวิว '๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' ประวัติศาสตร์อันซับซ้อนที่สื่อสารออกมาได้อย่างสนุก

(14 มี.ค.67) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์บทวิจารณ์ 'แอนิเมชัน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' (2475 dawn of revolution) สิ่งที่ชาวสามกีบไม่ควรพลาด ว่า...

ผมเพิ่งได้รับชม ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติจบไป

ขอชมเชยคณะผู้จัดทำที่เล่าเรื่องราวและข้อเท็จจริงอันแสนจะยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้โดยง่าย มีความแม่นยำทางประวัติศาสตร์ และทำให้ติดตามชมได้อย่างเพลิดเพลินในเวลาอันสั้น สนุกมาก แม้จะยาวสักหน่อยแต่ก็สะกดให้ติดตามจนจบไม่อาจจะลุกออกไปไหนได้แม้แต่วินาทีเดียว

แอนิเมชัน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัตินี้ เปรียบเสมือนบุปผามาลาสรรของเอกสารชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ที่นำมาเรียบเรียงอย่างสวยงามน่าติดตาม และในตอนจบของเรื่องก็ได้ให้แหล่งอ้างอิงสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อไปด้วยตนเองได้ด้วย

ในแง่เนื้อหา แอนิเมชัน ๒๔๗๕ หาใช่งานวิจัยที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ ๒๔๗๕ ก็หาไม่ และไม่แม้แต่จะเป็นการตีความใหม่ แต่เป็นการนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันซับซ้อนได้อย่างสนุกสนานในเวลาอันสั้นที่สุดจัดว่าเป็นศิลปะในการเล่าเรื่องชั้นสูงที่ทำให้ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินในเวลาเดียวกัน

หากจะอธิบายอย่างสั้นที่สุด แอนิเมชัน ๒๔๗๕ ได้ทำให้สิ่งที่อานนท์ต้องศึกษาค้นคว้าและอ่านหนังสือหลายสิบหลายร้อยเล่มและใช้เวลาอ่านสะสมนับหลายปี โดยที่ต้องวิพากษ์หลักฐาน ทั้งการวิพากษ์ภายนอกและการวิพากษ์ภายใน แม้กระทั่งการตรวจสอบสามเส้าทางประวัติศาสตร์ (Historical triangulation) สั้นลงเหลือเพียงสองชั่วโมงเศษ ซึ่งเหมาะสมกับยุคสมัยนี้ที่คนเราไม่ได้มีความพยายามพอที่จะอ่านมากมายและกลั่นกรองหลักฐานตลอดจนเอกสารชั้นต้นทางประวัติศาสตร์มากมายขนาดนั้น

จุดเด่นมากที่สุดคือ แอนิเมชัน ๒๔๗๕ ได้เลือกให้เกิดการปะทะอภิปรายระหว่างทุกฝ่าย และผู้เขียนบทได้เลือกใช้เอกสารชั้นต้นที่หลากหลายมุมมองเกิดดุลยภาพของมุมมอง (Balanced view) โดยได้กลั่นกรองเอกสารที่เป็นข้อเท็จจริง (Facts) กับข้อคาดเดา (Conjectures) และความคิดเห็น (Opinions) ออกจากกันอย่างชัดเจน

การให้เด็กได้เสนอมุมมองของตนปะทะอภิปรายกับลุงในห้องสมุด อย่างค่อยเป็นค่อยไป รับฟังซึ่งกันและหักล้างโต้เถียงกันด้วยหลักฐานและเหตุผลนั้นเป็นวิธีที่ย้อนกลับสู่วิธีโบราณในการสอนที่เรียกว่าวิภาษวิธี (Dialectical method) ซึ่งหากดำเนินการด้วยจิตวิทยาที่เข้าใจ ยอมรับความเห็นต่างก็เกิดสุนทรียสนทนาระหว่างสองฝ่ายที่คิดเห็นต่างกันได้ และเป็นวิถีทางที่สำคัญยิ่งสำหรับระบอบประชาธิปไตย

บทภาพยนตร์เรื่องนี้ ลงตัว และไม่ hard sale กระแทกหรือยัดเยียดความคิดให้คนดูมากจนเกินไป แต่พยายามให้คนดูได้เห็นหลักฐานจากทั้งสองด้านและคิดได้เอง โดยไม่ตัดสิน นับว่าเป็นข้อดีของแอนิเมชันเรื่องนี้ ที่ไม่ถึงทำให้สามกีบต้องขาดใจตาย ชักดิ้นชักงอ น้ำลายฟูมปากหากต้องมาชมแอนิเมชันเรื่องนี้

การเล่าเรื่องของ ๒๔๗๕ ใช้วิธีการเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์แบบกาลานุกรม (Chronological) อย่างเคร่งครัด คือเล่าเหตุการณ์เรียงเป็นเส้นตรงตามลำดับเวลา วิธีการนี้เป็นวิธีการที่คนทำหนังอาจจะเห็นว่าเป็นวิธีการที่ไม่น่าตื่นเต้น ไม่สวยงามในแง่ศิลปะภาพยนตร์ แต่เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนและเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงอย่าง ๒๔๗๕ ได้อย่างเหมาะสมลงตัว การเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์แบบเรียงไปตามลำดับเวลาแบบเส้นตรงนี้ ทำให้เห็นปมขอความขัดแย้ง พัฒนาการ และการคลี่คลาย ทำให้เข้าใจเหตุและผล ตลอดจนปัจจัยหนุนเนื่องของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงร้อยเรียงต่อกันในประวัติศาสตร์ได้อย่างดีที่สุด น่าเสียดายที่วิธีการเล่าเรื่องแบบโบราณเช่นนี้ หายไปจากวงการภาพยนตร์ที่ชอบเล่าเรื่องย้อนไปย้อนมาจนคนดูสับสน และการเล่าเรื่องในวงวิชาการประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่สนใจเป็นประเด็นเฉพาะ (Issue-based) ค่อนข้างแพร่หลายจนทำให้นักเรียนประวัติศาสตร์ไม่แม่นยำในลำดับเหตุการณ์และไม่แม่นยำตลอดจนไม่เข้าใจลำดับเหตุผลเบื้องหลังเหตุการณ์ ตลอดจนไม่เข้าใจปัจจัยหนุนเนื่อง

ภาพลายเส้นของแอนิเมชัน ทำได้ดี มีความผสมผสานระหว่างแอนิเมะของญี่ปุ่นบางเรื่อง โดยเฉพาะการ์ตูนนักสืบของญี่ปุ่นบางเล่มที่ผมคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันก็ผสมผสานความเป็นไทยและมีอัตลักษณ์ของความเป็นไทยเข้าไปอย่างชัดเจน ในขณะที่ศิลปะและสถาปัตยกรรมนั้นในยุคสมัยนั้นได้รับอิทธิพลจาก Art Deco ค่อนข้างมากก็ปรากฏในภาพลายเส้นของแอนิเมชันเรื่องนี้เช่นกัน

การกำหนดโทนสีของแอนิเมชัน ให้ใช้โทนสีมืดและร้อนสำหรับคณะผู้ก่อการ ๒๔๗๕ และใช้สีโทนสีทองและสีอ่อนสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ อาจจะเป็นสิ่งที่ชี้เห็นทัศนคติของศิลปินผู้วาดภาพแอนิเมชันเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ยัดเยียดให้คนดูมากจนเกินไป สำหรับตัวผมมีความรู้สึกว่าถูกยัดเยียดความไม่ชอบคณะผู้ก่อการหรือคณะราษฎรของศิลปินผู้วาดภาพลายเส้นอยู่บ้างเมื่อเห็นหนวดปลาหมึกมากเหลือเกินหากมีการปรากฏของคณะราษฎร แต่ก็อยู่ในระดับที่พอยอมรับได้ แต่ถ้าตัดออกไปได้ก็จะดีมาก

แอนิเมชัน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ นี้เป็นแอนิเมชัน ต้นทุนต่ำที่สุด ที่ทำได้ดีมาก มากกว่าที่คาดหวังไว้มาก ยิ่งเมื่อเห็นเงินบริจาคที่ใช้ในการผลิตแล้วก็ยอมรับว่าตกใจมาก เงินแค่นี้ทำงานเช่นนี้ได้ แสดงว่าเป็นการรวมน้ำใจของจิตอาสาที่มาช่วยกันทำงานอันทรงคุณค่ายิ่ง

การพากย์เสียง ทำได้ดีและลงตัวมาก สำหรับเสียงพากย์ที่ส่วนตัวชอบมากที่สุดคือเสียงพากย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพี่นก ฉัตรชัย เปล่งพานิช ที่พากย์ได้อย่างดีที่สุดและสำแดงอารมณ์ความรู้สึกในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างเข้าถึงโดยไม่ต้องพยายามใดๆ ไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าพี่นกจะพากย์เสียงและลงเสียงได้ดีขนาดนี้มาก่อนเลย ขอชมเชยจากใจ

แอนิเมชันเรื่องนี้ สำหรับชาวสามกีบที่ต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้ท่านจะมองว่าทีมผู้จัดทำเป็นชาวสลิ่ม ก็ยิ่งต้องชมแอนิเมชันเรื่องนี้ ไม่ได้ชมเพื่อจะเปลี่ยนความคิด แต่ชมเพื่อให้มองงานนี้เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง ในการเล่าเรื่องราวอันซับซ้อนและเต็มไปด้วยความขัดแย้งได้อย่างลงตัวและไม่ยัดเยียดจนเกินไป

ขอเชิญชาวสามกีบมารับชมกันครับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top