Tuesday, 23 April 2024
อาชญากรรมออนไลน์

โจรออนไลน์ชุก!! ‘อาชญากรรม’ ที่ต้องระวังมากที่สุด | Click on Clear THE TOPIC EP.124

📌 รู้ทัน ‘อาชญากรรมไซเบอร์’!! กับ ‘ร.ต.อ.พากฤต กฤตยพงษ์’ เจ้าหน้าที่ชุดปฎิบัติการที่ 1 ศูนย์ปราบปราบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (PCT Police)

📌 ใน Topic : โจรออนไลน์ชุก!! ‘อาชญากรรม’ ที่ต้องระวังมากที่สุด

ร่วมจับประเด็น เน้นความรู้ได้ในรายการ Click on Clear THE TOPIC

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

ตร. เตือน เล่นเฟซบุ๊กเจอโพสต์ชิงโชค พอได้รางวัลให้แอดไลน์คุยหลังไมค์ สุดท้ายเสียทรัพย์

วันที่ 8 ส.ค. 2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่านอกจากการฉ้อโกงผ่านทาง SMS หรือการสุ่มโทรผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังพบว่ากลุ่มคนร้ายได้ใช้วิธีการโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) อ้างว่าให้มาร่วมสนุกด้วยการตอบคำถามชิงรางวัล จากนั้นเมื่อเหยื่อหลงเชื่อร่วมกิจกรรมและตอบคำถามถูกต้อง คนร้ายจะส่งข้อความมาคุยหลังไมค์กับเหยื่อหรือให้เหยื่อแอดไลน์มาคุยกับคนร้าย จากนั้นคนร้ายก็จะใช้วิธีการต่าง ๆ ในการหลอกล่อให้เหยื่อส่งมอบเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ให้กับคนร้าย โดยวิธีการต่อไปนี้
1. อ้างว่าเหยื่อต้องโอนเงินจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียมในการรับของรางวัลก่อน เพราะเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย หรือขั้นตอนของบริษัทฯ จึงจะสามารถส่งของรางวัลให้กับเหยื่อได้ เมื่อเหยื่อโอนเงินแล้วจะบล็อก ไม่สามารถติดต่อคนร้ายได้
2. อ้างว่าเหยื่อต้องส่งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลบัญชีธนาคาร ให้กับคนร้าย เพื่อดำเนินการตรวจสอบก่อนมอบรางวัล ซึ่งอาจเกิดความเสียหายกับเจ้าของข้อมูลได้

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผนึก กองสลากฯ ผุดโครงการครูวัคซีนไซเบอร์ เป็นครูแม่ไก่ ให้ความรู้เตือนภัย 'รู้เท่าทันกลโกง' สร้างภูมิคุ้มกันประชาชน หวังลดคดีอาชญากรรมออนไลน์

วันนี้ (13 ธ.ค. 65 ) เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดการอบรมโครงการสร้างภาคีเครือข่ายป้องกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ณ ห้องแจ้งยอดสุข ชั้น 2 อาคารศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร และสวัสดิการ ตร. 

สำหรับโครงการอบรมครั้งนี้ เป็นการฝึกอบรม ในระดับที่ 1 ในการสร้างครูวัคซีนไซเบอร์(ครูแม่ไก่) เพื่อไปถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับ เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่,เจ้าหน้าที่ภาครัฐ, เจ้าหน้าที่ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ให้เกิดความตระหนักรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกงและเกิดความปลอดภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรมจาก บช.น., ภ.1-9 หน่วยละ 11 นาย , บช.สอท. 6 นาย  รวมจำนวนทั้งสิ้นรวม 116 นาย

ผบ.ตร.กล่าวว่า “ การอบรมโครงการสร้างภาคีเครือข่ายป้องกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญในการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และเป็นนโยบายเร่งด่วนของ ตร.

ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ที่ยังขึ้นสูงเฉลี่ยวันละ 600-700 ราย สร้างความเสียหายแก่ประชาชน และระบบเศรษฐกิจของประเทศ แม้เจ้าหน้าที่จะทำการปราบปรามจับกุม แต่ปัญหายังไม่หมดไป คนร้ายมักจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้พ้นจากการตรวจตราจับกุมของเจ้าหน้าที่ ตำรวจเพียงหน่วยเดียวจึงไม่สามารถแก้ปัญหา จึงจำเป็นต้องอาศัยภาคีเครือข่ายในการร่วมกันป้องกัน รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกงและเกิดความปลอดภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จึงเกิดการอบรมโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ ครูวัคซีนไซเบอร์ (ครูแม่ไก่) จำนวน 116 นาย ไปจัดฝึกอบรม ให้กับผู้รับการอบรม ในระดับที่ 2 พื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ  อีก 33 รุ่น จำนวน 4,468 คน  เพื่อนำเอาความรู้ไปต่อยอด ถึง ครู-อาจารย์ ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย  ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้สื่อข่าว นักจัดรายการวิทยุ นักประชาสัมพันธ์ หรือผู้นำชุมชนในพื้นที่ ให้เกิดองค์ความรู้  ที่สามารถนำไปประชาสัมพันธ์ สื่อสารต่อคนอื่น ๆ สร้างเครือข่ายการทำงาน  รับรู้ถึงกลโกงหรือวิธีการ ของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในการใช้กลอุบาย เพื่อหลอกลวง ให้หลงเชื่อ เพื่อเผยแพร่มาตรการป้องกันในรูปแบบต่าง ๆ ให้ประชาชนตระหนักรู้ ในการระวังป้องกันตนเอง มิให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี และการเข้าถึงสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในการป้องกันระมัดระวังตนเอง และตระหนักรู้ภัยคุกคามดังกล่าว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการอบรมครั้งนี้

'ชัยวุฒิ' เสนอ 'อาเซียน' จับมือตั้งหน่วยงานข้ามชาติ ขจัด 'หลอกลวงลงทุนออนไลน์-แก๊งคอลเซ็นเตอร์'

(9 ก.พ. 66) นาย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เป็นผู้เเทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลครั้งที่ 3 ที่ เกาะโบราไคย์ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม และนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูตประจำกรุงมะนิลา เข้าร่วมประชุมด้วย 

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
 

'โออาร์' และ 'สำนักงานตำรวจแห่งชาติ' ร่วมเตือนภัย 'อาชญากรรมทางเทคโนโลยี'

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ พร้อมด้วย นายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ และ พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ. สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมติดตั้งโปสเตอร์เตือนภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อรณรงค์ เสริมสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนป้องกันตัวเองจากภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ณ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ทุกสาขาทั่วประเทศ

นายดิษทัต กล่าวว่า ปัจจุบันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมีความรุนแรงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ โออาร์ จึงได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติผลิตและติดตั้งโปสเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เตือนภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ณ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศ 

‘ชัยวุฒิ’ เร่งปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ เดือน พ.ค. ระดมจับคนขายบัญชีม้า ซิมม้าแล้วกว่า 200 ราย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 2/2566เพื่อเร่งรัดทุกหนว่ยงานที่เกี่ยวข้องปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์

วันนี้ (23 มิถุนายน 2566) นายชัยวุฒิ รัฐมนตรีดีอีเอส พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์ สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พล.ต.อ. ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พล.ต.ต. เอก รักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการ ปปง. พล.ต.ท. วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ท. สุรพล เปรมบุตร ผู้บัญชาการประจําสํานักงานผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ นาวาโท ศักติพงษ์ สิบหมื่นเปี่ยม ผู้อํานวยการฝ่ายเฝ้า ระวังความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สกมช. นายเขมชาติ ประกายหงษ์มณี ผู้อํานวยการกองคดีเทคโนโลยี และสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ ไทย นายกฤษณ์ ไพโรจน์กีรติกุล ผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส บมจ. ธนาคารกรุงไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย นางสาวสุชา บุณยเนตร ผู้ช่วยเลขาธิการสํานักงาน ก.ล.ต. นางสาวอรวรี เจริญพร ผู้อํานวยการสํานักบริหาร จัดการหมายเลขโทรคมนาคม สํานักงาน กสทช. และนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 2/2566 เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 และพิจารณากระบวนการ ดําเนินงานที่เกี่ยวข้องในการระงับยับยั้งธุรกรรมที่ต้องสงสัยและช่องทางสําหรับให้บริการประชาชนอย่าง สะดวกและรวดเร็ว

ที่ผ่านมาหลัง พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดําเนินการ สรุปผลได้ดังนี้ เมื่อเทียบก่อนและหลังออก พ.ร.ก. สถิติการเกิดคดีออนไลน์ ลดลง และสามารถอายัดบัญชีคนร้ายได้มากขึ้น ดังนี้

- สถิติคดีออนไลน์ - การอายัดบัญชีก่อน เฉลี่ย 790 เรื่อง/วัน หลัง เฉลี่ย 684 เรื่อง/วัน

(คดีลดลงเฉลี่ย 106 เรื่อง/วัน) ก่อน อายัดได้ทัน 6.5% (ขออายัด 1.35 พันล้านบาท อายัดทัน 87 ล้านบาท) หลัง อายัดได้ทัน 15.3% (ขออายัด 1.5 พันล้านบาท อายัดทัน 229 ล้านบาท) (อายัดได้ทันเพิ่มขึ้น 8.8%)

ผลการดําเนินงาน 4 ด้าน

1. บัญชีม้าซิมม้าแก๊งCallCenter-ปิดกั้นSMS/เบอร์โทรหลอกลวงรวม188,915รายการ (กสทช.) / ปิดกลุ่ม facebook ซื้อขายบัญชีม้า 19 กลุ่ม (กระทรวงดิจิทัลฯ) / อายัดบัญชี 101,904 บัญชี (สตช.) / - แจ้งรายชื่อบุคคล /เจ้าของบัญชีธนาคาร ที่ใช้กระทําความผิด 993 รายชื่อ (ปปง.) / ดําเนินคดี บัญชีม้า ซิมม้า 219 คดี ผู้ต้องหา 216 คน (ตํารวจ)

2. การหลอกลวงลงทุน-ระดมทุนออนไลน์และหลอกลวงทางการเงิน-ดําเนินคดี740คดี/ผู้ต้องหา 762 ราย (ตํารวจ)

3. การพนันออนไลน์-ดําเนินคดี662คดี/ผู้ต้องหา774ราย(ตํารวจ)/ปิดกั้น2,334เว็บไซต์ (กระทรวงดิจิทัลฯ)

4. การหลอกลวงซื้อขายสินค้าบริการออนไลน์ - ดําเนินคดี 331 คดี / ผู้ต้องหา 347 ราย (ตํารวจ)

ที่ประชุมไดพ้ ิจารณาประเด็นที่สําคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ 7 เรื่อง

1. เหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินโดยได้กําหนดเหตุอันควรสงสัยของธุรกรรมทางการเงินที่อาจเป็น การดําเนินการของมิจฉาชีพ 18 ข้อ

2. เหตุอันควรสงสัยของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ที่อาจเป็นการดําเนินการของมิจฉาชีพ10ข้อ

3. ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ ระหว่าง สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ

กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสมาคมธนาคารไทยอยู่ระหว่างพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ITMX ซึ่งที่ ประชุมมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศและสมาคมธนาคารไทยเร่งรัดการจัดทําระบบแลกเปลี่ยน ข้อมูลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

4. ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่าง ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้สํานักงาน กสทช เร่งพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์

5. วิธีการและช่องทางในการแจ้งเหตุอันควรสงสัย และรับส่งข้อมูล ของสถาบันการเงินฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตํารวจจะพัฒนาระบบ Banking เชื่อมต่อกับระบบ ITMX ของสถาบันการเงินเพื่อเป็น ช่องทางรับแจ้งเหตุอันควรสงสัย และให้ ปปง. และ DSI พิจารณาช่องทางในการรับแจ้งเหตุอันควร สงสัยและการรับส่งข้อมูลกับสถาบันการเงินด้วย

6. วิธีการและช่องทางในการแจ้งเหตุอันควรสงสัย และรับส่งข้อมูล ของผู้ให้บริการโทรศัพท์ฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบบ banking ของตํารวจจะเชื่อมต่อกับระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลของ

กสทช. ด้วยเพื่อรับแจ้งเหตุอันควรสงสัย

7. วิธีการและช่องทาง ของสถาบันการเงินฯ ในการรับแจ้งจากผู้เสียหาย โดยหน่วยงานได้ ร่วมกัน ดําเนินงานตาม พรก อย่างจริง

8. มาตรการอื่นๆได้แก่การควบคุมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยน และฟอกเงิน การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรัฐร่วมเอกชน แนวทางการป้องกันและปราบปรามบัญชีม้าและ ซิมม้า แนวทางในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้แก่ประชาชน มาตรการในการป้องกันปราบปรามคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีประเภท แอปพลิเคชันดูดเงิน

รัฐมนตรีชัยวุฒิฯ แจ้งว่า คณะกรรมการได้เห็นชอบแนวทางตามที่เสนอและขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นําไปดําเนินการ อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาลดความเดือดร้อนให้ประชาชนโดยเร็วต่อไป และขอขอบคุณทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขานรับและตั้งใจร่วมกันในการดําเนินงานแก้ไขปัญหาลดความเสียหายและอาชญากรรมที่ เกิดขึ้น บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จับกุมผู้กระทําความผิด และดําเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องกับบัญชีม้า และซิมม้ามาลงโทษ ซึ่งจะสามารถบรรเทาการสูญเสียทรัพย์ได้แน่นอน

‘ชัยวุฒิ’ จี้ ตร.ล่าแก๊งแอปฯ ดูดเงิน หลังผู้ประกาศดังสูญเงินนับล้าน ลั่น!! จะพยายามทำให้ดีที่สุด ย้ำความสำคัญ ‘ไซเบอร์ซีเคียวริตี้’

‘ชัยวุฒิ’ จี้ ตำรวจเร่งติดตามแก๊งแอปฯ ดูดเงินมาดำเนินคดี หลังผู้ประกาศข่าวดังสูญเงินนับล้าน รับจะพยายามทำให้ดีที่สุด ย้ำ ไทยมี กม.อายัดบัญชี้ม้าแล้ว ยอมรับเป็นห่วงด้วยสังคมให้สิทธิสูง ไซเบอร์ซีเคียวริตี้จึงสำคัญ มั่นใจ สูญญากาศก่อนจัดตั้งรัฐบาลไม่กระทบแก้ปัญหา

(12 ส.ค. 66) ที่ท้องสนามหลวง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการดำเนินการช่วยเหลือ เหยื่อ ถูกหลอกลวงทางออนไลน์ กรณีผู้ประกาศข่าวดังสูญเงินกว่า 1 ล้านบาท ว่า ต้องยอมรับว่าคดีหลอกลวงทางออนไลน์มีเยอะจริงๆ ซึ่งช่องทางสื่อสารออนไลน์มีหลายช่องทาง ขอแจ้งเตือนประชาชนเป็นเคสตัวอย่าง ว่าอย่าไปพูดคุยที่หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ “ไม่มีหรอก ไม่มีใครโทรหาหรอก” แต่ส่วนที่เกิดความผิดพลาดไปแล้ว ต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสืบพาคนร้ายกลุ่มนี้มาดำเนินคดี และพยายามดำเนินการดึงเงินคืนมาให้ได้มากที่สุด

ซึ่งวันนี้เรามีกฎหมายเรื่องของการอายัดบัญชีม้าแล้ว ก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด แต่สุดท้ายด้วยระบบการเงินที่คล่องตัว และการสื่อสารที่เป็นระบบเปิดกว้าง ในสังคมไทยเราที่ให้สิทธิเสรีภาพสูงก็เป็นห่วงประชาชนจริงๆ ว่าจะโดนหลอกแบบนี้ ทั้งนี้ ขอฝากสื่อมวลชนช่วยเตือนพี่น้องประชาชนว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนใด ทุกกรมทุกกระทรวง โทรหาประชาชนเพื่อหลอก เพราะไม่ได้ว่างขนาดนั้น

เมื่อถามว่า ส่วนช่วงสุญญากาศก่อนการจัดตั้งรัฐบาล จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการใช่หรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า เรื่องของคดี การแก้ไขปัญหาปราบปรามออนไลน์ เป็นเรื่องของตำรวจอยู่แล้ว ซึ่งทำงานร่วมกับธนาคาร, DSI, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีคณะทำงานและติดตามเรื่องนี้ตลอด มีการรับแจ้งความออนไลน์และระบบติดตามหลังบ้านอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญคือเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพราะแอปฯ ดูดเงินคือการแฮกเข้ามาในมือถือ แต่เราก็ต้องเข้าไปกดลิงค์ก่อน แต่วิธีที่ดีที่สุดระบบจะต้องบล็อกได้ ต้องมีการป้องกัน ซึ่งธนาคารและหน่วยที่เกี่ยวข้องพยายามอัพเดทระบบอยู่ตลอดเวลา ก่อนที่จะย้ำว่าเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องไซเบอร์ ซีเคียวริตี้

‘ตร.’ เตือนประชาชนระวังแก๊งหลอกลงทุนออนไลน์ ตุ๋นหมดตัว แฉกลโกง ใช้รูปผู้บริหาร-โลโก้บริษัทใหญ่มาล่อเหยื่อให้ติดกับ

(23 ส.ค. 66) สืบเนื่องจาก พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. / หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน เนื่องจากในช่วงนี้มีคนร้ายแอบอ้างชื่อหรือใช้โลโก้ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ต่างๆ แล้วหลอกให้ลงทุน เป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงได้ร่วมกันแถลงข่าวให้ประชาชนทราบ เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 66 เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. กล่าวว่า สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566 รับแจ้ง 300,000 กว่าเคส ความเสียหายกว่า 41,000 ล้านบาท สถิติการรับแจ้งความหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในห้วงเวลาเดียวกัน รับแจ้ง 24,000 กว่าเคส คิดเป็น 8.14 % ของสถิติการรับแจ้งทั้งหมด ความเสียหายกว่า 12,000 ล้านบาท คิดเป็น 35 % ของความเสียหายทั้งหมด สำหรับสถิติการหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ในห้วงสัปดาห์ที่แล้วอยู่อันดับ 6 สัปดาห์นี้พุ่งมาอยู่อันดับ 4 โดยรับแจ้ง 274 เคส ความเสียหาย 188 กว่าล้านบาท

จึงได้เชิญ นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ดร.วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ประเทศไทย บ.อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด มหาชน มาร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท. กล่าวว่า การหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นมากในช่วงเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม 2566 คนร้ายใช้วิธีการหลอกผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ 5 อันดับ ดังนี้

1.) Facebook 145 เคส 107,593,333.39 บาท
2.) Website 34 เคส 8,604,561.4 บาท
3.) Line 7 เคส  815,7381.30 บาท
4.) Twitter 1 เคส 7,000 บาท
5.) TikTok 1 เคส 60,6000 บาท

โดยนำรูปผู้บริหารและใช้โลโก้บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น CP AMATA คาราบาวแดง และเครื่องหมายและมีโลโก้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ ช่วงแรกหลอกให้ลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท ได้ผลตอบแทน 30-70% เมื่อเหยื่อหลงเชื่อทักไปสอบถาม จะเป็นการสนทนาทาง Messenger (ส่วนใหญ่เป็นระบบอัตโนมัติ) จากนั้นจะแนะนำอาจารย์ หรือโค้ด หรือโบรกเกอร์ เพื่อให้คุยทาง Line หรือเข้ากลุ่ม Open Chat พูดคุยกับสมาชิก แล้วให้เริ่มลงทุน โดยมีหน้าม้าอ้างว่าลงทุนตามที่ได้มีการแนะนำสามารถสร้างกำไรได้ โพสต์ภาพสลิปรับโอนเงินผลตอบแทนให้เหยื่อหลงเชื่อ

ในช่วงแรกเมื่อเหยื่อโอนเงินเพื่อลงทุน คนร้ายจะโอนเงินทุนพร้อมกำไรคืนให้เหยื่อ จากนั้นจะชวนเข้ากลุ่ม VIP มีสมาชิก 5-6 คน เพื่อร่วมกันลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น โดยมีผู้แนะนำการลงทุน 1 คน ที่เหลือก็จะเป็นหน้าม้า ร่วมกันหลอกเหยื่อให้โอนเงินลงทุน หากเหยื่ออยากยกเลิกการลงทุน หน้าม้าจะอ้างว่าหากยกเลิกหรือถอนการลงทุน จะทำให้คนอื่นไม่สามารถถอนเงินได้ และผลประโยชน์ที่ลงทุนไปพร้อมผลตอบแทนที่ปรากฏในหน้าเว็บไซต์ (ปลอม) ก็จะไม่ได้รับคืน จึงต้องลงทุนเพิ่ม สุดท้ายเสียเงินไปจำนวนมาก

โดยมีจุดสังเกต ดังนี้
1.) มี Blue Badge หรือเครื่องหมายบัญชีทางการ สีน้ำเงินหรือสีเขียวหลังชื่อเพจ ที่ส่วนใหญ่บริษัทที่มีตัวตนจริงจะยืนยันข้อมูลไว้กับทาง facebook

2.) การโอนเงินลงทุนใดๆ ที่ใช้เงินน้อย รายได้ดี มีผลตอบแทนสูง ไม่มีอยู่จริง หากผลตอบแทนสูงมากขนาดนี้ คนร้ายคงลงทุนด้วยตนเอง

3.) ในการลงทุน คนร้ายให้เหยื่อกดลิงก์เข้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันปลอม ที่คนร้ายสร้างขึ้นมาให้เหมือนของจริง (เหมือนเฉพาะรูปภาพ แต่ URL จะต่างจากของจริง) และเมื่อเหยื่อโอนเงินลงทุน ในระบบจะขึ้นยอดเงินแสดงให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นยอดเงินจริง ซึ่งความจริงแล้วเป็นเพียงตัวเลขในอากาศที่คนร้ายนำมาหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อเท่านั้น

วิธีการในการป้องกัน คือ

1.) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์โฆษณาแปลกปลอม หรือกดเพิ่มเพื่อนไลน์ในรูปแบบสแกน QR Code หรือเพิ่มเพื่อนไลน์ทาง ID Line จากคนที่ไม่น่าเชื่อถือ

2.) หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store เท่านั้น อย่าเชื่อคำแนะนำของคนร้ายให้กดเข้าบราวเซอร์อื่น

3.) ควรลงทุนในบริษัทหรือผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. โดยตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  https://www.set.or.th

4.) ทำการ copy URL จากเว็บไซต์ลงทุนที่คนร้ายให้มาในใส่ในเว็บไซต์ https://whois.domaintools.com จะเห็นอายุ (Dates) ของเว็บไซต์ว่าเปิดมานานเท่าไรแล้ว  หากเพิ่งเปิดมาร 2-3 เดือน ก็ไม่น่าเชื่อถือ

ดร.วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคนิควิศวกรรมและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ในประเทศไทย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการที่มีเพจปลอมยังระบาดต่อเนื่อง สร้างผลกระทบให้กับประชาชน ต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง อมตะ มีความไม่สบายใจ และไม่เคยนิ่งนอนใจ อมตะได้มีการติดตามและดำเนินการทางกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการประสานกับเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด จนสามารถมีความคืบหน้าในการจับกุมมาอย่างต่อเนื่อง และทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการติดตามอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ประชาชนต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะให้สังเกตเพจของกลุ่มมิจฉาชีพจะมีการตั้งขึ้นมาใหม่ มีอายุไม่นาน ในขณะที่เว็บไซต์ และเพจของกลุ่มอมตะ มีการจดทะเบียนและก่อตั้ง ในปี 2012 ซึ่งมีอายุการดำเนินงานมากกว่า 10 ปี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของอมตะ และขอให้สังเกตจากเครื่องหมาย Blue Badge หรือเครื่องหมายถูกสีฟ้า ที่แสดงบัญชีทางการว่าเป็น Page หลักของอมตะ

ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เน้นย้ำการเชิญชวนเพื่อลงทุนใด ๆ จะต้องดำเนินการตามกฎหมายและกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งครัด และผ่านตัวแทนโบรกเกอร์ หรือที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่มีการเสนอ หรือเชิญชวนให้ประชาชน มาลงทุนผ่าน Facebook หรือติดต่อผ่านระบบ Line ที่ใช้วิธีการจูงใจให้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่สูงผิดปกติจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะใช้ชื่อเพจว่าอะไรก็ตาม

ดังนั้น ขอให้ประชาชนมีการตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน หากมีข้อสงสัย ให้สอบถามมายังเจ้าหน้าที่ของบริษัท ที่จะสามารถตอบข้อเท็จจริงและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการลงทุนที่ต้องเสียเงินและทรัพย์สิน
ทั้งนี้ ประชาชน และนักลงทุน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 061-035-0007 และ 02-792-0000

นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับปัญหาของภัยหลอกลงทุนซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและแพร่ระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ สร้างความเสียหายแก่ประชาชน ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ดำเนินการในหลายมิติ ทั้งการแจ้งเตือนผู้ลงทุนผ่านช่องทางเว็บไซต์ ก.ล.ต. ในหัวข้อ ‘Investor Alert’ การดำเนินคดีตามกฎหมายกรณีแอบอ้างชื่อหรือโลโก้ของ ก.ล.ต. การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ รวมถึงช่องทางของเครือข่ายหน่วยงานในตลาดทุนเพื่อกระจายข่าวสารแจ้งเตือนภัยหลอกลงทุนให้ขยายวงกว้างออกไปยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ไม่ได้รับรองหรือรับประกันผลิตภัณฑ์ ผลการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผลตอบแทนในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถเช็กรายชื่อผลิตภัณฑ์ บุคคล หรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตได้ที่ แอปพลิเคชัน SEC Check First หรือ

หรือ สอบถามหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ โทร 1207

นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า  ปัจจุบันมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก ครอบคลุมลักษณะและประเภทธุรกิจที่หลากหลาย มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)  หน่วยงานภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดต่อสาธารณะชน โดยกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ทราบ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและการควบคุมดูแลเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลแพลตฟอร์ม ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี หรือมีกลไกในการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้เริ่มบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงนี้มีเว็บไซต์รับแจ้งความออนไลน์ปลอม โดยคนร้ายโฆษณาผ่านเพจ facebook ปลอม เมื่อเหยื่อเข้าไปค้นหาหน่วยรับแจ้งความออนไลน์ เพจกลุ่มนี้จะซื้อโฆษณาจาก facebook ทำให้เพจขึ้นมาในในระบบค้นหาจากเว็บ Search Engines ต่างๆ ทั้ง Google Bing safari เป็นต้น เมื่อเหยื่อหลงเชื่อกดเข้าเว็บไซต์หรือเพจ facebook ก็จะคุยกับระบบ AI  และให้เพิ่มเพื่อนไลน์คนร้าย จากนั้นส่งต่อให้คนร้ายที่อ้างตัวเป็นทนายความเพื่อหลอกถามข้อมูล แล้วจะอ้างว่า ได้ทำการตรวจสอบเส้นเงินแล้ว พบว่าเงินออกนอกประเทศไปแล้ว และคนร้ายใช้บัญชีม้า ทำให้ตามเงินกลับมาไม่ได้ แต่ว่าเงินยังฟอกไม่สำเร็จ และรู้ว่าเงินเข้าสู่แพลตฟอร์มไหน จากนั้นส่งต่อให้คนร้ายที่อ้างตัวว่าเป็นทีม IT สามารถโจมตีแพลตฟอร์มนี้ เพื่อนำเงินคืนมาให้ได้ จากนั้นส่งต่อให้หัวหน้าของคนร้ายที่เป็นเจ้าหน้าที่  IT อ้างว่า ขณะนี้เงินของเหยื่อได้เข้าสู่แพลตฟอร์ม เว็บพนันออนไลน์ แต่จะช่วยโจมตีเว็บไซต์ดังกล่าวให้ โดยให้เหยื่อสมัครและเล่นในเว็บไซต์พนัน โดยอ้างว่า ไม่ได้พามาเล่นการพนันแต่เป็นการพามากู้เงินคืนจากเว็บไซต์ โดยจะทำการโจมตีให้เหยื่อ แต่มีข้อแม้ต้องใช้เงินตัวเองยิ่งเติมเยอะยิ่งได้คืนมาก และเร็ว ทำได้แต่บางช่วงเวลาของวันเท่านั้น ไม่งั้นเซิร์ฟเวอร์จะตรวจพบ และ ขอหักเงิน 10% เพื่อเป็นค่าทนาย จากรายได้ที่ได้จากการโจมตี เหยื่อหลงเชื่อเพราะคิดว่าจะได้เงินคืน สุดท้ายเสียเงินเพิ่ม

โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

1.) ไม่มีหน่วยงานราชการหน่วยงานใดให้ประชาชนโอนเงิน เพื่อเล่นเว็บพนันออนไลน์หรือโอนเงินให้ทำอะไรก็ตาม 
เพื่อให้ได้เงินคืน

2.) หากต้องการแจ้งความออนไลน์ให้แจ้งความผ่านระบบ www.thaipoliceonline.com หรือแจ้งความสถานีตำรวจท้องที่ได้ทั่วประเทศ

3.) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามหรือขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วน 1441 หรือ 191

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงขอแจ้งเตือนให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่าปัจจุบันคนร้ายยังคงใช้วิธีการหลอกโดยอาศัยกลโกงเดิมๆ แต่ได้พัฒนาวิธีการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ ดังนั้น เพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่ สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้ผ่านทาง www.เตือนภัยออนไลน์.com Facebook https://www.facebook.com/เตือนภัยออนไลน์ หมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 หรือโทรศัพท์สายด่วน 1441 กรณีถูกคนร้ายหลอกลวงแจ้งความตำรวจผ่านระบบ www.thaipoliceonline.com

ตร. สรุป อาชญากรรมออนไลน์ที่ต้องจับตามอง ปี 2567 ยุคที่ AI สามารถเนรมิตได้ทุกอย่าง

วันนี้ (19 ธันวาคม 2566) พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ผ่านมาพบว่ารูปแบบคดีที่มีจำนวนการแจ้งความมากที่สุดอันดับ 1 ยังคงเป็น “การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์” มีจำนวนกว่า 150,000 คดี ส่วนรูปแบบคดีที่มีความเสียหายรวมสูงที่สุด อันดับ 1 คือ “หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์” มีความเสียหายรวมกว่า 16,000 ล้านบาท สำหรับคดีในรูปแบบอื่น ๆ อาทิ “การหลอกให้โอนเงิน” “การหลอกให้กู้เงิน” และ “การข่มขู่ทางโทรศัพท์” ก็ยังคงรูปแบบคดีที่มีผู้เสียหายและสร้างความเสียหายในอันดับต้น ๆ เช่นเดียวกัน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอเตือนให้พี่น้องประชาชนระมัดระวังในการใช้สื่อออนไลน์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เพราะคนร้ายจะพยายามใช้ทุกช่องทางในการเข้าถึงเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการส่ง SMS การโทรศัพท์หาเหยื่อ การลงโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ และในหลายกรณีพบว่าคนร้ายมีข้อมูลส่วนบุคคลเชิงลึกของเหยื่อใช้ประกอบการหลอกลวงเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือด้วย

ส่วนแนวโน้มรูปแบบของอาชญากรรมออนไลน์ในปี พ.ศ. 2567 ที่จะมาถึงนี้ สิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องระมัดระวังนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือการที่คนร้ายนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) มาใช้ในการสร้างเนื้อหาปลอมขึ้นมาเพื่อใช้ในการฉ้อโกง หรือสร้างความเสียหาย โดยการนำ AI มาใช้สร้างภาพหรือคลิปปลอม เพื่อนำมาแสวงหาประโยชน์ต่าง ๆ เช่น
1. การสร้างภาพหรือคลิปปลอมเป็นบุคคลอื่น (AI Deepfakes) เพื่อใช้ในการฉ้อโกง
2. การเลียนเสียงของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือคนรู้จัก (AI Voice Covers) จากตัวอย่างเสียง เพื่อใช้ในการฉ้อโกง
3. การสร้างคลิปลามกปลอม (AI Deepfakes) ทำให้บุคคลอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือแสวงหาประโยชน์
4. การสร้างข่าวปลอม (Fake News) ที่ดูน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก หรือความเข้าใจผิด
โดยวิธีการที่จะป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อคือการอย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินในโลกออนไลน์ โดยยึดหลัก “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมออนไลน์ และหากพบว่าตนเองถูกแอบอ้างหรือปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ ให้รีบดำเนินการ “แจ้งความ รีพอร์ต บอกเพื่อน” เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิทต่อไป

สุดท้ายนี้ หากพี่น้องประชาชนได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงทางสื่อสังคมออนไลน์ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ บนเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th หรือสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top